directions_run

โครงการพิทักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง และส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะ พื้นที่อ่าวท่าต่อเรือ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพิทักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง และส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวะ พื้นที่อ่าวท่าต่อเรือ
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-00232-0031
วันที่อนุมัติ 25 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 105,220.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ร.ต.พิสิษฐ์ รักเล่ง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว เบ็ญจวรรณ เพ็งหนู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 42,088.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 52,610.00
3 1 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2566 10,522.00
รวมงบประมาณ 105,220.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทะเลสาบสงขลาตอนกลางเป็นพื้นที่หนึ่งของทะเลสาบสงขลา อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่โดยรวม 1,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง 4 อำเภอได้แก่ อำเภอปากพะยุน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอเมืองพัทลุง โดยมีประชากรที่ใช้ฐานทรัพยากรในทะเลสาบสงขลาเป็นอาชีพและรายได้หลักจากการทำประมงในพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 2,800- 3,000 ครัวเรือน มีเรือที่ใช้ในการทำประมง จำนวน 2,310 ลำ ชาวประมงจับสัตว์น้ำมีรายได้เฉลี่ยวันละ 300- 500 บาท (ฐานข้อมูลชาวประมงที่พื้นที่ทะเลสาบสงขลา, สมาคมรักษ์ทะเลไทย สิงหาคม 2562) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า จากจำนวนประชากรที่ใช้ทะเลสาบเป็นแหล่งรายได้หลักในการประกอบอาชีพ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรที่ขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย เช่นไซหนอน โพงพาง อวนล้อม การวางยาเบื่อ ตลอดถึงการใช้อวนตาถี่จับสัตว์น้ำต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร ฯลฯ อีกทั้งสาเหตุที่มาจากระบบนิเวศที่ทีมีความเปลี่ยนแปลง เกิดมลพิษน้ำเสีย ระบบนเวศน์ชายฝั่งเปลี่ยนสภาพ นอกจากนั้นมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายที่ขาดความเข้มข้นไม่จริงจังรวมถึงการบูรณาการจากภาคีความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่เป็นระบบขาดความต่อเนื่องในเชิงยุทธศาตร์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบและระดับนโยบายของจังหวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2558 – 2564 ได้มีการรวมตัวของชุมชนประมงได้ร่วมคิดหารูปแบบสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเกี่ยวข้องในการฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบในพื้นที่เขตอำเภอปากพะยูน เช่น ชุมชนบ้านช่องฟืน ชุมชนบ้านบางขวน ชุมชนบ้านแหลมไก่ผู้ ฯลฯ ในอำเภอบางแก้วในรูปแบบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่ร่วมออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ ทั้งการทำเขตอนุรักษ์ การสร้างบ้านปลา การร่วมกำหนดระเบียบกติกาข้อตกลง การมีอาสาสมัครในการออกตรวจตราดูแลเขต การจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ตลอดถึงการรวมกลุ่มจัดการผลผลิตสัตว์น้ำแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสร้างรายได้กับสมาชิกในชุมชน ภายใต้มาตรฐานอาหารทะเลปลอดภัย ‘บลูแบลนด์” ซึ่งเป็นชุมนประมงต้นแบบที่มีการขับเคลื่อนกิจกรรมในการฟื้นฟูทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณ รวมถึงรายได้จากการทำประมง เฉลี่ยวันละ 800 -1,500 บาท จนเป็นพื้นที่รูปธรรมและเป็นต้นแบบที่ชุมชนประมงในพื้นที่เครือข่ายยอมรับและมีความต้องการนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนของชุมชนตัวเองเพื่อฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำตลอดถึงการเกิดหลักประกันความมั่นคงทางด้านอาหารทะเลที่ปลอดภัย อาชีพประมงที่ยั่งยืนและชุมชนเข้มแข็ง

    บ้านทุ่งแซะ หมู่ที่ 5 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาบสงขลา ตอนกลางทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 ตำบลจองถนน ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทะเลสาบ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 7 ตำบลจองถนน มีพื้นที่ทั้งหมด 2029 ไร่ พื้นที่ถือครอง 1792.50 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 1310.50 ไร่ แบ่งเป็น นาข้าว 320 ไร่ ยางพารา 835 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 147 ไร่ ไม้ยืนต้น ไร่ พืชผัก 7.50 ไร่ พืชไร่ 1 ไร่ รวม 1310.50 ไร่  (มูลจากสำนักงานเกษตรอำเภอเขาชัยสน) มีพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบริมทะเลเหมาะแก่การทำอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา เลี้ยงสัตว์ และประมง จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 180 ครัวเรือน ประชากรตาม ท.ร.14 ทั้งสิ้น 657 คน ที่อาศัยอยู่จริง 546 คน ประชากรส่วนใหญ่ ถึงแม้ไม่ได้ประกอบอาชีพประมง แต่ 80 เปอร์เซ็นต์ ของครัวเรือน หาปลากินเป็นอาหาร

บ้านทุ่งแซะ หมู่ที่ 5 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ชายฝั่งติดทะเลสาบระยะทางยาว 1.8 กิโลเมตร มีสมาชิกในชุมชนทำการประมงเป็นอาชีพ 45 ราย และ80 เปอร์เซ็นต์ ของครัวเรือน หาปลากินเป็นอาหาร มีพื้นที่ริมทะเลเหมาะสมแก่การจัดทำเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำหน้าบ้าน ซึ่งที่ผ่านมาชุมชนได้ดำเนินการมาแล้วในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปัจจุบันทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ บางคนต้องตกงานกลับมาอยู่ภูมิลำเนา ทำให้ชุมชนมีความต้องการทางอาหารเพิ่มขึ้นและบางรายก็เลือกที่จะประกอบอาชีพประมงเพื่อยังชีพไปพลางก่อน
    จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวชุมชนมองว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เมื่อมีความต้องการใช้ทรัพยากรในจำนวนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ไม่มีการบริหารจัดการใดๆให้ทรัพยากรเหล่านั้นเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ทรัพยากรเหล่านั้นลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านและคณะกรรมการเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำท่าต่อเรือ จึงได้มีความเห็นร่วมกันในการปรับปรุง ฟื้นฟูเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำอ่าวถ้าต่อเรือ เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่ดี ให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงค์ชีพ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินการทุกขั้นตอน และให้มีระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น     เมื่อได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ คาดว่าจะทำให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ของคนในชุมชนมากยิ่งขึ้น เกิดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ชายฝั่งในพื้นที่ดำเนินโครงการ และพื้นที่ข้างเคียง สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนชายฝั่งอื่นๆ อันจะนำไปสู่การเกิดชุมชนชายฝั่งที่ช่วยกันดูแลรักษา ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าบ้านของตนเอง เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันของชุมชน องค์กร/ภาคี และเครือข่ายชุมชนชายฝั่งที่จะคอยหนุนเสริม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อันจะส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนริมทะเลสาบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล

1.1 คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถาการณ์ทะเลสาบ 1.2 ได้ข้อมูลได้ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลาตอนกลาง 1.3 ได้แผนการดำเนินงานของชุมชน

0.00
2 เพื่อให้เกิดมาตรการชุมชน ในการเฝ้าระวัง การดำเนินการตามกติกาชุมชนที่เข้มแข็ง
  1. เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯพื้นที่ละไม่ต่ำกว่า 10 คน 3. เกิดกติกาข้อตกลงในการดูแลเขตฯ 4 ,มีการประชุมคระทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง 5. ได้แผนการทำงานของประมงอาสาแต่ละพื้นที่
3 เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบ
  1. เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 5 คน 1. มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 2. ได้ข้อมูลผลการดำเนินงาน 3. มีป้ายประชาสัมพันธ์ธรรมนูญหมู่บ้านว่าด้วยเรื่องเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำอ่าวท่าต่อเรือ
4 เพื่อให้นิเวศทะเลสาบหน้าบ้านได้รับการฟื้นฟู และมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  1. พันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด เช่น ปลาพรม ปลากด กุ้งก้ามกราม 2 มีพืชน้ำเช่น เฟื้อ ราโพ แจด เพิ่มขึ้นในพื้นที่เขตอนุรักษ์ไม่น้อยกว่า 100 กอ
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 603 105,220.00 8 20,091.00
9 พ.ค. 65 กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ 0 3,000.00 216.00
10 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 1,000.00
12 พ.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถาณการณ์ปัญหาของทะเลสาบ (เวทีเปิดโครงการ) 60 3,800.00 3,650.00
9 มิ.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง 15 4,575.00 4,575.00
12 ส.ค. 65 ค่าจัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0 1,000.00 150.00
18 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 6 ประชุมคณะทำงาน 15 10,500.00 2,350.00
18 ต.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 7 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 10 ครั้ง 15 2,400.00 800.00
18 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 11 กิจกรรมปล่อยปลาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 20 2,200.00 -
18 ต.ค. 65 กิจกรรมที่ 13 เวทีปิดโครงการ จัดเวทีแสดงนิเทรรศการผลผลิตสัตว์น้ำจากการฟื้นฟูทะเลสาบ เสาวนาตัวแทนชุมชน ร่วมกับท้องถิ่น ท่องที่ร่วมกัน 70 9,050.00 -
28 ต.ค. 65 ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด 0 0.00 -
10 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 9 เก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์สัตว์น้ำหลังการมีเขตฯ 300 11,950.00 -
16 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 ศึกษาดูงานการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน 0 7,350.00 7,350.00
24 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 5 เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตฯ 30 5,250.00 -
23 ธ.ค. 65 กิจกรรมที่ 4 เวทีคืนข้อมูลชุมชน จัดทำแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน คืนข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือประมงและรายได้ชุมชน 15 2,375.00 -
4 ก.พ. 66 กิจกรรมที่ 8 ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์ฯ 6 7,250.00 -
10 ก.พ. 66 กิจกรรมที่ 10 ซ่อมแซมบ้านปลา ปรับปรุงสถานที่ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 12 27,920.00 -
11 มี.ค. 66 กิจกรรมที่ 12 กิจกรรมปลูกพืชน้ำ 45 5,600.00 -
30 มี.ค. 66 ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 0 1,000.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:33 น.