directions_run

โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวปรานีตเพื่อบริโภคปลอดภัยที่ชุมชนตะโหมด

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวปรานีตเพื่อบริโภคปลอดภัยที่ชุมชนตะโหมด ”

ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายโกวิทย์ สักหวาน

ชื่อโครงการ โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวปรานีตเพื่อบริโภคปลอดภัยที่ชุมชนตะโหมด

ที่อยู่ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00232-0033 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวปรานีตเพื่อบริโภคปลอดภัยที่ชุมชนตะโหมด จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวปรานีตเพื่อบริโภคปลอดภัยที่ชุมชนตะโหมด



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวปรานีตเพื่อบริโภคปลอดภัยที่ชุมชนตะโหมด " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65-00232-0033 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 105,085.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดกลุ่มทำนาเข้มแข็ง
  2. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถปรับสภาพแวดล้อมการทำนาปลอดภัย
  3. เพื่อหนุนเสริมให้เกิดเกิดกลไกการติดตามการทำนาปลอดภัยอย่างต่อเนื่องทั้งเกษตรกรรายใหม่และเกษตรกรรายเก่า
  4. เพื่อให้เกิดพื้นที่นาปลอดภัยในชุมชน
  5. เพื่อให้มีกระบวนการยกระดับผลผลิตสู่การตลาด
  6. คนในชุมชนพัทลุงได้กินข้าวปลอดภัยเพิ่มขึ้น
  7. เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมปฐมนิเทศ
  2. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  3. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 1
  4. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสังเคราะห์บทเรียนการทำนาปลอดภัย
  5. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลบทเรียนการทำนา
  6. กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้การทำนาปลอดภัยแก่สมาชิกใหม่
  7. กิจกรรมที่ 5 เวทีวางแผนและออกแบบการทำนา
  8. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 2
  9. กิจกรรมที่ 7 อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิต ครั้งที่ 1
  10. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 3
  11. กิจกรรมที่ 7 อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิต ครั้งที่ 2
  12. กิจกรรมกับเครือข่าย Node Flagship จังหวัดพัทลุง (งานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข)
  13. กิจกรรมที่ 12 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 1
  14. ทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่
  15. กิจกรรมที่ 6 เวทีเรียนรู้การปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อยกระดับผลผลิตให้แก่สมาชิกรายเก่า
  16. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 4
  17. กิจกรรมที่ 10 ติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า ครั้งที่ 1
  18. ร่วมประชุมติดตามประเมินผลกับหน่วยจัดการ(ARE) ครั้งที่1
  19. กิจกรรมที่ 11 เวทีเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำนาระหว่างสมาชิกรายเก่า/รายใหม่ ครั้งที่ 2
  20. ประชุมประเมินผลเพื่อกำรเรียนรู้และพัฒนำโครงกำร
  21. กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมติดตามสมาชิกรายใหม่ ครั้งที่ 1
  22. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 5
  23. กิจกรรมที่ 11 เวทีเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำนาระหว่างสมาชิกรายเก่า/รายใหม่ ครั้งที่ 1
  24. กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมติดตามสมาชิกรายใหม่ ครั้งที่ 2
  25. กิจกรรมที่ 10 ติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า ครั้งที่ 2
  26. กิจกรรมที่ 8 เวทีเรียนรู้การพัฒนาและเก็บรักษาพันธุ์
  27. กิจกรรมที่ 10 ติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า ครั้งที่ 3
  28. กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมติดตามสมาชิกรายใหม่ ครั้งที่ 3
  29. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 6
  30. กิจกรรมที่ 12 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2
  31. กิจกรรมที่ 14 เวทีจัดการความรู้และวางแผนสร้างความร่วมมือการยกระดับผลผลิตในรูปแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  32. กิจกรรมที่ 15 กิจกรรมปิดโครงการ/จัดนิทรรศการนาข้าวปลอดภัย
  33. กิจกรรมที่ 11 เวทีเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำนาระหว่างสมาชิกรายเก่า/รายใหม่ ครั้งที่ 3
  34. ร่วมประชุมติดตามประเมินผลกับหน่วยจัดการ (ARE) ครั้งที่2
  35. กิจกรรมที่ 13 เวทีถอดบทเรียนการทำนาปราณีตของสมาชิกรายเก่าและสรุปผลการทำนาของสมาชิกรายใหม่
  36. กิจกรรมกับเครือข่าย Node Flagship จังหวัดพัทลุง (งานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2)
  37. ค่าอินเตอร์เน็ตสำหรับเขียนรายการกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมปฐมนิเทศ

วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการกิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน
ภายใต้หน่วยจัดการที่มีจุดเน้นสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (Node Flagship) จังหวัดพัทลุง วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองพัทลุง

08.30 - 09.00 น.    ลงทะเบียน และคัดกรองผู้เข้าร่วมประชุมตามมาตรการป้องกันไวรัส โควิด19 09.30 - 09.15 น.    เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย/ แนะนำตัวทำความรู้จัก/สันทนาการ (ทีมสันทนาการ) 09.15 - 09.30 น.    ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสู่
Phattahlung Green City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดย นายเสณี จ่าวิสูตร ผู้ประสานงาน Node Flagship จังหวัดพัทลุง 09.30 - 10.30 น.    แนวทางการบริหารจัดการ การเงิน และการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดย นายไพฑูรย์ ทองสม ผู้จัดการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 10.30 - 10.45 น.    การจัดทำรายงานผ่านระบบ Happy Network
โดย นายอรุณ ศรีสุวรรณ 10.45 - 12.00 น.    ปฏิบัติการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ Happy Network และทดลองจัดทำรายงานผ่านระบบ
Happy Network
12.00 - 13.00 น.    พัก รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 - 13.30 น.    ความสำคัญของการออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์
โดย นางสาวเบญจวรรณ เพ็งหนู ทีมสนับสนุนวิชาการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 13.30 - 14.30 น.    แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการย่อย/พี่เลี้ยง ออกแบบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด กลุ่มที่ 1 ประเด็นการจัดการขยะ
กลุ่มที่ 2 ประเด็นการจัดการน้ำเสีย กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง กลุ่มที่ 4 ประเด็นการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา กลุ่มที่ 5 ประเด็นนาปลอดภัย 14.30 - 15.00 น.    การลงนามสัญญาข้อรับทุน
15.00 - 15.30 น.    สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต ผู้รับผิดชอบโครงการ 4 คน เข้ารับการปฐมนิเทศจากผู้สนับสนุนทุน ผลลัพธ์ 1.คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการการเงิน 2.คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการบันทึกข้อมูล ผ่านระบบ happynetwork และ 3. กรรมการได้ลงนามผู้รับทุนจากโครงการ

 

3 0

2. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการ ได้สำรองเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท เพื่อเปิดบัญชีธนาคารรับเงินสนับสนุนโครงการย่อย จากสสส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางโครงการย่อยได้ทำการเปิดบัญชีธนาคารเรียบร้อยแล้ว และทำการเบิกเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคารจำนวน 500 บาทคืนเรียบร้อยแล้ว

 

0 0

3. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 1

วันที่ 3 มิถุนายน 2565 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • สรุปผลการทำนาปี 2564/2565 เช่น การทำนาปลอดภัย ผลผลิตเพิ่ม มีการพัฒนาคุณภาพข้าวและข้าวสาร มีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การจัดจำหน่ายจากส่วนที่เหลือบริโภค
  • มีการสางแผนงานให้สมาชิกเก่าที่ทำนาสำเร็จมาเป็นพี่เลี้ยงปฎิบัติการทำนาให้กับสมาชิกใหม่ มีแผนงานการติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการด้วย
  • ได้บทเรียนการทำนาที่คุ้มค่า 1 บทเรียน
  • วางแผนจัดทำหลักสูตรการทำนาปลอดภัยตะโหมดเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ 1 หลักสูตร จัดการประชุมของคณะทำงานและสมาชิก จำนวน 15 คน โดยมีพี่เลี้ยงจาก สสส. คุณอรุณ ศรีสุวรรณ มาแนะแนวการทำโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน15คน ผลลัพธ์ 1 ได้แผนงานปฎิบัติการโครงการ 2 วางแผนจัดทำหลักสูตรการทำนาปลอดภัยตะโหมดเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ 1 หลักสูตร

 

15 0

4. ทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ป้ายโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายโครงการ

 

0 0

5. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสังเคราะห์บทเรียนการทำนาปลอดภัย

วันที่ 12 มิถุนายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมสังเคราะห์บทเรียนการทำนาปลอดภัย มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมจำนวน 12 คน และมีวิทยากร 2 ท่านมาชวนพูดคุยถอดบทเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีกรรมการและสมาชิกร่วมกิจกรรมจำนวน12คน ผลลัพธ์ 1.ได้ร่างบทเรียนการทำนาปลอดภัยเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนวิชาชาวนาตะโหมดจำนวน1ร่าง 2.ผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมพูดคุยและทบทวนประสบการณ์ทำนา

 

12 0

6. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลบทเรียนการทำนา

วันที่ 24 มิถุนายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

1.ทำความเข้าใจหลักการและวัตถุประสงค์โครงการและแนวทางการดำเนินโครงการที่มุ่งผลลัพธ์โดยนาบอรุณ สรีสุวรรณ พี่เลี้ยงผู้ติดตามสนับสนุนโครงการ 2.รับสมัครสมาชิกใหม่เข้าร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีสมาชิกและคนสนใจร่วมโครงการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน48คน ผลลัพธ์ 1.สมาชิกใหม่ได้รู้จักและรับรู้เรียนรู้ที่มาของโครงการและวัตถุประสงค์โครงการ 2.มีชาวนาที่สนใจมาสมัครร่วมโครงการจำนวน16คน

 

60 0

7. กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้การทำนาปลอดภัยแก่สมาชิกใหม่

วันที่ 30 มิถุนายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

1.ทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์โครงการให้แก่สมาชิกใหม่ 2.ให้ความรู้สมาชิกใหม่ในเรื่องการทำนาปลอดภัยโดยสมาชิกรุ่นเก่า โดยความรู้ที่ถ่ายทอดประกอบด้วย ความรู้เรื่องการเตรียมดิน/ความรู้เรื่องการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์/ความรู้ในการเพาะพันธุ์ต้นกล้า/ความรู้เรื่องการจัดการน้ำ/ความรู้เรื่องการบำรุงรักษาต้นข้าว 3.สมาชิกรุ่นเก่าที่เป็นกรรมการกลุ่มได้ทำความเข้าใจเรื่องเรื่องข้อตกลงของกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีผุ้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน24คน ผลลัพธ์ 1.สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการทำนาเริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การไถ-การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์-การแช่เมล็ดพันธุ์-การปลูก-การรักษาระดับน้ำ-การดูแลรักษา การให้ปุ๋ย 2.สมาชิกใหม่ได้เรียนรู้ผลสำเร็จการทำนาจากสมาชิกมาเก่า 3.สมาชิกใหม่ยอมรับตามข้อตกลงของกลุ่ม

 

23 0

8. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 2

วันที่ 25 กรกฎาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานและสมาชิกเพื่อวางแผนการทำกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีกรรมการร่วมประชุมจำนวน12คน ผลลัพธ์ ได้แผนการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการในช่วงเดือนถัดไป ได้แผนการใช้จ่ายงบประมาณโครงการ

 

15 0

9. กิจกรรมที่ 7 อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิต ครั้งที่ 1

วันที่ 2 สิงหาคม 2565 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ส่วนที่หนึ่ง ดินจอมปลวก (บดละเอียด) 1 ส่วน ดินโคนไผ่ (บดละเอียด) 1 ส่วน ดินรากข้าว (บดละเอียด) 1 ส่วน อาหารสัตว์เล็ก 1 ส่วน มูลสัตว์ (บดละเอียด) 1 ส่วน รำ 0.5 กก. ส่วนที่สอง น้ำตาลทรายแดง 2 ขีด นมเปรี้ยว 1 ขวดเล็ก แป้งข้าวหมาก 1 ก้อน น้ำไม่มีคลอลีน ขั้นตอนการทำ 1.นำส่วนผสมส่วนที่หนึ่งมาคลุกเคล้าให้เข้ากันในภาชนะ
2.นำส่วนผสมส่วนที่สองมาเทรวมกันและคนให้น้ำตาลละลาย
3.นำส่วนผสมสองส่วนมาเทผสมกันแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน อย่าให้เปียกมากเกินไป เมื่อผสมเข้ากันดีแล้ว ให้นำมาปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกเปตอง แล้วนำไปใส่ตะกร้า เอาผ้าชุบน้ำพอหมาดคลุมปิดไว้ 7-10 วัน ให้สังเกตุก้อนเบญจกุลว่ามีเชื้อเดินเป็นใยสีขาวเต็มก้อน หลังจากนั้นก็จะนำไปใช้ประโยชน์ได้

ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับสลายตอชัง
ส่วนผสม 1. ก้อนเบญจคุณ 15 ก้อน 2. รำอ่อน 10 กิโลกรัม 3. น้ำตาลทรายแดง 5 กิโลกรัม 4. นมเปรี้ยวเบญจคุณ 1 ลิตร 5. น้ำสะอาด 200 ลิตร 6. ถังหมักขนาด 200 ลิตร วิธีทำ 1. เติมน้ำธรรมดาประมาณ 20 ลิตร ลงในถังหมัก แล้วใส่รำอ่อน น้ำตาลทรายแดง นมเปรี้ยวเบญจคุณ ลงไปกวนให้เข้ากัน 2. เติมน้ำจนถึง 180 ลิตร แล้วใส่หัวเชื้อเบญจคุณ 15 ก้อน กวนให้เข้ากัน 3. ปิดฝาให้สนิท และเจาะรูระบายอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้ระเบิด หมักทิ้งไว้ 4-5 วัน จะได้น้ำหมักที่มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว และมีฝ้าสีขาวขึ้นบนผิวหน้า วิธีใช้ 1. พ่นสลายอินทรียวัตถุ เช่น เศษวัชพืช ตอข้าว ฟางข้าว ทางปาล์ม ฯลฯ ให้ใช้ในอัตราผสมน้ำธรรมดา 1:20 ลิตร 2. นำไปทำปุ๋ยอินทรีย์หมักเอง โดยใช้อัตราส่วนต่อน้ำหมัก 200 ลิตร ทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ 1 ตัน ประกอบด้วยมูลสัตว์แห้ง 700 กิโลกรัม รำอ่อน 300 กิโลกรัม หมักทิ้งไว้โดยใส่กระสอบปุ๋ยเก่า มัดปากถุง 15 วันเป็นต้นไป จึงสามารถนำไปใช้ได้ ถ้าจะใช้แบบกระจายเอง ให้ใช้หมักบนพื้นซีเมนต์สูงประมาณ 1 ศอก แล้วใช้กระสอบป่านชุบน้ำคลุมไว้ 15 วัน ไม่ต้องพลิกกลับ

10 คุณประโยชน์ปุ๋ยก้อนจุลินทรีย์เบญจคุณ
1. ย่อยสลายต่อซัง 2. ทลายหน้าดิน : ช่วยทำให้ดินร่วนซุย 3. บำรุงต้น : ช่วยให้ลำต้นแข็งแรงทนทานต่อโรค 4. บำรุงใบ : ช่วยให้ใบสวยเงางามไม่เป็นโรค 5. บำรุงผล : ช่วยให้ผลดกได้ผลผลิตตามต้องการและ ช่วยให้ผลไม้มีรสชาติหวาน 6. บำรุงและรักษาราก : ช่วยให้รากขยายตัว. สามารถ. หาอาหารให้ต้นได้ดี
7. เพิ่มแร่ธาตุอาหารในดิน : ช่วยให้ดินมีแร่ธาตุอาหาร ที่ต้นไม้ต้องการ 8. ป้องกันเชื้อรา : ช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราทั้งในรากใบและลำต้น
9. ช่วยบำบัดน้ำเสียได้ 10. เป็นอาหารสัตว์ได้ดี เช่น ปลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
1.สมาชิกทั้งสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ เข้าร่วมทั้งหมด 40 คน
2.ได้ก้อนจุลินทรีย์ทั้งหมด 650 ก้อน แบ่งให้สมาชิกเอากลับไปใช้คนละ 16 ก้อนที่สามารถเอาไปขยายต่อได้ ผลลัพธ์ สมาชิกได้เรียนรู้การทำก้อนจุลินทรีย์จากวัตถุในพื้นที่ และสามารถนำความรู้ได้ได้รับการถ่ายทอดกลับไปขยายผลได้ สูตรการปั้นก้อนจุลินทรีย์เบญจกุล

 

20 0

10. กิจกรรมที่ 5 เวทีวางแผนและออกแบบการทำนา

วันที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สมาชิกเก่าเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มสมาชิกใหม่ มีการวางแผนการทำนาดังนี้ - การใช้พันธุ์ข้าว ข้าวสังข์หยด/ข้าวเล็บนก - ระยะเตรียมดิน ข้าวเล็บนก ส.ค 2565-ก.ย 2565 ข้าวสังข์หยด ก.ย 2565-ต.ค2565 - ระยะไถดะ /ระยะการไถแปร/ระยะการไถคราด
- ระยะการดูแลรักษา/ระยะการใส่ปุ๋ย/ระยะการเก็บเกี่ยว - ระยะการขังน้ำ ใส่น้ำหมัก (เพื่อฆ่าหญ้าที่งอกใหม่) ก่อนไถคราด - การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ข้าวนาหว่าน (14 กิโลกรัม/ไร่) ข้าวนาโยน (80-10 ถาด/ไร่)
- การเพาะข้าว ซาวน้ำเกลือตอนล้างเมล็ดข้าว เลือกเมล็ดข้าวที่ลีบออก - การทำนาปลอดภัย เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ใช้สมุนไพรไล่/กำจัดแมลงศัตรูพืช ห้ามใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีสารเคมีในการทำนา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน52คน มีภาคีจากสำนักงานเกษตรอำเภอตะโหมดเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน1คน ผลลัพธ์ ได้แผนการทำนาร่วมกันในฤดูกาลทำนาปี ตามความเหมาะสมของชนิดสายพันธุ์ข้าวที่ปลูก

 

60 0

11. กิจกรรมที่ 7 อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิต ครั้งที่ 2

วันที่ 7 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพสูง ส่วนประกอบ - ขี้ไก่
- รำละเอียด
- หินฟอสเฟต
- กากถั่วเหลือง - กากน้ำตาล - ปลาป่น - เปลือกหอยป่น - น้ำหมักจุลินทรีย์ วิธีทำ - นำวัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันเมื่อส่วนผสมเข้ากันได้ดีแล้ว นำปุ๋ยหมักมากำในมือ เมื่อกำแล้วลักษณะปุ๋ยหมักหมาด ๆ แสดงว่าใช้ได้ นำปุ๋ยหมักตักใส่กระสอบ โดยให้สมาชิกนำปุ๋ยหมักไปพลิกกลับกระสอบเองที่บ้าน หมักทิ้งไว้ 1 เดือนก็สามารถนำปุ๋ยหมักไปใช้ในนาข้าวได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต สามารถผลิตปุ๋ยหมักได้สำหรับแบ่งให้สมาชิกได้ปุ๋ยหมักคนละ 200 กิโลกรัม มีใช้ในการทำนาปี 2565/2566 ผลลัพธ์ สมาชิกรายใหม่ได้เรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักจากสมาชิกรุ่นพี่

 

20 0

12. กิจกรรมกับเครือข่าย Node Flagship จังหวัดพัทลุง (งานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข)

วันที่ 12 กันยายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน/รับเอกสาร ๐๙.๐๐ - ๐๙.๑๕ น. การแสดงเปิดงานด้วยชุดการแสดงมโนราห์ จากนักเรียนโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง ๐๙.๑๕ - ๐๙.๓๐ น. กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน                       โดยนายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายกองค์กรบริการส่วนจังหวัดพัทลุง ๐๙๓๐ - ๑๐.๐๐ น. รับชมวีดีทัศน์ความเป็นมาของสภาขับเคลื่อนพัทลุงมหานครแห่งความสุข และนำเสนอผลการดำเนินงานชองประเด็นการขับเคลื่อนพัทลุงใหานาครแห่งความสุข ๘ ประเด็น ดังนี้                     ประเด็นที่ ๑ ออกแบบระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนเพื่อสร้างพลเมืองผู้ตื่นรู้                     ประเด็นที่ ๒ สร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล                     ประเด็นที่ ๓ ออกแบบระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยื่น                     ประเด็นที่ ๔ จังหวัดอาหารปลอดภัยและรักษาพันธุ์พืช/สร้างจุดเด่นด้านสมุนไพรและการดูแลสุขภาพชุมชน                     ประเด็นที่ ๕ การสร้างความมั่นคงของชุมชน ( สวัสิการชุมชนและที่อยู่อาศัย )
                    ประเด็นที่ ๖ ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรม                     ประเด็นที่ ๗ ออกแบบพื้นที่พิเศษของจังหวัดพัทลุง                     ประเด็นที่ ๘ สร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมงานร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ให้ขอเสนอแนะต่อผู้แทนประเด็นทั้ง ๘ ประเด็น ณ ลานเวทีการเรียนรู้พัทลุงมหานครแห่งความสุข ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในบรรยากาศ คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี ๑๓.๐๐ - ๑๓.๑๕ น. ตะลุง talk show ว่าด้วยโหม๋เรามาร่วมสร้างเมืองลุงแห่งความสุข ๑๓.๑๕ - ๑๔.๐๐ น. เวที่กลางถกแถลงเพื่อหาฉันทามติข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ โดยกระบวนการมีสวนร่วมในการขับเคลื่อนพัทลุงมหานครแห่งความสุข ๑๔.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ผู้แทนภาคีเครือข่ายร่วมแสดงเจตจำนงในการสนับสนุนการขับเคลื่อนพัทลุงมหานครแห่งความสุข                           - ภาครัฐ โดย ผู็ว่าราชการจังหวัดพัทลุง                           - ภาควิชาการ โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ และรองอิการบดีสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน                           - ภาคท้องถิ่น โดย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง                           - เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ โดย เลขาธฺการ๕ณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ                           - เครือข่ายองค์กรชุมชน โดย ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ภาคใต้                           - ภาคเอกชน โดย ประธานหอการค้าจังหวัดพัทลุง                           - เครือข่ายภาคธุรกิจ โดย ประธานเครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง ๑๕.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. พิธีประกาศปฏิญญาความร่วมือเพื่อร่วมมือเพื่อสร้างพัทลุงมหานครแห่งความสุข

หมายเหตุ ๑ ขอความร่วมมือ ผู็เข้าร่วมงานนำปิ่นโตมาร่วมงานด้วย ตาม CONCEPT คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี             ๒ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม             ๓ พักรัประธานอาการว่างและเครื่องดื่ม                   - ช่วงเช้า เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๐.๑๕ น.                   - ช่วงบ่าย เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๔.๔๕ น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน10คน ผลลัพธ์ ได้เรียนรู้จากฐานต่าง ๆ ที่แบ่งออกเป็นประเด็นต่าง ๆ ทั้ง 8 ประเด็น ได้แก่ 1) ออกแบบระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนเพื่อสร้างพลเมืองผู้ตื่นรู้ 2) สร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล 3) ออกแบบระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน 4) จังหวัดอาหารปลอดภัยและรักษาพันธุ์พืช/สร้างจุดเด่นด้านสมุนไพรและการดูแลสุขภาพชุมชน 5) การสร้างความมั่นคงของชุมชน (สวัสดิการชุมชนและที่อยู่อาศัย) 6) ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรม 7) ออกแบบพื้นที่พิเศษของจังหวัดพัทลุง 8.) สร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

 

0 0

13. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 3

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานและสมาชิกเพื่อวางแผนการทำกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ 1. ได้แผนการทำนา 2. ได้กำหนดระยะเวลาการเตรียมดิน 3. ได้แผนการจัดกิจกรรมของกลุ่ม 4. ได้แลกเปลี่ยนปัญหา และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาของสมาชิกบางคน

 

15 0

14. กิจกรรมที่ 12 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 1

วันที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปีนี้มีสมาชิกมาร่วมเรียนรู้เพิ่มขึ้น23รายจากเดิม42ราย -สมาชิกเพิ่มพื้นที่ผลิตข้าวปลอดภัยเพิ่มขึ้น90ไร่ จากเดิม149ไร่เป็น239ไร่ ทัังของสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่า มีสมาชิกเก่าเพิ่มพื้นที่การผลิตจำนวน10ราย จำนวน30ไร่ เกิดผลลัพเชิงการเรียนรู้และส่งต่อความรู้จากพี่สู่น้อง -สมาชิกเรียนรู้การเตรียมดิน จากจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง30วัน ด้วยกระบวนการพักดิน บำรุงดินด้วยปอเทือง ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก บ่มดินด้วยน้ำและสารจุรินทรีย์ที่กลุ่มผลิตกันเองและการตากหน้าดินด้วยการไถดะ -สมาชิกเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักเพื่อลดต้นทุนการผลิต จากการถ่ายทอดของรุ่นพี่ให้รุ่นน้องด้วยการทำจริง ได้ปุ๋ยมา7,920กก.คิดเป็นมูลค่า39,600บาท ลงทุนด้วยงบ15,000บาทส่วนต่างเท่ากับ21,600บาท ความรู้นี้ยังถ่ายทอดและพัฒนาต่อยอดไปอีกในครั้งต่อไป -เรียนรู้ถ่ายทอดการทำก้อนจุลินทรีย์ ได้ก่อนจุลินทรีย์มา672ก้อน น้ำหนักต่อก้อน200-250กรัม ขยายเป็นจุลินทรีย์น้ำได้200ลิตรต่อก้อน เพียงพอสำหรับการใช้ปรับสภาพดิน บำรุงดิน บำรุงต้นข้าว -เรียนรู้ การวางแผนการปลูกร่วมกัน สรุปวางแผนการปลูกข้าวได้3แบบ โดยคำนึงถึงช่วงอายุข้าว ระยะอายุสั้นกลาง ยาว ความพร้อมของคนทำนา ความเหมาะสมของสภาพพื้นที่นาลึกนาดอน โจทย์ร่วมคือให้ข้าวสุกพร้อมกันเพื่อความสะดวก และช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยวและลดความเสี่ยงในการผลิต ความรู้ทั้งหมดนี้ ได้รับการสั่งสมจากคนทำนารุ่นพี่แล้วส่งต่อความรู้ ประสบการณ์ให้คนทำนารุ่นน้อง โดยมีเป้าหมายร่วมคือข้าวจากนาตะโหมดต้องเป็นข้าวที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย มีกลไกกลุ่มรับรองกันเองตามนิยามความหมายของข้าวจากนาตะโหมด เพื่อยกระดับให้คนทำนาเป็นอาชีพที่สูงค่าสมควรกับการเชิดชู และอาชีพคนทำนาเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้แก่คนทำนาเป็นกอบเป็นกำ งานยังไม่จบ แต่งานเพิ่งเริ่ม ฤดูกาลนาปีเพิ่งเริ่ม วิถีคนทำนายังต้องไปต่อ คาดว่าจบฤดูทำนาปีนี้ชาวนาตะโหมดกลุ่มนี้จะมีวิชาทำนาที่เป็นเอกสารความรู้สักชุด เพื่อส่งต่อความรู้และประสบการณ์ทำนาปลอดภัยให้พื้นที่อื่นได้เรียนรู้และคนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบทอดภูมิปัญญาติดตามประเมินผลเชิงผลลัพธ์ มีสมาชิกเก่า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน23คน ผลลัพธ์ ได้ปีนี้มีสมาชิกมาร่วมเรียนรู้เพิ่มขึ้น23รายจากเดิม42ราย -สมาชิกเพิ่มพื้นที่ผลิตข้าวปลอดภัยเพิ่มขึ้น90ไร่ จากเดิม149ไร่เป็น239ไร่ ทัังของสมาชิกใหม่และสมาชิกเก่า มีสมาชิกเก่าเพิ่มพื้นที่การผลิตจำนวน10ราย จำนวน30ไร่ เกิดผลลัพเชิงการเรียนรู้และส่งต่อความรู้จากพี่สู่น้อง -สมาชิกเรียนรู้การเตรียมดิน จากจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง30วัน ด้วยกระบวนการพักดิน บำรุงดินด้วยปอเทือง ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก บ่มดินด้วยน้ำและสารจุรินทรีย์ที่กลุ่มผลิตกันเองและการตากหน้าดินด้วยการไถดะ -สมาชิกเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักเพื่อลดต้นทุนการผลิต จากการถ่ายทอดของรุ่นพี่ให้รุ่นน้องด้วยการทำจริง ได้ปุ๋ยมา7,920กก.คิดเป็นมูลค่า39,600บาท ลงทุนด้วยงบ15,000บาทส่วนต่างเท่ากับ21,600บาท ความรู้นี้ยังถ่ายทอดและพัฒนาต่อยอดไปอีกในครั้งต่อไป -เรียนรู้ถ่ายทอดการทำก้อนจุลินทรีย์ ได้ก่อนจุลินทรีย์มา672ก้อน น้ำหนักต่อก้อน200-250กรัม ขยายเป็นจุลินทรีย์น้ำได้200ลิตรต่อก้อน เพียงพอสำหรับการใช้ปรับสภาพดิน บำรุงดิน บำรุงต้นข้าว -เรียนรู้ การวางแผนการปลูกร่วมกัน สรุปวางแผนการปลูกข้าวได้3แบบ โดยคำนึงถึงช่วงอายุข้าว ระยะอายุสั้นกลาง ยาว ความพร้อมของคนทำนา ความเหมาะสมของสภาพพื้นที่นาลึกนาดอน โจทย์ร่วมคือให้ข้าวสุกพร้อมกันเพื่อความสะดวก และช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยวและลดความเสี่ยงในการผลิตข้อมูลผลการดำเนินโครงการตามบันไดผลลัพธ์โครงการดังนี้

 

25 0

15. กิจกรรมที่ 10 ติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า ครั้งที่ 1

วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แบ่งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการติดตามชุดละ 3 คน ออกเป็น 2 ชุด เพื่อติดตามการทำนาของสมาชิกรายเก่าที่กลุ่มกำหนดในการทำนาปลอดภัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ติดตามการทำนาของสมาชิกรายเก่า เรื่องต้นทุนในการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก การเตรียมแปลงนาข้าว

 

6 0

16. กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมติดตามสมาชิกรายใหม่ ครั้งที่ 1

วันที่ 15 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.แบ่งคณะทำงานที่มีหน้าที่ในการติดตามชุดละ 3 คนออกเป็น 2 ชุด เพื่อติดตามการทำนาของสมาชิกรายใหม่ตามกติกาที่กลุ่มกำหนดในการทำนาปลอดภัย 2.ติดตามช่วงของการทำนา ช่วงเตรียมการปลูก โดยใช้แบบฟอร์มจัดเก็บข้อมูลในการติดตาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้ทราบว่าสมาชิกใหม่ใช้พันธุ์ข้าวชนิดไหน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสังข์หยด
  • ได้รู้ถึงขั้นตอนการเตรียมการปลูกของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เช่น การเพาะข้าวในแผงเพาะ และการแช่ข้าวปลูก
  • ได้รู้ถึงกระบวนการปลูกข้าวของสมาชิกแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เช่น การหว่าน การโยน และการปักดำ

 

6 0

17. ร่วมประชุมติดตามประเมินผลกับหน่วยจัดการ(ARE) ครั้งที่1

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ไม่ได้จัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่ได้จัดกิจกรรม

 

5 0

18. ประชุมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาโครงการ ARE

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ก ำหนดกำรประชุมประเมินผลเพื่อกำรเรียนรู้และพัฒนำโครงกำรภำยใต้กำรสนับสนุนของ หน่วยจัดกำรที่มีจุดเน้นส ำคัญทำงยุทธศำสตร์จังหวัดพัทลุง (Node Flagship พัทลุง) วันที่ 10 พฤศจิกำยน 2565 ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมภูมิปัญญำผู้สูงอำยุ เทศบำลเมืองพัทลุง อ ำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง 8.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.30 น. กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์และน ำเสนอวีดีทัศน์พื้นที่เด่น 09.30 – 12.00 น. แบ่งกลุ่ม ทบทวนผลลัพธ์รำยประเด็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภำคียุทธศำสตร์ กลุ่มที่ 1 ประเด็นน้ ำเสีย ภำคียุทธศำสตร์ ทสจ.พัทลุง เทศบำลเมืองพัทลุง กลุ่มที่ 2 ประเด็นกำรจัดกำรขยะ ภำคียุทธศำสตร์ ทสจ.พัทลุง ท้องถิ่นจังหวัด อบจ. กลุ่มที่ 3 ประเด็นนำปลอดภัย ภำคียุทธศำสตร์ เกษตรจังหวัดพัทลุง พัฒนำที่ดิน ศูนย์วิจัยข้ำว กลุ่มที่ 4 ประเด็นพืชร่วมยำง ภำคียุทธศำสตร์ เกษตรจังหวัดดพัทลุง กยท.พัทลุง สปก. พัฒนำที่ดิน เกษตรและสหกรณ์ฯ กลุ่มที่ 5 ประเด็นกำรจัดกำรทรัพยำกรชำยฝั่ง ภำคียุทธศำสตร์ ทสจ.พัทลุง ม.ทักษิณ ประมงจังหวัดพัทลุง ทช5 หน่วยเรือตรวจ อบจ.พัทลุง 12.00 – 13.00 น. รับประทำนอำหำรกลำงวันร่วมกัน 13.00 – 14.00 น. 14.00 – 14.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนกำรด ำเนินโครงกำรในประเด็น - กำรจัดท ำรำยงำนผ่ำนระบบออนไลน์ - กำรบริหำรจัดกำรทีมคณะท ำงำน - กำรเชื่อมโยงกำรท ำงำนกับภำคี - กำรจัดกำรด้ำนกำรเงิน สรุปผลกำรประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานโครงการ 3 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมากับกลุ่มอื่น ๆ
  • คณะทำงานโครงการ 3 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้ถึงขั้นตอนการจัดทำเอกสารที่ถูกต้องและสมบูรณ์

 

0 0

19. กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมติดตามสมาชิกรายใหม่ ครั้งที่ 2

วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แบ่งกลุ่มออกเป็นสามกลุ่ม สามโซน ได้แก่ 1.โซนบ้านควน 2. โซนในโป๊ะ-บ้านนา 3. โซนหน้าวัด
  • ลงพื้นที่ติดตามสมาชิกใหม่ดูแลแปลงนาข้าว เช่น การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้ติดตามสมาชิกรายใหม่ว่าได้ทำตามกฏกติกาของกลุ่มหรือป่าว
  • สมาชิกบางคนต่้องทำการปักดำข้าวเพื่อซ่อมแซมส่วนที่โดนน้ำพัดพา หรือเปื่อยเน่าเพราะน้ำขังมากเกินไป
  • ได้รู้ถึงจำนวนครั้งในการลงแปลงนาข้าวในการกำจัดวัชพืช ซึ่งส่วนใหญ่สมาชิกจะลงกันสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งในการลงนาถอนหญ้า
  • ได้รู้ถึงชนิดปุ๋ยที่สมาชิกกลุ่มใช้ในการบำรุงต้นข้าว ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

 

6 0

20. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 4

วันที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานร่วมกับนิสิตสาขาการบริหารและพัฒนาชุมชนม.ทักษิณ สงขลาเพื่อวางแผนการพัฒนาต่อยอดกลุ่มนาปลอดภัยสู่นวัตกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ข้อมูลกลุ่มนาปล่อยภัยในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาความต้องการเพื่อจะนำไปจัดทำแผนงานโครงการในปีต่อไป

 

15 0

21. กิจกรรมที่ 6 เวทีเรียนรู้การปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อยกระดับผลผลิตให้แก่สมาชิกรายเก่า

วันที่ 1 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • สมาชิกรายเก่า และสมาชิกรายใหม่ มาเรียนรู้การปรับปรุงดินในนาข้าว
  • ปราชญ์ชาวบ้านที่เชี่ยวชาญและมีความรู้ความสามารถในเรื่องการปรับปรุงดินเพื่อให้ดินมีคุณสมบัติและธาตุอาหารในดินที่ส่งผลให้ข้าวมีคุณภาพและได้ผลผลิตที่คุ้มการลงทุนมาให้ความรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกรายเก่า และสมาชิกรายใหม่ ได้เรียนรู้การปรับปรุงดินในนาข้าว วิธีปรับปรุงบำรุงดินสำหรับปลูกข้าวทำได้โดย 1. ไถกลบตอซังข้าว โดยให้ไถกลบหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ และปล่อยให้ย่อยสลายเพื่อเป็นอินทรียวัตถุให้แก่ดิน 2. ใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว โดยหว่านปอเทืองก่อนปลูกข้าว ในอัตรา 5 กก. ต่อไร่ จากนั้นไถกลบในระยะออกดอกและปล่อยให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยพืชสด ประมาณ 10-15 วัน แล้วจึงเริ่มปลูกข้าว
3. ใช้น้ำหมักชีวภาพในนาข้าว ใช้ครั้งแรกช่วงเตรียมดิน ใช้หมักฟางในนาข้าว โดยการฉีดพ่นหรือรดลงดินระหว่างเตรียมดิน หรือก่อนการไถกลบตอซังข้าว ในอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ ใช้ครั้งที่ 2 ช่วงข้าวเจริญเติบโตอายุได้ 30, 50 และ 60 วัน โดยการเทนำหมักชีวภาพลงนาข้าว อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ 4. ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยเป็นการใช้ปุ๋ยเท่าที่จำเป็นตามความต้องการของข้าว ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนการผลิตด้วย 5. ใช้วัสดุปูนปรับปรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยว โดยการหว่านวัสดุปูนให้ทั่วนาและไถให้คลุกเคล้ากับดิน หมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ในสภาพดินชื้น เพื่อลดความเป็นกรดของดินลงและให้สภาพดินเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมากยิ่งขึ้น โดยใส่ปูนตามสภาพของดิน

 

43 0

22. กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมติดตามสมาชิกรายใหม่ ครั้งที่ 3

วันที่ 4 มีนาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แบ่งกลุ่มออกเป็นสามกลุ่ม สามโซน ได้แก่ 1.โซนบ้านควน 2. โซนในโป๊ะ-บ้านนา 3. โซนหน้าวัด
  • ลงพื้นที่ติดตามสมาชิกใหม่ในการเก็บเกี่ยวข้าว และบันทึกปริมาณผลผลิตที่ได้ของแต่ละคน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ติดตามสมาชิกรายใหม่ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต
  • สมาชิกแต่ละคนทำข้าวคนละชนิด ก็จะมีเวลาการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน ตามระยะของข้าว หรือที่เรียกว่าข้าวเบาระยะเวลาการปลูกประมาณ 4 เดือน เช่น ข้าวหอมปทุม ข้าวหอมราชนี หอม กข.79 และข้าวหนัก ระยะเวลาการปลูกประมาณ 6 เดือน เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวเล็บนก
  • สมาชิกมีการเก็บเกี่ยว 2 แบบ คือ การเก็บเกี่ยวด้วยรถเกี่ยวข้าว และอีกอย่างคือการเก็บด้วยมือ ที่เรียกว่าเก็บกับ "แกะเก็บข้าว"

 

6 0

23. กิจกรรมที่ 10 ติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า ครั้งที่ 2

วันที่ 7 มีนาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แบ่งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการติดตามชุดละ 3 คน ออกเป็น 2 ชุด เพื่อติดตามการทำนาของสมาชิกรายเก่าที่กลุ่มกำหนดในการทำนาปลอดภัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ติดตามการทำนาของสมาชิกรายเก่า เรื่องผลผลิตที่ได้ต่อการคุ้มค่า ได้แก่ ผลผลิตที่ได้รับ แต่ปีนี้มีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน และมีน้ำท่วม ทำให้นาข้าวเสียหาย ผลผลิตที่ได้จึงมีปริมาณลดย้อยลงเมื่อเทียบกับการทำนาข้าวเมื่อก่อน ๆ

 

6 0

24. กิจกรรมที่ 8 เวทีเรียนรู้การพัฒนาและเก็บรักษาพันธุ์

วันที่ 12 มีนาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • สมาชิกรายเก่าและรายใหม่มาเรียนรู้วิธีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวไว้สำหรับเป็นเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก จำนวน 22 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกรายเก่าและรายใหม่ได้เรียนรู้... วิธีการคัดเลือกพันธุ์ข้าว -เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกและระดับน้ำ -เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรสนใจและนิยมปลูก -ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญในพื้นที่ -หลีกเลี่ยงพันธุ์ที่ไม่ทนทานต่อสภาพอากาศในบางฤดู - เป็นพันธุ์ข้าวที่ตลาดต้องการ

ประโยชน์ของการคัดเลือกพันธุ์ข้าว -ข้าวที่ได้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ ไม่มีข้าวปน -ข้าวที่ได้มีความสม่ำเสมอทั้งคุณภาพและรสชาติการหุงต้ม สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และเวลานำไปขายไม่ถูกกดราคา -วิธีการนี้สามารถใช้ได้กับข้าวทุกสายพันธุ

 

22 0

25. กิจกรรมที่ 10 ติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า ครั้งที่ 3

วันที่ 20 มีนาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แบ่งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการติดตามชุดละ 3 คน ออกเป็น 2 ชุด เพื่อติดตามการทำนาของสมาชิกรายเก่าที่กลุ่มกำหนดในการทำนาปลอดภัย
  • การเก็บเมล็ดพันธุ์ดีไว้ใช้เอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การเก็บเมล็ดพันธุ์ดีไว้ใช้เองมีข้อดี คือเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ โดยต้องกำจัดข้าวปนในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมดิน การเตรียมพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว โดยการเก็บรักษาต้องใช้ภาชนะที่ป้องกันความชื้นได้ และมีการเก็บที่มิดชิด โดยการเก็บไว้ในกระสอบในบริเวณที่มีอากาศระบายได้ดีมีข้อดี คือเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ โดยต้องกำจัดข้าวปนในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมดิน การเตรียมพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว โดยการเก็บรักษาต้องใช้ภาชนะที่ป้องกันความชื้นได้ และมีการเก็บที่มิดชิด โดยการเก็บไว้ในกระสอบในบริเวณที่มีอากาศระบายได้ดี

 

6 0

26. กิจกรรมที่ 14 เวทีจัดการความรู้และวางแผนสร้างความร่วมมือการยกระดับผลผลิตในรูปแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

วันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ไม่ได้จัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่ได้จัดกิจกรรม

 

0 0

27. กิจกรรมที่ 12 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2

วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันคิดทบทวนถึงผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมาแล้ว
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันบอกเล่าถึงปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการทำนาข้าว
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ร่วมกันคิดทบทวนถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำผ่านมาแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้รู้ถึงประโยชน์ของข้อมูลที่ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมมา
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้เห็นถึงฐานข้อมูลของกลุ่มในรูปแบบตัวเลขที่ชัดเจน
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้เรียนรู้และตระหนักถึงประโยชน์การกินข้าวที่ผลิตด้วยตนเอง
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของดินและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น
  • สมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์รู้ถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำผ่านมาแล้ว

 

25 0

28. กิจกรรมที่ 11 เวทีเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำนาระหว่างสมาชิกรายเก่า/รายใหม่ ครั้งที่ 1

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • จัดประชุมทั้งสมาชิกเก่าและใหม่เพื่อที่จะให้สมาชิกทำนาเก่ามาบอกเล่าถึงวิธีการทำนาของตนเองสำหรับ ปีที่ผ่านมา
  • มีการสาธิตการทำพืชสมุนไพร(ขมิ้น)ไล่แมลง แล้วหมักเก็บไว้ 3 คืน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปผลการเรียนรู้ด้วยกัน ดังนี้ การทำนาต้องมีใจรัก รักความสามัคคี รักการทำนา รักเพื่อนบ้านทั้งไกลใกล้ รักสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเป็นแรงจูงใจ เช่นขายได้ราคาดี ครอบครัวญาติๆได้กินข้าวปลอดภัย นอกจากนี้ต้องมีแผนการทำนาของแต่ละขั้นตอน

 

40 0

29. กิจกรรมที่ 11 เวทีเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำนาระหว่างสมาชิกรายเก่า/รายใหม่ ครั้งที่ 2

วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ประชุมสมาชิกเก่าและใหม่โดยให้สมาชิกทั้ง2กลุ่มมาแลกเปลียนเรียนรู้การทำนาปลอดภัยของสมาชิกเก่าทึ่ผ่านมา
  • มีการสาธิตการทำพืชสมุนไพร(ขมิ้น)ไล่แมลง แล้วหมักเก็บไว้ 3 คืน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • การทำนาการปลอดภัยจะต้องมีการวางแผนงานเช่น การเตรียมแปลง การไถ การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ยครั้งแรก การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเตรียมเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ เพื่อให้เหมาะกับ วิธีการทำนา การดูแลรักษา การมีกฎกติกา เช่น จะต้องลดหรือเลิกการใช้สารเคมี
  • การดูแลแปลงโดยมีการจัดการแบ่งเป็นโซน
  • การร่วมกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้
  • สมาชิกได้แบ่งน้ำหมักพืชสมุนไพร(ขมิ้น)ไล่แมลงนำกลับไปใช้ฉีดพ่นในนาข้าว
  • ประสิทธิภาพ นำไปฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณทรงพุ่มต้นที่เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหง้าของขมิ้นมีน้ำมันหอมระเหย  ช่วยขับไล่และกำจัดแมลงได้หลายชนิด ได้แก่หนอนกระทู้ผักหนอนผีเสื้อด้วงงาช้างแมลงวันทองมอด และไรแดง

 

40 0

30. ร่วมประชุมติดตามประเมินผลกับหน่วยจัดการ (ARE) ครั้งที่2

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ร่วมกันคิดทบทวนถึงผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมาแล้ว
  • ร่วมกันบอกเล่าถึงปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการทำนาข้าว
  • ร่วมกันคิดทบทวนถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ทำผ่านมาแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้รู้ถึงประโยชน์ของข้อมูลที่ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมมา
  • ได้เห็นถึงฐานข้อมูลของกลุ่มในรูปแบบตัวเลขที่ชัดเจน
  • ได้เรียนรู้และตระหนักถึงประโยชน์การกินข้าวที่ผลิตด้วยตนเอง
  • ได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของดินและสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น

 

0 0

31. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 5

วันที่ 5 มิถุนายน 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมสมาชิกเพื่อรายงานผลจากการลงติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการลงพื้นที่ พบว่าสมาชิกทุกคนต่างประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ผลผลิตข้าวปีนี้พอมีกิน แต่สมาชืกยังคงมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง และมีการแลกเปลี่ยนการทำนาปรังสำหรับปีนี้ว่ามีจำนวนกี่คน

 

15 0

32. กิจกรรมที่ 11 เวทีเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำนาระหว่างสมาชิกรายเก่า/รายใหม่ ครั้งที่ 3

วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1คัดเลือกสมาชิกที่เป็นเกษตรกรรายเก่าที่มีประสบการณ์และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรรายใหม่ได้ 2.แบ่งเป็นกลุ่มย่อยให้เกษตรกรทั้งสองรุ่นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
3.นำเสนอและสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปผลเรียนรู้ร่วมกันที่ประชุมทั้งสมาชิกเก่าใหม่ได้หยิบยกฤดูการทำนาปรังปี 2566 เริ่มเดือน..ถึงเดือน.. ประเด็นหารือคือข้อดีข้อเสียของการทำปรัง ข้อดี เช่นพื้นที่มีน้ำลดปัจจัยเสี่ยงจากอุทกภัย สามารถบังคับน้ำได้ตลอดฤดู เหมาะสมที่จะใช้พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง เช่น กข.79 เป็นช่องทางของรายได้ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคข้าวปลอดภัยและเครือข่ายตลาดนอกพื้นทึ่ ข้อเสีย เช่น พื้นที่น้ำน้อยเกิดปัญหาวัชพืช แปลงที่มีซังข้าวมากๆไม่ผ่านกระบวนการย่อยสลาย หรือโดยไม่ได้ไถหลังจากเก็บเกี่ยวนาปีบริเวณ นั้นจะทำให้เกิดแก๊สข้าวจะไม่ขึ้น การไม่มีปุ๋ยอินทรีย์ที่เพียงพอ การบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ที่ประชุมได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาแต่ละเรื่องไว้สำหรับแก้ปัญหาเองและหน่วยงานที่เกียวข้อง

 

40 0

33. กิจกรรมที่ 13 เวทีถอดบทเรียนการทำนาปราณีตของสมาชิกรายเก่าและสรุปผลการทำนาของสมาชิกรายใหม่

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คัดเลือกตัวแทนคณะทำงาน/เกษตรกรรายเก่าและรายใหม่ร่วมกิจกรรมจำนวน12คน 2.เชิญบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถในถอดบทเรียนจำนวน2คนมาเป็นวิทยากรกระบวนการ 3.เนื้อหาที่ได้มาจากกระบวนการคือความสำเร็จและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของกลุ่มเกษตรกรรายใหม่/กระบวนการความสำเร็จและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำนาปราณีตของเกษตรกรรุ่นเก่า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แรงจูงใจในการทำนาปลอดภัย - สุขภาพคนทำเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพที่อ่อนแอป่วยอยู่บ่อยครั้งจึงปลูกข้าวแบบอินทรีย์เพื่อรับประทานเอง - สุขภาพคนกินการทำการเกษตรให้มีความสุข คือ การผลิตข้าวที่ปลอดภัยจากสารเคมีเมื่อผู้ทำมีสุขภาพที่ดีแล้วผู้บริโภคก็มีสุขภาพดีตามไปด้วย จึงเป็นสาเหตุหลักในการผลิตข้าวแบบอินทรีย์ - ลดการปนเปื้อนสารเคมีในดินและช่วยลดการเสื่อมโทรมของสภาพดิน - สารเคมีไม่ไหลลงสู่แหล่งน้ำ สามารถเก็บผักที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในแหล่งน้ำลำคลอง มาบริโภค เป็นอาหารได้ และสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา มีแหล่งที่อยู่อาศัย - รักษาความสมดุลของระบบนิเวศ มีแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้อาศัย เช่น ผึ้งจะช่วยในเรื่องการ ผสมเกสร - ผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาดกลุ่มคนรักสุภาพ - ราคาสูงกว่า ข้าวสารทั่วไป . . ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. ความซื่อสัตย์ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้ไปด้วยกันในเรื่องของกระบวนการผลิต 2. มีทีมงานและเครือข่ายที่เข้มแข็งมีหน่วยงานภาครัฐติดตามดูแล 3. มีแหล่งเรียนรู้ และตัวอย่างให้เรียนรู้ สามารถนำไปขยายผลในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรได้ 4. ไม่หยุดนิ่งในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม มีโอกาสก็จะไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตร มีการปรับรู้แบบความรู้ไม่รู้จบ 5. ผลิตภัณฑ์ ข้าวอินทรีย์เป็นที่ยอมรับและตลาดมีความต้องการในปริมาณมากทำให้สมาชิกกลุ่มมีงาน ทำและมีรายได้ตลอดทั้งปี

 

30 0

34. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 6

วันที่ 3 สิงหาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการและสมาชิกประชุมเตรียมการจัดกิจกรรมคืนข้อมูลชุมชน/สรุปผลการดำเนินงาน - คัดเลือกวัน/เวลา/สถานที่ที่จะจัดกิจกรรม - ออกแบบผลผลิตข้าวที่จะแสดงในวันจัดกิจกรรม - แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคน แต่ละด้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้ข้อมูลที่จะนำเสนอในวันจัดกิจกรรม
  2. ได้จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคน แต่ละด้าน
  3. ได้วัน เวลา สถานที่ จัดกิจกรรม
  4. สมาชิกได้รับรู้ลำดับของกิจกรรมภายใต้โครงการ

 

15 0

35. กิจกรรมกับเครือข่าย Node Flagship จังหวัดพัทลุง (งานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2)

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 5 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เรียนรู้จากฐานต่าง ๆ ที่แบ่งออกเป็นประเด็นต่าง ๆ ทั้ง 8 ประเด็น ได้แก่ 1) ออกแบบระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนเพื่อสร้างพลเมืองผู้ตื่นรู้ 2) สร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล 3) ออกแบบระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน 4) จังหวัดอาหารปลอดภัยและรักษาพันธุ์พืช/สร้างจุดเด่นด้านสมุนไพรและการดูแลสุขภาพชุมชน 5) การสร้างความมั่นคงของชุมชน (สวัสดิการชุมชนและที่อยู่อาศัย) 6) ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรม 7) ออกแบบพื้นที่พิเศษของจังหวัดพัทลุง 8.) สร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

 

0 0

36. กิจกรรมที่ 15 กิจกรรมปิดโครงการ/จัดนิทรรศการนาข้าวปลอดภัย

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดนิทรรศการคืนข้อมูลสู่ชุมชน/สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

• ชุมชนได้รับรู้กลุ่ม, องค์กรทำงานเรื่องนาข้าวปลอดภัย • ชุมชนได้รับรู้กระบวนการทำนาข้าวปลอดภัยทั้งระบบ • ผู้นำท้องถิ่นได้รับรู้ส่งผลต่อการต่อยอดพัฒนาท้องถิ่นด้านอาชีพและเศรษฐกิจ • การทำงานเป็นทีม ส่งเสริมความร่วมมือการพัฒนาทีม • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีในระดับท้องถิ่น • ได้แนวคิดการตลาดเพื่อสร้างอาหารปลอดภัยให้กับชุมชนและเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก

 

80 0

37. ค่าอินเตอร์เน็ตสำหรับเขียนรายการกิจกรรม

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เขียนรายงานกิจกรรมโครงการในระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เพื่อรายงานการทำกิจกรรม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดกลุ่มทำนาเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.มีบทเรียนการทำนาปลอดภัยจากเกษตรกรรายเก่า 2.มีเกษตรกรรายเก่าที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ไม่น้อยกว่า10คน 3.มีเกษตรกรรายใหม่มาร่วมกลุ่มทำนาปลอดภัยไม่น้อยกว่า20คน
0.00

เกษตรกรรายเก่ามีประสบการณ์และความรู้เรื่องการทำนาจากการลงมือทำจริงจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเองและคนทำนาในชุมชนจนเกิดความตระหนักในกระบวนการทำนาที่ปลอดภัยจนส่งผลให้คนทำนาคนอื่นตื่นตัวเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากคุณภาพข้าวที่ได้มีคุภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในชุมชน ชาวนาที่เป็นสมาชิกรุ่นเก่าก็กระตือรือร้นที่จะถ่ายทอดความภาคภูมิใจในความรู้ให้กับเกษรกรรุ่นใหม่

2 เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถปรับสภาพแวดล้อมการทำนาปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 1.เกษตรกรรายใหม่มีความรู้เรื่องทำนาปลอดภัย 2.มีการออกแบบการทำนาร่วมกัน 3.มีมีการผลิตปุ๋ยและสารทดแทนใช้เอง 4.เกษตรกรรายเก่ามีการยกระดับการปรับปรุงดินก่อนปลูก 5.เกษตรรายเก่าสามารถยกระดับการพัฒนาพันธุ์ข้าวและการเก็บรกษาพันธุ์
0.00

1.สมาชิกรายใหม่ที่ร่วมโครงการทั้งหมดทำนามาโดยตลอดแต่ยังชินการการทำนาที่ต้องพึ่งพาสารเคมีเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้จึงเกิดความเชื่อมั่นต่อผลผลิตข้าวและตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้น 2.การออกแบบและวางแผนการทำนาคำนึงถึงความพร้อมของคนทำนา สภาพพื้นที่(นาลึก นาดอน)รวมถึงความสะดวกในการปักดำ 3.การผลิตปุ๋ยใช้กันเองเป็นประจำทำให้ชาวนาเกิดความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเอง และความเชื่อมั่นในกระบวนการทำนาที่ตนเองผ่านการเรียนรู้มาแล้วและสามารถยืนยันได้ว่ากระบวนการทำนาแบบนี้ม่งผลดีต่อสุขภาพคนรวมถึงส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของชุมชนทั้งเรื่องน้ำ ดิน อากาศ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของชุมชน

3 เพื่อหนุนเสริมให้เกิดเกิดกลไกการติดตามการทำนาปลอดภัยอย่างต่อเนื่องทั้งเกษตรกรรายใหม่และเกษตรกรรายเก่า
ตัวชี้วัด : 1.เกษตรกรรายเก่ามีการติดตามต้นทุนและผลผลิต 2.มีการติดตามเกษตรกรรายใหม่ตามกติกากลุ่ม 3.มีการติดตามการปรับปรุงดินของเกษตรกรรายเก่า 4.มีการร่วมเรียนรู้กันระหว่างเกษตรกรรายเก่าและรายใหม่ไม่น้อยกว่า3ครั้ง 5.มีการสร้างความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องกับการทำนา
0.00

 

4 เพื่อให้เกิดพื้นที่นาปลอดภัยในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.มีพื้นที่นาปลอดภัยของเกษตรกรรายใหม่ตามกติกากลุ่มไม่น้อยกว่า60ไร่ 2.มีข้อมูลต้นทุนที่ลดลงและข้อมูลผลิตจากการทำนาปลอดภัยของเกษตรกรรายเก่า 3.มีบทเรียนการทำนาปลอดภัยของเกษตรกรรายใหม่ 4.มีบทเรียนการทำนาปราณีตของเกษตรกรรายเก่าที่เหมาะสมกับการทำนาแต่ละช่วงฤดูกาล
0.00

 

5 เพื่อให้มีกระบวนการยกระดับผลผลิตสู่การตลาด
ตัวชี้วัด : 1.ยกระดับการผลิตเป็นวิสาหกิจชุมชนและมีตราสินค้าชุมชนที่ได้รับการยอมรับ 2.มีข้าวปลอดภัยขายในชุมชนมากขึ้น
0.00

 

6 คนในชุมชนพัทลุงได้กินข้าวปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1.มีการกระจายสินค้าโดยใช้กลไกความร่วมมือกับภาคีเพื่อจำหน่ายข้าวนอกชุมชน
0.00

 

7 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดกลุ่มทำนาเข้มแข็ง (2) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถปรับสภาพแวดล้อมการทำนาปลอดภัย (3) เพื่อหนุนเสริมให้เกิดเกิดกลไกการติดตามการทำนาปลอดภัยอย่างต่อเนื่องทั้งเกษตรกรรายใหม่และเกษตรกรรายเก่า (4) เพื่อให้เกิดพื้นที่นาปลอดภัยในชุมชน (5) เพื่อให้มีกระบวนการยกระดับผลผลิตสู่การตลาด (6) คนในชุมชนพัทลุงได้กินข้าวปลอดภัยเพิ่มขึ้น (7) เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมปฐมนิเทศ (2) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (3) กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 1 (4) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสังเคราะห์บทเรียนการทำนาปลอดภัย (5) กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลบทเรียนการทำนา (6) กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้การทำนาปลอดภัยแก่สมาชิกใหม่ (7) กิจกรรมที่ 5 เวทีวางแผนและออกแบบการทำนา (8) กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 2 (9) กิจกรรมที่ 7 อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิต ครั้งที่ 1 (10) กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 3 (11) กิจกรรมที่ 7 อบรมการผลิตปัจจัยหนุนเสริมการผลิตการผลิต ครั้งที่ 2 (12) กิจกรรมกับเครือข่าย Node Flagship จังหวัดพัทลุง (งานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข) (13) กิจกรรมที่ 12 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 1 (14) ทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ (15) กิจกรรมที่ 6 เวทีเรียนรู้การปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อยกระดับผลผลิตให้แก่สมาชิกรายเก่า (16) กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 4 (17) กิจกรรมที่ 10 ติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า ครั้งที่ 1 (18) ร่วมประชุมติดตามประเมินผลกับหน่วยจัดการ(ARE) ครั้งที่1 (19) กิจกรรมที่ 11 เวทีเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำนาระหว่างสมาชิกรายเก่า/รายใหม่ ครั้งที่ 2 (20) ประชุมประเมินผลเพื่อกำรเรียนรู้และพัฒนำโครงกำร (21) กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมติดตามสมาชิกรายใหม่ ครั้งที่ 1 (22) กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 5 (23) กิจกรรมที่ 11 เวทีเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำนาระหว่างสมาชิกรายเก่า/รายใหม่ ครั้งที่ 1 (24) กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมติดตามสมาชิกรายใหม่ ครั้งที่ 2 (25) กิจกรรมที่ 10 ติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า ครั้งที่ 2 (26) กิจกรรมที่ 8 เวทีเรียนรู้การพัฒนาและเก็บรักษาพันธุ์ (27) กิจกรรมที่ 10 ติดตามการยกระดับการทำนาของสมาชิกรายเก่า ครั้งที่ 3 (28) กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมติดตามสมาชิกรายใหม่ ครั้งที่ 3 (29) กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานและสมาชิกประจำเดือนครั้งที่ 6 (30) กิจกรรมที่ 12 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2 (31) กิจกรรมที่ 14 เวทีจัดการความรู้และวางแผนสร้างความร่วมมือการยกระดับผลผลิตในรูปแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (32) กิจกรรมที่ 15 กิจกรรมปิดโครงการ/จัดนิทรรศการนาข้าวปลอดภัย (33) กิจกรรมที่ 11 เวทีเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ทำนาระหว่างสมาชิกรายเก่า/รายใหม่ ครั้งที่ 3 (34) ร่วมประชุมติดตามประเมินผลกับหน่วยจัดการ (ARE) ครั้งที่2 (35) กิจกรรมที่ 13 เวทีถอดบทเรียนการทำนาปราณีตของสมาชิกรายเก่าและสรุปผลการทำนาของสมาชิกรายใหม่ (36) กิจกรรมกับเครือข่าย Node Flagship จังหวัดพัทลุง (งานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2) (37) ค่าอินเตอร์เน็ตสำหรับเขียนรายการกิจกรรม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวปรานีตเพื่อบริโภคปลอดภัยที่ชุมชนตะโหมด จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00232-0033

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายโกวิทย์ สักหวาน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด