directions_run

ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย บ้านยือโร๊ะ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย บ้านยือโร๊ะ ”

บ้านยือโร๊ะ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายอาแว ยือโระ

ชื่อโครงการ ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย บ้านยือโร๊ะ

ที่อยู่ บ้านยือโร๊ะ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-02-004 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย บ้านยือโร๊ะ จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านยือโร๊ะ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย บ้านยือโร๊ะ



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย บ้านยือโร๊ะ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านยือโร๊ะ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 65-02-004 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,600.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดยะลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตำบลบาโงย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ได้ชื่อว่า "บาโงย" หมายถึง เขาเตี้ยๆ หรือ เนิน สาเหตุที่ได้ตั้งชื่อนี้ เนื่องจากกลางหมู่บ้านจะมีพื้นที่เป็นเนินขนาดกลาง น้ำไม่ท่วม มีประวัติความเป็นมาคือเดิมมีสามีภรรยาคู่หนึ่งเป็นชาวจีน สันนิษฐานว่ามาจากเมืองปัตตานี มาตั้งครอบครัว และมาค้าขาย กับเมืองรามัน (โกตาบารู) โดยขนสินค้าจากเมืองโกตาบารู ไปส่งท่าเรือปัตตานี และขนสินค้าจากปัตตานี มาส่งที่เมืองโกตาบารู เมื่อมีครอบครัวจึงมาสร้างบ้านเรือนบนเนินนี้ คนเมืองโกตาบารูเรียกคนนี้ว่า "โต๊ะบาโง" และเป็นต้นตระกูล "เด็งระกีนา" ซึ่งต้นตระกูลนี้เป็นผู้นำสืบทอดกันมาในตำบลบาโงยจนถึงปัจจุบัน จึงได้มีการนำคำว่า "บาโง" หรือ บาโงย มาตั้งเป็น  ชื่่อหมู่บ้านและตำบลจนถึงปัจจุบัน สภาพทั่วไปของตำบลเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับการทำนา   โดยอาณาเขตตำบล ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศใต้ ติดกับ ตำบล      โกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จำนวนประชากรของตำบล จำนวนประชากรในเขต อบต. 2,679 คน และจำนวนหลังคาเรือน 530 หลังคาเรือน ข้อมูลอาชีพของตำบล อาชีพหลัก ได้แก่ การทำนา ทำสวน อาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงโค สำหรับพื้นที่บ้านยือโระ หมู่ที่ 2 จำนวน 2,679 คน และจำนวนหลังคาเรือน 530 หลังคาเรือน        ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ประกอบด้วย ยางพารา นาข้าว ทำงานโรงงาน และสวนไม้ผล ซึ่งหลังจากการกรีดยางหรือทำนาของคนในพื้นที่แล้ว บางครัวเรือนปลูกผักเพื่อไว้บริโภคเอง หากเหลือจากการบริโภคก็จะนำไปขาย ผักที่นิยมปลูกจะเป็นผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก ข้าวโพด แตงโม ผักบุ้ง ฝักทอง เป็นต้น เกษตรกร 80% มีการคำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติ เน้นการใช้วัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ แต่ยังพบว่าเกษตรกร อีก 20 % มีการใช้สารเคมี เนื่องจากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และมีความเชื่อว่าหากมีการใช้ปุ๋ยเคมีผสมร่วมกับปุ๋ยคอก จะเร่งให้พืชโตเร็ว แข็งแรง และผักมีความสวยงามและสาเหตุของการใช้ปุ๋ยเคมีพบว่า เกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายในชุมชนและง่ายต่อการดูแล การดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ซึ่งมีจุดเน้นสำคัญระดับจังหวัดยะลา ได้กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ลดการนำเข้าผักนอกพื้นที่จังหวัดยะลา มีรายได้เพิ่มจากการขายผักและสมาชิกของโครงการมีการบริโภคผักปลอดภัย อย่างน้อย 400 กรัม/วัน โดยแบ่งพื้นที่การปลูกผักไว้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสหกิจ จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย กลุ่มลำใหม่ (นูรีสฟาร์ม) กลุ่มบาเจาะ กลุ่มเลสุ กลุ่มบันนังสตา กลุ่มบุดี และกลุ่มเกษตรกร จำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย กลุ่มยะต๊ะ กลุ่มทุ่งเหรียง กลุ่มคลองทราย กลุ่มหน้าถ้ำ กลุ่มกาตอง กลุ่มวังพญา กลุ่มบาโงย และกลุ่มบือมัง ซึ่งโครงการของกลุ่มบาโงยอยู่ในกลุ่มเกษตรกร ส่วนการดำเนินงานโครงการกลุ่มเกษตรกรตำบลบาโงย ก่อนเริ่มโครงการมีการรวมกลุ่มเล็ก ๆ จำนวน 20 คน ดำเนินการปลูกผัก ได้แก่ ผักบุ้ง พริก ถั่วฝักยาว แตงกวา ตะใคร้ มันเทศ อ้อย ข้าวโพด มีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภคเฉลี่ยสัปดาห์ละ..120..บาท/คน ปัจจุบันชุมชน ยังไม่มีกติกาข้อตกลงเกี่ยวกับการปลูก และบริโภคผักปลอดภัย
สภาพปัญหาที่พบในพื้นที่กลุ่มเกษตรกรตำบลบาโงย ฐานความคิดของเกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน เหลือจากการบริโภคแจกจ่ายเพื่อนบ้านใกล้เคียง ไม่ได้ปลูกเพื่อการขาย เนื่องจากไม่สามารถหาตลาดเพื่อการขายได้ ขาดการรวมกลุ่มของเกษตรกร ไม่มีกฎกติกา/ระเบียบของชุมชนในการบริโภคผักปลอดสารพิษ ส่วนใหญ่ต่างคนต่างปลูก และไม่มีการวางแผนในการปลูก และอีกประการหนึ่งก็ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูก เพราะส่วนใหญ่ขาดความรู้ในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก ส่วนปัจจัยการผลิต เกษตรมีน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตและดินไม่อุดมสมบูรณ์ต่อการเกษตร
ปัญหาด้านพฤติกรรมการบริโภคผัก ของชุมชนบาโงย ส่วนใหญ่ซื้อผักจากท้องตลาด รถเร่ และร้านค้าในหมู่บ้านมาบริโภคในครัวเรือน ไม่ได้มีการปลูกผักทุกครัวเรือน เพราะหาซื้อง่าย สะดวกในการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากในหมู่บ้านมีร้านค้าขายผักสด และรถเร่ จึงนิยมซื้อผักมาบริโภค ส่วนใหญ่จะปลูกพืชสมุนไพร เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ไม่ต้องให้การดูแลบำรุงรักษา แต่ไม่ได้คำนึงถึงสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผัก-ผลไม้ที่ไม่ปลอดสารพิษ หรือปลอดภัย เพราะหากเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีจะทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ที่สำคัญยังทำให้ดินเสื่อมสภาพ มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ ทั้งนี้ พบว่าเกษตรกรในพื้นที่ มีความสนใจและต้องการปลูกพืชผักระยะสั้น เพื่อหาช่องทางเพิ่มรายได้จากการประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ มีการรวมกลุ่มแต่ไม่สามารถดำเนินการตามวัถตุประสงค์ได้จริง เนื่องจากขาดกระบวนการจัดการที่ดี การวางแผนการผลิตที่ดี เพื่อให้มีผลผลิตส่งตลาดได้อย่างต่อเนื่อง และปัญหาด้านปัจเจก พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าการปลูกผักอินทรีย์ มีความยุ่งยาก มีความยากลำบาก และผลผลิตอาจจะได้น้อย เลยมีการปลูกผักโดยใช้สารเคมี อีกอย่างเกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องการปลูกผักอินทรีย์ หรือการปลูกผักปลอดภัย เพราะขาดหน่วยงานมาให้ความรู้ ทำให้เกษตรกรดำเนินการปลูกผักแบบเดิม ๆ
ดังนั้น แนวทางในการดำเนินงาน คือ การให้องค์ความรู้ การอบรมแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผัก การปลูกผักรับประทานเองผักอินทรีย์หรือผักปลอดภัย โดยไม่ใช้สารเคมีหรือใช้ในปริมาณที่ปลอดภัย และลดการซื้อผักจากรถเร่ และร้านค้าที่นำผักในตลาดมาขายในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อลดโรค และเป็นการให้ชุมชนหันกลับมาดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในการป้องกันโรค และลดต้นทุนการผลิตเน้นในด้านการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา ทั้งนี้ ให้เกษตรกรได้เรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดภัยสู่ตลาดภายนอก เรียนรู้การวางแผนการผลิต การจัดการที่ดี ที่ครอบคลุมถึงด้านการตลาด มีอำนาจในการตั้งราคาเอง โดยไม่ให้พ่อค้าคนกลางกดราคาได้ เพื่อเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สร้างรายได้เสริม ให้เป็นรายได้หลักแทนยางพาราและให้เป็นพื้นที่แหล่งอาหารที่สำคัญของจังหวัดยะลา และควรให้เกษตรกรตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร จำเป็นต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่อง ถูกวิธี และเหมาะสมตามลักษณะและคุณสมบัติของดิน สำหรับดินทั่วๆไป การปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้เหมาะสมสำหรับพืชที่ต้องการปลูกและสภาพพื้นที่ปลูก ควรเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของดินและการวิเคราะห์ดิน ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบและการวิเคราะห์ดินดังกล่าวจะนำไปสู่วิธีการหรือแนวทางการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมต่อไป และก่อนการเพาะปลูกควรให้เกษตรกรเตรียมแหล่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูกเพื่อไม่ให้พืชผักยืนต้นตายได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง
  2. เพื่อเกษตรกรสามาถผลิตและบริโภคผักปลอกภัย
  3. เพื่อการบริหารจัดการโครงการฯ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เปิดบัญชีธนาคาร
  2. ดอกเบี้ย
  3. เวทีสรุปโครงการ
  4. ดอกเบี้ย
  5. จัดเวที่ติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 3
  6. ปฐมนิเทศโครงการ
  7. เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ
  8. จัดทำป้ายไวนิล
  9. ประชุมครั้งที่ 1
  10. การตรวจแปลงเกษตรก่อนการปลูก
  11. ประชุมครั้งที่ 2
  12. อบรมการทำปุ๋ย
  13. พัฒนาเพื่อยกระดับกลุ่ม
  14. กิจกรรมอบรมเกษตรกรเพื่อให้ความเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP
  15. จัดทำแผนการผลิตของสมาชิก
  16. อบรม ศึกษาดูงาน
  17. กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย
  18. กิจกรรมตรวจแปลง
  19. เวทีติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 1
  20. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1
  21. ประชุมครั้งที่ 3
  22. ติดตามการผลิต
  23. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2
  24. จัดเวทีติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 2
  25. กิจกรรมจัดทำรายงานโครงการ
  26. ประชุมครั้งที่ 4

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายหลัก 40

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครัวเรือนเป้าหมายปลูกและบริโภคผักปลอดภัย


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปฐมนิเทศ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เข้าใจเป้าหมายของโครงการ 2.เข้าใจรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน

 

4 0

2. เปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เปิดบัญชีธนาคาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เปิดบัญชีธนาคาร

 

0 0

3. เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ

วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.สมัครสมาชิกเข้าสู่ระบบ คนสร้างสุข 2.ทำความเข้าใจหัวข้อต่างๆในระบบ 3.ดำเนินการลงข้อมูลในระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กลุ่มมีระบบไว้รายงานการดำเนินงาน 2.มีความเข้าใจในหัวข้อต่างๆในระบบ 3.เข้าใจวิธีการนำข้อมูลลงระบบในแต่ละขั้นตอน

 

2 0

4. จัดทำป้ายไวนิล

วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ติดต่อร้านเพื่อทำไวนิลโครงการฯ และไวนิลบันไดผลลัพธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไวนิลเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการฯ

 

0 0

5. ประชุมครั้งที่ 1

วันที่ 3 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

09.00-.9.30 น. ลงเทะเบียน 09.30-10.50 น. กล่าวพิธีเปิดโครงการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัยบ้านยือโระ                       - สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ                       - พูดถึงความสำคัญและวัตถุงประสงค์ของโครงการ 10.50-11.30 น. แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการฯ 11.30-12.00 น. ชี้แจงกิจกรรมครั้งต่อไป/ปิดประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีคณะกรรมการของโครงการฯ 2.คณะกรรมการและสมาชิกเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ 3.คณะกรรมการและสมาชิกเข้าใจถึงความสำคัญและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

 

50 0

6. การตรวจแปลงเกษตรก่อนการปลูก

วันที่ 10 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นำคณะกรรมการลงตรวจแปลงเกษตรก่อนการปลูก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พบว่าเป็นพื้นที่ๆเคยมีการปลูกผักต่างๆบ้างแล้ว แต่ยังมีพื้นที่ว่างที่สามารถให้ปลูกเพิ่มอีกมาก

 

50 0

7. ประชุมครั้งที่ 2

วันที่ 11 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

09.00-09.30 น.    ลงทะเบียน 09.30-11.00 น.    บอกถึงรายละเอียดและสรุปการสำรวจข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ทราบถึงปัญหาอุปสรรคในการปลูกของพื้นที่ 2.ทำให้รู้ว่าสามารถที่จะปลูกผักอะไรบ้างที่ให้ดีต่อพื้นที่

 

50 0

8. อบรมการทำปุ๋ย

วันที่ 11 มิถุนายน 2565 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

13.30 น.-14.00น.  ลงทะเบียน 14.00 น.-16.00 น.  ฟังการบรรยายจากวิทยากร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการทำปุ๋ยของสมาชิก 2.สร้างสามัคคีระหว่างกันของสมาชิก 3.สร้างแรงจูงใจในการปลูกผักของสมาชิก

 

50 0

9. พัฒนาเพื่อยกระดับกลุ่ม

วันที่ 17 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นำสมาชิกกลุ่มทั้งหมดไปอบรม ณ บ้านตะโละ ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ทำให้สมาชิกเกิดความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมมากขึ้น 2.สร้างความสามัคคีในกลุ่ม 3.สามารถนำความรู้นำไปปฏิบัติต่อไป

 

50 0

10. เวทีติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ติดตามโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำให้คณะกรรมการและสมาชิกในกลุ่มเกิดความเข้าใจและรู้ถึงปัญหา อุปสรรคต่างๆ รวมไปถึงวิธีแก้ปัญหาในการดำเนินโครงการ

 

50 0

11. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1

วันที่ 29 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สมาชิกในกลุ่มพน้อมเพรียงกันในห้องประชุมปอเนาะเปามานิส

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกในกลุ่มได้แสดงบอกถึงปัญหาอุปสรรคและสามรถหาวิธีแก้ไขปัญหากันเองได้

 

0 0

12. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการพร้อมสมาชิก เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการและสมาชิกได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้

 

0 0

13. ดอกเบี้ย

วันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดอกเบี้ย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดอกเบี้ย

 

2 0

14. กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สมาชิกในกลุ่มทั้งหมดร่วมกันปลูกผักปลอดภัยในแปลงของกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกในกลุ่มมีความรู้ในเรื่องการเพาะปลูกผัดปลอดภัยและสามารถนำไปปลูกเองได้ต่อไป

 

50 0

15. จัดทำแผนการผลิตของสมาชิก

วันที่ 15 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมกันจัดทำแบบแผนการผลิตให้กับสมาชิกในกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กิจกรรมครั้งผ่านไปด้วยดี 2.สมาชิกในกลุ่มทุกคนให้ความร่วมมือกันดี

 

50 0

16. ประชุมครั้งที่ 3

วันที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมประชุมกับคณะกรรมการและสมาชิกในกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีความเข้าใจในการประชุมครั้งนี้ 2.ทำให้สมาชิกในกลุ่มที่มีปัญหาในการปลูก สามารถนำวิธีแก้ไขในการประชุมครั้งนี้ไปปฏิบัติได้6

 

50 0

17. กิจกรรมอบรมเกษตรกรเพื่อให้ความเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เริ่มการอบรม เวลา 9.00 น.
โดยมีสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มเข้ามาร่วมการอบรมในครั้งนี้  และมีวิทยากรมาให้ความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมนี้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตราฐาน GAP 2.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปลูกผักของตนเองได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

 

50 0

18. กิจกรรมตรวจแปลง

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สมาชิกในกลุ่มพร้อมคณะกรรมการลงไปตรวจแปลงเกษตรปลูกผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในการลงตรวจแปลงเกษตรปลูกผักปลอดภัยครั้งนี้ผ่านไปด้วยดี และเป็นที่น่าพอใจของสมาชิกในกลุ่มและคณะกรรมการด้วย

 

50 0

19. อบรม ศึกษาดูงาน

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นำคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มทั้งหมดไปศึกษาดูงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ทำให้สมาชิกเกิดความรู้ ความเข้าใจในการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย 2.ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย

 

50 0

20. จัดเวทีติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดภัยได้ร่วมกิจกรรมจัดเวทีติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 2 2.ติดตามความคืบหน้าในการจัดทำโครงการ 3.ติดตามผลลัพธ์ในการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการและสมาชิกในกลุ่มปลูกผักปลอดภัยได้รับความรู้ ความเข้าใจและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย

 

30 0

21. เวทีสรุปโครงการ

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มร่วมกันจัดเวทีสรุปโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดเวทีสรุปโครงการครั้งนี้ ทำให้สมาชิกในกลุ่มและคณะกรรมการเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฎิบัติต่อไป

 

0 0

22. ติดตามการผลิต

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการพร้อมสมาชิกในกลุ่มลงไปติดตามการผลิต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในการติดตามครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นที่น่าพอใจ

 

0 0

23. ประชุมครั้งที่ 4

วันที่ 1 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการและสมาชิกร่วมกันประชุมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ในครั้งที่ 4

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม เกิดความรู้ความเข้าใจกิจกรรม และสามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมต่อไป

 

50 0

24. ดอกเบี้ย

วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดอกเบี้ย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดอกเบี้ย

 

0 0

25. จัดเวที่ติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 3

วันที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มปลูกผัดปลอดภัย ร่วมกิจกรรมจัดเวทีติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะการและสมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดภัยบ้านยือโร๊ะ เกิดความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมครั้งนี้

 

50 0

26. กิจกรรมจัดทำรายงานโครงการ

วันที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คณะกรรมการและสมาชิกในกลุ่มปลูกผักปลอดภัยร่วมกันจัดทำรายงานโครงการ 2.แสดงความคิดเห็นในการจัดทำรายงานโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดภัยมีความรับผิดชอบต่อการจัดทำรายงานโครงการ 2.สมาชิกมีความเข้าใจในการจัดทำรายงานโครงการ 3.สมาชิกเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดทำรายงาน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง 2.มีวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรที่เข้มแข็ง 3.มีการติดตามประเมินผลร่วมกับภาคีอย่างต่อเนื่อง
60.00

 

2 เพื่อเกษตรกรสามาถผลิตและบริโภคผักปลอกภัย
ตัวชี้วัด : 1.ปลูกผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน 2.มีตลาดและผู้บริโภคผักปลอดภัย
80.00

 

3 เพื่อการบริหารจัดการโครงการฯ
ตัวชี้วัด : 1.โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.การรายงานผลการดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด 3.แกนนำคณะทำงานมีศักยภาพสามารถดำเนินกิจกรรมตามโครงการได้สำเร็จ
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก 40

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง (2) เพื่อเกษตรกรสามาถผลิตและบริโภคผักปลอกภัย (3) เพื่อการบริหารจัดการโครงการฯ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เปิดบัญชีธนาคาร (2) ดอกเบี้ย (3) เวทีสรุปโครงการ (4) ดอกเบี้ย (5) จัดเวที่ติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 3 (6) ปฐมนิเทศโครงการ (7) เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ (8) จัดทำป้ายไวนิล (9) ประชุมครั้งที่ 1 (10) การตรวจแปลงเกษตรก่อนการปลูก (11) ประชุมครั้งที่ 2 (12) อบรมการทำปุ๋ย (13) พัฒนาเพื่อยกระดับกลุ่ม (14) กิจกรรมอบรมเกษตรกรเพื่อให้ความเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP (15) จัดทำแผนการผลิตของสมาชิก (16) อบรม ศึกษาดูงาน (17) กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย (18) กิจกรรมตรวจแปลง (19) เวทีติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 1 (20) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 (21) ประชุมครั้งที่ 3 (22) ติดตามการผลิต (23) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 (24) จัดเวทีติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 2 (25) กิจกรรมจัดทำรายงานโครงการ (26) ประชุมครั้งที่ 4

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัย บ้านยือโร๊ะ จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-02-004

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอาแว ยือโระ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด