แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ ลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตำบลห้วยกระทิง ”

ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
ซากีเร๊าะ มามะ

ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตำบลห้วยกระทิง

ที่อยู่ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-0005 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"ลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตำบลห้วยกระทิง จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตำบลห้วยกระทิง



บทคัดย่อ

โครงการ " ลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตำบลห้วยกระทิง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 65-0005 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดยะลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอกรงปินัง ในปี 2564-2565 ย้อนหลัง พบว่า ตำบลห้วยกระทิง
อำเภอกรงปินัง มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 24 ครั้ง เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บจำนวน 36 คน และปี 2565 จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ 6 ครั้ง ตั้งแต่ มราคม 65 ถึง 18 มีนาคม 2565 ไม่มีรายงานเสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บสาหัส 1 ราย เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลกรงปินัง และส่งต่อผู้ป่วยไปรักษา ณ โรงพยาบาลยะลา ซึ่งผู้ป่วยสะโพกหัก ข้างซ้าย เป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ณ ปัจจุบัน จากเดิมผู้ป่วยมีอาชีพเป็นครู ต้องสูญเสียรายได้ และต้องติดหนี้ เพื่อสำรองเงินในการฟื้นฟูกายภาพบำบัด และจ้างคนดูแล 10,000 บาท/เดือน จากเหตุการณ์ดังกล่าวฯ หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่ พบว่า ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ยังคงมีรายงานการเกิดอุบัติเหตุอยู่เรื่อยๆ อ้างอิงจาก ข้อมูลสถานการณ์ข้างต้น คือ อุบัติเหตุเกิดขึ้น 24 ครั้ง เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ จำนวน 36 คน ปี พ.ศ.2564 (ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานศูนย์กู้ภัยตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา  ณ 18 มีนาคม 2565 )       สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลห้วยกระทิง จากปัจจัยด้านคน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนน ของผู้ขับขี่ขับรถเร็ว ง่วง หลับใน ประมาท คึกคะนอง และขับรถย้อนศร ความพร้อมของผู้ขับขี่ลดลง เนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม รวมถึงการเร่งรีบการออกไปปฏิบัติงาน และแข่งขันกับเวลา การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ยังคงมีรายงานอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ข้อมูลที่ได้รับการสนับสนุนจาก คณะทำงานด้านอุบัติเหตุทางถนน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จากการสังเกตพบว่า ถนนเป็นเส้นทางด้านคมนาคม มีสิ่งกีดขวางบนถนนอยู่บ่อยครั้ง ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า จุดเสี่ยง มีทั้งหมด 6 จุดเสี่ยง  ม.1 ทางเลี้ยวสะพาน แม่น้ำบ้านกูวา ม.2 ถนน เนินสูง ทางโค้ง ทางลาดชัน ม.2 ก่อนถึงหน้าโรงเรียน ฮาฟีเสาะห์มีต้นไม้บัง ม.3 สามแยกตลาดนัดบ้านสะลาแด ม.4 สามแยกควนนางา ต้นไม้ล้มทับถนนบ่อยครั้งม.1 สามแยก หน้า รพ.สต.ห้วยกระทิงย้อนศรบ่อยครั้ง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข จาการสำรวจข้อมูลและการสังเกต เป็นพื้นที่ ม.1 ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ลักษณะทางกายภาพของถนน อาทิ ต้นไม้บัง รวมถึงอุปสรรคทางธรรมชาติ และลักษณะภูมิอากาศจากปัจจัยต่างๆข้างต้น การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยโดยก่อให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล บาดเจ็บ จนกระทั่งการเสียชีวิต พิการ ทุพพลภาพ ไม่เพียงเท่านั้น ยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมหาศาลเพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจจากอุบัติเหตุทางท้องถนน ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ติดหนี้ ขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการทะเลาะวิวาท เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี และอุบัติเหตุยังก่อให้เกิดต้นทุนอื่นๆ
      ดังนั้นทางตำบลห้วยกระทิง มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม การลดอุบัติเหตุการใช้รถที่เพิ่มมากขึ้น และจากประชาชนขาดความรู้ และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง จึงจัดทำโครงการลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลห้วยกระทิง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ และคนสัญจรไปมา เกิดการป้องกันด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกัน อุบัติเหตุทางถนน ไม่ประมาท ในตำบลห้วยกระทิง โดยมีวัตถุประสงค์ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน และเกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไข จุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อแก้ปัญหาจุดเสี่ยง และสภาพแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เปิดบัญชีธนาคาร
  2. ดอกเบี้ยรับ
  3. ดอกเบี้ยรับ
  4. กิจกรรม จัดประชุมคณะทำงาน 4 ครั้ง
  5. ชุมชนช่วยกันลงมือปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายตามแผน
  6. ปรับจุดเสี่ยงโดยชุมชน
  7. รณรงค์ป้องกัน และลดอุบัติเหตุ ในช่วง 7 วันอันตราย(ในช่วงสงกรานต์)
  8. ค่าเดินทางสำหรับเข้าร่วมกิจกรรมของ Node
  9. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ต
  10. (ไวนิล)ป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. โครงการลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลตลิ่งชัน
  11. จัดอบรม เรื่อง RTI การเกิดอุบัติเหตุในชุมชนและแนวทางการป้องกันและแก้ไข เรียนรู้การบูรณาการทำงาน
  12. ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุบัติเหตุ ศปถ.ตำบลห้วยกระทิง
  13. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจร
  14. คณะทำงานและอาสาสมัครในชุมชนติดตามผลการดำเนินงาน
  15. จัดเวทีพุดคุยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีส่วนในการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สมาชิกในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไข เพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 3. เกิดกลไกการเฝ้าระวังกฎจราจร

2.จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน ร้อยละ 60
ของจำนวนจุดเสี่ยงประเภทที่ชุมชนแก้ไขได้เอง 1.ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ 50 2.สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชน

3.จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ร้อยละ 50   อัตราความรุนแรงทางศีรษะลดร้อยละ 50   อัตราการบาดเจ็บและการตายลดลงร้อยละ 50   อัตราการตายลดลงร้อยละ 50


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. (ไวนิล)ป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. โครงการลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบล

วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ออกแบบป้ายไวนิล ร่วมกันโดยมีทีมคณะทำงานร่วมกันออกความคิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไวนิล2 ผืน  1.ไวนิลชื่อโครงการ  2.ไวนิลบรรไดผลลัพธ์

 

15 0

2. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ต

วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายการการบันทึกข้อมูลโครงการฯบนโปรแกรมคนใต้สร้างสุข

 

1 0

3. ค่าเดินทางสำหรับเข้าร่วมกิจกรรมของ Node

วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยปี 65 ประเด็นการลดอุบัติเหตุทางท้องถนน -เวทีเรียนรู้การรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ -เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 1 ปี 2565

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะทำงานได้ร่างโครงการย่อยฉบับสมบูรณ์ เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ ณ ห้องประชุมแกรนด์พาเลชยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา -เวทีเรียนรู้การรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ ผลลัพธ์ คณะทำงานมีข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุและเข้าใจสามารถเข้าระบบการรายงานผลและบันทึกข้อมูลแผนงาน/กิจกรรมได้
- คณะทำงานได้นำเสนอผลการดำเนินงาน/กิจกรรมที่ดำเนินการตามบันไดผลลัพธ์

 

15 0

4. ชุมชนช่วยกันลงมือปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายตามแผน

วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประสานความร่วมมือชุมชน เรียกประชุม แบ่งหน้าที่  ติดตามผลงาน  รายงานผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต ปรับสภาพแวดล้อมโดยชุมชน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน ผลลัพธ์ ชุมชนเกิดอุบัติเหตุน้อยลง จากเดิม

 

15 0

5. กิจกรรม จัดประชุมคณะทำงาน 4 ครั้ง

วันที่ 23 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การค้นหาผู้สมัครใจในการเป็นคณะกรรมการ จำนวน 25 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซากีเร๊าะ มามะ ชี้แจงการดำเนินงานโครงการให้สมาชิก/คณะทำงานทราบเพื่อให้การดำเนินงานโครงการลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลห้วยกระทิง สสส.ภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2544เป็นปีที่ 56 ในราชการปัจจุบัน. 2.การอภิปราย สถานการณ์อุบัติเหตุตำบลห้วยกระทิง 3.ผู้รับผิดชอบโครงการได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ จุดเสี่ยงในพื้นที่ เป้าหมายอุบัติเหตุปีที่ผ่านมา 199 คน -ผลงานอุบัติเหตุลดลง จำนวน 187 คน  ร้อยละ 93.9 เป้าหมายเสียชีวิตปีที่ผ่านมา 1 ราย -ผลงานเสียชีวิตลดลง จำนวน 0  คน
ร้อยละ 100

 

15 0

6. เปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 29 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เปิดบัญชีธนาคาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เปิดบัญชีธนาคาร

 

0 0

7. จัดอบรม เรื่อง RTI การเกิดอุบัติเหตุในชุมชนและแนวทางการป้องกันและแก้ไข เรียนรู้การบูรณาการทำงาน

วันที่ 28 พฤษภาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินการตามขั้นตอนจัดอบรม เรื่อง RTI การเกิดอุบัติเหตุในชุมชนและแนวทางการป้องกันและแก้ไข เรียนรู้การบูรณาการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้น เตรียมกลุ่มเป้าหมาย 1.จัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม เช่น เเบบลงทะเบียน ประสานสถานที่ใช้ห้องประชุม จัดอาคารและสถานที่ ประสานเชิญวิทยากร และกลุ่มเป้าหมาย 2.ดำเนินการจัดอบรม โดยคณะทำงานเป็นผู้จัดและร่วมดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย : คกก./กำนัน ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่/ผู้รับผิดชอบงานอุบัติเหตุ อบต.ห้วยกระทิง และเจ้าหน้าที่ผู้นำชุมชน/อสม./ผอ.รพ.สต./ปชช.ในพื้นที่ รวมพี่เลี้ยงโครงการรวมทั้งสิน 40 คน
-ผลลัพธ์ที่ 1 คือ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์อุบัติเหตุ/จุดเสี่ยงในพื้นที่ และผลสรุปคือ พบจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง,จุดเสี่ยงที่เป็นสถานที่อันตราย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ สีแดง/เหลือง/เขียว.
-ผลลัพธ์ที่ 2 คือ มอบหมายทีมงานร่วมดำเนินการวางแผนกำจัดจุดเสี่ยงที่เป็นสีแดง/สีแหลือง/สีเขียว จะกำจัดจุดเสี่ยง

 

25 0

8. คณะทำงานและอาสาสมัครในชุมชนติดตามผลการดำเนินงาน

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

บันทึกผลการดำเนินงานตามบรรไดผลลัพธ์  ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต  แกนนำดำเนินงานามบรรไดผลลัพธ์  ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ผลลัพธ์  เกิดความเป็นเจ้าของโครงการ เป็นของชุมชน ช่วยเหลือในระหว่างดำเนินกิจกรรม

 

15 0

9. ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุบัติเหตุ ศปถ.ตำบลห้วยกระทิง

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินการตามขั้นตอนการจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุบัติเหตุ ศปถ.ตำบลห้วยกระทิง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานและภาคีร่วมดำเนินการ กู้ภัย อบต.ห้วยกระทิง ผอ.รพ.สต .กำนันตำบลห้วยกระทิง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.4 หัวหน้าทีมพร้อมคณะทำงาน ชรบ. รพ.สต. สสอ. สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ได้รับหลังดำเนินการประชุม คณะกรรมการมีบทบาทหน้าที่ และดำเนินการในการเฝ้าระวังอุบัติเหตุในพื้นที่ของตนรับผิดชอบ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ จัดตั้งด่านเฝ้าระวัง จุดที่ 1 จุดตรวจเฝ้าระวังอุบัติเหตุ  ม.1 หน้าโรงเรียนกูวา นายอับดุลเลาะ เจ๊ะอาแซ กำนันตำบลห้วยกระทิง
หัวหน้าทีม พร้อมคณะทำงาน อส. จัดตั้งด่านเฝ้าระวัง จุดที่ 2  ม.2  หน้าโรงเรียนบ้านแบหอ นายมะนอยี ดีเยาะ ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 หัวหน้าทีมพร้อมคณะทำงาน อส. จัดตั้งด่านเฝ้าระวัง จุดที่ 3 หน้า รพ.สต.ห้วยกระทิง
จัดตั้งด่านเฝ้าระวัง จุดที่ 4 สามแยกควนนางา นายมาหะมะ ลายิปูเตะ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.4 หัวหน้าทีมพร้อมคณะทำงานชรบ. ในการขับเคลื่อนดำเนินงานในพื้นที่ .

 

25 0

10. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจร

วันที่ 21 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินการตามแผนงาน/กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น จำนวน 60 คน ระหว่างวันที่ 21 -22 สิงหาคม 2565 จำนวนวันละ 30 คน โดยคณะทำงานเป็นผู้ดำเนินการ
ในกิจกรรม มี คณะทำงานเป็นเจ้าภาพ หน่วยงาน ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยตำบล อบต.ห้วยกระทิง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด พี้เลี้ยงที่ปรึกษาโครงการ หน่วยกู้ภัย อบต.ห้วยกระทิง ชรบ.ผู้ใหญ่บ้าน กำนันในตำบลห้วยกระทิง ตัวเเทนปลัดอำเภอกรงปินัง

 

60 0

11. ดอกเบี้ยรับ

วันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดอกเบี้ยรับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดอกเบี้ยรับ

 

0 0

12. ปรับจุดเสี่ยงโดยชุมชน

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เรียกประชุมคณะทำงาน ทำหนังสือชี้แจง รายละเอียดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่ตามวัน เวลา สถานที่ ตามนัดหมายร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต *พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข  ร้อยละ 70 พฤติกรรมเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุลดลง ผลลัพธ์ ประชาชนทราบถึงการสร้างความปลอดภัยให้ตัวเองลดเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ

 

15 0

13. รณรงค์ป้องกัน และลดอุบัติเหตุ ในช่วง 7 วันอันตราย(ในช่วงสงกรานต์)

วันที่ 29 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชาสัมพันธ์ในชุมชน โดยอาศัยการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า 7 วัน หลังสิ้นปี 7 วันอันตราย วางแผน ประสานงานความร่วมมือ นัดรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุ ในสัปดาห์รณรงค์ 7 วันอันตราย มีคณะทำงานลงพื้นที่  ผู้รับผิดชอบ 7 คนและภาคีมีส่วนร่วมลงรณรงค์ 50 คน
ผลลัพธ์ คือ เกิดกลไกการมีส่วนร่วม

 

15 0

14. จัดเวทีพุดคุยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีส่วนในการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน

วันที่ 1 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงพื้นที่สังเกตเหตุการณ์ เฝ้าระวัง 2.สรุปจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ รวบรวบข้อมูลสถิติอุบัติเหตุ ประจำสัปดาห์ สรุปเป็นรายเดือน ลงบันทึกบอร์ด ณ รพ.สต.ห้วยกระทิง
3.การติดตามเป็น รายสัปดาห์  ครั้งละ 1 ครั้ง  รายเดือน ครั้งละ 1 ครั้ง 4.รายงานความก้าวหน้าให้พี่เลี้ยงผู้รับผิดชอบโครงการ ความก้าวหน้าการดำเนินงานเดือนละ 1 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
เป้าหมายอุบัติเหตุปีที่ผ่านมา 199 คน -ผลงานอุบัติเหตุลดลง จำนวน 187 คน  ร้อยละ 93.9 เป้าหมายเสียชีวิตปีที่ผ่านมา 1 ราย -ผลงานเสียชีวิตลดลง จำนวน 0  คน
ร้อยละ 100

ผลลัพธ์  เกิดอุบัติเหตุลดลง เสียชีวิตลดลง

 

25 0

15. ดอกเบี้ยรับ

วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดอกเบี้ยรับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดอกเบี้ยรับ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 1 1.มีโครงสร้างแบ่งงานชัดเจน มีความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์จุดเสี่ยง 2.มีข้อมูล มีแผนการดำเนินงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรูเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและขยายผลกิจกรรม 3. มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ จากจุดเสี่ยง 4.คณะทำงาน ติดตามประเมินผลทุกเดือน ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดกลไกเฝ้าระวังติดตามเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนนที่เข้มแข็งคณะทำงาน/ชุมชน 1ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมประชาชนในชุมชน 2.มีการติดตามเฝ้าระวังและทบทวนแผนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
25.00

 

2 เพื่อแก้ปัญหาจุดเสี่ยง และสภาพแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักเพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน 1.สมาชิกในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไขเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 3. เกิดกลไกการเฝ้าระวังกฎจราจร 4. จำนวนผู้ไม่ปฎิบัติตามกฏจราจรหรือกฏกติกา สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้รับการแก้ไข 1.จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน ร้อยละ 60 ของจำนวนจุดเสี่ยงประเภทที่ชุมชนแก้ไขได้เอง 2. ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ100 3. มีป้าย/สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชน อุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง 1.จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ร้อยละ 50 2 อัตราความรุนแรงทางศีรษะลดลง ร้อยละ 50 3 อัตราการบาดเจ็บลดลง ร้อยละ 50 4 อัตราการตายลดลง ร้อยละ 50
25.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง (2) เพื่อแก้ปัญหาจุดเสี่ยง และสภาพแวดล้อม ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เปิดบัญชีธนาคาร (2) ดอกเบี้ยรับ (3) ดอกเบี้ยรับ (4) กิจกรรม จัดประชุมคณะทำงาน 4 ครั้ง (5) ชุมชนช่วยกันลงมือปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายตามแผน (6) ปรับจุดเสี่ยงโดยชุมชน (7) รณรงค์ป้องกัน และลดอุบัติเหตุ ในช่วง 7 วันอันตราย(ในช่วงสงกรานต์) (8) ค่าเดินทางสำหรับเข้าร่วมกิจกรรมของ Node (9) ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ต (10) (ไวนิล)ป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. โครงการลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลตลิ่งชัน (11) จัดอบรม เรื่อง RTI การเกิดอุบัติเหตุในชุมชนและแนวทางการป้องกันและแก้ไข เรียนรู้การบูรณาการทำงาน (12) ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุบัติเหตุ ศปถ.ตำบลห้วยกระทิง (13) จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจร (14) คณะทำงานและอาสาสมัครในชุมชนติดตามผลการดำเนินงาน (15) จัดเวทีพุดคุยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีส่วนในการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตำบลห้วยกระทิง จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-0005

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ซากีเร๊าะ มามะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด