directions_run

ศูนย์ความปลอดภัยทางถนนสถานศึกษาโรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ศูนย์ความปลอดภัยทางถนนสถานศึกษาโรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-01-007
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยามีละห์ กระโด
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0936620308
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ 2gether140@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัยฮาน กีไร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.499319,101.311714place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 52,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 65,000.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 13,000.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอุบัติเหตุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การเกิดอุบัติเหตุรอบรั้วอุดมศาสน์วิทยา
10.00
2 อัตราการเสียชีวิต
0.00
3 พิการ
0.00
4 บาดเจ็บ
7.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนว่าเป็นปัญหาสำคัญและเป็นสาเหตุของการสูญเสีย บาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน จึงได้มีมติร่วมกันให้เป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยประกาศเป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Action for Road Safety : 2011-2020) โดยตั้งเป้าลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้า ประเทศไทยตอบรับปฏิญญาดังกล่าวโดยรัฐบาลไทยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ประกาศให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนโดยบูรณาการการดำเนินการจากหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์ลดอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน 10 คนต่อประชากรแสนคนภายในปี 2563 ทั้งนี้จากสภาพปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน ในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา โรงเรียนอุดมศาสน์วิทยายะลา พบปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของนักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน โดยส่งผลกระทบในด้านสุขภาพของประชากรดังนี้ ประชากรได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ ในที่นี้พิการ 3 ราย ต้องงดกิจกรรมที่หนักตลอดชีวิตเพราะผ่านการผ่าตัดศีรษะ และบางรายถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งภายหลังการเกิดอุบัติเหตุจะเกิดภาวะเครียดสะสม ในกรณีบางรายที่ไม่สามารถดำเนินชีวิตเช่นเดิมได้ และทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหรือคู่กรณีจำเป็นต้องขาดเรียนหรือหยุดทำงาน ซึ่งในภาวะนี้อาจส่งผลต่อการก่อโจรกรรมหรืออาชญากรรมตามมา อีกทั้งยังส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจของผู้ประสบอุบัติเหตุและคู่กรณี เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่มีรายได้เข้ามา จึงส่งผลกระทบไปยังค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆต่อคู่กรณี ทั้งนี้ ทำให้เกิดการกู้ยืมเงิน ทั้งในระบบและนอกระบบ ในสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่เพียงแค่ผู้ประสบภัยหรือคู่กรณีเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนและสิ่งแวดล้อมใกล้ที่เกิดเหตุเกิดความเสียหายจึงนำไปสู่การไกล่เกลี่ย โดยที่ต้องหาบุคคลอื่นมาไกล่เกลี่ย อาทิเช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ตำรวจหรือบุคคลที่สามารถมาไกล่เกลี่ยได้เพื่อคลี่ปัญหาที่เกิดขึ้น อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นของนักเรียน บุคลากร และคนในชุมชน มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้รถบนถนน ดังนี้ ประชากรส่วนมากอายุยังน้อยไม่มีใบขับขี่ ทำให้ไม่มีความรู้ในเรื่องกฎจราจรการใช้ถนน จึงมีการขับรถย้อนศร ขับรถเร่งรีบฝ่าไฟแดง และแว๊นกันเป็นกลุ่ม ที่สำคัญประชากรไม่มีความตระหนักในความปลอดภัยการใช้ถนน คือ ไม่สวมหมวกกันน็อก เลี้ยวทันทีไม่เปิดไฟเลี้ยว ประมาท เล่นโทรศัพท์ในขณะที่กำลังขับรถจักรยานยนต์ กระโปร่งเข้าล้อ ง่วงแล้วขับทำให้หลับใน และมีการขับรถแซงในเขตห้ามแซง ทั้งนี้ยังมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ถนนครุคระเป็นหลุม/บ่อ ถนนลื่นจากน้ำยาง ความไม่พร้อมของรถจักรยานยนต์ จอดรถทางโค้ง และรถบรรทุกทรายที่ขาดการปิดผ้าใบ ทำให้ทรายตกหล่นบนท้องถนน หรือเข้าตาผู้ขับขี่บนท้องถนน ทำให้การมองและการขับรถบนท้องถนนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ในทางเช่นเดียวกันนั้น ประชากรดังกล่าวก็ต้องการความปลอดภัยในการรถใช้ถนนและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการลดอุบัติเหตุ แต่เพียงแค่ขาดความรู้และความเข้าใจการขับขี่อย่างปลอดภัย การเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวบุคคลเอง ตลอดจนเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุอุบัติเหตุนั้นๆ ทั้งนี้ หากเกิดการรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจต่อประชากร โดยมีโครงการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วอุมดสาสน์ ซึ่งเกี่ยวกับการขับขี่บนท้องถนน จะทำให้ประชากรเกิดความรู้และความเข้าใจต่อการใช้รถบนท้องถนนได้ เมื่อเกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จะทำให้ประชากรตระหนักและเกิดความระมัดระวังต่อการใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย ทำให้การเกิดอัติเหตุลดลงได้ ดังนั้น เมื่ออุบัติเหตุ ในปีการศึกษา 2563 ทางโรงเรียนอุดมศาสน์วิทยาได้เข้าร่วมโครงการกับ สสส. และได้จัดตั้งโครงการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วอุดมศาสน์ ซึ่งได้มีการแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของนักเรียน และบุคลากรของโรงเรียน ทางโครการได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของตัวบุคคลที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และได้มีการแก้ไข ปรับเปลี่ยนจุดเสี่ยงต่างๆทั้งภายในโรงเรียนและบริเวณชุมชนใกล้เคียงโรงเรียน ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผลที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ดังนี้ พฤติกรรมเสี่ยงที่มีการปรับเปลี่ยนของนักเรียนมี การสวมหมวกกันน็อกเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 จุดเสี่ยงภายในโรงเรียนและบริเวณชุมชนใกล้เคียงโรงเรียนต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้รับการแก้ไข ร้อยละ 90 อุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์ลดลง ความรุนแรงของอุบัติเหตุลดลงเนื่องจากนักเรียนมี การสวมหมวกกันน็อคเพิ่มมากขึ้น และอัตราการเสียชีวิตของการเกิดอุบัติเหตุของโรงเรียนเป็นศูนย์ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวเป็นผลจากการจัดตั้งโครงการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วอุดมศาสน์ที่ผ่านมา และในปี 2565 โรงเรียนอุดม ศาสน์วิทยาได้เสนอโครงการลดอุบัติเหตุโดยเป็นโครงการต่่อเนื่อง จึงได้จัดตั้งเป็นศูนย์ความปลอดภัยทางถนนสถานศึกษา โรงเรียนอุดมศาสนวิทยา ซึ่งเป้าหมายในปีนี้ คือ พฤติกรรมเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ระหว่างทางโดยมีการสวมหมวกกันน็อก อุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์ส่วนตัวและรถโรงเรียนลดลงความรุนแรงของ อุบัติเหตุลดลงเนื่องจากมีการปฏิบัติตามกฎกติการ่วมกันและปฏิบัติตามกฎจราจรเพิ่มขึ้น อัตราการเสียชีวิตของการเกิด อุบัติเหตุของโรงเรียนเป็นศูนย์และเส้นทางโดยสารโดยรถรับส่งโรงเรียนมีความปลอดภัย และลดความเสี่ยงตลอดเส้นทาง จนถึงโรงเรียน ทั้งนี้ โรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา มีต้นทุนเดิมที่เป็นจุดแข็งที่สามารถแก้ไขปัญหา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนให้ความ ร่วมมือและสนับสนุนทุกๆกิจกรรมส่งผลให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แกนนำนักเรียนและ บุคลากรโรงเรียนเข้มแข็ง สารวัตนักเรียนสามารถเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหน้าโรงเรียน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธศาตร์ยะลา ข้อที่ 3 ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน ในการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะทำงานลดอุบัติเหตุในโรงเรียน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 มีคณะทำงานขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุโดยมีองค์ประกอบตามโครงสร้างการทำงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 มีแผนการดำเนินงานของคณะทำงานในการขับเคลือนความร่วมมือและการบูรณาการกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 มีข้อมูลสถานการณ์ลดอุบัติเหตุ ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดศูนย์การเรียนรู้และเกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานตามแผน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 เกิดความร่วมมือของนักเรียน ครู บุคลากร กรรมการ โรงเรียนและผู้ปกครองในการป้องกันอุบัติเหตุอ่างต่อเนื่องต่อไป ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 มีกติกาในเรื่องของความปลอดภัยของนักเรียนในการเดินทางระหว่างโรงเรียน ชุมชน และที่พักอาศัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 โรงเรียนและผู้ปกครองเกิดข้อตกลงเรื่องการสวมหมวกนิรภัย การขับขี่ปลอดภัยและความปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.4 เกิดแผนความร่วมมือของโรงเรียนกับคนขับรถรับส่งนักเรียนในเรื่องความปลอดภัยระหว่างการรับส่งนักเรียน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.5 เกิดแผนการจัดการจุดเสี่ยงจากความร่วมมือของคณะทำงานและภาคีเครือข่าย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.6 เกิดศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนสถานศึกษาโรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา

50.00
2 เพื่อให้เกิดกลไกการเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุในโรงเรียนและบริเวรใกล้เคียง

ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกลเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุในโรงเรียนและเส้นทางไปโรงเรียน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 มีกลไกเฝ้าระวัง ป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียน (อาสาจราจร ,สารวัตนักเรียน) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 มีกลไกการเฝ้าระวังอุบัติเหตุตามเส้นทางการขับขี่ของนักเรียนและบุคคลากรระหว่างโรงเรียนและที่พักอาศัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 มีการเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุบนรถรับส่งนักเรียนและจุดรับส่งนักเรียน ผลลัพธ์ที่ 4 ลดพฤติกรรมเสี่ยงและปรับเปลียนสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1 สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุนักเรียนและบุคคลากร เส้นทางระหว่างบ้าน และโรงเรียนได้รับการแก้ไขหรือส่งต่อร้อยละ 100 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2 จุดเสี่ยงรอบโรงเรียนได้รับการแก้ไขหรือส่งต่อร้อยละ 100 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.3 รถรับส่งนักเรียนมีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยร้อยละ 95 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.4 นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนมีการสวมหวมกนิรภัย(หน้าโรงเรียน) ร้อยละ 80 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.5 นักเรียนและบุคคลากรขับขี่อย่างปลอดภัย ร้อยละ 95 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.6 คนขับรถรับส่งนักเรียนมีพฤติกรรมการขับรถปลอดภัย ผลลัพธ์ที่ 5 การเกิดอุบัติเหตุของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและผู้ปกครองในชุมชนลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.1 จำนวนการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียนและบุคลากรที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 50 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.2 จำนวนการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียนที่เดินทางมากับรถรับส่งลดลงร้อยละ 50 5.3 อัตราการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 50 5.4 อัตราการเกิดความรุนแรงทางศรีษะลดลงร้อยละ 50

50.00
3 3.เพื่อการบริหารจัดการโครงการ

3.1 โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 500 500
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
นักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย 400 400
บุคลากรโรงเรียนอุดมสาสน์วิทยายะลา 50 50
แกนนำชุมชน 20 20
แกนนำโครงการ 30 30
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทีมจัดทำโครงการย่อย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 13 10,000.00 9 10,000.00
12 มี.ค. 65 เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยฯปี 65 ประเด็นการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน 1 200.00 200.00
5 พ.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศและจัดทำข้อสัญญาโครงการย่อยฯ ปี 2565 3 600.00 600.00
21 พ.ค. 65 เวทีเรียนรู้การจัดทำรรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบฯ ปี 2565 3 900.00 900.00
21 พ.ค. 65 จัดทำป้ายไวนิลโครงการและไวนิลเขตปลอดบุหรี่ 0 1,000.00 1,000.00
21 พ.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมจัดทำรายงานโครงการ 0 2,000.00 2,000.00
21 พ.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีพัฒนาศักยภาพ 0 800.00 800.00
21 พ.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 3,300.00 3,300.00
17 ก.ย. 65 เวทีการประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ระดับหน่วยจัดการครั้งที่ 1 3 600.00 600.00
22 ต.ค. 65 เวทีติดประเมินผล รายงานการดำเนินการตามผลลัพธ์ 3 600.00 600.00
2 กิจกรรมที่ 2 การประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 3,600.00 4 3,600.00
5 ก.ค. 65 ประชุมครั้งที่ 1 30 900.00 900.00
3 ก.ย. 65 ประชุมครั้งที่ 2 30 900.00 900.00
15 พ.ย. 65 ประชุมครั้งที่ 3 30 900.00 900.00
17 ม.ค. 66 ประชุมครั้งที่ 4 30 900.00 900.00
3 กิจกรรมที่ 4 เก็บข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุและจุดเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 9,000.00 2 9,000.00
21 พ.ค. 65 เก็บรวบรวมข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในนักเรียน บุคลากรและชุมชน 30 6,000.00 6,000.00
21 พ.ค. 65 วิเคราะห์ข้อมูล 30 3,000.00 3,000.00
4 กิจกรรมที่ 15 การจัดการจุดเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 11,300.00 1 11,300.00
1 พ.ย. 65 - 31 ธ.ค. 65 ปรับปรุงซ่อมแซมพื้นที่เสี่ยงหรือชำรุด 30 11,300.00 11,300.00
5 กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้คณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 4,400.00 1 4,400.00
14 มิ.ย. 65 อบรมให้ความรู้แกนนำนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยบนท้องถนน 30 4,400.00 4,400.00
6 กิจกรรมที่ 5 เวทีกำหนดกติกา ข้อตกลงและคืนข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 17,000.00 1 17,000.00
30 มิ.ย. 65 เวทีกำหนดกติกา ข้อตกลงและสร้างความเข้าใจแก่นักเรียน บุคลการ คนขับรถและผู้ปกครองและคืนข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ 200 17,000.00 17,000.00
7 กิจกรรมที่ 6 อบรม สร้างความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ขับรถรับส่งนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 4,400.00 1 4,400.00
24 ก.ค. 65 อบรมสร้างความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ขับรถรับส่งนักเรียน 40 4,400.00 4,400.00
8 กิจกรรมที่ 7 พัฒนาศูนย์เรียนรู้ในโรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 41 8,400.00 2 8,400.00
10 ก.ค. 65 พัฒนาศูนย์เรียนรู้ในโรงเรียน (สถานที่และข้อมูล) 30 6,000.00 6,000.00
8 ส.ค. 65 พัฒนาวิทยากรกระบวนการประจำศูนย์การเรียนรู็ 11 2,400.00 2,400.00
9 กิจกรรมที่ 8 เวทีประเมินผลเพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 (ARE 1) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 2,400.00 1 2,400.00
11 ก.ค. 65 เวทีประเมินผลเพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (ARE 1 ) 30 2,400.00 2,400.00
10 กิจกรรมที่ 9 ปรับเปลี่ยนจุดรับส่งนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 4,800.00 1 4,800.00
22 ส.ค. 65 ปรับเปลี่ยนจุดรับส่งนักเรียน 30 4,800.00 4,800.00
11 กิจกรรมที่ 13 อบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 4,400.00 1 4,400.00
26 ส.ค. 65 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องกฎข้อบังคับจราจร(อาสาจราจร และสารวัตรนักเรียน คนขับรถรับส่ง) 30 4,400.00 4,400.00
12 กิจกรรมที่ 10 ความร่วมมือภาคีปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 2,400.00 1 2,400.00
18 ก.ย. 65 จัดเวทีความร่วมมือภาคีปฏิบัติการ(ครู คนขับ นักเรียน ผู้ปกครอง) 30 2,400.00 2,400.00
13 กิจกรรมที่ 11 สร้างสื่อออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 3,000.00 1 3,000.00
1 - 31 ต.ค. 65 สร้างสรรค์สื่อออนไลน์(สื่อหนังสั้น ป้องกันอุบัติเหตุในเยาวชน) 30 3,000.00 3,000.00
14 กิจกรรมที่ 12 เวทีประเมินผลเพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 (ARE 2) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 2,400.00 1 2,400.00
16 พ.ย. 65 เวทีประเมินผลเพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้ครั้งที่ 2 (ARE 2) 30 2,400.00 2,400.00
15 กิจกรรมที่ 14 รณรงค์การขับขี่ปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 17,500.00 1 17,500.00
1 - 31 ธ.ค. 65 กิจกรรมรณรงค์การขับขี่ปลอดภัย 30 17,500.00 17,500.00
16 กิจกรรมที่ 16 สังเกตการณ์และบันทึกข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 18,600.00 1 18,600.00
1 - 31 ธ.ค. 65 สังเกตการณ์ และบันทึกข้อมูล 30 18,600.00 18,600.00
17 กิจกรรมที่ 17 เวทีคืนข้อมูลและเวทีประเมินผลเพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 (ARE 3) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 2,400.00 1 2,400.00
7 ก.พ. 66 เวทีประเมินผลเพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 (ARE 3) 30 2,400.00 2,400.00
18 กิจกรรมที่ 18 เวทีการสื่อสารและการขยายผลต่อยอดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 4,000.00 1 4,000.00
1 - 28 ก.พ. 66 เวทีการสื่อสารและขยายผลต่อยอดกิจกรรม 50 4,000.00 4,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 500.00
29 เม.ย. 65 ค่าเปิดบัญชี 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดแกนนำในโรงเรียนที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ 1.1 มีโครงสร้างการดำเนินงานเกิดขึ้นในโรงเรียน 1.2 มีข้อมูล แผนการดำเนินงาน 1.3 แกนนำมีทักษะการดำเนินงาน

  2. คนในโรงเรียนเกิดความตระหนักเรื่องอุบัติเหตุ 2.1 เกิดกติกาและข้อตกลงภายในโรงเรียน 2.2 เกิดการปฏิบัติตามกฎวินัยจราจร 2.3 พฤติกรรมเสี่ยงลดลง ร้อยละ 50 2.4 คนขับรถรับส่งมีพฤติกรรมในการขับขี่ที่ปลอดภัยร้อยละ 80

3 .เกิดกลไกลเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ 3.1 นักเรียน บุคลากร คนขับรถรับส่งนักเรียน และคนในชุมชนรู้ข้อมูลอุบัติเหตุ 3.2 มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน ร้อยละ 80 3.3 แกนนำมีการทบทวนแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

  1. คนในโรงเรียนและชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมหมวกกันน็อค สภาพแวดล้อมได้รับกาเปลี่ยนแปลง
    4.1 นักเรียน บุคลากรและคนในชุมชนสวมหมวกกันน็อกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 จากประชากรผู้ขับขี่ 4.2 จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข ร้อยละ 50 ของจุดเสี่ยง

5 การเกิดอุบัติเหตุของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและผู้ปกครองในชุมชนลดลง 5.1 จำนวนการเกิดอุบัติเหตุลดลง ร้อยละ 50 5.2 อัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บลดลง ร้อยละ 50 5.3 อัตราการเกิดความรุนแรงทางอุบัติเหตุลดลง ร้อยละ 50

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2565 10:09 น.