directions_run

การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบาโงยซิแน

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบาโงยซิแน ”

ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายมูฮำมัด สูแป

ชื่อโครงการ การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบาโงยซิแน

ที่อยู่ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-01-008 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบาโงยซิแน จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบาโงยซิแน



บทคัดย่อ

โครงการ " การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบาโงยซิแน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 65-01-008 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดยะลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

พื้นที่ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา มีหมู่บ้านทั้งหมด จำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 6,991 คน มีถนนสายหลัก (สาย4065) บ้านเนียง-ยะหา ซึ่งเป็นจุดสัญจรไปมาระหว่างตัวจังหวัดยะลา มาอำเภอยะหา อำเภอกาบัง อำเภอบันนังสตา จนถึงอำเภอเบตง และสามารถไปจังหวัดสงขลา ซึ่งจะมีรถสัญจรไปมาจำนวนค่อนข้างมาก รวมถึงถนนภายในตำบลเอง และเป็นพื้นที่ทีมีจุดเสี่ยงอยู่หลายจุด ทำให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอยะหาใน 6 ปี ย้อนหลัง พบว่าอำเภอยะหามีอัตราการเกิดอุบัติเหตุตามตารางดังนี้ ตารางแสดงจำนวนครั้งอุบัติเหตุทางถนน ย้อนหลัง ๓-๕ ปี ปี/เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม ๒๕๖๐ 50 63 68 38 55 59 54 58 62 42 32 30 611 ๒๕๖๑ 46 36 58 32 50 36 48 56 38 38 34 30 502 ๒๕๖๒ 34 56 88 44 54 50 68 50 50 44 32 30 600 ๒๕๖๓ 42 23 24 18 33 25 22 24 15 20 32 25 378 ๒๕๖๔ 16 22 35 24 43 18 10 11 17 10 206 ตารางแสดงจำนวนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ย้อนหลัง ๓-๕ ปี ปี/เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม ๒๕๖๐ 63 72 77 45 52 67 60 51 69 45 30 32 663 ๒๕๖๑ 52 43 66 37 66 42 52 65 44 47 43 46 598 ๒๕๖๒ 39 68 105 51 61 61 72 61 58 54 34 34 698 ๒๕๖๓ 54 31 36 21 49 20 33 32 ๒๒ ๓๑ ๔๑ ๓๖ ๔๐๖ ๒๕๖๔ 3๖ ๒๙ ๖๔ ๒๖ ๕๐ ๑๔ 12 13 19 12 275 และมีผู้เสียชีวิต จำนวน ๑๒, ๗, ๕, ๔, และ ๕ ตามลำดับ และ แยกเป็นรายตำบลดังนี้ ตารางแสดง จำนวนการบาดเจ็บ ผู้เสียชีวิตหรือครั้ง การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ย้อนหลัง แยกรายตำบล ปี ตำบลยะหา ตำบลบาโงยซิแน ตำบลบาโร๊ะ ตำบลกาตอง ตำบลตาชี ตำบลละแอ เทศบาลปะแต บาดเจ็บ เสียชีวิต บาดเจ็บ เสียชีวิต บาดเจ็บ เสียชีวิต บาดเจ็บ เสียชีวิต บาดเจ็บ เสียชีวิต บาดเจ็บ เสียชิวิต บาดเจ็บ เสียชีวิต ๒๕๕๙ 136 1 124 2 123 2 120 0 30 0 48 0 118 1 ๒๕๖๐ 126 1 128 3 112 3 118 2 26 0 31 0 122 2 ๒๕๖๑ 108 2 118 3 124 2 92 1 24 0 24 0 108 0 ๒๕๖๒ 131 1 137 2 134 1 106 0 28 0 38 0 124 1 ๒๕๖๓ 74 0 62 0 43 2 55 0 24 0 30 0 50 2 ๒๕๖๔ 72 0 92 1 26 1 15 1 8 1 10 0 34 0 รวม 552 5 566 11 533 11 484 3 132 0 169 0 519 6 พื้นที่/จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุจราจร ตำบลบาโงยซิแน ปีงบประมาณ 2564 พท./เดือน ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. รวม ม.1 หน้า รร.สุขสวัสดิ์  2          2 ม.1 เจาะปูแน  1  2 2 2    2  1  10 ม.1 บาโงยซิแน      1 2      3 ม.2 บูเก๊ะ    2    1 2  2  2 1 2 12 ม.2 บาโงยดีแย    2  2  2 1    7 ม.3 ลีมาปูโร๊ะ  2 2 2 2  2 1  1  1 13 ม.4 โปโฮ          2      2 ม.5 ซีเยาะ    2  2 3        7 รวม 4 5 4 8 6 6 5 5 2 3 3 2 3 56 ทางทีมทำงาน กลุ่มอาสาพัฒนาป้องกันอุบัติเหตุ ตำบลบาโงยซิแน ได้วิเคราะห์สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลบาโงยซิแน จากปัจจัยด้านถนน ในพื้นที่มีผู้ประกอบการรับซื้อขี้ยาง ปล่อยน้ำยางลงบนถนน ทำให้ถนนลื่นจากน้ำยาง มีการขนทราย หิน ทำให้มีทราย หิน หล่นบนถนน พื้นที่ทางโค้งมากและมีความชัน จัดเป็นจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบ่อย รวมถึงถนนแคบในหมู่บ้าน ทำให้การจราจรแออัด และปัจจัยที่ตัวบุคคล โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่ เช่น ขับรถเร็ว เมาแล้วขับ เล่นโทรศัพท์ขณะขับรถ ส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลบาโงยซิแนมีเด็กอายุไม่ถึงเกณฑ์ขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยไม่รู้กฎจราจร และผู้ใช้เส้นทาง ความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม ความประมาท มีการแต่งกายในการขับขี่ไม่รัดกุม รวมถึงการไม่ชำนาญเส้นทาง การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ด้านยานพาหนะ ยังพบว่าขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย การปรับแต่งสภาพยานพาหนะ และการบรรทุกหรือโดยสารที่ไม่ปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ ทัศนวิสัยในการมองเห็น ข้างทางไม่มีเหล็กกั้นคูน้ำ ในบริเวณตลาดนัดริมถนน มีการจอดรถไม่เป็นระเบียบ จอดรถในที่ห้ามจอด ในบริเวณชุมชนเด็กๆมีการเล่นกิจกรรมข้างถนน และมีการนำรถมาใช้โดยสภาพรถไม่พร้อมใช้งาน ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์ อาทิ ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ และถนนอยู่ระหว่างก่อสร้างหรือซ่อมแซม รวมถึงอุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศจากปัจจัยต่างๆข้างต้น ปัจจัยกลไก พบว่า ศปถ.ยังไม่เข้มแข็ง การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เข็มแข็ง การปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความยุ่งยากในการเบิกจ่าย พรบ. ด้านสังคม มีการจอดรถบนทางโค้ง และการเลี่ยงแจ้งความจริงในการเกิดอุบัติเหตุ การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยโดยก่อให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล บาดเจ็บ จนกระทั่งการเสียชีวิตไม่เพียงเท่านั้น ยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมหาศาล เช่นขาดรายได้ 200-300 บาท/วัน ค่ารักษาพยาบาล 100-300 บาท/ครั้ง ค่าเดินทางไปโรงพยาบาลประมาณ 100บาท/ครั้ง ค่าใช้จ่ายให้คู่กรณี(ขึ้นอยู่กับความเสียหาย) ด้านสังคม มีปัญหาครอบครัว เกิดความขัดแย้ง ด้านสุขภาพ บาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต มีความเครียด เพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจ จากอุบัติเหตุทางท้องถนน ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ติดหนี้ ขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการทะเลาะวิวาท เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี และอุบัติเหตุยังก่อให้เกิดต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนในการดำเนินคดี ต้นทุนจากผลกระทบต่อสภาพการจราจร ป้ายบอกทางชำรุด เสาไฟฟ้าหรือสัญญาณไปชำรุด บ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น ดังนั้นทางกลุ่มอาสาพัฒนาป้องกันอุบัติเหตุ ตำบลบาโงยซิแน มองเห็นการแก้ปัญหาอุบัติเหตุบริเวณตลาดนัด ซึ่งในตำบลบาโงซิแนมีตลาดนัดจำนวน 2 แห่ง แนวทางแก้ปัญหา คือ การจัดระเบียบตลาดนัดและการจัดระเบียบรถบริเวณตลาดนัดให้มีที่จอดเป็นสัดส่วน มีอาสาจราจรมาช่วยจัดการ เพื่อเป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุตามจุดเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้เอง และยังสนใจในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุในกลุ่มเด็กแว้นหรือนักซิ่ง แนวทางแก้ปัญหา คือ มีการสร้างข้อตกลง (ฮุกุมปากะ) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเด็กแว้นหรือนักซิ่งในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุ จึงมุ่งหวังในการเพิ่มประสิทธิภาพ ความครอบคลุมการลดอุบัติเหตุให้ลดลง จึงจัดทำโครงการ การจัดการความเสี่ยง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน และเกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกัน ในการแก้ไขจุดเสี่ยง และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน เมื่อดำเนินงานเสร็จสิ้น จะได้ข้อเสนอในการต่อยอดกิจกรรมให้แก่องค์กรชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรูปแบบ (Model) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ของตำบล เพื่อขยายผลในระดับต่างๆต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง
  2. 2.เพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน
  3. 3.เพื่อการบริหารจัดการโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ค่าบริหารจัดการโครงการ (ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือหน่วยจัดการระดับจังหวัดรวมถึงค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ)
  2. ค่าบริหารจัดการโครงการ (ค่าทำป้ายโครงการ)
  3. ค่าบริหารจัดการโครงการ (จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์)
  4. รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุ ในสัปดาห์รณรงค์ 7 วันอันตราย
  5. จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงานจำนวน 4 ครั้ง
  6. จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน
  7. อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย
  8. จัดประชุม และพัฒนา ศปถ.ตำบล (ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนตำบลบาโงยซิแน)
  9. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ
  10. กิจกรรมการปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย
  11. กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป
  12. เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยฯ ประจำปี 2565
  13. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ และป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง
  14. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์
  15. รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุ ในสัปดาห์รณรงค์ 7 วันอันตราย
  16. เปิดบัญชีธนาคาร
  17. เวทีปฐมนิเทศย่อยฯ ปี 2565
  18. เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบฯ
  19. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน แต่งตั้งอนุกรรมการ
  20. อบรมพัฒนาคณะทำงาน
  21. สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 1
  22. จัดประชุม และพัฒนา ศปถ.ตำบล
  23. อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย รุ่นที่ 1 กลุ่มเยาวชน
  24. อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย รุ่นที่ 2 ประชาชนทั่วไป
  25. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE Node) ครั้งที่ 1
  26. ดอกเบี้ยรับ
  27. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่ 1
  28. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่ 2
  29. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่ 3
  30. สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 2
  31. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE Node) ครั้งที่ 2
  32. ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส.
  33. เวทีจัดการข้อมูลโครงการย่อย ๆ
  34. ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
  35. ดอกเบี้ยรับ
  36. การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย
  37. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
คณะทำงานโครงการและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ 160

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการที่เข้มแข็ง
  2. เกิดกลไก ศปถ.ตำบล
  3. เกิดกลไกเฝ้าระวังติดตาม เรื่องอุบัตเหตุทางท้องถนนที่เข้มแข็ง
  4. สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้รับการแก้ไข ประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักเพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน
  5. การเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยฯ ประจำปี 2565

วันที่ 12 มีนาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่ผู้รับทุน
นำเสนอโครงการที่ทาง สสส. ได้กำหนดหัวข้อตามบริบทของแต่ละพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนได้ทราบละเอียดการทำโครงการ ของสสส. ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริบทในพื้นที่ และนำโครงการดังกล่าวไปปฏิบัติให้สำเร็จบรรลุตามเป้าหมาย

 

2 0

2. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ และป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง

วันที่ 1 เมษายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายไวนิลโครงการ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. ติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดการประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมต่างๆ

 

0 0

3. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เช่น ใบเสร็จรับจากกิจกรรมต่าง ๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รูปเล่มรายงาน
ข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ ที่คีย์ลงระบบ

 

0 0

4. รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุ ในสัปดาห์รณรงค์ 7 วันอันตราย

วันที่ 11 เมษายน 2565 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย
  • เก็บข้อมูลสถิติอุบัติในช่วง 7 วันอันตราย
  • ร่วมเฝ้าระวังและอยู่เวร จุดตรวจ 7 วันอันตราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีการแจกใบปลิวให้กับผู้สัญจรไปมา รณรงค์สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน ผ่านช่องทางสื่่อและกิจกรรมการรณรงค์
  • สามารถเก็บข้อมูลสถิติอุบัติที่เกิดขึ้นในช่วง 7 วันอันตราย แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ และวางแนวทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุให้ตรงจุด
  • อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่สัญจรไปมา เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย

 

4 0

5. เปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 29 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เปิดบัญชีธนาคาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เปิดบัญชีธนาคาร

 

0 0

6. เวทีปฐมนิเทศย่อยฯ ปี 2565

วันที่ 5 พฤษภาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงการทำโครงการ ส่งเอกสาร เช่น สำเนาหน้าสมุดบัญชี ธนาคาร ธกส.
เซ็นต์สัญญาโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนได้ทราบรายละเอียดการทำโครงการ ผู้รับทุนได้ส่งเอกสารหลักฐานประกอบการการเบิกเงิน จ่ายเงิน และหลักฐานต่างๆเพื่อใช้ในการเซ็นต์สัญญาการทำโครงการ

 

3 0

7. เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบฯ

วันที่ 21 พฤษภาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

-เรียนรู้การบันทึกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ฅนใต้สร้างสุข -เรียนรู้การบันทึกข้อมูลรายละเอียดโครงการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้รับความรู้ในการคีย์ข้อมูล ของโครงการ -สามารถบันทึกรายละเอียดโครงการ -ได้ความรู้ในการอัพโหลดข้อมูลเข้าในระบบ

 

2 0

8. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน แต่งตั้งอนุกรรมการ

วันที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ชี้แจงแนวทางดำเนินงาน และกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ
  • จัดตั้งคณะทำงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ และวางแผนการดำเนินงาน
  • ที่ปรึกษาโครงการ ให้ความคิดเห็นในการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานได้ทราบถึงแนวทางการดำเนินงาน และกิจกรรมต่างๆที่จะดำเนินการต่อไป
  • แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงาน เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และวาวแผนการทำงานในแต่ละหน้าที่

 

40 0

9. อบรมพัฒนาคณะทำงาน

วันที่ 21 มิถุนายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • อบรมให้ความรู้แก่คณะทำงาน เกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนและแนวทางการป้องกันและแก้ไข และฝึกปฏิบัติ โดย ทีม ER รพร.ยะหา
  • อบรมให้ความรู้แก่คณะทำงาน เกี่ยวกับกฎหมายจราจร จราจรจิตอาสา และฝึกปฏิบัติ  โดย ทีม สภ.ยะหา
  • เทคนิคการดำเนินงานเพื่อสร้างเครือข่าย และวางแผนเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน ทีมคณะทำงาน
  • อบรมให้ความรู้แก่คณะทำงาน เกี่ยวกับ พรบ.รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทั่วไป และภาคบังคับ โดย บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สาขายะลา
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและได้เรียนรู้ถึงบทเรียนที่ประสบสำเร็จในการดำเนินงาน  สำรวจจุดเสี่ยง โดย ทีมคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีความรู้เรื่องในเรื่อง RTI การเกิดอุบัติเหตุในชุมชน แนวทางการป้องกันและแก้ไข เรียนรู้ การบูรณาการทำงานร่วมกัน และวางแผนเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน พร้อมเรียนรู้เทคนิคการดำเนินการสร้างเครือข่าย เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล และได้เรียนรู้ถึงบทเรียนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการ พรบ. กฎหมาย กฎหมายจราจร และสามารถสร้างแกนนำชุมชนเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีความรู้เรื่อง พรบ. และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

40 0

10. สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 1

วันที่ 8 สิงหาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ และสรุปถอดบทเรียนกิจกรรม ปัญหาอุปสรรค ในการทำโครงการและหาแนวทางการพัฒนาโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สามารถวางแผนการดำเนินงานร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ สรุปปัญหาและอุปสรรค และร่วมกันแก้ปัญหา

 

40 0

11. จัดประชุม และพัฒนา ศปถ.ตำบล

วันที่ 17 สิงหาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • ชี้แจงแนวทางดำเนินงาน และกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ
  • ชี้แจง ที่มา และบทบาทหน้าที่ การทำงานตามโครงสร้างอย่างชัดเจนของ คณะกรรมการ ศปถ.ตำบลบาโงยซิแน
  • วางแผนเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ และจัดทำข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลบริบทพื้นที่/จุดเสี่ยง/พฤติกรรมเสี่ยง/ข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุและแผนการดำเนินงานบูรณาการกับภาคีเครือข่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รับรู้บทบาทหน้าที่ของ ศปถ.ตำบล (ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน) สามารถแบ่งหน้าความรับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการจัดทำข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลบริบทพื้นที่/จุดเสี่ยง/พฤติกรรมเสี่ยง/ข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุ และเกิดแผนการดำเนินงานบูรณาการกับภาคีเครือข่าย

 

30 0

12. อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย รุ่นที่ 1 กลุ่มเยาวชน

วันที่ 23 สิงหาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจร และการขับขี่อย่างปลอดภัย พรบ.ภาคบังคับ
2.รณรงค์การสวมหมวกกันน็อค
3.คณะทำงานและผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่าง
4.กำหนดกติกาข้อตกลงประชาชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องกฎจราจร พรบ.ภาคบังคับ มีการรณรงค์การสวมหมวกกันน็อค และสามารถกำหนดกติกาข้อตกลงประชาชน

 

60 0

13. อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย รุ่นที่ 2 ประชาชนทั่วไป

วันที่ 24 สิงหาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจร และการขับขี่อย่างปลอดภัย พรบ.ภาคบังคับ
2.รณรงค์การสวมหมวกกันน็อค
3.คณะทำงานและผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่าง
4.กำหนดกติกาข้อตกลงประชาชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องกฎจราจร พรบ.ภาคบังคับ มีการรณรงค์การสวมหมวกกันน็อค และสามารถกำหนดกติกาข้อตกลงประชาชน

 

60 0

14. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE Node) ครั้งที่ 1

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

-แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อย
-ติดตามความคืบหน้าโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แนวทางการขับเคลื่อนโครงการให้ประสบผลสำเร็จ

 

3 0

15. ดอกเบี้ยรับ

วันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดอกเบี้ยรับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดอกเบี้ยรับ

 

0 0

16. การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย

วันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ชุมชนสมารถปรับปรุงได้เอง
-ติดป้ายเตือนผู้ใช้รถ ป้ายทางแยก ป้ายทางโค้ง ป้ายลดความเร็วในชุมชน โดยเลือกใช้ป้ายที่เหมาะสม ให้สามารถมองเห็นป้ายได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
-ติดตั้งกระจกโค้งบริเวณจุดอับ แยกหักศอก
-ตัดแต่งพุ่มไม้ที่บดบัง หรือกำจัดป้ายโฆษณาที่บดบังจราจร
-ทำความสะอาดผิวถนน ปรับแต่งหลุมบ่อบนผิวถนน ให้ผู้ใช้ทางสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน
-กำจัดหรือเคลื่อนย้ายวัตถุอันตรายออกไป รวมไปถึงการออกแบบวัตถุอันตรายใหม่ให้รถสามารถวิ่งผ่านได้อย่างปลอดภัย
2.นำข้อมูลจุดเสี่ยงที่ชุมชนไม่สามารถแก้ไขเองได้ ส่งต่อหน่วยงานท่เกี่ยวข้องช่วยกันออกแบบแก้ไข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ผู้ใช้รถใช้ถนนมีความระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะมากขึ้น
-ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากมีป้ายเตือนต่าง ๆ -จุดเสี่ยงต่าง ๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยชุมชน ได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

70 0

17. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่ 1

วันที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

-เก็บข้อมูลการสวมหมวกนิรภัยและข้อมุลสถิติอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขทุก 2 สัปดาห์
-เฝ้าระวังจุดเสี่ยงบริเวณใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีการนำข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์สถิติและแก้ไขปัญหาตามข้อมูลที่ได้รับ เช่น การสวมหมวกนิรภัย ถ้ามีการสวมหมวกลดลง ก็อาจจะต้องมีการรณรงค์ให้มากขึ้น หรือการเกิดอุบัติเหตุทางถนน หากมีการเกิดอุบัติเหตุก็มีการตั้งรับที่ดีขึ้น จากการแก้ไขจุดเสี่ยงต่างๆ
-จุดเสี่ยงต่างๆในพื้นที่บาโงยซิแนได้รับการแก้ไข มีการติดตั้งป้ายเตือน กระจกโค้ง และมีการถางวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมบนถนน รวมถึงจุดเสี่ยงน้อยก็มีการเก็บข้อมูลเพื่อแก้ไขในอนาคต

 

20 0

18. สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 2

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วางแผนเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ และสรุปถอดบทเรียนกิจกรรม ปัญหาอุปสรรค ในการทำโครงการและหาแนวทางการพัฒนาโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สามารถวางแผนการดำเนินงานร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ สรุปปัญหาและอุปสรรค และร่วมร่วมกันแก้ปัญหา

 

40 0

19. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE Node) ครั้งที่ 2

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

-แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อย
-ติดตามความคืบหน้าโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แนวทางการขับเคลื่อนโครงการให้ประสบผลสำเร็จ

 

3 0

20. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่ 2

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

-เก็บข้อมูลการสวมหมวกนิรภัยและข้อมุลสถิติอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขทุก 2 สัปดาห์
-เฝ้าระวังจุดเสี่ยงบริเวณใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีการนำข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์สถิติและแก้ไขปัญหาตามข้อมูลที่ได้รับ เช่น การสวมหมวกนิรภัย ถ้ามีการสวมหมวกลดลง ก็อาจจะต้องมีการรณรงค์ให้มากขึ้น หรือการเกิดอุบัติเหตุทางถนน หากมีการเกิดอุบัติเหตุก็มีการตั้งรับที่ดีขึ้น จากการแก้ไขจุดเสี่ยงต่างๆ
-จุดเสี่ยงต่างๆในพื้นที่บาโงยซิแนได้รับการแก้ไข มีการติดตั้งป้ายเตือน กระจกโค้ง และมีการถางวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมบนถนน รวมถึงจุดเสี่ยงน้อยก็มีการเก็บข้อมูลเพื่อแก้ไขในอนาคต

 

20 0

21. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่ 3

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

-เก็บข้อมูลการสวมหมวกนิรภัยและข้อมุลสถิติอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขทุก 2 สัปดาห์
-เฝ้าระวังจุดเสี่ยงบริเวณใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีการนำข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์สถิติและแก้ไขปัญหาตามข้อมูลที่ได้รับ เช่น การสวมหมวกนิรภัย ถ้ามีการสวมหมวกลดลง ก็อาจจะต้องมีการรณรงค์ให้มากขึ้น หรือการเกิดอุบัติเหตุทางถนน หากมีการเกิดอุบัติเหตุก็มีการตั้งรับที่ดีขึ้น จากการแก้ไขจุดเสี่ยงต่างๆ
-จุดเสี่ยงต่างๆในพื้นที่บาโงยซิแนได้รับการแก้ไข มีการติดตั้งป้ายเตือน กระจกโค้ง และมีการถางวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมบนถนน รวมถึงจุดเสี่ยงน้อยก็มีการเก็บข้อมูลเพื่อแก้ไขในอนาคต

 

20 0

22. เวทีจัดการข้อมูลโครงการย่อย ๆ

วันที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-เรียนรู้การบันทึกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ฅนใต้สร้างสุข
-เรียนรู้การบันทึกข้อมูลรายละเอียดโครงการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้รับความรู้ในการคีย์ข้อมูล ของโครงการ
-สามารถบันทึกรายละเอียดโครงการ
-ได้ความรู้ในการอัพโหลดข้อมูลเข้าในระบบ

 

3 0

23. ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รวบรวมข้อมูล
สรุปข้อมูลที่ได้จากการดำเนินโครงการ
นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลมาปฏิบัติ เช่น การแก้ไขจุดเสี่ยง ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎจราจร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดกติกาชุมชน จุดเสี่ยงที่เกิดอบุติเหตุได้รับการแก้ไขและสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุ ประชาชนตระหนักถึงความสำัญของกฎจราจรและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

 

40 0

24. ดอกเบี้ยรับ

วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดอกเบี้ยรับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดอกเบี้ยรับ

 

0 0

25. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป

วันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

-จัดเวทีพูดคุยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีส่วนในการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน
-คืนข้อมูลและถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้รับข้อมูลกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงจากพื้นที่ต่าง ๆ ในพื้นตำบลบาโงยซิแนเพิ่มมากขึ้น
-เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป
-เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง

 

60 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการที่เข้มแข็ง ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดกลไก ศปถ.ตำบล ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกเฝ้าระวังติดตามเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนนที่เข้มแข็ง ผลลัพธ์ที่ 4 พฤติกรรมเสี่ยง และ สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้รับการแก้ไข และประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักเพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน
80.00

 

2 2.เพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 5 การเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง
80.00

 

3 3.เพื่อการบริหารจัดการโครงการ
ตัวชี้วัด : 1.โครงการมีประสิทธิภาพสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.การรายงานผลการดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด 3.แกนนำคณะทำงานมีศักยภาพที่สามารถดำเนินกิจกรรมตามโครงการได้สำเร็จ
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงานโครงการและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ 160

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง (2) 2.เพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน (3) 3.เพื่อการบริหารจัดการโครงการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ค่าบริหารจัดการโครงการ (ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือหน่วยจัดการระดับจังหวัดรวมถึงค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ) (2) ค่าบริหารจัดการโครงการ (ค่าทำป้ายโครงการ) (3) ค่าบริหารจัดการโครงการ (จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์) (4) รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุ ในสัปดาห์รณรงค์ 7 วันอันตราย (5) จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงานจำนวน 4 ครั้ง (6) จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน (7) อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย (8) จัดประชุม และพัฒนา ศปถ.ตำบล (ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนตำบลบาโงยซิแน) (9) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ (10) กิจกรรมการปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (11) กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป (12) เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยฯ ประจำปี 2565 (13) ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ และป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง (14) ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ (15) รณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุ ในสัปดาห์รณรงค์ 7 วันอันตราย (16) เปิดบัญชีธนาคาร (17) เวทีปฐมนิเทศย่อยฯ ปี 2565 (18) เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบฯ (19) ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน  แต่งตั้งอนุกรรมการ (20) อบรมพัฒนาคณะทำงาน (21) สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 1 (22) จัดประชุม และพัฒนา ศปถ.ตำบล (23) อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย รุ่นที่ 1 กลุ่มเยาวชน (24) อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย รุ่นที่ 2 ประชาชนทั่วไป (25) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE Node) ครั้งที่ 1 (26) ดอกเบี้ยรับ (27) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่ 1 (28) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่ 2 (29) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่ 3 (30) สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 2 (31) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE Node) ครั้งที่ 2 (32) ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. (33) เวทีจัดการข้อมูลโครงการย่อย ๆ (34) ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ (35) ดอกเบี้ยรับ (36) การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (37) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบาโงยซิแน จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 65-01-008

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายมูฮำมัด สูแป )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด