directions_run

ส่งเสริมสุขภาพ กิน ปลูก ผักปลอดภัยกับชุมชน บ้านตะโล๊ะ (ปีที่ 2)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพ กิน ปลูก ผักปลอดภัยกับชุมชน บ้านตะโล๊ะ (ปีที่ 2)
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดยะลา ปี 2565
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-02-008
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2022 - 31 มีนาคม 2023
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มปลูกผักปลอดภัยชุมชนบ้านตะโละ
ผู้รับผิดชอบโครงการ อับดุลเร๊าะมัน สะกะแย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0622306655
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ ใอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ ม.3 ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.432853,101.392828place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2022 30 ก.ย. 2022 1 เม.ย. 2022 30 ก.ย. 2022 40,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 50,000.00
3 1 มี.ค. 2023 31 มี.ค. 2023 1 มี.ค. 2023 31 มี.ค. 2023 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเหล้า
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เป้าหมายยุทธศาสตร์จังหวัดลดการนำเข้าผักจากนอกพื้นที่จังหวัดยะลา ส่วนเป้าหมาย สสส.1)มีมูลค่าการจำหน่ายผักปลอดภัยต่อเดือน (บาท) 2)สมาชิกมีการบริโภคผักปลอดภัยอย่างน้อย 400 กรัม/วัน เป้าหมายพื้นที่ดำเนินการจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ1)กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบคือสวนผักนูริสฟาร์มชุมชนบ้านลำใหม่ (ดำเนินการปี 2564) มีพื้นที่ขยายจำนวน 4 พื้นที่ได้แก่ พื้นที่ปลูกผักชุมชนบ้านบาเตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา ชุมชนปลูกผักบ้านเลสุตำบลกาลูปัง อำเภอยรามัน ชุมชนปลูกผักบ้านบันนังสตา อำเภอบันนังสตา ชุมชนปลูกผักบ้านบุดี อำเภอเมืองยะลา 2)กลุ่มเกษตรกรต้นแบบคือกลุ่มปลูกผักปลอดภัยบ้านตะโล๊ะ ตำบลย๊ะตะ อำเภอรามัน (ดำเนินการปี 2564)มีพื้นที่ขยายในปี 2565 จำนวน 7 พื้นที่ กล่าวคือ ชุมชนปลูกผักบ้านทุ่งเหรียง ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา ชุมชนปลูกผักบ้านคลองทรายใน ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา ชุมชนปลูกผักบ้านหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา ชุมชนปลูกผักบ้านกาตอง ตำบลกาตอง อำเภอยะหา ชุมชนปลูกผักบ้านวังพญา ตำบลวังพญา อำเภอรามัน ชุมชนปลูกผักบ้านบาโงย ตำบลบาโงย อำเภอรามัน ชุมชนปลูกผักบ้านบือมัง ตำบลบือมัง อำเภอบันนังสตา
    โดยมีภาคียุทธศาสตร์ร่วมขับเคลื่อนประกอบด้วย สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ด้วยการสนับสนุน/หนุนเสริมนโยบายด้านเกษตร (ผักปลอดภัย) จัดสรรทรัพยากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ด้วยการรองรับการตลาด/ผลิตภัณฑ์ด้านผักปลอดภัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา ด้วยการตรวจประเมินมาตรฐาน GAP นอกจากนี้ยังมีภาคีร่วมปฏิบัติการ ได้แก่ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยะลา ด้วยการสนับสนุนด้านวิชาการ/องค์ความรู้ด้านการเกษตร สำนักงานสภาเกษตรจังหวัดยะลา ด้วยการชี้เป้าหมาย (พื้นที) /ประสานการดำเนินงาน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลาด้วยการสนับสนุนการบริหารจัดการตลาดภาพรวม สำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดยะลา ด้วยการสนับสนุนทรัพยากร (งบประมาณ) เกษตรอินทรีย์ องค์การบริการส่วนจังหวัดยะลา ด้วยการสนับสนุนเรื่องการตลาด
ตำบลยะต๊ะ เป็นตำบล 1 ใน 16 ตำบล ที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอรามัน จังหวัดยะลา
มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านปาแลเหนือ หมู่ที่ 2 บ้านตูกู หมู่ที่ 3 บ้านตะโละ หมู่ที่ 4 บ้านปาแลใต้ หมู่ที่ 5 บ้านตีบุ ตำบลยะต๊ะ มีครัวเรือนจำนวน ทั้งสิ้น 1,310 ครัวเรือน บริเวณที่มีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด ได้แก่ชุมชนบ้านตะโละ หมู่ที่ 3 ประชากรตำบลยะต๊ะร้อยละ 100 นับถือศาสนาอิสลาม การตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่มีลักษณะแบบสังคมชนบททั่วไป และจะกระจายไปตามพื้นที่เกษตรกรรม มีสภาพแวดล้อมแบบชนบทที่ยังไม่มีผลกระทบจากมลพิษต่างๆ โดยมีศาสนสถาน คือมัสยิดเป็นศูนย์กลาง วัฒนธรรมประเพณีมีเอกลักษณ์เฉพาะด้านศาสนาอิสลาม พูดภาษามลายู ประชากรตำบลยะต๊ะ ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมยางพารานาข้าว และสวนไม้ผล ประมาณร้อยละ 75 รองลงมาได้แก่อาชีพรับจ้าง ประมาณร้อยละ 17 และค้าขาย รับราชการ ประมาณร้อยละ 8 ลักษณะภูมิประเทศ ห่างจากที่ว่าการอำเภอรามัน ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 12 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26.63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 16,641 ไร่ สภาพพื้นที่ตำบลยะต๊ะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบและที่ลุ่มโดยเฉลี่ยเป็นพื้นที่ราบค่อนข้างสูงและภูเขาสลับซับซ้อน มีสภาพภูมิอากาศร้อนและฤดูฝน ฝนตกเกือบตลอดปี ระบบประปาเป็นระบบประปาภูเขา และราษฎรบางส่วนอาศัยบ่อน้ำตื้นที่ขุดขึ้นใช้เองภายในครัวเรือน หรับพื้นที่บ้านตะโล๊ะ หมู่ที่ 3 มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 1,175 คน จำนวน 383 ครัวเรือน โดยแยกเป็น 3 คุ้มบ้าน คือ คุ้มที่ 1) บ้านตะโล๊ะยามิง คุ้มที่ 2) บ้านตะโล๊ะงอเบาะ คุ้มที่ 3) บ้านกาดือแป สำหรับคุ้มบ้านตะโล๊ะงอเบาะ มีจำนวน 200 ครัวเรือน ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ประกอบด้วย ยางพารา นาข้าว และสวนไม้ผล ซึ่งหลังจากการกรีดยางหรือทำนาของคนในพื้นที่แล้ว บางครัวเรือนปลูกผักเพื่อไว้บริโภคเอง หากเหลือจากการบริโภคก็จะนำไปขาย ผักที่นิยมปลูกจะเป็นผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก ข้าวโพด แตงโม ผักบุ้ง ฝักทอง เป็นต้น เกษตรกร 80% มีการคำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติ เน้นการใช้วัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ แต่ยังพบว่าเกษตรกร อีก 20 % มีการใช้สารเคมี เนื่องจากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และมีความเชื่อว่าหากมีการใช้ปุ๋ยเคมีผสมร่วมกับปุ๋ยคอก จะเร่งให้พืชโตเร็ว แข็งแรง และผักมีความสวยงามและสาเหตุของการใช้ปุ๋ยเคมีพบว่า เกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายในชุมชนและง่ายต่อการดูแล และจากการดำเนินโครงการของกลุ่มปลูกผักปลอดภัยของบ้านต๊ะโละในปีที่ผ่านมา ได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบการจัดการปลูกผักปลอดภัยโดยมีจำนวนครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 ครัวเรือนจากจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 170 ครัวเรือน มีสามชิกกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดภัยที่เข้มแข็ง สมาชิกกลุ่มได้รับการพัฒนาศักยภาพคือการบริหารจัดการแปลง การผลิตสารชีวภัณฑ์ รวมถึงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ เกิดพื้นที่กลางสำหรับการเรียนรู้การจัดการปลูกผักปลอดภัยและการจัดการศัตรูพืชโดยใช้แมลง และจากข้อมูลพื้นฐานการดำเนินงานเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการพบว่าก่อนดำเนินโครงการมีพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ได้ผลผลิต จำนวน 100 ก.ก. หลังดำเนินการมีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 2 ไร่ ได้ผลผลิต 250 ก.ก.มีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักบริโภคก่อนดำเนินการเฉลี่ยครัวเรือนละ 300 บาทต่อเดือน หลังดำเนินการพบว่ามีค่าใช้จ่ายลดลงเฉลี่ยครัวเรือนละ 100 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังพบว่าสมาชิกกลุ่มยังไม่ได้รับการรับรองผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP ส่งออกจำหน่ายตลาดในชุมชน และนอกชุมชนได้อย่างเพียงพอ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธ์ศาสตร์จังหวัดยะลา ข้อที่ 3 พัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อการบริหารจัดการโครงการข้อที่ 3 ( งบ 10,000 )

1-โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2-การรายงานผลเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด 3-แกนนำขณะทำงานมีศักยภาพสามรถดำเนินกิจการได้อย่างสำเร็จ

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 เม.ย. 65 กิจกรรมรายงานผลการดำเนินโครงการระบบออนไลน์ 1 2,000.00 2,000.00
101 10,000.00 12 10,504.61
3 พ.ค. 65 เปิดบัญชีธนาคาร 3 0.00 500.00
5 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศ 3 400.00 400.00
19 พ.ค. 65 ป้ายไวนิลบันไดผลลัพ/ป้ายไวนิลโครงการ 0 2,000.00 2,000.00
21 พ.ค. 65 อบรมการบันทึกข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล รายงานผลการดำเนินการโครงการระบบออนไลน์ 3 600.00 600.00
6 ก.ค. 65 เปิดโครงการส่งเสริมสุขภาพ กิน ปลูก ผัก อินทรีย์กับชุมชนบ้านตะโล๊ะ 20 3,200.00 3,200.00
4 ส.ค. 65 ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของชุมชนทุ่งเหรียง 45 0.00 0.00
17 ก.ย. 65 ARE NODE ครั้งที่ 1 3 600.00 600.00
24 ก.ย. 65 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 2.96
6 พ.ย. 65 กิจกรรมการจัดทำสื่อ 20 600.00 600.00
4 ก.พ. 66 ARE NODE ครั้งที่ 2 3 600.00 600.00
25 มี.ค. 66 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 1.65
26 พ.ค. 65 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะทำงาน สมาชิกกลุ่มเป็นผู้ตรวจแปลงปลูกผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP จำนวน 45 คน ระยะเวลา 1 วัน 45 10,800.00 10,800.00
107 34,260.00 4 34,260.00
2 มิ.ย. 65 ร่วมเวที “kick off ปลูกผักปลอดภัย” ณ สวนนูริสฟาร์ม ม.5 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา จำนวน 45 คน ระยเวลา 1 วัน 45 13,350.00 13,350.00
13 ต.ค. 65 ทีมผู้ตรวจแปลงและภาคีที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่การตรวจแปลงผักปลอดภัยของสมาชิกกลุ่ม และรวบรวมข้อมูลการผลิตเพื่อรับรองมาตรฐาน 4 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน จำนวน 10 คน 10 9,200.00 9,200.00
10 ม.ค. 66 ร่วมเวที ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่เลี้ยง (ARE ครั้งที่ 2 ) 7 910.00 910.00
27 พ.ค. 65 พัฒนาศักยภาพสมาชิกกลุ่ม คณะทำงาน ผู้ประสานงานเรื่องกระบวนการปลูกผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP จำนวน 45 คน ระยะเวลา 1 วัน 45 12,300.00 12,300.00
99 24,160.00 3 24,160.00
29 มิ.ย. 65 ร่วมเวทีติดตามแลกเปลี่ยนรู้กับพี่เลี้ยง ( ARE ครั้งที่ 1 ) 9 910.00 910.00
20 ก.พ. 66 พัฒนาศักยภาพสมาชิกกลุ่ม คณะทำงาน กรรมการ ผู้ประสานงานศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบการจัดการปลูกผักปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 45 คน ระยะเวลา 1 วัน 45 10,950.00 10,950.00
28 พ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการ คณะทำงาน สมาชิกและผู้ประสานงานติดตามความก้าวหน้าระหว่างดำเนินการกิจกรรมโครงการ จำนวน 20 คน ระยะเวลา 1 วัน 20 2,600.00 2,600.00
122 17,260.00 4 17,260.00
30 พ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการ คณะทำงาน สมาชิกและผู้ประสานงานสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 45 คน ระยะเวลา 1 วัน 45 5,850.00 5,850.00
5 ก.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการ สมาชิกและผู้ประสานงานเพื่อชี้แจงเป้าหมายการดำเนินโครงการ เพื่อให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน และแต่งตั้งคณะทำงาน จำนวน 45 คน ระยะเวลา 1 วัน 45 7,250.00 7,250.00
27 ก.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการ คณะทำงาน สมาชิกและผู้ประสานงานวางแผนการดำเนินงาน ข้อตกลงกติกากลุ่มการสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกษตรกร (แบบฟอร์มของหน่วยจัดการ) การบันทึกข้อมูล แนวทางการรับสมาชิกใหม่ จำนวน 12 คน ระยะเวลา 1 วัน 12 1,560.00 1,560.00
8 ก.ค. 65 การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูล รายงานผลการดำเนินการโครงการระบบออนไลน์ 3 ครั้ง (ครั้งที่ 1) 1 1,500.00 1,500.00
3 4,500.00 3 4,500.00
8 ต.ค. 65 การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูล รายงานผลการดำเนินการโครงการระบบออนไลน์ 3 ครั้ง (ครั้งที่ 2) 1 1,500.00 1,500.00
8 ธ.ค. 65 การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูล รายงานผลการดำเนินการโครงการระบบออนไลน์ 3 ครั้ง (ครั้งที่ 3) 1 1,500.00 1,500.00
28 มี.ค. 66 ร่วมเวที ติดตามประเมินผลและพัฒนากับพี่เลี้ยง (ARE ครั้งที่ 3 ) 7 910.00 910.00
52 9,820.00 2 9,820.00
31 มี.ค. 66 เวทีสรุปปิดโครงการ คืนข้อมูลให้ชุมชน มอบใบรับรองแก่สมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดภัยผ่านมาตรฐาน GAP จำนวน 45 คน ระยะเวลา 1 วัน 45 8,910.00 8,910.00

ประชุม อบรม ดูงาน ประเมินผล

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.1 เป็นข้อมูลสำคัญที่จะบอกว่าโครงการบรรลุผลลัพธ์ เช่น จำนวนแกนนำ บทบาทแกนนำ กฎ/ระเบียบ/กติกา
พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เป็นต้น 1.2 ข้อมูลที่นำมาประกอบคำอธิบายตัวชี้วัดควรมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ เดิมอย่างชัดเจน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2022 10:13 น.