directions_run

พัฒนาส่งแสริมการผลิดและบริโภคผักปลอดภัยเพื่อสุขภาพในครัวเรือน ตำบลบุดี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาส่งแสริมการผลิดและบริโภคผักปลอดภัยเพื่อสุขภาพในครัวเรือน ตำบลบุดี
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดยะลา ปี 2565
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 65-02-010
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สวนเกษตรปลอดภัยตำบลบุดี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นส.โรสนี ดอเลาะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0933983781
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ rosmee727@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ สมาน หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 40,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

(โปรดระบุ1.1 สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ สาเหตุของปัญหา โดยมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน 1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้ ควรใช้ทุนเดิม จุดแข็งที่มี มาช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการอย่างไร 1.3 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร)

องค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ โดยผลสรุป ว่าการบริโภคผักผลไม้วันละ 400-600 กรัม สามารถลดภาระโรคต่างๆ ได้แก่ หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบ ลด อัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงกำหนดการบริโภคผัก ผลไม้อย่าง น้อย 400 กรัมต่อคนต่อวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ในปัจจุบัน การซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคนั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้าง ซึ่งหากบริโภคเป็น ประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว บกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมี ความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง
ปัจจุบัน เรื่องของปัญหาสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้น ซึ่งเป็นได้จากสถิติจำนวนของผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญมากจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีสารปลอมปนสารเคมี หรือผักที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ มักจะมีการใช้สารกำจัดสัตรูพืชและยังตกค้างในผลผลิต ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุอย่างยั่งยืน คือ การส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเอง สำหรับประชาชนกึ่งเมืองที่บางครัวเรือนบริโภคผักที่ขายตามท้องตลาด ในการที่จะเริ่มต้นเป็นผู้ปลูกผักด้วยตนเอง ชุมชน...บ้านบุดี.. มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น.......9,667...คน จำนวน....2,027...... ครัวเรือนแบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้านประชากรส่วนใหญ่ นับถือ ศาสนาอิสลาม 100% อาชีพ เกษตรกร ทำนา ทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ และเลี้ยงสัตว์ พฤติกรรมการบริโภคของชุมชนบ้านบุดี ส่วนใหญ่ซื้อผักจากท้องตลาดมาบริโภคในครัวเรือน ไม่ได้มี การปลูกผัก ทั้งที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เพราะหาซื้อง่าย สะดวกในการจับจ่ายใช้สอยผักจากตลาด ซึ่งในชุมชนมีร้านชุมชนขายของทุกวัน จึงนิยมซื้อผักมาบริโภค ส่วนใหญ่จะปลูกพืชสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ไม่ต้องให้การดูแล บำรุงรักษา ชุมชนมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภค ประมาณ 60,000 บาท/เดือน โดยเฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ 400 บาท/เดือน ชุมชนมีการปลูกผักอยู่บ้าง โดยประมาณ 50 ครัวเรือน ปลูกผักโดยใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพบ้าง เพราะสะดวก หาซื้อง่าย และง่ายต่อการดูแล ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ชุมชนเสียค่าใช่จ่ายในการซื้อปุ๋ยเพื่อใช้ในการเกษตร ในแต่ละปี เป็นเงินประมาณ 70,000 บาท ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีสารเคมีสารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน และทำให้ดินเสื่อม ด้านสุขภาพ ประชาชนที่ปลูกผักโดยใช้สารเคมี หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับสารพิษโดยตรง ทำให้สารพิษตกค้างสะสม ภายในร่างกาย ประชาชนที่บริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน ร่างกายจะสะสมสารพิษ ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น มะเร็ง สาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากการอะไร โปรดอธิบายพร้อมทั้งระบุรายละเอียด จากพฤติกรรมการปลูกผักของชุมชน พบว่าชุมชนไม่เห็นความสำคัญของการปลูกผักกินเอง เพราะในการซื้อผัก แต่ละครั้ง เป็นจำนวนเงิน 20-30 บาท ขาดความรู้ เทคนิคในการปลูกผัก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจาก การใช้สารเคมีทางการเกษตร ไม่เห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการ เพาะปลูกพืชผักปลอดสารเคมี ขาดหน่วยงานที่มาส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก/บริโภคผักปลอดสารพิษในหมูบ้าน ไม่มี กฎกติกา/ระเบียบของชุมชนในการบริโภคผักปลอดภัย จากการสำรวจครัวเรือนที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการในเรื่องการปลูกผักที่ไม่ใช้สารเคมี ที่เพียงพอต่อการนำไป บริโภคในครัวเรือน โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำและคนในหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้ 1. มีครัวเรือนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน ....20........ครัวเรือน (ต่อไปนี้จะเรียกว่า ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย) 2. ก่อนเริ่มโครงการ มีครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายที่สามารถปลูกผัก ที่เพียงพอต่อการนำไปบริโภคในครัวเรือนได้ 5 ชนิด ขึ้นไป จำนวน.20...ครัวเรือน  3. ก่อนเริ่มโครงการ ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภคเฉลี่ยสัปดาห์ละ..130..บาท/ครัวเรือน 4. ปัจจุบันชุมชน มีกติกาข้อตกลงเกี่ยวกับการปลูก และบริโภคผักปลอดภัย
ทั้งนี้ในพื้นที่จะมีต้นทุนเดิมที่สามารถขับเคลือนการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านที่มาให้ความรู้ ในการปลูกผัก นอกจากนั้นยังมีหมอดินอาสาในหมู่บ้านที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักและการเตรียมดิน และจะมีกลุ่มเกษตรกรปลูกผักเดิมอยู่ ชุมชน ฯ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาส่งสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยเพื่อสุขภาพในครัวเรือนขึ้นมา เพื่อให้เกษตรกรมีอาชีพเสริมและรายได้เพิ่มมากขึ้นเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธ์ศาสตร์จังหวัดยะลา ข้อที่ 3 ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ผลลัพธ์ที่ 1 มีคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 มีโครงสร้างคณะกรรมการและหน้าที่ชัดเจน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 มีทักษะความรู้ การวางแผนการผลืตตามความต้องการของตลาด การรับรองมาตรฐาน GAP ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 มีทักษะสามารถชักชวนสนับสนุนสมาชิกกลุ่ม เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตการรับรองมาตรฐาน และการตลาด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.4 กรรมการ มีทักษะสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกและผลิตผักปลอดภัยให้กับสมาชิกใหม่ได้ ผลลัพธ์ที่ 2 มีวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรเข้มแข็ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 มีสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 สมาชิกมีความรู้เรื่องการรับรองมาตรฐานผักปลอดภัย GAP ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 เกิดแผนการทำงานเชื่อมโยงร่วมกับภาคีเครือข่ายในการหนุนเสริมความรู้การปลูกผักปลอดภัยการผลิตผักตามความต้องการของตลาดและมาตรฐาน GAP ให้กับสมาชิก ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.4 มีข้อมูลผักที่ตลาดต้องการ มาจากนอกพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.5 มีข้อมูลผักทั้งใน – นอกพื้นที่ที่ต้องนำเข้าหรือซื้อมาจากนอกพื้นที่ ตัวชีวัดผลลัพธ์ 2.6 มีแผนการผลิต ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.7 มีกติกากลุ่ม
ผลลัพธ์ที่ 3 มีการติดตาม ประเมินผล ร่วมกับภาคีอย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 คณะกรรมการ ร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องมีการติดตามร่วมกัน ในเรื่องการผลิตผักปลอดภัยตามแผนการปลูกและแผนการผลิตตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการรับรองมาตรฐาน GAP ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 สมาชิกมีการคืนข้อมูลการผลิตผักปลอดภัย ตามแผนการผลิตและแผนความต้องการของตลาด รวมทั้งการรับรองมาตรฐาน GAP และแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันทุกเดือนและมีการปรับปรุงแผนการผลิตให้สอดคล้องกับตลาด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 เกิดโรงเรียนเกษตรกรที่ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ หนุนเสริมและสนับสนุนทุนผ่านทาง อปท. และเครือข่าย

80.00
2 เพื่อให้การผลิตผักได้มาตรฐาน GAP

ผลลัพธ์ที่ 4 ปลูกผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1 สมาชิกกลุ่มสามารถปลูกผักปลอดภัยได้ตามแผนความต้องการของตลาด  เช่น ชนิดการปลูก / ปริมาณความต้องการ / ปลูกสอดคล้องกับฤดูการและตลาด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2 สมาชิกโครงการ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ร้อยละ 100 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.3 มีแผนการเชื่อมโยงระบบการส่งผลผลิตผักปลอดภัยสู่โรงพยาบาล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.4 เกิดเกษตรกรต้นแบบที่จะพัฒนาเป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐานของเกษตรกรได้ ผลลัพธ์ที่ 5 มีตลาดและผู้บริโภคผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.1 มีมูลค่าการขายผักปลอดภัยที่ผ่านมาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้น 500 บาทต่อเดือน / (ขายกลุ่ม / ขายเดี่ยว ) ตัวชีวัดผลลัพธ์ 5.2 มีการขายผักปลอดภัย - ตลาดในชุมชน - ตลาดนอกชุมชน - ตลาดโรงพยาบาล - ตลาดออนไลน์ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.3 สมาชิกของโครงการมีการบริโภคผักปลอดภัย อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน

100.00
3 3.เพื่อบริหารจัดการโครงการ

โครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ครัวเรือนในชุมชนตำบลบุดี 20 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ครัวเรือนในชุมชนบุดีหมู่ 1,8 20 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับ สสส สนับสนุนเพิ่มเติม ( เบิกจ่ายตามจริง )(16 ก.ย. 2565-16 ก.ย. 2565) 10,000.00                                  
2 กิจกรรมที่ 1 ตั้งคณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน(16 ก.ย. 2565-16 ก.ย. 2565) 19,900.00                                  
3 กิจกรรมที่ 2 อบรมและจัดทำแผนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน(16 ก.ย. 2565-16 ก.ย. 2565) 34,500.00                                  
4 กิจกรรมที่ 3 Kick off ปลูกผักปลอดภัย(28 ส.ค. 2566-28 ส.ค. 2566) 13,400.00                                  
5 กิจกรรมที่ 4 การรับรองมาตราฐานผักปลอดภัย(28 ส.ค. 2566-28 ส.ค. 2566) 12,600.00                                  
6 กิจกรรมที่ 5 ติดตามและสรุปผล(28 ส.ค. 2566-28 ส.ค. 2566) 9,600.00                                  
รวม 100,000.00
1 กิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับ สสส สนับสนุนเพิ่มเติม ( เบิกจ่ายตามจริง ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 58 10,000.00 12 10,523.78
5 เม.ย. 65 เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการ 3 600.00 600.00
29 เม.ย. 65 เปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
5 พ.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ 2 500.00 500.00
19 พ.ค. 65 ไวนิ้วป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 0 2,000.00 2,000.00
21 พ.ค. 65 เวทีเรียนรู้การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ 3 600.00 600.00
11 มิ.ย. 65 เปิดตัวโครงการ 40 2,500.00 2,500.00
12 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดทำรายงานออนไลน์ 1 2,000.00 2,000.00
17 ก.ย. 65 เวทีติดตามประเมินผล เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ระดับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 1 3 600.00 600.00
24 ก.ย. 65 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 2.43
6 พ.ย. 65 กิจกรรมการจัดทำสื่อสาร 3 600.00 600.00
4 ก.พ. 66 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE Node) ครั้งที่ 2 3 600.00 600.00
25 มี.ค. 66 ดอกเบี้ยรับ 0 0.00 21.35
2 กิจกรรมที่ 1 ตั้งคณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 204 19,900.00 20 19,900.00
10 พ.ค. 65 เปิดรับสมัครสมาชิกใหม่เข้าร่วมโครงการ 40 800.00 800.00
18 พ.ค. 65 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 1 10 300.00 300.00
27 พ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการกลุ่ม ครั้งที่ 1 10 1,500.00 1,500.00
6 มิ.ย. 65 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 2 10 300.00 300.00
16 มิ.ย. 65 เวทีออกแบบสำรวจข้อมูลเกษตรกรในพื้นที่เพื่อจัดเก็บข้อมูลการลงพื้นที่ 10 1,800.00 1,800.00
19 ก.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3 10 1,500.00 1,500.00
24 ก.ค. 65 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 3 0 300.00 300.00
3 ส.ค. 65 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการมาตรฐาน GAP 14 6,200.00 6,200.00
11 ส.ค. 65 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 4 0 300.00 300.00
5 ก.ย. 65 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 5 0 300.00 300.00
12 ต.ค. 65 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 7 10 300.00 300.00
24 พ.ย. 65 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 8 10 300.00 300.00
2 ธ.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4 10 1,500.00 1,500.00
3 ธ.ค. 65 เวทีติดตามแปลงปลูกครั้งที่ 6 10 300.00 300.00
17 ม.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 5 10 1,500.00 1,500.00
24 ม.ค. 66 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 9 10 300.00 300.00
16 ก.พ. 66 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 10 10 300.00 300.00
23 ก.พ. 66 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 6 10 1,500.00 1,500.00
11 มี.ค. 66 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 11 10 300.00 300.00
30 มี.ค. 66 เวทีติดตามการปลูกครั้งที่ 12 10 300.00 300.00
3 กิจกรรมที่ 2 อบรมและจัดทำแผนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 34,500.00 5 34,500.00
15 มิ.ย. 65 เวทีพัฒนาเพื่อยกระดับกลุ่ม จัดทำแผนการบริหารจัดการ ข้อตกลง กฏกติกากลุ่ม การจดบันทึกข้อมูล การผลิต การทำบัญชีครัวเรือน การบริโภค 40 9,600.00 9,600.00
20 มิ.ย. 65 กิจกรรมอบรมเกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบมาตราฐาน GAP 40 9,600.00 9,600.00
22 มิ.ย. 65 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2 10 1,500.00 1,500.00
30 มิ.ย. 65 เวทีการตรวจแปลงเกษตรกรก่อนการปลูก เพื่อ ปรับ/เตรียมการปลูกที่ถูกต้องตามมาตราฐาน GAP 10 4,200.00 4,200.00
28 ส.ค. 65 เวทีจัดทำแผนการผลิตของสมาชิกกลุ่ม ปฏิทินการผลิตสอดคล้องกับการตลาด แผนการรับรอง GAP แผนการพัฒนากลุ่ม แผนการตลาด 40 9,600.00 9,600.00
4 กิจกรรมที่ 3 Kick off ปลูกผักปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 13,400.00 3 13,400.00
10 ก.ย. 65 เวทีติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 1 15 3,000.00 3,000.00
17 ธ.ค. 65 กิจกรรมตรวจแปลง - รวบรวมข้อมูลการผลิตเพื่อรับรองมาตราฐาน ดูงานนอกพื้นที่ 10 5,200.00 5,200.00
7 ม.ค. 66 กิจกรรมปลูกผักปลอดภัย " Kick off ปลูกผักปลอดภัย " 40 5,200.00 5,200.00
5 กิจกรรมที่ 4 การรับรองมาตราฐานผักปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 55 12,600.00 2 12,600.00
17 ต.ค. 65 ติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 2 15 3,000.00 3,000.00
15 พ.ย. 65 เวที่ติดตามผลการผลิตผักปลอดภัย การตลาด 40 9,600.00 9,600.00
6 กิจกรรมที่ 5 ติดตามและสรุปผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 58 9,600.00 3 9,600.00
23 มี.ค. 66 เวทีการสื่อสารและการขยายผล 3 600.00 600.00
25 มี.ค. 66 เวทีติดตามและประเมินผลครั้งที่ 3 15 3,000.00 3,000.00
31 มี.ค. 66 เวทีสรุปปิดโครงการ 40 6,000.00 6,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.โครงการบรรลุผลลัพธ์ 2. สร้างแกนนำที่มีประสิทธิภาพ 3. ช่องทางทางการตลาดอย่างชัดเจน 4. เกิดการขยายผลในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น 5. เกิดการสร้างภาคีเครือข่ายภายในชุมชน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2565 10:17 น.