directions_run

(08)บ้านวัดประเดิมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการการจัดการโรคเรื้อเรื้อรังแนวใหม่

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดชุมพร


“ (08)บ้านวัดประเดิมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการการจัดการโรคเรื้อเรื้อรังแนวใหม่ ”

ชุมชนวัดประเดิม อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นางสาวสุภาวดี นนทรี

ชื่อโครงการ (08)บ้านวัดประเดิมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการการจัดการโรคเรื้อเรื้อรังแนวใหม่

ที่อยู่ ชุมชนวัดประเดิม อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 65-00240-0008 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2022 ถึง 30 เมษายน 2023


กิตติกรรมประกาศ

"(08)บ้านวัดประเดิมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการการจัดการโรคเรื้อเรื้อรังแนวใหม่ จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนวัดประเดิม อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดชุมพร ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
(08)บ้านวัดประเดิมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการการจัดการโรคเรื้อเรื้อรังแนวใหม่



บทคัดย่อ

โครงการ " (08)บ้านวัดประเดิมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการการจัดการโรคเรื้อเรื้อรังแนวใหม่ " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนวัดประเดิม อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ 65-00240-0008 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดชุมพร เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

1.1 สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่
  บ้านวัดประเดิม ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.ตากแดด อ.เมือง จ.ชุมพร 86000 สมัยโบราณเชื่อวันว่าเป็นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดชุมพร ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นสิ่งเก่าแก่ยังปรากฎ คือ พระปรางค์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วัดประเดิม นอกจากนั้นยังมีวัตถุโบราณอีกมากมายที่แสดงว่าบริเวณพื้นที่แห่งนี้เป็นที่อาศัยของผู้คน เป็นชุมชนโบราณ เช่น มีเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ประกอบอาชีพทำมาหากิน ซึ่งปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดประเดิม และชุมชนแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของวัด ซึ่งได้ร้างไปแล้วอีกหลายวัด เช่น วัดแหลม วัดแจ้ง วัดนอก วัดใน วัดท่าศาลา และยังมีพระเสื้อเมือง พระหลักเมืองอีกด้วย บ้านวัดประเดิม มีพื้นที่ทั้งหมด 1,640 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ บ้านวัดประเดิม หมู่ที่ 2 ตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ห่างจากอำเภอเมืองชุมพร ไปทางทิศใต้ ระยะทาง 3 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองชุมพร ทิศใต้ ติดต่อกับ คลองชุมพร ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทางรถไฟสายใต้ หมู่ที่ 4 ทิศตะวันตก ติดต่อกับ คลองชุมพรและเทศบาลเมืองชุมพร จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 628 คน แยกเป็น ชาย 283 คน หญิง 345 คน ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) รวมทั้งสิ้น 154 คน แยกเป็น ชาย 65 คน หญิง 89 คน คนพิการรวมทั้งสิ้น 11 คน แยกเป็น ชาย 7 คน หญิง 4 คน จำนวนครัวเรือน 380 ครัวเรือน ประกอบอาชีพหลัก เกษตรกร 314 ครัวเรือน อาชีพรับราชการ 22 ครัวเรือน อาชีพรับจ้างทั่วไป 22 ครัวเรือน อาชีพค้าขาย 15 ครัวเรือน ประกอบอาชีพเสริมหรืออาชีพรอง อาชีพเลี้ยงไก่-เลี้ยงเป็ด เลี้ยงวัว จำนวน 40 ครัวเรือน หมู่บ้านมีรายได้ 30,314,900 บาท/ปี รายได้เฉลี่ยของประชากร (ตามเกณฑ์ จปฐ. ปี2562) จำนวน 88,124.74 บาท/คน/ปี ครัวเรือนยากจน (รายได้ไม่ถึง 38,000 บาท/คน/ปี) ปี 2562 จำนวน 344 ครัวเรือน รายได้จากอาชีพหลัก 73,563.81 บาท/คน/ปี รายได้จากอาชีพรอง 6,48.26 บาท/ปี/คน รายได้อื่นๆ 3,288.23 บาท/คน/ปี รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 275,590 บาท/คน/ปี
บ้านวัดประเดิม มีกลุ่มอาชีพ กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 20 คน กลุ่มปลูกผักตัดยอด 25 คน มีกองทุนสวัสดิการชุมชน มีจำนวนสมาชิก 114 คน กองทุนแม่ของแผ่นดิน มีงบประมาณ 34,440.77 บาท กองทุน กขคจ มีงบประมาณ 200,000 บาท
คมนาคม/สาธารณูปโภค
การเดินทางเข้าหมู่บ้าน มีถนนลาดยาง 1 คน ระยะทาง 2 กม. ถนนคอนกรีต จำนวน 8 เส้น ระยะทาง 8 กม. ห่างจากว่าการอำเภอ ระยะทาง 3 กม. มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน มีศาลาประชาคม จำนวน 1 แห่ง แหล่งน้ำ มีคลอง จำนวน 2 แห่ง สระน้ำ จำนวน 1 แห่ง สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน มีวัดประเดิม พระปรางค์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์วัฒนาธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดประเดิม พระเสื้อเมือง พระหลักเมือง
การศึกษาและศาสนา ประถมศึกษา จำนวน 258 คน มัธยมศึกษา จำนวน 203 คน อนุปริญญา จำนวน 109 คน ปริญญาตรี จำนวน 52 คน สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 6 คน ทุกครัวเรือนนับถือศาสนาพุทธ ภูมิปัญญาชาวบ้าน
1. แพทย์แผนไทย/สมุนไพร/หมอพื้นบ้าน คือ น.ส.สุชิน ชัยชนะพิศ
2. ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น คือ นายชูเกียรติ เทพมณฑา
3. ผู้มีความรู้ด้านเกษตร คือ นายบัญญัติ ลิ่มศิริ 4. ผู้มีความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่มฝีมือต่างๆ คือ นางลมัย กาญจนกร 5. ผู้มีความรู้ด่านพิธีกรทางศาสนา คือ นายชูเกียรติ เทพมณฑา
ศิลปะวัฒนาธรรม/ประเพณีที่สำคัญ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่งพระราชทานห่างพระปรางค์วัดประเดิม
“วันวิสาขบูชา” ปัจจุบันหมู่บ้านได้มีการปรับปรุงพื้นที่สระน้ำหนองหลวง ในพื้นทั้งหมด 9 ไร่ ให้เป็นที่ออกกำลังกาย และพักผ่อน โดยมีการสร้างถนนคอนกรีตรอบหนองน้ำ มีห้องน้ำ มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ประชาชนที่ได้ใช้ประโยชน์
ประชาชนในชุมชน เป็นผู้สูงอายุมากขึ้น จึงไม่สามารถรวมกลุ่มทำกิจกรรมได้ เด็ก - เยาวชน ขาดการปลูกฝังในเรื่องประเพณี วัฒนาธรรมที่ดี ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ ขาดการรวมกลุ่มด้านการตลาด และขาดงบประมาณ ขาดบุคลากรที่เสียสละเวลา ชุมชนต้องการให้มีการสร้างอาชีพ ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการออม ส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่ไว้สืบไป ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาได้ประเด็นที่สอดคล้องกันในส่วนของประเด็นสุขภาวะต่างๆ โดยการวิเคราะห์ความสำคัญของปัญหา แล้วนำมาวิเคราะห์ของปัญหาในรูปแบบของต้นไม้ปัญหา นำปัญหาที่ได้จาการวิเคราะห์ รายด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ แล้วนำมาเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา ตามแผนภูมิที่ 1 และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขร่างเป็นกิจกรรม ย่อย ๆ พร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ของแกนนำชุมชนจำนวน 20 คนที่เป็นอาสาสมัครเป็นแกนนำชุมชนครั้งนี้ ตามแผนภูมิที่ 2 ช่วยกันจัดทำแผนโดยมีนักวิชาการช่วยดำเนินการ มีการพูดคุยกัน 2 ครั้งเพื่อทบทวนปัญหา และนำข้อมูลชุมชนมาหนุนเสริมในการจัดทำโปรแกรมผลลัพธ์ และบันไดผลลัพธ์ เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการต่อไป
    แผนภูมิที่ 1  การลำดับความสำคัญของปัญหา ปัญหา ขนาด ความรุนแรง ความตระหนัก ความยากง่าย รวม รายได้น้อย 3 2 2 2 9 ขาดความร่วมมือจากผู้นำชุมชน 3 3 3 1 10 โรคเรื้อรัง 4 4 4 3 15

แผนภูมิที่ 2 รายนามคณะกรรมการจัดทำโครงการ ลำดับที่ รายชื่อ บทบาทหน้าที่ เบอร์โทร 1 น.ส.สุภาวดี นนทรี ผู้รับผิดชอบโครงการ (อสม.) 0819789739 2 นายขวัญชัย กิจติโก รองประธานโครงการ (ผช.ผญ.) 0876226157 3 นางปัญญา ยังสวัสดิ์ เลขานุการโครงการ (ผช.ผญ.) 0981403096 4 นางปราณี ลิ้มศิริ ประชาสัมพันธ์โครงการ 0831806204 5 นายอุบล พุ่มสวัสดิ์ เหรัญญิก 0817970379 6 นางอุไร กาญจนากร กรรมการ 0828211687 7 นางอุษา จันทร์ส่องแสง กรรมการ 0839676795 8 นางรัตนา ยังสวัสดิ์ กรรมการ 0655935937 9 นางวิไลวรรณ กาญจนากร กรรมการ 0862911955 10 นางดรุณี อินทรจันทร์ กรรมการ
11 นางชญาดา ผลคิด กรรมการ (ประธาน อสม.) 0862771399 12 นางเหมือนขวัญ ชมอินทร์ กรรมการ 0660577659 13 นางมาลีนี จิตณรงค์ กรรมการ 0963272684 14 นางจิตติมา ทองเจริญ กรรมการ 0631492628 15 นางห้วย อุปมา กรรมการ - 16 นางเยาวภา แดงสนิท กรรมการ - 17 นางเก็บฟ้า ทวีบุญ กรรมการ 0816913033

รายนามคณะที่ปรึกษากิตติมาศักดิ์ ลำดับที่ รายชื่อ บทบาทหน้าที่ เบอร์โทร 1 นางเยาวดี แดงสนิท ที่ปรึกษา (ผู้ใหญ่บ้าน) 0841242642 2 นายชูเกียรติ เทพมลฑา ที่ปรึกษา (อบต.) 0907041582 3 ดต.พิมล พรหมพานิช ที่ปรึกษา - 4 นางสุดสวรรณ เพชรคง ที่ปรึกษา (ผอ. รพ.สต.) 0862680006 5 นายจำนงค์ อ้นทอง ที่ปรึกษา (นายก อบต.) 0638095240

สาเหตุของปัญหา โดยมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน ในการจัดทำโครงการชุมชนในครั้งนี้ ได้มีการทำการวิเคราะห์ปัญหา การทำต้นไม้ปัญหา นำปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์รายลำดับความสำคัญของปัญหา จึงได้พูดคุยกันในเวทีประชุมประจำเดือนของบ้านประเดิม หมู่ที่ 2 โดยมีนางเยาวดี โคกแก้ว    เป็นผู้ใหญ่บ้าน นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในภาพรวม โดยแกนนำของชุมชน ช่วยกันหาแนวทางแก้ไขร่างเป็นกิจกรรมย่อย พร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ของแกนนำ จำนวน 17 คน ที่เป็นอาสาสมัครเป็นแกนนำชุมชนครั้งนี้ และมีที่ปรึกษา ช่วยกันทำแผน โดยมีนักวิชาการ มาช่วยดำเนินการพูดคุยกัน 2 ครั้ง เพื่อทบทวนปัญหาและนำข้อมูลชุมชนมาหนุนเสริมในการจัดทำโปรแกรมผลลัพธ์ และบันไดผลลัพธ์ เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการต่อไป ข้อมูลของชุมชนบ้านวัดประเดิม พบว่ามีผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้น 154 คน แยกเป็น ชาย 65 คน หญิง 89 คน คนพิการรวมทั้งสิ้น 11 คน แยกเป็น ชาย 7 คน หญิง 4 คน ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรังและติดบ้าน แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจน ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม ผลการวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาในการดำเนินงานครั้งนี้ พบว่าสาเหตุในด้านต่างๆ ประกอบด้วย 1)ด้านพฤติกรรมจากคนส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกาย ขาดความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้อง รับประทานอาหารไม่ถูกต้องและไม่ควบคุมอาหาร(กินอาหารหวาน มัน เค็ม) นอนน้อย (ติดละคร80%) มีสิ่งเสพติดบ้าง (กินเหล้า,สูบบุหรี่, กินหมาก) ขาดความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ มีภูมีปัญญา (ฝีมือ,อาหาร,การแสดง) มีประเพณีวัฒนธรรม (ชอบช่วยเหลือ) 2) ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พบว่า สิ่งแวดล้อมทางด้านสังคมพบว่าขาดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม ขาดกติกา และไม่ให้ความสำคัญของการรวมกลุ่ม และมีการใช้เคมีทางการเกษตร 3) ด้านกลไก พบว่า พัฒนาชุมชนอำเภอเมือง กศน. กองทุนพัฒนาสตรีอำเภอ เกษตรอำเภอ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหน่วยที่เป็นแรงเสริม ประกอบด้วย อบต.ตากแดดให้การสนับสนุน พจม. สนับสนุนผู้พิการ/ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ อสม.ดูแลสุขภาพเบื้องต้น ภายใต้การส่งเสริมของภาครัฐ และมีแรงต้านเรื่อง ขาดการหนุนเสริมบางกลุ่มและนโยบายด้านการช่วยเหลือมีข้อจำกัด จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ทำให้เกิดผลกระทบกับส่วนต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้สูงอายุและครอบครัว ประกอบด้วยด้านสุขภาพทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และ โรคอ้วน ถ้าควบคุมไม่ได้จะเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น เช่น อัมพาต/อัมพฤต โรคไต พิการ ติดเตียง และสุขภาขภาพจิต เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจ ที่พบว่า ผู้สูงอายุต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา เสียเวลารอคอย ขาดรายได้ และด้านสังคม พบว่ามีความขัดแย้งของคนในครอบครัว ลูกหลานขาดรายได้ เป็นภาระของสังคม และหน่วยงานไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่ามีการใช้สารเคมีทางเกษตร และไม่คัดแยกขยะและกำจัดโดยการเผาเป็นส่วนใหญ่ 1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้ เนื่องจากในชุมชนมีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 154 คน แยกเป็น ชาย 65 คน หญิง 89 คน คนพิการรวมทั้งสิ้น 11 คนผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรังและติดบ้าน (ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจน) และในครัวเรือนของผู้สูงอายุจะมีวัยแรงงานที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุและเยาวชน จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังในอนาคต ถ้ายังมีพฤติกรรมไม่ถูกต้องในการใช้ชีวิตประจำวัน ภายใต้สถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน คณะกรรมการหมู่บ้านเห็นความสำคัญของเรื่องโรคเรื้อรังดีเนื่องจากในครัวเรือนของผู้สูงอายุและผู้ป่วย ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง และที่ผ่านมามีการคัดกรองเบื้องต้น (บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป) โดยอาสาสมัครสาธารณสุข แต่ไม่ได้ใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร (ไม่มีฐานข้อมูลในชุมชน) จากการวิเคราะห์ปัญหาครั้งนี้ทำให้ชุมชนตระหนักที่จะดำเนินการลดโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงและผู้สูงอายุ ด้วยการจัดตั้งคณะทำงาน การสำรวจข้อมูลชุมชนเพิ่มเติมและจัดทำฐานข้อมูล พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ประชุมชี้แจงประชาชนในชุมชนพร้อมทั้งสื่อสารด้วยการใช้บอกต่อและไลน์หมู่บ้าน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำกิจกรรมที่มีทั้งด้านกิจกรรมทางกาย จิต สังคม กำหนดกติกากลุ่มและประกาศใช้ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รพ.สต.ตากแดด/สาธารณสุขอำเภอเมือง ในเรื่องการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ท้องถิ่นและท้องที่ในเรื่องการอำนวยความสะดวกช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนในการขอสนับสนุนทรัพยากรตามความเหมาะสม เป็นต้น และหน่วยงานเกษตรและพัฒนาชุมชนในการให้ความรู้และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาฝีมือ/อาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน นอกจากนี้ยังมีสำนักงานจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัดและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อการฟื้นฟู ศิลปะวัฒนธรรมชุมชนที่เป็นประวัติศาสตร์ของคนชุมพรให้เป็นที่รู้จัก และเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนต่อไป 1.3 การดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีเป้าหมายในระยะสั้นที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัจจัยเสี่ยง เพิ่มปัจจัยเสริมด้านสุขภาพชุมชน เกิดกลไกการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่อย่างเ พร้อมทั้งลดอัตราเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลต่อผลลัพธ์ระยะยาวที่ต้องการให้ผู้สูงอายุและประชาชนในชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคมและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดและระดับชาติ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนาศักยภาพจัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนางบโครงการ สสส.
  2. จัดตั้งคณะทำงาน
  3. ประชุมชี้แจงในเวลาและประชุมประจำเดือน
  4. รณรงค์การรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมในและนอกพื้นที่
  5. จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  6. สำรวจ/ทบทวนปัญหาชุมชน 2 ครั้ง
  7. ปฏิบัติการในพื้นที่จริง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังกายที่เหมาะสมและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  8. กิจกรรมติดตามเยี่ยม เสริมพลังและประเมินผลลัพธ์ บุคคต้นแบบ
  9. จัดเวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน
  10. จัดเวทีประชาคมและประกาศกติกาชุมชนและติดตามผล
  11. ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วม
  12. เวทีถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรังและคัดเลือกบุคคลคนแบบ
  13. ปฐมนิเทศโครงการ
  14. จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  15. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1
  16. อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  17. สื่อสร้างสรรค์ภาคใต้ตอนบน
  18. สำรวจข้อมูล/ทบทวนสถานการณ์สุขภาพ
  19. ร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่กลาง
  20. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกชุมชนกับพื้นที่ต้นแบบผู้สูงอายุ
  21. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานที่
  22. สมัชชาพลเมืองจังหวัดชุมพร
  23. คืนเงินเปิดบัญชี
  24. การพัฒนาระบบการจัดกิจกรรมออนไลน์
  25. พบพี่เลี้ยงเพื่อการตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงาน Online
  26. ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย สสส. (Node Flagship Chumphon)
  27. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2
  28. จัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 1และประชุมประจำเดือนครั้งที่ 3
  29. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทุกกลุ่ม
  30. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4
  31. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 1
  32. เวทีประชาคมเพื่อรับรองกติกาชุมชนและติดตามผล
  33. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10
  34. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 3
  35. ดำเนินงานตามแผนที่กำหนดและติดตามประเมินผล
  36. ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 5
  37. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 4
  38. จัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 2 และประชุมประจำเดือนครั้งที่ 6
  39. ปฏิบัติการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชด้วยการการปลูกผักสวนครัว
  40. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 5
  41. ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 7
  42. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 6
  43. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 7
  44. ปฏิบัติการออกกำลังกาย
  45. ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 8
  46. พบพี่เลี้ยงเตรียมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา (ครั้งที่ 1)
  47. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 8
  48. ร่วมกิจกรรมกับเครือข่าย ชุมชนวัดโพธิการาม
  49. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 และARE3
  50. คัดเลือกผู้นำต้นแบบ
  51. หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ
  52. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 9
  53. ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย สสส. (Node Flagship Chumphon)
  54. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 10
  55. ร่วมกิจกรรมกับเครือข่าย ชุมชนวัดโพธิการาม
  56. ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 10
  57. พบพี่เลี้ยงก่อนจบโครงการ (ครั้งที่ 2)
  58. เวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน
  59. จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า
  60. จัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 3

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป 220
แกนนำชุมชน 30

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. คณะทำงานมีศักยภาพในการจัดการโรคเรื้อรัง
  2. เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ
  3. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเชิงรุก
  4. มีพื้นที่กลางในการจัดกิจกรรมชุมชน 5.มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง   - อัตราเจ็บป่วยโรคเรื้อรังลดลงร้อยละ 10   - มีบุคคลต้นแบบด้านการจัดการสุขภาพ จำนวน 5 คน   - เกิดรูปแบบการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 4 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการดำเนินงานโครงการย่อย สสส.
2.เรียนรู้ร่วมกัน เชื่อมพลังผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อชุมพรน่าอยู่
3.เปิดปฐมนิเทศโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ปี 65 ของสำนักงานสร้างสรรค์โอกาส (สสส.สน.6)
4.ประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อย 7 กลุ่ม การคลี่เคลื่อนบันไดผลลัพโครงการย่อย โดยทีมสันสนุนวิชาการ
5.ประชุมทีมสนับสนุนวิชาการ ข้อค้นพบและการติดตามเสริมพลังพื้นที่โครงการย่อย
6.การบริหารจัดการโครงการย่อยระดับพื้นที่
7.ล้อมวง-อภิปราย ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายการเงิน และคณะทำงาน มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมโครงการ สสส. ของชุมชนวัดประเดิม

 

3 0

2. จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

วันที่ 15 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ใช้ประชาสัมพันธ์ในชุมชนและการจัดกิจกรรมของโครงการ

 

0 0

3. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 28 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. การประชุมคณะกรรม ประจำเดือน -จัดประชุมคณะกรรมการชุมชน เพื่อเลือกคณะทำงานโครงการ จากคณะกรรมการชุมชน
    -มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบกับคณะทำงานโครงการ โดยแบ่งเป็นกลุ่มการทำงาน ตามความถนัดของแต่ละคน
    -จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการ กำหนดการลงพื้น กำหนดเวลาประชุมงานแต่ละเดือน
  2. พี่เลี้ยงชี้แจงความเป็นมาของโครงการ งบประมาณโครงการ ระยะเวลาการทำโครงการ
  3. เรียนรู้วิธีการทำงานจากกิจกรรมในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะตำแหน่งต่างๆ ที่ ประกอบไปด้วย   - ผู้รับผิดชอบโครงการ ทำหน้าที่ รับผิดชอบโครงการ ดำเนินงานตามโครงการและติดตามผลการดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการทุกคน
      - รองประธาน ทำหน้าที่ ดำเนินงานตามโครงการ แทนผู้รับผิดชอบโครงการ และตามที่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการทุกคน
      - เลขานุการ ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยผู้รับผิดชอบโครงการ อำนวยความสะดวก ประสานงาน
      - เหรัญญิก ทำหน้าที่ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการรับ จ่าย และเก็บรักษาเงิน
      - ประขาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ เผยแพร่ข่าวสาร ผลงาน ของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลหรือสิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1 มีคณะทำงานเกิดขึ้น รวมทั้งหมดจำนวน 20 คน 2 คณะทำงานรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง
3. ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

20 0

4. การพัฒนาระบบการจัดกิจกรรมออนไลน์

วันที่ 30 กรกฎาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลระบบออนไลน์
2.เรียนรู้ระบบขั้นตอนเครื่องมือและสิ่งสำคัญในการบันทึกข้อมูลโครงการย่อยเข้าระยบบออนไลน์
3.ฝึกปฏิบัติการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบของ 25 โครงการย่อย และร่วมแลกเปลี่ยน
4.สรุปและจัดประชุมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (Node Flagship Chumphon) และนัดหมายการประชุมครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลสู่ระบบออนไลน์ลงเวปไซด์ คนสร้างสุข ซึ่งได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการตามบันไดผลลัพธ์ที่1

 

1 0

5. อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

วันที่ 15 สิงหาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการโครงการ อสม. และกลุ่มเป้าหมาย สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แต่ตนเองและสมาชิกในครอบครัว

 

70 0

6. สื่อสร้างสรรค์ภาคใต้ตอนบน

วันที่ 20 สิงหาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เรียนรู้เรื่องการใช้สื่อเพื่อใช้เป็นการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการให้ประชาชนในชุมชน/ทั่วไปทราบประกอบด้วย
1.การใช้โปรแกรมภาพเคลื่อนไหว KineMaster
2.การตัดต่อภาพนิ่ง canva 3. เทคนิคการพูดและสื่อออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เรื่องการใช้สื่ออย่างรู้เท่าทัน และเป็นประโยชน์ เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมและในการทำงานสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (ดาวใต้ นิวส์)

 

1 0

7. สำรวจข้อมูล/ทบทวนสถานการณ์สุขภาพ

วันที่ 26 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สำรวจข้อมูลชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ลงสำรวจข้อมูลชุมชน ตามแบบฟอร์มที่ส่วนกลางกำหนดให้ และนำข้อมูลที่ได้สรุปลง google Form เพื่อให้ NF ชุมพร ประมวลผล

 

250 0

8. ร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่กลาง

วันที่ 5 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่กลาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชุมคณะทำงานโครงการ
  2. ทำความสะอาดถนน
  3. ตัดหญ้าบริเวณพื้นที่กลางให้สะอาดและสวยงาม

 

20 0

9. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกชุมชนกับพื้นที่ต้นแบบผู้สูงอายุ

วันที่ 9 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ได้นำสมาชิกไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินการของชมรมผู้สูงอายุ ต.ชุมโค ในเรื่อง การจัดตั้งชมรม วิธีการดำเนินการให้ชมรมอยู่ได้อย่างยั่งยืน 2.ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกด้วยกัน 3.ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุจตำบลชุมโค ในเรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การดูแลผู้ช่วยติดเตียง การรับประทานอาหารปลอดสารพิษ การออกกำลังกาย 4. การเรียนรู้ เรื่อง ผู้ป่วยเรื้อรัง การดูแลสภาพจิตใจ ผู้สูงอายุ ผูดูแลผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้รับฝังจากวิทยากร มาปรับเปลี่ยนในการดูแลตนเองและผู้สูงอายุในชุมชน 2.ผลจากการศึกษาเรียนรู้สามารถนำมาใช้กับชุมชน ทำให้ชุมชนอยู่กันได้อย่างมีความสุข
  2. ทำให้ผู้สูงอายุได้รู้จักผู้คนหลากหลายและนำความรู้ที่ได้รับมาปรับเปลี่ยนการทำงานของตนเอง 4.เกิดความสามัคคีในชุมชน

 

20 0

10. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานที่

วันที่ 24 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประธาน อสม. ชี้แจงเรื่องการตรวจสุขภาพเบื้องต้น 2.ให้ความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพ 3อ 2ส (กินและขับถ่ายอย่างสมดุล) 3.วิธีเจาะเลือดปลายนิ้ว (หาค่าน้ำตาล) 4. ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดส่วนสูง เพื่อคำนวณดัชนีมวลกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คาดว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ลดสามารถความเสียงในการเกิดโรคเรื้อรังได้มากขึ้น ร้อยละ10 ตามบันไดผลลัพธ์

 

20 0

11. สมัชชาพลเมืองจังหวัดชุมพร

วันที่ 26 ตุลาคม 2022 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ชมวีดีทัศน์ สมัชชาสุขภาพ 4PW ระบบสุขภาพไทยพัฒนาจากกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางบัญญา 2.นำเสนอพื้นที่ต้นแบบที่มีผลงานเป็นรูปแบบ
3.แบ่งกลุ่ม Workshop การจัดการสุขภาพของคนในชุมชน 4.บันทึกความร่วมมือเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมกันระหว่างองค์กร ภาคี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับรู้ผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ภายใต้ "สนับสนุนการพัฒนาแะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ปี 2565
กล่าวรายงาน โดยนางสาวแสงนภา  หลีรัตนะ ประธานคณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร
กล่าวเปิดโดย นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร

 

5 0

12. คืนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 30 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เบิกเงินเปิดบัญชีคืนผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เบิกเงินคืนค่าเปิดบัญชีโครงการ ของผู้รับผิดชอบโครงการ

 

1 0

13. พบพี่เลี้ยงเพื่อการตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงาน Online

วันที่ 30 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สรุปรายงานการจัดกิจกรรม นำส่งให้พี่เลี้ยงตรวจสอบเบื้องต้นทั้งรายงานการเงิน และการลงรายงานในเว็ปไซด์ "คนสร้างสุข"

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปกิจกรรมโครงการ ตรวจเอกสารการเงิน เพื่อทำรายงานงวดที่ 1 และเรียนรู้จัดทำรายงานที่ถูกต้องมากขึ้นตามที่พี่เลี้ยงแนะนำและเพื่อส่งรายงานเ เบิกเงินงวดที่ 2

 

2 0

14. ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย สสส. (Node Flagship Chumphon)

วันที่ 31 ตุลาคม 2022 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีการจัดการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้
- นายทวีวัตร เครือสาย ประธานNode Fiagship Chumphon ชี้แจงวัตถุประสงค์ของเวทีดำเนินการและดำเนินอภิปรายข้อคิดเรื่องปัจจัยกำหนดสุขภาพทั้งในเรื่องปัจเจกบุคคล/กลุ่มคน/ชุมชน สิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและสังคม เศรษฐกิจ และกลไก/ระบบ โดยการเสริมพลังแกนนำชุมชนโพธิการามประเด็นการจัดการโรคเรื้อรัง และประเด็นเกษตรสมาพันธ์และเครือข่ายบ้านปากทรง อ.พะโต๊ะ
-ผู้รับผิดชอบประเด็นโรคเรื้อรังและประเด็นเกษตรฯ ได้นำเสนอผลการเก็บข้อมูลชุมชน ในภาพรวม และแนวทางการเก็บข้อมูลครั้งต่อไปในเดือนมีนาคม
-การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการดำเนินงานและการพัฒนาต่อไป พร้อมตัวแทนกลุ่มนำเสนอ
-การบริหารจัดการการเงินและการติดตามรายงาน
-สรุปผลการประชุมและนัดหมายการดำเนินงานต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย (ARE 1) ปี 2565 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับทีมงานโรคเรื้อรัง และเกษตรปลอดสารและอาหารปลอดภัยของ Node Fiagship Chumphon

 

2 0

15. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตาม วางแผนและประชาสัมพันธ์จัดกิจกรรม เพื่อให้ได้ตามแผนที่วางไว้ การจัดทำข้อมูลทั้ง Online และ Onsite
พร้อมทั้งแจ้งให้ประชาชนร่วมกราบนมัสการ หลวงตาบุญชุ่ม ซึ่งจะเดินธุดงค์ มาทางวัดประเดิมและจำวัดที่วัด 1 คืน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีคณะกรรมการ ที่ปรึกษา เข้าร่วมประชุม และร่วมกราบนมัสการ หลวงตาบุญชุ่ม ซึ่งจะเดินธุดงค์ มาทางวัดประเดิมและจำวัดที่วัด 1 คืน ในวันที่ 13 พ.ย.65 และเช้าวันที่ 14 พ.ย.65 ตักบาตรอาหารเช้า และร่วมส่งหลวงตา ธุรงค์กลับ

 

20 0

16. จัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 1และประชุมประจำเดือนครั้งที่ 3

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีประเมินผลลัพธ์ พร้อมทั้งสรุปผลการจัดกิจกรรมดำเนินการเวทีตามขั้นตอนโดยการแนะนำของทีมพี่เลี้ยง โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย   ทบทวนแผนการปฏิบัติงานที่จะทำต่อไป และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากการสำรวจก่อนการดำเนินงาน โดยมีผู้สูงอายุ ๑๕๔ คน ติดเตียง ๒ คน กลุ่มเป้าหมาย และผลการจัดกิจกรรม ทั้งในเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประชุมประจำเดือนทุกเดือน มีการบันทึกผลการประชุมทุกครั้ง และมีหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รพ.สต.ตากแดด เกษตรอำเภอ และกศน. ซึ่งบรรลุบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1 เกิดกลุ่มแกนนำที่มีความรู้ความเข้าใจในสภาวะการณ์สุขภาวะ ๑๖ คนและที่ปรึกษา ๖ คน มีการบันทึกการประชุมทุกครั้ง มีฐานข้อมูล ยังไม่มีกติกาชุมชน และไม่การเชื่อมเข้ากองทุนสุขภาพตำบลตากแดด และจำทำการเยี่ยมผู้สูงอายุ และจัดกิจกรรมสุขภาพเชิงรุกที่สระหนองหลวง เป็นต้น นัดประชุมครั้งต่อไป ๑๐ ธันวามคม ๒๕๖๖

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชุมชนมีการประชุมประจำเดือนซึ่งจัดเป็นเวทีเรียนรู้เพื่อพัฒนา (ARE) เพื่อติดตามงานที่ผ่านมา

 

20 0

17. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทุกกลุ่ม (ครั้งที่ 1)

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการโครงการ และ อสม.ร่วมกับ รพ.สต. เพื่อวางแผนติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม(กลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียง กลุ่มติดสังคม/ปกติ) ในชุมชน โดยแยกประเภทในการลงเยี่ยม เริ่มจากผู้ป่วยติดเตียง และประชุมนัดแนะว่าต้องเยี่ยมใครบ้าง และมอบหมายให้ อสม. รับผิดชอบลงพื้นที่ 5 ราย กำหนดแผนปฏิบัติการก่อนลงเยี่ยมด้วยการ 1.นัดประชุมคณะกรรมการ อสม. สำรวจผู้ป่วยติดเตียง 2.เตรียมความพร้อมในการลงเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง 3.แจ้งให้ญาติทราบเวลาลงเยี่ยม 4.ให้คำแนะนำ ไม่ให้มีแผลกดทับ ลดการติดเชื่อ ลดอาการข้อติด ไม่ขาดสารอาหาร มีความสะอาด การขับถ่ายถูกหลักอนามัย และลงพื้นที่เพื่อทดลองเยี่ยมกลุ่มติดสังคม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนการเยี่ยมผู้สูงอายุทั้ง กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง และกลุ่มติดสังคม/ปกติ

 

5 0

18. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 10 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน อสม. ส.อบต. และประชาชน เพือทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าผลจากการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุครั้งแรกทำให้ทราบความต้องการของผู้สูงอายุที่บ้านทุกคนมีความดีใจที่มีเพื่อน ๆ และทีมอสม.ไปเยี่ยมให้กำลังใจ หลายท่านมีภูมิรู้หลายด้าน เช่นลุงสมคิด จะร้องเพลงนาได้และมีประสบการณ์ที่ดีๆ ให้ฟัง เป็นต้น ทีมงานจึงวางแผนที่จะเชิญหมออนามัยร่วมในการเยี่ยมครั้งต่อไปที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง /ติดบ้าน เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทีมงานได้เรียนรู้วิธีการให้สังคมผู้สูงอายุมีความสุข และนำภูมิปัญญามาเก็บเป็นฐานข้อมูลชุมชน

 

20 0

19. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 2

วันที่ 11 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย 1. นางขวัญใจ กาญจนากร 2. นายผาด จุลรักษ์ 3. พระอาจารย์บุญคง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง 3 ราย ได้รับพลังจากการเยี่ยมทำให้หน้าตาสดใส พูดคุยได้ดีขึ้น

 

5 0

20. เวทีประชาคมเพื่อรับรองกติกาชุมชนและติดตามผล

วันที่ 15 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีระชาคมเพื่อรับรองกติกาและประกาศกติกาชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประกาศกติกาชุมชนร่วมกัน จำนวน 10 ข้อ 1.หมู่บ้านมีการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและเฝ้าระวัง 2.ผู้ใดยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น ยาบ้า ให้พ้นจากสวัสติการของหมู่บ้าน 3.ด้านการลักทรัพย์ ลักทรัพย์ ของมีค่า ปรับ 3 - 5 เท่า 4.ด้านสุขภาพ ให้ทุกคนออกกำลังกาย อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน 5. สมาชิกทุกคนในชุมชนช่วยกันปลูกผูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ 6.ร่วมกันรณรงค์การรักษาความสะอาดของชุมชน ให้เป็นชุมชนน่าอยู่ 7.ทุกคนในชุมชนปฏิบัติตามศีล 5 เช่น สวดมนต์ก่อนหรือตอนเช้า 8.ทุกครัวเรือนเข้าร่วมประชุม เดือนละ 1 ครั้ง 9.ช่วยกันดูแลทรัพย์สินของส่วนรวมและดูแลทรัพย์สินของตนเองไม่ให้รวบรวนเพื่อนบ้าน 10.มีความรักความสามัคคีในหมู่คณะและชุมชน

 

80 0

21. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 3

วันที่ 25 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการติดตามเยี่ยมผู้สูงอาย ในชุมชน จำนวน 5 ราย ได้ซักถามความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ โดยรวมผู้สูงอายุ จะอยู่บ้านตามลำพังในเวลากลางวัน เนื่องจากบุตรหลานจะอยู่บ้าน ตามลำพังในเวลากลางวัน เนื่องจากบุตรหลานไปทำงานได้ชักชวนให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมวันพระบ้าง แต่ก็ไม่สะดวกในการรับ- ส่ง คือ 1. นางละม่อม จิตรา 2. นายอง พยุหกฤษ 3. นางนัด อักษรเกตุ 4. นางห้อง พยุหกฤษ 5. นางลาภ คุรุณนรสิงห์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทุกคนมีความสุข และครอบครัวยินดีที่มีคนเยี่ยมทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข

 

5 0

22. ดำเนินงานตามแผนที่กำหนดและติดตามประเมินผล

วันที่ 28 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อทบทวนการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด และติดตามประเมินผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทบทวนการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด และติดตามประเมินผล พร้อมปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในชุมชน

 

20 0

23. ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 5

วันที่ 10 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจง และให้ อสม. ที่รับผิดชอบสรุปการลงพื้นที่ 5 คน การลงเยี่ยมครั้งที่ 1 ลงเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 3 ราย คือ 1)นายผาด จุลรักษ์ 2) นางขวัญใจ กาญจนากร 3) พระอาจารย์คง อดีตเจ้าอาวาสวัดประเดิม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ที่ม อสม. ที่รับผิดชอบ ให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ให้เป็นแผลกดทับ การให้ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี และการรับประทานอาหารที่ถูกหลักอนามัย เตรียมความพร้อมและแจ้งให้คณะกรรมการ และผู้ที่สนใตเข้าร่วมโครงการเปลี่ยนเกษียณให้เป็นพลัง ที่อำเภอละแม เดินทางโดยจะมีรถตู้ จำนวน 2 คน

 

20 0

24. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 4

วันที่ 14 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงเยี่ยมผู้สูงอายุ จำนวน 5 รายพบปะพูดคุย ความเป็นอยู่และมอบของเยี่ยมเพื่อเป็นกำลังใจกับผู้สูงอายุ จำนวน 5 ราย 1. นางซ้วน แดงสนิท 2. นางพยอม พยุหกฤษ 3. นายสมคิด พยุหกฤษ 4. นางจำปี น้อยศรี 5. นางสมบูรณ์ โกฎเพชร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทุกคนมีความสุขและขอบคุณที่มีทีมงานไปเยี่ยม

 

5 0

25. จัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 2 และประชุมประจำเดือนครั้งที่ 6

วันที่ 18 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีประเมินผลลัพธ์ พร้อมทั้งสรุปผลการจัดกิจกรรม นำกิจกรรมที่ผ่านมาสรุปในเวที่ และวางแผนในการจัดกิจกรรม สรุปการลงพื้นที่เยี่ยมเสริมพลัง ของผู้สูงอาย และผู้ป่วยติดเตียงซึ่งทีมงานร่วมกับพี่เลี้ยงได้นำปัญหาของผู้สูงอายุบางท่านที่มีความพิการและเป็นนักบวช จึงมาหาแนวทางในการดูแลโดยมีผู้เข้าให้ความคิดเห็นประกอบด้วยอบต.ได้เสนอให้ท่านลาสิขาฯและกลับไปอยู่ที่บ้านและให้ญาติพร้อมญาติโยมที่อยู่ใกล้บ้านหรือผู้มีจิตกุศลร่วมกันดูแล ทุกคนจึงมอบหมายให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและสอบต.เข้าไปดำเนินการต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีแนวทางในการช่วยเหลือผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน

 

20 0

26. ปฏิบัติการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชด้วยการการปลูกผักสวนครัว

วันที่ 21 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดประชุมกลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัว โดยวิทยากรด้านการเกษตร 2.จัดเตรียมอุปกรณ์ ในการขั้นตอนการปลูก 3.สาธิตและลงมือปฏิบัติในพื้นที่ รอบ ๆหนองหลวง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัว 2. มีผักเพียงพอในการบริโภคในครัวเรือน 3.ลดค่าใช้จ่าย และมีรายได้จากการขายผักสวนครัวที่เหลือจากการบริโภค 4.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และได้ร่วมกันกิจกรรมกับลูกหลานในครัวเรือน
5. มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการปลูกผักปลอดสารบริโภคเอง จำนวน 30 ครัวเรือน

 

30 0

27. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 5

วันที่ 28 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 5 คนเยี่ยมผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย นางประภา ใจดี นางห้อง สิงห์สวัสดิ์ นางลาภ ครณนรสิงห์ นางเยี่ยม เตชวิทย์ นายดำริ เตชวิทย์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้ได้รับการเยี่ยมมีความสุข และครอบครัวให้การต้อนรับดี/ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำแนะนำ

 

5 0

28. ปฏิบัติการออกกำลังกาย

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้ในการออกกำลังกายในผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่นการวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่ไม่มีอาการข้อเข่าเสื่อม การเดิน การเต้นแอโรบิก การรำมวยจีน การรำไม้พลอง เป็นต้น วันละประมาณ 30-45 นาที 1) ภาวะที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย มีอาการเจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เวียนศรีษะ 2) ประโยชน์ ช่วยชะลอความถดถอยของสมรรถภาพร่างกายช่วยให้อายุยืนยาวขึ้น รักษาสมดุลระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานปกติ ป้องกันและบำบัดโรคเรื้อรัง รวมถึงโรคประจำตัว ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควบคุมระดับความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับเลือด เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ควบคุมระดับไขมันในเลือดส่งเสริมให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี ป้องกันภาวะซึมเศร้าและลดความวิตกกังวล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังทุกงัน และมีทักษะการออกกำลังที่เหมาะสมกับวัย 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพดี มีความรู้เรื่อง 3อ 2ส มากขึ้น 3.ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเรื้อรังเพิมขึ้น 4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน ออกกำลังเป็นประจำทุกวัน

 

30 0

29. ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 7

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมร่วมกับเครือข่าย อสม. โดยมี นางสุดาวรรณ เพชรคง ผอ.รพส.ต. ตำบลตากแดด มาให้ความรู้ในเรื่องโครงการเปลี่ยนเกษียณให้เป็นพลังเพื่อรับงานผู้สูงอายุ แนะนำการทำบัตรทอง วางแผนลงข้อมูล 3 หมอ (อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์หรือเวชศาสตร์) และการคัดกรอง 9 ด้าน ดังนี้ 1)ความคิด ความจำ 2)ความเคลื่อนไหว 3) ขาดสารอาหาร 4)มองเห็น 5)การได้ยิน 5)การได้ยิน 6)ซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย 7)การกลั้นปัสสาวะ 8)การทำกิจวัตรประจำวัน 9)ช่องปาก พร้อมทั้งให้อสม.และคณะทำงาน เตรียมตัวเองและความรู้ให้พร้อมที่จะไปให้คำแนะนำผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปในเรื่อง 3อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมย์ ) 2ส (ลด-ละ-เลิก สุราและสิ่งเสพติดโดยเแพาะบุหรี่) เป็นหลัก เน้นย้ำในเรื่องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าและพอดี และออกกำลังกายให้สม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาทีเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพของตนเอง และมีอารมย์แจ่มใสมีการไปวัดฟังธรรมอย่างน้อยทุกวันพระ เป็นต้น สิ่งสำคัญอสม.ต้องเป็นต้นแบบให้กับประชาชนทั่วไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เรียนรู้วิธีการลงข้อมูลการคัดกรอง 9 ด้านของผู้สูงอายุ และแนวทางการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปและให้อสม.เป็นต้นแบบ

 

20 0

30. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 6

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 5 คนเยี่ยมผู้สูงอายุ จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย นางบุญเนิ่น เพ็ชรทั่ง นายประสิทธิ์ สะพานวัฒน์ นางซ้วน แดงสนิท นางฉวี สุหโลนางสุทิน จิตรณรงค์ โดยให้ความรู้ในการดูแล ด้านการบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทำสอบความจำของผู้ป่วยติดเตียง การปรับสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสม อากาศถ่ายเท
มีลูกหลานคอยดูแล ให้ความอบอุ่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุมีความสุขหน้าตาสดใส ตาเป็นประกาย และช่วยเหลือตัวเองได้พอสมควร ญาติให้การดูแลดี สิ่งแวดล้อมสะอาดและปลอดภัย

 

5 0

31. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 7

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน ร่วมกับเครือข่าย ชมรมผู้สูงอายุอำเภอเมืองชุมพร ลงพื้นที่ตำบลตากแดด เยี่ยมผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง อายุ 100 ปีขึ้นไป จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย นางมล ภู่ขันเงิน (หมู่ที่ 2)นางถม ชังสัจจา (หมู่ที่ 6) นางเพชร  ชนสถาน (หมู่ที่ 4) และนางเขียด สุวรรณเล็ก (หมู่ที่ 7) ด้วยการ1.สอบถามความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ในการดำรงชีวิต 2.หลักการบริโภคอาหาร 3.มอบของขวัญ เพื่อเป็นกำลังใจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุมีความสุข และทีมงานได้เรียนรู้วิธีการดูแลตนเองให้เป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรงและอารมย์ดี

 

5 0

32. ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 8

วันที่ 5 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน และประชาชนในชุมชน ชี้แจงการดูแลสุขภาพ เพื่อลดโรคเรื้อรัง-เตรียมจัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังการที่เหมาะสม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเชิญชวนให้เข้าวัดทำบุญทุกวันพระ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่สมัครใจจำนวน 30 คน

 

20 0

33. พบพี่เลี้ยงเตรียมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา

วันที่ 10 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานประกอบด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ เหรัญญิกและเลขาฯคณะกรรมการโครงการฯเข้าพบพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมข้อมูลและภาคีเครือข่ายที่จะเข้าร่วมเวที AREครั้งที่ 3 โดยการจัดเตรียมข้อมูล 1.ทบทวนบันไดผลลัพธ์ที่ยังมีกิจกรรมที่ไม่ได้ดำเนินการและสรุปผลงานทั้งหมดเตรียมปิดโครงการเมื่อ 30 เมษายน 2566 2.ปัจจัยที่ทำงานสำเร็จและไม่สำเร็จของทีมและกลุ่มเป้าหมาย 3.ภาคีเครือข่ายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเวที่AREครั้งที่ 3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พบปัญหาในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม การใช้เวลาว่างให้เกิดรายได้ของผู้สูงอายุ และการปฏิบัติตัวของกลุ่มเสี่ยงที่จะไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังในอนาคต จึงจะเชิญภาคีที่เข้าร่วมประกอบด้วย กศน. ,เกษตรตำบล ,นักวิชาการสาธารณสุข อบต.ตากแดด และทีมวิชาการของหน่วยจัดการพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำและสนับสนุนตามความเหมาะสม

 

2 0

34. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 8

วันที่ 11 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 5 คน ประกอบด้วยเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 5 คน 1. นายผาด จุลรักษ์ ผู้ป่วยติดเตียง 2. นางขวัญ กาญจนากร ผู้ป่วยติดเตียง 3. นายสมคิด พยุหกฤษ 4. นางบุญเนิ่น เพ็ชรทั่ง 5. นางสมบูรณ์ โกฏเพชร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุที่ได้รับการเยี่ยมมีหน้าตาสดใส ไม่มีแผลกดทับ (นายผาด จุลรักษ์และนางขวัญใจ กาญจนากร) รับประทานอาหารได้ การขับถ่ายปกติ

 

5 0

35. ร่วมกิจกรรมกับเครือข่าย ชุมชนวัดโพธิการาม

วันที่ 19 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมประชุมสังเกตการณ์ของชุมชนวัดโพธิการาม ทำให้เห็นขั้นตอนการดำเนินงานของชุมชนที่เป็นระบบ มีการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายทุกตำแหน่ง เช่น ประธานโครงการ/ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้ดำเนินการประชุม มีเลขาฯเสนอรายงานการประชุม/บันทึกรายงานการประชุม เหรัญญิกชี้แจงการจัดการการเงินที่สอดคล้องกับกิจกรรมและเก็บหลักฐานการเงินทั้งหมด ประชาสัมพันธ์/พิธีกร มีการพูดคุยตลอดตามขั้นตอนที่กำหนด กรรมการคนอื่น ๆให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งมีการนำเสนอผลการสำรวจชุมชนด้วยแผนที่เดินดิน ที่ร่างขึ้นจากการสำรวจข้อมูล-การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ และมีการเชื่อมต่อกับเทศบาลเมืองชุมพร โดยเจ้าหน้าที่จากฝ่ายสวัสดิการสังคม และกศน.ตำบลท่าตะเภา รับในเรื่องส่งเสริมความรู้ในการใช้เวลาว่างของผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน เข้าร่วมสังเกตการณ์ ของชุมชนวัดโพธิการาม ในการจัดทำเวที ARE

 

4 0

36. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 9 และARE3

วันที่ 25 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานและจัดเวทีเรียนรู้เพื่อการพัฒนา 1)โดยผู้รับผิดชอบโครงการแจ้ง เรื่องสรุปผลการดำเนินงาน และผลการคัดเลือกฯ ตามเกณฑ์บุคคลต้นแบบที่มีสุขภาพดี และมีจิตอาสา ในการช่วยเหลือชุมชน เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่เยาวชน ในชุมชนต่อไป 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านพิธีกรทางศาสนา 2. ด้านการเกษตร 3. ด้านนวดแผนไทย ประกอบด้วย 1. นายสุทิน ตระหง่าน2. นายชูเกียรติ เทพมณฑา3. นางพรพิมล ปัญญาวุฒิชัย4. นางยินดี พงษ์เสม5. นางสุชิน ชัยชนะเลิศ6. นายอุบล พุ่มสวัสดิ์ 7. นางปราณี ลิ้มศิริ8. นางเยาวภา แดงสนิท9. นางจิตติมา จิตรณรงค์เมธี10. นางเมือบ เนตรประไพ11. นางมาลิณี จิตรณรงค์เมธี 12. นางมูล ภู่ขันเงิน  2) สรุปผลเพื่อเสนอผู้บริหารมอบเกียรติบัตรในเวทีตืนข้อมูลปิดโครงการต่อไป 3) ผู้รับผิดชอบโครงการทบทวนกระบวนการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ทั้งหมด กิจกรรมสำเร็จตามเป้าหมายเหลือแต่การสรุปบันไดผลลีธ์ขั้นสุดท้ายที่ทีมงานจะต้องสรุปให้แล้วเสร็จรวมทั้งถอดบทเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้ สามารถนำเป็นข้อมูลที่จะใช้ในการต่อยอดกิจกรรมโครงการเกี่ยวกับผู้ศุงอายุและครอบครัว/ชุมชนได้ต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้ที่ถูกเสนอชื่อทั้ง 12 คนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และจะมอบเกียรติบัตรให้ในวันปิดโครงการในเดือนเมษายน 2566

 

20 0

37. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10

วันที่ 25 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน และ อสม. เพื่อรวบรวมรายชื่อบุคคลต้นแบบที่มีสุขภาพดี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะกรรมการประเมินบุคคลต้นแบบ เพื่อทำการคัดเลือกและมอบประกาศนีบัตร

 

0 0

38. ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 10

วันที่ 26 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน และประชาชน เพื่อชี้แจงการดูแลสุข การออกกำลังกาย เพื่อลดโรคเรื้อรัง ด้วยการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-สาธิตการออกกำลังกาย
-กำหนดวันออกกำลังกาย ณ ศาลาประชาคม และการเดินรอบหนองหลวง

 

20 0

39. หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ

วันที่ 27 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จ่ายเงินยืมเปิดบัญชีหัวหน้าโครงการ จำนวน 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการคืนเงินให้ผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้สำรองเงินเปิดบัญชี

 

0 0

40. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 9

วันที่ 8 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเตรียมความพร้อม บุคคลต้นแบบทั้ง 12 ราย โดยคณะกรรมการ ทั้ง 5 คน ลงพื้นที่เยี่ยม เพื่อนัดวันมารับเกียรติบัตร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับการตอบรับจากบุคคลต้นแบบ และยินให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือชุมชน ตามโอกาสที่เหมาะสม

 

5 0

41. ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย สสส. (Node Flagship Chumphon)

วันที่ 10 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รูปแบบการจัดกิจกรรม (เล่าลักษณะกิจกรรมที่จัดขึ้นจริง) 1. อภิปราย การดำเนินงานโครงการความเชื่อมโยงสู่ชุมพรน่าอยู่ และสมัชชาสุขภาพภาคใต้ 2. กลุ่มย่อยติดตามประเมินผลลัพธ์ 3. นำเสนอผลการประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย 4. สรุปการประชุมและนัดหมายกิจกรรมต่อไป โดยคุณทวีวัตร เครือสาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการย่อย สสส. 2. เพื่ออภิปรายการดำเนินงานโครงการกับความเชื่อมโยงสู่ชุมพรน่าอยู่ และสมัชชาสร้างสุขภาคใต้ ผู้รับผิดชอบโครงการมีทักษะในการนำเสนอโครงการ และนำความรู้ที่ได้ในการอบรมมาใช้ในการจัดกิจกรรมของโครงการ

 

2 0

42. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 10

วันที่ 22 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.นัดประชุมคณะกรรมการ อสม. สำรวจผู้ป่วยติดเตียง 2.เตรียมความพร้อมในการลงเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง 3.แจ้งให้ญาติทราบเวลาลงเยี่ยม 4.ให้คำแนะนำ ไม่ให้มีแผลกดทับ ลดการติดเชื่อ ลดอาการข้อติด ไม่ขาดสารอาหาร มีความสะอาด การขับถ่ายถูกหลักอนามัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ทำให้ผู้ป่วยติดเตียง มีกำลังใจที่ดีขี้น 2.ทำให้ญาติมีกำลังใจและเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง 3.ได้รับทราบ ถึงจุดประสงค์ของผู้สูงอายุที่ติดเตียง
ลงเยี่ยมให้กำลังใจลูกหลาน พร้อมมอบโล่และเกียรติบัตร

 

5 0

43. คัดเลือกผู้นำต้นแบบสุขภาพดี

วันที่ 22 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กรรมการคัดเลือกจำนวน 5 คน (นางชฎาภา ผลคิด นางสาวสุภาวดี นนทรี นางสาวจิตติมา ทองเจริญ นางสาวสุชิน ชัยชนะเลิศ และนางมะลินี จิตรณรงค์เมธี)ได้พิจารณาบุคคลต้นแบบ ตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการ เสนอชื่อเพื่อพิจารณาบุคคลต้นแบบ และมอบเกียรติบัตรแก่บุคคลต้นแบบ จำนวน คน ประกอบด้วย 1)นายสุทิน ตระหง่าน ด้านพิธีกรทางศาสนา 2)นายชูเกียรติ เทพมลฑา ด้านพิธีกรทางศาสนา 3)นางพรพิมล ปัญญาวุฒิชัย ด้านแพทย์แผนไทย 4)นางยินดี พงษ์เสม ด้านแพทย์แผนไทย 5)นางสุชิน ชัยชนะเลิศ ด้านแพทย์แผนไทย 6)นายอุบล พุ่มสวัสดิ์ ด้านการเกษตรปลอดสาร 7)นางปราณี ลิ้มศิริ ด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 8)นางเยาวภา แดงสนิท ด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 9)นางจิตติมา ทองเจริญ ด้านการเกษตรปลอดสาร 10)นางมาลินี จิตณรงค์ ด้านการเกษตรปลอดสาร 11)นางเมื่อม เนตรประไพ ด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 12)นางมูล ภู่ขันเงิน ด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (อายุยืน 101 ปี)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้บุคคลต้นแบบจำนวน 12 คน ที่เป็นต้นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิต  มีการออกกำลังกายที่ถูกหลัก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การช่วยเหลือสังคม และการดูแลซึ่งกันและกัน

 

25 0

44. ร่วมกิจกรรมกับเครือข่าย ชุมชนวัดโพธิการาม

วันที่ 23 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมกิจกรรมกับเครือข่าย ชุมชนวัดโพธิการาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีความเข้าใจการจัดทำกิจกรรมของชุมชนวัดโพธิการาม เพื่อนำมาปรับใช้กับกิจกรรม

 

4 0

45. พบพี่เลี้ยงก่อนจบโครงการ (ครั้งที่ 2)

วันที่ 27 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าพบพี่เลี้ยงเพื่อปรึกษากิจกรรมการจัดเวทีคืนข้อมูลชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พี่เลี้ยงให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาในการจัดเวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน เพื่อให้ประชาชนในชุมชนรับทราบ

 

2 0

46. เวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน

วันที่ 30 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมวางแผนการจัดการเวทีคืนข้อมูลชุมชน จากกิจกรรมที่ 1 - 11

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. สมาชิกในชุมชนได้ทราบข้อมูลการทำงานของคณะทำงานทั้งหมด
  2. สมาชิกในชุมชนได้ทราบข้อมูลชุมชน รับทราบกติกาชุมชนและปฏิบัติร่วมกัน ภาคีเครือข่าย องค์การต่างๆ เช่น เกษตรอำเภอเมือง กศน.ตากแดด รพ.สต.ตากแดด ผู้นำท้องที่ในตำบลตากแดด มีส่วนร่วมชุมชนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

180 0

47. จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า

วันที่ 30 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานความก้าวหน้าพร้อมทั้งสรุปรายงานปิดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้จัดทำรายงานความก้าวหน้าพร้อมทั้งสรุปรายงานปิดโครงการ

 

1 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 250
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป 220
แกนนำชุมชน 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนาศักยภาพจัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้และพัฒนางบโครงการ สสส. (2) จัดตั้งคณะทำงาน (3) ประชุมชี้แจงในเวลาและประชุมประจำเดือน (4) รณรงค์การรู้โรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมในและนอกพื้นที่ (5) จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ (6) สำรวจ/ทบทวนปัญหาชุมชน 2 ครั้ง (7) ปฏิบัติการในพื้นที่จริง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังกายที่เหมาะสมและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ (8) กิจกรรมติดตามเยี่ยม เสริมพลังและประเมินผลลัพธ์ บุคคต้นแบบ (9) จัดเวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน (10) จัดเวทีประชาคมและประกาศกติกาชุมชนและติดตามผล (11) ประสานภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วม (12) เวทีถอดบทเรียนการจัดการความรู้โรคเรื้อรังและคัดเลือกบุคคลคนแบบ (13) ปฐมนิเทศโครงการ (14) จัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (15) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 (16) อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส อาหารปลอดภัย ออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ (17) สื่อสร้างสรรค์ภาคใต้ตอนบน (18) สำรวจข้อมูล/ทบทวนสถานการณ์สุขภาพ (19) ร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่กลาง (20) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกชุมชนกับพื้นที่ต้นแบบผู้สูงอายุ (21) พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเพื่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานที่ (22) สมัชชาพลเมืองจังหวัดชุมพร (23) คืนเงินเปิดบัญชี (24) การพัฒนาระบบการจัดกิจกรรมออนไลน์ (25) พบพี่เลี้ยงเพื่อการตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงาน Online (26) ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย สสส. (Node Flagship Chumphon) (27) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (28) จัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 1และประชุมประจำเดือนครั้งที่ 3 (29) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุทุกกลุ่ม (30) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 (31) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 1 (32) เวทีประชาคมเพื่อรับรองกติกาชุมชนและติดตามผล (33) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 10 (34) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 3 (35) ดำเนินงานตามแผนที่กำหนดและติดตามประเมินผล (36) ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 5 (37) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 4 (38) จัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 2 และประชุมประจำเดือนครั้งที่  6 (39) ปฏิบัติการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชด้วยการการปลูกผักสวนครัว (40) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 5 (41) ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 7 (42) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 6 (43) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 7 (44) ปฏิบัติการออกกำลังกาย (45) ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 8 (46) พบพี่เลี้ยงเตรียมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา (ครั้งที่ 1) (47) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 8 (48) ร่วมกิจกรรมกับเครือข่าย ชุมชนวัดโพธิการาม (49) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่  9 และARE3 (50) คัดเลือกผู้นำต้นแบบ (51) หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ (52) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 9 (53) ประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการย่อย สสส. (Node Flagship Chumphon) (54) ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 10 (55) ร่วมกิจกรรมกับเครือข่าย ชุมชนวัดโพธิการาม (56) ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 10 (57) พบพี่เลี้ยงก่อนจบโครงการ (ครั้งที่ 2) (58) เวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลชุมชน (59) จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า (60) จัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 3

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ (08)บ้านวัดประเดิมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการการจัดการโรคเรื้อเรื้อรังแนวใหม่

รหัสโครงการ 65-00240-0008 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

เกิดความรู้ให้ผู้สูงอายุในชุมชนรู้เท่าทันโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่

การปฎิบัติงานของคณะทำงานและอสม. อบต.ภาคีเครือค่าย

ทำให้ผู้สูงอายุไม่มีโรคเพิ่มจากที่เป็นอยู่

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

ทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และได้แลกเปลี่ยนพูดคุยพบปะกัน

ทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนมากขึ้น

จะเพิ่มการประชาสัมพัธ์และเชิญชวนให้เข้ามาร่วมกิจกรรมภายในวัดมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

ทำให้เกิดกลุ่มกิจกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นในชุมชนมากขึ้น

จากเยาวชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชนมากขึ้น

จะเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

ทำให้ประชาชนในชุมชนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น

วัดได้จากการติดตามเยี่ยมของอสม.

รณรงค์ให้คนในชุมชนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

ลดการบริโภคหวาน มัน เค็ม

จากการสำรวจของอสม.

ทำให้คนในชุมชนมีการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

มีผู้นำในการนำคนในชุมชนเดินรอบหนองหลวง และนำเต้น

จากคนในชุมชนมากรวมออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น

รณรงค์ให้ให้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

มีผู้เข้ามาปฎิบัติธรรมในวัดเพิ่มขึ้น

จากการทำกิจกรรมทำวัตรเช้า-เย็นของคนในระแวกใกล้เคียง

เชิญชวนให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

มาจากกติกาชุมชนในชุมชน

มีกติการชุมชนที่นำไปใช้ได้จริง

เน้าให้คนในชุมชนนำกติกาชุมชนไปใช้อย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

มีรายได้จาการปลูกผักปลอดสารพิษและนำไปจำหน่ายให้คนในชุมชน

คนในชุมชนทำรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน

ให้คนในชุมชนทำต่อยอดมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

รพ.สต.ตากแดด /อสม.

การทำงานของ อสม.

ดูแลและให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

มีกติกาชุมชน 10 ข้อ ที่ต้องปฎิบัต

จากเวทีประชาคมรับรองประกาศกติกาชุมชน

ให้ยึดกติกาชุมชนเป็นหลัก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

ภาค กศน.เกษตร.วัฒนธรรม อบต.พมจ.กลุ่มสตรีเข้าร่วม

มีตัวแทนและเครือค่ายเข้าร่วม

เน้นให้ภาคีเครือค่ายมีส่วนร่วมมกขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

เกิดคณะทำงานขึ้นในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

มีคณะทำงานอย่างเห็นได้ชัดเวลามีกิจกรรมในชุมชน

จะเน้าให้มีการพัฒนาอน่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

เกิดจาการทีมีการประชุมคณะทำงานและกรรมการในชุมชน

ได้มีการแต่ตั้งคณะทำงานและกรรมการในชุมชนขึ้น

ได้มีดารอบรมคณะทำงานเพิ่มความรู้ให้คณะทำงานมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

คนในชุมชนให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมส่วนรวมมากขึ้น

วัดจาการมาเข้าร่วมของคนในชุมชน

จะพัฒนาให้มีผู้เข้าร่วมมเพิ่มขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

มีการปลูกผักปลอดสาพิษกินเองในครัวเรือนมากขึ้น

การออกสำรวจของคณะกรรมการชุมชน

จะเพิ่มประมาณการปลูกผักปลอดสารพิษมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

มีการแบ่งปันอาหารกับบ้านใกล้เรือนเคียงมากขึ้น

วัดจากมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

สนับสนุนให้ทำเป็นตัวอย่างกับชุมชนต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

 

 

 

(08)บ้านวัดประเดิมมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยการการจัดการโรคเรื้อเรื้อรังแนวใหม่ จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 65-00240-0008

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวสุภาวดี นนทรี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด