directions_run

(12)โครงการพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดสารอย่างเป็นระบบและมีตลาดรองรับอย่างยั่งยืน

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ30 เมษายน 2566
30
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานทำรายงานผลความก้าวหน้าโครงการ เพื่อปิดโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ คีย์ข้อมูลรายงานผลความก้าวหน้าโครงการ เพื่อปิดโครงการ

ร่วมบริหารจัดการโครงการ/ร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง29 เมษายน 2566
29
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการมาปรึกษาหารือพี่เลี้ยงเรื่องการทำรายงานปิดโครงการและการจัดทำเอกสารต่าง ๆ  เพราะได้ดำเนินกิจกรรมในโครงการครบทุกกิจกรรมแล้ว จึงเข้ามาให้ทางพี่เลี้ยงแนะนำวิธีการทำรายงานและการทำเอกสารที่ถูกต้อง โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม  3  ท่าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในเรื่องการทำรายงานและการทำเอกสารโครงการและสามารถ คีย์ข้อมูลรายงานผลความก้าวหน้าโครงการ เพื่อปิดโครงการได้

กิจกรรมที่ 11 นำเสนอผลงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง28 เมษายน 2566
28
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานขับเคลื่อนฯ และ จนท. ที่เกี่ยวข้อง จัดเวที พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงาน ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาการผลิตและคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ยื่นข้อเสนอต่อสำนักงานแรงงานหวัดชุมพรเรื่องการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ หลักสูตรการพัฒนาการผลิตเพื่อสร้างมูลค่ากาแฟโรบัสต้า

กิจกรรมที่ 10 สรุปบทเรียนและคืนข้อมูลสู่ชุมชน20 เมษายน 2566
20
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานขับเคลื่อนฯ และ จนท. ที่เกี่ยวข้อง จัดเวทีสรุปบทเรียนและคืนข้อมูลสู่ชมชน พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงาน  ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาการผลิตและคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 30 คน 1) คณะทำงานปรึกษาหารือร่วมกันในการจัดเตรียมเวทีประชุม และกำหนดวันจัดกิจกรรม 2) จัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 3) ติดต่อประสานงานวิทยากรให้ความรู้ 4) จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ 5) จัดประชุมตามกำหนดการ/แผนงาน 6) คณะทำงานบันทึกรายงานกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้สรุปบทเรียนในการทำโครงการและ คืนข้อมูลให้กับชุมชนเพื่อทราบถึงจุดเด่นที่ต้องพัฒนาต่อยอดและจุดด้อยที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

เข้าร่วมเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการพัฒนา ร่วมกับพี่เลี้ยง และ Node ครั้งที่ 210 เมษายน 2566
10
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามประเมินผลเพื่อการพัฒนา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการถอดบทเรียนโครงการ และนำไปพัฒนาต่อยอดกับโครงการในชุมชนได้

กิจกรรมที่ 7 รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร PGS สู่ครัวเรือนต้นแบบ4 เมษายน 2566
4
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม จัดประชุมสร้างความเข้าใจการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรแบบมีส่วนร่วม PGS  จำนวน 30 ราย    และเตรียมการ บันทึกข้อมูลรายแปลง  ประสานทีมตรวจรับรองสินค้าเกษตรในแปลง  หรือ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพร 
1) คณะทำงานปรึกษาหารือร่วมกันในการจัดเตรียมเวทีประชุม และกำหนดวันจัดกิจกรรม 2) จัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 3) ติดต่อประสานงานวิทยากรให้ความรู้ 4) จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ 5) จัดประชุมตามกำหนดการ/แผนงาน 6) คณะทำงานบันทึกรายงานกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการและผู้ตรวจแปลงได้ลงตรวจแปลงคณะกรรมการและสมาชิกโครงการจำนวน 10 แปลง

1.6 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 61 เมษายน 2566
1
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงาน เข้าร่วมประชุมเพื่อสรุปการทำงานที่ผ่านมา  และวิเคราะห์จุด เด่นและจุดที่ต้องพัฒนา ของคณะทำงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการได้วิเคราะห์ การทำงานที่ผ่านมา ตลอด 1 ปี  คณะทำงานยังขาดความรู้และความเข้าใจเรื่องของการทำงานโครงการ  ส่วนทางด้านความพร้อมในการทำงานเป็นทีม คณะทำงานทุกท่าน มีความพร้อมที่จะพัฒนาต่อไป

กิจกรรมที่ 9 พัฒนารูปแบบการขาย On- line และการขายแบบ On- Site24 มีนาคม 2566
24
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการโครงการร่วมกับสำนักงานแรงงานจังหวัดจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐาน  และการจัดการตลาดในรูปแบบตลาดออนไลน์ หรือตลาดหน้าร้าน โดยการจัดหาวิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรงด้านการตลาด หรือประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่จัดอบรมตามหลักสูตรการตลาดที่สมาชิกต้องการเข้ารับพัฒนาศักยภาพ  ตามความพร้อมและศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจฯ จำนวน 30คน  ณ ชมทุ่งสเต็กส์เฮาส์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการขยายตลาดทั้ง On- line และ On- Site มีลูกค้ากลุ่มใหม่ จำหน่ายทั้งทาง On- line และการขายแบบ On- Site

หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ17 มีนาคม 2566
17
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จ่ายเงินยืมเปิดบัญชีหัวหน้าโครงการ จำนวน 500 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการคืนเงินให้ผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้สำรองเงินเปิดบัญชี

กิจกรรมที่ 2 อบรมการจัดทำแผนครัวเรือนและแผนธุรกิจ15 มีนาคม 2566
15
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการโครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ/คณะทำงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนธุรกิจชุมชน ประกอบด้วยแผนการจัดการ แผนการผลิต แผนการตลาด/การประชาสัมพันธ์ แผนการเงิน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศูนย์ประชุมหมู่บ้าน โดยได้รับความรู้จากสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ะคณะทำงานและผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำครัวเรือน และแผนธุรกิจชุมชน ประกอบด้วยแผนการจัดการ  แผนการผลิต  แผนการตลาด และนำไปใช้กับการผลิตในครัวเรือนได้

ร่วมบริหารจัดการโครงการ/ร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง19 กุมภาพันธ์ 2566
19
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการมาปรึกษาหารือพี่เลี้ยงเรื่องการทำรายงานปิดโครงการและการจัดทำเอกสารต่าง ๆ  เพราะได้ดำเนินกิจกรรมในโครงการ ใกล้จะครบทุกกิจกรรมแล้ว จึงเข้ามาให้ทางพี่เลี้ยงแนะนำวิธีการทำรายงานและการทำเอกสารที่ถูกต้อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในเรื่องการทำรายงานและการทำเอกสารโครงการ

1.5 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 55 กุมภาพันธ์ 2566
5
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงาน และพี่เลี้ยง เข้าร่วมให้คำชี้แนะ วัตถุประสงค์การประชุมในครั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทำบญชีครัวเรือน  ในวันที่ 15 มีนาคม  2565

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รายละเอียดในการจัดเตรียมงานประชุม  และมีการแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบ  ทั้งเชิญวิทยากร  การเตรียมอุปกรณ์ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ การเตรียมเรื่อง อาหารกลางวันและอาหารว่าง ร่วมถึงการเชิญเครือข่ายภาคีและหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในตำบลและนอกตำบลให้เข้าร่วมในครั้งนี้

กิจกรรมที่ 6 ws.จุดรวมรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างเป็นระบบ ( 2 จุด)23 พฤศจิกายน 2565
23
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานและคณะกรรมการจัดตั้งทีมทำงานประสานหาสินค้า เพื่อเป็นจุดรวบรวมจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป โดยใช้ทุนส่วนหนึ่งจากการลงหุ้นของสมาชิก  หรือประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1) คณะทำงานปรึกษาหารือร่วมกันในการจัดเตรียมเวทีประชุม และกำหนดวันจัดกิจกรรม 2) จัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 3) ติดต่อประสานงานวิทยากรให้ความรู้ 4) จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ 5) จัดประชุมตามกำหนดการ/แผนงาน 6) คณะทำงานบันทึกรายงานกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการมีมติเลือก วสช.วรรณะเกษตร เพื่อเป็นจุดรวบรวมและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป โดยใช้ทุนส่วนหนึ่งจากการลงหุ้นของสมาชิก  หรือประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1.4 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 410 พฤศจิกายน 2565
10
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 10 พ.ย 65  สถานที่  ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร หมู่ที่ 10 ต.หาดพันไกร อ.เมือง จ.ชุมพร
จัดประชุมคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน โดยมีการทำความเข้าใจบรรไดผลลัพธ์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมโครการ เพื่อให้คณะกรรมการ มีความเข้าใจและมีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันพื่อทำให้โครงการดำเนินได้ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รายละเอียดในการจัดเตรียมงานประชุมในครั้งต่อไป และมีการแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบ  ทั้งเชิญวิทยากร  การเตรียมอุปกรณ์ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ การเตรียมเรื่อง อาหารกลางวันและอาหารว่าง ร่วมถึงการเชิญเครือข่ายภาคีและหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในตำบลและนอกตำบลให้เข้าร่วมในครั้งนี้

เข้าร่วมเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการพัฒนา ร่วมกับพี่เลี้ยง และ Node ครั้งที่ 131 ตุลาคม 2565
31
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการเข้าร่วม เวทีติดตามประเมินผลโครงการ Node flagship Chumphon  (ARE (โครงการสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่ ชุมพรน่าอยู่ 65-66) โดยมีพื้นที่ เข้าร่วมทั้ง สิ้น 25 พื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ วสช.วรรณะเกษตรเข้าร่วมเวทีติดตามประเมินผลโครงการ Node flagship Chumphon  ARE (โครงการสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาวะระดับพื้นที่ ชุมพรน่าอยู่ 65-66)  จำนวน 2 ท่าน  เพื่อประเมินงานกิจกรรมของโครงการให้ตรง ตามบรรไดผลลัพธ์

เวทีสมัชชาพลเมือง ฅนชุมพร ประจำปี 2565 (สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร) และร่วมบันทึกความร่วมมือ (MOU) ประเด็นปกป้องเด็กและเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยง26 ตุลาคม 2565
26
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พิธีเปิด กล่าวรายงานโดย นางเดือนเพ็ญ  เคี่ยนบุ้น  รองนายแพทย์สาธารณสุข    จังหวัดชุมพร
กล่าวเปิด นายนพพร  อุสิทฺธิ์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร   
รายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการ “สนับสนุนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ปี 2565 1) ประเด็นเกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย 2) ประเด็นการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ นางสาวแสงนภา หลีรัตนะ
นำเสนอพื้นที่ต้นแบบที่มีผลงานเป็นรูปธรรม 1) ประเด็นเกษตรปลอดภัย :  ตัวแทนจากสมาพันธ์เกษตร อ.หลังสวน 2) ประเด็นการลดปัจจัยเสี่ยง :  ตัวแทนจากพื้นที่ตำบลเขาค่าย อ.สวี
3) ประเด็นงานของสภาองค์กรชุมชน :  ตัวแทนจากสภาองค์กรชุมชน
แบ่งกลุ่ม  Workshop การจัดการสุขภาวะของประชาชนที่อยากเห็นอยากเป็น - แผนการขับเคลื่อนงานด้านการจัดการสุขภาพของคนในชุมชน - มาตรการและแนวทางปฏิบัติในประเด็นดังนี้ 1) เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย 2) การลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชน 3) การขับเคลื่อนงานของสภาองค์กรชุมชน
ตัวแทนกลุ่ม นำเสนอผลงานจากการ Workshop ทั้ง 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 นาที
• ร่วมเป็นสักขีพยานในการบันทึกความร่วมมือ (MOU) ประเด็น          ปัจจัยเสี่ยง
การแสดงบทบาทสมมุติของกลุ่มเยาวชนชุมพร เปลี่ยนผ่านปัจจัยเสี่ยงสู่พื้นที่สร้างสรรค์
บันทึกความร่วมมือ (MOU) ประเด็นการปกป้องเด็กและเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยง ระหว่างองค์กร ภาคี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตณะทำงานได้รับความรู้หลากหลายประเด็นจากกลุ่มภาคี เครือข่ายที่เข้าร่วมในงานและสามารถนำไปประยุกตืใช้กับพื้นที่ได้

จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ23 ตุลาคม 2565
23
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานทำรายงานผลความก้าวหน้าโครงการ เพื่อปิด งวดแรก ตั้งเบิกงวด 2

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ คีย์ข้อมูลรายงานผลความก้าวหน้าโครงการ เพื่อปิดงวดแรก ตั้งเบิกงวด 2

กิจกรรมที่5 WS.พัฒนาแปรูปกาแฟและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า12 กันยายน 2565
12
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการและสมาชิกโครงการ ร่วมกับ คณะทำงาน U2T มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดชุมพร จัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องการแปรรูปผลผลิตที่มีในชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและมีการลงมีปฎิบัติ เพื่อจะได้เรียนรู้ในวิธี การแปรรูป ตรีสุชา  โดยมีท่าน ดร.อธิป จันทร์สุรีย์ ให้ความรู้เรื่องการ แปรรูป ว่าที่ร้อยตรีหญิงวิราวรรณ  เพชรแก้ว และนางสาวดารัณ  เจริญวงค์  ให้ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของการทำตลาดออนไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้จำนวน 50 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและสมาชิกโครงการมีความรู้เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีในชุมชนและในครัวเรือนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า  และเป็นการถนอมอาหารในรูปแบบหนึ่ง  รวมถึงการทำการตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มกลุ่มลูกค้า ได้เรียนการคั่วกาแฟโดยใช้กระทะทำเองที่บ้าน ได้เรียนการทำสบู่กาแฟใช้เองโดยนำกากกาแฟมาผสม ได้เรียนการคั่วใบกระท่อม,ใบเตย,ใบหม่อน 50/25/25 ทำชาดื่มเองและจำหน่าย ได้คเรียนรู้เรี่องการท่องเที่ยวโดยเชื่อมโยงกับพื้นที่

กิจกรรมที่3 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในด้านการจัดการ น้ำ ทุน และการตลาด8 กันยายน 2565
8
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการ จำนวน 2 ท่าน คณไตรสิทธิ์ และคุณชูเกียรติ นารีศรีสวัสดิ์ เข้าร่วมในเวทีของ สำนักงาน สำนักงานพาณิชณ์จังหวัด เพื่อร่วมพูดคุยในเรื่องการต่อยอดพัฒนาสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตรและร่วมออกบูทแสดงสินค้าในงานเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ให้กับกลุ่ม จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 30 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมอำเภอเมืองชุมพร ครั้งที่ 2 วันที่ 9 กันยายน 2565 ณ และวันที่ 2 กันยายน 2565 ได้เข้าร่วมพูดคุยกับสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรเพื่อสรุปงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานจำนวน 2 ท่าน ได้รับความรู้เรื่องการต่อยอดผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจ ทั้งเรื่องทุน  ช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ให้กับกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ และการพัฒนาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค

1.3 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 35 กันยายน 2565
5
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 5 ก.ย 65  สถานที่  ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร หมู่ที่ 10 ต.หาดพันไกร อ.เมือง จ.ชุมพร
จัดประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกัน ความเข้าใจบรรไดผลลัพธ์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมโครการ เพื่อให้โครงการดำเนินได้ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการมีความเข้าใจเรื่องโครงการและพร้อมใจที่จะทำให้ โครงการบรรลุตาม บรรไดผลลัพธ์

การประชุมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์26 สิงหาคม 2565
26
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ โดยนายทวีวัตร เครือสาย  ผู้รับผิดชอบโครงการ 2.เรียนรู้ระบบขั้นตอน/เครื่องมือและสิ่งสำคัญในการบันทึกข้อมูลโครงการย่อยเข้าระบบออนไลน์ นายสุทธิพงษ์ (สนส.มอ.) /ทีมสนับสนุนวิชาการ 3.ฝึกปฎิบัติการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบของ 25 โครงการย่อยและร่วมแลกเปลี่ยนนายสุทธิพงษ์ (สนส.มอ.) /ทีมสนับสนุนวิชาการ 4.สรุปการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยด้านการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ (NodeFlagship Chumphon)  และ นัดหมายการประชุมครั้งต่อไป นายทวีวัตร เครือสาย ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เหรัญญิกโครงการมีความเข้าใจและสามารถใช้โปรแกรมเพื่อคีย์ข้อมูลเข้าในระบบได้ แม้จะไม่เข้าใจเต็มร้อย เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ แต่ก็สามารถใช้งานโปรแกรมได้ และมีพี่เลี้ยงคอยดูแล หลังจากที่จบการอบรม

อบรมเชิงปฎิบัติการปลูกพืชผักปลอดสารและการใช้สารชีวภัณฑ์8 สิงหาคม 2565
8
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักปลอดสารและการทำสารชีวภัณฑ์ ภายใต้โครงการพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดสารอย่างเป็นระบบและมีตลาดรองรับอย่างยั่งยืน โดยมีนายทวีศักดิ์ สุทธานินทร์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นประธานในการเปิดการอบรมในครั้งนี้  ภาคีในชุมชน และ คุณสุชิน  แก้วใจดี คุณพรมกิจ  เนตรสุวรรณ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  คุณจีรภา ตันกันยา ประธานสภา  คุณทรงชัย จิตธารา สมาชิก อบต.หมู่ 10  คุณพิรุฬห์ สักกามาตย์ เลขานายกฯ เข้าร่วมในครั้งนี้ โดยการอบรมได้รับเกียรติจาก
ศูนย์อารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร และเกษตร อำเภอเมือง
คุณชฎารัตน์ พรหมศิลา คุณอรกมล ฤคดี คุณน้ำฝน ลือเชาว์ คุณสุพัตรา เพ็งจันทร์  คุณเกสนี  บุญพัฒน์  เป็นวิทยากรร่วมฝึกปฏิบัติการเพาะเลี้ยง สารไตรโคเดอร์มา หัวเชื้อราบิวเวอเรีย และหัวเชื้อราเมตาลไรเซียม  จากการข้าวหุงสุกๆดิบๆ เพื่อนำไปใช้ในการฉีดในแปลงพืชผัก รวมถึงได้รับเกียรติจาก  คุณสราวุธ กาลพัฒน์  วิทยากรรับเชิญจาก ศุนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติโจนจันได้ ชุมพรคาบาน่ามาให้ความรู้เรื่องทฤษฎีบรรไดเก้าขั้นสู่ความสำเร็จ..การใช้สมุนไพรและสิ่งใกล้ตัวในการทำสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้กับพืชผักในครัวเรือน โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วม จำนวน 50 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการและคณะทำงานโครงการมีความรู้จากการใช้สารชีวภัณฑ์ที่ทางศูนย์อารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร  ได้ดำเนินการให้ความรู้เพื่อนำไปใช้กับผลผลิตของแต่ละบ้าน  ร่วมทั้งความรู้ จากคุณสราวุธ ที่ให้ความรู้เรื่องทฤษฎี บันได เก้าขั้นสู่ความสำเร็จ และการใช้สมุนไพรและสิ่งใกล้ตัวในการทำสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้กับพืชผักในครัวเรือนที่ครัวเรือนสามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้กับพืชผักได้

1.2 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ครั้งที่ 222 กรกฎาคม 2565
22
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ดำเนินงาน  คณะทำงานชุดเล็กร่วมประชุมทั้งหมด  5 คน และมีพี่เลี้ยง เข้าร่วมให้คำชี้แนะ วัตถุประสงค์การประชุมกลุ่มย่อยในครั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกพืชผักปลอดสารและการใช้สารชีวภัณฑ์  ในวันที่ 8 สิงหาคม 2565
คณะทำงานโครงการชุดเล็กที่เข้าร่วมในครั้งนี้ 1.  นายไตรสิทธิ์  ศรีช่วงโชติวัตร 2.  นายชูเกียรติ  นารีศรีสวัสดิ์ 3. นายจำเริญสุข  สอนชัด 4. นายสมควร  เนตรสุวรรณ 5. นางสาวบุญชู  วัดนครใหญ่
6. นางสาวกรวรรณ  ไกรวิลาศ  พี่เลี้ยงโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รายละเอียดในการจัดเตรียมงานประชุมในวันที่ 8 สิงหาคม 65  และมีการแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบ  ทั้งเชิญวิทยากร  การเตรียมอุปกรณ์ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ การเตรียมเรื่อง อาหารกลางวันและอาหารว่าง ร่วมถึงการเชิญเครือข่ายภาคีและหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในตำบลและนอกตำบลให้เข้าร่วมในครั้งนี้

1.1 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 110 กรกฎาคม 2565
10
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.1 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1  วันที่ 10 ก.ค 65  สถานที่  ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร หมู่ที่ 10 ต.หาดพันไกร อ.เมือง จ.ชุมพร
จัดประชุมคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน โดยมีการทำความเข้าใจบรรไดผลลัพธ์ ตัวชี้วัด และกิจกรรมโครการ เพื่อให้คณะกรรมการ มีความเข้าใจและมีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันพื่อทำให้โครงการดำเนินได้ตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  15 คน จากหมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 10 ตำบลหาดพันไกร ซึ่งมาจาก แกนนำหมู่บ้าน หมอดินอาสา  ทำเกษตรปลอดสาร กลุ่มผู้สูงอายุ และที่ปรึกษา 2 ท่าน รวมทั้งมีการคัดเลือกคณะทำงานชุดเล็กเพื่อความคล่องตัวในการขับเคลื่อนงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้คณะกรรมการโครงการจำนวน 13 คนจากผู้ทีมีความสนใจในเรื่องโครงการและทำเรื่องอาหารปลอดภัยอยู่แล้ว  และที่ปรึกษาจำนวน 2 ท่าน  และคณะทำงานชุดเล็กจำนวน 5 ท่าน คณะทำงานโครงการ  ชุดใหญ่ 1. นายไตรสิทธิ์  ศรีช่วงโชติวัตร    หัวหน้าโครงการ 2. นายชูเกียรติ  นารีศรีสวัสดิ์        เหรัญญิก 3. นายภูมเดชา  จำรัสการ            ผู้ช่วยเลขา 4. นายกวินพัฒน์  ศิริมหาดำรงค์กุล  ธุรการ 5. นายสมควร  เนตรสุวรรณ          ประสานงาน 6. นายนิคม  รักษ์ขาว     กรรมการ 7. นางสาวบุญชู  วัดนครใหญ่        เลขา 8. นางจันทนา  วงษ์ศรีนาค          ประสานงาน 9. นายสุทิน  อินสุทน                  กรรมการ 10. นางมยุรีย์  ศรีสุวรรณ              ประชาสัมพันธ์ 11. นายจำเริญสุข  สอนชัด     กรรมการ 12. นางชลภัสสรณ์  สง่าป่า            กรรมการ 13. นายพรมกิจ  เนตรสุวรรณ          ประสานงาน 14. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดพันไกร  ที่ปรึกษา 15. กำนันตำบลหาดพันไกร  ที่ปรึกษา และได้คณะทำงานชุดเล็กจำนวน 5 ท่าน เพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น 1. นายไตรสิทธิ์  ศรีช่วงโชติวัตร    หัวหน้าโครงการ 2. นายชูเกียรติ  นารีศรีสวัสดิ์        เหรัญญิก 3.    นายสมควร  เนตรสุวรรณ          ประสานงาน 4. นายจำเริญสุข  สอนชัด     กรรมการ 5. นางสาวบุญชู  วัดนครใหญ่        เลขา

กิจกรรมที่ 8 สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อการขยายตลาด 8.1 ประสานความร่วมมือกับ ม.แม่โจ้จัดตั้ง:โรงเรียนกาแฟโรบัสต้า 8.2 ตรวจคุณค่าโภชนาการกาแฟโรบัสต้า27 มิถุนายน 2565
27
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการ เข้าร่วมพูดคุยกับ  อ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ชุมพร  เรื่่องการเปิดโรงเรียนกาแฟโรบัสต้า  เพื่อสอนเรื่องการผลิดกาแฟที่มีคุณภาพ ตั้งแต่เริ่มต้น ปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการแปรรูป เพื่อสร้างมาตรฐานการผลิดกาแฟโรบัสต้าของจังหวัดชุมพรให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน รวมถึง เป็นการสนับสนุนให้ เกิดกลุ่มผู้ผลิตกาแฟเพื่อการบริโภคเองด้วย  ครั้งที่ 1 วันที่ 25-26 มีนาคม 2565 เข้าร่วมเวทีพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการชุมชน การสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนภายใต้โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้านเทคโนโลยี่และนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่  จุดเริ่มต้นแนวคิดการจัดตั้งโรงเรียนกาแฟโรบัสต้า และตรวจคุณค่าโภชนาการกาแฟโรบัสต้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และภาคี  ครั้งที่ 2 วันที่ 27 มิถุนายน 2565 เข้าร่วมเวที  การสื่อสารการตลาด การประชาสัมพันธ์และการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าชุมชนและเครือข่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้านเทคโนโลยี่และนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ต่อยอดโรงเรียนกาแฟโรบัสต้าและ และตรวจคุณค่าโภชนาการกาแฟโรบัสต้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และภาคี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการพูดคุยและวางแผน การเปิดโรงเรียน กาแฟโรบัสต้า  การเตรียมหาบุคลากรและการเตรียมสถานที่ รายวิชาที่จะเกิด โรงเรียนสอนการทำกาแฟ ต้นน้ำ,กลางน้ำ,ปลายน้ำ

จัดทำป้ายปลอดเหล้า บุหรี่17 มิถุนายน 2565
17
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานได้ติดป้ายประกาศ เขตปลอดเหล้าและบุหรี่ในพื้นที่และสถานที่ประชุม จากการที่มีการสื่อสารกันเรื่องพิษภัยของ บุหรี่ นับเป็นสิ่งเสพติดที่มีโทษมากมายต่อตัวผู้สูบ และบุคคลที่ใกล้ชิดทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง โรคเกี่ยวกับระบบหายใจ โรคหัวใจ ฯลฯ โดยการสูบบุหรี่ไม่ได้ทำให้เกิดโรคทันที  แต่สารพิษจะค่อยๆ สะสมในร่างกาย และก่อให้เกิดโรคในอนาคต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ลดคนสูบบุหรี่ในสถานที่ประชุมได้

ปฐมนิเทศโครงการ4 มิถุนายน 2565
4
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย 65-00-0152-0012
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการผู้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4 คน ได้แก่ นายไตรสิทธิ์ ศรีช่วงโชติวัตร  นายกวินพัฒน์  ศิริมหาดำรงค์กุล นายชูเกียรติ นารีศรีสวัสดิ์ นายสมควร เนตรสุวรรณ
  • เรียนรู้ร่วมกันเชื่อมพลังผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อชุมพรน่าอยู่ โดย ดร.ฉันทวรรณ เอ่งฉ้วน ม.แม่โจ้
  • การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อคลี่บันไดผลลัพธ์โครงการย่อย โดยทีมสนันสนุนวิชาการ ทั้งหมด 7 กลุ่มย่อย โดยมีพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบแต่ละประเด็นเข้าประจำกลุ่มย่อยเพื่อทำหน้าที่ทำความเข้าใจการคลี่บรรไดผลลัพธ์ของแต่ละโครงการ
  1. เกษตรและอาหารระดับหมู่บ้าน
  2. เกษตรและอาหารระดับตำบล
  3. เกษตรและอาหารระดับสมาพันธ์เกษตรอำเภอ
  4. เกษตรและอาหารระดับเครือข่าย
  5. จัดการโรคเรื้อรังระดับชุมชน / หมู่บ้าน
  6. จัดการโรคเรื้อรังระดับหน่วยบริการ
  7. จัดการโรคเรื้อรังระดับดำบล

- ผู้ประสานงาน Node จากสมาคมประชาสังคมชุมพร ชี้แจงการบริหารโครงการ และเอกสารประกอบการจัดทำ โครงการ เช่น ใบสำคัญรับเงิน ใบลงทะเบียน แบบฟอร์มการรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น ส.1 ,ง.1 เพื่อให้พื้นที่สามารถทำเอกสารด้านการเงินได้อย่างถูกต้อง - กลุ่มย่อยลงมือปฏิบัติจัดทำเอกสารด้านการเงิน เพื่อจะได้เรียนรู้ที่ถูกวิธี - แลกเปลี่ยนซักถามข้อสงสัยในเรื่องการจัดทำเอกสารด้านการเงิน พร้อมทั้ง ผู้ประสานงาน node ตอบข้อสงสัย เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน - ล้อมวง อภิปราย “ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย” เป้าหมายที่ตั้งไว้เราจะเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าของ ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ กับการจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ด้วยกลไกการจัดการและกระบวนการอย่างไร โดย ดร.ชุมพล อังคณานนท์ นายธีรนันท์ ปราบราย นายวิโรจน์ แสงบางการ - ปิดการประชุม โดย นายวิโรจน์ แสงบางการ  ประธานคณะกรรมการโครงการ