directions_run

(12)โครงการพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดสารอย่างเป็นระบบและมีตลาดรองรับอย่างยั่งยืน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (12)โครงการพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดสารอย่างเป็นระบบและมีตลาดรองรับอย่างยั่งยืน
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0012
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไตรสิทธิ์ นามสกุล ศรีช่วงโชติวัตร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0805496226
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกรวรรณ นามสกุล ไกรวิลาศ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดพันไกร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.556313,99.110767place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 32,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 44,000.00
3 1 มี.ค. 2566 30 เม.ย. 2566 1 มี.ค. 2566 30 เม.ย. 2566 4,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านเขากล้วย (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร) หมู่ 10 ตั้งอยู่ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
ห่างจากตัวเมืองชุมพร ระยะทาง 20 กิโลเมตร ติดถนนเพชรเกษม เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 24,057.87 ไร่ หรือประมาณ 38.49 ตารางกิโลเมตร รวมทั้ง ตำบล มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 12 หมู่บ้าน ประชากรทั้งตำบลรวมทั้งสิ้น 5,446 คน แยกเป็นชาย 2,614 คน หญิง 2,784 คน จำนวนครัวเรือน 2,017 ครัวเรือน ความหนาแน่น 69.25 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป   บ้านเขากล้วย หมู่ที่ 10 มีประชากรทั้งหมด 445 ราย จำนวนครัวเรือน 250 ครัวเรือน อยู่อาศัยจริง จำนวน 122 ครัวเรือน ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาตะนาวศรี สภาพพื้นพื้นที่เป็นที่ราบเชิงภูเขา ลักษณะเป็นลูกคลื่น ลอน ลาด สลับกันไป และพื้นที่ด้านตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าตะเภาบางพื้นที่มีน้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้างทั้งไป ในอดีตประชาชน ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกมะพร้าว และปลูกผักขาย เช่น มะเขือ ถั่วฝักยาว แตงกวา และประชากรยังมีไม่มาก ประกอบกับมีแม่ค้ารับซื้อถึงบ้าน ทำให้ชาวบ้าน ประชากรยังดำรงชีพ ด้วยการปลูกผักกินเองและเป็นผักปลอดสารพิษ แต่หลังจาก ปี 2532 เกิดเหตุการณ์ พายุหนักประกอบกับ ราคาของพืชผักตกต่ำเนื่องจากมีการนำเข้าผักมาขายจากที่อื่นและราคาถูกกว่า จึงทำให้แม่ค้า หันไปรับผักที่มาจากแหล่งอื่นแทน จึงทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ล้มเลิกการปลูกผัก เพื่อหันมาปลูกพืชเชิงเดี่ยวเช่น ยางพารา ทุเรียน และปาล์มน้ำมัน แทน เนื่องจากการปลูกผักจำหน่าย ไม่สามารถสู้ราคา กับผักที่มาจากแหล่งภายนอกและแม่ค้ากดราคาทำให้แปลงผักหายไป ที่มีอยู่ก็หันมาใช้ สารเคมีในการทำเนื่องจากคิดว่าน่าจะให้ผลผลิตดีกว่าการใช้สารอินทรีย์ และ ไม่ได้สนใจการปลูกผักเท่าที่ควรเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรตัวอื่นให้ราคาที่ดีกว่า จนถึงปี พ.ศ. 2562 ได้เกิดการจัดตั้งสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพร โดยการนำของคุณไสว แสงสว่าง ประธานสมาพันธ์ และมีการอบรมให้ความรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดภัย โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร หนึ่งในนั้นก็คือ คณะกรรมการ วิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร ประกอบด้วย คุณ ไตรสิทธิ์ คุณชูเกียรติ คุณภูมเดชา เมื่อได้รับการอบรม และมีการร่วมกลุ่มทำกิจกรรมบ่อย ๆ ทำให้ทั้ง 3 ท่าน เห็นพ้องกันว่า ต้องการที่จะฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและผู้บริโภคให้ได้รับประทานผักปลอดสาร โดยมีกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายในเรื่องเกษตร แต่มีเป้าหมายเรื่องการทำเกษตรปลอดสารเหมือนกัน และทางคณะกรรมการเล็งเห็นว่า ในปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่รักสุขภาพ และมีความสนใจเรื่องเกษตรปลอดสารมากขึ้น ข้อมูลจากการที่นำผักปลอดสารไปวางจำหน่ายที่หน้าสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองทุกวันพฤหัสบดี ของทุกสับดาห์ ผักปลอดสารจะขายหมดทุกรอบและไม่พอขาย ประกอบกับเกิดโรคระบาดหนัก ทำให้ตลาดผักอินทรีย์ต้องปิดตัวลง ทำให้เกษตรกรที่ปลูกก็ต้องชะลอตัวทำได้เพียงปลูกเพื่อทานในครัวเรือนและแจกจ่ายเพื่อนผูงได้ทาน ประกอบกับ คุณไตรสิทธิ์ประธานกลุ่ม มีความตั้งใจที่จะรื้อฟ้นให้คนในชุมชนหันกลับมา ทำสินค้าเกษตรแบบปลอดสาร และหาตลาดเพื่อรองรับสินค้าของสมาชิกและของชุมชน เพราะในอดีตคนในชุมชนเคยผลิดพืชผักเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่มีปัญหาเรื่องการตลาด ทำให้ชุมชนต้องเลิกปลูกผักเพื่อจำหน่าย หันมาปลูกเพื่อบริโภคเพียงอย่างเดียว จึงได้พูดคุยกับสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มชักชวนกันตั้งกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร จึงรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตรเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 32 ราย มีการลงหุ้น มีเงินหมุนเวียน 80,000 บาท โดยมีแปลงเพื่อผลิตสินค้าปลอดภัยที่เข้าร่วม จำนวน 35 แปลง โดยมีสมาชิกที่มีความหลากหลาย ทั้ง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนเลี้ยงวัว กลุ่มน้ำมันมะพร้าว กลุ่มกาแฟ กลุ่มผักปลอดสารพิษ กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มทำสมุนไหร และกลุ่มทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ และในปัจจุบันได้มีสินค้าออกมาวางจำหน่ายนอกจาก ผักปลอดสารแล้ว ก็มีกาแฟปลอดสารและชา โดยได้รับการตอบรับที่ดี โดยวัตถุดิบส่วนใหญ่ รับจากสมาชิกในกลุ่มแต่ละพื้นที่ เนื่องจากในชุมชน มีผลผลิตไม่เพียงพอ
และทางกลุ่มคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตรได้เข้าร่วม อบรมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการกับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพรโดยได้นำ กาแฟซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตรเข้าร่วมในการอบรม และเป็นสินค้า 1 ใน 5 ชนิด ที่ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คัดเลือกเพื่อเข้าร่วมการยกระดับเพื่อขอขึ้นทะเบียน เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) พร้อมกับได้รับการสนับสนุนเครื่องคั่วกาแฟ เครื่องอบกาแฟ จากสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จำนวน 1 ชุด เพื่อการพัฒนากาแฟให้มีคุณภาพ
โดยมีร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร บ้านเขากล้วย หมู่ที่ 10 เข้าซอยไปประมาณ 400 กิโลเมตร ถนนเพชรเกษม ฝั่งขึ้น กทม. มีรายได้เดือนละ 10,000-20,000 บาท จากการประเมินผลของกลุ่มฯ พบว่า ผักปลอดสารยังเป็นที่ต้องการของลูกค้า และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังได้รับการช่วยเหลือจาก เกษตรอำเภอเมืองและนายกองค์การบริหารตำบลหาดพันไกร ในการช่วยอำนวยความสะดวก และออกบูทในงานต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ รู้จักวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร เมื่อได้ดำเนินงานมาสักระยะหนึ่ง ได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี มียอดการสั่งซื้อ จากหลายพื้นที่ ประกอบกับทางประธานและคณะกรรมการต้องการที่จะพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ตัวอื่นด้วย เช่น พืชผักปลอดสารพิษ เนื่องจากทุกบ้าน ต้องรับประทานและตลาดมีความต้องการมากขึ้นและได้สร้างอาชีพและรายได้ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด ได้มีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิ่มให้กับครัวเรือนและได้ไช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และได้ลดการใช้สารเคมีในชุมชน และการลงทุนในกิจการใช้ทุนหุ้นสมาชิกและของครัวเรือนเป็นหลักในการบริหารงานจัดการ ประกอบกับ ในอดีตต่างคนต่างทำ ไม่มีการรวมกลุ่มเมื่อมีผลผลิตจึงต่างคนต่างขายและถูกกดราคา จากพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง จึงจำเป็นต้องขายให้ในราคาที่ขาดทุนเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ต้องใช้สารเคมีในแปลงเกษตร แต่ถ้ามีการรวมตัวกันปลูกและมีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน ก็สามารถที่จะขายได้ราคา และในปัจจุปันความต้องการพืชผักปลอดสารมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการขยายสมาชิกแปลงผลิตพืชผักปลอดสารเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ เพื่อทำให้มีพืชผักปลอดสารที่เพียงพอต่อการผลิตและความต้องการของผู้บริโภค และมีตลาดรับซื้อที่แน่นอนและยั่งยืน
จากการประชุมปรึกษาหารือของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร บ้านเขากล้วย ในการจัดทำ โครงการครั้งนี้ได้มีการทำการวิเคราะห์ปัญหา ต้นไม้ปัญหา นำปัญหาที่ได้มาจัดลำดับความสำคัญของปัญหา พบปัญหาสำคัญเร่งด่วนคือ ขาดการส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดสารแบบเป็นระบบและไม่มีตลาดรองรับที่เหมาะสม ด้วยปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ได้ดังนี้
ด้านพฤติกรรม 1.ชาวบ้านต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการรวมกลุ่มอย่างชัดเจนเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 2. หาเช้ากินค่ำไม่มีเงินออม 3. ไม่นิยมแปรรูปสินค้าและไม่มีการรวมกลุ่ม 4.นิยมใช้สารเคมีเพราะคิดว่าสะดวกและตามเพื่อน 5.ชอบซื้ออาหารสำเร็จรูปทานเพราะสะดวก 6.ขาดความรู้เรื่องการผลิตทำตามเพื่อน7.มีพื้นข้างบ้านแต่ไม่ปลูก ซื้อทาน ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม 1.เป็นสังคมเมืองกึ่งชนบทต่างคนต่างอยู่ 2.มีความสะดวกสบายมากขึ้น 4.ชุมชนยังไม่มีส่วนร่วม 5.การเดินทางเข้าถึงง่ายมีความสะดวก 6. มีความหลากหลายทางชีวภาพ 7.มีรถพุ่มพวงเข้าถึง 8. ในกลุ่มยังติดการใช้สารเคมีในแปลงเกษตรเพราะคิดว่าจะทำให้ได้ผลผลิตที่ได้มากว่าการไม่ใข้สารเคมี ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ขาดอุปกรณ์ในการแปรรูป เช่น ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ 2.ไม่นิยมทำบัญชีผลผลิตและบัญชีครัวเรือน ทำให้ไม่รู้รายจ่ายและรายได้ที่แท้จริง 3.ไม่มีผู้นำทำกิจกรรมที่เป็นรูปแบบ 4.ปริมาณทุนหมุนเวียนในกลุ่มวิสาหกิจไม่เพียงพอ 5. มีสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตในส่วนที่ควบคุมไม่ได้ ด้านกลไก/ระบบที่เกี่ยวข้อง 1. ยังไม่มีหน่วยงานในชุมชนที่หนุนเสริมอย่างจริงจัง2. ขาดการบริหารจัดการที่ดี3. ไม่เข้าถึงแหล่งบประมาณเพราะชุมชนยังขาดความรู้ 4. ขาดการทำแผนธุรกิจและการขยายตลาด 5.ชาวบ้านและกลุ่มวิสาหกิจดำเนินการกันเอง 6 การจัดทำแผนธุรกิจ/เพื่อขยายการผลิต ต้องมีการทำแผนธุรกิจเพื่อขอทุนจากแหล่งทุนอื่น ผลกระทบของปัญหาข้างต้นต่อมวลสมาชิกกลุ่มและชาวบ้านเขากล้วย โดยสรุปคือ ด้านสุขภาพ 1.ชาวบ้านมีโรคประจำตัวสาเหตุจากการทานของปนเปื้อน 2.มีสารพิษตกค้างในร่างกาย ด้านสังคม 1.ขาดการมีส่วนร่วมเนื่องด้วยจากสภาพสังคมที่เร่งด่วน 2.ต่างคนต่างทำกิจกรรมไม่รวมกลุ่มกัน3.แต่มีกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้มแข็งสามารถเป็นกลุ่มหลักได้ 4.มีการประชุมหมู่บ้านประจำทุกเดือนเดือนสม่ำเสมอ ด้านเศรษฐกิจ 1.ชาวบ้าน มีรายได้เพิ่มมากขึ้น2.มีรายได้ทุกวัน 3.หนี้สินครัวเรือน 4.ค่าใช้จ่ายเพิ่มจากค่ารักษาพยาบาล ด้านสภาพแวดล้อม 1.มีความหลากหลายในพื้นที่ ทางธรรมชาติ 2.สารเคมีปนเบื้อนลงแหล่งน้ำ3.อากาศดี 4.เป็นดินเสื่อมสภาพทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรได้ 5.เป็นดินทรายแห้ง น้ำน้อย ปลูกพืชบางชนิดไม่ได้ 1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้ ควรใช้ทุนเดิม จุดแข็งที่มี มาช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการคือ
การสนับสนุนและส่งเสริมให้แปลงปลูกพืชผักที่มีอยู่แล้วเป็นแปลงปลอดสาร และเข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตพืชผักแบบปลอดสาร ให้มีความเข้าใจในการทำแปลงแบบปลอดสารและการใช้สารชีวภัณฑ์ให้ได้ประสิทธิภาพ และการจัดการเรื่องการตลาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบยั่งยืนมากขึ้น แรงเสริมในการดำเนินงาน มีผู้นำในกลุ่มเข้มแข็ง 2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุน 3. สำนักงานเกษตรจังหวัดสนับสนุนเรื่องการหาพื้นที่ขายผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ 4 มีผู้สนใจเข้าร่วมถือหุ้นจากภายนอกมากกว่าในชุมชน 5 มีการสนับสนุนจากผู้นำชุมชน 6. มีภาคีเครือข่ายภาครัฐสนับสนุน แรงต้านในการดำเนินงาน 1.ชาวบ้านขาดการมีส่วนร่วมกับชุมชน ขาดแรงจูงใจ 2.ยังมีการเสพติดการใช้สารเคมีในแปลงเกษตร 3.ต้นทุนการผลิตยังสูง เนื่องจากขาด เครื่องมือ อุปกรณ์ และแรงงาน และชอบใช้สารเคมีมากกว่าอินทรีย์ 4. ไม่มีกลุ่มผู้ผลิต ปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ รองรับในชุมชน 5. ผู้นำขาดการเอาใจใส่ 6. ขาดความรู้ที่ถูกต้องในการปลูกผักแบบปลอดสารและการใช้สารชีวภัณฑ์ที่ถูกวิธี คณะกรรมการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวรรณะเกษตร สมาชิกทั้ง 32 รายและสมาชิกในหมู่บ้านเขากล้วย มีความประสงค์ที่จะขอรับทุนสนับสนุนจาก Node flagship Chumphon สสส.สน 6 จึงได้สมัครใจเข้าร่วมดำเนินงานเกษตรสุขภาพ ภายใต้ โครงการพัฒนาการผลิตพืชผักปลอดสารอย่างเป็นระบบและมีตลาดรองรับอย่างยั่งยืน 1.3 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร) มีแนวทางสำคัญพัฒนาองค์กรวิสาหกิจชุมชนให้มีความสามารถในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะมีฐานข้อมูลสารสนเทศและมีแผนธุรกิจชุมชน ขยายจำนวนสมาชิกผู้ปลูกกาแฟ/พืชผักปลอดสาร พร้อมกับการเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชผักปลอดสารบ้านเขากล้วย ด้วยรูปแบบการการเรียนรู้ พัฒนาร่วมกัน จัดตั้งครัวเรือนต้นแบบเพื่อให้เป็นแบบอย่างในการผลิตกาแฟและผักปลอดสารพิษ ตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าการเกษตร SDGsPGS และใช้แผนธุรกิจชุมชน ประสานงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก เกษตร ธกส. เพื่อให้มีเงินทุนในการพัฒนาและขยายกิจการ เพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค การเข้าร่วมเครือข่ายเกษตรสุขภาพ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายกลุ่มเป้าหมายสร้างตลาดสินค้าเกษตรปลอดสารให้เป็นที่รู้จักและสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มลูกค้า ควบคู่กับพัฒนารูปแบบการตลาดและการขยายการผลิตสินค้าให้มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ ผสมผสานกับกาแฟที่จะได้รับขึ้นทะเบียน เป็น “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์”(GI) ต่อไป.

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาวิสาหิจชุมชนวรรณะเกษตรให้มีความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรที่เข้มแข็งและมีการบริหารจัดการที่ดี

ผลลัพธ์ที่ 1.คณะทำงานมีการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจสามารถทำงานได้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2.เกิดแผนครัวเรือนและแผนธุรกิจ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 เกิดความร่วมมือกับหน่วยงาน

1.00
2 เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชผักปลอดสารบ้านเขากล้วยเพื่อการบริโภคและสามารถขยายตลาดได้อย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดการขยายการปลูกพืชผักปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนและการแปรรูปที่เป็นระบบ รวมสินค้าที่เป็นระบบตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1. มีผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการผลิต พืชผักปลอดสาร 10 คน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 มีการผลิตพืชผักปลอดภัย 22 ครัวเรือน ตัวชี้วัดผลลัพธ์  2.3 ได้ผลผลิตที่มีความหลากหลาย เช่น ถั่ว แตง ถั่วพู มีตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.4 เกิดจุดรวมบ ผลลัพธ์ที่ 3 มีทุนหมุนเวียนและมีตลาดรองรับผลผลิตแบบยั่งยืน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 มีการขยายตลาด มีลูกค้ากลุ่มใหม่ จำหน่ายทั้งทาง On- line และการขายแบบ On- Site ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2มีพันธมิตรทางการตลาดเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 เกิดครัวเรือนต้นแบบ 10 ครัวเรือน ผลลัพธ์ที่ 4  มีพื้นที่เกษตรการปลูกพืชผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 10% ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1.เกิดอาชีพและรายได้เพิ่มครัวเรือนละ 3,000 บาท ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2 เพิ่มพื้นที่ปลูกผักปลอดสารได้ 22 แปลง และมีเกษตรกรเข้าร่วมเพิ่มขึ้น 22 ครัวเรือน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.3 มีแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจและชุมชนอย่างมีระบบ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.4 มีพื้นที่เกษตรการปลูกพืชผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 10%

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 สนับสนุนโครงการจาก (สสส)(4 มิ.ย. 2565-5 มิ.ย. 2565) 10,000.00                        
2 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง 6 ครั้ง(30 ก.ค. 2565-28 ก.พ. 2566) 14,100.00                        
3 กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการปลูกพืชผักปลอดสารและการใช้สารชีวภัณฑ์(8 ส.ค. 2565-8 ส.ค. 2565) 15,970.00                        
4 กิจกรรมที่3 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในด้านการจัดการ น้ำ ทุน และการตลาด(8 ก.ย. 2565-8 ก.ย. 2565) 600.00                        
5 กิจกรรมที่5 WS.พัฒนาแปรูปกาแฟและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า(12 ก.ย. 2565-12 ก.ย. 2565) 10,050.00                        
6 กิจกรรมที่8 สร้างเครือข่ายพันธ์มิตรทางธุรกิจขยายตลาด(15 ก.ย. 2565-26 ก.ย. 2565) 900.00                        
7 ชื่อกิจกรรมที่ 2 อบรมการจัดทำแผนครัวเรือนและแผนธุรกิจ(24 มิ.ย. 2566-24 มิ.ย. 2566) 8,280.00                        
8 ชื่อกิจกรรมที่ 6 ws.จุดรวมรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างเป็นระบบ ( 2 จุด)(24 มิ.ย. 2566-24 มิ.ย. 2566) 0.00                        
9 ชื่อกิจกรรมที่ 7 รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร PGS สู่ครัวเรือนต้นแบบ(24 มิ.ย. 2566-24 มิ.ย. 2566) 1,700.00                        
10 ชื่อกิจกรรมที่ 9 พัฒนารูปแบบการขาย On- line และการขายแบบ On- Site(24 มิ.ย. 2566-24 มิ.ย. 2566) 8,700.00                        
11 ชื่อกิจกรรมที่ 10 สรุปบทเรียนและคืนข้อมูลสู่ชุมชน(24 มิ.ย. 2566-24 มิ.ย. 2566) 5,100.00                        
12 ชื่อกิจกรรมที่ 11 นำเสนอผลงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(24 มิ.ย. 2566-24 มิ.ย. 2566) 5,100.00                        
รวม 80,500.00
1 สนับสนุนโครงการจาก (สสส) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 17 10,000.00 10 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 4 1,600.00 1,600.00
17 มิ.ย. 65 ทำป้ายโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
26 ส.ค. 65 อบรมการทำบัญชีโครงการ 1 300.00 300.00
23 - 25 ต.ค. 65 จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ 1 1,000.00 1,000.00
26 ต.ค. 65 เวทีสมัชชาพลเมือง ฅนชุมพร ประจำปี 2565 (สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร) และร่วมบันทึกความร่วมมือ (MOU) ประเด็นปกป้องเด็กและเยาวชนจากปัจจัยเสี่ยง 1 500.00 500.00
31 ต.ค. 65 เข้าร่วมเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการพัฒนา ร่วมกับพี่เลี้ยง และ Node ครั้งที่ 1 2 1,000.00 1,000.00
19 ก.พ. 66 ร่วมบริหารจัดการโครงการ/ร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง 2 1,000.00 1,000.00
10 เม.ย. 66 เข้าร่วมเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการพัฒนา ร่วมกับพี่เลี้ยง และ Node ครั้งที่ 2 2 1,100.00 1,100.00
29 เม.ย. 66 ร่วมบริหารจัดการโครงการ/ร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง 3 1,500.00 1,500.00
30 เม.ย. 66 จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ 1 1,000.00 1,000.00
2 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง 6 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 85 14,100.00 7 14,100.00
10 ก.ค. 65 1.1 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 1 15 2,275.00 2,275.00
22 ก.ค. 65 1.2 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ครั้งที่ 2 5 750.00 750.00
5 ก.ย. 65 1.3 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 3 16 2,662.00 2,662.00
10 พ.ย. 65 1.4 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 4 16 2,662.00 2,662.00
5 ก.พ. 66 1.5 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 5 17 2,662.00 2,662.00
17 มี.ค. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
1 เม.ย. 66 1.6 ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชนเพื่อปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องต่อเนื่อง ครั้งที่ 6 16 2,589.00 2,589.00
3 กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการปลูกพืชผักปลอดสารและการใช้สารชีวภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 15,970.00 1 15,970.00
8 ส.ค. 65 อบรมเชิงปฎิบัติการปลูกพืชผักปลอดสารและการใช้สารชีวภัณฑ์ 50 15,970.00 15,970.00
4 กิจกรรมที่3 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในด้านการจัดการ น้ำ ทุน และการตลาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2 600.00 1 600.00
8 ก.ย. 65 กิจกรรมที่3 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในด้านการจัดการ น้ำ ทุน และการตลาด 2 600.00 600.00
5 กิจกรรมที่5 WS.พัฒนาแปรูปกาแฟและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 10,050.00 1 10,050.00
12 ก.ย. 65 กิจกรรมที่5 WS.พัฒนาแปรูปกาแฟและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า 25 10,050.00 10,050.00
6 กิจกรรมที่8 สร้างเครือข่ายพันธ์มิตรทางธุรกิจขยายตลาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3 900.00 1 900.00
27 มิ.ย. 65 กิจกรรมที่ 8 สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อการขยายตลาด 8.1 ประสานความร่วมมือกับ ม.แม่โจ้จัดตั้ง:โรงเรียนกาแฟโรบัสต้า 8.2 ตรวจคุณค่าโภชนาการกาแฟโรบัสต้า 3 900.00 900.00
7 ชื่อกิจกรรมที่ 2 อบรมการจัดทำแผนครัวเรือนและแผนธุรกิจ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 8,280.00 1 8,280.00
15 มี.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 อบรมการจัดทำแผนครัวเรือนและแผนธุรกิจ 30 8,280.00 8,280.00
8 ชื่อกิจกรรมที่ 6 ws.จุดรวมรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างเป็นระบบ ( 2 จุด) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 13 0.00 1 0.00
23 พ.ย. 65 กิจกรรมที่ 6 ws.จุดรวมรวมสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างเป็นระบบ ( 2 จุด) 13 0.00 0.00
9 ชื่อกิจกรรมที่ 7 รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร PGS สู่ครัวเรือนต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 1,700.00 1 1,700.00
4 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 7 รับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร PGS สู่ครัวเรือนต้นแบบ 10 1,700.00 1,700.00
10 ชื่อกิจกรรมที่ 9 พัฒนารูปแบบการขาย On- line และการขายแบบ On- Site กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 8,700.00 1 8,700.00
24 มี.ค. 66 กิจกรรมที่ 9 พัฒนารูปแบบการขาย On- line และการขายแบบ On- Site 30 8,700.00 8,700.00
11 ชื่อกิจกรรมที่ 10 สรุปบทเรียนและคืนข้อมูลสู่ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 5,100.00 1 5,100.00
20 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 10 สรุปบทเรียนและคืนข้อมูลสู่ชุมชน 30 5,100.00 5,100.00
12 ชื่อกิจกรรมที่ 11 นำเสนอผลงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 5,100.00 1 5,100.00
28 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 11 นำเสนอผลงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 30 5,100.00 5,100.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2565 11:21 น.