directions_run

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดตรัง


“ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง ”

ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายมะหมีด ทะเลลึก

ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง

ที่อยู่ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0011 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดตรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 65-00-0144-0011 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดตรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยจากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่า หลังจากปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวน มากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ สถานการณ์นี้ เป็นผลมาจากการลดภาวะเจริญพันธุ์อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทำให้จำนวนและ สัดส่วนประชากรสูงอายุของไทย เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลประชากรของประเทศไทยปี 2556 ประชากรไทยมีจำนวน 64.6 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุมากถึง 9.6 ล้านคน คาดว่าในปี 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุ 17.6 ล้านคน (ร้อยละ 26.3) และปี 2583 จะมีจำนวนถึง 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนสถานภาพ บทบาท และ กิจกรรมของผู้สูงอายุ (ที่มาจาก:รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ.2556 โดย มสผส.) จากการทบทวนบทความของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมการสนับสนุนการพัฒนานโยบายรองรับสังคมสูง วัย ได้กล่าวไว้ว่า ผลจากความสำเร็จของการคุมกำเนิดในประเทศไทยทำให้อัตราการเกิดลดลง อีกทั้งครอบครัวสมัยใหม่ยังนิยมมี ลูกน้อยลง ประกอบกับความก้าวหน้าทางการแพทย์ และระบบสาธารณสุข คนไทยจึงมีอายุยืนยาวมากขึ้น โครงสร้างประชากรไทย จึงเปลี่ยนไป ในอนาคตจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก คาดว่าในปี 2579 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกือบ 1 ใน 3 ของประเทศ ปัจจุบันค่าเฉลี่ยอายุขัยของคนไทยสูงขึ้น ผู้ชายอยู่ที่ 72 ปี และผู้หญิง 79 ปี งานวิจัยของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า คนไทย จะลดและเลิกการทำงานจำนวนมากเมื่ออายุ 45 ปีเป็นต้นไป จำนวนนี้พบว่า ส่วนมากเป็นหญิงซึ่งต้องการอยู่บ้านเพื่อดูแลพ่อแม่ที่ สูงอายุ และบางส่วนต้องดูแลหลาน อีกเหตุผล เพราะความสามารถในการใช้พลังแรงกายทำงานลดลง และไม่ได้พัฒนาทักษะการ ทำงานที่สูงขึ้นด้วย เมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เด็กเกิดใหม่ลดลง สัดส่วนวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลง คนวัยทำงานจะต้องรับภาระ ดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบันกลุ่มคนในวัยทำงาน 4 คน ดูแลผู้สูงอายุ 1 คน และเด็ก 1 คน แต่ในเวลาไม่เกิน 15 ปี กลุ่ม คนวัยทำงาน 2 คนจะต้องดูแลผู้สูงอายุ 1 คน และเด็กอีก 1 คน จึงน่าเป็นห่วงคุณภาพของคนวัยทำงานในอนาคตซึ่งเป็นผู้จ่ายภาษี เป็นงบประมาณของประเทศ อาจจะทำให้เกิดวิกฤตทางการคลัง ภาษีอากร และระดับการออมลดลง หากพิจารณาระบบสวัสดิการ เพื่อรองรับกลุ่มคนทำงานในปัจจุบัน 37 ล้านคน พบว่า เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีระบบสวัสดิการ จำนวน 2 ล้าน ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 คน คนทำงานในภาคเอกชนมีระบบประกันสังคมรองรับ 15 ล้านคน ขณะที่อีก 20 ล้านคน เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างและ แรงงานนอกระบบที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม ไม่มีระบบสวัสดิการรองรับ ต้องพึ่งตนเอง รัฐบาลได้ตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ ส่งเสริมให้ประชาชนออมต่อเนื่องตั้งแต่วัยหนุ่มสาวไว้ใช้หลังเกษียณ โดยรัฐเติมเงินให้อีกส่วนหนึ่ง เมื่อพิจารณาในแง่คุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ แม้คนไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น แต่พบว่ามีเพียง 5% เท่านั้นที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ในอนาคตจะพบเห็น ผู้สูงอายุนั่งรถเข็นและใช้เปลนอนในโรงพยาบาลมากขึ้นเรื่อยๆ ที่น่าสนใจคือ ผู้สูงอายุมักประสบอุบัติเหตุภายในบ้าน และสถานที่ที่ ผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมบ่อยๆ คนส่วนมากมักจะคิดว่า อุบัติเหตุในผู้สูงอายุเกิดจากสภาพร่างกายที่มีแขนขาอ่อนแรง สายตาฝ้าฟาง แต่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า 75% ของผู้สูงอายุที่ประสบเหตุเกิดจากสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย ไม่เหมาะสม เช่น ทางเดินขรุขระ มี สิ่งกีดขวาง ไม่มีราวจับในห้องน้ำ บันไดสูงชันและลื่น ทุกวันมีผู้สูงอายุเสียชีวิตเพราะล้มวันละ 3 คน ปีละราว 1,000 คน ในความ เป็นจริงแล้วการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุที่หกล้มหรือ พิการ จากงานวิจัยพบว่า 10 ปีสุดท้ายในชีวิตของคนไทย โดยเฉลี่ยอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ มักอยู่ในภาวะพึ่งพา ไม่สามารถ ดำเนินกิจวัตรได้ตามปกติ สิ่งที่ควรทำคือ ยืดเวลาในช่วงเวลาสุขภาพดียาวออกไปมากที่สุด ลดช่วงภาวะพึ่งพา และช่วงเวลาป่วย หนักก่อนเสียชีวิตให้สั้นที่สุด ที่ผ่านมารัฐบาลและหน่วยงานสุขภาพได้รณรงค์ให้คนไทยออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีโภชนาการที่ เหมาะสม มีความฉลาดรู้ด้านสุขภาพ หลายพื้นที่มีการรวมตัวกันเป็นชมรมผู้สูงอายุ สร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก ในทางสังคมนั้นเมื่อเมื่อเข้าสู่สถานะผู้สูงอายุ พวกเขามักจะรู้สึกโดดเดี่ยว ไร้คุณค่า ว้าเหว่ นอกจากนี้พบว่า ยังมีผู้สูงอายุจำนวนมาก ที่อาศัยอยู่ตัวคนเดียวตามลำพัง ไม่มีผู้ดูแล การรวมตัวทำกิจกรรมด้วยกันจึงเป็นการเสริมพลังซึ่งกันและกัน สามารถพึ่งพาเกื้อกูล กันได้ในหลายด้าน นอกจากจะมีจำนวนน้อยลงแล้ว คุณภาพของประชากรไทยอาจจะด้อยลงในอนาคต เพราะครอบครัวที่พร้อมมองว่าการมี ลูกเป็นภาระ จึงไม่มีลูกหรือมีแค่คนเดียว แต่แม่วัยใสซึ่งท้องโดยไม่พร้อมกลับเพิ่มขึ้น อีกทั้งพ่อแม่วัยแรงงานส่วนใหญ่ต้องทิ้ง ครอบครัวมาทำงานในเมืองใหญ่ ปล่อยให้เด็กอยู่กับปู่ย่าตายาย อาจจะขาดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และอาจเกิดปัญหาซ้ำเติม เช่น ปัญหายาเสพติด อุบัติเหตุ ตั้งท้องไม่พร้อม เป็นต้น คุณภาพเด็กที่จะเกิดเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศจึงน่าเป็นห่วง สังคมไทย ต้องวางแผนและออกแบบชีวิตครอบครัวส่งเสริมการมีลูกและเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ จะเห็นได้ว่า ปัญหาของสังคมสูงวัยไม่ได้เป็นเรื่องของผู้สูงวัยในปัจจุบันเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับคนทุกวัย คนที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุดคือ คนวัย 40 ถึง 50 ปีในปัจจุบันซึ่งจะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต ต้องลุกขึ้นมาวางระบบเพื่อช่วยตนเอง ไม่อาจ คาดหวังให้ลูกหลานมาเลี้ยงดูได้เหมือนในอดีต ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องสร้างระบบสุขภาพให้คนไทยมีสุขภาพดี มีช่วงเวลา เจ็บป่วยก่อนเสียชีวิตสั้นลง ทั้งยังต้องปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่ให้ปลอดภัยสอดคล้องกับสังคมสูงวัย ต้องสร้างระบบการออมที่ เพียงพอต่อการใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขในยามชรา อีกทั้งชุมชนก็ต้องช่วยสร้างระบบรองรับสังคมสูงวัย สังคมไทยต้องหันมามองผู้สูงอายุ ว่าไม่ใช่ภาระ แต่คือ ผู้เชี่ยวชาญชีวิต เป็นคลังปัญญา คลังประสบการณ์ และเป็นพลังในการขับเคลื่อนเพื่อดูแลสังคมและผู้อื่นจาก ตัวอย่างของหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยก่อนไทย อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สวีเดน ฯลฯ พบว่าแต่ละพื้นที่รับมือ สังคมสูงวัยในหลากหลายรูปแบบ โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ ส่งเสริมการเกิดในระดับที่เหมาะสม สนับสนุนให้เลี้ยงดูเด็กอย่างมี คุณภาพ ดึงผู้สูงอายุที่แข็งแรงมีประสบการณ์เชี่ยวชาญชีวิตออกจากบ้าน กลับสู่สังคม และปกป้องผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย โดยชุมชนต้อง ร่วมกันเพื่อรองรับสังคมสูงวัย “ต้องสร้างความเข้าใจว่า สังคมสูงวัยเกิดขึ้นแน่ และไม่ใช่ปัญหาของผู้สูงอายุเท่านั้น ทุกคนได้รับ ผลกระทบหมด เพราะฉะนั้นทุกคนต้องช่วย สื่อเองต้องทำหน้าที่ให้คนเข้าใจ เมื่อก่อนเรารณรงค์ให้มีลูกน้อย แต่ตอนนี้ต้องรณรงค์ แผนชีวิตครอบครัวว่าจะอยู่กันอย่างไร ชุมชนจะอยู่อย่างไร แต่ละท้องที่ต้องลุกขึ้นมาเพื่อวางระบบด้วยตัวเอง จะไปหวังส่วนกลาง อย่างเดียวไม่ได้ สถานการณ์จะรุนแรงมากอีกในประมาณ 10 ปี ถ้าไม่วางระบบตอนนี้ไม่ทันแน่ ต้องทำตอนนี้” (บทความบางตอน ของ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ในวารสารเจาะลึกระบบสุขภาพ เผยแพร่เมื่อ Saturday, 3 August 2019 ผ่าน https://www.hfocus.org/content/2019/08/17454) จากบทความของ นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สะท้อนมุมมองว่า การให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ คงไม่ใช่เฉพาะปี 2565 ที่เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เนื่องจาก โครงสร้างประชากรจะเปลี่ยนจากพีระมิด สามเหลี่ยมฐานกว้างเป็นสามเหลี่ยมหัวกลับ คลื่นประชากรหรือประชากรรุ่น เกิดล้านที่เกิดระหว่างปี 2506-2526 กำลังจะกลายเป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป ขณะที่หลังปี 2526 เด็ก เกิดใหม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน นั่นหมายถึงปี 2566 เป็นต้นไปจะมีผู้สูงอายุเติมเข้ามาในระบบมากขึ้นสวนทางกับประชากร เกิดใหม่ที่ลดลงเรื่อยๆ ก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน จนเวลานี้ต้องมีการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เป็น โจทย์ท้าทายที่ต้องหาคำตอบในเรื่องของสังคมผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีบทบาทในการอยู่ร่วมกับสังคมโดยไม่ได้ 6 เป็นภาระ เปลี่ยนวิธีคิดโดยมองผู้สูงอายุในฐานะทรัพยากรมนุษย์ที่ยังใช้ศักยภาพประสบการณ์ต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งในการ พัฒนาประเทศ นอกจากนี้ คือการทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีรายได้มั่นคงหลังเกษียณอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีประโยชน์กับ สังคม หากเจ็บป่วยก็สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ รวมถึงสวัสดิการสังคมก็ต้องได้รับอย่างเหมาะสม ไม่ใช่ปล่อยให้ถูก ทอดทิ้ง จากการทบทวน สังเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุไทย โดย ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณ ระดา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะผู้วิจัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนโดยโครงการขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อพัฒนา งานด้านผู้สูงอายุและการสื่อสารสาธารณะเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า ในปัจจุบัน มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ตกอยู่ในภาวะยากลำบากหลายมติทั้งมิติทางเศรษฐกิจ มีประมาณร้อยละ 17 ของผู้สูงอายุมี รายได้รวมทุกแหล่งน้อยกว่า 40,000 บาทต่อปีและไม่มีเงินออมเลย ,มิติสุขภาพ พบว่าร้อยละ 3 เป็นผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง , มิติสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย ประมาณร้อยละ 5 ที่เคยหกล้มภายในตัวบ้านและบริเวณตัวบ้าน และมิติสังคม ประมาณร้อยละ 1 ที่ครองโสดและอาศัยอยู่ตามลำพังคนเดียว ดังนั้นหากไม่เกิดการขับเคลื่อนไปในทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผล ปัญหาต่างๆ ยังคง เดิมเหมือนในปัจจุบัน ในอนาคตจะมีผู้สูงอายุที่เผชิญอุปสรรคความยากลำบากในมิติต่างๆ เหล่านั้นในจำนวนที่มากยิ่งขึ้นตาม จำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ศึกษาแนวคิดการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนของ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา อดีตประธาน กรรมาธิการปฏิรูปสังคมและชุมชนฯ สปช. กล่าวว่า สังคมสูงวัย เป็น 1 ใน 5 ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยอยู่ แบบเดิมไม่ได้ โดยอีก 4 เรื่องที่เหลือคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน อาหารและน้ำ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ในเรื่องสังคมสูงวัยนั้น ถึงแม้ขยายการศึกษาและนำเสนอเป็น 4 มิติก็ยังไม่เพียงพอ ภายใต้แบบ แผนของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวสังคมก็มีระบบ โครงสร้าง วิธีคิดที่สูงวัยและยากต่อการเท่าทันโลก สิ่งที่ อยากจะเน้นคือ ชุมชนยังคงเป็นฐานพระเจดีย์ที่สำคัญ ปัจจุบันมีหลายชุมชนที่เป็นต้นแบบการเตรียมพร้อมให้เห็น เป็นรูปธรรม “การจัดการเรื่องสังคมสูงวัยต้องไม่แยกเรื่องนี้ออกมาตายตัว มันเป็นเรื่องเดียวกับการสร้าง ชุมชนเข้มแข็งและสังคมเข้มแข็ง โดยควรเน้นการพัฒนาแบบองค์รวม เน้นการมีส่วนร่วม ยึดภูมิศาสตร์ที่ แตกต่างกัน ใช้ชุมชนเป็นฐาน ไม่ยึดติดตำรา และทำไปมีความสุขไป ทำอย่างมีความเพียร ทั้งหมดนี้คือ ศาสตร์พระราชา” นั่นเอง ชุนชนท้องถิ่นซึ่งเป็นฐานของเจดีย์เป็นความหวัง เราต้องทำลงไปข้างล่างให้ได้ แล้วให้ ทุกอย่างบูรณาการร่วมกัน” จากการทบทวนบทความและงานวิจัยต่างๆ ตำบลเกาะลิบง จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมและ สร้างความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่ายในชุมชน รวมไปถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมมือกันในการเตรียมประชาชนและพื้นที่ตำบลเกาะลิบงให้มีความพร้อมในการรองรับสังคมสูงวัย ตำบลเกาะลิบงจึงได้ศึกษา ข้อมูลของประชากรในพื้นที่ครอบคลุม 4 มิติ พบว่า ตำบลเกาะลิบงประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน มีประชากรอายุ 40-59 ปี จำนวน 1,751 คน และประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 737 คน เพื่อเป็นการสร้างโมเดลไปสู่ความสำเร็จของการดำเนินงานการ รองรับสังคมสูงวัยในปีที่ 1 ของการดำเนินงานจึงเลือกที่จะศึกษาและดำเนินการในหมู่บ้านนำร่องของตำบลเกาะลิบงจำนวน 3 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 3 บ้านมดตะนอย หมู่ที่ 6 บ้านหาดยาว และหมู่ที่ 8 บ้านสุไหงบาตู ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกพื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้าน ในชื่อ ว่า “SMALL AREA เกาะลิบง” “SMALL AREA เกาะลิบง” มีประชากรทั้งหมด 1,921 คน มีประชากรผู้สูงอายุ(อายุ 60 ปี ขึ้นไป)จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 10.77 , กลุ่มอายุ 40-59 ปี จำนวน 539 คน คิดเป็นร้อยละ 28.05 , ประชากรอายุ 20-39 ปี จำนวน 545 คน คิดเป็นร้อยละ 28.37 , ประชากรอายุ 5-19 ปี จำนวน 495 คน คิดเป็นร้อยละ 53.75 และประชากรอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 126 คน คิดเป็นร้อยละ 6.55 เมื่อวิเคราะห์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย สามารถแยกเป็นมิติได้ ดังนี้ มิติด้านสุขภาพ พบว่ากลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม การรับประทานอาหารมีการทาน อาหาร 4 มื้อ คือมื้อเช้า มื้อเที่ยง มื้อเย็น และมื้อค่ำ ปริมาณอาหารจำนวนมากเกินความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะข้าว รับประทานปริมาณมาก ภาชนะใส่ข้าวไม่ได้ใช้จานแต่ใช้เป็นกะละมังใบเล็ก และขณะทานอาหารกินไปคุยไป จึงทำให้รับประทาน ทานข้าวได้มาก นอกเหนือจากการกินยังมีพฤติกรรมในการออกกำลังกายที่ไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้กลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มในการเป็น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วนและอ้วนลงพุงเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปี 2565 พบว่ากลุ่มอายุ 40-59 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9 ของประชากรของประชากรในช่วงอายุ เดียวกัน และคิดเป็นร้อยละ 64.86 ของประชากรป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งหมด, กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 12.56 ของประชากรในช่วงวัยเดียวกัน และคิดเป็นร้อยละ 35.13 ของประชากรป่วยด้วย 7 โรคเบาหวานทั้งหมด สำหรับข้อมูลกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงพบว่ากลุ่มอายุ 40-59 ปี ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 10.01 ของประชากรในช่วงอายุเดียวกันและคิดเป็นร้อยละ 40.90 ของประชากรป่วยด้วยโรค ความดันโลหิตสูงทั้งหมด และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 78 คนคิดเป็นร้อยละ 37.68 ของ ประชากรในช่วงวัยเดียวกัน และคิดเป็นร้อยละ 59.0 ของประชากรป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด และจากการประเมินภาวะของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน(ADL) พบว่า มีผู้สูงอายุจำนวน 202 คน ที่ สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น(กลุ่มติดสังคน) คิดเป็นร้อยละ 97.58 , เป็นกลุ่มที่ต้องพึ่งผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตร ประจำวัน(กลุ่มติดบ้าน) จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.93 และ เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด(กลุ่มติดเตียง) จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.48 มิติทางสังคม จากการเก็บข้อมูลโดยการพูดคุยซักถามกลุ่มเป้าหมายและประชาชนในชุมชนพบว่า กลุ่มเป้าหมายอายุ 40-59 ปี มีการรวมกลุ่มพูดคุยกันในชุมชนตามร้านค้า ที่สาธารณะ เช่นบริเวณชายหาด แต่ขาดการพูดคุยและรวมกลุ่มกันเพื่อ เตรียมความพร้อมตนเองในการเข้าสู่สังคมสูงวัย และสำหรับกลุ่มเป้าหมาย 60 ปี ขึ้นไป ยังต้องมีภาระในการประกอบอาชีพและ เลี้ยงดูบุตรหลาน จึงขาดความพร้อมในการเข้าร่วมทำกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ มิติทางเศรษฐกิจ พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุ 60 ขึ้นไป รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ส่งผลต่อการไม่พร้อมที่จะออมเงิน และกลุ่มอายุ 40-59 ปี ไม่มีการวางแผนการออมเพื่อเตรียมตนเองเข้าสู่สังคมสูงวัย ในบางคนพบมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ส่งผล ให้มีหนี้สินครัวเรือน ในด้านอาชีพพบว่ากลุ่มอายุ 40-59 ปี เลือกที่จะไปทำงานนอกบ้านเพื่อรับจ้าง ไม่ได้มองเห็นทุนในชุมชนที่ ตนเองมีอยู่เพื่อนำมาสร้างอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น ปลาที่ได้จากการทำประมงซึ่งไม่มีราคาในการซื้อ-ขาย แต่ถ้านำมาแปรรูป เช่นทำปลาเค็ม ก็อาจสร้างมูลค่าแลเพิ่มรายได้ ได้ ส่วนกลุ่มอายุ 60 ปี ขึ้นไปซึ่งใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในการประกอบอาชีพเพื่อสร้าง รายได้ เช่น การถนอมอาหารโดยนำปลาที่ไม่มีมูลค่า ที่เหลือจากการซื้อขายมาแปรรูปทำปลาเค็มขาย ต่างคน ต่างทำ ไม่มีการ รวมกลุ่มที่ชัดเจนรวมไปถึงไม่มีการจดทะเบียนกลุ่ม จึงส่งผลให้ขาดโอกาสในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าได้ มิติด้านสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจและเก็บข้อมูลโดยใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมให้คณะกรรมการร่วมวิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง พบว่าบริเวณในบ้านและรอบบ้าน ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน เสี่ยงต่อการลื่น พลัด หกล้ม บ้านส่วนใหญ่ใช้ห้องน้ำแบบโถนั่งยอง พื้นในห้องน้ำเรีบยมีความลื่น ขาดราวจับบริเวณห้องน้ำและ บริเวณที่ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวัน รอบๆบ้านมีพื้นต่างระดับ ไม่มีราวจับเกาะเดิน ไฟส่องสว่างรอบบ้านไม่เพียงพอ ตำบลเกาะลิบงเล็งเห็นว่าการได้สร้างกลไกคณะทำงานที่เข้มแข็ง ภายใต้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายนำ มาร่วมออกแบบ แก้ไขปัญหาตามบริบทของชุมชน โดยการสร้างการมีส่วนร่วมคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายให้เข้ามาหนุนเสริม การทำงาน เพื่อให้เกิดชุมชนที่มีความพร้อมในการรองรับสังคมสูงวัยที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชนโดยแท้จริง นำไปสู่การ แก้ปัญหาที่มีความยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มีศักยภาพในการ เตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล
  2. 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
  3. 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย
  4. 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม
  5. 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  6. 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
  2. พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  3. พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ
  4. คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  5. พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล
  6. ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม
  7. บัญชีธนาคาร
  8. เวทีประเมิณผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
  9. เวทีประเมิณผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
  10. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1
  11. ให้ความรู้ระดับครัวเรือนเรื่องการปรับ สภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
  12. เวทีปฐมนิเทศโครงการ
  13. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ)
  14. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  15. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2
  16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3
  17. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4
  18. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org)
  19. ร่วมกำหนดทิศทางการ เตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  20. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5
  21. อบรมให้ความรู้
  22. สำรวจ จัดเก็บ ฐานข้อมูล เตรียมรองรับสังคมสูงวัย ๔ มิต
  23. จัดทำกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อ รักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัย สูงวัย แข็งแรง
  24. ค้นหาบุคคลต้นแบบ ร้านค้าต้นแบบ ใน การสร้างสุขภาพ
  25. ส่งเสริมการจัดกิจกรรม กลุ่ม ส่งเสริมการออม
  26. ติดตามเยี่ยมเสริมพลัง กลุ่มติดเตียง โดยการมีส่วนร่วม
  27. จัดทำบัญชี
  28. การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ
  29. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ
  30. จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินโครงการ
  31. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1
  32. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6
  33. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3
  34. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่ 2
  35. เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส.
  36. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7
  37. ลงพื้นที่เยี่ยมประเมิณบ้านผู้สูงอายุ
  38. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8
  39. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9
  40. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10
  41. เวทีร่วม ARE
  42. ส่งเสริมอาชีพการปลูกผักให้กับกลุ่มเป้าหมาย
  43. ปรับสภาพแวดล้อมห้องน้ำมัสยิดเพื่อความปลอดภัย
  44. เยี่ยมติดตามกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  45. การต่อยอดส่งเสริมอาชีพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  46. ปรับสภาพห้องน้ำมัสยิด

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ ร่างบันไดผลลัพธ์ และวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหา ณ รพ.สต.บ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 10 คน
1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการ
- เพื่อให้คณะทำงานได้รู้ถึงวัตถุประสงค์ที่จะขอโครงการนี้
2 วิเคราะห์ต้นไม้ปัญหา จากสถานการณ์ปัจจุบัน
-คนอายุ 40 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหลอดเลือดสมอง
-ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
-ขาดการออม
-ไม่ได้เตรียมตัวเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย
- บ้านและบริเวณบ้านไม่ปลอดภัย
- ขาดข้อตกลงของชุมชน
3 ร่างบันไดผลลัพธ์
-กลไกลคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเข้มแข็ง ได้แก่ การสร้างทีม
-สภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ได้แก่ การมีกติกาในการดูแลสุขภาพ และคัดเลือกร้านค้าที่มีความพร้อม
-พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับ 4 มิติ ได้แก่ การจัดอบรมให้ความรู้ และ จัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง
-คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ได้แก่ คัดกรองความเสี่ยง
- นโยบาย/แผนงาน/โครงการ ได้แก่ ทำข้อตกลงของชุมชนพร้อมประกาศใช้

 

0 0

2. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เงินยืมทดลองเปิดบัญชี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เงินยืมทดลองเปิดบัญชี

 

0 0

3. เวทีปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • นำเสนอต้นไม้ปัญหาของชุมชนต่อการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  • นำเสนอบันไดผลลัพธ์
  • พิธีลงนามความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ พื้นที่จังหวัดตรัง

ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 7 คน ประกอบด้วย 1.นางสาวจิรารัตน์ แก้พิทักษ์ 2.นายอนุรักษ์ หวันมุสา 3.นายมะหมีด ทะเลลึก 4.นายณัธวัฒน์ ทะเลลึก 5.นางสาววันดี โปสู่ 6.นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก และ 7.นางหนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ-รพ.สต.บ้านมดตะนอย โดยมีการร่วมทำ MOU และทำข้อตกลงร่วมกันโดยมี รองนายก อบต เกาะลิบง-นายอนุรัษ์ หวันมุสา และ รองปลัดอบต.-นางสาวจิรารัตน์ แก้วพิทักษ์ ได้ลงบันทึกทำข้อตกลงร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายสำหรับโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง

 

3 0

4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ร่างกำหนดการประชุมย่อยระดับพื้นที่ ร่วมกับทีมโหนดเฟลกชิพตรัง
  • ให้ดูวีดีโอเรื่องสั้นที่จะเป็นสูงวัยในอนาคต
  • ค้นหากลุ่มเป้าหมายชุดข้อมูล 4 มิติ

ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ชุมชนบ้านหาดยาว, บ้านมดตะนอย, สุไหลบาตู และคณะทำงาน

เริ่นต้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมวีดีโอเรื่องสั้นที่จะเข้าสู่สังคมสูงวัยในอนาคต
- ให้ทีมคณะทำงานพูดสะท้อนเรื่องในวีดีโอ
ตัวแทน ม.3 ผู้เข้าร่วม 1) นายมะหมีด ทะเลลึก 2) นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก 3) นายบุหลาด พระคง 4) นางสาระ ทะเลลึก 5) นางสาวนงนุช ติ่งเก็บ
6) บานชื่น หาผล 7) ร่อหยำ ติ่งเก็บ 8) เพ็ญผกา ทะเลลึก 9) วันดี โป่สู่ 10) นางสาว บุหลัน ติ่งเก็ม
ม.8 บ้านสุไหงปาตู ผู้เข้าร่วม 1) พัชรมัย จิม้ง 2) วิภาดา หวังดี 3) รอแม๊ะอะ บูเบี้ยว 4) ธัญลักษ์ เม่งจิ
ม.6 บ้านห่ดยาว ผู้เข้าร่วม 1) สมทรง จันทร์แดง 2) นาถยา หาดเด็น 3) อรดี หะหวา 4) สุนารี เพ็ชร์สวัสดิ์
จะบุหลัน พูดเรื่องการออม เราไม่จำเป็นต้องออมเงินอย่างเดียว ถ้าเรามีทองหรือมีวัวก็ถือว่าเป็นการออม
ตัวแทน ม. 8 จะยอร่า พูดว่า พอดูวีดีโอแล้ว อยากทำการออม เดิมเขามีทุนอยู่แล้ว คือ ต้นยางพารา และ อยากออมเป็นเงินเสริมไปด้วย ตัวแทน ม.6 จะย๊ะ พูดว่า ทำให้เรารู้ว่า ระยะเวลาก่อนที่จะถึงวัยผู้สูงอายุต้องมีการวางแผนในการใช้ชีวิต
ผู้ใหญ่ พูดว่า 2 เรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญ คือ กระดานเศรษฐกิจเราจะต้องมีข้อมูลให้พร้อม และ สุขภาพสำคัญคนในชุมชนต้องออกกำลังกาย
ตัวแทนผู้สูงอายุ นายบุหลาด พระคง สะท้อนให้ทีมฟังว่า จากเดิมเคยเป็นผู้ป่วยติดเตียงมา 2 ปี คิดมาตลอดว่าทำให้เป็นภาระของลูกหลาน
และลำบากในการใช้ชีวิตปัจจุบันมาก จำทำให้อยากลุกขึ้นมาสู้โดยมีกำลังใจจากลูกและญาติๆที่มาเยี่ยม ทำให้แกสามารถเดินไปไหนมาไหนด้วยตัวเองได้
หมอหนึ่งหทัย ส่องสกุลบุญศิริ พูดเรื่องการค้นหากลุ่มเป้าหมาย ชุดข้อมูล 4 มิติ
- นำข้อมูลลงแอปพลิเคชั่น
- บทเรียนของการทำงาน

 

0 0

5. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ)

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ

  • การทำความเข้าใจความหมายของสูงวัย และการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  • การหารือการจัดตั้งรำวงผู้สูงอายุ

ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ม.อ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นางสาวละม้าย พระคง 2.นายบุญโชค หวังดี 3.นางหย๊ะ หมาดตุด และ 4.นายมะหมีด ทะเลลึก

  • คณะทำงานมีความเข้าใจแนวคิดสังคมสูงวัย คือ สังคมที่มีประชากร 60 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับการเข้าสู่สังคมสูงวัย ระดับสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ และ สังคมสูงวัยระดับสุดยอด
  • เห็นด้วยกับการจัดตั้งรำวงผู้สูงอายุ (เรียกว่า รำวง 3 ส สุขภาพ สนุก สามัคคี) และการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ให้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ให้มีอาสาสมัครมานำทำกิจกรรม
    ส่งเสริมผู้สูงวัยได้มีกิจกรรมเป็นของตัวเอง และให้จัดตั้งอาสาสมัครชุมชนเยี่ยมผู้สูงอายุ

 

3 0

6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เพื่อจัดหาทีมที่จะมาเป็นคณะกรรมการในการดำเนินโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต.เกาะลิบง ณ ท่าเรือบ้านหาดยาว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ประกอบด้วย ตัวแทน อ.ส.ม. และคณะทำงาน

  • ผู้เข้าร่วมประชุมทราบความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการทำโครงการเตรียมรองรับสูงวัย
  • หาทีมว่าจะเอากี่คนเป็นคณะทำงาน และ จะเอาในกลุ่มไหน
    ประธาน อสม ม.6 ได้เสนอว่า ให้เอาผู้นำ อบต. ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทน อสม ทั้ง 3 หมู่บ้าน ทุกคนเห็นด้วย และตกลงจะช่วยการหาทีม เพื่อทำโครงการนี้
  • ตัวแทน อสม.8 โซน โซนละ 2 คน 16 คน
  • อบต 3 หมู่ 3 คน
  • ผู้นำศาสนา 3 คน
  • ผู้ใหญ่บ้าน 3 หมู่ 3 คน
  • ตัวแทน ผู้สูงอายุ 3 หมู่ 3 คน
  • ตัวแทน เจ้าหน้าที่ อบต 5 คน

 

0 0

7. ให้ความรู้ระดับครัวเรือนเรื่องการปรับ สภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • อบรมช่างชุมชน ที่วัดไร่พรุ ห้วยยอด โดยมีวิทยากร อบรมคือ อาจารย์ตรีชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดสภาพแวดลอม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นแกนนำคณะทำงาน และช่างในชุมชน
  • อบรมเชิงปฎิบัติการช่างท้องถิ่นและบุคลากรด้านสวัสดิการสังคมในการปรับสภาพแวดล้อมบ้านพักอาศัยและอาคาร

ณ อาคารโรงเลี้ยงเก่า วัดไร่พรุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 คน
- ช่างอบต.1 นายบัญชา คงแก้ว
- ช่าง ม.3 2 คน นายลีเซ็น ช้างน้ำ กับ นายประทีป แหลมเกาะ
- ช่างม.8 2 คน นายบุญโชค หวังดี และ นาย เสฎฐวุฒิ หมาดทิ้ง และผู้ใหญ่บ้าน ม.3 นายณัฐวัตน์ ทะเลลึก
เป้าหมายในการอบรมครั้งนี้ คือ ให้ช่างที่มีอยู่ในชุมชนมีมุมมองด้านความปลอดภัย สามารถเป็นที่ปรึกษาของชุมชนในการจัดสถานที่ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

 

0 0

8. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org)

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมการใช้โปรแกรม Canva เพื่อสรุปกิจกรรมที่มีการดำเนินการที่ประกอบด้วยภาพและข้อความ และใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การทำงาน รวมถึงการบันทึกงานใน www.Happynetwork.org ทั้งรายงานกิจกรรมและรายงานการเงิน ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นางสาววันดี โปสู่ 2.นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก 3.นางสาวปู่เตะ หาดเด็น และนางสาวนงคราญ ติ่งเก็บ

  • มีอาจารย์สอนการใช้โปรแกรม Canva เพื่อเป็นการนำเสนองานและประชาสัมพันธ์งานที่ทำให้มีใจความสำคัญและน่าอ่าน ได้ลองหัดใช้โปรแกรมและลองเขียนเรื่องในโครงการ 1 เรื่อง
  • แกนนำคณะทำงานโครงการฯสามารถใช้โปรแกรม canva ในการสรุปกิจกรรมที่ใส่ภาพและข้อความ
  • แกนนำคณะทำงานโครงการสามารถเข้าสู่ระบบรายงาน www.Happynetwork.org พร้อมกัน และได้หัดลองคีย์งานเข้าไป 1 เรื่อง

 

3 0

9. การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประสานงานความมือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรม และจัดทำรายงานโครงการในระบบ HappyNetwork

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประสานงานความมือผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรม และจัดทำรายงานโครงการในระบบ HappyNetwork โดย นางสาววันดี โปสู่

 

2 0

10. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

วันที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดเวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)
-คณะบริหารโครงการทบทวนบันไดผลลัพธ์โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
-วางแผนขั้นตอนที่จะทำเวที ARE
-คัดเลือกรายชื่อคณะทำงานทั้ง 3 หมู่

ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน- 1.นางสาวบุหลัน ติ้งเก็บ 2.นางสาวปู่เตะ หาดเด็น 3.นางหนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ 4.นางสาววันดี โปสู่ และ 5.นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก

ร่วมทบทวนบันไดผลลัพธ์
- คณะบริหารทบทวนบันไดผลลัพธ์พร้อมทำความเข้าใจของบันไดแต่ละขั้นว่าจะเดินต่ออย่างไร
วางแผนขั้นตอนการจัดเวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)
- ลงทะเบียน เปิดเวทีโดยประธานโครงการ แนะนำคณะบริหารโครงการและ ได้ชวนทีมคุยโดยคุณหมอหนึ่ง
คัดเลือกรายชื่อคณะทำงาน
-คณะบริหาร
นายมะหมีด ทะเลลึก ประธาน
1) นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก 2) น.ส วันดี โป่สู่ 3) น.ส ปู่เตะ หาดเด็น 4) น.ส เพ็ญผกา ทะเลลึก 5) นางสาวบุหลัน ติ่งเก็บ
คณะทำงาน
ผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง 3 หมู่
1) นายยงยุทธ สักหลัด 2) นายสุขถวิล พระคง
ผู้นำศาสนา 1) นายมิตร แดงสี 2) นายอำนาจ ทะเลลึก 3) นายสมัด นันตสินธ์
อบต.
1) หมาด หวังดี 2) นายเชิดศักดิ์ แดงสี
เตรียมรองรับ
1) นายหวาเหด หะหวา 2) นายสุบิน เที่ยงธรรม 3) นายเฉ็ม สาลี
เจ้าหน้าที่อบต . 5 คน
1) พี่แหม่ม 2) นักพัฒนาชุมชน 3) จะมูนา 4) ช่าง 5) หัวหน้ากองสาธารณสุข
อสม . โซนละ 2 คน โซนแมงกะพรุน 1) ยุพิน ทะเลลึก 2) มาลิสา ทองใส
โซนหอยชักตีน 1) สาระ ทะเลลึก 2) สายรุ้ง บ้าเหร็ม
โซนดุหยง 1) วันดี แซ่ตั้น 2) ยิมมิละ สาลี
โซนประการัง 1) สุชาดา เหล็กเกิดผล 2) นงคราญ ติ่งเก็บ ม. 8
โซนปูเปี้ยว 1) สายพิน หมานหรา 2) สุดารัตน์ พระคง
โซนมังกร 1) ลาม้าย พระคง 2) พัชรมัย จิหม้ง
ม.6
โซนปูม้า 1) หย๊ะ หมาดตุด 2) วรรณี คงมะนี
โซนปลาดาว 1) ปริม แก้วทอง 2) นาถยา หาดเด็น

 

0 0

11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ

1.ลงทะเบียนทั้ง 3 หมู่
2.เปิดโครงการโดยประธานโครงการ - นายมะหมีด ทะเลลึก
3.คณะบริหารดำเนินอธิบายกิจกรรมที่ทำมาแล้วให้ทีมฟัง
4.แบ่งกลุ่มให้มีตัวแทนรับผิดชอบแต่ละด้าน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจการออม
5.แต่ละกลุ่มอยากทำเรื่องไหรบ้างทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจการออม

ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน, ส.อ.บ.ต., รพ.สต.บ้านมดตะนอย, ตัวแทน อ.ส.ม, ตัวแทนองค์กรศาสนา และแพทย์ประจำตำบล

เปิดโครงการโดยประธาน นายมะหมีด ทะเลลึก ได้แนะนำตัว ได้นำเสนอความสำคัญ และ วัตถุประสงค์ พร้อมพูดเรื่องต้นไม้ปัญหาให้คณะกรรมการฟัง
คุณหมอหนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ ได้พูดเรื่องบันไดผลลัพธ์ให้ทีมฟังและกิจกรรมที่เราทำมาแล้ว หลังจากนั้นได้ให้ทีมแบ่งกลุ่มและหาตัวแทนรับผิดชอบใน 4 ด้าน
1 ด้านสุขภาพ
ประธานคือ นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก รองประธาน สาระ ทะเลลึก เลขา สายรุ้ง บ้าเหร็ม
กรรมการ ได้แก่ 1) ปริม จันทร์แดง 2) สมทรง จันทร์แดง 3) วันดี แซ่ตั้น 4) ยิมมิละ สาลี
ที่ปรึกษา หนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ
ธัญญภัสร์ ข่าวดี
สิ่งที่จะทำในด้านสุขภาพ
1 ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้คำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน
2 ต้องมีการคัดกรองเบาหวาน ความดันในกลุ่มเสี่ยง
3 ต้องมีการติดตามผลการคัดกรอง
4 มีการส่งเสริมการออกกำลังกาย
5 เยี่ยมบ้านให้กำลังใจผู้ปกครองและครอบครัวที่มีลูกหลานเสพยาเสพติด
6 มีการผสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการบำบัดยาเสพติด
7 มีการให้ความรู้ในการดูแลตนเองและการป้องกันโรคในทุกช่วงวัย
8 เยี่ยมบ้านและให้กำลังใจผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

ด้านเศรษฐกิจ
ประธาน หย๊ะ หมาดตุด รองประธาน บุหลัน ติ่งเก็ม เลขา สุชาดา หลักศิลา
กรรมการ ได้แก่ 1) ยุพิน ทะเลลึก 2) สายพิน หมานหรา
สิ่งที่จะทำ
1 รวมทีมเก็บข้อมูล ค้นหากลุ่มเป้าหมาย
2 สร้างกลุ่มอาชีพ แปรรูปอาหารทะเล ปลาหวาน ปลาเค็ม ไตปลา จัดสานเตยปาหนั้น กระเป๋า เสื้อ หมวก
3 การท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชน
4 กองทุนสวัสดิการเงินออมแรกเกิด สูงวัย

ด้านสิ่งแวดล้อม
ประธาน รองประธาน มาลิสา ทองใส เลขา สุดารัตน์ พระคง
กรรมการ ได้แก่ พัชรมัย จิม้ง
สิ่งที่อยากทำ
1 ปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของสูงวัย
1.1 ห้องน้ำใช้แบบชักโคก
1.2 มีราวจับในห้องน้ำ
1.3 มีราวจับหน้าบันได
1.4 ปรับสภาพพื้นบ้านให้เป็นระดับเดียวกัน
2 ต้องมีการจัดการตั้งทีมคณะทำงานเพื่อการตรวจเยี่ยมผู้สูงวัย
2.1 ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจสูงวัย
2.2 ชุมชนมีระบบดูแลผู้สูงวัยให้มีระบบการขับเคลื่อนร่างการ
2.3 ให้ความรู้ผู้สูงวัยในการบริโภคอาหารและยารักษาโรค
3 ปรับภูมิทัศน์บริเวณหมู่บ้าน
3.1 การจัดการขยะในชุม
3.2 การจัดการลูกน้ำยุงลาย
3.3 หน้าบ้านสวยหลังบ้านสวยด้วยพืชผักสวนครัว

 

0 0

12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ

ทบทวนบันไดผลลัพธ์และความก้าวหน้าของโครงการ โดย นายสมโชค สกุลส่องบุญศิริ -นักวิชาการสาธารณสุข
- แนวทางในการใช้สมุดบันทึกผู้สูงอายุ โดย นายสมโชค สกุลส่องบุญศิริ
- ติดตามการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันสูง กลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป โดย คุณหมอหนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ -พยาบาลวิชาชีพ - การปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู
- ก้าวต่อไปเพื่อดำเนินงาน" สามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย " ตำบลเกาะลิบง
- ระดมความคิดเห็นกลุ่ม

ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 61 คน ประกอบด้วย อบต.เกาะลิบง, ตัวแทน อ.ส.ม, ตัวแทนวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง, รพ.สต. บ้านมดตะนอย, ตัวแทนโหนดเฟลกชิพตรัง (นายเชภาดร จันทร์หอม และนางสาวสริตา หันหาบุญ) โดยมีวิทยากร คือ นายตรีชาติ
เลาแก้วหนู -ม.อ.ตรัง

  • เตรียมรองรับสังคมสูงวัย มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านมิติสังคม ด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ แต่พบปัญหา สมุดบันทึกไม่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน โดยต้องเปลี่ยนเป็นแบบฟอร์ม แบบสำรวจข้อมูล ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน
  • อสม.ได้ทำการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป ซึ่งได้พบปัญหาของกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป มีกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย
  • อาจาย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู ได้แนะนำการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุให้มีความปลอดภัย ในการใช้ชีวิตประจำวัน พื้นบ้าน พื้นห้องน้ำต้องไม่ลื่น ทางเดินภายในบ้านต้องมีราวจับและได้ลงพื้นที่สำรวจห้องน้ำที่มัสยิด

 

0 0

13. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา มีวัตถุประสงค์ ได้แก่
1.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการย่อยสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์
2.เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียน ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานที่ผ่านมา และนำมาปรับปรุงวางแผนการดำเนินงานของหน่วยจัดการในระยะเวลาโครงการที่เหลืออยู่

ผู้เข้าร่วมประชุมรวม 70 คน
1.ตัวแทนคณะทำงานโครงการสวมภาคีสานพลังเตรียรองรับสังคมสูงวัย 11 โครงการ โครงการละ 5 คน จำนวน 55 คน
2.พี่เลี้ยง/ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการ จำนวน 8 คน
3.วิทยากร ( ผู้แทนภาคียุทธศาสตร์ภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาควิชาการ ) จำนวน 5 คน
4.แขกรับเชิญ ( องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/เกี่ยวข้างอย่างมีนัยสำคัญ ) ( Node flagship ) จังหวัดตรัง จำนวน 5 คน

ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตัวแทนคณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคม ต.เกาะลิบง จำนวน 5 คน คือ 1.นางสาวจิรารัตน์ แก้วพิทักษ์ 2.นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก 3.นางสาวธัญญภัสร์ ขาวดี 4.นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก และ 5.นางสาววันดี โปสู่
1.กิจกรรมเช็คอิน (check-in)
2.ต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดย นายแพทย์จำรัส สรพิพัฒน์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจังหวัดตรัง
3.ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม พร้อมแนะองค์กรภาคียุทธศาสตร์ที่ร่วมขับเคลื่อนสำคัญระดับจังหวัด โดย นางสุวณี สมาธิ ผู้จัดการหน่วยจัดการระดับจุดเน้นสำคัญ ( โหนดเฟลกชิพ ) ตรัง
4.บรรยายพิเศษ บทบาทและภาคกิจการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ปี 2566-2570 จังหวัดตรัง โดย นายอนันต์ อัครสุวรรนกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง
5.บรรยายพิเศษ บทบาทและภารกิจการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย นางสาวจามีกร ปิ่นสุข พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรังหรือตัวแทน
6.การสะท้อนผลลัพธ์การดำเนินโครงการฯ บทเรียน ปัญหาอุปสรรค จากการดำเนินงานที่ผ่านมา และวางแผนแนวทางการปรับแผนการดำเนินงานในช่วงเวลาที่เหลืออยู่

 

3 0

14. สำรวจจัดเก็บฐานข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ (รวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 4 มิติ)

วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ

09.00 - 10.00 น. ประชุมชี้แจงและทบทวนกลุ่มเป้าหมาย ตามโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย พร้อมให้กลุ่มพี่เลี้ยงเล่าตามรายละเอียด ขบวนการลงพื้นที่ไปดูพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย และเขียนใบสมัคร
10.00 - 15.00 น. นำรายชื่อที่ได้มาจากการสมัครใจ มารวบรวมและคัดแยกตามประเด็น

ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 คน คือ 1.นางสาววันดี โปสู่ 2.นางสาวบุหลัน ติ้งเก็บ 3.นางปู่เตะ หาดเด็น 4.นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก และ 5.นางหนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ

วิธีการ
1 สรุปรายชื่อที่ได้มาทั้งหมด แยกเป็นรายหมู่บ้าน
2 สรุปผลการสำรวจ ทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติสุขภาพ ( แยกตามกลุ่มเสี่ยง) มิติด้านสังคม (การเป็นสมาชิกกลุ่ม) มิติด้านเศรษฐกิจ (การออม) มิติด้านสิ่งแวดล้อม (การปรับสภาพบ้านไปสู่ผู้สูงอายุ)
3 สรุปรายชื่อ พร้อม ผลที่ได้จากการเก็บข้อมูล เพื่อนำเข้าที่ประชุม คณะกรรมการ

 

0 0

15. จัดทำบัญชี

วันที่ 8 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำบัญชี รายงานการเงินในระบบ HappyNetwork ตั้งแต่งวดที่ 1-3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้จัดทำบัญชี รายงานการเงินในระบบ HappyNetwork ตั้งแต่งวดที่ 1-3 คือ นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก เรียบร้อยสมบูรณ์

 

1 0

16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7

วันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมของแต่ละหมู่บ้านในช่วงที่ผ่านมา
ม.8 การออมยังไม่เคลื่อนที่ ผู้สูงอายุทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษา  นัดประชุมความปลอดภัยของผู้สูงอายุ 2-3 ครั้ง
ม.6 จะหย๊ะ สิ่งที่ทำ - คัดกรอง,ประชุมวันที่ 15 ของทุกเดือน, คุยกับโต๊ะอิหม่ำทุกวันที่ 2 ของทุกเดือนหลังละหมาด, สมาชิกการออม 105 คน ,สวัสดิการปี 365 บาท แจก 3 ราย นอน รพ.คืน 600 บาท, สตรีบ้านหาดยาว แปรรูปปลาหวาน รับซื้อขยะ
ม.8 คัดกรองเบาหวาน ความดัน
ม.3 คัดเลือกผู้สูงอายุ รอลงพื้นที่สำรวจสภาพบ้าน และ ร้านค้าต้นแบบ

ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 14 คน
การประเมินผล จะประเมินตามกลุ่มเป้าหมาย ได้กลุ่มเป้าหมาย 200 คน ครบแก้ว
1.การสร้างทีม มีคำสั่งอบต.รายชื่อคณะกรรมการ 38 คน
1.2 มีจุดข้อมูลทั้ง 4 มิติ เป้าหมาย 200 คน สูงอายุ 54 คน 35-59 146 คน
1.3 มีบทเรียน
2.สภาพแวดล้อม
2.1มีกติกาในชุมชน
2.2ต้นแบบร้านค้า 1 ร้าน ทั้งหมด ม.6 1 ร้าน นางปรานี สักหลัด ม.8 1 ร้าน นายสุบิน เที่ยงธรรม ม.3
3.มิติด้านสิ่งแวดล้อม ครัวเรือนมีการปรับสภาพบ้านปลอดภัย ม.3 1 คน ม.6 1คน นายพิมล สักหลัด ม.8 1 คน นายอะเบ็น ะระคง ช่างชุมชนมีแล้ว  4.มิติสังคม  กลุ่มอาชีพ เป้าหมาย - กว่าจะได้กรรมการเกือบ 4 เดือน - ข้อมูลเป้าหมาย 2 คน เราต้องรอให้ตรงกับนัดคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 35-59 ประจำปี - สำรวจกลุ่มเป้าหมายขาดแต่ละหมู่ - 27 ธ.ค 65 ตัวแทนนำเสนอการดำเนินงาน - ชี้แจงการเงิน

 

0 0

17. ลงพื้นที่เยี่ยมประเมินบ้านผู้สูงอายุ

วันที่ 25 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ

09.00 - 09.30 น.  รวบรวมสมาชิก วางแผนการลงพื้นที่
09.30 - 12.00 น.  เยี่ยมบ้าน นางสาวฮก ทะเลลึก กับ นางแหม๊ะน๊ะ ทะเลลึก
13.00 น -15.00 น.  เยี่ยมบ้าน นายหยัน ไมหมาด กับ นายบุหลาด พระคง

ณ ชุมชนบ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 14 คน โดยการสำรวจข้อมูลบ้านผู้สูงอายุ ได้แก่

1.นางสาว ฮก ทะเลลึก อายุ 83 ปี บ้านเลขที่ 7/1
ลักษณะบ้าน
1.บ้านท้องถุน
2.อยู่คนเดียว
3.ห้องน้ำห่างจากบ้าน 5 เมตร
4.โถนั่งยอง
5.พื้นห้องน้ำต่างระดับ
6.ไม่มีราวจับ บ้าน/ห้องน้ำ
7.ใช้ไม้เท้าในการเดิน
8.ห้องน้ำไม่มิดชิด/หลังคารั่ว ฝ้ากั้น
9.มีเงินออม
10.ไม่มีรายได้
11.มีผู้ดูแล น.ส.รัตนา ยีเจะเอ็ม

  1. นางแม๊ะนะ ทะเลลึก อายุ 83 ปี บ้านเลขที่ 125
    ลักษณะบ้าน
    1.บ้านท้องถุน
    2.อยู่คนเดียว
    3.ไม่มีห้องน้ำ/ห้องส้วม
    4.ไม่มีรายได้
    5.ไม่มีผู้ดูแล
    6.พร้อมช่วยสมทบ

  2. นาย บุหลาด พระคง อายุ 74 ปี บ้านเลขที่ 131
    ลักษณะบ้าน
    1.บ้านท้องถุน
    2.อยู่คนเดียว
    3.เป็นผู้พิการ
    4.ห้องน้ำแยก ห่างจากบ้าน 2 เมตร
    5.ห้องน้ำโถ่นั่งยอง
    6.ไม่มีราวจับ บ้าน/ห้องน้ำ
    7.มีเงินออม
    8.ใช้ไม้เท้าในการเดิน
    9.มีผู้ดูแล น.ส.ทิพยา ทะเลลึก

4.นาย หยัน ไมหมาด อายุ 70 ปี บ้านเลขที่ 31/1
ลักษณะบ้าน
1.บ้านปูน 2 ชั้น
2.อยู่ 6 คน
3.ห้องน้ำอยู่ในบ้าน/โถนั่งยอง/พื้นต่างระดับ
4.ไม่มีราวจับในบ้าน/ห้องน้ำ
5.ไม่มีรายได้
6.ไม่มีเงินออม

 

0 0

18. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8

วันที่ 26 ธันวาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน เพื่อรวบรวมข้อมูล ที่ได้มาทั้งหมด สรุปลงในแผ่นชาร์ต ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 คน คือ 1.นางหนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ 2.นางสาวยุพิน ทะเลลึก 3. นางสาวบุหลัน ติ้งเก้บ 4.นางสาววันดี โปสู่ และ 5.นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก

สรุปกระบวนการทำงาน
1. การพัฒนากลไกคณะทำงาน - จุดเริ่มต้นมีการร่างคณะทำงานก่อนว่าจะมีใคร/หน่วยงาน ไหนที่จะเข้ามาร่วมขับเคลื่อนโครงการบ้าง ( แบบใบร่าง )
- คณะกรรมการบริหารโครงการ ได้มีการจัดประชุมแกนนำจาก 3 หมู่บ้าน เพื่อให้ค้นหา/คัดเลือก บุคคลที่จะมาร่วมเป็นคณะกรรมการ
- ประชุมทำความเข้าใจกับการทำงาน เพื่อให้มีความเข้าใจโดยการร่วมกันก่อนลงมือดำเนินงาน
- แบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตามมิติ 4 มิติ ( ด้านสุขภาพ,สังคม,สิ่งแวดล้อม,เศรษฐกิจ ) โดยคัดเลือกประธานการดูแลในแต่ละมิติพร้อมคณะกรรมการ
- คณะกรรมการแต่ละมิติ การออกแบบการทำงนของตนเองเพื่อไปสู่ความสำเร็จของโครงการ
- มีการติดตามผลการดำเนินงานผ่านการประชุมทุกเดือน โดยมีการให้แต่ละกลุ่ม แต่ละหมู่บ้าน รายงานความก้าวหน้าในการทำโครงการ เสนอ ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน และวางแผนการดำเนินงานเพื่อไปสู่ความสำเร็จของโครงการ

2 บทเรียนการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ชุดข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล 4 มิติ ( มิติสุขภาพ,สังคม,สภาพแวดล้อม,เศรษฐกิจ )
- อสม.ออกสำรวจข้อมูลตามรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 200 คน ครั้งที่1 สำรวจโดยใช้สมุดบันทึกสุขภาพ " เตรียมสูงวัย " หลังสำรวจนำข้อมูลมารวบรวม พบว่า " ได้ข้อมูลไม่ครอบคลุม 4 มิติ"
- ออกแบบรายงานการเก็บข้อมูลชุดที่ 2  โดยใช้แบบสำรวจข้อมูล " ตามโครงการ สามภาคีสานพลัง เตรียมรองรับสังคมสูงวัย ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง "  ซึ่งออกแบบการเก็บข้อมูล ครบ 4 มิติ
- ส่งแบบฟอร์มข้อมูลให้กับคณะกรรมการแต่ละหมู่บ้านสำรวจข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย ตามรายชื่อ 200 คน
- คณะกรรมการแต่ละหมู่บ้านส่งแบบฟอร์มพร้อมข้อมูลที่สำรวจแล้วกลับมายังคณะกรรมการบริหาร
- คณะกรรมการรวบรวมข้อมูลแต่ละมิติ พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลซ้ำ โดยการสอบถามเพิ่มเติมในกรณีไม่ถูกต้อง
- เตรียมข้อมูลที่รวบรวมได้ไปวางแผนเพื่อออกแบบในการดูแลและสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการตนเองตามกลุ่มเป้าหมาย

3.บทเรียน การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ " เตรียมรองรับสังคมสูงวัย "
- ขอข้อมูลกลุ่มอายุ 35-59 ปี และกลุ่ม 60 ปีขึ้นไป จาก รพ.สต.บ้านมดตะนอย
- จัดสรรโควต้า ให้แต่ละหมู่ เพื่อไปค้นหาเป้าหมายของตนเองในแต่ละหมู่บ้าน
- แต่ละหมู่บ้าน นำเป้าหมายมาพูดคุยกัน ในแต่ละเขตการรับผิดชอบของ อสม. และค้นหาเป้าหมายประชาชนในเขตรับผิดชอบของแต่ละ อสม. เข้าร่วมโครงการ
- ส่งรายชื่อ กลุ่มเป้าหมายมายังคณะทำงาน เพื่อรวบรวมและกลั่นกรอง
- ส่งข้อมูลกลับให็พื้นที่แต่ละหมู่บ้าน รับทราบว่ามีใครบ้าง ที่เข้าร่วมอยู่โครงการสรุปข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในโครงการ กลุ่มอายุ 35-59 ปี จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 73 กลุ่ม 60 ปีขึ้นไป จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 27
- ทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโครงการและบทบาทของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ว่าต้องมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง
- คณะทำงานของแต่ละหมู่บ้าน ออกเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย

 

0 0

19. เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส.

วันที่ 27 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมถอดบทเรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการดำเนินงานโครงการส่ามภาคีสานพลัง เตรียมรองรับสังคมสูงวัย สู่การพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม
กำหนดการเวลา 10.00 น.-16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารเอนกประสงค์ริมชายหาดหัวหิน ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ 1.นางสาววันดี โปสู่ และ นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก

1.การจัดตั้งคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ในระดับตำบล ปัจจัยความสำเร็จ
- สามภาคีให้ความร่วมมือ
- ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน บุคคลที่คนในชุมชนเคารพ มาร่วมดำเนินงาน - คณะทำงานชุดใหญ่ คณะทำงานชุดเล็ก รู้บทบาทหน้าที่ ชัดเจน มีความรู้
- มีการประชุมคณะทำงานชุดเล็ก บ่อยครั้งตามกิจกรรม บันใดผลลัพธ์
- มีแผนการดำเนินงานครบทุกด้าน ประเมินผล
- มีการกำหนดระยะเวลาดำเนินกิจกรรมโครงการ

 

10 0

20. ส่งเสริมการจัดกิจกรรม กลุ่ม ส่งเสริมการออม (จัดทำเวทีประชาคม การออม)

วันที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ
09.00-11.00 น. ลงพื้นที่สำรวจผู้สูงอายุ เรื่อง การออม
11.00-12.00 น. สุรุปผู้สูงอายุที่มีการออม
13.00-16.30 น. ประชาคม เรื่อง การออม

ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 35 คน โดยจากการสำรวจ ผู้สูงอายุ ของ ม.3 ส่วนใหญ่ มีรายไม่มีรายได้ที่แน่นอน รับจ้างทั่วไป ขายขยะ แกะปู รายได้จากเงินผู้สูงอายุ และ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทั้งหมด 103 คน
พบว่า มีการออม แค่ 70 คน และมีผู้สูงอายุสนใจการออม คิดเป็นเปอร์เซ็น 95 % และไม่สนใจแค่ 5%บางคนมีการออมบ้าง ออมบ้างไม่ออมบ้าง
มีการออกความคิดเห็นจากผู้สูงอายุ ว่า การออมไม่จำเป็นต้องออมเป็นเงิน การประหยัดไฟก็ถือว่าเป็นการออม การพบขยะที่ลอยมาที่หาดนำมาขายก็ถือว่าเป็นการออม จะบุหลัน พูดเรื่องการออม ว่าเพื่ออนาคตข้างหน้า คณะกรรมการเสนอให้ผู้สูงอายุว่า มี 3 ตัวเลือก
รูปแบบที่1 เวียนกันให้เวียนกันได้ จะเป็นการได้เงินก้อน แต่ต้องมีคนค้ำ ไม่มีสวัสดิการ
รูปแบบที่ 2 การออมแบบขายขยะ  สะสมเงินที่ได้จากการขายขยะ ถอนได้ เดือนละครั้ง
รูปแบบที่ 3 เพื่อนช่วยเพื่อน โครงการวันละ 1 บาท มีสวัสดิการ ไม่ได้เงินคืน
สรุปผู้สูงอายุ เลือก การออมแบบโครงการวันละ 1 บาท และโครงการ การออมแบบขายขยะ

 

0 0

21. อบรมให้ความรู้

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการประชุมคณะทำงาน

เวลา 09.30-09.45 น.  ลงทะเบียน
เวลา 09-45-10.00 น.  ทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการผู้สูงอายุ
เวลา 10.00 - 12.00 น. ให้ทุกคนโหลดแอป iMed@home พร้อมสมัครและลงทะเบียน
เวลา 13.30 -16.30 น.  อบรมให้ความรู้วิธีการใช้แอป พร้อม ลองทำจริง

ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 49 คน ประกอบด้วย อสม., ชุมชนมดตะนอย และคณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต.เกาะลิบง
- มีการสอนให้ทุกคนใช้ app iMed@home โดยสมัครสมาชิกและทางกรรมการได้เพิ่มผู้สูงอายุเข้าไปในระบบแล้วพร้อมให้ อสม ได้ลองทำดู ในการเยี่ยมบ้านและ คัดกรอง ADL
- ได้ให้ทุกคนเพิ่มบ้านผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ
- คณะกรรมการทุกคน สามารถใช้ แอป iMed@home ได้ พร้อมลงพื้นที่ คัดกรอง ADL

 

0 0

22. เวทีร่วม ARE

วันที่ 28 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน
ช่วงเช้า 09.00-12.00 น.

  • ร่วมทำกระบวนการเวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)
  • ทบทวนบันไดผลลัพธ์ ว่าเดินมาถึงขั้นไหนแล้ว ทำอะไรได้
  • กำหนดกิจกรรมที่จะทำภายในเดือน พ.ค นี้

ช่วงบ่าย 13.00-16.30 น.

  • แบ่งกลุ่มดึงรายชื่อกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบของตัวเอง
  • สรุปลงแผ่นชาตพร้อมพีเซนเพื่อนำมาสรุปเป็นข้อตกลง
  • กิจกรรมที่จะทำต่อไป

ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน ประกอบด้วย กลุ่มอสม., รพ.สต. และคณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย - คณะทำงานได้เล่าการทำงานที่มา โดยให้คณะทำงานทบทวนว่าที่ผ่านมาได้ทำงานอะไรไปบ้างแล้ว
นางสาวมาลิสา ทองใส ได้เล่าว่า ได้ไปตรวจสภาพบ้านของผู้สูงอายุ ในห้องน้ำ ในครัว และบริเวณบ้าน พร้อมพูดคุยกับเจ้าของบ้านว่า น่าจะมีราวจับในการเดินเข้าห้องน้ำ และ เขาจะมาช่วยเอง
นายมุสเก็บ ทะเลลึก ได้คุยเรื่องการลงไปเยี่ยมด้านสุขภาพ การกิน ได้แนะนำให้คนอายุ 35 ปี ขึ้นไป พยายามเรื่องการออกกำลังกาย และให้ความรู้เรื่องการออม
จะนี ม.6 ได้ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน ประชุมทุกวันที่ 15 ของทุกเดือน และได้ตกลงกันทำการออมวันละบาท และมีสมาชิกสมัครกันมากขึ้น
จะอ้อม ม.8 ได้ไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ เห็นเป็นบ้านทุดโทรม อยู่ 2 คน ตายาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง และได้เดินไปประชาสัพนธ์เรื่องการออม ไม่ว่าจะออมเรื่องอะไหรก็ตาม ขอให้มีการออม
จะงี้ ม.8 ได้ดูแลเรื่องคนไข้ติดเตียง ไปช่วยเรื่อง เปลียนผ้าอ้อม

บันไดที่ 1 - เรามีกลไกลคณะทำงานที่เก่ง
- เรามีภาคีมาเข้าร่วมโครงการ
- เรามีชุดข้อมูลรายชื่อ
- เรามี สมาชิกที่เข้าร่วมครบเป้าหมาย 200 คน
- กรรมการดึงรายชื่อ ที่เขตรับผิดชอบของตัวเอง
แบ่งกลุ่ม แต่ละกลุ่มโดยมีโจทย์ 2 ข้อ 1) ในฐานะเป็นกรรมการสูงวัย เราทำอะไรกันบ้างแล้ว ทั้ง 4 ด้าน 2) สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นในหมู่บ้านคืออะไร ม.6 ต.เกาะลิบง
ข้อ 1
-ได้เข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง พร้อมสอบถาม เรื่องการดูแล
- ได้ร่วมกันรณรงค์เก็บขยะ
- ได้ประชาสัมพันธ์เรื่องการออมวันละบาท และทุกเดือนสมาชิกเพิ่มขึ้น
- ได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่อง ข้อ 2
-อยากให้มีกิจกรรมต่อเนื่อง
-อยากให้หมู่บ้านสะอาดและปลอดภัย
-อยากให้คนในชุมชนเข้าใจกัน
-อยากให้มีการออมมากขึ้นและจ่ายพอเพียง

ม.3 ต.เกาะลิบง ข้อ 1
-ได้คัดกรองกลุ่มเสี่ยง
-ได้คัดกรองประเมิน 9 ด้าน
-มีการประเมินบ้านผู้สูงอายุ
-ออมวันละบาท ออมขยะ
-อยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง
-รับฟังปัญหาของทุกฝ่าย
-ปลูกผักส่วนครัว
ข้อ 2
- อยากให้มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งเพราะบางบ้านยังทิ้งไม่ถูก
-อยากให้มีการออม อย่างน้อย 1 คน 1 ครัวเรือนไม่ว่าจะออมแช์ ออมเงิน ออมทอง
-ช่วยตักเตือนเวลามีกลุ่มกินข้าว
-อยากให้เวลากินเสร็จ ห้ามนอน ให้มีกาารออกกำลังกาย
-มีการนำขยะมาขาย
-จ่ายแบบประหยัด
-ออกกำลังกายทุกสัปดาห์
-มีการแยกขยะทุกครัวเรือน

ม.8 ต.เกาะลิบง ข้อ 1
-ลงเยี่ยมบ้านสูงวัย/แนะนำการกินอาหาร/ออกกำลังกาย
-จัดระเบียบรอบบ้านให้ปลอดภัย/ห้องน้ำต้องมีราวจับ
-ปลูกผักกินเอง
-เชิญชวนผู้สูงอายุให้มีส่วนร่วมทุกกิจกรรม
ข้อ 2
-เริ่มจากแกนนำในหมู่บ้าน เช่น ผญ บ้าน อสม อบต ให้เป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย
-จัดบริเวณบ้านให้สะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย และขยะมีการคัดแยก
-เชิญชวนให้ผู้สูงอายุมีสวนร่วมในทุกกิจกรรม
-เชิญชวนให้มีการปลูกผักกินเอง

กิจกรรมที่จะทำต่อไปของโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยต.เกาะลิบง คือ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย ปลูกต้นไม้รักษ์โลก

 

0 0

23. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่ 2

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนกิจกรรมเช็คอิน

09.00-10.30 น. ต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม- นายแพทย์จำรัส สรพิพัฒน์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ จังหวัดตรัง / ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และแนะนำองค์กรภาคี-นางสุวณี สมาธิ ผู้จัดการหน่วยจัดการระดับจุดเน้นสำคัญ (โหนดเฟลกชิพ) ตรัง / ทบทวนบรรไดผลลัพธ์โครงการต่อเป้าหมายการพัฒนา ตรังเมืองแห่งความสุข คุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน-นายเชภาดร จันทร์หอม ผู้ประสานงานหน่วยจัดการระดับจุดเน้นสำคัญ (โหนดเฟลกชิพ) ตรัง

10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง

10.45-12.00 น. จัดกลุ่มๆละ 3 พื้นที่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จำนวน 8 กลุ่ม

13.00-16.00 น. หมุนฐานการเรียนรู้ และแยกกลุ่มระหว่างพื้นที่สรุปสิ่งที่ทำได้ดีและสิ่งที่จะดำเนินการเพิ่มเติมในระยะเวลาเหลืออีก 1 เดือน

16.00-16.30 น. สรุปการประชุม ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร-นายสำราญ สมาธิ, สามภาคีสานพลังรองรับสังคมสูงวัย-นางจำเนียร มานะกล้า และประเด็นวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย-นางธิดารัตน์ สุภานันท์

16.30 น. ปิดการประชุม

ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 คน คือ 1.นางหนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ 2.นางสาวธันยธรรณ์ ไมยโพธิ์ 3.นางสาววนิดา บุญญา 4.นางสาววันดี โปสู่ และ 5.นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก

  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการได้ร้วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการย่อย และการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการได้สะท้อนปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานที่ผ่านมา
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการได้ข้อเสนอแนะในการนำมาปรับปรุงวางแผนการดำเนินงานในระยะเวลาที่เหลืออีก 1 เดือน

 

3 0

24. ส่งเสริมอาชีพการปลูกผักให้กับกลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ

เวลา 09.00-09.30 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน
เวลา 09.30-10.00 น. ทบทวนโครงการสูงวัยกันตังใต้ ชวนทีมทบทวนบันไดผลลัพธ์ทั้ง 4 มิติ
เวลา 10.00-12.00 น. อบรมให้ความรู้ การทำถังขยะอินทรีย์สวนผักรักษ์โลก โดยวิทยากร ว่าที่ รต.หญิงฐิติรัตน์ หนิษฐา ครู กศน.กันตัง
เวลา 13.00 -16.00 น. อบรมวิธีการจัดทำถังขยะอินทรีย์พร้อมสอนวิธีการเตรียมดินและการปลูก โดย นายสมโชค สกุลส่องบุญศิริ

ณ รพ.สต. บ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมี 35 คน และ ทบทวนบันไดผลลัพธ์ทั้ง 4 มิติ
- อบรม เรื่อง การปลูกผักรักษ์โลกด้วยขยะเปียกคือการลดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน โดยวิทยากร รต.หญิงฐิติรัตน์ หนิษฐา ครู กศน.กันตัง
โดยดูคลิปวีดีโอของ 2 พื้นที่ วิธีการปลูกผัก และขั้นตอนในการปลูกผัก การเตรียมดิน การปลูกผักเพื่อสร้างรายได้จากขยะอินทรีย์
ทำให้เราได้ใช้ประโยชน์จากเศษอาหารเพื่อมาทำเป็นปุ๋ยปลูกผัก ซึ่งผู้ที่ไม่มีพื้นที่ก็สามารถทำได้ มีผักกินเองและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ช่วง 13.00-16.00 น.
ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้พร้อมฝึกปฏิบัติการเตรียมดินสำหรับปลูกผัก วิธีการทำ การเตรียมอุปกรณ์
1) กะลังมังใบใหญ่ 1 ใบ 2) ถังน้ำพร้อมฝา 1 ใบ 3) กระถางต้นไม้ 1 ใบ 4) ดิน 3 สอบ 5) 5 ข้อต่อตรงเกลียวนอก PVC 6) พดมะพร้าว 7) พันธุ์ผักต่างๆ
วิธีการทำ
1) นำกระถางปลูกต้นไม้มาเจาะรูรอบๆ ข้าง
2) หลังจากเจาะรูเสร็จแล้วนำมาใส่ซ้อนกับถังน้ำที่มีรูข้างล่าง เพื่อใส่เศษอาหาร
3) เจาะกะลังมังเพื่อใส่ข้อต่อตรงให้น้ำระบายออก
4) ใส่พดมะพร้าวในกะลังมังเพื่อรองไม่ให้ถังขยะอินทรีย์ติดกับกะละมัง
5) ใส่ดินในกะละมังให้เสมอกับถังขยะอินทรีย์

 

0 0

25. ปรับสภาพแวดล้อมห้องน้ำมัสยิดเพื่อความปลอดภัย

วันที่ 3 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • จากการเก็บข้อมูล ของคณะกรรมการพบว่า ห้องน้ำส่วนใหญ่ไม่ปลอดภัยทำให้เกิดการหกล้มได้ง่าย และห้องน้ำเป็นโถนั่งย่อง พื้นลื่น ไม่มีราวจับ
  • ทีมได้ตกลงจะปรับพื้นที่สาธารณะให้เป็นต้นแบบโดยได้จัดทำที่มัสยิดในชุมชน โดยการเตรียมอุปกรณ์ที่จะติดตั้งในห้องน้ำให้ปลอดภัย และจัดหาช่างชุมชนในการดำเนินการ

ณ มัสยิดบ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 21 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการและช่างชุมชน รวมไปถึงตัวแทนมัสยิดได้ช่วยกันทำห้องน้ำมัสยิดโดยการทุบพื้นเก่าออกเพื่อปูพื้นไหมโดยปูพื้นกระเบื้องแบบหยาบพร้อมเปลี่ยนโถ่นั่งเป็นโถ่นั่งราบ และมีการติดราวจับที่ฝาผนังห้องน้ำ ซึ่งอุปกรณ์สำหรับปรับปรุงห้องน้ำมัสยิดให้ปลอดภัย ได้แก่ โถนั่งราบ กระเบื้องแบบหยาบ กาวยาแนว สายฉีดชำระ สต๊อปวาว ราวกันลื่นตัวที ปูนเสือ และทรายหยาบ ทำให้ชุมชนได้ห้องน้ำมัสยิดที่ปลอดภัย

 

0 0

26. เยี่ยมติดตามกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการ

09.00 น. นัดรวมตัวทีม ที่ร้านค้าจะปูเต๊ะ เพื่อลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 09.30 น. ชี้แจงรายละเอียดในการติดตามเยี่ยมเสริมพลัง
10.30-12.00 น. เยี่ยมบ้านนายบิสน ทะเลลึก
13.30-14.30 น. เยี่ยมบ้านนางสาวนงคราญ ติ่งเก็ม
14.30-16.00 น. สรุปผลการเยี่ยมบ้านทั้ง 2 หลัง

ณ ชุมชนบ้านมดตะนอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 17 คน โดยผู้ใหญ่บ้านได้ชี้แจงการเยี่ยมบ้านในของ ม.3 มี 2 หลัง คือ บ้านนายบิสน ทะเลลึก และนางสาวนงคราญ ติ่งเก็บ เพื่อไปเยี่ยมเสริมพลังให้กับคนที่ทำดี หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมจึงร่วมกันสรุปการเยี่ยมบ้านนายบิสน ทะเลลึก โดยสำรวจกะละมังถังขยะอินทรีย์ ปรากฎว่าผักที่ปลูกเจริญเติบโตได้ดี ทีมจึงได้ถามว่า ทำอย่างไรผักจึงเติบโตได้ดี คำตอบ คือ เริ่มต้นตั้งแต่การเตรียมดิน และพักดินไว้ 3 วัน โดยการนำเศษอาหารมาทิ้งในถังขยะรักโลก และโรยเมล็ดผัก ขยายพื้นที่ต่อโดยซื้ออุปกรณ์มาเพิ่ม และทีมได้ตั้งคำถามเพิ่มว่า ทำไมถึงซื้อเพิ่ม? คำตอบ.เศษอาหารในถังเดิมไม่ทันย่อยทันกับการใช้ จึงต้องการเพิ่มถังหมัก อีกทั้งผักเจริญเติบโตได้ดีและประหยัดพื้นที่ โดยผักสามารถโตเร็วโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยอื่นเลย และไม่กี่วันก็ขายได้แล้ว ทั้งกินเองและสร้างรายได้แถมลดรายจ่าย และบ้านหลังที่ 2 คือ นางสาวนงคราญ ติ่งเก็บ ผักที่ปลูกแน่นเกินไป ผักเลยไม่โตง่าย แต่ปลูกพืชได้หลายชนิด และเจ้าของบ้านกล่าวว่าช่วงมรสุมเข้าจะทำให้น้ำเค็มซัดเข้ามาเกือบถึงแปลงผัก ทำให้ผักเหลือง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตอย่างมาก

 

0 0

27. การต่อยอดส่งเสริมอาชีพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

วันที่ 3 สิงหาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • จัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อทำการอบรม
  • ลงทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรม
  • อบรมการปลูกผักในถังหมัก
    (ใช้งบร่วมกับ กศน กันตัง)

ณ 104/3 ม.3 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • การจัดเตรียมอุปกรณเพื่อทำการปลูกผัก มี
    1) กะละมัง 2) ตะกร้า 3) ถังน้ำ 4) ดินปลูก 5) ถ่าน 6) เปลือกในมะพร้าว 7) พันธุ์ผัก
  • ลงทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย โดย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ ม.3 และ ม.8, อสม., กรรมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย, ครูการศึกษานอกสถานที่ รวมถึงคณะทำงาน/พี่เลี้ยง
  • อบรมการจัดการขยะครัวเรือน
    กลุ่มเป้าหมาย ม.3 ,8 โซนละ 2คน มีครู กศน. ต. เกาะลิบง หมอโชค เป็นวิทยากร คือ นายบิสน ทะเลลึก เป็นบุคคลต้นแบบในการปลูกผักข้างบ้าน โดยมีการทำถังขยะแบบฝังดินที่ประยุกต์ออกแบบใหม่ที่ใช้กะละมัง ตะกร้า ถังที่เหลือใช้ หลักการคือมีกลิ่นในถัง นอกถังไม่มีกลิ่นเพราะมีถ่านรองรับ รวมถึงครูการศึกษานอกสถานที่อ.กันตัง ได้สอนวิธีการปลูกผักในผู้สูงอายุ การประกอบอุปกรณ์ และได้ทดลองให้กลุ่มเป้าหมายดูว่าวิธีการปลูกเป็นอย่างไร โดยให้ตัวแทนกลุ่มสาธิตวิธีการปลูกและได้แจกอุปกรณ์กลุ่มเป้าหมายไปใช้ที่บ้าน และจะมีการนัดเยี่ยมชมติดตามแต่ละบ้าน

 

0 0

28. ปรับสภาพห้องน้ำมัสยิด

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้กับห้องน้ำมัสยิด 2 หมู่บ้าน ประกอบด้วย ม.6 และ ม.8 ต.เกาะลิบง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้ติดตั้งราวจับเพื่อแก้ปัญหาการหกล้มของผู้สูงอายุ ทั้งหมู่6 และ หมู่8 ต.เกาะลิบง จ.ตรัง และจ้างช่าง คือ นายวิรัตน์ จิหม้ง เพื่อเปลี่ยนท่อระบายน้ำห้องน้ำของหมู่ 8

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มีศักยภาพในการ เตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล
ตัวชี้วัด :
1.00

 

2 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.1 มีกลไกคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจำนวน ๑๕ คน ที่ ประกอบด้วยภาคีที่หลากหลาย ประกอบด้วย ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ ได้แก่ รพ. สต. อสม. ภาคีภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุ ท้องที่ และแกนนำกลุ่ม องค์กรภาคประชาชน 1.๒ มีการนำเข้าข้อมูลคนเปราะบาง (ผู้สูงอายุ คนพิการและคนยากจน) เข้าสู่ ระบบ imed @home
1.00

พื้นทีโครงการพยายามออกแบบกลไกคณะทำงาน ออกเป็น 4 มิติ โดยมีคณะกรรมการบริหารโครงการ เป็นผู้เชื่อมกรรมการทั้ง4 มิติ และมีหน้าที่ในการรายงานผล การจัดการเรื่องการเงินการบัญชี

3 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย
ตัวชี้วัด : มิติสุขภาพ 2.1 มีกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัยสูงวัย แข็งแรง 2.2 มีการรณรงค์ให้ความรู้เชิดชูเกียรติผู้ที่มีการดูแลสุขภาพปลอดโรคปลอดภัย 2.3 มีร้านลดหวานมันเค็ม 1 ร้าน 2.4 มีระบบดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) ผ่านมาตรฐานร้อย ละ 80** มิติสภาพแวดล้อม 2.5 มีครัวเรือนที่มีการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เจ้าบ้านปรับ เอง/ปรับโดยชุมชน/ปรับโดยหน่วยงาน เช่น อปท. พมจ. ) อย่างน้อยจำนวน ๒ ครัวเรือน 2.6 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด หรือ มัสยิด หรือ ศาลเจ้า หรือ อาคารและ สถานที่ของราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่าง น้อย 1 จุด 2.7 มีช่างชุมชน/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถ ให้คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน
1.00

1.ปรับสภาพแวดล้อมห้องส้วมปลอดภัย 3 มัสยิดๆละ1ห้อง 2.ปรับสภาพแวดล้อมครัวเรือนโดยการจัดการให้มีการปลูกผักกินเองในถังขยะอินทรีย์

4 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม
ตัวชี้วัด : มิติสุขภาพ 3.1 กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ/มีพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25 มิติสังคม 3.2 กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 25 มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียน ผู้สูงอายุ/กลุ่มอื่นๆ ) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 3.3 กลุ่มเป้าหมายมีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 10 3.๔ กลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ร้อยละ 25 มิติเศรษฐกิจ 3.๕ กลุ่มเป้าหมายมีการออมเตรียมสูงวัยด้วยเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินในชุมชน ธนาคาร กอช. ประกันตนเองมาตรา 40 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างน้อย 2 รูปแบบ ร้อยละ 25

 

5 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
ตัวชี้วัด : ด้านสุขภาพ 4.1 กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 10 มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ร้อยละ 5 4.2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ5 4.3 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อย ละ5 4.4 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 4.5 กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 4.6 กลุ่มติดเตียง ได้รับการดูแลร้อยละ 80
1.00

1.มีการสนับสนุนให้มีอุปกรณ์ในการคัดกรองความเสี่ยง ทั้ง 8กลุ่มโซน อสม. ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการคัดกรองได้มากขึ้น 2.อสม.แต่ละกลุ่มโซนคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานความด้นโลหิตสูง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2565 กำหนดส่งรายงานการคัดกรอง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565
3.ระหว่างการดำเนินการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไป อสม.ดำเนินการรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการเตรีบมรองรับสังคมสูงวัย ตามความสมัครใจของแต่ละกลุ่มโซน โดยกำหนดกลุ่มอายุ 35-59 ปี ครอบคลุม ร้อยละ 80 กลุ่มอายุ 60ปีขึ้นไปครอบคลุมร้อยละ 20 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินกิจกรรม

6 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล
ตัวชี้วัด : 5.1 มีการบรรจุแผนงานโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูง วัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและหรือกองทุนสุขภาพตำบล 5.2 มีและใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนในการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของพื้นที่  

สนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนแผนที่สอดคล้องกับการดำเนินงานปกติของพื้นที่ โดยเริ่มจากการปรับมุมมอง ปรับวิธีการคิดมองผลลัพธ์ให้ครอบคลุมทั้ง ๔ มิติ ที่มีความเชื่อมโยงกันผ่านการจัดทำโครงการของแต่ละพื้นที่

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น(ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน)มีศักยภาพในการ เตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล (2) 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง (3) 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย (4) 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม (5) 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (6) 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง (2) พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (3) พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ (4) คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (5) พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล (6) ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (7) บัญชีธนาคาร (8) เวทีประเมิณผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (9) เวทีประเมิณผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (10) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 (11) ให้ความรู้ระดับครัวเรือนเรื่องการปรับ สภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (12) เวทีปฐมนิเทศโครงการ (13) พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ  ครั้งที่1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ) (14) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (15) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 (16) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 (17) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 (18) พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org) (19) ร่วมกำหนดทิศทางการ เตรียมรองรับสังคมสูงวัย (20) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 (21) อบรมให้ความรู้ (22) สำรวจ จัดเก็บ ฐานข้อมูล เตรียมรองรับสังคมสูงวัย ๔ มิต (23) จัดทำกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อ รักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัย สูงวัย แข็งแรง (24) ค้นหาบุคคลต้นแบบ ร้านค้าต้นแบบ ใน การสร้างสุขภาพ (25) ส่งเสริมการจัดกิจกรรม กลุ่ม ส่งเสริมการออม (26) ติดตามเยี่ยมเสริมพลัง กลุ่มติดเตียง โดยการมีส่วนร่วม (27) จัดทำบัญชี (28) การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ (29) จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ (30) จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินโครงการ (31) เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด  ครั้งที่1 (32) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 (33) พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (34) เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด  ครั้งที่ 2 (35) เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส. (36) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 (37) ลงพื้นที่เยี่ยมประเมิณบ้านผู้สูงอายุ (38) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 (39) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 (40) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10 (41) เวทีร่วม  ARE (42) ส่งเสริมอาชีพการปลูกผักให้กับกลุ่มเป้าหมาย (43) ปรับสภาพแวดล้อมห้องน้ำมัสยิดเพื่อความปลอดภัย (44) เยี่ยมติดตามกิจกรรมส่งเสริมอาชีพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (45) การต่อยอดส่งเสริมอาชีพเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (46) ปรับสภาพห้องน้ำมัสยิด

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0011

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายมะหมีด ทะเลลึก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด