directions_run

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหิน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหิน
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-01144-0002
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาองค์กรชุมชนตำบลบ่อหิน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเกษม บุญญา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 093-0561753
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ tipsuda494402014@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ วณิภา ทับเที่ยง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
2 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 60,000.00
3 1 ก.พ. 2566 31 มี.ค. 2566 1 ก.พ. 2566 31 พ.ค. 2566 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าโครงสร้างประชากรของประเทศไทย กลุ่มประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้าน สาธารณสุขและทางแพทย์ ทำให้อัตราการลดลง ผู้สูงอายุตายจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบ จากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่ อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็น ปูชนีย์บุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก และ เป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย สถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุไทยในปี 2565 มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12.12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.3 ของประชากรไทยทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 96 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดคือ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) โดย ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นในบางกิจกรรมของกิจกรรม ของกิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) และผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด(ติดเตียง)ประมาณร้อยละ 1 โดยส่วน ใหญ่อยู่ในวัยมากกว่า 80 ปี ซึ่งผู้สูงอายุในช่วยวัยปลายหรืออายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ แม้ว่าประชากรไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น แต่กลับตามมาด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังยาวนานขึ้น และ โอกาสที่จะอยู่ในภาวะพึ่งพิงเนื่องมาจากการมีทุพพลภาพและผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปัญหา สำคัญของผู้สูงอายุ คือ ประเด็นสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในด้านสุขภาพจากผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุ ไทยปี 2557 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีปัญหาสุขภาพด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายและอัมพาต รวมทั้งยังมีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 26.5 มีการออกกำลังกาย เป็นประจำ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้ งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ในปี 2560 มี ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 33.7 ส่วนด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 10 เคยมีประสบการณ์ในการหกล้ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ภายในบ้าน เช่น ราวจับ และการปรับสภาพพื้นที่ในบ้านและนอกบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและ ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 ป้องกันการหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอันนำไปสู่ภาวะติดบ้านและติดเตียงตามมา ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 34.3 เป็นผู้สูงอายุที่ยากจน โดยผู้สูงอายุ 4.4 ล้านคน (ร้อยละ 37) ยังคงทำงานอยู่ ซึ่ง ผู้สูงอายุชายทำงานมากกว่าผู้สูงอายุหญิงเกือบ 2 เท่า อีกทั้ง ในปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งการ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นง่ายต่อการสื่อสาร แต่มีทั้งคุณและโทษ จึงควรพัฒนาช่องทางสื่อสารไปยังผู้สูงอายุเพื่อให้เกิด การเข้าใจปัญหา และการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา เช่น การแก้ไขปัญหาข่าวลวง และความเชื่อที่ไม่มี หลักฐาน สำหรับจังหวัดตรังพบว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 17.24 และประชากรอายุ 15-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 64.84 ประชากรอายุ 0.14 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.51 เพิ่มตามธรรมชาติ ร้อยละ ๐.๒๑ ภายในปี ๒๕๗๒ จะมีประชากรกลุ่มนี้กลายเป็นผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๓๐ ของประชากรจังหวัดตรังซึ่งจะ ทำให้จังหวัดตรังเข้าสู่สังคมสูงวัยสุดยอด (ข้อมูลเมื่อ เดือน ธันวาคม 2564) สถานการณ์ประชากรในจังหวัดตรังสามารถจำแนกเป็นกลุ่มสูงอายุส่วนใหญ่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ ต้องพึ่งผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๒๙ ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 3.71 เป็นผู้สูงอายุที่ต้อง พึ่งพิง ประชากรกลุ่มอายุ ๕๐-๕๙ ปีป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๒๒.๒๒ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๐.๓๐ ประชากรกลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๔๘ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๗.๒๔ (ที่มา: HDC Report สสจ.ตรัง, กันยายน ๒๕๖๒) ตำบลบ่อหิน มีประชากรทั้งหมด 7,276 คน แยกเป็นประชากรอายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 335 คน ประชากร อายุ 5-19 ปีจำนวน 1,471 คน ประชากรอายุ 20-39 ปีจำนวน 2,349 คน ประชากรอายุ 40-59ปี จำนวน 2,182 คน และมีประชากรผู้สูงอายุ (60 ขึ้นไป) จำนวน 1,039 คน คิดเป็นร้อยละ 14.28 ของ ประชากรทั้งหมด มีจำนวนผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) จำนวน 862 คน ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) จำนวน 145 คนและผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา ผู้อื่นทั้งหมด (กลุ่มติดเตียง) จำนวน 32 คน **(แหล่งที่มาของข้อมูล อบต.บ่อหิน ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2565) ข้อมูลด้านสุขภาพ 1. จำนวนผู้สูงอายุในตำบลบ่อหินที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ จำนวน 291 คน และผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้าน สุขภาพ โดยแยกเป็นโรคต่างๆได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 578 คน โรคเบาหวาน 208 คน โรคอัมพาต 33 คน ภาวะซึมเศร้า 32 คน 2. กลุ่มประชากร 40-59 ปีที่มีปัญหาสุขภาพ แยกเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิต 344 คน กลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิต 120 คน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน 160 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 83 คน มีจำนวน Care Giver จำนวน 12 คน มีจำนวนอาสาบริบาล จำนวน 2 คน (แหล่งที่มาของข้อมูล รพ.สิเกาและ รพ.สต.บ้านไร่ออก ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565) ข้อมูลด้านสังคมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย - ชมรมผู้สูงอายุมีสมาชิก 378 คน แต่ยังไม่มีโรงเรียนผู้สูงอายุ ไม่มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริม อาชีพผู้สูงอายุและไม่ไม่ได้เข้าร่วมกองทุน LTC (แหล่งที่มาของข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565) ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย - มีช่างชุมชน/ท้องถิ่นที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการปรับสภาพบ้านที่ปลอดภัย จำนวน 2 คน และช่างชุมชน/ท้องถิ่นที่สามารถให้คำแนะนำการปรับสภาพบ้านที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุได้ (แหล่งที่มาของข้อมูล สภาองค์กรชุมชนตำบลบ่อหิน ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565) 6 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ-การออม ตำบลบ่อหินมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจำนวน....4....กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหมู่ที่ 2 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหมู่ที่ 3 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหมู่ที่ 4 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหมู่ที่ 5 กลุ่มออมทรัพย์ประมงพื้นบ้านดุหุน หมู่ที่ 5 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ที่ 6 และกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมู่ ที่ 8 มีกลุ่มสัจจะออมทรัพย์จำนวน...1...กลุ่ม ได้แก่ สถาบันการเงินชุมชนบ้านดุหุน หมูที่ 3 มีธนาคารหมู่บ้าน จำนวน…1…กลุ่ม ได้แก่ ธนาคารหมู่บ้านบ้านไสต้นวา หมู่ที่ 4 มีกองทุนหมู่บ้านจำนวน...9.กลุ่ม ได้แก่กองทุนหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 - 9 มีกลุ่มอาชีพในชุมชน จำนวน.21..กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสตรีบ้านบ่อหิน หมู่ที่ 1 กลุ่มอาชีพสตรีบ้านพรุจูด หมู่ ที่ 2 กลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านพรุจูด หมู่ที่ 2 กลุ่มทำผ้าบาติกบ้านพรุจูด หมู่ที่ 2 กลุ่มเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด หมู่ที่ 3 กลุ่มจักสานเตยปาหนัน หมู่ที่ 3 กลุ่มเครื่องแกงบ้านไสต้นวา หมู่ที่ 4 กลุ่มอาชีพขนมปั้นสิบบ้านไสต้นวา หมู่ที่ 5 กลุ่มกองทุนข้าวสารสตรีบ้านไร่ออก หมู่ที่ 5 กลุ่มอาชีพสตรีบ้านหัวหิน หมู่ที่ 6 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหัวหิน หมู่ที่ 6 กลุ่มอาชีพสตรีบ้านใหม่ หมู่ที่ 7 กลุ่มอาชีพสตรีบ้านใหม่-ทุ่งโพธิ์ หมู่ที่ 7 กลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นและขายยางหมู่ ที่ 7 กลุ่มสตรีบ้านโต๊ะบัน หมู่ที่ 8 กลุ่มเครื่องแกงตำมือบ้านโต๊ะบันหมู่ที่ 8 กลุ่มเลี้ยงหอยแมลงภู่บ้านโต๊ะบัน หมู่ที่ 8 กลุ่มวิสาหกิจแม่บ้านบ้านปากคลอง หมู่ที่ 9 กลุ่มเลี้ยงปลากระชังบ้านปากคลองหมู่ที่ 9 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านปากคลอง ** (แหล่งที่มาของข้อมูล อบต.บ่อหิน ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565)

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและภาคีสุขภาพ (ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาค ประชาชน) มีศักยภาพในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล

2 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง

1.1 มีกลไกคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจำนวน ๑๕ คน ที่ ประกอบด้วยภาคีที่หลากหลาย ประกอบด้วย ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ ได้แก่ รพ. สต. อสม. ภาคีภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุ ท้องที่ และแกนนำกลุ่ม องค์กรภาคประชาชน
1.๒ มีการนำเข้าข้อมูลคนเปราะบาง (ผู้สูงอายุ คนพิการและคนยากจน) เข้าสู่ ระบบ imed @home

3 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย

มิติสุขภาพ
2.1 มีกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัยสูงวัย แข็งแรง
2.2 มีการรณรงค์ให้ความรู้เชิดชูเกียรติผู้ที่มีการดูแลสุขภาพปลอดโรคปลอดภัย
2.3 มีร้านลดหวานมันเค็ม 1 ร้าน
2.4 มีระบบดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) ผ่านมาตรฐานร้อย ละ 80**
มิติสภาพแวดล้อม
2.5 มีครัวเรือนที่มีการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เจ้าบ้านปรับ เอง/ปรับโดยชุมชน/ปรับโดยหน่วยงาน เช่น อปท. พมจ. ) อย่างน้อยจำนวน ๒ ครัวเรือน
2.6 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด หรือ มัสยิด หรือ ศาลเจ้า หรือ อาคารและ สถานที่ของราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่าง น้อย 1 จุด
2.7 มีช่างชุมชน/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถ ให้คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน

4 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม

มิติสุขภาพ
3.1 กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ/มีพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25
มิติสังคม
3.2 กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 25 มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียน ผู้สูงอายุ/กลุ่มอื่นๆ ) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
3.3 กลุ่มเป้าหมายมีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 10
3.๔ กลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ร้อยละ 25 มิติเศรษฐกิจ
3.๕ กลุ่มเป้าหมายมีการออมเตรียมสูงวัยด้วยเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินในชุมชน ธนาคาร กอช. ประกันตนเองมาตรา 40 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างน้อย 2 รูปแบบ ร้อยละ 25

5 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ด้านสุขภาพ
4.1 กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 10 มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ร้อยละ 5
4.2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ5
4.3 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อย ละ5
4.4 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
4.5 กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
4.6 กลุ่มติดเตียง ได้รับการดูแลร้อยละ 80

6 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

5.1 มีการบรรจุแผนงานโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูง วัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและหรือกองทุนสุขภาพตำบล
5.2 มีและใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนในการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของพื้นที่

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40 -
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66
1 พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 38,200.00                            
2 พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 17,700.00                            
3 พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 16,600.00                            
4 คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 23,050.00                            
5 พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 4,450.00                            
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,000.00                            
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                            
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 285 38,200.00 8 33,620.00
23 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศน์โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหิน 30 2,100.00 720.00
19 ก.ค. 65 แต่งตั้งคณะทำงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหิน ประจำปี 2565 30 2,100.00 4,200.00
15 ส.ค. 65 พัฒนาระบบฐานข้อมูล สุขภาพ imed@home การบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพ 80 18,200.00 13,300.00
9 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานตำบล 30 2,100.00 4,200.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ 0 7,200.00 -
16 พ.ย. 65 ประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและอนุกรรมการโครงการสามภาคีสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพตำบลบ่อหิน 30 2,200.00 900.00
9 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการสามภาคีสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพตำบลบ่อหิน 20 2,100.00 4,600.00
17 ก.พ. 66 พัฒนาศักยภาพคณะประชุมคณะทำงานโครงการสามภาคีสุขภาพเตรียมรองรับสังคมสูงวัยสรุปธรรมนูญ 30 2,200.00 3,700.00
21 มี.ค. 66 การบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพในระบบฐานข้อมูล สุขภาพ โปรแกรมimed@home 35 0.00 2,000.00
2 พัฒนาสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 17,700.00 4 24,200.00
27 ก.ค. 65 อบรมเชิงปฎิบัติการจัดอบรมช่างท้องถิ่นและบุคลากรด้านสวัสดิการสังคมในการปรับสภาพแวดล้อมบ้านพักอาศัยและอาคารสาธารณะเพื่อสูงอายุตำบลบ่อหิน 10 4,000.00 3,100.00
8 ส.ค. 65 อบรมช่างท้องถิ่น /ช่างชุมชน ออกแบบสถานที่สาธารณะหาดหัวหิน 10 4,000.00 3,800.00
29 พ.ย. 65 จุดนำร่องปรับสภาพพื้นที่ สาธารณะ 25 7,600.00 15,800.00
31 มี.ค. 66 ดำเนินการร้านค้าลด หวาน มัน เค็ม 30 2,100.00 1,500.00
3 พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 16,600.00 1 13,950.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 จัดทำสถานี สุขภาพ(health station)ที่ มัสยิด 0 7,000.00 -
24 พ.ค. 66 ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเตรียมรองรับสังคมสูงวัย "หกล้มเรื่องใหญ่ ป้องกันอย่างไร และวิธีการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้ม 150 9,600.00 13,950.00
4 คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 300 23,050.00 2 28,600.00
28 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้และจัดทำแผนการเตรียมรองรับ สังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ+3 อ ๒ ส 200 18,300.00 23,800.00
19 ม.ค. 66 กิจกรรมติดตามการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ สภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ 100 4,750.00 4,800.00
5 พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 4,450.00 1 3,850.00
18 พ.ค. 66 ประชุมประชาคมธรรมนูญสุขภาพรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหิน 110 4,450.00 3,850.00
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 69 20,000.00 11 23,095.00
1 มิ.ย. 65 - 31 พ.ค. 66 จัดทำบัญชีโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหิน 1 2,000.00 2,000.00
2 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหินทำความเข้าใจบันไดผลลัพธ์โครงการฯและเข้าร่วมเซ็นMOU 3 1,700.00 960.00
10 มิ.ย. 65 จัดทำป้ายโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหิน จำนวน 1 ป้าย 0 1,000.00 1,000.00
6 ก.ค. 65 อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ) 3 1,700.00 1,360.00
17 ก.ย. 65 ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ Happy network 3 1,700.00 960.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ 1 3,000.00 3,000.00
17 พ.ย. 65 เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1 3 1,700.00 2,580.00
27 ธ.ค. 65 ถอดบทเรียนความรู้ระหว่างการดำเนินงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย สู่การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะแบบส่วนร่วม 10 1,800.00 2,800.00
19 เม.ย. 66 KICK OFF การขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดตรัง 10 2,000.00 3,600.00
3 พ.ค. 66 ประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะแบบส่วนร่วม(ARE) 5 1,700.00 2,000.00
26 พ.ค. 66 เวทีสะท้อนผลลัพธ์กระบวนการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 30 1,700.00 2,835.00
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 15:58 น.