directions_run

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0003
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลคลองปาง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศุภกิจ ศาสตร์สุวรรณ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 061-240-6333
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ kokhaikapang@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายนบ ศรีจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
2 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 60,000.00
3 1 ก.พ. 2566 31 มี.ค. 2566 1 ก.พ. 2566 31 พ.ค. 2566 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 ประชากรสูงอายุจะ มีถึง 1 ใน 5 ทั้งนี้ในปี 2562 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก และจะเป็น “สังคมสูง วัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ในอีกไม่ถึง 20 ปี(พ.ศ 2578) ซึ่งโครงสร้างอายุของประชากรที่เปลี่ยนไปนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของสังคมโดยรวมด้วย สถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุไทยในปี 2565 มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12.12 ล้านคน คิดเป็นร้อย ละ 18.3 ของประชากรไทยทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 96 ของจำนวน ผู้สูงอายุทั้งหมดคือ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นในบางกิจกรรมของกิจกรรมของกิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) และ ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด(ติดเตียง)ประมาณร้อยละ 1 โดยส่วนใหญ่อยู่ในวัยมากกว่า 80 ปี ซึ่งผู้สูงอายุในช่วย วัย ปลายหรืออายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิง เศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ แม้ว่าประชากรไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น แต่กลับตามมาด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังยาวนานขึ้น และโอกาสที่จะ อยู่ในภาวะพึ่งพิงเนื่องมาจากการมีทุพพลภาพและผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ คือ ประเด็นสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในด้านสุขภาพจากผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี 2557 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีปัญหาสุขภาพด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายและอัมพาต รวมทั้งยังมีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามี ผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 26.5 มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุ เอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึง จำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ในปี 2560 มีผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 33.7 ส่วนด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนิน ชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 10 เคยมีประสบการณ์ในการหกล้ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ภายในบ้าน เช่น ราวจับ และการปรับสภาพพื้นที่ในบ้านและนอกบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและป้องกันการหก ล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอันนำไปสู่ภาวะติดบ้านและติดเตียงตามมา ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 34.3 เป็นผู้สูงอายุที่ยากจน โดยผู้สูงอายุ 4.4 ล้านคน (ร้อยละ 37) ยังคงทำงานอยู่ ซึ่งผู้สูงอายุชายทำงานมากกว่าผู้สูงอายุหญิง เกือบ 2 เท่า อีกทั้ง ในปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นง่ายต่อการสื่อสาร แต่มีทั้งคุณ และโทษ จึงควรพัฒนาช่องทางสื่อสารไปยังผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดการเข้าใจปัญหา และการเตรียมความพร้อมในการแก้ไข ปัญหา เช่น การแก้ไขปัญหาข่าวลวง และความเชื่อที่ไม่มีหลักฐาน สำหรับจังหวัดตรังพบว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 17.24 และประชากรอายุ 15-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 64.84 ประชากรอายุ 0.14 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.51 เพิ่มตามธรรมชาติ ร้อยละ ๐.๒๑ ภายในปี ๒๕๗๒ จะมีประชากรกลุ่มนี้กลายเป็นผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๓๐ ของประชากรจังหวัดตรังซึ่งจะทำให้จังหวัดตรังเข้าสู่สังคมสูงวัย สุดยอด (ข้อมูลเมื่อ เดือน ธันวาคม 2564) ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 สถานการณ์ประชากรในจังหวัดตรังสามารถจำแนกเป็นกลุ่มสูงอายุส่วนใหญ่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่ง ผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๒๙ ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 3.71 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิง ประชากรกลุ่ม อายุ ๕๐-๕๙ ปีป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๒๒.๒๒ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๐.๓๐ ประชากรกลุ่มอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไปป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๔๘ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๗.๒๔ (ที่มา: HDC Report สสจ.ตรัง, กันยายน ๒๕๖๒) ทั้งนี้จากการทำงานของ Node Flagship จังหวัดตรังปี 2563-2564 ใน 11 พื้นที่ตำบลพบว่าสถานการณ์และ สภาพปัญหาส่วนใหญ่ของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ได้แก่ (1) มิติด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มคนวัยทำงานเริ่มมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันเพิ่มมากขึ้น และมีพฤติกรรมกิน อาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของหน่วยงานที่ผ่านมาเน้น การรักษาและฟื้นฟูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง สำหรับกลุ่มที่ไม่เสี่ยงยังไม่มีกิจกรรมโครงการรองรับ มากนัก (2) มิติด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุมีภาระเลี้ยงดูลูกหลานบ้างอยู่ตามลำพังมีภาระเรื่องการประกอบอาชีพทำให้ไม่ สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนได้สม่ำเสมอ ในขณะที่ชมรมผู้สูงอายุขาดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสมาชิกกลุ่มชมรม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สมาชิกกลุ่มอายุ40-59 ปียังมีจำนวนน้อย และขาดกำลังคนในวัยทำงานมาเสริมการ ทำงานของชมรมผู้สูงอายุ (3) มิติด้านเศรษฐกิจ(การออม) พบว่า ผู้สูงอายุมีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตเนื่องจากมีภาระเลี้ยงดูลูกหลาน ขาดเงินออมที่เพียงพอและมีหนี้สิน สำหรับกลุ่มอาชีพการรวมกลุ่มยังไม่เข้มแข็งอีกทั้งกลุ่มอายุ 40-59 ปียังขาดการออม และวางแผนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (4) มิติด้านสภาพแวดล้อม พบว่า บ้านและพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด และสถานที่ราชการ ยังขาดการปรับ สภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ขาดราวจับในห้องน้ำ มีพื้นที่ต่างระดับที่มีความเสี่ยงต่อ การหกล้มของผู้สูงอายุ การใช้โถนั่งยอง การติดตั้งอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ราวจับ ที่ไม่ถูกต้อง ช่างชุมชนและ ท้องถิ่นที่มีความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำการปรับสภาพบ้านที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุมีน้อย รวมถึงการสร้างบ้าน ของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงการพร้อมใช้เมื่อเป็นผู้สูงอายุ สำหรับข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัยด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจเพื่อเตรียม รองรับสังคมสูงวัยในเทศบาลตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง นั้น สถานการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการเข้าสู่สังคมสูง วัยมีความผันแปรสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ โดยข้อมูลประชากร จากสำนักงานทะเบียนราษฎร์อำเภอรัษฎา เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๕ ระบุว่า เทศบาลตำบลคลองปางมีประชากรทั้งสิ้น ๒,๒๒๔ คน มีประชากรชายมากกว่าหญิง จำนวน ๑๐๐ กว่าคน ประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ๔๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๓๓ รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ จำนวน ๓๔๕ คน ประชากรอายุ 40-59 ปี จำนวน ๖๔๘ คน ประชากรอายุ 20-39 ปีจำนวน ๖๔๘ คน ประชากรอายุ 5-19 ปีจำนวน ๖๒๔ คน ประชากรอายุ 5-19 ปีจำนวน ๔๒๓ คน และประชากรอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน ๙๐ คน จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งสามารถจัดประเภทเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) จำนวน 356 คน ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) 68 คน และ ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด (กลุ่มติดเตียง) จำนวน ๖ คน มีผู้มีภาวะซึมเศร้า ๓ คน ป่วยเป็นโรคอัมพาต ๘ คน ทั้งนี้จากการประมวลข้อมูลระดับพื้นที่โดยบูรณาการข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพคลองปาง กองสวัสดิการสังคม ชุมชน พบว่าสถานการณ์และสภาพปัญหาส่วนใหญ่ของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ได้แก่ (1) มิติด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มคนวัยทำงานเริ่มมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันเพิ่มมากขึ้น และมีพฤติกรรมกิน อาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของหน่วยงานที่ผ่านมาเน้น การรักษาและฟื้นฟูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง สำหรับกลุ่มที่ไม่เสี่ยงยังไม่มีกิจกรรมโครงการรองรับ มากนัก เช่นเดียวกับภาพรวมของจังหวัดตรัง (2) มิติด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุยังมีภาระเลี้ยงดูตัวเองด้วยการประกอบอาชีพทำสวน ค้าขาย หรือหารรายได้เสริม เพื่อที่จะดูแลตัวเองให้ได้ตามปกติ ตลอดจนยังมีอีกบางส่วนต้องเลี้ยงลูกหลานบ้าง ในกลุ่มที่ติดสังคมยังสามารถเข้าร่วม 6 กิจกรรมกับชุมชนได้ ในขณะที่ชมรมผู้สูงอายุขาดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสมาชิกกลุ่มชมรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้น ไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น (ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน) มีศักยภาพใน การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล

3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม
มิติสุขภาพ
3.1 กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ/มีพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25
มิติสังคม
3.2 กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 25 มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียน ผู้สูงอายุ/กลุ่มอื่นๆ ) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
3.3 กลุ่มเป้าหมายมีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 10
3.๔ กลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ร้อยละ 25 มิติเศรษฐกิจ
3.๕ กลุ่มเป้าหมายมีการออมเตรียมสูงวัยด้วยเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินในชุมชน ธนาคาร กอช. ประกันตนเองมาตรา 40 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างน้อย 2 รูปแบบ ร้อยละ 25
4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
ด้านสุขภาพ
4.1 กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 10 มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ร้อยละ 5
4.2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ5
4.3 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อย ละ5
4.4 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
4.5 กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
4.6 กลุ่มติดเตียง ได้รับการดูแลร้อยละ 80
5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล
5.1 มีการบรรจุแผนงานโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูง วัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและหรือกองทุนสุขภาพตำบล
5.2 มีและใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนในการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของพื้นที่

2 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง

1.1 มีกลไกคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจำนวน ๑๕ คน ที่ ประกอบด้วยภาคีที่หลากหลาย ประกอบด้วย ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ ได้แก่ รพ. สต. อสม. ภาคีภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุ ท้องที่ และแกนนำกลุ่ม องค์กรภาคประชาชน
1.๒ มีการนำเข้าข้อมูลคนเปราะบาง (ผู้สูงอายุ คนพิการและคนยากจน) เข้าสู่ ระบบ imed @home

3 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย

มิติสุขภาพ
2.1 มีกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัยสูงวัย แข็งแรง
2.2 มีการรณรงค์ให้ความรู้เชิดชูเกียรติผู้ที่มีการดูแลสุขภาพปลอดโรคปลอดภัย
2.3 มีร้านลดหวานมันเค็ม 1 ร้าน
2.4 มีระบบดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) ผ่านมาตรฐานร้อย ละ 80**
มิติสภาพแวดล้อม
2.5 มีครัวเรือนที่มีการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เจ้าบ้านปรับ เอง/ปรับโดยชุมชน/ปรับโดยหน่วยงาน เช่น อปท. พมจ. ) อย่างน้อยจำนวน ๒ ครัวเรือน
2.6 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด หรือ มัสยิด หรือ ศาลเจ้า หรือ อาคารและ สถานที่ของราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่าง น้อย 1 จุด
2.7 มีช่างชุมชน/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถ ให้คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน มิติสังคม
2.๘ มีศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลเทศบาลตำบลคลองปาง

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40 -
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 4,940.00                                
2 พัฒนาสิ่งแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 43,785.00                                
3 พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 5,850.00                                
4 คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                                
5 พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 45,425.00                                
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,000.00                                
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                                
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,940.00 9 4,940.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 1 0 525.00 525.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 2 0 525.00 525.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 3 0 525.00 525.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 1 0 210.00 210.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 2 0 210.00 210.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 3 0 210.00 210.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 นำเข้าข้อมูลกลุ่มเปราะบางเข้าสู่ระบบ Imed@home 0 2,000.00 2,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 4 0 525.00 525.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 4 0 210.00 210.00
2 พัฒนาสิ่งแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 43,785.00 4 34,025.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดอบรมและศึกษาดูงานให้ความรู้แก่ช่าง ชุมชนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถให้ คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุจำนวน ๑๕ คน 0 11,825.00 6,025.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ปรับพื้นที่สาธารณะใน ชุมชน เช่น วัด หรืออาคารและสถานที่ของ ราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุจำนวน ๒ แห่ง 0 13,160.00 9,000.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เดินรณรงค์ ลดหวาน มัน เค็ม (คลองปาง healthy กินดี อยู่ยืน) 0 14,000.00 14,200.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้พร้อมทั้งสาธิตการทำ เมนูอาหารสุขภาพ 0 4,800.00 4,800.00
3 พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 5,850.00 1 5,850.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดอบรมการออกกำลังด้วย ท่ารำนาฏศิลป์ไทย 0 5,850.00 5,850.00
4 คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
5 พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 45,425.00 2 45,425.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 จัดเวทีถอดบทเรียนคณะทำงานและตัวแทน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๐ คน เพื่อจัดทำแผน เตรียมรองรับสังคมสูงวัยและธรรมนูญสุขภาวะ (คลองปาง healthy กินดี อยู่ยืน) 0 40,000.00 40,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 จัดทำชุดบทเรียนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 0 5,425.00 5,425.00
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 20,000.00 11 19,300.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ 0 1,000.00 300.00
1 มิ.ย. 65 - 1 ก.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ 3 1,700.00 1,700.00
1 ก.ย. 65 - 1 ต.ค. 65 เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org) 3 1,700.00 1,700.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 จัดทำบัญชี 0 2,000.00 2,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ค่าจัดทำนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน 0 2,000.00 2,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ 2 3,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ) 3 1,700.00 1,700.00
1 - 31 ต.ค. 65 เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1 3 1,700.00 1,700.00
1 พ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 3 1,700.00 1,700.00
1 พ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่2 3 1,700.00 1,700.00
1 พ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส. 10 1,800.00 1,800.00
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 100.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 100.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 15:59 น.