directions_run

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดตรัง


“ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง ”

ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายศุภกิจ ศาสตร์สุวรรณ

ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง

ที่อยู่ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0003 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดตรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 65-00-0144-0003 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดตรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 ประชากรสูงอายุจะ มีถึง 1 ใน 5 ทั้งนี้ในปี 2562 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก และจะเป็น “สังคมสูง วัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ในอีกไม่ถึง 20 ปี(พ.ศ 2578) ซึ่งโครงสร้างอายุของประชากรที่เปลี่ยนไปนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของสังคมโดยรวมด้วย สถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุไทยในปี 2565 มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12.12 ล้านคน คิดเป็นร้อย ละ 18.3 ของประชากรไทยทั้งหมด เมื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 96 ของจำนวน ผู้สูงอายุทั้งหมดคือ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี อีกประมาณร้อยละ 2 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นในบางกิจกรรมของกิจกรรมของกิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) และ ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด(ติดเตียง)ประมาณร้อยละ 1 โดยส่วนใหญ่อยู่ในวัยมากกว่า 80 ปี ซึ่งผู้สูงอายุในช่วย วัย ปลายหรืออายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิง เศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ แม้ว่าประชากรไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้น แต่กลับตามมาด้วยการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังยาวนานขึ้น และโอกาสที่จะ อยู่ในภาวะพึ่งพิงเนื่องมาจากการมีทุพพลภาพและผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ คือ ประเด็นสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในด้านสุขภาพจากผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี 2557 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีปัญหาสุขภาพด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายและอัมพาต รวมทั้งยังมีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามี ผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 26.5 มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุ เอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึง จำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ในปี 2560 มีผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 33.7 ส่วนด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนิน ชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 10 เคยมีประสบการณ์ในการหกล้ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ภายในบ้าน เช่น ราวจับ และการปรับสภาพพื้นที่ในบ้านและนอกบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและป้องกันการหก ล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอันนำไปสู่ภาวะติดบ้านและติดเตียงตามมา ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 34.3 เป็นผู้สูงอายุที่ยากจน โดยผู้สูงอายุ 4.4 ล้านคน (ร้อยละ 37) ยังคงทำงานอยู่ ซึ่งผู้สูงอายุชายทำงานมากกว่าผู้สูงอายุหญิง เกือบ 2 เท่า อีกทั้ง ในปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นง่ายต่อการสื่อสาร แต่มีทั้งคุณ และโทษ จึงควรพัฒนาช่องทางสื่อสารไปยังผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดการเข้าใจปัญหา และการเตรียมความพร้อมในการแก้ไข ปัญหา เช่น การแก้ไขปัญหาข่าวลวง และความเชื่อที่ไม่มีหลักฐาน สำหรับจังหวัดตรังพบว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 17.24 และประชากรอายุ 15-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 64.84 ประชากรอายุ 0.14 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.51 เพิ่มตามธรรมชาติ ร้อยละ ๐.๒๑ ภายในปี ๒๕๗๒ จะมีประชากรกลุ่มนี้กลายเป็นผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๓๐ ของประชากรจังหวัดตรังซึ่งจะทำให้จังหวัดตรังเข้าสู่สังคมสูงวัย สุดยอด (ข้อมูลเมื่อ เดือน ธันวาคม 2564) ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 สถานการณ์ประชากรในจังหวัดตรังสามารถจำแนกเป็นกลุ่มสูงอายุส่วนใหญ่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่ง ผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๒๙ ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด อีกประมาณร้อยละ 3.71 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิง ประชากรกลุ่ม อายุ ๕๐-๕๙ ปีป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๒๒.๒๒ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๐.๓๐ ประชากรกลุ่มอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไปป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๔๘ และโรคเบาหวานร้อยละ ๑๗.๒๔ (ที่มา: HDC Report สสจ.ตรัง, กันยายน ๒๕๖๒) ทั้งนี้จากการทำงานของ Node Flagship จังหวัดตรังปี 2563-2564 ใน 11 พื้นที่ตำบลพบว่าสถานการณ์และ สภาพปัญหาส่วนใหญ่ของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ได้แก่ (1) มิติด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มคนวัยทำงานเริ่มมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันเพิ่มมากขึ้น และมีพฤติกรรมกิน อาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของหน่วยงานที่ผ่านมาเน้น การรักษาและฟื้นฟูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง สำหรับกลุ่มที่ไม่เสี่ยงยังไม่มีกิจกรรมโครงการรองรับ มากนัก (2) มิติด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุมีภาระเลี้ยงดูลูกหลานบ้างอยู่ตามลำพังมีภาระเรื่องการประกอบอาชีพทำให้ไม่ สามารถมาเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนได้สม่ำเสมอ ในขณะที่ชมรมผู้สูงอายุขาดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสมาชิกกลุ่มชมรม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สมาชิกกลุ่มอายุ40-59 ปียังมีจำนวนน้อย และขาดกำลังคนในวัยทำงานมาเสริมการ ทำงานของชมรมผู้สูงอายุ (3) มิติด้านเศรษฐกิจ(การออม) พบว่า ผู้สูงอายุมีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตเนื่องจากมีภาระเลี้ยงดูลูกหลาน ขาดเงินออมที่เพียงพอและมีหนี้สิน สำหรับกลุ่มอาชีพการรวมกลุ่มยังไม่เข้มแข็งอีกทั้งกลุ่มอายุ 40-59 ปียังขาดการออม และวางแผนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (4) มิติด้านสภาพแวดล้อม พบว่า บ้านและพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด และสถานที่ราชการ ยังขาดการปรับ สภาพแวดล้อมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ขาดราวจับในห้องน้ำ มีพื้นที่ต่างระดับที่มีความเสี่ยงต่อ การหกล้มของผู้สูงอายุ การใช้โถนั่งยอง การติดตั้งอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ราวจับ ที่ไม่ถูกต้อง ช่างชุมชนและ ท้องถิ่นที่มีความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำการปรับสภาพบ้านที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุมีน้อย รวมถึงการสร้างบ้าน ของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงการพร้อมใช้เมื่อเป็นผู้สูงอายุ สำหรับข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัยด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจเพื่อเตรียม รองรับสังคมสูงวัยในเทศบาลตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง นั้น สถานการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการเข้าสู่สังคมสูง วัยมีความผันแปรสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ โดยข้อมูลประชากร จากสำนักงานทะเบียนราษฎร์อำเภอรัษฎา เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๕ ระบุว่า เทศบาลตำบลคลองปางมีประชากรทั้งสิ้น ๒,๒๒๔ คน มีประชากรชายมากกว่าหญิง จำนวน ๑๐๐ กว่าคน ประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ๔๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๓๓ รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ จำนวน ๓๔๕ คน ประชากรอายุ 40-59 ปี จำนวน ๖๔๘ คน ประชากรอายุ 20-39 ปีจำนวน ๖๔๘ คน ประชากรอายุ 5-19 ปีจำนวน ๖๒๔ คน ประชากรอายุ 5-19 ปีจำนวน ๔๒๓ คน และประชากรอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน ๙๐ คน จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งสามารถจัดประเภทเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น (กลุ่มติดสังคม) จำนวน 356 คน ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (กลุ่มติดบ้าน) 68 คน และ ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมด (กลุ่มติดเตียง) จำนวน ๖ คน มีผู้มีภาวะซึมเศร้า ๓ คน ป่วยเป็นโรคอัมพาต ๘ คน ทั้งนี้จากการประมวลข้อมูลระดับพื้นที่โดยบูรณาการข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพคลองปาง กองสวัสดิการสังคม ชุมชน พบว่าสถานการณ์และสภาพปัญหาส่วนใหญ่ของการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ได้แก่ (1) มิติด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มคนวัยทำงานเริ่มมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันเพิ่มมากขึ้น และมีพฤติกรรมกิน อาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของหน่วยงานที่ผ่านมาเน้น การรักษาและฟื้นฟูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง สำหรับกลุ่มที่ไม่เสี่ยงยังไม่มีกิจกรรมโครงการรองรับ มากนัก เช่นเดียวกับภาพรวมของจังหวัดตรัง (2) มิติด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุยังมีภาระเลี้ยงดูตัวเองด้วยการประกอบอาชีพทำสวน ค้าขาย หรือหารรายได้เสริม เพื่อที่จะดูแลตัวเองให้ได้ตามปกติ ตลอดจนยังมีอีกบางส่วนต้องเลี้ยงลูกหลานบ้าง ในกลุ่มที่ติดสังคมยังสามารถเข้าร่วม 6 กิจกรรมกับชุมชนได้ ในขณะที่ชมรมผู้สูงอายุขาดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสมาชิกกลุ่มชมรมผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้น ไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น (ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน) มีศักยภาพใน การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล
  2. 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
  3. 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
  2. พัฒนาสิ่งแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  3. พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ
  4. คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  5. พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล
  6. ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม
  7. บัญชีธนาคาร
  8. ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 1
  9. ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 2
  10. ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 3
  11. จัดอบรมและศึกษาดูงานให้ความรู้แก่ช่าง ชุมชนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถให้ คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุจำนวน ๑๕ คน
  12. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ปรับพื้นที่สาธารณะใน ชุมชน เช่น วัด หรืออาคารและสถานที่ของ ราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุจำนวน ๒ แห่ง
  13. เดินรณรงค์ ลดหวาน มัน เค็ม (คลองปาง healthy กินดี อยู่ยืน)
  14. จัดอบรมการออกกำลังด้วย ท่ารำนาฏศิลป์ไทย
  15. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ
  16. เวทีปฐมนิเทศโครงการ
  17. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  18. เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org)
  19. ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 1
  20. ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 2
  21. ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 3
  22. นำเข้าข้อมูลกลุ่มเปราะบางเข้าสู่ระบบ Imed@home
  23. ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 4
  24. ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 4
  25. อบรมให้ความรู้พร้อมทั้งสาธิตการทำ เมนูอาหารสุขภาพ
  26. จัดเวทีถอดบทเรียนคณะทำงานและตัวแทน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๐ คน เพื่อจัดทำแผน เตรียมรองรับสังคมสูงวัยและธรรมนูญสุขภาวะ (คลองปาง healthy กินดี อยู่ยืน)
  27. จัดทำชุดบทเรียนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  28. จัดทำบัญชี
  29. ค่าจัดทำนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน
  30. การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ
  31. เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ)
  32. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1
  33. เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3
  34. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่2
  35. เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส.

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เงินยืมทดลองเปิดบัญชี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เงินยืมทดลองเปิดบัญชี

 

0 0

2. เวทีปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานของโครงการได้จัดทำแผนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง ทั้ง 4 มิติ (มิติสุขภาพ มิติสังคม มิติสภาพแวดล้อม และมิติเศรษฐกิจ)

 

3 0

3. ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 1

วันที่ 21 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงคณะทำงานและวางแผนกิจกรรม ครั้งที่ 1 เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง จำนวน 19 คน ดังนี้ 1. นายศุภกิจ ศาสตร์สุวรรณ(นายกเทศมนตรีตำบลคลองปาง) ประธานคณะทำงาน 2. พันเอกประดิษฐ์ รักขาว(รองนายกเทศมนตรีตำบลคลองปาง) รองประธานคณะทำงาน 3. นายกิตติศักดิ์ ลิ้มเพียรดี(รองนายกเทศมนตรีตำบลคลองปาง) คณะทำงาน 4. นางสาวศรีสุดา จุลิรัชนีกร(เลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลคลองปาง) คณะทำงาน 5. นายทิพย์อำพร คำศรี(ปลัดเทศบาล) คณะทำงาน 6. นายณรงค์ชัย ชัยศิริ(ประธานสภาเทศบาล) คณะทำงาน 7. นายชวลิตร คีรีรัตน์(ผอ.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพคลองปาง) คณะทำงาน 8. นายสมบูรณ์ สุขทอง(ผู้ใหญ่บ้าน ม.1) คณะทำงาน 9. นายกฤษณะ บวรศุภศรี(ผู้ใหญ่บ้าน ม.2) คณะทำงาน 10. นางวาสนา สังข์สุวรรณ(เครือข่ายประชาสังคม ทต.คลองปาง) คณะทำงาน 11. นางสาวชุติมา บัวเพชร(เครือข่ายประชาสังคม ทต.คลองปาง) คณะทำงาน 12. นางวาสนา เรืองรมย์(เครือข่ายประชาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) คณะทำงาน
13. นางทิพอาภา สุรธรรม(สมาชิกสภาเทศบาล) คณะทำงาน 14. นางจิดาภา ชลภักดี(สมาชิกสภา) คณะทำงาน 15. นางโสภา ทับทวี(กรรมการชุมชน) คณะทำงาน 16. นางลีลาศ ศรีจันทร์(กรรมการชุมชน) คณะทำงาน 17. นางวรรณา มุณี(โรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธ วิถีธรรม) คณะทำงาน 18. นางสุลักษวี ช่างพูด(ผอ.กองสวัสดิการสังคม) คณะทำงาน 19. นางอนิษา แก้วมา(หัวหน้าฝ่ายสาธารณสุข) คณะทำงาน โดยมีหน้าที่ดังนี้ 1. ให้คำปรึกษา แนะนำ ศึกษาสภาพปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา รวมถึงหาแนวทางแก้ไขปัญหา ประสานงาน สร้างความร่วมมือในพื้นที่ 2. การเก็บข้อมูล จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมต่างๆ 3. ติดตามประเมินผล รับฟังความคิดเห็น ขับเคลื่อนกิจกรรม และงานที่ได้รับมอบหมาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนปฏิบัติงานการจัดกิจกรรม ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง กันยายน 2565

 

0 0

4. การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง พร้อมการจัดทำรายงานการดำเนินงานลงในระบบ happy network

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. มอบหมายเจ้าหน้าที่ 1 คน โดย นางสาวภณิดา ห้องล่อง เป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประสานระหว่างหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดตรัง กับคณะทำงานของโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง และกลุ่มเป้าหมายของโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ
  2. ดูแลการจัดทำเอกสาร กิจกรรมต่างๆของโครงการ ตามงบประมาณในแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสม
  3. รายงานผลการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆของโครงการ บันทึกลงในระบบ happy network ให้เรียบร้อย
  4. มีหน้าที่ดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการให้สำเร็จลุล่วง ด้วยการวางแผนงาน

 

2 0

5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ปรับพื้นที่สาธารณะใน ชุมชน เช่น วัด หรืออาคารและสถานที่ของ ราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุจำนวน ๒ แห่ง

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินการปรับพื้นที่สาธารณะในชุมชนให้ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 1 แห่ง คือ ห้องน้ำวัดคลองปาง จำนวน 1 ห้องน้ำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ห้องน้ำต้นแบบ จำนวน 1 ห้อง ที่วัดโคกเลียบ

 

0 0

6. ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 2

วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมสรุปผลแนวทางการขับเคลื่อนกิจกรรม ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการปรับปรุงบแผนการจัดกิจกรรม และเพิ่มเติมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน

 

0 0

7. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายชื่อโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายชื่อโครงการ

 

0 0

8. จัดอบรมและศึกษาดูงานให้ความรู้แก่ช่าง ชุมชนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถให้ คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุจำนวน ๑๕ คน

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 11:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นำช่างชุมชน ผู้ประกอบอาชีพก่อสร้าง ผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่่ เข้าอบรมหลักสูตรการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ระเวลา 3 ชม. กลุ่มเป้าหมาย 15 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีช่างชุมชน ผู้รัับเหมาก่อสร้างที่มีความรู้การจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน สามารถนำความรู้จากการอบรมไปปรับปรุงสภาพแวดล้อมบ้านผู้สูงอายุและผู้พิการ  และดำเนินการปรับปรุงสภาพบ้านจำนวน 8 หลัง

 

0 0

9. จัดอบรมการออกกำลังด้วย ท่ารำนาฏศิลป์ไทย

วันที่ 16 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรมการออกกำลังกายด้วยท่านาฎศิลป์ไทย ไลน์แดนซ์ บาสโลบ ระยะเวลา 10 ครั้งๆละ 2 ชม. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดชมรมเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง ที่รวมตัวกันจัดกิจกรรมออกกำลังกายด้วยนาฏศิลปไทย ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงปัจจุบัน และสามารถขยายผลสู่การสื่อสานวัฒนธรรม ประเพณีไทย และกิจกรรมด้านนันทนาการแก่ชุมชน

 

0 0

10. จัดทำชุดบทเรียนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

วันที่ 24 สิงหาคม 2565 เวลา 10:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพ "เตรียมสูงวัย" ของคนในพื้นที่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และข้อมูลในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสุขภาพเตรียมสูงวัย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 200 คน ที่มีความเสี่ยง ปกติ และเป็นโรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน อยู่แล้วร้อยละเท่าไหร่
  2. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อจัดทำธรรมนูญพื้นที่
  3. จัดทำป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการ

 

0 0

11. เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org)

วันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org ณ วิทยาลัยบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการย่อยเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต.คลองปาง ประกอบด้วย 1.นางอนิษา แก้วมา 2.นางภณิดา ห้องล่อง และ 3.นางสุลักษวี ช่างพูด เรียนรู้การใช้โปรแกรม canva และเรียนรู้การรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินผ่านระบบ www.happynetwork.org

 

3 0

12. เดินรณรงค์ ลดหวาน มัน เค็ม (คลองปาง healthy กินดี อยู่ยืน)

วันที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ให้ความรู้แก่ร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มในชุมชนเขตเทศบาลคลองปางในการผลิตอาหารต้นแบบ ลด หวาน มัน เค็ม เติมเต็ม ผัก ผลไม้ จำนวน 15 ร้าน
กลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน ได้แก่ นักเรียน ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดัน และไขมัน รวมถึงคณะทำงาน และอสม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชาชนให้ความสนใจสุขภาพมากขึ้น
    2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยจะเน้นรับประทานอาหาร ลดปริมาณ หวาน มัน เค็ม จากเมื่อก่อนระดับนึง 3.ลดปริมาณผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน และไขมันได้ในระดับหนึ่่ง 4.กลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ นักเรียน ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดัน และไขมัน ได้รับทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนในอนาคตได้

 

0 0

13. จัดทำบัญชี

วันที่ 21 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำบัญชีการเงินของโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่การเงิน จำนวน 2 คน คือ 1.นางอนิษา แก้วมา และ 2.นางสาวภณิดา ห้องล่อง ทำหน้าที่รับผิดชอบการเงินของโครงการ โดยจะต้องควบคุมดูแลการเงิน ให้ไปทิศทางเดียวกับงบประมาณของโครงการในกิจกรรมนั้นๆ
  2. จดบันทึกรายการเบิกจ่ายเงินของโครงการ
  3. สรุปรายจ่ายของโครงการให้เรียบร้อย ก่องปิดโครงการ

 

0 0

14. ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 3

วันที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน การดำเนินงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง โดยมีวัตถุประสงค์ ในการสรุปบันไดผลลัพธ์โครงการในการขับเคลื่อนกิจกรรม ทั้ง 4 มิติ อาทิ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านเศรษฐกิจ พร้อมทั้งสรุป ต้นไม้แห่งปัญหาและอุปสรรคของเทศบาลตำบลคลองปาง แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อสรุปการดำเนินงานตามโครงการ ตลอดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 มิถุนายน ถึง 31 ตุลาคม 2565 รวม 5 เดือน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 21 คน ประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ อาทิ นายสมบูรณ์ ทองสมโรม, นายถนอมจืต ปานสิทธิ์, นางศิริรินทร์ กุญชรินทร์, นางลีลาส ศรีอันทร นางวรรณา มณี ฯลฯ นายกเทศมนตรี, กำนัน, ปลัด, อ.พ.ม., อสม., รพ.สต. ต.คลองปาง และคณะทำงาน Node flagship Trang (นายนบ ศรีจันทร์ และ นายเชภาดร จันทร์หอม)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน ได้เข้าร่วมประชุมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ครั้งที่ 3 ของเทศบาลตำบลคลองปาง โดยมีการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินกิจกรรม และเพิ่มเติมข้อมูลตัวชี้วัดปัญหาด้านมิติสุขภาพ ที่เกิดจาก พฤติกรรมการรับประทานอาหารของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลคลองปาง จากการลงมติของที่ประชุม คณะทำงาน ทราบถึง การดำเนินงานของโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง ตลอดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 มิถุนายน ถึง 31 ตุลาคม 2565 รวม 5 เดือน ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามบันไดผลลัพธ์ที่วางไว้

 

0 0

15. เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

สะท้อนผลลัพธ์โครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง ให้คณะทำงานของโครงการทราบ

ณ อาคารสวัสดิการสังคม กองสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม (เทศบาลตำบลคลองปาง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 54 คน ประกอบ นายกเทศมนตรีตำบลคลองปาง-นายศุภกิจ ศาสตร์สุวรรณ, อสม., ทต.คลองปาง (นางสุลักษร์ ช่างพูด, นางชนัญชิดา เดชอรัญ , นางสาวคณิดา ห้องล่อง, นางสาวจุฑารัตน์ จันทรประสิทธิ์, นางสาวแอนนา เสนาชู, นายภูเมศธ์ คงเกต, ผอ.ประดิษฐ์ รักขาว, นายณรงค์ชัย ชัยศิริ และนางอนิษา แก้วมา), ตัวแทนคณะทำงานโหนดเฟรกชิพตรัง (พี่เลี้ยงโครงการ-นายนบ ศรีจันทร์ และ ผู้ประสานงาน-นายเชภาดร จันทร์หอม), กำนัน ต.คลองปาง-นายกฤษณะ บวรศุภศรี, ปลัด ทต.คลองปาง-นายทิพย์อำพร คำศรี และ รพ.สต.คลองปาง-นางสาวปิยพรรณ ไชยศรี ได้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคแต่ละพื้นที่ คณะทำงานเข้าใจบทบาทหน้าที่ของโครงการมากขึ้น ในการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ

 

3 0

16. อบรมให้ความรู้พร้อมทั้งสาธิตการทำ เมนูอาหารสุขภาพ

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม "เชฟกะทะเหล็ก" เป็นการอบรมให้ความรู้ เรื่อง โภชนาการอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ในการเลือกรับประทานอาหารและเลือกผลิตภัณฑ์ปรุงอาหารรวมถึงการประกอบเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อลดปัญหาการเกิด โรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน และโรคต่างๆในอนาคต พร้อมร่วมชิมอาหารจากการรังสรรค์เมนูสุขภาพ จำนวน 4 เมนู อาทิ ต้ม ยำ ตำ แกง จากผู้เข้าร่วมอบรมให้ความรู้ จำนวน 50 คน ณ โรงเรียนผู้สูงอายุ วิถีพุทธ วิถีธรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้ความเข้าใจในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ปรุงอาหาร ที่ถูกต้องในการบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและสามารถประเมินผลดัชนีชี้วัดทางโภชนาการชนิดต่างๆ ได้
  2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถที่จะคำนวณปริมาณอาหารที่บริโภค และกำหนดปริมาณอาหารในแต่ละวันได้ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน มะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นต้น
  3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเพิ่มพูนความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดและนำมาปฏิบัติได้
  4. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันในการดูแลสุขภาพให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ในการป้องกันโรคเรื้อรังบางโรคที่สามารถ ป้องกันได้ พร้อมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับคนใน ครอบครัว หรือในชุมชนต่อไป

 

0 0

17. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่2

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ประเด็น สามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ณ ห้องประชุม 116 ตึกอำนวยการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าการดำเนินการงานตามบันไดผลลัพธ์โครงการย่อยสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ 2. เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียน ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานที่ผ่านมา และนำมาปรับปรุงวางแผนการดำเนินงานของหน่วยจัดการในระยะเวลาโครงการที่เหลืออยู่ ซึ่งมี นางสุวณี สมาธิ เป็นผู้ชี้แจงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการประชุมตามกำหนดการที่วางไว้ เวลา 09.30 - 10.20 น. บรรยายพิเศษ เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์เตรียมรองรับสังคมสูงวัย ปี 2566 - 2570 โดยมี นายอนันต์ อัครสุวรรณกุล รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง เป็นวิทยากรในการบรรยาย เวลา 10.20 - 11.30 น. บรรยายพิเศษ เกี่ยวกับบทบาทและภารกิจการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมี นางสาวจามีกร ปิ่นสุข (พมจ.ตรัง) เป็นวิทยากรในการบรรยาย เวลา 11.30 - 14.30 นางธิดารัตน์ สุภานันท์ และทีม นำเข้าสู่กระบวนการ เรียนรู้ ในช่วงที่1 ให้ตัวแทนโครงการแต่ละโครงการนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้และบทเรียนการดำเนินการให้บรรลุผลลัพธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์เตรียมรองรับสังคมสูงวัยและการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ (จำนวน 11 โครงการ) พร้อมทั้ง รับประทานอาหารเที่ยง เวลา 14.30 - 14.40 น. รับประทานอาหารวาง เวลา 14.40 - 16.00 นางธิดารัตน์ สุภานันท์ และนางสาววนิดา ทับเที่ยง นำเข้าสู่กระบวนการ เรียนรู้ ในช่วงที่ 2 ให้วิเคราะห์ภารกิจงานตามบันไดผลลัพธ์ตัวชี้วัด อะไรทำได้ดี เพราะอะไร อะไรที่ยังทำไม่ได้ เพราะอะไร หากจะทำให้ได้ ควรปรับปรุงอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ระบุไว้ (วิเคราะห์แยกตามกลุ่มเป้าหมาย 35-60 ปี และเป้าหมาย 60 ปีขึ้นไป) กลุ่มที่ 1 มิติด้านสังคม วิทยากรนำคุย นางโสภา คงมา และนางสาวศรีหัทยา ชูสวรรณ นายพิศิษฏพงศ์ ปัญญาศิริพันธุ์ แขกรับเชิญพิเศษ ผู้ประธานชมรมผู้สูงอายุจังหวัดตรังและประธานสภาองค์กรคนพิการทุกประเภท จังหวัดตรัง กลุ่มที่ 2 มิติด้านสุขภาพ วิทยากรนำคุย นายจรัส วงษ์วิวัฒน์ และนางจำเนียร มานะกล้า และนายสมโชค สกุลส่องบุญศิริ และนายอาธร อุคคติ แขกรับเชิญพิเศษ นางณินท์ญาดา รองเดช ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ อตีด ผู้รับผิดชอบ งานมะเร็ง บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มที่ 3 มิติด้านการปรับสภาพแวดล้อมปลอดภัย วิทยากรนำคุย และนายตรีชาติ เลาแก้วหนู แขกรับเชิญพิเศษ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดตรัง และผอ.กองสาธารณสุข อบจ.ตรัง กลุ่มที่ 4 ,มิติด้านเศรษฐกิจและการออม วิทยากรนำคุย นายนบ ศรีจันทร์ และนายสายัณ ชูฤทธิ์ แขกรับเชิญพิเศษ ประธานเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ จังหวัดตรัง ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล จังหวัดตรัง เวลา 16.00 - 16.30 น. ชี้แจงการดำเนินงานครั้งต่อไปและปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการสูงวัย ต.คลองปาง จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1.นายประดิษฐ์ รักขาว 2.นางสาวภณิดา ห้องล่อง 3.นางสาวสุดารัตน์ ฤทธิ์ชู 4.นางสมศรี จันทร์สง และ 5.นายชวลิตร คีรีรัตน์ ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ของแต่ละโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย พร้อมการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์อื่นๆในแต่ละภาคีที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ พร้อมทั้งรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียน ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานที่ผ่านมา และนำมาปรับปรุงวางแผนการดำเนินงานของหน่วยจัดการในระยะเวลาโครงการที่เหลืออยู่

 

3 0

18. เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส.

วันที่ 27 ธันวาคม 2565 เวลา 07:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมประชุมถอดบทเรียนความรู้ระหว่างการดำเนินงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย สู่การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะแบบส่วนร่วม ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์หาดหัวหิน โดยมีนายทวี สัตยาไชย ผู้ทรงคุณวุฒิ Node Flagship Trang เป็นประธานในการเปิดการประชุมในครั้งนี้ ซึ่งผู้เข้าร่วมครั้งนี้เป็นผู้เข้าร่วมโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ทั้ง 11 พื้นที่ ดังนี้ ตำบลบ่อหิน ตำบลบางรัก ตำบลนาตาล่วง ตำบลเกาะลิบง ตำบลกันตังใต้ ตำบลคลองปาง ตำบลเกาะสุกร ตำบลควนกุน ชุมชนบางรักนครตรัง ตำบลท่าพญา และตำบลบางด้วน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน คือ 1.นางสาวภณิดา ห้องล่อง และ 2.นางสาวศรีสุดา จุลิรัชนีกร ร่วมถอดบทเรียนความรู้ระหว่างการดำเนินงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย สู่การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะแบบส่วนร่วม โดยแบ่งกลุ่มๆละ 3 พื้นที่ เข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและอุปสรรค นโยบายการทำงานของแต่ละพื้นที่

 

10 0

19. ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 1

วันที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 10:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานย่อยของโครงการ "สามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง" เพื่อติดตามความก้าวหน้า และวางแผนการดำเนินงานต่อไป จำนวน 6 คน

ณ อาคารสวัสดิการสังคม กองสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม (เทศบาลตำบลคลองปาง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีการเสนอแนวทางการร่างธรรมนูญเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่เทศบาลตำบลคลองปาง ให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ อาทิ มิติด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
  • มีการสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมทั้งระบุปัญหาการทำงาน -มีการวางแผนการดำเนินงาน(กิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ)

 

0 0

20. ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 2

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

การรายงานผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว พร้อมรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ได้ดำเนินไปในแต่ละโครงการ

ณ เทศบาลตำบลคลองปาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1.นายศุภกิจ ศาสตร์สุวรรณ 2.นางอนิษา แก้วมา 3.นายภูเมศธ์ คงเกต 4.นางสาวคณิดา ห้องล่อง และ 5.นางสาวศรีสุดา จุลิรัชนีกร ได้ทราบถึงรายละเอียด ปัญหาและอุปสรรคของกิจกรรมในโครงการที่ดำเนินมา ตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่จัด

 

0 0

21. นำเข้าข้อมูลกลุ่มเปราะบางเข้าสู่ระบบ Imed@home

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้ประสบปัญหาทางสังคม อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการและกลุ่มผู้เปราะบางในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองปาง จำนวน 2 หมู่บ้าน พร้อมให้เจ้าหน้าที่ลงข้อมูลในระบบ Imed@home

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เพื่อจัดลำดับข้อมูลในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ต้องการความช่วยเหลือในด้านต่างๆ จำนวน 6 ครอบครัว พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือและเยียวยาต่อไป โดยผู้จัดเก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูลกลุ่มเปราะบางในระบบ Imed@home คือ 1.นางอนิษา แก้วมา และ 2.นางสาวภณิดา ห้องล่อง

 

0 0

22. ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 3

วันที่ 1 มีนาคม 2566 เวลา 10:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคุณะทำงานชุดเล็ก เพื่อวางแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมในช่วงเดือน พฤษภาคม 2566 จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1.นายศุภกิจ ศาสตร์สุวรรณ 2.นางอนิษา แก้มา 3.นางสาวคณิดา ห้องล่อง 4.นางสาวศรีสุดา จุลิรัชนีกร และ 5.นายภูเมศร์ คงเกต

ณ อาคารสวัสดิการสังคม กองสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม (เทศบาลตำบลคลองปาง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้วางแผนการดำเนินงานของโครงการฯ ในการจัดกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วงเดือน พฤษภาคม  2566

 

0 0

23. ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 4

วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปางร่วมกันจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง จำนวน 20 คน

ณ อาคารสวัสดิการสังคม กองสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม (เทศบาลตำบลคลองปาง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานทราบถึงปัญหาและอุปสรรค ความแตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ ในการร่างรัฐธรรมนูญเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่

 

0 0

24. เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ)

วันที่ 19 เมษายน 2566 เวลา 07:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัย จังหวัดตรัง ปี 2566 กิจกรรมที่ 2  KICK OFF การขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดตรัง ณ ห้องประชุมภัชรัตน์ โรงแรมวัฒนา พาร์ค อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เพื่อขับเคลื่อนกลไกการทำงานผู้สูงอายุ โดยบูรณาการความร่วมมือจากภาคีเครื่อข่ายทุกภาคส่วน ภายใต้วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดีมีสุข อย่างมีคุณค่า ภายในปี 2570 โดยมีเป้าประสงค์ 5 มิติ ได้แก่ สุขภาพดี สภาพแวดล้อมดี เศรษฐกิจดี สังคมดี และเทคโนโลยีดี ซึ่งในปี 2566 มีเป้าหมายในการดำเนินการ จำนวน 20 พื้นที่ ทั้งนี้ เทศบาลตำบลคลองปางได้ส่งผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นายกิตติศักดิ์ ลิ้มเพียรดี รองนายกเทศมนตรีตำบลคลองปาง 2. นายภูเมศร์ คงเกต นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 3. นางจิติพร นิลเพชร ชมรมผู้สูงอายุ 4. นางสาวปิยพรรณ ไชยศร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

 

3 0

25. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานของโครงการฯ จำนวน 5 คน คือ 1.นางสาวภณิดา ห้องล่อง 2.นางโสภา ทับทวี 3.นางสาวศรีสุดา จุลิรัชนีกร 4.นางอนิษา แก้วมา และ 5.นายชวลิตร คีรีรัตน์ ได้เข้าร่วมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อยแต่ละพื้นที่ และการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันของภาคียุทธศาสตร์
  2. มีการรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียน ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานที่ผ่านมาของแต่ละกิจกรรมโครงการกับหน่วยจัดการระดับจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดตรัง
  3. สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุงวางแผนการดำเนินงานของโครงการฯ
  4. สมาชิกของแต่ละโครงการ อธิบายผลลัพธ์โครงการตามมิติ ทั้ง 4 มิติ

 

3 0

26. ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 4

วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานชุดย่อย จำนวน 6 คน เพื่อสรุปและรวบรวมข้อมูล ทั้งหมดลงในร่างธรรมนูญเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของเทศบาลตำบลคลองปาง

ณ อาคารสวัสดิการสังคม กองสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม (เทศบาลตำบลคลองปาง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จุดเริ่มต้นมีการให้คณะทำงานร่วมกันร่างธรรมนูญเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของเทศบาลตำบลคลองปาง ก่อนว่าจะมีใคร/หน่วยงาน ไหนที่จะเข้ามาร่วมขับเคลื่อนโครงการบ้าง ( แบบใบร่าง )
  2. แบ่งบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานตามมิติ ทั้ง 4 มิติ ( ด้านสุขภาพ,สังคม,สิ่งแวดล้อม,เศรษฐกิจ ) โดย ท้องถิ่น, ท้องที่, รพ.สต. , อสม. , แกนนำชมรมผู้สูงอายุ, แกนนำภาคประชาชน
  3. ผู้รับผิดชอบงานแต่ละมิติ การออกแบบการทำงนของตนเองเพื่อไปสู่ความสำเร็จของโครงการ
  4. สรุปร่างธรรมนูญเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของเทศบาลตำบลคลองปาง พร้อมเสนอเข้าที่ประชุม
  5. ลงพื้นที่ประชาคมให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและร่วมกันออกความคิดเห็น

 

0 0

27. จัดเวทีถอดบทเรียนคณะทำงานและตัวแทน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๐ คน เพื่อจัดทำแผน เตรียมรองรับสังคมสูงวัยและธรรมนูญสุขภาวะ (คลองปาง healthy กินดี อยู่ยืน)

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีถอดบทเรียนเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง และศึกษาเรียนรู้นอกพื้นที่ของโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง กับ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหิน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน  37 คน พร้อมทำ MOU ธรรมนูญเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่กับเครือข่ายภายในและภายนอก
-เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด -เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นมีศักยภาพในการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

 

0 0

28. ค่าจัดทำนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน

วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำพาวเวอร์พ้อยนำเสนอผลงานการดำเนินงานของโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง เพื่อนำเสนอผลงานในประชุมให้เป็นที่ประจักษ์ทุกกิจกรรมที่ดำเนินมา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเสนอผลงานการดำเนินงานของโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง ทุกกิจกรรมเพื่อให้คณะทำงานของโครงการทราบถึง ขั้นตอนการทำงาน ปัญหา และอุปสรรค

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น (ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน) มีศักยภาพใน การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล
ตัวชี้วัด : 3.เกิดพฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติได้รับการเตรียมความพร้อม มิติสุขภาพ 3.1 กลุ่มเป้าหมายมีดัชนีมวลกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ/มีพฤติกรรมลดการสูบบุหรี่ ร้อยละ 25 มิติสังคม 3.2 กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 25 มีการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียน ผู้สูงอายุ/กลุ่มอื่นๆ ) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 3.3 กลุ่มเป้าหมายมีการไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 10 3.๔ กลุ่มเป้าหมายเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ร้อยละ 25 มิติเศรษฐกิจ 3.๕ กลุ่มเป้าหมายมีการออมเตรียมสูงวัยด้วยเงิน ได้แก่ สถาบันการเงินในชุมชน ธนาคาร กอช. ประกันตนเองมาตรา 40 กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ อย่างน้อย 2 รูปแบบ ร้อยละ 25 4.เกิดคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ด้านสุขภาพ 4.1 กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 10 มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า ร้อยละ 5 4.2 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ5 4.3 กลุ่มเสี่ยงเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตรายใหม่ลดลง มากกว่าหรือเท่ากับร้อย ละ5 4.4 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 4.5 กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตที่ควบคุมระดับได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 4.6 กลุ่มติดเตียง ได้รับการดูแลร้อยละ 80 5.เกิดนโบบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล 5.1 มีการบรรจุแผนงานโครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูง วัยในแผนพัฒนาท้องถิ่นและหรือกองทุนสุขภาพตำบล 5.2 มีและใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชนในการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของพื้นที่
1.00

มี 2 ภาคีที่เข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มเติม คือ อสม. และ ท้องที่

2 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.1 มีกลไกคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจำนวน ๑๕ คน ที่ ประกอบด้วยภาคีที่หลากหลาย ประกอบด้วย ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ ได้แก่ รพ. สต. อสม. ภาคีภาคประชาชน ได้แก่ แกนนำชมรมผู้สูงอายุ ท้องที่ และแกนนำกลุ่ม องค์กรภาคประชาชน 1.๒ มีการนำเข้าข้อมูลคนเปราะบาง (ผู้สูงอายุ คนพิการและคนยากจน) เข้าสู่ ระบบ imed @home
15.00

คณะทำงานมีความตั้งใจในการทำงาน และมีประสิทธิภาพในการทำงานอยู่ในระดับดี ทำให้โครงการมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

3 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย
ตัวชี้วัด : มิติสุขภาพ 2.1 มีกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อรักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัยสูงวัย แข็งแรง 2.2 มีการรณรงค์ให้ความรู้เชิดชูเกียรติผู้ที่มีการดูแลสุขภาพปลอดโรคปลอดภัย 2.3 มีร้านลดหวานมันเค็ม 1 ร้าน 2.4 มีระบบดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว (Long Term Care) ผ่านมาตรฐานร้อย ละ 80** มิติสภาพแวดล้อม 2.5 มีครัวเรือนที่มีการปรับสภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (เจ้าบ้านปรับ เอง/ปรับโดยชุมชน/ปรับโดยหน่วยงาน เช่น อปท. พมจ. ) อย่างน้อยจำนวน ๒ ครัวเรือน 2.6 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชน เช่น วัด หรือ มัสยิด หรือ ศาลเจ้า หรือ อาคารและ สถานที่ของราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ อย่าง น้อย 1 จุด 2.7 มีช่างชุมชน/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถ ให้คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน มิติสังคม 2.๘ มีศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลเทศบาลตำบลคลองปาง
8.00

จากการทำงานที่เข้มแข็งทำให้กิจกรรมต่างๆบรรลุผลได้อย่างรวดเร็วเป็นไปตามแผน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชากร 60 ปีขึ้นไป 40
ประชากรอายุ 35-59 ปี 160

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น (ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีภาคประชาชน) มีศักยภาพใน การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้กับประชาชนในตำบล (2) 1.เกิดกลไกการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง (3) 2.เกิดสภาพแวดล้อมเตรียม รองรับสังคมสูงวัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนากลไกเตรียมรองรับสังคมสูงวัยให้มีความเข้มแข็ง (2) พัฒนาสิ่งแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (3) พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4 มิติ (4) คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (5) พัฒนานโยบายแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล (6) ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (7) บัญชีธนาคาร (8) ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 1 (9) ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 2 (10) ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 3 (11) จัดอบรมและศึกษาดูงานให้ความรู้แก่ช่าง ชุมชนท้องถิ่นที่เข้าใจแนวคิดและสามารถให้ คำแนะนำการปรับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุจำนวน ๑๕ คน (12) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ปรับพื้นที่สาธารณะใน ชุมชน เช่น วัด หรืออาคารและสถานที่ของ ราชการ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุจำนวน ๒ แห่ง (13) เดินรณรงค์ ลดหวาน มัน เค็ม (คลองปาง healthy กินดี อยู่ยืน) (14) จัดอบรมการออกกำลังด้วย ท่ารำนาฏศิลป์ไทย (15) จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ (16) เวทีปฐมนิเทศโครงการ (17) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (18) เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org) (19) ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 1 (20) ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 2 (21) ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 3 (22) นำเข้าข้อมูลกลุ่มเปราะบางเข้าสู่ระบบ Imed@home (23) ประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ครั้งที่ 4 (24) ประชุมคณะทำงานชุดเล็ก ครั้งที่ 4 (25) อบรมให้ความรู้พร้อมทั้งสาธิตการทำ เมนูอาหารสุขภาพ (26) จัดเวทีถอดบทเรียนคณะทำงานและตัวแทน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๓๐ คน เพื่อจัดทำแผน เตรียมรองรับสังคมสูงวัยและธรรมนูญสุขภาวะ (คลองปาง healthy กินดี อยู่ยืน) (27) จัดทำชุดบทเรียนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย (28) จัดทำบัญชี (29) ค่าจัดทำนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน (30) การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ (31) เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ) (32) เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด  ครั้งที่1 (33) เวทีพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (34) เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด  ครั้งที่2 (35) เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส.

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองปาง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0003

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายศุภกิจ ศาสตร์สุวรรณ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด