directions_run

โครงการส่งเสริมผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ตำบลโคกสะบ้า

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ตำบลโคกสะบ้า
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0017
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรชุมชน ตำบลโคกสะบ้า
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุพรรรพิษ สุวรรณวัฒน์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 095-0384433
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sup.suw@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายสำราญ สมาธิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.495287,99.700917place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2566 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
2 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 60,000.00
3 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พื้นที่ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง มีเนื้อที่ประมาณ 17 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 10,625 ไร่ มีอาณาเขต ติดต่อกับ ตำบลนาข้าวเสีย ตำบลช่อง อำเภอนาโยง ติดต่อกับตำบลนาชุมเห็ด ตำบลเกาะ เปียะ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนรวม 2,201 ครัวเรือน จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์ 7,224 คน ประชากรส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 70 ประกอบ อาชีพการเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว และ ผลไม้ต่าง (องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะบ้า, 2564) ในส่วนของการปลูกข้าว ตำบลโคกสะบ้า มีพื้นที่การปลูกข้าวประมาณ 826 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเพื่อ บริโภคเองในครัวเรือน ที่เหลือจึงขายโดยเน้นขายภายในชุมชน โดยมีผลผลิตข้าวเฉลี่ย 411 กก./ไร่ (ผลผลิตต่อไร่ อ.นาโยง ข้าวนาปี 63/64 สนง.เศรษฐกิจการเกษตร) จากการประมาณการบริโภคข้าวที่ 83 กก./คน/ปี ปริมาณ ข้าวสารที่ประชากรตำบลโคกสะบ้าบริโภคต่อปีจะเท่ากับ 599.592 ตัน ในขณะที่สามารถผลิตข้าวได้เพียง 224.060 ตัน (คิดที่ 66% โดยน้ำหนักข้าวเปลือก ; กรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์) คิดเป็น 37.37% ของ ปริมาณการบริโภคในตำบล ประมาณการต้องนำเข้าสารจากนอกพื้นที่ 375.532 ตัน แสดงถึงปัญหาการผลิตข้าว ในตำบลไม่พอบริโภค ต้องนำเข้าจากนอกพื้นที่ ถึงประมาณ 62.63% กรณีเป็นข้าวสารบรรจุถุงสำเร็จก็จะมีความ เสี่ยงจากการได้รับสารปนเปื้อน ส่งผลกระทบกับสุขภาพได้ สถานการณ์แนวโน้มการทำนาข้าวในพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเกิด จากเกษตรกรเปลี่ยนที่นาไปทำสวนปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสถานการณ์ผลผลิตปาล์มราคาดี ประกอบกับเกษตรกร ส่วนหนึ่งที่เป็นผู้สูงอายุ ไม่สามารถทำนาต่อได้ และไม่มีทายาทคนรุ่นใหม่สนใจรับช่วงการทำนาต่อ ประกอบกับ ต้นทุนการทำนาที่ค่อนข้างสูง เกษตรกรจำนวนหนึ่งจึงได้ตัดสินใจขายที่นาให้กับนายทุน และมีการแปรสภาพที่นา ไปเป็นสวนหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ปัญหาการทำนาข้าวใน ปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ตำบลโคกสะบ้า ยังขาดการเข้าถึงระบบชลประทาน ขาดการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีโดย ชุมชน เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวในราคาที่ค่อนข้างสูง ขาดกลไกการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม เรื่องการ ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคข้าวปลอดภัยในระดับพื้นที่ตำบล ชาวบ้านมากกว่า 50% เข้าถึงข้าวปลอดภัยใน พื้นที่ยาก เนื่องจากราคาสูง ในส่วนของผู้ผลิตที่มีศักยภาพก็ขาดแรงจูงใจ เนื่องจากไม่มีตลาดที่แน่นอน เกษตรกร ยังมีการใช้สารเคมีในการทำเกษตร ยังพบผู้ป่วยที่เกิดจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชในท่องที่อำเภอนาโยงทุกปีตั้งแต่ปี 2557-2565 จำนวน 13 ราย (รายงานมาตรฐานโรคจากการประกอบอาชีพ สสจ.ตรัง เขตสุขภาพที่ 12 จังหวัดตรัง อำเภอนาโยง) อย่างไรก็ตามในพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า ยังมีกลุ่มแปลงใหญ่นาข้าว จำนวน 558.5 ไร่ ที่ผ่านมาตรฐาน นาอินทรีย์จำนวน 154.5 ไร่และผ่านมาตรฐาน GAP จำนวน 404 ไร่ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีและถือเป็นกำลังใจที่ สำคัญแก่เกษตรกรที่รักการทำนาในพื้นที่ ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่ยังมีศักยภาพใน การพัฒนาการผลิตข้าวปลอดภัย หากได้รับการสนับสนุนอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นเรื่องการเพิ่ม ผลผลิตต่อไร่ การบริหารจัดการน้ำที่ดี การส่งเสริมให้ผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัย หรือแม้กระทั่งการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้ผู้ผลิต เพิ่มช่องทางการขาย เป็นต้น กลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลโคกสะบ้า จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นคณะทำงานเพื่อความมั่นคงทางอาหาร โคกสะบ้าขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการทำงานด้านความมั่นคงทางอาหารทั้งระบบ โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลโคก สะบ้า สำนักงานเกษตรอำเภอนาโยง และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เป็นภาคีร่วมที่สำคัญ จึงได้ จัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ตำบลโคกสะบ้า ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนา กลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การแปรรูป และการตลาด ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลและชาวตรังได้บริโภคข้าวตรังปลอดภัยต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล

1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่นอปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ.สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่ กลุ่ม องค์กรภาคประชาชนในพื้นที่
1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณีข้าวในระดับ ตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ ๘๐
1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด ข้าวตรัง
1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลครอบคลุมข้อมูล การผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าวจำนวนพื้นที่การผลิตข้าว การ วิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชน และการบริโภคข้าวตรังใน ตำบล
1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารใน ภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลและการ ร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย
1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค

2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่ เดิม
2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่ 2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์
2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง
2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภคเพิ่มขึ้น
2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล
2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับเครือข่ายตำบลที่ ดำเนินโครงการ

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย

3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10
3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เกษตรกรปลูกข้าวพื้นที่ตำบลโคกสะบ้า 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 29,500.00                                    
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 13,500.00                                    
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 19,500.00                                    
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 19,300.00                                    
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 18,200.00                                    
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,000.00                                    
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                                    
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 29,500.00 3 12,590.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการสร้างความมั่นคง ทางอาหาร ครั้งที่ 2 0 2,660.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการสร้างความมั่นคง ทางอาหาร ครั้งที่ 3 0 2,680.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหาร/อาสาสมัครเกษตรกร 0 21,500.00 5,850.00
13 มิ.ย. 65 ประชุมคณะกรรมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 1 20 2,660.00 1,240.00
7 พ.ย. 66 พัฒนาศักยภาพ คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหาร/อาสาสมัครเกษตรกร ครั้งที่ 2 0 0.00 5,500.00
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 13,500.00 2 1,440.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ัดทำแผน ยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงทาง อาหาร (กรณีข้าวปลอดภัย) ครั้งที่ 1 0 3,500.00 640.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ัดทำแผน ยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงทาง อาหาร (กรณีข้าวปลอดภัย) ครั้งที่ 2 0 3,500.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดทำข้อตกลงชุมชน ประเด็นการผลิตข้าวปลอดภัย ครั้งที่ 1 0 3,250.00 800.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดทำข้อตกลงชุมชน ประเด็นการผลิตข้าวปลอดภัย ครั้งที่ 2 0 3,250.00 -
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 19,500.00 2 7,375.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 แปลงปลูกข้าว ต้นแบบปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP 0 11,000.00 1,825.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน เพื่อข้าวปลอดภัยในโคกสะบ้า 0 8,500.00 5,550.00
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 19,300.00 1 5,840.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 อัดลักษณ์ ข้าวโคกสะบ้า 0 13,000.00 -
3 ส.ค. 65 ข้าวโคกสะบ้าเพื่อคน โคกสะบ้า 60 6,300.00 5,840.00
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 18,200.00 0 0.00
16 ก.ย. 65 การกำกับและ ติดตามการทำกิจกรรมตาม แผนงานความมั่นคงทางอาหาร (กรณีข้าวปลอดภัย 0 18,200.00 -
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 20,000.00 9 11,256.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 1 0 1,700.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 2 0 1,700.00 600.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 1 0 1,800.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1 0 1,700.00 0.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2 0 1,700.00 600.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3 0 1,700.00 356.00
1 - 3 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 0 1,700.00 1,200.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ป้ายปลอดบุหรี่ 0 1,000.00 1,500.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดทำบัญชี 0 2,000.00 2,000.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 นิทรรศการ 0 2,000.00 2,000.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประสานงานและจัดทำโครงการ 0 3,000.00 3,000.00
14 พ.ย. 65 ป้ายปลอดบุหรี่ 0 0.00 -
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
1 มิ.ย. 65 - 30 มี.ค. 66 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 17:00 น.