directions_run

2 สร้าง สร้างความมั่นคงด้านอาหาร&สร้างสุขภาพที่ดีให้คนตรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ 2 สร้าง สร้างความมั่นคงด้านอาหาร&สร้างสุขภาพที่ดีให้คนตรัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0019
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ตำบลนาพละ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกุหลาบ หนูเริก
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 089-6451814
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวชนิตา บุรีรักษ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
2 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 60,000.00
3 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบติดคลองนางน้อยและคลองน้ำเจ็ด มีหมู่บ้าน ในการปกครอง 10 หมู่บ้าน เนื้อที่ 10,130 ไร่ ประชากร 1,039 ครัวเรือน มีจำนวน 3,433 คน ประชากรโดยส่วน ใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและทำการเกษตร มีพื้นที่นาข้าวมากที่สุดในอำเภอเมืองตรัง ปี 2562 จังหวัดตรัง โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศให้ข้าวเบายอดม่วงเป็นข้าวพื้นถิ่นและเป็นสินค้า เกษตรสำคัญ ด้วยเป็นข้าวเม็ดสี มีคุณค่าทางโภชนาการ โปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ และมีสารต้านอนุมูลอิสระ และสารประกอบฟินอลิกในอัตราสูงมาก ทางจังหวัดกำลังยื่นจดทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของ จังหวัดตรัง และได้ส่งเสริมปลูกข้าวเบายอดม่วงโดยสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ส่งผลให้พื้นที่ ตำบลนาพละปลูกข้าวเบายอดม่วงมากที่สุดในจังหวัดตรัง จำนวน 200 ไร่เศษ มีเกษตรกรจำนวน 194 คน นอกจากข้าวเบายอดม่วงแล้วในตำบลนาพละยังมีการปลูกข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ อีกหลายสายพันธุ์ เช่น เล็บ นกปัตตานี เข็มทอง เข็มเงิน นางขวิด นางเอก ช่อจังหวัด เป็นต้น เกษตรกรปลูกข้าวในตำบลนาพละได้รวมกลุ่มและจดแจ้งเป็นวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ตำบลนาพละ ดำเนินการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกข้าวปลอดสารพิษ ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับการ บริโภคของคนในและต่างชุมชน ปี 2563 เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในตำบลนา พละหลายด้าน พบว่าบางครัวเรือนขาดแคลนข้าวสารสำหรับบริโภค เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจราคาสินค้าภาคการเกษตรตกต่ำ เกษตรกรมีรายได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิต อย่างยิ่ง ประกอบกับมีข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพละ พบว่าในปี 2565 ตพบลนาพละมี ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 พีระมิดประชากรมีลักษณะคล้ายทรงกรวยปากแคบแบ่งเป็นประชากรอายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 166 คน อายุ 5-19 ปี อายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 166 คน ร้อยละ 4.89 อายุ 5-19 ปี จำนวน 676 คน ร้อยละ 19.69 อายุ 20-59 ปี จำนวน 1,984 คน ร้อยละ 57.79 อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 605 คน ร้อยละ 17.62 ประชาชน ร้อยละ 98.00 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 49.51 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 36.53 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 27.87 เป็นนักเรียนนักศึกษา และ ร้อยละ 27.20 ประกอบอาชีพเกษตร สาเหตุการตายของประชากร ตำบลนาพละ ได้แก่ ไตวาย ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และเลือดออกในสมอง ตามลำดับ ข้อมูล ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าในตำบลนาพละมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างเสริมสุขภาพให้มากขึ้น ในปีผลิต 64/65 ตำบลนาพละมีการปลูกข้าว 898.78 ไร่ 331 แปลง 194 ครัวเรือน ได้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 400 กิโลกรัม คำนวณเป็นข้าวสารได้ทั้งหมด 25,165.840 กิโลกรัม จากประชากรในตำบลที่มีจำนวน 3,433 คน เราสามาถคำนวณความต้องการบริโภคข้าวสาร 1 ปี ได้เท่ากับ 284,939 กิโลกรัม (คำนวณจากปริมาณข้าวสารที่ คนไทยบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อปีมีค่ากลางเท่ากับ 83 กิโลกรัมต่อปี) ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบปริมาณข้าวที่ตำบลผลิต ได้เองกับปริมาณข้าวสารสำหรับบริโภคภายในตำบลทั้งหมดจึงพบว่าตำบลสามารถผลิตข้าวได้เพียงร้อยละ 8.83 เท่านั้น นับได้ว่ามีปริมาณข้าวที่ผลิตเองไม่เพียงพอกับการบริโภคของประชากรทั้งหมดในตำบล วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ตำบลนาพละ มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการปลูกข้าวนตำบลเนื่องจากเห็น ความสำคัญของความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบลและช่วยกันแก้ปัญหาการผลิตข้าวในเชิงระบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แต่ด้วยเป็นวิสาหกิจใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์ ยังขาดความรู้ในการผลิตข้าวปลอดภัยแบบอินทรีย์ ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรยังไม่มีมาตรฐานใดใดรองรับ และยังไม่จำหน่ายออกสู่ท้องตลาดในวงกว้างดังนั้นตำบล นาพละ โดยวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ จึงจัดทำโครงการขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกคณะทำงาน และคุณภาพ การผลิตสู่มาตรฐานปลอดภัย มาตรฐานอินทรีย์ และพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อกระจายสินค้า ข้าว ไปสู่บริโภค ต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล

1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่นอปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ.สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่ กลุ่ม องค์กรภาคประชาชนในพื้นที่
1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณีข้าวใน ระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ ๘๐
1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต โควิด ข้าวตรัง
1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลครอบคลุม ข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าวจำนวนพื้นที่การผลิต ข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชน และการบริโภค ข้าวตรังในตำบล
1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบล และการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย
1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค

2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มี อยู่เดิม
2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่
2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์
2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง
2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภคเพิ่มขึ้น
2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล
2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับเครือข่ายตำบล ที่ดำเนินโครงการ

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย

3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10
3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 130
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชาชนผู้บริโภคข้าว 100 -
เกษตรกรทำนา 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 17,200.00                                
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 8,200.00                                
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 56,500.00                                
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 15,100.00                                
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 3,000.00                                
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,000.00                                
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                                
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 17,200.00 4 11,650.00
1 - 30 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 0 600.00 700.00
1 - 31 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 0 600.00 525.00
1 - 31 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 0 600.00 525.00
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 0 600.00 -
17 ก.ย. 65 พัฒนาวิสาหกิจให้มีความเข้มแข็ง 0 11,200.00 9,900.00
1 - 31 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 0 600.00 -
1 - 30 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 0 600.00 -
1 - 31 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 0 600.00 -
1 - 31 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 0 600.00 -
1 - 28 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 0 600.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10 0 600.00 -
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 8,200.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 การจัดทำ ข้อตกลงความมั่นคงทาง อาหารข้าวตำบลนาพละ 0 8,200.00 -
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 56,500.00 3 31,925.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 การฝึกทักษะ การผลิตข้าวปลอดภัยตาม มาตรฐาน GAP 0 20,000.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 การอบรมให้ ความรู้เรื่องการแปรรูปข้าว เพื่อการบริโภคและจำหน่าย 0 15,800.00 12,025.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ธนาคารเมล็ด พันธุ์ข้าวตำบลนาพละ 0 13,350.00 11,850.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 โรงเรียน ชาวนาน้อย 0 7,350.00 8,050.00
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 15,100.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีชุมชน เพื่อสร้างการเรียนรู้และ สร้างความยอมรับต่อข้าวที่ ปลูกในพื้นที 0 11,100.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 สร้าง แพลตฟอร์มการตลาดของ ข้าวในชุมชนและเครือข่าย ข้าวในจังหวัดตรัง 0 4,000.00 -
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 3,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 การวิเคราะห์ ตัวอย่างข้าวที่ปลูกในพื้นที่ เพื่อรับรองความปลอดภัย โดยสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตรัง 0 3,000.00 -
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 20,000.00 9 7,600.00
1 - 15 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 0 1,700.00 600.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประสานงานและจัดทำโครงการ 0 3,000.00 3,000.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 นิทรรศการ 0 2,000.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ป้ายปลอดบุหรี่ 0 1,000.00 0.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดทำบัญชี 0 2,000.00 2,000.00
1 ก.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 1 0 1,700.00 800.00
1 ก.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 2 0 1,700.00 0.00
16 - 17 ก.ย. 65 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1 0 1,700.00 600.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2 0 1,700.00 0.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3 0 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 3 0 1,800.00 600.00
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
2 ส.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 17:04 น.