directions_run

โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดตรัง


“ โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี ”

ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางพิมลนาฏ เสนี

ชื่อโครงการ โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี

ที่อยู่ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0024 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดตรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 65-00-0144-0024 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดตรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตำบลนาหมื่นศรี มี8 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมดของตำบล 12,500.25 ไร่ จำนวนประชากรปี 2565 มีจำนวน 6.995 คน มีสภาพภูมิประเทศราบลุ่ม เนื้อที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่นา ชาวบ้านในอดีตจึงทำนาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับทำไร่ ทำสวน การทำนาในพื้นที่จะทำนาปีละ 1 ครั้ง หรือที่เรียกว่านาปี เหตุผลที่ทำนาปีละ 1 ครั้ง เพราะ การทำนาจะใช้น้ำฝนตามธรรมชาติ จากห้วย คลอง สำหรับทำการเกษตรเป็นหลัก มีวิธีการทำนาด้วย วิธีการดำ (นาดำ) ซึ่งจะใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก เช่น วัว ควาย และใช้ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ในการบำรุงดูแล ต้นข้าว เช่น มูลวัว มูลตวาย มูลค้างตาว เพราะเมื่อก่อนยังไม่มีปุ๋ยเคมีการเก็บเกี่ยวจะใช้มือเก็บ ใช้แกะเก็บข้าว เป็นเครื่องมือสำคัญ จึงมีการเก็บคัดแยกเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้โดยชุมชนของตนเอง มีพันธุ์ข้าวอุดมสมบูรณื เนื่องจากข้าว เจริญงอกงามดีมากจากตะกอนดินปุ๋ยที่ได้รับจากคลองนางน้อย พันธุ์ข้าวเด่นของนาหม่นศรีในยุคกก่อน เช่น ข้าว เล็บนก ข้าวไข่มดริ้น ข้าวนางเอก ข้าวลูกขอ ข้าวช่อเจียก ข้าวงวงช้าง ข้าวช่อมุด ข้าวนางกอง ข้าวขาวรวงยาว ข้าวเหนียวกระเด็น ข้าวเหนียวช่อมุด ข้าวเหนียวไม้ไผ่ เป็นต้น ในปัจจุบันการปลูกข้าวของเกษตรกรจะใช้วิธีการปลูกแบบการหว่าน (นาหว่าน) เป็นหลักถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ยังคงใช้วิธีการปลูกแบบการดำ (นาดำ) และใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงค้นข้าว ส่วน พันธุ์ข้าวในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐ และพันธุ์ข้าวมีการเปลี่ยนแปลงไป ตามวิถีชีวิตของคน เช่น เมื่อก่อนคนจะใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่จึงต้องกินข้าวแข็งเพื่อให้อิ่ม อยู่ท้องนาน แต่ ปัจจุบันวิถีชีวิตเปลี่ยนไปนิยมกินข้าวที่มีความหอม นุ่ม มากกว่า พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในตอนนี้ เช่น ข้าวเล็บนก ข้าวนางขวิด ข้าวนางเอก ข้าวสังข์หยด ข้าวหอมประทุม ข้าวเข็มเพชร ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวเบายอดม่วง ข้าวเหนียว ลืมผัว ข้าวเหนียวดำหมอ เป็นต้น ปัจจุบันตำบลนาหมื่นศรีมีกลุ่มนาที่อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว จังหวัดพัทลุง และ สำนักงานเกษตรอำเภอนาโยงอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มนาแปลงใหญ่และกลุ่มนาอินทรีย์ เพื่อพัฒนา และแก้ไขปัญหาการทำนาของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรที่ทำนามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงความ ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ ปลอดภัยของการบริโภคในครัวเรือนเป็นสำคัญ เพราะเกษตรกรจะปลูกข้าวเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนเป็นหลัก และส่วนที่เหลือจากการบริโภคจะนำไปจำหน่ายให้กับคนในชุมชนได้บริโภคในราคาที่ถูกกว่าราคาในท้องตลาด เมื่อระยะเวลาเปลี่ยนแปลงไปการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย รวมทั้งวิถีการ ทำนาและพื้นที่นาในตำบลนาหมื่นศรีที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากกรมชลประทานที่สร้างขึ้นมามีลักษณะต่ำ กว่าพื้นที่นาที่มีอยู่เดิม ทำให้น้ำจากนาข้าวไหลลงคลองชลประทาน ส่งผลให้นาข้าวแห้งแล้งเกิดความเสียหายเป็น อย่างมาก ชาวบ้านที่ทำนาจึงเปลี่ยนจากทำนามาทำสวนยางพาราแทน และเมื่อกระแสการท่องเที่ยวในตำบลนา หมื่นศรีเป็นที่โด่งดังมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่นาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว สถานประกอบการ และสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำให้ในปัจจุบันพื้นที่นาในตำบลนาหมื่นศรี เหลืออยู่ประมาณ 1,500 ไร่ ในปี 2563 มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในตำบลนาหมื่นศรีในวงกว้าง ปี 2564 ที่ผ่านมามีการ สำรวจความคิดเห็นเรื่องผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด 19 ต่อประชากรในตำบลนาหมื่นศรี แบ่งออกเป็น 3 ด้าน พบว่า ผลกระทบทางด้านสุขภาพกายจิตที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ภาวะเครียด วิตกกังวล กลัว ตื่น ตระหนก หมดไฟ เบื่อหน่าย ท้อแท้ ซึมเศร้า ผลกระทบทางด้านสังคมทำให้เกิดความตระหนก ตื่นกลัวและมีการ นำมาสู่ความแตกแยก เกิดการกีดกันโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของการระบาดของโรคโควิด-19 การติด ติดต่อสื่อสารทางสังคม ทั้งทางระหว่างผู้คนและสถานที่ การสื่อสารบางครั้งทำให้คนในชุมชนได้รับข่าวสารไม่ทั่วถึง และครบถ้วน จึงทำให้การรับรู้ข่าวสารของคนในชุมชนไม่เท่าเทียมกัน บางกลุ่มจึงขาดการรับรู้ข่าวสารในบางเรื่อง ไปบ้าง และผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ภาคประชาชน และภาคธุรกิจจำนวนมากต้องปิดกิจการชั่วคราว จากมาตรการรัฐ ธุรกิจที่เปิดอยู่ ก็ชะลอตัว ประชาชนบางส่วนตกงาน การจ้างงานลดลง ขาดรายได้ จำเป็นต้อง กลับไปอยู่บ้าน สำหรับบางคนโชคดีที่บ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพราะเป็นอาชีพที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากพืชผลทางการเกษตรเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้อุปโภคบริโภคเป็นประจำทุกวัน ข้าวจึงเป็นทางออกของ วิกฤตการณ์ในครั้งนี้ได้ดีที่สุด เนื่องจากมีความสอดคล้องกับวิถีการผลิตของคนในตำบลนาหมื่นศรีเอง ในปีผลิต 64/65 ตำบลนาหมื่นศรีมีการปลูกข้าว จำนวน 1,570.92ไร่ ได้ผลผลิตทั้งหมด 645,648.12 กิโลกรัม(ข้อมูลจากเกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอ เฉลี่ยผลผลิต 411 กิโลกรัมต่อไร่) สามารถคำนวณเป็นข้าวสาร ได้ทั้งหมด 451,953.68 กิโลกรัม หรือ 451.95 ตัน (คำนวณจากฐานข้าวเปลือกคูณกับ 70% จะได้เป็นปริมาณ ข้าวสารกล้อง) มีการจำหน่ายข้าวที่ปลูกเองในตำบลจำนวน 3 แห่ง ประชากรในตำบลมีจำนวน 6,995 คน สามารถคำนวณเป็นข้าวสารที่ต้องบริโภคในจำนวน 1 ปี เท่ากับ 580.585 ตัน (คำนวณจากปริมาณข้าวสารที่คน ไทยบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อปีมีค่ากลางเท่ากับ 83 กิโลกรัมต่อปี) ดังนั้นจึงมีข้าวที่ผลิตได้เองภายในตำบล เปรียบเทียบกับข้าวสารสำหรับบริโภคภายในตำบลได้ร้อยละ 77.84 ยังไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคทั้งปีของ ประชากรในตำบลนาหมื่นศรีทั้งหมด หากพิจารณาแนวคิดความมั่นคงทางอาหารที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชนตามหลัก 4 หลัก พบว่า ความเพียงพอ ข้าวที่ปลูกภายในตำบลยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการและมีคุณภาพน้อย การ เข้าถึง ข้าวปลอดภัยมีปริมาณน้อยเพราะรับข้าวสารมาจากภายนอกจังหวัด มีการปนเปื้อนของสารพิษที่ส่งผลต่อ สุขภาพ จึงมีข้อจำกัดต่อการเข้าถึงข้าวที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ การใช้ประโยชน์การใช้ประโยชน์จากข้าวที่ผลิต ภายในตำบลไม่ครอบคลุมกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำของห่วงโซ่มูลค่า เสถียรภาพ พบว่าตำบลนา หมื่นศรีมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารในประเด็นข้าวพอสมควร ถ้าเกิดกรณีวิกฤตการณ์ภัยธรรมชาติหรือ โรคระบาดต่อเนื่องยาวนานและระบบคมนาคมขนส่งถูกตัดขาดก็จะส่งผลต่อประชาชนในตำบลตามตัวอย่างผล สำรวจผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในตำบลนาหมื่นศรีข้างต้น ดังนั้นเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ในระดับตำบลนาหมื่นศรี จึงได้มีการ จัดโครงการ สร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรีขึ้น เพื่อให้มีการ จัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่ การพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐาน ข้าวปลอดภัย มีจำนวนครัวเรือนผลิตข้าวและพื้นที่การผลิตข้าวเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลได้บริโภค ข้าวปลอดภัยโดยชุมชนเอง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล
  2. เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค
  3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร
  2. พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล
  3. การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ
  4. ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย
  5. ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น
  6. ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม
  7. ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 2
  8. ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 3
  9. เวทีจัดทำข้อตกลง ความมั่นคงทางอาหารข้าว ตำบลนาหมื่นศรี
  10. การจัดทำแปลงนา เพื่อสร้างการเรียนรู้เบิกนาใหม่ ในพื้นที่สาธารณะ ม.1 ตำบลนา หมื่นศรี
  11. ธนาคารเมล็ด พันธุ์ข้าวตำบลนาหมื่นศรี
  12. การวิเคราะห์ ตัวอย่างข้าวที่ปลูกในพื้นที่เพื่อ รับรองความปลอดภัยโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรัง
  13. ปฐมนิเทศโครงการย่อย
  14. นิทรรศการ
  15. ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 1
  16. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1
  17. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4
  18. ARE ครั้งที่ 1
  19. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2
  20. พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1
  21. ป้ายปลอดบุหรี่
  22. ประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ
  23. จัดทำบัญชี
  24. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5
  25. พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2
  26. พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3
  27. ARE ครั้งที่ 2
  28. ARE ครั้งที่ 3
  29. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3
  30. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6
  31. การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 1
  32. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7
  33. การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 2
  34. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 8
  35. การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 3
  36. ศึกษาดูงานการ จัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งและยั่งยืน
  37. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9
  38. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10
  39. พัฒนาโรงสีข้าวชุมชนสู่มาตรฐานปลอดภัย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มผู้บริโภคข้าว 100
กลุ่มเกษตรกรทำนา 30

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. นิทรรศการ

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำนิทรรศการเพื่อให้ความรู้แก่ชาวบ้าน หรือผู้ที่สนใจในประเด็นความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต ณ วัดไร่พรุ จังหวัดตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งชาวบ้านในพื้นที่ คณะสงฆ์ เครือข่ายสถานศึกษา นักเรียน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นผู้เปิดกิจกรรม.... เรียนรู้ในเรื่องคุณประโยชน์ของข้าวเบายอดม่วง ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมือง และได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกในพื้นที่จังหวัดตรัง รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือวิสาหกิจชุมชน และการเกษตรปลอดสารเคมีของโรงเรียนต้นบากราษฏร์บำรุง

 

0 0

2. ปฐมนิเทศโครงการย่อย

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปฐมนิเทศและร่วมกิจกรรมบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะพื้นที่จังหวัดตรัง ตรังเมืองแห่งความสุข เมืองคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต "ข้าว" ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ตัวแทนคณะทำงาน คือ นางเพรียงใจ ชุมนาค ได้เข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการย่อยร่วมกับ Node Flagship จังหวัดตรัง ทำให้เข้าใจแนวทางการดำเนินงานของ Node Flagship จังหวัดตรัง ซึ่งมีประเด็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าวตรัง
  • คณะทำงานได้ทำความเข้าใจบันไดผลลัพธ์โครงการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าวตรัง ผลลัพธ์ กิจกรรม และตัวชี้วัดสำคัญ
  • คณะทำงานได้ทำความเข้าใจระเบียบการเงิน ระบบการรายงาน www.happynetwork.org รวมถึงการบันทึกความร่วมมือ MOU ร่วมกับหน่วยงานภาคีภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคภาคประชาชน

 

0 0

3. ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 1

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย อปท. รพ.สต. ผู้นำท้องที่ ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ โดยการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อย 3 ครั้งตลอดการดำเนินโครงการ ณ อบต.นาหมื่นศรี อ.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุม 17 คน ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรอำเภอนาโยง-นางจรัสศรี แก้วนิลประเสร็จ, สถานศึกษา-นายพิทยา หวานขัน และนางชนาภา สุระกุล, รพ.สต.นาหมื่นศรี-นางจตุพร อ่อนรู้ที่, หน่วยจัดการที่มีจุดเน้นระดับจังหวัด (Node Flagship Trang)-นางสุวณี สมาธิ, นายทวี สัตยาไชย และนางสาวสริตา หันหาบุญ รวมถึงคณะทำงาน ต.นาหมื่นศรี โดยมีวิทยากร คือ นายเอกราช แก้วนางโอ นักวิชาการเกษตรศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้พูดคุยและแลกเปลี่ยน ประเด็น 1.การแต่งตั้งคณะกรรรม ซึ่งประกอบด้วย.....

 

30 0

4. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 13 สิงหาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ การจัดทีมงานคณะทำงาน เตรียมการวางแผนการดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี รวมถึงประชุมคณะทำงาน รวบรวมข้อมูลเกษตรกรทำนาข้าว เพื่อเป็นฐานข้อมูลเกษตรกรทำนาตำบลนาหมื่นศรี ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน และพี่เลี้ยงโครงการ-นายสำราญ สมาธิ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ การจัดทีมงานคณะทำงาน เตรียมการวางแผนการดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี การเก็บรวบรวมข้อมูลเกษตรกรทำนาข้าว เพื่อเป็นฐานข้อมูลเกษตรกรทำนาตำบลนาหมื่นศรี สำหรับการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในระดับตำบลต่อไป

 

0 0

5. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2

วันที่ 11 กันยายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 ประชุมเพื่อจัดทำแผนการดำเนินโครงการ กำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรมการดำเนินการ ณ โรงสีข้าวชุมชน ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ในการประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 2 โดยพี่เลี้ยงโครงการ คือ นายสำราญ สมาธิ พี่เลี้ยงในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ต.นาหมื่นศรี และนางสุวณี สมาธิ ผู้จัดการหน่วยจัดการระดับจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญ จังหวัดตรัง ร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินโครงการ คือ...... และกำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรมการดำเนินการ ดังนี้ 1.ผู้รับผิดชอบโครงการ-นางพิมลนาฎ เสนี 2.ประชาสัมพันธ์-นางเพรียงใจ ชุมนาค 3.กรรมการ-นางจะเรียม นิลลออ,นางสมจิตร ฤทธิมา, นายเจริญ ศรนรายณ์ 4.บัญชี-นางสาวอารีรัตน์ แสงอาทิตย์

 

0 0

6. พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้ระบบ Happy Network เพื่อรายงานกิจกรรมและบันทึกกรายงานการเงิน รวมถึงการใช้โปรแกรม CANVA ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 2 คน คือ นางพิมลนาฏ เสนี ผู้รับผิดชอบโครงการนาข้าว ต.นาหมื่นศรี และนางเพรียงใจ ชุมนาค ซึ่งจากการอบรม ทำให้คณะทำงานเข้าใจการใช้ระบบ HappyNetwork เพื่อบันทึกข้อมูลทั้งการรายงานกิจกรรมและการเงินของโครงการ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิโปรแกรม CANVA ที่เป็นตัวช่วยในการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการนำเสนอที่หลากหลายรูปแบบยิ่งขึ้น

 

0 0

7. ป้ายปลอดบุหรี่

วันที่ 20 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายบันไดผลลัพธ์โครงการรวมถึงป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อให้คนในพื้นที่รวมถึงผู้ที่สนใจได้รับความรู้ และเกิดความตระหนักถึงโทษของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดทำป้ายบันไดผลลัพธ์โครงการรวมถึงป้ายเขตปลอดบุหรี่ ส่งผลให้คนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับโทษของการสูบบุหรี่ที่ส่งผลต่อสุขภาพให้กับผู้สูบและคนรอบข้าง ก่อให้เกิดโรค อาทิ มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง วัณโรค หรือภูมิแพ้ รวมถึงโรคอื่นที่จะตามมา เช่น หลอดเลือดสมองตีบ-แตก-ตาย โรคหัวใจ หรืออาจส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงแท้งได้

 

0 0

8. ประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ

วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เป็นภาคีเพื่อเข้าร่วมประชุม โดย นางพิมลนาฏ เสนี ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เป็นภาคีเพื่อเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย -องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น -เกษตรอำเภอผู้รับที่่ผิดชอบตำบล -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหมื่นศรี -โรงเรียนบ้านควนสวรรค์ โรงเรียนไรงาม -กำนันหรือตัวแทน -กลุ่มนาแปลงใหญ่ -กลุ่มนาอินทรีย์ -วิสาหกิจชุมชนโรงสี -ศูนย์ข้าวชุมชนตำบล -คณะทำงานโครงการ -ภาคประชาชน

 

0 0

9. จัดทำบัญชี

วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวอารีรัตน์ แสงอาทิตย์ ผู้จัดทำบัญชี และบันทึกข้อมูลลงในระบบ happynetwork ในงวดที่ 1-3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้จัดทำบัญชี ลงในระบบ happynetwork ในงวดที่ 1-3 เรียบร้อยแล้ว

 

0 0

10. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 16 ตุลาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเพื่อตามงาน/ติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมโครงการ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน พูดคุยและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม ประเด็น....

 

0 0

11. ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมสะท้อนผลลัพธ์ระดับจังหวัด ในการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ยกระดับการพัฒนา ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมประเด็นความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ณ วิทยาลัยบรมราชชนนีตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 2 คน คือ นางพิมลนาฏ เสนี ผู้รับผิดชอบโครงการ และนางสมจิตร ฤทธิมา คณะทำงานเครือข่ายนาข้าว ต.นาหมื่นศรี  พูดคุยประเด็นปัญหาที่พบระหว่างการดำเนินกิจกรรมของโครงการ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่อง และความก้าวหน้าของการดำเนินงานในแต่ละโครงการย่อย รวมถึงการแลกเปลี่ยน เสนอแนวคิดการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ร่วมกับคณะทำงานโครงการย่อยนาข้าวทั้ง 11 พื้นที่

 

0 0

12. การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 1

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน 1.อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ 2.การขึ้นทะเบียนข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 17 คน โดยมีวิทยากร คือ นางสาวณัฐธยาน์ มียัง อบรมการฝึกทักษะการผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน 1.อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ 2.การขึ้นทะเบียนข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์

 

30 0

13. การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 2

วันที่ 20 ธันวาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAPและมาตรฐานอินทรีย์ 2.การขึ้นทะเบียนข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน โดยมีวิทยากร คือ นางสาวอุบลวรรณ ทองชั่ง อบรมให้ความรู้ ดังนี้ 1.อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAPและมาตรฐานอินทรีย์ 2.การขึ้นทะเบียนข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์

 

20 0

14. การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 3

วันที่ 20 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAPและมาตรฐานอินทรีย์ 2.การขึ้นทะเบียนข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน โดยมีวิทยากร คือ นางสาวอุบลวรรณ ทองชั่ง อบรมให้ความรู้ 1.การผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAPและมาตรฐานอินทรีย์ 2.การขึ้นทะเบียนข้าวปลอดภัยตามมาตรฐานGAP และมาตรฐานอินทรีย์

 

30 0

15. ศึกษาดูงานการ จัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งและยั่งยืน

วันที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศึกษาดูงานการ จัดการวิสาหกิจชุมชนชาวนาพัทลุง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนภายในเครือข่ายเกษตรกรทำนา ต.นาหมื่นศรี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานของโครงการจำนวน 15 คน ตามกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย จัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งและยั่งยืน-กลุ่มนาแปลงใหญ่ -กลุ่มนาอินทรีย์ 1คน -ศูนย์ข้าวชุมชนตำบล 1คน -เกษตรอำเภอผู้ที่รับผิดชอบตำบล 1คน -องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1คน -กำนันหรือตัวแทน 1คน -คณะทำงานโครงการ และประชาชนผู้ที่สนใจอีก 10 คน โรงสี วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา ผู้ใหญ่ดำ ประธานวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา เล่าว่า...ความจนกับชาวนา อยู่มาตั้งแต่รุ่นพ่อเฒ่า ส่งต่อมายังรุ่นพ่อรุ่นแม่ จนถึง ลูก ผมโชคดีได้เรียนหนังสือ และไปรับจ้างตัดข้าวที่อีสาน เห็นว่า ถ้าทำแต่นาไม่มีทางหายจน คนทำนา หน้าด้าน หน้าทน ขาดทุน ก็ทำ คำถามผมคือ ทำไมโรงสีไม่จน และรวยขึ้น จึงชวนเพื่อนในตำบลทำโรงสี เรื่มต้นจากเล็ก ๆ แล้วสีขายตามออเดอร์ เก็บเบี้ยจากแกลบ รำ ปลายข้าว แต่ก็เห็นว่า ช่วยคนในพื้นที่ได้ไม่ทั่วถึง เมื่อรัฐมีโครงการนาข้าวแปลงใหญ่ ได้รวมกลุ่ม ระดมทุนในการสร้างโรงสี เมื่อมีกำไรก็ปันผลให้สมาชิก สิ่งที่สมาชิกได้ คือ ข้าวมีที่รับซื้อและไม่กดราคา คนในบ้านก็ได้กินข้าวปลอดภัย ..ความฝันที่จะมีโรงสีใหญ่ ก็เกิดขึ้น ว่า พวกเราระโนด สทิงพระ ทำนากันจังเสีย ทำอย่างไรให้ ชาวนาอยู่ให้ได้ จึงเสนอโครงการโรงสีของบประมาณจากหน่วยงานราชการ จนก่อสร้างและเปิดใช้ ขณะนี้โรงสีมีคนทำงานประจำ 2 คน และทำงานช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ เพราะค่าไฟฟ้า ลดครึ่งหนึ่ง การทำงานของเครื่องสี เร็วและได้ข้าวคุณภาพดี เพราะในอดีตการสีข้าว 1 ตัน โดยสีข้าวตลอดทั้งวัน ซึ่งต้องผลัดเวรกัน แต่ตอนนี้ถ้าเครื่องทำงาน 24 ชั่วโมง สีข้าวได้ถึง 40 ตัน คนทำงานมีเวลาที่จะทำหน้าที่อื่น เช่น บรรจุถุง และส่งข้าว "สีใหม่ ขายสด"..ไม่ใช้ยากันมอด กันรา สีแล้วต้องส่งให้ถึงมือคนกิน ได้เร็ว ตามออเดอร์ของลูกค้า การรับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกจะจ่ายเงินสด จากนั้นนำมาอบเก็บที่อุณหภูมิ....องศาเซลเซียล โดยพบว่าผู้บริโภคชอบข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งพื้นที่ไม่สามารถปลูกเองได้ จึงต้องซื้อข้าวเปลือกจากเครือข่ายฯ ของภาคอีสาน แต่มีปัญหา คือ ไม่สามารถควบคุมดูแลกระบวนการปลูกข้าว รวมถึงต้นทุนการรับซื้อข้าวน้อย จึงต้องมีการปรับและหาความรู้เพิ่มเติม โดยโรงสีข้าวจังหวัดพัทลุง ได้รับความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และส่วนราชการ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องและช่วยเหลือชาวนาอย่างเต็มที่ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ 1... 2... 3... 4... 5....

 

20 0

16. เวทีจัดทำข้อตกลง ความมั่นคงทางอาหารข้าว ตำบลนาหมื่นศรี

วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เตรียมการประสานงานภาคีต่าง ๆ โดยมีการเสวนาระดมความคิดเห็นร่วมกับคณะทำงาน เครือข่ายเกษตรกรทำนา ผู้นำท้องถิ่น และองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในประเด็นความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด รวมถึงกำหนดแผนการดำเนินงานตามข้อตกลงร่วมกัน และจัดทำฐานข้อมูลความมั่นคงทางอาหารข้าวของตำบล ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน โดยมีวิทยากร คือนางสาวณัฐธยาน์ มียัง เสวนาในประเด็น 1....2.... 3....โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลประเด็นความทางอาหารของข้าวในระดับตำบล ต.นาหมื่นศรี พบว่า ด้านการผลิตข้าว ในพื้นที่มีการปลูกข้าวจำนวน....ไร่ ได้ผลผลิต....กิโลกรัม สามารถคำนวณเป็นข้าวสาร ทั้งหมด โดยมีการจำหน่ายข้าวที่ปลูกเอง จำนวน...แห่ง จากข้อมูลพื้นฐาน ต.นาหมื่นศรี มีประชากร 6,995 คน คำนวณความต้องการของผู้บริโภคใน 1 ปี เท่ากับ 580.58 ตัน ดังนั้นข้าวที่ผลิตภายในตำบลเปรัยบเทียบกับข้าวที่บริโภคภายในตำบลได้ในร้อยละ.... ซึ่งเพิ่มขึ้น/ลดลง กว่าปีที่ผ่านมา............

 

0 0

17. การจัดทำแปลงนา เพื่อสร้างการเรียนรู้เบิกนาใหม่ ในพื้นที่สาธารณะ

วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การจัดทำแปลงนาเพื่อการเรียนรู้เบิกนาใหม่ ณ ต.บ้านโพธิ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดทำแปลงนาบุกเบิกใหม่ ที่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเครือข่ายกลุ่มทำนา ต.นาโยงเหนือ โดยการปรับสภาพพื้นที่ดินให้เหมาะสมแก่การปลูกข้าวเบายอดม่วง ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมืองจังหวัดตรัง ในพื้นที่ 7 ไร่ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1.การจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวเบายอดม่วงให้เพียงต่อพื้นที่ในการปลูก จำนวน 24 กิโลกรัมที่ผ่านการคัดเลือกอย่างมีคุณภาพ จากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่น่าเชื่อถือ 2.การเตรียมเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดใส่กระสอบและแช่น้ำไว้ 12-24 ชม. จากนั้นสะเด็ดน้ำประมาณ....เพื่อให้เมล็ดข้าวงอก 3.การนำเมล็ดข้าวลงดินด้วยการหว่าน ในช่วง...... ซึ่งต้องมีการควบคุมระดับให้เหมาะสม โดยตามบริบทสภาพพื้นที่แปลงนา ได้รับน้ำจาก...4.การดูแลใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ในช่วง.... รวมถึงการกำจัดวัชพืช ศัตรูพืช และโรคพืช ซึ่งผลผลิตที่ได้..... และพบปัญหาอุสรรค คือ...... ควรปรับปรุง...... เพื่อนำไปปรับใช้ในการเพาะปลูกฤดูกาลถัดไป

 

0 0

18. ธนาคารเมล็ด พันธุ์ข้าวตำบลนาหมื่นศรี

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

0 0

19. ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4

วันที่ 17 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน ครั้ง 4 ในประเด็น 1..... 2...... 3...... รวมถึงการจัดเตรียม/ติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมโครงการ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 12 คน ทำให้เกิด......

 

0 0

20. พัฒนาโรงสีข้าวชุมชนสู่มาตรฐานปลอดภัย

วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

การพัฒนาโรงสีข้าวชุมชนสู่มาตรฐานปลอดภัย เพื่อเพิ่มคุณภาพของข้าวที่สี จากโรงสีภายในชุมชน ประชาชนภายในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น เกิดความมั่นใจ เห็นถึงประโยชน์ข้าวตรัง และหันมาบริโภคข้าวภายในตำบลมากยิ่งขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากข้อมูลพบว่า ต.นาหมื่นศรี มีเนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นา เกษตรกรที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน และส่วนที่เหลือจากการบริโภคจะจำหน่ายให้กับคนในชุมชม ที่ขายในราคา....โดยถูกกว่าราคาในตลาด ซึ่งในการเพิ่มมูลค่าทั้งในแง่ของสุขภาวะ ของผู้บริโภคและการตลาดของข้าวเปลือกหลังจากการเก็บเกี่ยวในแต่ละปี คือ การนำข้าวเปลือกมาทำเป็นข้าวสาร โดยปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ โรงสีข้าวที่มีคุณภาพ ต.นาหมื่นศรี พบปัญหา คือ 1.เมื่อสีข้าวจากโรงสีภายในชุมชน ข้าวสารที่ได้จะมีการปนของเศษหิน ดิน ขยะอื่น ๆ จึงไม่สามารถบริโภคได้ทันที 2.......3...... จึงได้มีการจัดซื้อวัสดุ ในการพัฒนาโรงสีข้าวเพื่อยกระดับคุณภาพของข้าวภายในชุมชน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล
ตัวชี้วัด : 1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่น นายกอบต.นาหมื่นศรี. เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล รพ.สต.นาหมื่นศรี กำนัน ตัวแทนกลุ่มนาแปลง ใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่ กลุ่มองค์กรภาค ประชาชนในพื้นที่ เช่น สภาองค์กรชุมชนตำบล ชมรมผู้สูงอายุตำบล ประธานกลุ่มผ้าทอ จำนวน 17 1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณี ข้าวในระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ 80 1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารใน ภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง 1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบล ครอบคลุมข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าว จำนวนพื้นที่การผลิตข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าว ตรังของชุมชน และการบริโภคข้าวตรังในตำบล 1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลนาหมื่นศรีดำเนินโครงการสร้าง ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคง ทางอาหารข้าวตรังในตำบลและการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย 1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน
1.00

เนื่องจากนาหมื่นศรีมีองค์กรในระดับชุมชนหลายองค์กร การประสานความร่วมมือมีอุปสรรคบ้าง และทีมทำงานรุ่นหนุมสาวมีจำนวนน้อย

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค
ตัวชี้วัด : 2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลนาหมื่นศรีเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่เดิม 2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูก ในพื้นที่ 2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ 2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง 2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภค เพิ่มขึ้น 2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล 2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับ เครือข่ายตำบลที่ดำเนินโครงการ
2.00

ปริมาณฝนตกมากเกินเกณฑ์เป็นอุปสรรคต่อการขยายพื้นที่การปลูกข้าว

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 130
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มผู้บริโภคข้าว 100
กลุ่มเกษตรกรทำนา 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล (2) เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค (3) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร (2) พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล (3) การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ (4) ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย (5) ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น (6) ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม (7) ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 2 (8) ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 3 (9) เวทีจัดทำข้อตกลง ความมั่นคงทางอาหารข้าว ตำบลนาหมื่นศรี (10) การจัดทำแปลงนา เพื่อสร้างการเรียนรู้เบิกนาใหม่ ในพื้นที่สาธารณะ ม.1 ตำบลนา หมื่นศรี (11) ธนาคารเมล็ด พันธุ์ข้าวตำบลนาหมื่นศรี (12) การวิเคราะห์ ตัวอย่างข้าวที่ปลูกในพื้นที่เพื่อ รับรองความปลอดภัยโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรัง (13) ปฐมนิเทศโครงการย่อย (14) นิทรรศการ (15) ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 1 (16) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 (17) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4 (18) ARE ครั้งที่ 1 (19) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 (20) พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1 (21) ป้ายปลอดบุหรี่ (22) ประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ (23) จัดทำบัญชี (24) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 (25) พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2 (26) พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3 (27) ARE ครั้งที่ 2 (28) ARE ครั้งที่ 3 (29) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (30) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 (31) การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 1 (32) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7 (33) การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 2 (34) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 8 (35) การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 3 (36) ศึกษาดูงานการ จัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งและยั่งยืน (37) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9 (38) ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10 (39) พัฒนาโรงสีข้าวชุมชนสู่มาตรฐานปลอดภัย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0024

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางพิมลนาฏ เสนี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด