directions_run

โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรี
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0024
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มวิสาหกิจผลิตข้าวชุมชนตำบลนาหมื่นศรี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพิมลนาฏ เสนี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 094-3177132
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ areerat.sunshine@outlook.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายสำราญ สมาธิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
2 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 60,000.00
3 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลนาหมื่นศรี มี8 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมดของตำบล 12,500.25 ไร่ จำนวนประชากรปี 2565 มีจำนวน 6.995 คน มีสภาพภูมิประเทศราบลุ่ม เนื้อที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่นา ชาวบ้านในอดีตจึงทำนาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับทำไร่ ทำสวน การทำนาในพื้นที่จะทำนาปีละ 1 ครั้ง หรือที่เรียกว่านาปี เหตุผลที่ทำนาปีละ 1 ครั้ง เพราะ การทำนาจะใช้น้ำฝนตามธรรมชาติ จากห้วย คลอง สำหรับทำการเกษตรเป็นหลัก มีวิธีการทำนาด้วย วิธีการดำ (นาดำ) ซึ่งจะใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก เช่น วัว ควาย และใช้ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ในการบำรุงดูแล ต้นข้าว เช่น มูลวัว มูลตวาย มูลค้างตาว เพราะเมื่อก่อนยังไม่มีปุ๋ยเคมีการเก็บเกี่ยวจะใช้มือเก็บ ใช้แกะเก็บข้าว เป็นเครื่องมือสำคัญ จึงมีการเก็บคัดแยกเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้โดยชุมชนของตนเอง มีพันธุ์ข้าวอุดมสมบูรณื เนื่องจากข้าว เจริญงอกงามดีมากจากตะกอนดินปุ๋ยที่ได้รับจากคลองนางน้อย พันธุ์ข้าวเด่นของนาหม่นศรีในยุคกก่อน เช่น ข้าว เล็บนก ข้าวไข่มดริ้น ข้าวนางเอก ข้าวลูกขอ ข้าวช่อเจียก ข้าวงวงช้าง ข้าวช่อมุด ข้าวนางกอง ข้าวขาวรวงยาว ข้าวเหนียวกระเด็น ข้าวเหนียวช่อมุด ข้าวเหนียวไม้ไผ่ เป็นต้น ในปัจจุบันการปลูกข้าวของเกษตรกรจะใช้วิธีการปลูกแบบการหว่าน (นาหว่าน) เป็นหลักถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ยังคงใช้วิธีการปลูกแบบการดำ (นาดำ) และใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงค้นข้าว ส่วน พันธุ์ข้าวในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐ และพันธุ์ข้าวมีการเปลี่ยนแปลงไป ตามวิถีชีวิตของคน เช่น เมื่อก่อนคนจะใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่จึงต้องกินข้าวแข็งเพื่อให้อิ่ม อยู่ท้องนาน แต่ ปัจจุบันวิถีชีวิตเปลี่ยนไปนิยมกินข้าวที่มีความหอม นุ่ม มากกว่า พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในตอนนี้ เช่น ข้าวเล็บนก ข้าวนางขวิด ข้าวนางเอก ข้าวสังข์หยด ข้าวหอมประทุม ข้าวเข็มเพชร ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวเบายอดม่วง ข้าวเหนียว ลืมผัว ข้าวเหนียวดำหมอ เป็นต้น ปัจจุบันตำบลนาหมื่นศรีมีกลุ่มนาที่อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว จังหวัดพัทลุง และ สำนักงานเกษตรอำเภอนาโยงอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มนาแปลงใหญ่และกลุ่มนาอินทรีย์ เพื่อพัฒนา และแก้ไขปัญหาการทำนาของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรที่ทำนามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยคำนึงถึงความ ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ ปลอดภัยของการบริโภคในครัวเรือนเป็นสำคัญ เพราะเกษตรกรจะปลูกข้าวเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนเป็นหลัก และส่วนที่เหลือจากการบริโภคจะนำไปจำหน่ายให้กับคนในชุมชนได้บริโภคในราคาที่ถูกกว่าราคาในท้องตลาด เมื่อระยะเวลาเปลี่ยนแปลงไปการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย รวมทั้งวิถีการ ทำนาและพื้นที่นาในตำบลนาหมื่นศรีที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากกรมชลประทานที่สร้างขึ้นมามีลักษณะต่ำ กว่าพื้นที่นาที่มีอยู่เดิม ทำให้น้ำจากนาข้าวไหลลงคลองชลประทาน ส่งผลให้นาข้าวแห้งแล้งเกิดความเสียหายเป็น อย่างมาก ชาวบ้านที่ทำนาจึงเปลี่ยนจากทำนามาทำสวนยางพาราแทน และเมื่อกระแสการท่องเที่ยวในตำบลนา หมื่นศรีเป็นที่โด่งดังมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่นาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว สถานประกอบการ และสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำให้ในปัจจุบันพื้นที่นาในตำบลนาหมื่นศรี เหลืออยู่ประมาณ 1,500 ไร่ ในปี 2563 มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในตำบลนาหมื่นศรีในวงกว้าง ปี 2564 ที่ผ่านมามีการ สำรวจความคิดเห็นเรื่องผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด 19 ต่อประชากรในตำบลนาหมื่นศรี แบ่งออกเป็น 3 ด้าน พบว่า ผลกระทบทางด้านสุขภาพกายจิตที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ภาวะเครียด วิตกกังวล กลัว ตื่น ตระหนก หมดไฟ เบื่อหน่าย ท้อแท้ ซึมเศร้า ผลกระทบทางด้านสังคมทำให้เกิดความตระหนก ตื่นกลัวและมีการ นำมาสู่ความแตกแยก เกิดการกีดกันโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของการระบาดของโรคโควิด-19 การติด ติดต่อสื่อสารทางสังคม ทั้งทางระหว่างผู้คนและสถานที่ การสื่อสารบางครั้งทำให้คนในชุมชนได้รับข่าวสารไม่ทั่วถึง และครบถ้วน จึงทำให้การรับรู้ข่าวสารของคนในชุมชนไม่เท่าเทียมกัน บางกลุ่มจึงขาดการรับรู้ข่าวสารในบางเรื่อง ไปบ้าง และผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ภาคประชาชน และภาคธุรกิจจำนวนมากต้องปิดกิจการชั่วคราว จากมาตรการรัฐ ธุรกิจที่เปิดอยู่ ก็ชะลอตัว ประชาชนบางส่วนตกงาน การจ้างงานลดลง ขาดรายได้ จำเป็นต้อง กลับไปอยู่บ้าน สำหรับบางคนโชคดีที่บ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพราะเป็นอาชีพที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากพืชผลทางการเกษตรเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้อุปโภคบริโภคเป็นประจำทุกวัน ข้าวจึงเป็นทางออกของ วิกฤตการณ์ในครั้งนี้ได้ดีที่สุด เนื่องจากมีความสอดคล้องกับวิถีการผลิตของคนในตำบลนาหมื่นศรีเอง ในปีผลิต 64/65 ตำบลนาหมื่นศรีมีการปลูกข้าว จำนวน 1,570.92ไร่ ได้ผลผลิตทั้งหมด 645,648.12 กิโลกรัม(ข้อมูลจากเกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอ เฉลี่ยผลผลิต 411 กิโลกรัมต่อไร่) สามารถคำนวณเป็นข้าวสาร ได้ทั้งหมด 451,953.68 กิโลกรัม หรือ 451.95 ตัน (คำนวณจากฐานข้าวเปลือกคูณกับ 70% จะได้เป็นปริมาณ ข้าวสารกล้อง) มีการจำหน่ายข้าวที่ปลูกเองในตำบลจำนวน 3 แห่ง ประชากรในตำบลมีจำนวน 6,995 คน สามารถคำนวณเป็นข้าวสารที่ต้องบริโภคในจำนวน 1 ปี เท่ากับ 580.585 ตัน (คำนวณจากปริมาณข้าวสารที่คน ไทยบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อปีมีค่ากลางเท่ากับ 83 กิโลกรัมต่อปี) ดังนั้นจึงมีข้าวที่ผลิตได้เองภายในตำบล เปรียบเทียบกับข้าวสารสำหรับบริโภคภายในตำบลได้ร้อยละ 77.84 ยังไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคทั้งปีของ ประชากรในตำบลนาหมื่นศรีทั้งหมด หากพิจารณาแนวคิดความมั่นคงทางอาหารที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชนตามหลัก 4 หลัก พบว่า ความเพียงพอ ข้าวที่ปลูกภายในตำบลยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการและมีคุณภาพน้อย การ เข้าถึง ข้าวปลอดภัยมีปริมาณน้อยเพราะรับข้าวสารมาจากภายนอกจังหวัด มีการปนเปื้อนของสารพิษที่ส่งผลต่อ สุขภาพ จึงมีข้อจำกัดต่อการเข้าถึงข้าวที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ การใช้ประโยชน์การใช้ประโยชน์จากข้าวที่ผลิต ภายในตำบลไม่ครอบคลุมกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำของห่วงโซ่มูลค่า เสถียรภาพ พบว่าตำบลนา หมื่นศรีมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารในประเด็นข้าวพอสมควร ถ้าเกิดกรณีวิกฤตการณ์ภัยธรรมชาติหรือ โรคระบาดต่อเนื่องยาวนานและระบบคมนาคมขนส่งถูกตัดขาดก็จะส่งผลต่อประชาชนในตำบลตามตัวอย่างผล สำรวจผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในตำบลนาหมื่นศรีข้างต้น ดังนั้นเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ในระดับตำบลนาหมื่นศรี จึงได้มีการ จัดโครงการ สร้างความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังปลอดภัยในภาวะวิกฤติตำบลนาหมื่นศรีขึ้น เพื่อให้มีการ จัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่ การพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐาน ข้าวปลอดภัย มีจำนวนครัวเรือนผลิตข้าวและพื้นที่การผลิตข้าวเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลได้บริโภค ข้าวปลอดภัยโดยชุมชนเอง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล

1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่น นายกอบต.นาหมื่นศรี. เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล รพ.สต.นาหมื่นศรี กำนัน ตัวแทนกลุ่มนาแปลง ใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่ กลุ่มองค์กรภาค ประชาชนในพื้นที่ เช่น สภาองค์กรชุมชนตำบล ชมรมผู้สูงอายุตำบล ประธานกลุ่มผ้าทอ จำนวน 17
1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณี ข้าวในระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ 80
1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารใน ภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง
1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบล ครอบคลุมข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าว จำนวนพื้นที่การผลิตข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าว ตรังของชุมชน และการบริโภคข้าวตรังในตำบล
1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลนาหมื่นศรีดำเนินโครงการสร้าง ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคง ทางอาหารข้าวตรังในตำบลและการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย
1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค

2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลนาหมื่นศรีเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่เดิม
2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูก ในพื้นที่
2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์
2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง
2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภค เพิ่มขึ้น
2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล
2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับ เครือข่ายตำบลที่ดำเนินโครงการ

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย

3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10
3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 130
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มผู้บริโภคข้าว 100 -
กลุ่มเกษตรกรทำนา 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 17,900.00                                
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 13,550.00                                
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 58,825.00                                
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                                
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 5,850.00                                
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,000.00                                
รวม 116,125.00
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 17,900.00 5 11,868.75
13 ส.ค. 65 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 0 450.00 525.00
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4 0 450.00 1,800.00
11 ก.ย. 65 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 0 450.00 350.00
1 - 31 ต.ค. 65 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 0 450.00 -
16 ต.ค. 65 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 0 450.00 1,710.00
1 - 30 พ.ย. 65 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 0 450.00 -
1 - 31 ธ.ค. 65 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7 0 450.00 -
1 - 31 ม.ค. 66 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 8 0 450.00 -
26 ม.ค. 66 ศึกษาดูงานการ จัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งและยั่งยืน 20 13,400.00 7,483.75
1 - 28 ก.พ. 66 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9 0 450.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 ประชุม คณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10 0 450.00 -
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 13,550.00 2 4,895.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 2 0 2,660.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 3 0 2,680.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 เวทีจัดทำข้อตกลง ความมั่นคงทางอาหารข้าว ตำบลนาหมื่นศรี 0 5,550.00 2,500.00
4 ก.ค. 65 ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ข้าว ตำบลนาหมื่นศรี ครั้งที่ 1 30 2,660.00 2,395.00
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 58,825.00 5 55,296.05
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 การจัดทำแปลงนา เพื่อสร้างการเรียนรู้เบิกนาใหม่ ในพื้นที่สาธารณะ ม.1 ตำบลนา หมื่นศรี 0 33,850.00 26,350.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ธนาคารเมล็ด พันธุ์ข้าวตำบลนาหมื่นศรี 0 14,050.00 9,885.00
26 พ.ย. 65 การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 1 30 3,000.00 6,150.00
20 ธ.ค. 65 การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 2 20 525.00 6,515.00
20 ม.ค. 66 การฝึกทักษะการ ผลิตข้าวปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ และการขึ้นทะเบียน ครั้งที่ 3 30 7,400.00 6,396.05
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 7,860.00
20 ส.ค. 66 พัฒนาโรงสีข้าวชุมชนสู่มาตรฐานปลอดภัย 0 0.00 7,860.00
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 5,850.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 การวิเคราะห์ ตัวอย่างข้าวที่ปลูกในพื้นที่เพื่อ รับรองความปลอดภัยโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรัง 0 5,850.00 -
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 20,000.00 7 10,000.00
1 - 15 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 0 1,700.00 400.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 นิทรรศการ 0 2,000.00 2,000.00
1 ก.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 1 0 1,700.00 800.00
16 - 17 ก.ย. 65 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1 0 1,700.00 800.00
20 ก.ย. 65 ป้ายปลอดบุหรี่ 0 1,000.00 1,000.00
30 ก.ย. 65 ประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ 0 3,000.00 3,000.00
30 ก.ย. 65 จัดทำบัญชี 0 2,000.00 2,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2 0 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3 0 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 2 0 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 3 0 1,800.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 17:05 น.