directions_run

โครงการคนบางดีก้าวใหม่ ผลิตข้าวปลอดภัย สู่วิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล
ตัวชี้วัด : 1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่นอปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ.สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทน กลุ่มข้าวไร่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ 1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณี ข้าวในระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ 80 1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารใน ภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง 1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบล ครอบคลุมข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าว จำนวนพื้นที่การผลิตข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าว ตรังของชุมชน และการบริโภคข้าวตรังในตำบล 1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ข้าวตรังในตำบลและการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย 1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน
1.20

เกิดกลไกคณะทำงานที่มีหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ทีมงานแกนหลักทำงานเป็นระบบมีการวางแผนใช้ความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ คณะทำงานกำหนดกติกาและนำไปใชร่วมกัน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้าวไร่ที่นอกเหนือจากกรมการข้าว เช่น กยท.ตรัง สปก.ตรัง วางแผนส่งเสริมข้าวไร่ในปีต่อไป

การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการหนุนเสริมจากเกษตรตำบล และสื่อมวลชนทำให้สามารถดำเนินการไปได้รวดเร็ว กติกาด้านสุขภาพเป็นกติการ่วมที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับมากที่สุด

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค
ตัวชี้วัด : 2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูก ข้าวที่มีอยู่เดิม 2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกใน พื้นที่ 2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ 2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง 2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภค เพิ่มขึ้น 2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล 2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับ เครือข่ายตำบลที่ดำเนินโครงการ
2.00

พื้นที่สามารถพัฒนารูปแบบการผลิตข้าวไร่ที่น่าสนใจ ใช้เทคโนยีปลูกข้าว พัฒนาสายพันธุ์ข้าวด้วยตนเอง มีแนวทางการเพิ่มผลผลิตข้าว รวมทั้งสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวในชุมชนขึ้นมาได้

พื้นที่เครืข่ายข้าว ต.บางสักมาศึกษาดูงานเำิ่มเติม

แกนนำคณะทำงานมีความสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนการผลิตข้าวไร่สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ10 3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข