directions_run

โครงการคนบางดีก้าวใหม่ ผลิตข้าวปลอดภัย สู่วิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำบัญชี30 มิถุนายน 2566
30
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

น.ส.ทัศนีย์ สุขสนาน ขอเบิกค่าจัดทำบัญชี ลงในระบบ happy network งวดที่ 1 2 และงวดที่ 3

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

น.ส.ทัศนีย์ สุขสนาน ได้บันทึกข้อมูล การจัดทำบัญชีของกลุ่ม ลงในระบบ happy network งวดที่ 1 2 และงวดที่ 3 เรียบร้อย ครบถ้วน

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 926 มิถุนายน 2566
26
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นางสาวทัศนีย์ สุขสนาน เลขานุการกลุ่ม ติดต่อประสานงาน นัดหมายประชุมคณะทำงาน เรื่องการไปศึกษาดูงาน 2.ประสานงานไปยังสถานที่ดูงาน ดร.สินธพ อินทรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เรื่อง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เนื่องจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 3.ติดต่อรถเดินทางไปยังสถานที่ศึกษาดูงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สมาชิกที่เข้าร่วมศึกษาดูงานจำนวน 7 คน - นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร - นางสาวทัศนีย์ สุขสนาน - นางยวนใจ พัฒศรี - นางวรรณา สุขสนาน - นางปภาวรินทร์ ส่งเสริม - นางจำเป็น ระเบียบดี -นางสุมาลี หนูราช อปท.ประกอบด้วยนายระพี อินทรวิเศษ นายกอบต.บางดี และนางสาวนุตประวีย์ ด้วงจีน 2.ดร.สินธพ อินทรัตน์ ตอบรับคำเชิญ 3.ประเด็นศึกษาดูงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 4.การเดินทางวันจันทร์ ที่3 กรกฎาคม ไป-กลับ วันเดียว

ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน20 มิถุนายน 2566
20
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน โครงการปลูกข้าวปลอดภัยตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิก คณะทำงาน นายกอบต.บางดี ร่วมต้อนรับ และรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน -บรรยายเรื่องกระบวนการผลิตข้าวไร่ แบบครบวงจร ตลอดถึงการแปรรูปจากแป้งข้าวเบายอดม่วง และการตลาด

ARE ครั้งที่ 23 พฤษภาคม 2566
3
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมสรุปบันไดผลลัพธ์โครงการ สถานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-คณะทำงานจำนวน 3คน คือ นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร ประธานกลุ่ม นายสมบูรณ์ ประจงใจ และนางสาวทัศนีย์ สุขสนาน เข้าร่วมกิจกรรม -ตลอดระยะเวลาการทำโครงการ สามารถสรุปบันไดผลลัพธ์ได้ดังนี้คือ บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 1 เกิดคณะทำงาน ประกอบด้วยจากหน่วยงานหลายภาคส่วนเช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รพ. สต. โรงเรียนในชุมชน เกษตรกร เกษตรอำเภอ
รวมทั้งการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆเช่นพัฒนาที่ดิน สปก. การยางแห่งประเทศไทย พัฒนาชุมชน
ทุกหน่วยงานให้การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดทำโครงการด้วยดีตลอดมา บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2 เกิดข้อตกลงในชุมชน สมาชิกปฏิบัติตามข้อตกลง ในประเด็นการปลูกข้าวปลอดภัย บันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 3

ประชุมคณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหาร ครั้งที่3 (ARE ระดับตำบล ครั้งที่ 2)24 เมษายน 2566
24
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ทำหนังสือเชิญคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม วันที่ 24 เมษายน 2566 ประชุมสรุปบันไดผลลัพธ์กิจกรรมโครงการปลูกข้าวปลอดภัย ( a r e ระดับตำบลครั้งที่ 2) 2.จัดทำ PowerPoint นำเสนอการสรุปกิจกรรมโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.นายระพี อินทร์วิเศษ นายกอบต. บางดี พร้อมด้วยนางสาวนุชประวี ด้วงจีน พัฒนากร นายธเนศ ชัยศิริ นักวิเคราะห์แผนงาน เข้าร่วมเวทีสรุปบันไดผลลัพธ์กิจกรรมโครงการปลูกข้าวปลอดภัย ในการนี้นายระพี อินทรวิเศษ ได้ให้ข้อเสนอแนะการทำกิจกรรมในครั้งถัดไป รวมถึงการเข้าแผนงบประมาณประจำปี ในส่วนของการมอบพื้นที่สำหรับการจัดตั้งศูนย์เข้าชุมชนตำบลบางดี ในพื้นที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีของตำบล 2.นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร ประธานกลุ่ม ได้สรุปการทำงานที่ผ่านมา รวมทั้งเสนอแนวทางการจัดทำโครงการในวาระต่อไป สมควรให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ในตัวโครงการในวงกว้างขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
3.นางสาวทัศนีย์ สุขสนาน สรุปโครงการการทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาดังนี้ - การมีส่วนร่วมของคณะทำงานและสมาชิกกลุ่ม ยังมีจุดอ่อนคือ สมาชิกกลุ่มไม่มีความพร้อมเพียงกัน - การเตรียมความพร้อมสู่ความมั่นคงทางอาหารการผลิตข้าวปลอดภัย  สมาชิกมีพื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของผู้อื่น และลักษณะเป็นการทำไร่แบบเลื่อนลอย จึงมีพื้นที่ไม่แน่นอน และไม่สามารถปลูกได้ในทุกปี
การจัดทำข้อมูลในส่วนของเอกสาร สมาชิกไม่ได้บันทึกข้อมูลไว้ตั้งแต่เริ่มต้น เลยส่งผลให้ไม่สามารถขอขึ้นทะเบียนมาตรฐานการผลิตข้าวปลอดภัยในปีนี้ได้ -การจัดทำแหล่งเรียนรู้แปลงข้าวไร่ ประสบผลสำเร็จในบางส่วน ได้แก่เพลงเรียนรู้ข้าวเบายอดม่วงของนางสาวทัศนีย์ สุขสนาน และนางยวนใจ พัดสี และแปลงเรียนรู้ข้าวเกิดใหม่ของนายวิโรจน์ ศรีสมจิตร
ในส่วนของแปลงเรียนรู้โรงเรียนบ้านควนอารี ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากสภาพพื้นที่ยังไม่สมบูรณ์ ขาดการบำรุงรักษา เลยทำให้ไม่ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ -มีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ตำบลบางดี ได้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ที่ได้คุณภาพจากแปลงของนางสาวทัศนีย์ สุขสนาน นางยวนใจ พัดสี และนายวิโรจน์ ศรีสมจิตร คือเมล็ดพันธุ์ข้าวเบายอดม่วงเมล็ดแดงคัดพิเศษ 85% และข้าวสายพันธุ์เกิดใหม่ ซุปเปอร์สวาท
-การแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้การแปรรูปจากแป้งข้าวเบายอดม่วง เป็นข้าวเกรียบ ในการนี้มีสมาชิกให้ความสนใจเข้ารับการอบรม และสามารถนำไปขยายความรู้และสร้างรายได้เพิ่ม -ประชาชนในตำบลมีการบริโภคข้าวเพิ่มมากขึ้น จากวิธีการกระจายข้าวของสมาชิกไปตามร้านค้าต่างๆในชุมชน รวมทั้งการจัดนิทรรศการต่างๆ ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการบริโภคข้าวปลอดภัย ทำให้เกิดความสนใจและบริโภคข้าวปลอดภัยที่ผลิตในชุมชนเพิ่มมากขึ้น

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 813 มีนาคม 2566
13
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นัดหมายคณะทำงานโครงการ ประชุมนัดหมายการทำ a r e

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและสมาชิกกลุ่มจำนวน 5 คน พบปะพูดคุยเตรียมการจัดทำ a r e โครงการ

อบรมเตรียม ความพร้อมสู่ความมั่นคงทาง อาหารการผลิตข้าวปลอดภัย GAP ครั้งที่ 31 มีนาคม 2566
1
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงาน ผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่ รพ. สต.บางดี อสม.ทุกหมู่บ้าน รวมถึงประชาชนตำบลบางดี นัดหมาย จัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องข้าวและอาหารปลอดภัย
บริการตรวจสารพิษในเลือดให้แก่สมาชิก และประชาชนในตำบลบางดี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชาชน ผู้ป่วย ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการตรวจสารพิษในเลือด จำนวน 38 คน
มีการประเมินความเสี่ยงในการทำงานตรวจสารเคมี จากเจ้าหน้าที่รพ.สต.บางดี และทั้งนี้ยังได้รับคำแนะนำและความรู้จากวิทยากร นายจรรยา รัตนแก้ว ผอ.รพ. สต.บางดี ในการปฏิบัติตัว และการบริโภคอาหารปลอดภัยจากสารเคมี

นิทรรศการ1 มีนาคม 2566
1
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดนิทรรศการแสดงพันธุ์ข้าวไร่ และข้าวนาที่นิยใปลูกในพื้นที่ตำบลบางดีและจังหวัดตรัง โดยจัดแสดงตัวอย่างรวงข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว ทั้งข้าวเปลือกและข้าวกล้อง เช่น เบายอดม่วง ข้าวนางขวิด ข้าวไร่หอมดอกข่า ข้าวไร่ดอกพยอม  ข้าวมะลิไร่ ข้าวหอมหัวบอน ข้าวช่อม่วง ข้าวหอมนิล  ข้าวเมล็ดฝ้าย รวมถึงการจัดทำแผ่นความรู้วิธีปลูก ลักษณะประจำพันธุ์ คุณค่าทางโภชนาการของข้าวแต่ละสายพันธุ์
พร้อมกันนี้ได้มีการจัดจำหน่ายข้าวสารปลอดภัยและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวของสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกข้าวตำบลบางดี สถานที่จัด ณ รพ. สตตำบลบางดี โดยมีผู้ร่วมกิจกรรมประมาณ 40 คน
จัดทำไวนิล ประชาสัมพันธ์ ลดละเลิกบุหรี่และการใช้โฟม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายจรรยา รัตนแก้ว ผู้อำนวยการ รพ. สต.บางดี รวมทั้งเจ้าหน้าที่  มีการให้ความรู้เรื่องการบริโภคข้าวปลอดภัย การบริโภคอาหารที่เกี่ยวข้องกับโรค ncds  ให้แก่ผู้ป่วยและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยและประชาชนผู้รักสุขภาพ ได้ แวะชิม และซื้อผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสมาชิก

การแปรรูปข้าว เพื่อเพิ่มมูลค่า20 กุมภาพันธ์ 2566
20
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประชุมคณะทำงาน 2.จัดหาวิทยากรกิจกรรมแปรรูปทำข้าวเกรียบจากข้าวเบายอดม่วง 3.เตรียมวัสดุอุปกรณ์ 4.นัดหมายสมาชิกทำกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมแปรรูปข้าวเกรียบจากแป้งข้าวเบายอดม่วง โดยวิทยากรคุณมลญา ปราบโรค
-โดยผสมแป้งข้าวเกรียบจากแป้งข้าวเบายอดม่วง 50%,30%,20%,และ 10% -สมาชิกได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
-ลักษณะข้าวเกรียบที่ได้ ผสมแป้งข้าวเบายอดม่วง 50% จะมีลักษณะกรอบ แข็ง ผสมแป้งข้าวเบายอดม่วง 30% ข้าวเกรียบจะมีลักษณะกรอบ เบากว่าแป้ง 50% ผสมแป้งข้าวเบายอดม่วง 20% ข้าวเกรียบจะมีลักษณะกรอบ เบากว่าแป้ง 30% เป็นอัตราส่วนที่นิยมชมชอบ ผสมแป้งข้าวเบายอดม่วง 10% ข้าวเกรียบจะมีลักษณะกรอบ ละลายในปาก
-สมาชิกวางแผนต่อยอด เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ด้วยการเพิ่มผงผัก ตับบด ปลาบด เพื่อเป็นตัวเลือกสินค้าเพิ่มความหลากหลาย -วางแผนจะทำข้าวเกรียบทั้งแบบแห้งเพื่อเก็บไว้ใช้ได้นาน และแบบทอดกรอบ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 715 กุมภาพันธ์ 2566
15
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานประชุมนัดหมายทำกิจกรรมแปรรูปจากแป้งข้าวเบายอดม่วง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานประกอบด้วยนายวิโรจน์ ศรีสมจิตร นางยวนใจ พัฒศรี นางสาวทัศนีย์ สุขสนาน และนายสมบูรณ์ ประจงใจ
ประชุมนัดหมายสมาชิก และจัดหาวิทยากรสอนทำข้าวเกรียบจากแป้งข้าวเบายอดม่วง

อบรมเตรียม ความพร้อมสู่ความมั่นคงทาง อาหารการผลิตข้าวปลอดภัยGAP ครั้งที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
3
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นัดหมายสมาชิกกลุ่มข้าวเบายอดม่วงอำเภอห้วยยอด จัดทำเอกสารการขอขึ้นทะเบียน gap สถานที่ วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ตำบลนาวง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นางสาวกนกกาญจน์ ตลึงผล เจ้าหน้าที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง ให้เกียรติเป็นวิทยากรให้ความรู้การกรอกข้อมูลทำเอกสารการขึ้นทะเบียน gap แก่เกษตรกรที่ต้องการขึ้นทะเบียนมาตรฐานถ้าปลอดภัย gap

การแปรรูปข้าว เพื่อเพิ่มมูลค่าและตลาดเครือข่ายในระดับ จังหวัด23 มกราคม 2566
23
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการงานเทศกาลเก็บเกี่ยวข้าวเบายอดม่วง ประจำปี ๒๕๖๖ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ ณ แปลงนาข้าวอินทรีย์สุขสนานบานบุรี (นาซาง) หมู่ที่ ๕ ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น. - กิจกรรมตักบาตรข้าวสาร เวลา ๗.๓๐-๘.๓๐ น - ทำบุญเลี้ยงพระ เวลา ๘.๓๐-๙.๐๐ น - ลงทะเบียน เวลา ๙.๐๐-๑๐.๐๐ น. - พิธีทำขวัญข้าว - ล้อมวงเสวนาการผลิตข้าวปลอดภัยจังหวัดตรัง ๑. คุณวิโรจน์ ศรีสมจิตร (บ้าซุปเปอร์) ปราชญ์เกษตรของตำบลบางดี ชาวนานักปรับปรุงพันธุ์ และความเป็นมาของพันธุ์ข้าวซุปเปอร์สวาท ข้าวสายพันธุ์ใหม่ของชาวบางดี ๒.คุณสำราญ สมาธิ นักวิชาการ ประเด็นการผลิตข้าวปลอดภัยข้าวพื้นเมืองของจังหวัดตรัง ๓.แขกรับเชิญพิเศษ คุณเอกราช แก้วนางโอ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุง สร้างชาวนาให้เป็นนักพัฒนาพันธุ์ข้าว ๔.ตัวแทนจากโครงการผลิตข้าวปลอดภัยจังหวัดตรัง เวลา ๑๒.๐๐-๑๒๖.๓๐ น. - ชวนล้อมวง ชิม ชม ดมข้าวใหม่หลากหลายสายพันธุ์ เวลา ๑๒.๓๐-๑๓.๓๐ น - บุพเฟ่ต์ข้าวเที่ยง เวลา ๑๔.๐๐ น - จ่าเอกสุวัฒน์ สัญวงศ์ นายอำเภอห้วยยอด ประธานในพิธีเดินทางมาถึง ณ แปลงนาข้าวอินทรีย์สุขสนานบานบุรี - ต้อนรับประธาน โดยชมรมกลองยาวตำบลบางดี - นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางดี กล่าวรายงาน - มอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้สนับสนุนกิจกรรม - นายอำเภอห้วยยอด กล่าวเปิดงานเทศกาลเก็บเกี่ยวข้าวเบายอดม่วงประจำปี ๒๕๖๖ - ชมการแสดงพิธีเปิด โดยสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกข้าวตำบลบางดี - ประธานมอบของที่ระลึกแก่ผู้แสดง - ประธานกลุ่มผู้ปลูกข้าวตำบลบางดี นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร มอบกระเช้าแก่ประธาน เวลา ๑๔.๒๐-๑๔.๓๐ น. - เปิดงานกิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าว โดยชมรมกลองยาวตำบลบางดี - ประธานและหัวหน้าส่วนราชการ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ร่วมกิจกรรมลง แขกเกี่ยวข้าวเบายอดม่วง เวลา ๑๔.๓๐-๑๕.๐๐ น. - ประกวดคำขวัญ เรื่อง “ข้าวชาวบางดี” - แข่งขันเก็บข้าวมัดเลียง - แข่งขันทำปี่ซังข้าว เวลา ๑๕.๐๐-๑๕.๓๐ น. - พิธีกรเชิญประธานชมบูธกิจกรรม และสินค้าชุมชน เวลา ๑๕.๓๐-๑๕.๔๐ น. - รับประธานอาหารว่าง เวลา ๑๕.๔๐-๑๖.๐๐ น. - ประกาศผลการประกวดแต่งคำขวัญ เรื่อง “ข้าวชาวบางดี” - ประกาศผลการแข่งขันเก็บข้าวมัดเลียง - ประกาศผลการแข่งขันทำปี่ซังข้าว เวลา ๑๖.๐๐-๑๗.๓๐ น. - กิจกรรมรื่นเริง รำวงเวียนครกย้อนยุค

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับความร่วมมือด้วยดี จากทุกภาคส่วน ทั้งคณะทำงาน,สมาชิกกลุ่มข้าวไร่ตำบลบางดี,ผู้บริหารและคณะทำงานองค์การบริหารส่วนตำบลบางดี หัวหน้าส่วนราชการ ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุง ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอห้วยยอดและอำเภอใกล้เคียง คณะครูและโรงเรียนทั้งในชุมชนและนอกพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่ตำบลบางดีและประชาชนจังหวัดตรัง
กิจกรรมได้สร้างความรู้จากวิทยากร คุณเอกราชแก้วนางโอ นักวิชาการจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพัทลุง ร่วมวงเสวนาการปลูกข้าวพื้นเมือง รวมถึงการปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยชุมชน การสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตของบรรพบุรุษ รวมถึงสร้างความสนุกสนานให้แก่ผู้ที่ร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังสร้างรายได้จากการออกบูธขายสินค้าจากสมาชิกในเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่
ประชาชนให้ความสนใจ ในการซื้อและการบริโภคข้าวตรังเพิ่มมากขึ้น

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 612 มกราคม 2566
12
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.นัดหมายคณะทำงาน และคณะกรรมการ ประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน สถานที่ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบางดี 2.วางแผนการจัดงานเทศกาลเก็บเกี่ยวข้าวเบายอดม่วง 3.จัดสรรงานและกระจายหน้าที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 12 มกราคม 2566 คณะทำงานกลุ่มผู้ปลูกข้าวตำบลบางดี พร้อมด้วยนางสุชิรา อินทอง เกษตรอำเภอห้วยยอด นางสาวเพ็ญพร แสงแก้ว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ และนางสาวจิราพร จำปา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมจัดเทศกาลเก็บเกี่ยว เพื่อร่วมเสนอเสนอแนะในการจัดสถานที่ และเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ ในวันที่ 23 มกราคม 2566 ในการนี้มีจ่าเอกสุวัฒน์ สัญวงษ์ นายอำเภอห้วยยอด ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้ข้อเสนอแนะแก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตำบลบางดีอีกด้วย 1.นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร นายสมบูรณ์ ประจงใจ และนางสาวทัศนีย์ สุขสนาน ชี้แจงกระบวนการจัดงานเทศกาลเก็บเกี่ยวข้าวเบายอดม่วง โดยมีข้อตกลงร่วมกันจัดงานในวันที่ 23 มกราคม 2566 ระยะเวลาการจัดงานทั้งวัน โดยมีคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนในตำบลและในอำเภอห้วยยอดเข้าร่วมกิจกรรม การจัดบูธให้ความรู้และแสดงผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากข้าวเบายอดม่วง มีการจัดกิจกรรมทำขวัญข้าว กิจกรรมรำวงเปิดงานจากชมรมกลองยาวตำบลบางดี และการแสดงบนเวทีจากสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกข้าวตำบลบางดี
นายสุวัฒน์ สัญวงศ์ นายอำเภอห้วยยอด ร่วมแสดงความคิดเห็นและหาแนวทางในการจัดงาน การจัดสรรเวลาในการจัดกิจกรรม รายละเอียดการจัดกิจกรรมต่างๆ เสนอการประกวดคำขวัญเรื่องข้าว จากเด็กนักเรียนในชุมชน
พร้อมทั้งแนะนำการวางแผนผังสถานที่ในงานอีกด้วย 3.นางสุจิรา อินทอง และเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลบางดี ร่วมการประชุมแนะนำการจัดหางบประมาณ และให้คำแนะนำปรึกษาระเบียบการจัดงานโดยละเอียด 4.นางสาวทัศนีย์ สุขสนาน ติดต่อประสานงานการจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ป้ายบอกทาง อุปกรณ์สำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้อง ประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆเพื่อขอความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรม อาทิเช่น ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว สปก.ตรัง การยางแห่งประเทศไทยสาขาห้วยยอด สถานีพัฒนาที่ดินตรัง วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด โรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 และโรงเรียนในตำบล รพ. สต. บ้านพรุจูด รพ. สต.บางดี

พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 39 มกราคม 2566
9
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เข้าร่วมกิจกรรมวันสาธิตเทคโนโลยีการผลิตและเก็บเกี่ยวข้าวไร่ภาคใต้ ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง -ศึกษาดูงาน ณ วิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วันที่ 9 มกราคม 2566 ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง จัดงานวันสาธิตเทคโนโลยีการผลิตและเก็บเกี่ยวข้าวไร่ภาคใต้ “คืนพันธ์ข้าวไร่ ให้แผ่นดินถิ่นใต้” โดยมีสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกข้าวบางดี เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 7 คน ร่วมกิจกรรมบูชาพระแม่โพสพ (ทำขวัญข้าว) เพื่อเป็นศิริมงคลในการเริ่มต้นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว หลังจากนั้น การเสวนาเรื่อง "ข้าวไร่ ไม่สูญหาย และความท้าทายในเชิงพาณิชย์" โดยนายกฤษณะ ศิริรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง, นายอภินันท์ รัตนพิบูลย์ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวตำบลป่าพะยอม, นายวิสุทธิ์ วิบูลย์พันธ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คูโบต้าจักรกลกรุ๊ป จำกัด นายก้องสกุล จันทราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ประธานในพิธี กล่าวเปิดงานวันสาธิตเทคโนโลยีการผลิตและเก็บเกี่ยวข้าวไร่ภาคใต้ "คืนพันธุ์ข้าวไร่ ให้แผ่นดินถิ่นใต้" โดยมีนางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าวร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด และสมาชิกได้ร่วมกิจกรรมเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่พันธุ์ดี "พันธุ์ดอกพะยอม" และนำเมล็ดพันธุ์กลับไปขยายในพื้นที่ของตนเอง นอกจากกิจกรรมการเกี่ยวข้าวแล้ว ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงยังได้เตรียมอาหารว่าง ได้แก่ ข้าวเหนียวถั่วดำ ขนมโค ขนมคนที และขนมโตเกียว และผลิตภัณฑ์จากข้าว ได้แก่ ขนมทองพับจากข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุง และไอศกรีมจากข้าวเหนียวพันธุ์ดำหมอ 37 ช่วงบ่ายสมาชิกกลุ่มปลูกข้าวไร่บางดี ไปศึกษาดูงานต่อที่โรงสีข้าว GMP ของวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง ตำบลปันเต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยมีนายนัด อ่อนแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชน ให้การต้อนรับและบรรยายแนวทางการทำงานของกลุ่ม รวมถึงเล่าประสบการณ์ ปัญหาและแนวทางแก้ไข การดำเนินงานของกลุ่มให้ประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 528 ธันวาคม 2565
28
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะกรรมการกลุ่มผู้ปลูกข้าวตำบลบางดี ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ   ๑.๑.การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลบางดี  ตามข้อตกลงของกลุ่มปลูกข้าวไร่ตำบลบางดี จะทำการรับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสมาชิกกลับคืน พันธุ์ละ ๓ เลียง รวมถึงเมล็ดพันธุ์จากแปลงสาธิต เพื่อจัดเก็บเป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์
  ๑.๒. การอบรมการแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า
        ๑.๓ วัฒนธรรมข้าวเชื่อมโยงตลาดข้าวในตำบ๒.การอบรมการแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า ประเด็น
๑.โรงสีข้าวชุมชน ตอนนี้ในชุมชน มีเครื่องสีข้าวที่ยังไม่ตอบโจทย์การสีข้าวให้ได้คุณภาพ ข้าวที่ขัดออกมายังมีการปนเปื้อนกรวด และหิน ๒.แปรรูปอาหาร ๓.แปรรูปเครื่องสำอาง ๔.บรรจุภัณฑ์ การแปรรูปอาหาร
๑.ข้าวระยะน้ำนม  - น้ำนมข้าวยาคู /สบู่น้ำนมข้าว ๒.ข้าวระยะเม่า จากข้าวเจ้า  ข้าวเม่า,ข้าวเม่าหมี่ จากข้าวเหนียว
๓.ข้าวสาร  -ข้าวกล้อง/ข้าวซ้อมมือ/ข้าวขัดขาว     -ข้าวฮาง/ข้าวฮางงอก     -ข้าวกล้องงอก ๔.ข้าวสวย  -ไอศกรีมข้าว ๕.แป้งข้าว  -กรวยไอศกรีม     -ข้าวเกรียบ         -เส้นขนมจีน     -ทองม้วนเวเฟอร์สติกสอดไส้ครีมตะลิงปลิง ๖.สาโท ๗.รำข้าว  -รำข้าว/จมูกข้าวคั่วบรรจุซอง     -น้ำมันรำข้าว     -ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันรำข้าว
มติที่ประชุม : สมาชิกกลุ่มมีความเห็นตรงกันว่าต้องการแปรรูปข้าวเป็นข้าวเกรียบ เหตูผลเพราะทำได้ง่าย ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทางสมาชิกต้องการส่งขายในท้องตลาดทั่วไป โรงเรียน และงานศพ ขายง่ายทั้งแบบแห้ง ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานและแบบทอด
๑.๔ งานวันสาธิตเทคโนโลยีการผลิตและเก็บเกี่ยวข้าวไร่ภาคใต้ “คืนพันธ์ข้าวไร่ ให้แผ่นดินถิ่นใต้ ข้าวดอกพะยอม” วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๕ ณ ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุง จังหวัดพัทลุง มติที่ประชุม : สมาชิกต้องการเข้าร่มกิจกรรม จำนวน ๖ คน ๓.วัฒนธรรมข้าวเชื่อมโยงตลาดข้าวในตำบลและตลาดเครือข่ายในระดับจังหวัด การจัดงานเทศกาลข้าวใหม่ ประจำปี ๒๕๖๕ • สโลแกน  พกถุง นุ่งซิ่น (ลดขยะพลาสติก) • สถานที่จัดงาน : แปลงนาข้าวอินทรีย์สุขสนานบานบุรี -เวทีการแสดง, เต้นท์ลงทะเบียน, เต้นท์เสวนา, เต้นท์จัดบูธกิจกรรม,บูธแสดงสินค้า
-เต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้
-เครื่องปั่นไฟ เครื่องเสียง -เตรียมสถานที่ก่อนจัดงาน • งบสนับสนุน : ภาคีเครือข่าย -ป้ายประชาสัมพันธ์
-รถแห่ประชาสัมพันธ์
• ประธานพิธี /หนังสือเชิญ : ภาคีเครือข่าย • ลงทะเบียนหน้างาน : สมาชิกกลุ่ม -จนท.ประจำเต้นท์ ๒คน รายชื่อ ๑..........................................................๒........................................................ -รับคูปองอาหาร -รับของที่ระลึก : ข้าวสารแพคขนาด ๑๕๐ กรัม ๑แพค  การแต่งกายชุดพื้นบ้าน • กิจกรรม/พิธีกรรม -เวลา ๗.๐๐-๘.๐๐ น.  กิจกรรมตักบาตรข้าวใหม่ (ข้าวสารใหม่)  ไม่มีการเลี้ยงพระ
-เวลา ๘.๐๐-๙.๐๐ น.  ลงทะเบียน -เวลา ๙.๐๐-๑๐.๐๐ น.  พิธีสู่ขวัญข้าว **
**พิธีกรช่วงพิธีกรรม  เสนอ...อ.ยิ่ง ภักดีสัตยากุล **หมอทำขวัญ  เสนอ........................................... **วัสดุ/อุปกรณ์
-เวลา ๑๐.๐๐-๑๐.๓๐ น. พิธีกรรายงาน ประธานกล่าวเปิดงาน มอบของที่ระลึก -เวลา ๑๐.๓๐-๑๑.๐๐ น. การแสดงพิธีเปิด -มอบของกำนัล  (การแสดงพื้นบ้านภาคใต้โดยกลุ่มเยาวชน/
    ผู้สูงอายุ) -เวลา ๑๑.๐๐-๑๑.๓๐ น. กิจกรรมลงแขกเกี่ยวข้าวเบายอดม่วง (นำแกระมาเอง) -เวลา ๑๑.๓๐-๑๒.๐๐ น. พิธีกรพาชม บูธกิจกรรม บูธสินค้า -เวลา ๑๒.๐๐-๑๒.๓๐ น. ชวนชม ดม อม กิน ข้าวหลากหลายสายพันธุ์  **ตารางเลือกสายพันธุ์ข้าว -เวลา ๑๒.๓๐-๑๓.๓๐ น. -บุพเฟ่ท์ข้าวเที่ยง น้ำชุบ ผักต้มจุ้ม ปลาทอด
**วัสดุอุปกรณ์(เตาถ่าน ,แก๊ส ,หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ,หม้อดิน) **จาน ช้อน แก้วน้ำ ถาด กระด้ง -เวลา ๑  -เวทีเสวนา กินไปแหลงไป “กินข้าวใหม่ คั่วไก่บ้าน เล่าสู่กันควัง เรื่องข้าวบ้านฉัน” ***ดำเนินกิจกรรมโดยพิธีกร รายชื่อ..................................................................... ท่านที่ ๑ คุณวิโรจน์ ศรีสมจิตร (น้าซุปเปอร์) ปราชญ์เกษตรของตำบลบางดี เล่าที่มาของข้าว จากชาวนานักปรับปรุงพันธุ์และความเป็นมาของพันธุ์ข้าวซุปเปอร์สวาท ข้าวสายพันธุ์ใหม่ของจังหวัดตรัง (ให้เวลา.......นาที) ท่านที่๒ คุณสำราญ สมาธิ นักวิชาการ พูดคุยประเด็นการผลิตข้าวปลอดภัยข้าวพื้นเมืองของจังหวัดตรัง (เวลา......นาที) บูธกิจกรรม เพิ่มเติม : นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร เสนอให้เชิญ สมาชิกจากทุกโครงการเข้าร่วมเวทีเสวนา ฑุดคุยประเด็นปัญหา จุดอ่อน จุดแข็ง ในการปลูกข้าวในพื้นที่ของจังหวัดตรัง ๑.บูธแสดงพันธุ์ข้าวของจังหวัดตรัง ๒.บูธสาธิตการตรวจสารเคมีในข้าว (ข้าวปลอดภัย) ๓.บูธตรวจสารพิษในเลือดสำหรับคนที่ลงทะเบียนเข้างาน ๔.สวนปันสุข บ้านน้ำผุด บูธแสดงสินค้า ๑.บูธข้าวสาร/สินค้า อื่นๆ จากสมาชิก/ของดีชุมชน ๒.บูธน้ำพริกมะม่วงหาวมะนาวโห่ รางวัลชนะเลิศ ในการประกวดระดับจังหวัด ๓.บูธแสดงสินค้า รร.บ้านซา ๔.บูธแสดงสินค้า รร.วัดบางดี ๕.บูธแสดงผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวเบายอดม่วง โดยวิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด ๖.ตำข้าวเม่า ๗.พิซซ่าเตาดินแป้งข้าวเบายอดม่วง ๘.บูธข้าวยำ จาก Little farm Trang ปากแจ่ม ๙.บูธกาแฟสดคั่วมือจม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในการนี้ทางกลุ่มได้รับความร่วมมือจากสมาชิก และการสนับสนุนการดำเนินการจัดงานจาก อบต.บางดี จ.ตรัง รพ.สต.บ้านพรุจูด ตำบลบางดี และโรงเรียน ในชุมชน ในการออกบูธจัดกิจกรรม และแสดงสินค้า เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้การเตรียมงานกิจกรรมในครั้งนี้ ทางคณะทำงานเกิดความมั่นใจว่าจะสามารถจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนทั่วไปของจังหวัด ให้ความสนใจ และหันมาบริโภคข้าวพื้นเมืองปลอดภัยของจังหวัดตรังเพิ่มมากขึ้น

พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 217 ธันวาคม 2565
17
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

NODE FLAGSHIP TRANG โครงการหน่วยจัดการจังหวัดระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ(Node Flagship) จังหวัดตรัง ๑๑๙/๒ ถ.บ้านโพธิ์ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 หัวข้อการถอดบทเรียนความรู้ระหว่างการทํางาน ประเด็นความมั่นคงทางอาหารข้าวตรัง ให้พิจารณาจากความสำเร็จและความไม่สำเร็จจากตัวชี้วัดในบันไดผลลัพธ์การดำเนินโครงการ โดยมุ่งเน้น กระบวนการทำงานของชุมชนและแกนนำเป็นสำคัญ

  1. การจัดตั้งคณะทำงานความมั่นคงทางอาหารข้าวในระดับตำบล ปัจจัยความสำเร็จ อุปสรรคปัญหาในการทําเนินงาน

  2. กระบวนการทํางานของทีมงานมีอะไรสำคัญเป็นรหัสการทำงานร่วมกัน การทำความเข้าใจร่วมกัน ให้ข้อมูลเท่ากัน ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม วิธีการทำงานที่ตอบโจทย์การทำงานแบบมีส่วนร่วม ฯลฯ) พบอุปสรรคอะไรบ้างในการดำเนินงาน

  3. การสร้างความยอมรับร่วมกันในการผลิตข้าวปลอดภัย และการกำหนดข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ต้องทำ อย่างไร ในชุมชนจําเป็นต้องทำไหม

  4. มีข้อค้นพบอะไรบ้างจากกระบวนการผลิตข้าว ปัญหาและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การยืนหยัดใน หลักการที่ต้องปลูกข้าวปลอดภัย มีอะไรเป็นตัวยึดเหนี่ยวในการผลิตร่วมกัน อะไรที่เป็นหัวใจสำคัญในการ ผลิตข้าว...

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 การจัดตั้งคณะทำงานความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล

✓ปัจจัยความสำเร็จ

-เกิดคณะทำงาน จากหลายภาคีเครือข่าย เช่น อปท. : มีการเข้าแผนพัฒนาชุมชนการปลูกข้าวไร่และการเก็บรักษาพันธุกรรมท้องถิ่น ประจำปี 2567

สำนักงานเกษตรอำเภอห้วยยอด : สนับสนุนความรู้ การทำ gap ข้าวปลอดภัย ข้อมูลการขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวในแต่ละปี

กยท.: ข้อมูลพื้นที่ขอสงเคราะห์ทุนกองทุนสวนยาง
พัฒนาที่ดินจังหวัดตรัง : สนับสนุนปัจจัยสารปรับปรุงดินโดโลไมท์ เมล็ดพันธุ์ปอเทือง ทั้งมักปุ๋ยชีวภาพและกากน้ำตาลสำหรับแปลงสาธิตของโรงเรียน

รพ. สต. : ให้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยด้วยโรค ncd รวมถึงให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการบริโภคข้าวปลอดภัย เพื่อลดสาเหตุการเกิดโรค ncd

โรงเรียนในตำบล : ให้ความร่วมมือในการโปรโมทการบริโภคค่าปลอดภัยแก่นักเรียนส่งต่อไปยังผู้ปกครอง การเกิดแปลงเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อต่อยอดเป็นอาหารกลางวัน ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ตั้งแต่การเตรียมแปลง การปลูกข้าวแบบต่างๆ ตลอดจนถึงการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว

✓ปัญหาและอุปสรรค

-คณะทำงานไม่มีความเข้าใจในตัวโครงการอย่างชัดเจน การดำเนินโครงการแรกเริ่มจึงเกิดปัญหา ทั้งความล่าช้าในด้านเอกสาร และการดำเนินงาน

-สมาชิกเกษตรกร ยังไม่มีความเชื่อมั่นในคณะทำงาน จึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการประชุม 2.กระบวนการทำงานของคณะทำงาน

-อาศัยการพูดคุยการประชุมอย่างต่อเนื่อง และบ่อยครั้ง ในส่วนของคณะทำงานโครงการชุดเล็ก รวบรวมข้อมูลและปัญหา เพื่อมาชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่  รวมถึงการโทรศัพท์พูดคุยโดยตรงและส่งหนังสือเชิญประชุมตามหลังทุกครั้ง

-ถ่ายสำเนารายละเอียดโครงการบางส่วนให้กับคณะทำงานทุกคน เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและโปร่งใส

-ชี้แจงเอกสารและหลักฐานการเงิน แก่คณะทำงานอย่างโปร่งใส และชัดเจน

✓อุปสรรคในการทำงานแบบมีส่วนร่วม :

-คณะทำงานขาดความรู้ความเข้าใจในการทำเอกสาร การเขียนวาระการประชุม

-ขาดวาทะศิลป์ในการพูดคุย แนวทางการสร้างแรงจูงใจ

3.การสร้างความยอมรับร่วมกันในการผลิตข้าวปลอดภัย และการกำหนดข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ วิธีการ: พูดคุยชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรในการผลิตข้าวปลอดภัย กำหนดข้อตกลงและข้อปฏิบัติร่วมกัน ตัวอย่างเช่น

-สมาชิกต้องมีการปลูกข้าวไร่ในพื้นที่ขอทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และปาล์มน้ำมัน

-หลีกเลี่ยง/ไม่ใช้สารเคมีอันตรายในการกำจัดศัตรูพืช

-สมาชิกจะต้องมีการคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เป็นของตัวเอง

-สมาชิกต้องเข้าร่วมประชุมและให้ความร่วมมือร่วมกิจกรรมทุกครั้ง นอกจากมีเหตุจำเป็นต้องการประชุมหรือร่วมกิจกรรม

4.กระบวนการผลิตข้าวปลอดภัย

✓ปัญหาและอุปสรรค

-สภาพฝนฟ้าอากาศ ที่เป็นอุปสรรคในการเตรียมดิน ส่งผลให้เกษตรกรเตรียมดินปลูกข้าวไม่ทัน

-ปัญหาศัตรูข้าว ทั้งพืชและสัตว์ เนื่องจากฝนตกทำให้หญ้าเจริญเติบโตแซงหน้าข้าว ข้าวตัวไม่ทันหญ้า ปัญหาแมลงฉ็องดูดน้ำนมข้าว ปัญหานกลาจิกกินเมล็ดข้าว

-ปัญหาพันธุ์ข้าวอ่อนแอทำให้ผลผลิตข้าวได้น้อย

✓การแก้ไขปัญหา

-เกิดกระบวนการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาการปลูกข้าวในปีต่อไป ตัวอย่างเช่น การคัดเลือกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีความแข็งแรงทนทานต่อโรค วิธีการปลูกข้าวแบบต่างๆ การใช้วิธีการหว่านหรือการหนำข้าวที่สามารถตอบโจทย์การปลูกข้าวแต่ละสายพันธุ์

ARE ครั้งที่ 1 ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร19 พฤศจิกายน 2565
19
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงาน นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร นายสมบูรณ์ ประจงใจ นางสาวทัศนีย์ สุขสนาน พร้อมด้วยนางสาวนุตประวีย์ ด้วงจีน ตัวแทน อปท.และนางนภัสนันท์ รอดรินทร์ ผอ.รพ.สต.บางดี ร่วมเวทีสะท้อนผลลัพธ์ระดับจังหวัด  กิจกรรมตามรายละเอียดแนบ โดยเช็คความพร้อมด้านต่างๆ เป็นด้านๆไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคืบหน้าของแต่ละกลุ่ม ปัญหาและผลลัพธ์ของกลุ่มๆ เพื่อนํามาแก้ไข จุดบกพร่องของกลุ่ม การเก็บข้อมูลเป็นจุดด้อย ของกลุ่มที่ผู้ประสานงานกลุ่มต้องร่วมกันเพิ่ม เติม

อบรมเตรียม ความพร้อมสู่ความมั่นคงทาง อาหารการผลิตข้าวปลอดภัย GAP ครั้งที่ 17 พฤศจิกายน 2565
7
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจแก่สมาชิกเกษตรกรให้ความรู้ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การขึ้นทะเบียน GAP -เตรียมการวางแผนการดำเนินโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกในพื้นที่รับรู้และเกิดความเข้าใจในการทำแปลงGAP -มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล จำนวนครัวเรือนที่ผลิตข้าว จำนวนพื้นที่ และการบริโภคข้าวภายในชุมชน -เกษตรห้วยยอด ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice) เพื่อเตรียมความพร้อมในการขอรับรองมาตราฐาน ณ ที่ทำการกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวนาวง หมู่ที่ 9 ตำบลนาวง
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 นางสุชิรา อินทอง เกษตรอำเภอห้วยยอด มอบหมายให้นางสาวเพ็ญพร แสงแก้ว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ นางสาวสุภักษร หลงละเลิง และนางสาวกฤษณ์พร จงเจริญ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice ; GAP)  เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ณ ที่ทำการแปลงใหญ่ข้าวนาวง หมู่ที่ 9 ตำบลนาวง

ประชุมคณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหาร ครั้งที่2 (ARE ระดับตำบล ครั้งที่ 1)16 ตุลาคม 2565
16
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เพื่อพัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด : ข้าวตรัง ในระดับตำบล

1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่น อปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ.สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่

1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณีข้าวในระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ 80


1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง

1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลครอบคลุมข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าวจำนวนพื้นที่การผลิตข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชน และการบริโภคข้าวตรังในตำบล

1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลและการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย

1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน

2.เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรังปลอดภัย ผ่านกระบวนการผลิต การตลาดและการบริโภค

2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่เดิม

2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่

2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เพื่อพัฒนากลไกคณะทางานความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโดด : ข้าวตรัง ในระดับตำบล

1.1.เกิดคณะทํางาน ประกอบด้วยภาคีดำเนินการ อปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ.สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มชาวไร่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ โดยมีหนังสือแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตำบลบางดี

1.2. คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณีข้าวในระดับตำบลและการผลิตบ่าวคงปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ 80 จากการทำแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม ประเด็นการบริโภคข้าวปลอดภัย จํานวน 10 ข้อ ปรากฏว่าคณะทำงานได้คะแนน 9,06 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

1.3 คณะทางานมีแผนการดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโดวิด ข้าวตรัง โดยแผนการดำเนินงานเกิดจากการให้ข้อมูลแผนการปลูกข้าวในแต่ละรอบปีของสมาชิก

1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความ มั่นคงทางอาหารข้าวตรัง ครอบคลุมข้อมูลการผลิต ข้าวตรัง ปลอดภัย จํานวนครัวเรือนผลิตข้าว จำนวนพื้นที่การผลิตข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชน และการบริโภคข้าวตรังในตำบล โดยอาศัยข้อมูลจากทางสำนักงานเกษตรอำเภอห้วยยอด ในการ ขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวของปี 64 และข้อมูลจํานวนครัวเรือน สมาชิกในครัวเรือนระดับตำบล พร้อมทั้งข้อมูลจํานวนผู้ป่วยด้วยโรคจากพฤติกรรม ทั้งวัยทำงานและผู้สูงอายุ

ประสานงานและจัดทำโครงการ15 ตุลาคม 2565
15
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานกันระหว่างพื้นที่และจัดทำรายงานโครงการนาข้าว ต.บางดี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำรายงานโครงการนาข้าว ต.บางดี

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 การจัดเวทีทำข้อตกลงแบบมีส่วนร่วม20 กันยายน 2565
20
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-จัดทำหนังสือเชิญประชุมคณะทำงานโครงการ และสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกข้าวตำบลบางดี เพื่อจัดเวทีทำข้อตกลงแบบมีส่วนร่วม ณ ศาลาเอนกประสงค์ ม.10 ต.บางดี โดยมีคณะทำงานและสามชิกกลุ่มเข้าร่วมเวที จำนวน 30 ราย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

--นายวิโรจน์  ศรีสมจิตร ได้มีการชี้แจงแนวทางในการทำข้อตกลงเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกกลุ่มผุ้ปลูกข้าวตำบลบางดี -ในการนี้ นายระพี  อินทร์วิเศษ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการ ได้เข้าร่วมจัดทำข้อตกลงด้วย -สมาชิกเสนอข้อตกลง และรับรู้ข้อปฏิบัติร่วมกัน

พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 117 กันยายน 2565
17
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพคระทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงิน ในระบบ Happy network  สถานที่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สามารถใช้โปรแกรม canva ในการทำจดหมายข่าวประชาสัมพันธ์โครงการได้ด้วยตนเอง
-สามารถบันทึกรายงานการเงิน ในระบบ Happy net work ได้

จัดตั้งธนาคาร เมล็ดพันธุ์ตำบลบางดี26 กรกฎาคม 2565
26
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-นัดหมายสมาชิกกลุ่มข้าวไร่บางดี นำเมล็ดพันธุ์ในแปลงของตนเองมาเพื่อทำการเรียนรู้การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยตนเอง -จัดแบ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมดงสำหรับเพื่อนำไปขยายพันธุ์แก่สมาชิกจำนวนคนละ 7 กิโลกรัม
-จัดแบ่งเมล็ดพันธุ์ปอเทืองเพื่อนำไปปลูกบำรุงดินในปีถัดไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกได้เรียนรู้และการลงมือคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุดด้วยตนเองสำหรับการนำไปเพาะขยายพันธุ์ จากวิทยากร นางยวนใจ พัฒศรี
-สมาชิกได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวคนละ 7 กิโลกรัมสำหรับพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ -สมาชิกได้รับเมล็ดพันธุ์ปอเทืองเพื่อนำไปบำรุงดินคนละ 8 กิโลกรัม

การจัดทำแหล่ง เรียนรู้แปลงข้าวไร่ตำบลบางดี ครั้งที่ 112 กรกฎาคม 2565
12
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-จัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกข้าวไร่โรงเรียนบ้านควนอารี จำนวน 2ไร่ ในการปลูกข้าวหอมดง
-จัดทำแปลงเรียนรู้จำนวน 1 ไร่ แปลงของนางอารีย์ สุขสนาน ปลูกข้าวหอมดง -จัดทำแปลงเรียนรู้จำนวน 1 ไร่ แปลงของนายวิโรจน์  ศรีสมจิตร
-การไถผาน 7 จำนวน 2 รอบ ไถพรวน จำนวน 2 รอบ -ใช้โดโลไมต์ในการปรับสภาพดิน -ลงมือปลูกข้าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-จัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกข้าวไร่โรงเรียนบ้านควนอารี จำนวน 2ไร่ ในการปลูกข้าวหอมดง
โดยมีการจัดการพื้นที่การปลูก แบ่งเป็น 3 แปลงย่อย
1.แปลงหนำข้าวด้วยมือ จำนวน 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 8  กิโลกรัม 2.แปลงปลูกเมล็ดพันธ์ุ จำนวน 1 งาน  ใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 0.5 กิโลกรัม 3.แปลงที่ใช้วิธีการหว่านข้าว จำนวน 3 งาน ใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 7.5 กิโลกรัม รวมจำนวนเมล็ดพันธุ์จำนวน 16 กิโลกรัม -ไถผาน 7 เพื่อพรวนดินให้ร่วน และตากดินไว้เป็นเวลา 1 อาทิตย์ -เด็กนักเรียนและคุณครูช่วยกันใส่โดโลไมต์เพื่อบำรุงและปรับสภาพดิน ในแปลงเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านควนอารี -ไถพรวนคลุกเคล้าโดโลไมต์กับดิน
-การลงแขกปลูกข้าว คุณครู นักเรียน สมาชิกกลุ่ม รวมถึงผู้ปกคลองและผู้นำในหมู่บ้าน  ช่วยกันแทงสัก ปลูกข้าว ตามแผนที่วางไว้ในส่วนของแปลงเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านควนอารี 4.แปลงเรียนรู้การปลูกข้าวหอมดงของนางอารีย์ สุขสนาน โดยวิธีการใช้เครื่องปลูกข้าว จำนวนพื้นที่ 1 ไร่ ใช้วิธีการไถผาน7ิ จำนวน 2 รอบเพื่อตากดิน แล้วไถพรวน 2 รอบ จากนั้นใช้เครื่องปลูกข้าว โดยใช้เมล็ดพันธุ์ จำนวน 3.5 กิโลกรัม 5.แปลงเรียนรู้การปลูกข้าวเกิดใหม่และข้าวเบายอดม่วง ของนายวิโรจน์  ศรีสมจิตร จำนวนพื้นที่ 1ไร่ จำนวนเมล็ดพันธุ์  7.5 กิโลกรัม
รวมใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 27 กิโลกรัมสำหรับแปลงเรียนรู้ เป็นเงิน 1350 บาท

ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต9 กรกฎาคม 2565
9
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-การประชุมประกอบด้วย 1.เจ้าหน้าที่โคงการโหนดเฟรกชิฟตรัง 2.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายระพี อินทร์วิเศษ 3.ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนอารี  นายธีรพล ใสบริสุทธิ์ 4.ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านซา นางจิราภรณ์ บัวเพชร 5.ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางดี  นางสาวศุภลักษณ์ พรมสุวรรณ 6.ฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.บางดี  นางสาลินี ชูเมือง 7.การยางแห่งประเทศไทยสาขาห้วยยอด  นายพิสิฐ จันทร์เจริญ 8.หัวหน้าสปก.ตรัง  นายสปัญญา สุ้นกี้ 9.เจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินตรัง  นางสาวสุดารัตน์ แซ่ท้าม 10.อ.พ.ม.  นางจิตรา สิงห์มณี 11.ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ 12.คณะทำงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เกิดคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยภาคีดำเนินการ -คณะทำงานเกิดความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่นคงทางอาหาร กรณีข้าวในระดับตำบลและการผลิตข้าวปลอดภัย -มีฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหาร การบริโภคข้าวภายในชุมชน

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 324 มิถุนายน 2565
24
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ค้นหาเกษตรกรผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวไร่ ทั่วพื้นที่ตำบลบางดี
-นัดหมายประชุมเพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีเกษตรกรที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวไร่ ตำบลบางดี จำนวน  25 ราย
-ในการนี้ มีนายวิโรจน์  ศรีสมจิตร และนางสาวทัศนีย์  สุขสนาน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการในครั้งนี้  ได้ชี้แจงพูดคุยรายละเอียด และแนวทางการทำงาน สำหรับผู้ที่เข้าร่วมตกลงจะมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมดง ไว้เป็นธนาคารเมล็ดพันธุ์สำหรับตนเองไว้ปลูกขยายพันธุ์ต่อไป และทำการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในการปลูกครั้งถัดไป -ชี้แจงในการจัดทำแปลงเรียนรู้ข้าวไร่ตำบลบางดี  โดยจะใช้พื้นที่ของ โรงเรียนบ้านควนอารีในการปลูกข้าวพันธุ์หอมดง เพื่อเป็นอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนด้วย โดยใช้พื้นที่ประมาณ 2
-จัดทำแปลงเรียนรู้การปลูกข้าวเบายอดม่วง โดยใช้แปลงนาข้าวทั้งหมด 3 แปลง คือ 1.แปลงนานายวิโรจน์  ศรีสมจิตร  จำนวน 1ไร่  2.แปลงนานางยวนใจ  พัฒศรี  จำนวน  1 ไร่  3.แปลงนานางสาวทัศนีย์  สุขสนาน จำนวน 1 ไร่

ป้ายปลอดบุหรี่15 มิถุนายน 2565
15
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ป้ายปลอดบุหรี่ ปลอดโฟม บันไดผลลัพธ์ใช้ในการจัดประชุมโครงการ การจัดตลาดเครือข่ายระดับจัังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์ ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ และการใช้โฟม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ผู้ร่วมประชุม ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนเป้าหมาย 300 คน  ตระหนักและให้ความร่วมมือ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 212 มิถุนายน 2565
12
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-นัดหมายคณะทำงานประกอบด้วย
1.นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร
2.นายสมบูรณ์ ประจงใจ
3.นางสุมาลี หนูราช
4.น.ส.เพ็ญพร แสงแก้ว
5.นางสาวทัศนีย์ สุขสนาน 6.นางสาวณัฎนิชา เมืองกาญจน์  เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอห้วยยอด 7.นางอารีย์  สุขสนาน ทำความเข้าใจรายละเอียดขั้นตอน ทิศทาง และวิธีการดำเนิน กิจกรรมโครงการ โดยมีนายสำราญ สมาธิ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในโครงการ -ติดต่อประสานงานหน่วยงานภาคี (โทรศัพท์) -ทำหนังสือเชิญประชุมหน่วยงานภาคี -จัดซื้อวัสดุสำนักงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-คณะทำงานเกิดความเข้าใจในโครงการ -แบ่งหน้าที่ในการทำงาน -ประสานงานเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคีเครือข่าย เกษตรอำเภอ สปก. อปท. พัฒนาที่ดินตรัง  กองทุนสวนยางห้วยยอด โรงเรียนในชุมชน -จัดซื้อวัสดุสำนักงาน  กระดาษเอ 4 อุปกรณ์การเขียน  สมุด  แฟ้มจัดเก็บเอกสาร

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 110 มิถุนายน 2565
10
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-พูดคุยชี้แจงรายละเอียดโครงการ -จัดสรรหน้าที่รับผิดชอบ ร่วมปรึกษาหารือการเขียนโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 3 คน คือ 1.นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร 2.นายสมบูรณ์  ประจงใจ  3.นางสาวทัศนีย์  สุขสนาน ซึ่งเป็นเกษตรผู้ปลูกข้าว รายละเอียดดังนี้ คือ วิธีการหาเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย รายละเอียดการเขียนโครงการเพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์  และได้ข้อสรุปว่าจะต้องหาจำวนคณะทำงานมาเพิ่มเตืมเพื่อแบ่งหน้าที่การดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เกิดความเข้าใจรายละเอียดโครงการมากขึ้น -คณะทำงานได้รับงานมอบหมาย

ปฐมนิเทศโครงการย่อย2 มิถุนายน 2565
2
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT021
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฐมนิเทศโครงการและบันทึกความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะพื้นที่จังหวัดตรังสู่ธงตรัง เมืองแห่งความสุข

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดโครงการและคณะกรรมการ รับทราบถึงแนวทางปฎิบัติ ผู้นำท้องถิ่น รับทราบถึงโครงการ ร่วม MOU กับรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ ทำสัญญาโครงการ

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร1 มิถุนายน 2565
1
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย sarita
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เงินทดลองยืมเปิดบัญชี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนเงืนยืมทดลองเปิดบัญชี