directions_run

โครงการสุขภาพดีเริ่มที่ข้าวดี ร่วมปลูกข้าวดีๆ กับกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน

assignment
บันทึกกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 323 มิถุนายน 2566
23
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เข้าร่วมอบรมการให้ความรู้การขายสินค้าออนไลน์เชิงพาณิชย์ ณ สำนักงานทีโอที จังหวัดตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 8 คน ซึ่งได้ความรู้การขายสินค้าออนไลน์เชิงพาณิชย์เพื่อนำไปต่อยอดเชิงธุรกิจของตนเอง โดยฝึกการใช้แอพลิเคชั่นเข้ามามีส่วนร่วม เช่น Tiktok หรือ Facebook ฯลฯ ทักษะการพูดและการสื่อสารที่ดี การเพิ่มยอดขายให้กับสินค้า จากผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรง

ประชุม คณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤต ตำบลปะเหลียน ครั้งที่ 329 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีสะท้อนผลลัพธ์ การทำงาน ณ แปลงใหญ่ผึ้งโพรงปะเหลียน สมาชิกและคณะทำงาน 14คน พี่เลี้ยงและภาคี 7 คน ประกอบด้วย ตัวแทนชลประทาน เกษตรตำบล ผอ.โรงเรียนบ้านหนองหว้า ผอ.โรงเรียนบ้านทุ่งยาว พี่เลี้ยง ครูสำราญ สมาธิ นายทวี สัตยาไชย ที่ปรึกษาโครงการ ขอบคุณ น.ส ศัลยา มานะกล้า ผู้บันทึกการประชุม เริ่มเวลา 13.00 น ประธานเปิดการประชุมและมอบหมายให้ นางสาวดวงใจ มีสัตย์ เลขานุการทบทวนผลลัพธ์โดยคร่าวๆ 1 ความสามัคคี 2 รายได้เพิ่มขึ้น 3 รู้จักพันธ์ุข้าวเพิ่มขึ้น 4 เข้าใจการปลูกข้าวละเอียดขึ้นรู้จักการเปรียบเทียบ สำราญ สมาธิ : เมื่อเราทำงานร่วมกัน ช่วยกันแก้ปัญหา ก็สามารถผ่านไปได้ เรื่องใหญ่ก็จะกลายเป็นเรื่องเล็ก เมื่อก่อนไม่มีน้ำจากชลประทาน ใช้น้ำจากธรรมชาติ ข้าวสายพันธ์ุเดิม เช่น หนุนห้อง พญาผักเซี้ยน ไข่มดริ้น และอีกหลายสายพันธ์ุแต่ไม่ได้บันทึกไว้ ชลประทาน : ดีใจที่ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือชาวนา ในเรื่องหลักๆ คือน้ำ นอกเหนือจากน้ำก็มีเรื่องถนนหนทาง ชลประทานได้ดูแลเพื่อการขนส่งผลผลิต และพร้อมจะดูแลน้ำให้เพียงพอสำหรับการทำนาปรัง 19 ไร่ เกษตรตำบลปะเหลียน : จากการที่ผู้ปลูกข้าวอีก 60ไร่ ที่ปลูกจริง แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ยืนยันว่าปลูกข้าวจริง แต่เนื่องจากข้าวไร่เป็นการใช้พื้นที่ของผู้อื่นการขึ้นทะเบียนเลยยุ่งยาก ไม่อยากขึ้นทะเบียน ผอ.อนงค์นาฏ ผอ.โรงเรียนบ้านหนองหว้า : จากการที่ได้พานักเรียนมาร่วมเกี่ยวข้าว เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร รู้ถึงวิธีการปลูก รู้จักพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกฝังให้นักเรียน อนุรักษ์ วิถีชุมชน และพัฒนาต่อยอดในอนาคต อ.ทวี สัตยาไชย ดีใจที่คนปะเหลียนได้ อนุรักษ์ที่นาผืนสุดท้ายของปะเหลียนไว้ และเป็นกำลังใจให้ผู้ปลูกข้าว ปลอดสารพิษ พัฒนาและมีผลผลิตที่มีคุณภาพมากๆ ต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงาน 16 คน มีความเข้มแข็ง ได้รับความร่วมมือที่ดีจากภาคีเครือข่าย เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ มีวิธีคิดวิธีทำงานที่เป็นระบบ
- ตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร มากกว่า 80% - มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้อบรม - บันทึกฐานข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบปีต่อไป 2.เกิดข้อตกลงร่วมกัน โดยมีเนื้อหาหลักคือ สมาชิกทุกไม่ใช้สารเคมี ไม่ว่ายาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง ไม่ยกเว้นแม้ผ่าน GAP ก็ตาม ผู้ใช้สารเคมีไม่สามารถร่วมขายผลผลิตกับกลุ่มได้ -ได้รับความร่วมมือจาก พัฒนาที่ดิน ไถกลบตอซัง, กรมการข้าว พันธุ์ข้าวกก.ละ 3 บาท,เกษตรอำเภอปะเหลียนร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์,ดูแลโรคพืช,วางแผนการปลูก ชลประทาน น้ำทำนาปรัง สถาบันวิจัย อนุเคราะห์ แหนแดง 3. เพิ่มพื้นที่ปลูกข้าว จาก 56.59 ไร่ 131.5 ไร่ เก็บเมล็ดพันธ์ุ (เลียง) เพียงพอ สำหรับ 87 ไร่ สำหรับฤดูกาลหน้า มีแนวเพิ่มผลผลิต โดยวิธีการใช้แหนแดง เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน 4. พัฒนาผลิตภันฑ์ มีการแปรรูป ข้าวม้าว ข้าวอวน น้ำนมข้าว การทำซูชิ ขนมจาก ข้าวหลาม พัฒนาแพ็คเก็จที่สวยงามขึ้น มียอดขายเพิ่มขึ้น มีการประชาสัมพันธ์ จัดนิทรรศการ 5. ผู้บริโภคข้าวเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ได้รับมาตรฐาน GAP

ประกวดผลผลิตจากสมาชิก สรุปโครงการร่วมกินข้าว กลางนา24 มีนาคม 2566
24
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิญสมาชิกผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานราชการ พี่เลี้ยง และผู้ประสานงานโครงการ สมาชิกกลุ่มและคนปลูกข้าว ทั้งนาและไร่ ร่วมหุงข้าวที่ปลูก จำนวน ห้าหม้อ หม้อที่๑. ข้าวเล็บนก ๒. ข้าวหอมปทุม ๓. ข้าวนางขวิด ๔. ข้าวไร่หอมดอกข่า ๕. ข้าวเบายอดม่วง และนำข้าวเหนียวไร่ พันธ์ุลืมผัว มาทำข้าวหลาม นำข้าวเบายอดม่วงมาเป็นส่วนผสมของขนมจาก และนำผักในท้องถิ่นมาทำกับข้าว เป็นการเลี้ยงขอบคุณสมาชิก และประชาสัมพันธ์ข้าว ทุกคนได้กินข้าวนาปะเหลียน ประกาศผลประกวด ผู้ปลูกข้าวปลอดสารพิษ จำนวน ๗ คน ๑. นายจุติ รองเดช ๒. นางรัชนี ทองรอง ๓. นางทัศนาพร เกื้อรอด ๔. นายผสม ทองรอง ๕. นางจามรี ศรีวิเชียร ๖. นางวรรณา เชาวดี ๗. นางสาวสุรางค์ ชูเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
ความรักความสามัคคีของคนในชุมชน เพื่อนบ้านนำ น้ำ ขนม ผลไม้ มาร่วมงาน และช่วยกันหุงหาอาหาร มีสมาชิก จำนวน 50 คน มาร่วมกิจกรรม ซึ่งมาจากปะเหลียน ย่านตาขาว เมือง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพบปะพูดคุยระหว่างคนปลูกข้าว การแลกเปลียนระหว่างเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน มีหัวหน้า พัฒนาการอำเภอปะเหลียน ร่วมแลกเปลี่ยน มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท่านสจ.,นายกอบต.ปะเหลียนและผู้ประสานงานโครงการ ร่วมพูดคุย เป็นขวัญและกำลังใจผู้ปลูกข้าวปลอดสารพิษ คนในชุมชนและผู้ร่วมงานได้ชิมข้าวนาปะเหลียน ผลลัพธ์ ผู้นำได้กล่าวไว้ว่าจะช่วยกันรักษานาผืนสุดท้ายของนาปะเหลียน จะมีคนปะเหลียนปลูกข้าวมากขึ้น และชื่นชมความสามัคคีในกลุ่ม ผู้ร่วมงาน ชื่นชมว่าข้าวมีรสชาติดี หอมมัน ทุกคนยอมรับว่าข้าวนาปะเหลียน เป็นข้าวสำหรับคนรักสุขภาพ ผู้ใหญ่บ้านซึ่งมาจากย่านตาขาวกล่าวว่า จะพาลูกบ้านมาศึกษาดูงานและนำไปเป็นแบบอย่าง

การพัฒนาแบรนด์และผลิตภัณฑ์ข้าวไร่11 กุมภาพันธ์ 2566
11
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำแพ็คเก็จใหม่ ออกแบบสติ๊กเกอร์ ให้ดูดีและทันสมัยมากขึ้น พร้อมทั้งจัดการเรียนรู้ให้นักเรียน ศูนย์พอเพียงโรงเรียนวิเชียรมาตุ แนะนำการเก็บเกี่ยว ทั้งแบบใช้เคียวและแกระ พร้อมชวนเด็กแปรรูปข้าว ซูชิ เพื่อนักเรียนสามารถใช้เป็นอาชีพเสริม และทำกินในครอบครัว พร้อมออกเกียรติบัตรให้นักเรียน 50 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 57 คน แบ่งเป็นกลุ่มนักเรียนโรงเรียนวิเชียรมาตุ และกลุ่มพี่เลี้ยงกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน ร่วมกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยมากขึ้น นักเรียนได้เรียนรู้ ทำกิจกรรมนอกห้อง ทักษธการใช้ชีวิต สู่การนำไปปฎิบัติจริงในชีวิตประจำวัน

ตลาดส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวปะเหลียน จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนโรงเรียนบ้านลำแคลง ครั้งที่ 228 มกราคม 2566
28
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นักเรียนโรงเรียนบ้านลำแคลงและ ตชด.บ้านหินจอก ศึกษาเรียนรู้ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว นักเรียนตชด.หินจอก จำนวน 25 คนพร้อมอาจารย์ นักเรียนโรงเรียนบ้าลำแคลง 70 คน พร้อมครู
ส่งต่อข้าวนาปะเหลียนให้เด็กๆชิม มื้อกลางวัน เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอส่งเกษตรตำบลลงพื้นที่ร่วมกิจกรรม  สุดท้ายของฤดูกาลทีมพี่เลี้ยง ผอ.พิมพ์ประกายและผอ.อนงค์นาฏ นำนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งยาวและโรงเรียนบ้านหนองหว้ามาลงแปลงเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ส่งต่อประเพณี การลงแขกเกี่ยวข้าวด้วย แกระ ปลูกฝั่งการทำนาให้เด็กๆได้เรียนรู้ เพื่อสืบต่อ ในรุ่นต่อๆไป การทำของเล่น (ปี่ซัง) ประโยชน์ของซังข้าว ลดการเผาตอซัง
การกินอาหารให้เป็นยา ประโยชน์ของข้าวปลอดสารพิษ

แปลงสาธิต20 มกราคม 2566
20
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงแขกเกี่ยวข้าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อนุรักษ์ประเพณีเกี่ยวข้าว

สาธิตการแปรรูปข้าว (น้ำนมข้าว)15 มกราคม 2566
15
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-จัดนิทรรศการพันธุ์ข้าว ทั้งข้าวนา ข้าวไร่ โดยจัดตัวอย่างรวงข้าว พันธุ์ต่างๆ เช่น เบายอดม่วง เล็บนกปัตตานี ข้าวนางขวิด ข้าวไร่หอมดอกข่า ข้าวเหนียวดอกมุด ข้าวมะลิดอย และจัดทำแผ่นความรู้วิธีปลูก
จัดจำหน่าย ข้าวเม่า ข้าวอวน จำหน่ายข้าวไร่ปลอดสารพิษ ผักปลอดสารพิษ ในงานเปิดฤดูกาล ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ที่ ศพก.ปะเหลียน มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 500 คน จัดทำไวนิล ประชาสัมพันธ์ ทำน้ำนมข้าวให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ชิม ลดละเลิกบุหรี่และการใช้โฟม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-แกนนำกลุ่มรักษ์นาข้าวปะเหลียน จำนวน 26 คน ร่วมกันดำเนินการจัดบูธกิจกรรมให้ความรู้ โดยมีวิทยากร คือ นางรัชนี ทองรอง ผู้ดำเนินกิจกรรมการแปรรูปน้ำนมข้าว และผู้นำ นายอำเภอปะเหลียน เปิดงาน ได้เยี่ยมชมบูธ แจกรวงข้าวให้เกษตรกรผู้สนใจ นำข้าวไปใช้ในงานมงคลต่างๆ แนะนำข้าวเบายอดม่วง พูดคุยแลกเปลี่ยนข้าวพันธุ์ต่างๆ กลุ่มผู้รักสุขภาพ ได้ แวะชิม และซื้อผลิตภัณฑ์

ศึกษาดูงาน ให้สมาชิกภายในกลุ่ม6 มกราคม 2566
6
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักวิชาการที่แท้จริงเพื่อนำมาบวกกับประสบการณ์ เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยการนำของเจ้าหน้าที่ สถานีพัฒนาที่ดินตรัง จุดแรก ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ศูนย์เมล็ดพันธุ์ ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ นายทนง ตำบลควนขนุน เข้าพักที่ ป่าพะยอม ทำกิจกรรมกลุ่ม หุงข้าวใหม่แต่ละพันธุ์ มาชิม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วงเช้า ก่อนรับประทานอาหาร มีการประชุมกลุ่มเพื่อนำสิ่งที่เรียนรู้มาสรุป รับประทานอาหารร่วมกัน ออกจากที่พัก สู่ตลาดชุมชน ซื้อ กระด้ง ตะกร้าและสินค้าชุมชน ตลาดทะเลน้อย ตลาดน้ำทะเลน้อย ตลาดสวนไผ่ขวัญ เพื่อเรียนรู้ด้านผลิตภัณฑ์ แพ็คเก็จ นำมาปรับใช้ในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกกลุ่มรักษ์นาปะเหลียนและผู้ปลูกข้าว จำนวน 24 คน ได้เกิดการเรียนรู้การบริหารแปลงข้าว ระยะเวลาใส่ปุ๋ย การรดน้ำ ระยะใช้น้ำ ระยะการตั้งท้องของข้าว การคัดเมล็ดพันธุ์ ชมแปลงข้าวไร่ดอกพยอม เยี่ยมชมโรงสี และแผนกต่างๆ ของศูนย์เมล็ดพันธุ์จ.พัทลุง ชมห้องแล็ป การคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว กข79 เพราะกลุ่มได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ราคาประหยัด เรียนรู้เพื่อนำมาปลูกจริง ชมโรงคัดแยก วิถีทนง แปลงปลูกข้าวต้นเดียว การเก็บเกี่ยว 2 ครั้ง การเปลี่ยนดินพรุ่สู่นาข้าว

ARE ครั้งที่ 219 พฤศจิกายน 2565
19
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมสะท้อนผลลัพธ์ระดับจังหวัด สมาชิกกลุ่มจำนวน 4 รายและ 1 ภาคี คือ รองนายกอบต.ปะเหลียนร่วมเวที กิจกรรมตามรายละเอียดแนบ โดยเช็คความพร้อมด้านต่างๆ เป็นด้านๆไป โดยสมาชิกแต่ละกลุ่มมีปัญหาคล้ายๆกันคือ การจัดบันทึกข้อมูล กลุ่มร่วมเสนอแนวคิดการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ด้วยวิธีการ ปรับสภาพดินโดยการใช้แหนแดง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคืบหน้าของแต่ละกลุ่ม ปัญหาและผลลัพธ์ของกลุ่มๆ เพื่อนำมาแก้ไขจุดบกพร่องของกลุ่ม การเก็บข้อมูลเป็นจุดด้อยของกลุ่มที่ผู้ประสานงานกลุ่มต้องร่วมกันเพิ่มเติม

ประชุม คณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤต ตำบลปะเหลียน ครั้งที่ 29 พฤศจิกายน 2565
9
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วาระที่๑ เรื่องแจ้งให้ทราบ ประธานคณะกรรมการความมั่นคงทางอาหารกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทนจาก สถานีพัฒนาที่ดินตรัง นายนคร เพชร์บุรี รองนายกอบต.ปะเหลียน นายเขียว คงเพชรเกษตรตำบลปะเหลียน น.ส ศัลยา มานะกล้า ,พัฒนาการอำเภอปะเหลียนและพัฒนาชุมชน
มอบหมายให้เลขาฯ คณะกรรมการความมั่นคงทางอาหาร ผู้รับผิดชอบโครงการ รายงานกิจกรรมที่ผ่านมาตามโครงการคร่าวๆ รายละเอียดตามบันไดผลลัพธ์
๑ . เกิดกลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติโควิด : ข้าวตรัง มีข้อตกลงร่วมกันในการใช้สารเคมี โดยแบ่งกลุ่ม A,B,C ผู้ใช้สารเคมี
๒ เกิดข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบลพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในวิกฤติโควิด - กลุ่มได้ดำเนินการประชุมจัดตั้งคณะทำงาน จำนวน 10 ท่าน โดยมีการประชุม ทุกเดือน จนถึงปัจจุบัน ครั้งที่ ๕ - จัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติโควิด โดยมี พ.ท.จงรักษ์ พิชัยรัตน์ เป็นประธาน ๓ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด - ธนาคารพันธุ์ข้าว ได้จัดสรรเมล็ดพันธุ์ให้สมาชิกจำนวน ๒๐ ราย มีพันธุ์ หอมดอกข่า,หอมดงและเบายอดม่วง และได้ให้ความรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านลำแคลง - แปลงสาธิต ได้จัดทำแปลงสาธิต เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ หมู่๘ บ้านท่าคลอง จำนวน ๒ ไร่ มีการสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำไปใช้ในแปลงข้าวต่อไป
4. ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย (การตลาด/บริโภค) -มีการสาธิตการแปรรูปข้าว ซูชิ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มทำเพื่อเป็นอาหารว่างต้อนรับเด็กๆ ศึกษาดูงาน - จัดกิจกรรม หนำข้าวของเด็กๆ โรงเรียนบ้านลำแคลง

วาระที่๔ เรื่องเพื่อทราบ ประธานมอบหมายพี่เลี้ยงผู้ดูแลโครงการ แจ้งวัตถุประสงค์ของการทำ ARE เพื่อให้เป็นไปตามบันไดผลลัพธ์ และร่วมพูดคุยปัญหา จากที่โครงการได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือกลุ่มด้วยดีมาตลอด อบต.ปะเหลียน ดูแลเรื่องน้ำ ติดตามการทำงานของชลประทาน การจัดสรรงบประมาณด้านต่างๆ พี่เลี้ยง : อยากให้ อบต. ช่วยเหลือ สนับสนุนด้านใดบ้าง สมาชิก: ได้เครื่องสีข้าว รองนายก:เสนอผ่านประชาคมหมู่บ้าน สอบต. เพื่อลงในแผนงาน พัฒนาชุมชน: กลุ่มต้องจัดทำข้อมูล แผ่นพับเพื่อเสนอราคา ต่ออบต. โรงเรียน พี่เลี้ยง:รวบรวมผลิตภัณฑ์ นำเสนอ สู่แผน ๕ ปี สมาชิก:โรงสีในชุมชนปัจจุบัน กากมาก เสียเวลาในการคัดแยก ถ้าคัดออกมาจะไม่เหลือจมูกข้าว พัฒนาชุมชน:การมีโรงสี เราจะได้ทั้ง ข้าว แกลบ รำ ซึ่งได้ประโยชน์มากและสามารถเชื่อมต่อไปยังผู้เลี้ยงปลา ผู้ปลูกผักอย่างครบวงจร เกษตรตำบล:เราต้องจัดทำข้อมูล กำลังการผลิตในพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลในการเสนอ แนะนำเจ้าหน้าที่โหนดเฟลกชิพ เจ้าหน้าที่และสมาชิก

วาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา มอบหมายให้เลขาฯ เชิญผู้ร่วมประชุมสะท้อนผลลัพธ์ด้านต่างๆ ตามปัญหา ๑.ปัญหาการใช้สารพิษ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน หาวิธีการ ลด ละ เลิก หาสิ่งทดแทน จากข้อกังวลเรื่องการใช้สารเคมี เชิญ ผอ.รพสต.ร่วมสะท้อนผลลัพธ์ แต่ติดภารกิจ
ในอดีต ใช้ยาในการฆ่าปู ที่มาคีบต้นข้าวในระยะเริ่มปลูก ด้วยพื้นที่ปลูกข้าวที่มากทำให้มีนกลาน้อย แมลงฉ่องก็ไม่มี ปัจจุบัน การใช้ย่าฆ่าหญ้า แต่สมาชิกในกลุ่มไม่ได้ใช้ เพียงแต่ปลิวมาจากแปลงใกล้เคียง และสารสารเคมีที่เสี่ยงคือการใช้ย่าฉีดฉ่องซึ่งสมาชิกในกลุ่มใช้วิธีการพ่นสูตรหมักปัสสาวะ ลุงซุปเปอร์ และสูตร เชื้อบิวเวอเรีย และประสานเกษตรตำบลขอรับเชื้อ บิวเวอเรีย เกษตรตำบลกล่าวเพิ่มเติมถึงเชื้อบิวเวอเรีย ผู้รับผิดชอบโครงการ : ยืนยันว่ากลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่หมู่ ๕ ไม่ได้ใช้ยาฆ่าหญ้าแต่อย่างใด เนื่องจากเจ้าของสวนปาล์มไม่อนุญาตให้ใช้ แต่ยังกังวลถึงการใช้ยาฉีดแมลงฉ่อง ๒.ปัญหาการขึ้นทะเบียนการปลูกข้าว ตามตัวชี้วัดต้องเพิ่มพื้นที่ 20% เกษตรตำบลบอกปีนี้ ขึ้นทะเบียนแล้ว ๕๔.๕ ไร่ ปีที่แล้ว ๕๖.๕๙ ไร่ และมีอีกประมาณ ๖๐ ไร่ที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน
ผสม ทองรอง : การจัดเตรียมเอกสารยุ่งยาก เนื่องจากไม่ใช่พื้นที่ของตัวเอง จามรี : ไม่คุ้มค่าเงินช่วยเหลือน้อย ๓.ปัญหาการใช้น้ำ ด้วยโครงการชลประทาน มี่โครงการต้องต่อเติม ทางระบายน้ำ ซ่อมแซมเขื่อน การปิดเปิดน้ำขัดข้องบ้างในบางช่วง ๔.การใช้สารบำรุงดินทดแทน ปุ๋ยเคมี ด้วยแปลงของนายจำลอง รองเดช มีความประสงค์ทำเกษตรอินทรีย์ เมื่อเลยช่วงแตกกอข้าวเหลือง พัฒนาที่ดิน : จะเข้าไปเยี่ยมแปลง จำนวน ๘ ไร่ เพื่อหาสาเหตุว่าเป็นเพราะ โรค หรือขาดปุ๋ย : แนะนำการใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรผสมปลา จะดีกว่า สูตรหมักสับปะรดอย่างเดียว ฉีดพ่น ๗ วันต่อครั้ง หรือเหลืองมากให้ฉีดบ่อยกว่านั้นได้ ช่วงตั้งท้องต้องใช้สารอาหารมากกว่าปกติ : จะทยอยจัดสรรถังหมักน้ำหมักชีวภาพและดูแลพื้นที่นา ๒๕ ไร่ให้ทั่วถึง มีปอเทืองหว่านเพื่อปรับสภาพดินหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว ดูแลตรวจดินในช่วงดินแห้ง ๕.การเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวในปีต่อไป
๖.การขอGAP
ร่วมแสดงความคิดเห็นว่าจะขอ GAP หรือไม่ สรุปจะขอ GAP ๕ ราย ที่เหลือใช้มาตรฐานที่ชุมชนร่วมกันรับรอง ๗.อื่นๆ ขอให้พัฒนาชุมชนเป็นผู้ประสานวิทยากรการจัดทำแบรนด์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ๘.ขอให้เกษตรตำบลช่วยจัดทำแผนผังแปลงผู้ปลูกข้าวในตำบลปะเหลียน และบันทึกการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เกิดกลุ่มที่เข้มแข็ง และได้รับความร่วมมือที่ดีจากภาคีเครือข่าย สำนักงานเกษตร,พัฒนาที่ดิน,อปท,พัฒนาชุมชน,รพสต. ในพื้นที่ ติดตามการใช้สารเคมีของสมาชิก อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แลกเปลี่ยน รวบรวมปัญหาของสมาชิก สะท้อนผลลัพธ์ การปลูกข้าว 20% เป็นไปตามเกณฑ์ โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินตรัง ลงพื้นที่ติดตามปัญหาสภาพดิน ดูต้นข้าว แนะนำการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ

จัดทำบัญชี9 พฤศจิกายน 2565
9
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางสาวดวงใจ มีสัตย์ ผู้จัดทำบัญชี กลุ่มลงในระบบเป็นที่เรียบร้อย ขอเบิกค่าจัดทำบัญชี 1000 บาท นางสาวดวงใจ มีสัตย์ ผู้จำทำบัญชี บันทึกการจัดทำบัญชี ขอเบิกค่าจัดทำบัญชี 1000 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำบัญชี ลงในระบบ happy network ในงวดที่ 1 และงวดที่2 บางส่วน บันทึกบัญชีจนจบโครงการ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 58 พฤศจิกายน 2565
8
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

น.ส ดวงใจ มีสัตย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานคณะทำงาน เปิดการประชุม เวลา 09.30 น. รวบรวมปัญหาเพื่อนำสู่เวที สะท้อนผลลัพธ์ บ่ายวันนี้ พร้อมช่วยกันจัดสถานที่เพื่อจัดเวทีสะท้อนผลลัพธ์ โดยจัดอาหารว่างให้กับสมาชิก พร้อมมอบหมายให้ นางอรุณรัตน์  ชั้นสกุล ถ่ายภาพกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 10 คน เกิดความสามัคคี มีความรู้ ความเข้าใจการทำงานของโหนดเฟลกชิพตรัง เหตุผลที่มาที่ไปของการจัดเวทีสะท้อนผลลัพธ์

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 422 กันยายน 2565
22
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประธานเปิดการประชุมเวลา 13.00 น เรื่องแจ้งให้ทราบ มอบหมายให้นางจามรี ศรีวิเชียร เล่าถึงการที่ได้ร่วมประชุม GAP และขอมติการเข้าร่วม ประธานเน้นย้ำ กิจกรรมต่างๆ สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา ร่วมสะท้อนปัญหาเพื่อ นำไปร่วมถกกันในเวที ARE
จากการสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ สามารถนำไปใช้ได้แล้ว แจ้งให้สมาชิกนำไปใช้ในช่วงข้าวแตกกอ แจ้งให้บอกต่อสมาชิกในการเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียนข้าวทั้งนาและไร่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 11 คน ทราบถึงปัญหาอุปสรรคแต่ละพื้นที่ คณะทำงานเข้าใจบทบาทหน้าที่ของโหนดเฟลกชิพตรัง มากขึ้น เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ คณะทำงานช่วยกันบอกต่อการเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน และการขอ GAP

แปลงสาธิต19 กันยายน 2565
19
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดซื้อปุ๋ยอินทรีย์ จากสหกรณ์การเกษตรบ้านป่ากอ จำนวน 20 กระสอบ เพื่อใช้ในแปลงสาธิต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสุขภาพดีเริ่มที่ข้าวดี

พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 116 กันยายน 2565
16
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมการใช้โปรแกรม Canva เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ สร้างสรรค์สื่อต่างๆ และการบันทึกข้อมูลรายงาน การบัญชีในระบบ happynetwork รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินตามกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 3 คน คือ 1.ดวงใจ มีสัตย์ ผู้รับผิดชอบโครงการ 2.จามรี ศรีวิเชียร 3.วรรณา เชาวดี สามารถใช้โปรแกรม CANVA ในการออกแบบสื่อต่าง ๆ ได้ รวมถึงการบันทึกรายงานกิจกรรม ลงบัญชี เอกสารการเงิน รูปต่างๆในระบบ happynetwork ได้

ตลาดส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวปะเหลียน จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนโรงเรียนบ้านลำแคลง ครั้งที่ 15 กันยายน 2565
5
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน ต้อนรับนักเรียนโรงเรียนบ้านลำแคลงพร้อมครูรวม 43 คน ณ แปลงสาธิตข้าวไร่ดอกข่า หมู่ที่ 8 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง โดยมี น.ส ดวงใจ มีสัตย์ ทำหน้าที่วิทยากร บรรยายความเป็นมาของการปลูกข้าวไร่ พันธ์ข้าว ความสำคัญและตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหาร แนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ดั้งเดิม และประยุกค์ขึ้นใหม่ นายผสม ทองรองเป็นผู้นำในการแทงสัก ให้เด็กๆได้ปฎิบัติจริง ทั้งการหนำข้าวและเข็นเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ โดยมีคุณครูคอยแนะนำเพิ่มเติม เรียบร้อยแจกนมและขนมเป็นอาหารว่าง นักเรียนไปศึกษาเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิก และร่วมรับประทานอาหารกลางวัน ที่กลุ่มจัดไว้ตามโครงการที่ แปลงใหญ่ผึ้งโพรงปะเหลียน โดยมีเกษตรตำบลร่วมพูดคุยกับครูในโครงการยุวเกษตรเพื่อต่อยอดความมั่นคงทางอาหารในโรงเรียนต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต เด็กได้เห็นถึงวิธีการปลูกข้าวไร่ ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบเครื่องหยอดเมล็ดพันธ์ ได้รับประทานข้าวของกลุ่มฯ ซึ่งขัดขาวเล็กน้อย รู้ว่าไม่ได้ระคายคออย่างที่คิด ผู้คนให้ความสนใจกลุ่มเด็กๆที่มาทำกิจกรรม ผลลัพธ์ เมื่อลงข่าวในเฟสบุ๊คได้รับการตอบรับที่ดี กดไลน์ กดแชร์ กิจกรรมอย่างสนุกสนาน โรงเรียนอื่นๆ ติดต่อขอร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนได้ต่อยอดกิจกรรมยุวเกษตรในโรงเรียนต่อไป

สาธิตการแปรรูปข้าว28 สิงหาคม 2565
28
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เชิญสมาชิกและผู้สนใจร่วมกิจกรรม สาธิตการแปรรูปข้าว ซูชิ โดย วิทยากร น.ส อนงค์นาฏ มีสัตย์ สมาชิกและผู้สนใจ ร่วม 25 คน โดยนำข้าวเบายอดม่วงมาแปรรูป โดยผสมกับข้าวเหนียว:ข้าวเบายอดม่วง ในอัตราส่วน 1:3
ผักที่ใช้ แครอท แตงกวา สาหร่าย ไข่กุ้ง ปลาทูน่า ฯลฯ แบ่งกลุ่มสมาชิกเป็น 4 กลุ่ม เริ่มขั้นตอนการหูงข้าว การห่อ การใส่ไส้ และนำมาเป็นอาหารมื้อเที่ยง และนำกลับไปลูกหลานได้ร่วมชิม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการอบรมการแปรรูปอาหาร ซูชิ สมาชิกเห็นพ้องต้องกันว่า ซูชิ อร่อย สามารถทำได้ วิธีการไม่ซับซ้อน และเหมาะที่จะนำมาเป็นอาหารว่างของเด็กๆ วัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้เด็กๆ เริ่มกินข้าวสี ขัดเล็กน้อย การกินผักและให้ความรู้แก่สมาชิก เพื่อรองรับการศึกษาดูงานของเด็กๆ เพื่อเป็นอาหารว่าง และสมาชิกสามารถนำไปประกอบอาชีพในฤดูกาลว่างเว้นจากการทำนา

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 320 สิงหาคม 2565
20
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วาระที่๑ เรื่องแจ้งให้ทราบ ประธานเชิญชวนสมาชิกเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียนปลูกข้าว โดยจะเชิญเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลมารับขึ้นทะเบียน ณ ที่ทำการกลุ่ม วาระที่๒ รับรองรายงานการประชุม ประธานมอบให้เลขานุการ อ่านรายงานการประชุมครั้งที่ ๒/๖๕ มติเป็นเอกฉันฑ์รับรองรายงานการประชุม วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน ไม่มี วาระที่๔ เรื่องเพื่อทราบ วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๕ นักเรียนโรงเรียนบ้านลำแคลง จะมาศึกษานอกสถานที่ ณ แปลงสาธิต หมู่ที่ ๘ ต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน เชิญกรรมการและสมาชิกร่วมกิจกรรม วาระที่ ๕ เรื่องเพื่อพิจารณา แบ่งหน้าที่การทำงาน ต้อนรับเด็กโรงเรียนบ้านลำแคลง วิทยากร น.ส.ดวงใจ มีสัตย์ สาธิตแท่งสัก นายผสม ทองรอง,นายศิริ บุณโยดม,พ.ท จงรักษ์ พิชัยรัตน์ ของว่าง นางจามรี ศรีวิเชียร อาหารกลางวัน นางรัชนี ทองรอง, นางวรรณา เชาว์ดี,นางราตรี พิชัยรัตน์,น.ส.เตือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน มีความเข้าใจวาระการประชุมทั้ง 5 ประเด็นมากยิ่งขึ้น วางแผนการทำงานตามโครงการ และ รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายเกิดการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น

ป้ายปลอดบุหรี่17 สิงหาคม 2565
17
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ป้ายปลอดบุหรี่ ปลอดโฟม บันไดผลลัพธ์ใช้ในการจัดประโครงการ ติดตั้งหน้าแปลงสาธิต เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์ ลด ละ เลิก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต ผู้ร่วมประชุม มองเห็น และพูดย้ำถึงการลดละเลิก แปลงสาธิต อยู่ติดถนน มีผู้คนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 100 คน ต่อวัน การเห็นทุกวันซ้ำๆ มีส่วนกระตุ้นการลด ละ เลิก

แปลงสาธิต12 สิงหาคม 2565
12
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดซื้อพันธ์ุข้าวไร่ ดอกข่าจากนางรัชนี จำนวน 14 กิโลกรัม ปลูกในแปลง 2 ไร่ 2.ไถปรับพื้นที่ เพื่อปลูกข้าวดอกข่า 3.จัดกิจกรรมปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ สมาชิกและชาวบ้านใกล้เคียงร่วมหนำข้าว จำนวน 25 คน 4.ผู้สนใจร่วมกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จำนวน 25 คน โดยมีวิทยากร คือ หมอดินอาสาตำบลปะเหลียน (นายผสม ทองรอง) ซึ่งวัสดุที่ใช้ ถัง ขนาด 100 ลิตร ปลา จำนวน 20 กิโลกรัม สับปะรด 30 กิโลกรัม กากน้ำตาล 1 แกลอน พด.2 จากสถานีพัฒนาที่ดิน วิธีทำ หั่น สับปะรดเป็นชิ้นเล็กๆ นำสารพด. มาละลายน้ำ การน้ำตาลละลายน้ำ นำปลาลงถัง ใส่กากน้ำตาล ใส่น้ำพอจมปลา ใส่สับปะรด และเศษผัก ที่เหลือจากการทำซูชิ ใส่ลงถัง ใส่กากน้ำตาลจนเต็ม เก็บไว้ 15 วัน สามารถนำไปใช้ได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ดอกข่า เพื่อปลูกในแปลงสาธิต โดยมีกิจกรรม "ปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อ" และเด็กๆได้ร่วม ปลูก (หนำ) เพื่อการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์โครงการ 2.ปรับสภาพดินให้พร้อมปลูก 3.ช่วยกันปลูกข้าวในวันแม่ สมาชิกและชาวบ้านใกล้เคียงร่วมรำลึกความหลังการหนำข้าว ซึ่งหลายคนเคยทำและหยุดไปเพราะอุปสรรคต่างๆกันไป 4.ได้น้ำหมักชีวภาพ 1 ถัง เพียงพอสำหรับ สมาชิก 20 คน พื้นที่ 100 ไร่ เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งทันในช่วงที่ข้าวกำลังแตกกอ โดยสมาชิกสามารถนำไปต่อยอดทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในสวนยาง สวนปาล์มต่อไปได้

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 226 กรกฎาคม 2565
26
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เรื่องแจ้งให้ทราบ จากการร่วมประชุมกับกลุ่มเชิญประชุมพัฒนาศักยภาพ ความรู้เรื่องการรักษาเมล็ดพันธุ์ และการแปรรูปข้าว โดยมี ดร.รณชัย ช่างสี ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว และหัวหน้าโครงการพิมพ์เขียวข้าว กรมข้าว วิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์ เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 65 วาระที่ 1 เรื่องรับรองรายงานการประชุม ประธานมอบให้เลขานุการ อ่านรายงานการประชุมครั้งที่ 1/65 มติเป็นเอกฉันฑ์รับรองรายงานการประชุม วาระที่ 2 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน บันไดผลลัพธ์โครงการ ร่วมกันผลักดันให้ได้ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ วาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ ตารางกิจกรรมตลอด 10 เดือน งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน ประธานเน้นย้ำเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารข้าว และการลด เลิกใช้สารเคมี วาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา 1. ตามตารางกิจกรรมของโครงการ สุขภาพดีเริ่มที่ข้าวดี ร่วมปลูกข้าวดีๆ กับกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน เพื่อให้เป็นไปตามโครงการ จึงขอมติที่ประชุมในการจัดกิจกรรมแปลงสาธิต มีมติใช้แปลงของ น.ส.ดวงใจ มีสัตย์ พื้นที่ 3 ไร่ โดยใช้เป็นแปลงสาธิต 2 ไร่ ใช้ข้าวพันธุ์หอมดอกข่า และกำหนด วันที่ 12 ส.ค. เป็นวันลงแขก หนำข้าว 2. กำหนดวันสาธิตการแปรรูปข้าว ซูชิ มติที่ประชุม กำหนดวันที่ 28 ส.ค. 65 ช่วงเช้า สาธิตการทำซูชิ ช่วงบ่ายสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ
3. ธนาคารพันธ์ุข้าว แจกพันธ์ุข้าวให้สมาชิก 20 คน คนละ 1 ไร่ จำนวน 7 กิโลกรัม เพื่อนำไปปลูกและส่งต่อผู้สนใจปลูกในปีต่อไป
    จบการประชุมเวลา ๑๒.๐๐ น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต สมาชิก 20 ราย นำพันธ์ุข้าวไปปลูก มีพันธ์ุหอมดง หมอดอกข่า ดอกพะยอม นางช้อย โดยคณะกรรมการจำนวน 10 คน ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น

ธนาคารพันธุ์ข้าวไร่1 กรกฎาคม 2565
1
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดซื้อพันธ์ุข้าวเพื่อแจกจ่ายให้สมาชิก นำไปปลูกคนละ 1 ไร่ ไร่ละ 7 กิโลกรัม จำนวน 20 คน จากนางสาวทัศนีย์ สุขสนาน ซึ่งเป็นข้าวพันธ์ุหอมดอกข่าและหอมดง เพื่อเป็นธนาคารพันธ์ุข้าวไร่ ส่งต่อให้ผู้สนใจปลูกในปีถัดไป ในการขยายพื้นที่ปลูกข้าวไร่ในอนาคต
ข้าวนา โดยได้มอบข้าวเบายอดม่วง คนละ 7 กิโลกรัมด้วยเช่นกัน 2.บรรยาย เรื่องพันธ์ุข้าว ความเป็นมาของข้าวไร่ให้นักเรียนโรงเรียนบ้านลำแคลง นำทีมโดย น.ส ดวงใจ มีสัตย์ และสมาชิกในกลุ่มอีก 24 คน 3.ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน ข้อตกลงการส่งต่อเมล็ดพันธ์ุ ประธานพูดคุยถึงเรื่องพันธุ์ข้าว วิธีการเก็บเมล็ดพันธุ์ ตามที่ ดร.รณชัย ช่างสี บรรยายไว้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สมาชิกผู้ปลูกข้าวไร่ จำนวน 20 คน นำข้าวไปเพาะปลูก ในตำบลปะเหลียน โดยปลูกแซมในสวนยางพารา 1-3 ปี และสวนปาล์ม 1 ปี ซึ่งในปี 2566 มีการปลูกข้าวไร่สายพันธุ์หอมดอกข่า,หอมดง,นางช้อย,เหนียวลืมผัว,เบาดอกยอม 2.นักเรียนเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีความตระหนัก สนใจ ในเรื่องสายพันธุ์ข้าวซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น
3.สมาชิกผู้ปลูกข้าวไร่ เกิดความรู้และความเข้าใจถึงวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ โดยได้ข้อสรุปในการส่งต่อเมล็ดพันธ์ุ แก่ผู้ที่สนใจ อย่างน้อย 7 กิโลกรัม ซึ่งไม่มีผู้รับต่อส่งกลับกลุ่ม

ประชุม คณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤต ตำบลปะเหลียน ครั้งที่ 130 มิถุนายน 2565
30
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดประชุม ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียนโดยเชิญผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แนะนำโครงการโดย ผอ.พิมพ์ประกาย ศรีไตรรัตน์ พี่เลี้ยงโครงการ ถึงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส) ในการดำเนินงานโครงการ สุขภาพดีเริ่มที่ข้าวดี ร่วมปลูกข้าวดีๆ กับกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน ระยะเวลา ๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ รวม ๑๐ เดือน งบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑. เพื่อพัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด
๒. เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการผลิต การตลาดและการบริโภค ๓. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนชาวตรังได้บริโภคข้าวตรังปลอดภัย ๑.บันไดผลลัพธ์ นำเสนอบันไดผลลัพธ์ ทั้ง ๕ ขั้น และบทบาทหน้าที่ของภาคีเครือข่ายที่จะร่วมขับเคลื่อนโครงการ โดยได้รับคำมั่นสัญญาที่จะช่วยขับเคลื่อนดังต่อไปนี้ สถานีส่งน้ำชลประทานปะเหลียน พร้อมที่จะดูแลเรื่องน้ำตลอดการเพาะปลูก หากต้องการเพิ่มพื้นที่นา ต้องเข้าไปคุย วางแผนการใช้น้ำ เพื่อบริหารจัดการน้ำได้เหมาะสม เพราะมีผู้ใช้น้ำจำนวนมากทั้งต้นน้ำคือโซนนาปะเหลียน กลางน้ำนาโบหนับ ปลายน้ำทุ่งยาว นายวิเชษฐ์ คงอินทร์ กำนันตำบลปะเหลียน พูดถึงความเป็นมาของนาเหลียน และเหตุผลหลักที่ทำให้พื้นที่นาปะเหลียนมากกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ สู่ ๐ และยินดีที่คืนกลับมาได้ ๒๕ ไร่ กระตุ้นให้กลุ่ม ทำให้ดี เพื่อเป็นตัวอย่างให้คนอยากทำนา ยินดีประชาสัมพันธ์ และร่วมปลูกข้าวไร่รำลึกการแทงสักกันอีกครั้ง นางสาวศัลยา มานะกล้า เกษตรตำบลปะเหลียน ยินดีสนับสนุนให้ความรู้เพิ่มเติม การใช้เชื้อไตรโกเดอร์มา บิวเวอเรีย การใช้แหนแดงในนาข้าว โรคข้าว และร่วมเป็นคณะตรวจสอบสารพิษตกค้าง ส่งเสริมตลาดเกษตรและการขึ้นทะเบียน สถานีพัฒนาที่ดินตรัง สนับสนุนการทำปุ๋ยหมักชีวะภาพ ปุ๋ยหมัก ลดการใช้ปุ๋ยเคมี การตรวจดินหาค่า NPK การปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก โรงเรียนบ้านหาดเลาและบ้านลำแคลง จะนำเสนอผอ.แนวความคิด ปลูกข้าวไร่ในโรงเรียนและการศึกษานอกสถานที่ ผอ.รพสต.ปะเหลียน ยินดีที่จะให้ความรู้เพิ่มเติมแก่สมาชิกถึงพิษภัยของยาฆ่าหญ้า เพื่อลดละเลิก ต่อไป อาหารเพื่อสุขภาพเพื่อการลดโรคเบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด และเชื่อมโยงเรื่องสุขภาพผู้สูงอายุ การตรวจหาสารพิษในเลือด พัฒนาการอำเภอปะเหลียน พัฒนาชุมชนปะเหลียนก็สนับสนุนด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่ข้าว เช่น โคกหนองนา และยินดีร่วมพัฒนาผลิตภันฑ์สู่ OTOP การพัฒนาผลิตภันฑ์ นายผสม ทองรอง หมอดินอาสา แจกปอเทืองเพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดิน ปรับสภาพดิน นายประยุทธ์ หลงขาว สอบต.หมู่ ๓ ยินดีสนับสนุนการทำงานและร่วมประชาสัมพันธ์ นายประมาณ หะหมาน ตัวแทนผู้ปลูกข้าวหมู่ ๕ ในพื้นที่หมู่ ๕ มีการปลูกข้าวไร่มากกว่า๓๐ ไร่ แต่ด้วย สมาชิกอายุมาก จึงใช้วิธีฉีดยาฆ่าหญ้า แทนการถากหญ้า ถางหญ้า พท.จงรักษ์ พิชัยรัตน์ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนรักษ์นาปะเหลียน และประธานชมรมผู้สูงอายุ ความเป็นมาของนาเหลียน ประสบการณ์การทำนา นายเขียว คงเพชร รองนายกอบต.ปะเหลียน ยินดีสนับสนุนการใช้สถานที่ และร่วมเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวไร่ในโซนเจ้าพะ ๒.แผนผังต้นไม้ปัญหา กล่าวถึงต้นไม้ปัญหาคร่าวๆ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

๑. แต่งตั้งคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร ข้าว ประกอบด้วยภาคีเครือข่าย คณะทำงานความมั่นคงทางอาหารภาคีเครือข่าย ๑ พท.จงรักษ์ พิชัยรัตน์ ประธานชมรมผู้สูงอายุ ประธาน ๒ นายวิเชษฐ์ คงอินทร์ กำนันตำบลปะเหลียน รองประธาน ๓ นายเขียว คงเพชร รองนายกอบต.ปะเหลียน รองประธาน ๔ นางวิวัลย์ สังข์ชาติ ผอ.รพสต กรรมการ ๕ นายนคร เพ็ชร์บุรี สถานีพัฒนาที่ดินตรัง กรรมการ ๖ นางสาวศัลยา มานะกล้า เกษตรตำบลปะเหลียน กรรมการ ๗นายวีระศักดิ์ ทองสกุล สถานีคลองส่งน้ำปะเหลียน กรรมการ ๘ นายณรงค์ บุญจันทร์ พัฒนาการอำเภอปะเหลียน กรรมการ ๙ นายประยุทธ์ หลงขาว สอบต.หมู่ ๓ ต.ปะเหลียน กรรมการ ๑๐ นายประมาณ หะหมาน ตัวแทนหมู่ ๕ ต.ปะเหลียน กรรมการ ๑๑ นายผสม ทองรอง หมอดินอาสา กรรมการ ๑๒ นางจามรี ศรีวิเชียร สมาชิกรักษ์นา กรรมการ ๑๓ นางรัชนี ทองรอง สมาชิกรักษ์นา กรรมการ ๑๔ นางอรุณรัตน์ ชั้นสกุล สมาชิกรักษ์นา กรรมการ ๑๕ นายเก่งพงศ์ พงศ์สัตยวาที สมาชิกรักษ์นา กรรมการ ๑๖ นางสาวดวงใจ มีสัตย์ ประธานวิสาหกิจรักษ์นา เลขานุการ ที่ปรึกษา ๑ ผอ.มณเฑียร โคกเขา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลำแคลง ๒ ผอ.ยุพา ตั้งสถิตพร ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหาดเลา ๓ ผอ.นายอดุลย์ ชูเนตร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนคันธพิทยาคาร ๔ ผอ.พิมพ์ประกาย ศรีไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งยาว

๒. กำหนด กฎกติกา ข้อตกลง ในการดำเนินโครงการ ข้อตกลง ร่วมกัน การใช้สารเคมีแบ่งกลุ่มผู้ใช้สารเคมีดังนี้ A ผู้ที่ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี B กลุ่มปลอดสารพิษ ใช้ปุ๋ยเคมีเล็กน้อย ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า C กลุ่มใช้สารเคมี ผ่านการตรวจสารพิษตกค้างจากคณะกรรมการร่วม ๓. หน้าที่ของสมาชิกและแกนนำของโครงการ สนับสนุนการทำงานตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และร่วมเป็นผู้ตรวจสอบสารพิษ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 125 มิถุนายน 2565
25
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร ทีมโหนดเฟลกทีมและพี่เลี้ยงลงพื้นที่ ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ แนะนำการทำงานของสสส. แนะนำการจัดทำเอกสารการเงิน การจัดทำรายงาน และบันไดสู่ความสำเร็จของโครงการ ตามบันไดผลลัพธ์ ๕ ขั้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดตั้งคณะทำงาน แบ่งหน้าที่ ๑ น.ส ดวงใจ มีสัตย์ ประธาน  รับผิดชอบโครงการโดยร่วม  ๒นายผสม ทองรอง รองประธาน ดูแลประสานงานโรคในนาข้าวการใช้ปุ๋ย ๓.นางจามรี ศรีวิเชียร หน้าที่การเงิน ๔ นางรัชนี ทองรอง ดูแลด้านอาหารและเครื่องดื่ม ๕ นางจันทจิรา มีสัตย์ ผู้ช่วยด้านอาหาร ๖ นางศรีอุบล ฉิมเรือง ประชาสัมพันธ์ ๗ นายจุติ รองเดช ดูแลให้คำปรึกษาด้านพันธ์ข้าว ๘ พ.ท.จงรักษ์ พิชัยรัตน์ ประสานงานทั่วไป ๙ เก่งพงศ์ พงศ์สัตยวาที รับผิดชอบรูปถ่ายบันทึกการทำงาน ๑๐ นายศิริ  บุณโยดม ดูแลด้านวัสดุอุปกรณ์ จัดประชุมเดือนละ ๑ ครั้ง

ปฐมนิเทศโครงการย่อย2 มิถุนายน 2565
2
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการ ร่วม ๓ คน ร่วมปฐมนิเทศโครงการย่อย โดยเชิญรองนายกอบต.ปะเหลียน ร่วม MOU กิจกรรม ทดสอบสรรมถภาพด้านร่างกาย อารมณ์และสติปัญญา แนะนำทีมวิชาการ ทีมพี่เลี้ยง ผู้ทรงคุณวุฒิโหนดเฟลกชิพตรัง และประเมินภายใน โดย นางสุวณี ณ พัทลุง ในการพัฒนาและการขับเคลือนธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ วิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดโดครงการและคณะกรรมการ รับทราบถึงแนวทางปฎิบัติ ผู้นำท้องถิ่น รับทราบถึงโครงการ ร่วม MOU กับรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ ทำสัญญาโครงการ

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร1 มิถุนายน 2565
1
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย chonpadae
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เงินยืมทดลองเปิดบัญชี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เงินยืมทดลองเปิดบัญชี

ประสานงานและจัดทำโครงการ1 มิถุนายน 2565
1
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT025
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดต่อประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ โดย นางสาวดวงใจ มีสัตย์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประสานงานเจ้าหน้าที่ อปท. ท้องถิ่น เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวัสดุสำนักงาน