directions_run

โครงการสุขภาพดีเริ่มที่ข้าวดี ร่วมปลูกข้าวดีๆ กับกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีเริ่มที่ข้าวดี ร่วมปลูกข้าวดีๆ กับกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0015
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์นาปะเหลียน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวดวงใจ มีสัตย์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 084-4035206
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Duangiai12121971@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวพิมพ์ประกาย ตรีไตรรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
2 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 60,000.00
3 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลปะเหลียน มี 15 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมดของตำบล 170,625 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 43,023 ไร่ จำนวน ประชากรปี 2565 มีจำนวน 12,315 คน เดิมพื้นที่นาปะเหลียนมีมากกว่า 1,000 ไร่ มีการปลูกข้าวนางขวิด ข้าวหนุนห้อง เล็บนก ในอดีตปลูกข้าวเพื่อกินในครอบครัว ใช้วัวในการไถนา วัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวการแรกดำ เก็บข้าว เพื่อให้ทำงาน คล่องตัวไม่มีอุปสรรค การบูชาพระแม่โพสพ ด้วยปัญหาน้ำและราคาข้าว ทำให้พื้นที่ทั้งหมดกลายเป็นสวนปาล์ม, สวน ยางพารา 5 ปีที่ผ่านมา กลุ่มได้พื้นฟูพื้นที่นากลับมาอีกครั้งได้ 25 ไร่ ด้วยเหตุผลที่ว่า ปลูกข้าวให้พ่อแม่กินปัจจุบันปลูก ข้าวเล็บนก, หอมปทุม, หอมนาคา,ข้าวไรเบอรี่ และข้าวเบายอดม่วง ไถโดยรถไถเดินตามนาลึกใช้วิธีการดำ นาตื้นใช้ วิธีการโยน มีการลงแขกสลับช่วยดำนา แบ่งหน้าที่ผู้ชายรับผิดชอบเรื่องไถนา ผู้หญิงดูแลการดำนา โดยมีชลประทาน ปะเหลียนเข้ามาสนับสนุน นาปะเหลียนมีน้ำชลประทานพร้อมดินดี อากาศดี ข้าวรสชาติดี สมาชิกส่วนใหญ่ปลูกข้าวเพื่อ กินเอง มีเหลือขาย มีการรวมตัวกัน ทำข้าวม่าว ข้าวอวน ตามฤดูกาลก่อนข้าวสุก มีการทำน้ำนมข้าวจำหน่าย แจก แก่ ผู้สูงอายุ การเก็บเกี่ยวมีการใช้แกะ ในการเก็บข้าวเลียง และเก็บเมล็ดพันธ์ใช้เคียวในการเก็บเกี่ยวนำมาเข้าเครื่องนวด มี การปุ๋ยหมักจากฟางข้าว เลี้ยงไก่บ้านกินข้าวที่ร่วงหล่น มีการทำข้าวไร่ในพื้นที่ โดยปลูกข้าวไร่ในสวนยางอายุ 1-3 ปี ผลผลิต 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ จากปัญหาการทิ้ง ช่วงปลูก ทำให้พันธุ์ข้าวในอดีตรุ่นแม่ได้หายไป ปัจจุบันเหลือ ข้าวไร่ดอกข่า ข้าวคอดำ โดยใช้วิธีหยอดหลุม และเริ่มนำ เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์เข้ามาใช้ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จไถกลบ ทำให้ดินร่วนเหมาะสำหรับปลูกถั่วลิสง ปลูกข้าวโพดต่อไป ข้อมูลสถานการณ์โรคระบาดโควิดภายในตำบลจาก รพ.สต.ตำบลปะเหลียน ผู้ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ นักเรียน เริ่มเปิดเรียนได้เต็มจำนวน มียอดผู้ติดเชื้อลดลง ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 ข้อมูลการผลิตข้าวเมื่อปีก่อน ในปีผลิต ปี 2564-2565 ตำบลปะเหลียนมีการปลูกข้าว จำนวน 56.59 ไร่ ได้ผลผลิตทั้งหมด 14,147 กิโลกรัม (ข้อมูลจากเกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอ) สามารถคำนวณเป็นข้าวสารได้ทั้งหมด 9,902 .กิโลกรัม (นำข้าวเปลือกคูณกับ 70% จะได้เป็นปริมาณข้าวสารกล้อง) มีการจำหน่ายข้าวที่ปลูกเองในตำบลจำนวน 5 แห่ง ข้อมูลการบริโภคข้าวภายในตำบลต่อ 1 ปี ประชากรในตำบลมีจำนวน 12,315 คน สามารถคำนวณเป็นข้าวสารที่ต้องบริโภคในจำนวน 1 ปี เท่ากับ 1,022,145 กิโลกรัม (นำจำนวนประชากรคูณปริมาณข้าวสารที่คนไทยบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อปีมีค่ากลางเท่ากับ 83 กิโลกรัมต่อปี) เมื่อทราบปริมาณข้าวสารที่ต้องบริโภคทั้งปีกับที่ผลิตภายในตำบลต่อปีเราจะทราบอัตราส่วนที่เราสามารถ ผลิตได้ในตำบลเท่ากับร้อยละ 0.9687 ของปริมาณข้าวสารที่ต้องการบริโภคทั้งหมด นโยบายการส่งเสริมปลูก/แปรรูปข้าวจากหน่วยงานต่าง ๆ ในตำบล มีหน่วยงานมาร่วมส่งเสริมสนับสนุน ดังนี้ กรมชลประทาน สนับสนุนช่วยเหลือส่งคนงานมาช่วยทำนา ดูแลน้ำ พัฒนาที่ดิน ดูแลการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ชีวภาพ เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ดูแลการขึ้นทะเบียน โรคข้าว กลุ่มมีสมาชิก 14 ราย พื้นที่ปลูกข้าวนาและข้าวไร่ 28 ไร่ จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า ข้าวในตำบลปะเหลียน ยังขาดแคลนอีกจำนวนมาก จึงทำโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มสมาชิก และให้สมาชิกเดิมเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าว โดยวิธีการ ปลูกข้าวนาปรัง และข้าวไร่ เพื่อให้มีข้าวเพียงพอต่อความต้องการของตลาด มีการแก้ปัญหาร่วมกัน ประสานความร่วมมือ จากหลายๆ ฝ่าย เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร,สถานีพัฒนาที่ดิน,กรมชลประทาน,รพ.สต และหน่วยงานต่างๆ มีการเชิญ วิทยากรให้สาธิตการแปรรูปข้าว น้ำนมข้าว ซูซิ จัดให้มีการศึกษาดูงาน แปลงนา การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อประยุคต์ใช้ ในนาปะเหลียนต่อไป เพื่อเพิ่มผลผลิตมีการจัดทำแปลงสาธิตข้าวไร่ - ใช้เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ ซึ่ง 2 ไร่ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง - ใช้ถังพ่นปุ๋ย หมักชีวภาพ, สารชีวพันธ์ เพื่อเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี - ใช้รถพ่วงข้าว, หรือโฟวิล ลงแปลง เมื่อเก็บเกี่ยว สะดวกรวดเร็ว - มีเครื่องนวดข้าว ลดระยะเวลา นวดสด และตากได้ มีข้าวสดใหม่พร้อมขายอย่างรวดเร็ว ด้วยกรรมวิธีปลูกข้าวไร่ ต้องหยอดหลุมทำให้ปวดเอว เกษตรกรส่วนใหญ่ จึงไม่นิยมปลูกข้าวไร่ โดยทางกลุ่มมี การปลูกข้าวไร่ ปีที่แล้ว 3 ไร่ เนื่องจาก ราคาค่าเช่า เพาะยางตาเขียวราคาสูง ปีนี้กลุ่มได้จัดหาพื้นที่ปลูกได้แล้วไม่น้อยกว่า 20 ไร่ ปลูกข้าวไร่หอมดอกข่าเป็นหลัก ซึ่งเป็นข้าวที่มีความหอม ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอวัย ปัญหาของการปลูกข้าวไร่ จะมีนก โรคพืช เกษตรกรที่ทำมีอาการปวดหลัง แต่เมื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกจะสามารถลด ปริมาณนกได้, โรคพืชได้รับการแนะนำให้ใช้การหมักสารชีวพันธุ์จาก สถานีพัฒนาที่ดินใช้ในการฉีดพ่น เพิ่มเทคโนโลยีเข้า มาช่วยในการทำข้าวไร่ เพื่อให้สมาชิกเห็นว่าการทำข้าวไร่ง่าย ต้นทุนต่ำ รสชาติดี จากการปลูกข้าวกินเอง พ่อแม่อายุ 86, 84 ป้า ลุง 88 ปี นางจำเป็น ชูเงิน 80 ปียังมีสุขภาพดีใช้ชีวิตได้ปกติ สมาชิก 90% ยังไม่ติดเชื้อโควิด-19 ลูกหลาน สุขภาพดีผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมตากข้าว เฝ้าไก่ เฝ้าฝน ลดภาวะซึมเศร้า กลุ่มออกกำลังกายได้เดินชม ถ่ายรูป นาข้าว เป้าหมายของการจัดทำโครงการคือการร่วมเพิ่มพื้นที่จากข้าวไร่ 3ไร่ เป็น 20 ไร่ ในปีนี้ เพิ่มพื้นที่นาจาก 25 ไร่ นาปรัง 5 ไร่ เป็นนาปรัง 20 ไร่ ในปีถัดไป เพื่อความมั่นคงด้านอาหารเรามั่นใจว่าสามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวไร่ได้ เกิน 20% สำหรับปีนี้ และเพิ่มขึ้น 50% ในปีถัดไปเพิ่มปริมาณข้าว ให้เพียงพอ โดยเบื้องต้นเริ่มที่เด็กและคนชรา และขยาย ต่อไปถึงเพียงพอสำหรับคนปะเหลียน คนตรัง เมื่อสุขภาพดี สุขภาพจิตดี มีพลังสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เศรษฐกิจที่ดี จะตามมา

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล

1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่นอปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ.สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่ กลุ่ม องค์กรภาคประชาชนในพื้นที่
1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณีข้าวใน ระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ ๘๐
1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต โควิด ข้าวตรัง
1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลครอบคลุม ข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าวจำนวนพื้นที่การผลิต ข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชน และการบริโภค ข้าวตรังในตำบล
1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบล และการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย
1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค

2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มี อยู่เดิม
2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่
2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์
2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง
2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภคเพิ่มขึ้น
2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล
2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับเครือข่ายตำบล ที่ดำเนินโครงการ

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย

3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10
3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้บริโภคข้าว เด็ก และผู้สูงอายุในตำบลปะเหลียน 100 100
สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรักษ์นาปะเหลียน 20 20
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 36,000.00                                
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 7,500.00                                
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 24,575.00                                
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 22,425.00                                
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 9,500.00                                
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,000.00                                
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                                
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 36,000.00 7 35,350.00
1 - 30 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 0 400.00 550.00
1 - 31 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 0 400.00 350.00
1 - 31 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 0 400.00 350.00
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 0 400.00 350.00
14 ก.ย. 65 ทำนาข้าวปลอดภัย 0 0.00 -
1 - 31 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 10 400.00 350.00
1 - 30 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 10 400.00 -
1 - 31 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 10 400.00 -
1 - 31 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 0 400.00 -
6 - 7 ม.ค. 66 ศึกษาดูงาน ให้สมาชิกภายในกลุ่ม 20 32,000.00 33,400.00
6 ม.ค. 66 แปลงสาธิต 0 0.00 0.00
1 - 28 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 0 400.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10 0 400.00 -
23 - 24 ก.ค. 66 อบรมการขายออนไลน์ 0 0.00 -
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 7,500.00 3 7,865.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤต ตำบลปะเหลียน ครั้งที่ 1 0 2,500.00 2,450.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤต ตำบลปะเหลียน ครั้งที่ 2 0 2,500.00 3,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤต ตำบลปะเหลียน ครั้งที่ 3 0 2,500.00 2,415.00
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 24,575.00 3 25,575.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ธนาคารเมล็ด พันธุ์ข้าวไร่ 0 9,075.00 9,075.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 แปลงสาธิต 0 15,500.00 16,500.00
19 - 1 ก.ย. 65 แปลงสาธิต 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 66 จัดทำ GAP 0 0.00 -
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 22,425.00 5 21,530.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 สาธิตการแปรรูปข้าว 0 3,875.00 3,875.00
5 ก.ย. 65 ตลาดส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวปะเหลียน จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนโรงเรียนบ้านลำแคลง 0 3,500.00 3,500.00
20 ก.ย. 65 สาธิตการแปรรูปข้าว (น้ำนมข้าว) 0 3,875.00 3,875.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 การพัฒนาแบ รนด์และผลิตภัณฑ์ข้าวไร่ 0 7,675.00 6,780.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ตลาดส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวปะเหลียน จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนโรงเรียน 0 3,500.00 3,500.00
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 9,500.00 1 9,650.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประกวดผลผลิตจากสมาชิก สรุปโครงการร่วมกินข้าว กลางนา 50 9,500.00 9,650.00
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 20,000.00 7 10,320.00
1 - 15 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 0 1,700.00 880.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประสานงานและจัดทำโครงการ 0 3,000.00 3,000.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ป้ายปลอดบุหรี่ 0 1,000.00 1,000.00
9 ก.ย. 65 - 9 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 1 20 1,700.00 -
16 - 17 ก.ย. 65 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1 0 1,700.00 880.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2 0 1,700.00 1,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3 0 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 2 5 1,700.00 1,560.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 3 0 1,800.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 นิทรรศการ 0 2,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 จัดทำบัญชี 0 2,000.00 2,000.00
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 17:08 น.