directions_run

โครงการรักษ์ข้าว รักษ์นาไร่ กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาโปหนับ

assignment
บันทึกกิจกรรม
แปลงสาธิต ครั้งที่ 230 มิถุนายน 2566
30
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำแปลงสาธิต ครั้งที่ 2 ณ บ้านหน้าลา ต.แหลมสอม ต.ปะเหลียน จ.ตรัง เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาดูงานให้สมาชิกเครือผู้ปลูกข้าวไร่ ผู้ที่สนใจ รวมถึงสถานศึกษาในตำบลแหลมสอมที่ร่วมเป็นองค์กรภาคี เนื่องด้วยบริบทของพื้นที่ที่สวยงาม จึงสามารถพัฒนา ส่งเสริมสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่อไปได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน โดยการจัดกิจกรรมแปลงสาธิตครั้งที่ 2 เนื่องด้วยกิจกรรมแปลงสาธิตครั้งที่ 1 พบปัญหา คือ 1... 2.... 3...... จึงได้ปรับปรุง แก้ไข และดำเนินการในครั้งที่ 2 คือ ใช้รถไถดินเพื่อปรับสภาพดิน จำนวน 23 ไร่ ซึ่งการเพาะปลูก (หน่ำข้าว) ใช้วิธีการแทงสัก ที่ใช้เมล็ดข้าวไร่คัดสายพันธ์ุที่มีคุณภาพ คือ ข้าวดอกข่า จากเครือผู้ปลูกข้าวไร่ ต.บางดี จำนวน 200 กก. ด้วยพื้นที่ทำนาโปหนับใช้น้ำจากคลองส่งน้ำชลประทานปะเหลียน จึงสามารถทำได้ปีละ 2 ครั้ง โดยหลังการเพาะปลูกได้มีการจัดการแปลง ดูแลรักษา กำจัดวัชพืช และศัตรูพืช ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ด้วยวิธีการ.......

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 225 มิถุนายน 2566
25
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 เพื่อถอดบทเรียนผลลัพธ์ในการดำเนินกิจกรรม โครงการรักษ์ข้าวรักษ์นาไร่กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาโปหนับ ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านนาทุ่ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 11 คน พูดคุยประเด็นที่ 1.... 2.... 3.....

ประชุม คณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตข้าว ตำบลแหลมสอม ครั้งที่ 220 มิถุนายน 2566
20
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุม คณะกรรมการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตข้าว ตำบลแหลมสอม ครั้งที่ 2 สำหรับการรวบรวมข้อมูลในประเด็นความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตข้าวร่วมกับภาคีดำเนินการ อาทิ พี่เลี้ยงโครง,คณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง, ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่, กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ ฯลฯ ณ นาข้าว "สุขสนานบานบุรี" (นาอินทรีย์) ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 23 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงโครงการ-นางสาวพิมพ์ประกาย ศรีไตรรัตน์, โหนดเฟลกชิพตรัง-นางสุวณี สมาธิ และนางสาวสริตา หันหาบุญ รวมถึงคณะทำงาน ต.แหลมสอม โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย 1.พี่เลี้ยงโครงการ-นางสาวพิมพ์ประกาย ศรีไตรรัตน์, ผู้รับผิดชอบและคณะทำงาน ต.บางดี-นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร และ นางสาวทัศนีย์ สุขสนาน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มข้าวไร่ ประเด็น 1.การเพิ่มพื้นที่การปลูก และผลผลิตภายในตำบล เพื่อเป็นฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอหารข้าวตรังภายในตำบล พบว่าในปี 2566 กลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกข้าวไร่ต.แหลมสอม ทั้งสิ้น....ราย พื้นทีการปลูกข้าวนาและข้าวไร่ จำนวน...ไร่ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ...จากพื้นที่ปลูกเดิม ซึ่งได้ผลผลิตทั้งหมด...กิโลกรัม สามารถคิดเป็นข้าวสาร... กิโลกรัม ข้อมูลในปี 64/65 ประชาชากร ในพื้นที่จำนวน 5,787 คน สามารถคำนวณเป็นข้าวสารที่บริโภคต่อปี ประมาณ 480,321 กิโลกรัม โดยเมื่อคำนวณอัตราส่วนที่สามารถผลิตข้าวได้ในตำบลร้อยละ... ของปริมาณข้าวสารที่ต้องการบริโภคทั้งหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้าวภายใน ต.แหลมสอมเพียงพอ/ไม่เพียงพอ.... เนื่องจาก.... 2.... 3....

เวทีผู้บริโภคข้าว2 กุมภาพันธ์ 2566
2
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีผู้บริโภคข้าว ผู้เข้าร่วมกิจกรรม อาทิ สมาชิกสภาองค์การบริหารจังหวัดตรัง, พี่เลี้ยงโครงการ, คณะทำงานโหนดเฟลกชิพ รวมถึงคณะนักเรียนและครูสถานศึกษา ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ ประเด็น 1....2... ก่อนการดำเนินกิจกรรมเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวไร่ ณ นาโปหนับ ต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนบ้านแหลมสอม และโรงเรียนนาทุ่ง จำนวน 42 คน รวมถึงคณะกรรมการดูแล จำนวน 8 คน อาทิ สภาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง-นายสมบัติ พิชัยรัตน์, พี่เลี้ยงโครงการ-นางสาวพิมพ์ประกาย ศรีไตรรัตน์, ตัวแทนคณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง-นางสาวสริตา หันหาบุญ, คุณครูโรงเรียนบ้านนาทุ่ง-นางจริษา อินทร์ถาวร และนางสาวจันทมา ศรีเทพ โรงเรียนบ้านหนองเจ็ดบาล-นางพนารัตน์ มิ่งมาก และโรงเรียนบ้านแหลมสอม-นายวรัตน์ หูเขียว รวมถึงคณะทำงานเครือนาข้าวไร่ ต.แหลมสอม รวมทั้งสิ้น 50 คน ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเก็บเกี่ยว เห็นคุณค่าคุณประโยชน์ของข้าวไร่ รวมถึงการกระตุ้นความสนใจให้กับคนในชุมชนในการปลูกข้าว ที่ส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนพื้นที่ และเครือข่ายทำข้าวไร่ ตลอดจนจำนวนผู้บริโภคข้าวภายในชุมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ6 มกราคม 2566
6
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 10 คน ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าวพัทลุง วิถีทนง หมอดินดีเด่น รวมทั้งสิ้น 2 วัน ซึ่งเดินทางโดยรถตู้ และพัก ณ ล่องแก่งป่าพะยอม โดยได้จัดประชุมกลุ่มถอดบทเรียนสิ่งที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงได้เยี่ยมชมสินค้าชุมชนทะเลน้อย ตลาดน้ำทะเลน้อย และตลาดไผ่ขวัญ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรรม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย นายอุดม อุ่นนวล, นายไมตรี จ่าไทร, นายอนุสร หะหมาน, นายสุรเชษฐ์ นวลสุวรรณ, นายถาวร ชุมสกุล, นายไขแดง หะหมาน, นายพงษ์พิพัฒน์ หะหมาน, นางละเอียด อุ่นนวล, นายชะรบ ชุมเชื้อ และนายปอง เจริญฤทธิ์ ได้เรียนรู้หลักการเชิงวิชาการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ทั้งการคัดเมล็ดพันธ์ุที่มีคุณภาพสำหรับการเพาะปลูก การดูแลต้นข้าวตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงการเก็บเกี่ยว การจัดการน้ำในช่วงของการปลูก การใส่ปุ๋ย ตลอดจนการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อใช้ในการเพาะปลูกฤดูกาลถัดไป รวมถึงการเพิ่มมูลค่าข้าว การแปรรูป และจำหน่าย เพื่อการจัดการตลาดกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในเครือข่ายตำบลที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ป้ายปลอดบุหรี่5 มกราคม 2566
5
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำไวนิล รณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ ลด ละ เลิก การใช้โฟม และสื่อบันไดผลลัพธ์ เป้าหมายของโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รณรงค์เลิกสูบบุหรี่ ลดการใช้โฟม บันไดผลลัพธ์ ให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรม และคนทั่วไป ได้รับรู้ เป้าหมายของกิจกรรม

ประสานงานและจัดทำโครงการ5 มกราคม 2566
5
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำเอกสารในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ, การประสานงานติดต่อกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายพงษ์พิพัฒน์ หะหมาน ผู้ติดต่อประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการความมั่นคงทางอาหารข้าวไร่ ต.แหลมสอม เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ค่าจัดทำบัญชี5 มกราคม 2566
5
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำบัญชีและรายงานการใช้เงินลงในระบบ HappyNetwork โดยการดำเนินกิจกรรมแบ่งการใช้จ่ายเงินออกเป็นงวดที่ 1-3

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้มอบหมายให้ นางสาวดวงใจ มีสัตย์ เป็นผู้จัดทำบัญชีและรายงานการเงินในระบบโครงการความมั่นคงทางอาหารข้าวไร่ ต.แหลมสอม ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 129 พฤศจิกายน 2565
29
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 สำหรับการวางแผนโครงการและแผนการดำเนินงาน รวมถึงการตั้งกฏ กติกา รวมกันภายในกลุ่มเพื่อให้สมาชิกเกิดความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน ณ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 8 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงโครงการ-นางสาวพิมพ์ประกาย ศรีไตรรัตน์, หัวหน้าหน่วยจัดการโหนดเฟลกชิพตรัง-นางสุวณี สมาธิ และที่ปรึกษา-นายทวี สัตยาไชย, สถานศึกษา ผอ.โรงเรียนบ้านนาทุ่ง-นายบรรจบ จิตรหลัง และคณะกรรมการทำงาน ประกอบด้วย นายอุดม อุ่นนวล, นายมานับ หะหมาน, นายอนุพันธ์ หะหมาน และนางสาวจันทมา ศรีเทพ โดยการจัดประชุมสมาชิก ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น.......

พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 116 กันยายน 2565
16
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมอบรมเชิงปฎิบัติการ การใช้โปรแกรม Canva สำหรับประชาสัมพันธ์ สร้างสรรค์สื่อต่างๆ ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการบันทึกข้อมูลรายงานผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานการใช้เงิน ผ่านระบบ HappyNetwork รวมถึงในช่วงท้ายกิจกรรมได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยบรมราชชนนีตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวแทนโครงการความมั่นคงทางอาหาร วิสาหกิจชุมชนนาโปหนับ ได้เข้าร่วมอบรม คือ นายสุรเชษฐ์ นวลสุวรรณ สามารถเข้าใจและใช้โปรแกรม Canva ในการออกแบบสื่อต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ รวมถึงการบันทึกรายงานผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรมและการรายงานการใช้เงินในแต่ละกิจกรรม ผ่านระบบ happynetwork ได้

แปลงสาธิต ครั้งที่ 122 สิงหาคม 2565
22
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำแปลงสาธิต ปลูกข้าวไร่ ณ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง ม.7 ต.แหลมสอม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาดูงานให้กับสมาชิกเครือผู้ปลูกข้าวไร่ ผู้ที่สนใจ รวมถึงสถานศึกษาในตำบลแหลมสอมที่ร่วมเป็นองค์กรภาคี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนบ้านนาทุ่ง จำนวน 62 คน และคณะกรรมการผู้ดูแล จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 69 คน ซึ่งก่อนการปลูกข้าวได้ใช้รถไถดินเพื่อปรับสภาพดิน จำนวน 7 ไร่ โดยการลงแขกปลูกใช้วิธีการแทงสัก ที่ใช้เมล็ดข้าวไร่คัดสายพันธ์ุที่มีคุณภาพ คือ ข้าวหอมขนราม จากเครือผู้ปลูกข้าวไร่ ต.ปะเหลียน จำนวน 32 กก. หลังการเพาะปลูกได้มีการจัดการแปลง ดูแลรักษา ให้ปุ๋ยอินทรีย์ กำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว โดยการดำเนินกิจกรรมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคณะนักเรียนและครูโรงเรียนบ้านนาทุ่ง รวมถึงคณะทำงานนาข้าวไร่ ต.แหลมสอม กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนซึ่งเป็นตัวแทนของเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อร่วมกันรักษาพื้นที่นาข้าว สืบสานวัฒนธรรม วิถีชีวิตและวิธีการทำนาข้าวไร่ดังเดิมของพื้นที่ สร้างความสนุกสนานและความสามัคคีของกลุ่ม

ประชุมคณะกรรมการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ ตำบลแหลมสอม ครั้งที่ 125 มิถุนายน 2565
25
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงและทีมโหนดเฟลกชิพ ร่วมประชุมจัดตั้งคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงแนะนำการจัดทำบัญชี การเก็บรวบรวมข้อมูลของโครงการ ณ โรงเรียนบ้านนาทุ่ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน ประกอบด้วย รพ.สต.แหลมสอม-นางสาวบาบียา เพ็ชรประเสริฐ, สำนักงานเกษตรอำเภอปะเหลียน-นางบุหลัน ทักษิณาวาณิชย์, สถานศึกษา-นางจารุวรรณ พังแฮ, นายบรรจบ จิตรหลัง และนายประจักษ์ นวลพาด คณะทำงานโหนดเฟลกชิพตรัง-นางสุวณี สมาธิ, นายสำราญ สมาธิ, นางสริตา หันหาบุญ และพี่เลี้ยงโครงการ-นางสาวพิมพ์ประกาย ศรีไตรรัตน์ รวมถึงคณะทำงาน ต.แหลมสอม เกิดเป็นคณะทำงานความมั่นคงทางอาหารระดับตำบล โดยมีภาคีเครือข่ายร่วมบูรณาการ สำหรับการจัดทำแผนการดำเนินงานสร้างความมั่นคงในระดับตำบลที่ครอบคลุมข้อมูลการผลิตข้าวตรังปลอดภัย นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชนทั้งจำนวนครัวเรือน พื้นที่การผลิตและการบริโภคข้าว ด้วยเป้าหมายคือเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวไร่ให้ได้ร้อยละ 20 ของพื้นที่ที่ส่งผลต่อการบริโภคข้าวภายในชุมชนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ในการปฏิบัติร่วมกัน คือ 1.การทำนาข้าวอินทรีย์ปลอดสารเคมี 2... 3.... เพื่อให้คนในชุมชนได้บริโภคข้าวที่มีคุณภาพ เสริมสร้างแรงจูงใจในการผลิตและการบริโภค มากยิ่งขึ้นตามบันไดผลลัพธ์โครงการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตข้าว

ปฐมนิเทศโครงการย่อย2 มิถุนายน 2565
2
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT024
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมปฐมนิเทศและร่วมกิจกรรมบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะพื้นที่จังหวัดตรัง ตรังเมืองแห่งความสุข เมืองคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต "ข้าว" โดยมีการประชุมคณะทำงาน แนะนำคณะทำงาน สสส. ผู้ประสานงาน แนวทางการทำงาน ณ วิทยาลัยบรมราชชนนีตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 3 คน คือ 1.ผู้รับผิดชอบโครงการความมั่นคงทางอาหารวิสาหกิจชุมชนนาโปหนับ ต.แหลมสอม-นายสมัย ชื่นแก้ว, 2.ผู้ดูแลการเงิน-นายสุรเชษฐ์ นวลสุวรรณ และตัวแทนคณะทำงาน-นายปอง เจริญฤทธิ์ ได้เข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการย่อยร่วมกับโหนดเฟลกชิฟจังหวัดตรัง เกิดความเข้าใจ ในประเด็นดังนี้ 1.แนวทางการดำเนินงานซึ่งมียุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าวตรัง 2.บันไดผลลัพธ์โครงการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าวตรัง ที่ประกอบด้วย ผลลัพธ์ กิจกรรม และตัวชี้วัดที่สำคัญในการดำเนินการ 3.วิธีการรายงานการเงิน ผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรม ผ่านระบบ HappyNetwork 4.บันทึกความร่วมมือ MOU ร่วมกับหน่วยงานภาคีภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคภาคประชาชน