directions_run

โครงการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวไร่ ตำบลอ่าวตง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวไร่ ตำบลอ่าวตง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0022
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจชุมชนบ้านเก่าขนุนพัฒนา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเที่ยง ชุมอักษร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 086-2690420
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิพัฒน์ จุติอมรเลิศ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.839995,99.40331place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
2 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 60,000.00
3 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ อยู่ห่างจากจังหวัดตรังไปทางทิศเหนือ ประมาณ 18 กิโลเมตร มีพื้นที่ ทั้งหมดประมาณ 196 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 122,500 ไร่ มีประชากรในตำบลจำนวน 10,967คน ลักษณะโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสงวน แห่งชาติ บางส่วนได้รับเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.และได้รับ น.ส.3 ก เป็นส่วนน้อย สำหรับทรัพยากรธรรมชาติใน พื้นที่ตำบลอ่าวตง ได้แก่ ป่าไม้และแหล่งน้ำส่วนสถานที่ ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ คือ น้ำตกร้อยชั้นพันวัง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 11 ตำบลอ่าวตง และอ่างเก็บน้ำคลองทรายขาว หมู่ที่ 8 ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มลงไปสู่ทะเลทางทิศ ตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม และเนินเขาโดยทางตอนเหนือเป็นภูเขาสูงมีแนวเขตป่า สงวนแห่งชาติ มีลักษณะเป็นลูกคลื่นเกือบทั้งตำบล มี ทรัพยากรแหล่งน้ำที่สำคัญหลายสาย เช่น คลองชี ห้วย ไม่แห้ง ห้วยทอนแจ้ ห้วยยิงช้าง ห้วยโต๊ะสี ลมมรสุม พัดผ่านตลอดปีโดยแบ่ง ออกเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ 1 ลมมรสมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านตั้งแต่เดือนเมษายน ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 ถึงเดือนกันยายน ระยะที่ 2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนมีนาคม มี2 ฤดูกาล คือ 1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม -พฤษภาคม 2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยคาบ 10 ปี (2549-2558) ปริมาณ 2,195มม.จำนวนวันที่ตกเฉลี่ย 175 วันต่อปีซึ่งข้าวไร่ขึ้นได้ดี ในพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกตลอดปีตั้งแต่ 1,200 มิลลิเมตรขึ้นไป ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นเหมาะแก่การทำการเกษตรพื้นที่ตำบลอ่าวตงส่วนใหญ่ เป็นเนินสูงต่ำสลับกับพื้นที่ราบเรียบ และแนวภูเขา โดยสรุป พื้นที่ตำบลอ่าวตงมีพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดถึงลาดชัน มี พื้นที่เหมาะสมกับการทำการเกษตรมากที่สุด มีแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำทางการเกษตร ซึ่งมีน้ำตลอดทั้งปี ชาวบ้านพื้นที่ปลูกยางพาราร้อยละ 55 ปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 25 ไม้ผล ร้อยละ 10 ผสมผสาน ร้อยละ 5 และ รับจ้างค้าขาย ร้อยละ 5 ประชากรในตำบลอ่าวตงส่วนใหญ่จะบริโภคข้าวจากนอกพื้นที่ มีบางส่วนที่เพาะปลูกข้าวไร่ ไว้บริโภคใน ครัวเรือนและแปรรูปเป็นข้าวม่าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวมาบริโภคตลอดทั้งปีวิสาหกิจชุมชนบ้านเก่าขนุน พัฒนาได้มีสมาชิกเพาะปลูกข้าวไร่ ประมาณ 300 ไร่ (พันธุ์ดอกพะยอม,หอมดอกข่า,หอมหัวบอน,ไรซ์เบอร์รี่ฯ) เป็นการปลูกในลักษณะเลื่อนลอย สลับสับเปลี่ยนตามอายุของต้นยางพารา ต้นปาล์มน้ำมันที่อายุ 1 – 3 ปีโดยใน ปีผลิต 2564/2565 ที่ผ่านมาตำบลอ่าวตงมีการปลูกข้าวทั้งหมด 752.54 ไร่ สามารถคำนวณผลผลิตรวมได้ ข้าวเปลือก 264,142 กิโลกรัม ข้อมูลการบริโภคข้าวภายในตำบลต่อ 1 ปีคำนวณจากประชากรในตำบลจำนวน 10,967คน สามารถ คำนวณเป็นข้าวสารที่ต้องบริโภคในจำนวน 1 ปี เท่ากับ 910,261 กิโลกรัม (นำมาจากจำนวนประชากรคูณ ปริมาณข้าวสารที่คนไทยบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อปีมีค่ากลางเท่ากับ 83 กิโลกรัม) ในขณะที่ตำบลอ่าวตงสามารถผลิต ข้าวสารได้ 184,899 กิโลกรัม (คำนวณจากร้อยละ 70 ของข้าวเปลือก) อัตราส่วนที่คนในตำบลสามารถผลิต ข้าวสารได้เท่ากับร้อยละ 20.31 ของปริมาณข้าวสารที่ต้องการบริโภคทั้งตำบล ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาตำบลอ่าวตงประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการ ดำรงชีวิตของประชาชนในตำบล มีการขาดแคลนข้าวสารในการดำรงชีวิต ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร ด้านข้าวที่เห็นได้ชัดเจน ประกอบกับข้อมูลการเจ็บป่วยของคนในตำบลก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการบริโภคอาหารที่ มีการปนเปื้อนสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างการ ตัวอย่างบ้านเก่าขนุน ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 มีจำนวนครัวเรือน 261 ครัวเรือน ประชากรจำนวน 746 คน ประชากรร้อยละ 60 มีอายุในช่วง 19-59 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 0.09 อัตราการป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ปี 2564 จำนวน 34 ราย หรือร้อยละ 18 ของผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็น ประเด็นที่น่ากังวลในอนาคต การเสริมสร้างสุขภาพให้กับประชาชนผ่านการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้านข้าวจึง น่าจะก่อให้เกิดผลดีขึ้น วิสาหกิจชุมชนบ้านเก่าขนุนพัฒนา ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเพาะปลูกข้าวไร่และการ ส่งเสริมการขยายพื้นที่เพาะปลูกไปยังสวนยางพารา ปาล์มน้ำมันที่อายุไม่เกิน 3 ปี และยังว่างเว้นอยู่ เพื่อเป็นการ ลดการพึ่งพาข้าวขัดขาวจากภายนอกซึ่งลดคุณประโยชน์ลงและอาจไม่ปลอดภัยจากสารเคมีและยังเป็นการสร้าง รายได้เสริมให้สมาชิก จึงได้จัดทำโครงการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวไร่ตำบลอ่าวตง ขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะ วิกฤตโควิด : ข้าวตรัง ในระดับตำบล

1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่นอปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ.สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่ กลุ่ม องค์กรภาคประชาชนในพื้นที่
1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณีข้าวใน ระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ 80
1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด ข้าวตรัง
1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลครอบคลุม ข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าวจำนวนพื้นที่การผลิตข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชน และการบริโภคข้าว ตรังในตำบล
1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลและ การร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย
1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน

2 เพื่อพัฒนาสร้างความ มั่นคงทางอาหารใน ภาวะวิกฤตโควิดด้วย การฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่าน กระบวนการผลิต การตลาดและการ บริโภค

2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่ เดิม
2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่
2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์
2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง
2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภคเพิ่มขึ้น
2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล
2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับเครือข่ายตำบลที่ ดำเนินโครงการ

3 เพื่อส่งเสริมให้ ประชาชนชาวตรังได้ บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย

3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10
3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 130
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้ปลูกข้าวไร่รายย่อย และผู้บริโภค 100 -
ผู้ปลูกข้าวไร่อ่าวตง 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,950.00                                
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                                
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 33,350.00                                
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 34,700.00                                
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 11,000.00                                
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,000.00                                
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2565-30 มิ.ย. 2565) 0.00                                
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 108 20,950.00 13 22,601.00
1 - 30 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 15 310.00 1,750.00
1 - 30 มิ.ย. 65 ประชุมชนคณะทำงานด้านข้าว ไร่ ในระดับตำบล ครั้งที่ 1 15 5,950.00 4,460.00
1 - 31 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 6 310.00 310.00
24 ก.ค. 65 เวทีหารือร่วมกับภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 1,816.00
1 - 31 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 6 310.00 310.00
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 6 310.00 310.00
1 - 31 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 6 310.00 310.00
1 - 31 ต.ค. 65 ประชุมชนคณะทำงานด้านข้าว ไร่ ในระดับตำบล ครั้งที่ 2 15 5,950.00 5,370.00
1 - 30 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 6 310.00 310.00
1 - 31 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 0 310.00 310.00
1 - 31 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 6 310.00 310.00
1 ม.ค. 66 - 31 มี.ค. 66 ประชุมชนคณะทำงานด้านข้าว ไร่ ในระดับตำบล ครั้งที่ 3 15 5,950.00 6,655.00
1 - 28 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 6 310.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10 6 310.00 380.00
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
14 ธ.ค. 65 ประชุมภาคี ภาวะวิกฤติ ข้าวตรัง 0 0.00 -
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 33,350.00 3 36,865.00
30 มิ.ย. 65 ทัศนะศึกษาดูงาน 15 19,400.00 18,950.00
9 - 29 พ.ย. 65 ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ตำบล อ่าวตง 0 13,950.00 17,285.00
23 ม.ค. 66 ศึกษาดูงานเก็บเกี่ยวข้าวเบายอดม่วง ต.บางดี 0 0.00 630.00
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 34,700.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 28 ก.พ. 66 การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวไร่ สู่มาตรฐาน ต่าง ๆ เช่น มาตรฐานที่ชุมชนร่วมกันรับรอง PGS มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย 0 15,100.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 การจัดประชุมเสวนาเพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นในการบริหารจัดการ ข้าวไร่ในชุมชน “คนอ่าวตงกิน ข้าวปลอดภัย” 0 19,600.00 -
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 11,000.00 2 6,400.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 การส่งเสริมด้านการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ข้าวไร่ 0 11,000.00 3,800.00
21 - 30 ก.ย. 66 การส่งเสริมด้านการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ข้าวไร่ ครั้งที่ 2 0 0.00 2,600.00
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 20,000.00 5 10,140.00
1 - 15 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 0 1,700.00 1,612.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ป้ายปลอดบุหรี่ 0 1,000.00 -
16 - 17 ก.ย. 65 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1 0 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2 0 1,700.00 1,512.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3 0 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 1 0 1,700.00 2,016.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 2 0 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 3 0 1,800.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประสานงานและจัดทำโครงการ 0 3,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 นิทรรศการ 0 2,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 จัดทำบัญชี 0 2,000.00 2,000.00
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 200.00
1 - 30 มิ.ย. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 200.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 17:09 น.