assignment
บันทึกกิจกรรม
เวทีผู้บริโภคข้าว ในตำบล และรับรองข้อตกลง เพื่อความมั่นคงทางอาหารใน ภาวะวิกฤต6 กุมภาพันธ์ 2566
6
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sarita
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีประชุมผู้บริโภคข้าวไร่ร่วมกับการเสวนาระหว่างหน่วยงานภายนอก คณะทำงานฯ และผู้บริโภคสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกระบวนการผลิตข้าวไร่ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ณ อาคารอเนกประสงค์ ม.2 ต.เขาไพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 73 คน โดยมีวิทยากร คือ นายสาธิต ไข่ขวัญ ซึ่งได้เสวนาในประเด็น ผู้บริโภคในชุมชนตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริโภคข้าวที่ผลิตเองภายในชุมชน และผู้ร่วมเสวนา คือ นางเพรียงดาว รอดความทุกข์ ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.เขาไพร ซึ่งได้เสวนาในประเด็น 1.ข้อมูลปัญหาสุขภาพภายในชุมชนเขาไพร ที่เกิดจากปัจจัยของสภาพแวดล้อม หรือที่สำคัญ คือสิ่งที่บริโภคเข้าสู่ร่างกาย นั้นคือ "ข้าว" ซึ่งเป็นอาหารที่ประชากรบริโภคเป็นหลัก โดยหากข้าวที่บริโภคมีกรรมวิธีในผลิตตั้งแต่การเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และสีออกมาเป็นข้าวสารที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิ มะเร็ง หลอดเลือดหัวใจตีบ ความดัน เบาหวาน เป็นต้น 2.การเพิ่มจำนวนผู้ผลิตและผู้บริโภคข้าวที่มีมาตรฐานภายในชุมชน ข้อมูลจากนางกัญญวรา บุญชากร ผู้รับผิดชอบโครงการความมั่นคงทางอาหาร ข้าวไร่ ตำบลเขาไพร ระบุว่าข้อมูลจำนวนสมาชิกเครือข่ายผู้ปลูกข้าวไร่ภายในต.เขาไพร เพิ่มขึ้นกว่าปี 2564-2565 อย่างเห็นได้ชัด มีอยู่ประมาณ 10 แห่ง 97 ไร่ ภายในพื้นที่ โดยคิดเป็นผลผลิตข้าวเปลือกต่อปีประมาณ 29,100 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งผลผลิตที่ได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ต่อปีโดยคิดเป็น 17,460 กิโลกรัมจะจำหน่ายกันภายในชุมชนในรูปแบบของข้าวสารราคากิโลกรัมละ 50 บาท โดยใช้โรงสีภายในชุมชน และส่วนที่เหลืออีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์จะเก็บไว้สำหรับบริโภคกันภายในครัวเรือน 3.การส่งเสริมรณรงค์การเพาะปลูกข้าวไร่ภายในชุมชน เพื่อลดภาวะวิกฤติความไม่มั่นคงทางอาหารข้าว และสร้างรายได้ การพึ่งพาตนเองของครอบครัวชุมชน และที่สำคัญ คือการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีขึ้นอีกด้วย 4.การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ และเพียงพอสำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป โดยการเก็บเกี่ยวและเปรียบเทียบแม่รวงจากต้นเดิมในแปลงเพาะปลูกเอง จากนั้นเก็บแม่รวงพันธุ์ข้าวไว้ในโรงเรือนที่เหมาะสม นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังเกิดความรู้ ความเข้าใจและยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ทั้งในแง่ของผู้ผลิตหรือผู้บริโภคข้าวไร่เองได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย

ศึกษาดูงานการแปรรูป และการตลาดเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน23 มกราคม 2566
23
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ศึกษาวิธีการคัดเลือกและจัดจำแนก ระบุสายพันธุ์ข้าว อาทิ ข้าวดอกข่า ข้าวเหนียวลืมผัว และข้าวหอมบอน เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจสำหรับการเพาะปลูกข้าวในฤดูกาลถัดไป รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายทำนา ถึงกระบวนการในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากข้าวไร่เพื่อเพิ่มมูลค่าทางด้านการตลาดในระดับจังหวัด ณ นาข้าว "สุขสนานบานบุรี" (นาอินทรีย์) ต.บางดี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 26 คน โดยมีเวทีผู้เสวนา อาทิ 1.เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดตรัง 2.คุณวิโรจน์ ศรีสมจิตร ปราชญ์เกษตรของตำบลบางดี 3.นายสำราญ สมาธิ นักวิชาการ ประเด็นการผลิตข้าวปลอดภัยข้าวพื้นเมืองของจังหวัดตรัง 4.นายเอกราช แก้วนางโอ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุง เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปลูกข้าวไร่ในพื้นที่ เช่น วังคีรี อ่าวตง ปะเหลียน ฯลฯ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมท่านอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ อาทิ การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่พร้อมสำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป รวมถึงการปลูกและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองโดยชุมชนเอง, การเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ต่อปีโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพโดยสถานีพัฒนาที่ดินตรัง, การบริหารจัดการพื้นที่การปลูกข้าวไร่ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดโดยมีหน่วยที่เกี่ยวข้อง กรมการข้าว การยางแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร และพัฒนาชุมชน ร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน, วิธีการแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและความต้องการของตลาด ทั้งในด้านของกระบวนการสีข้าว และบรรจุภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ ตลอดจนการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตของบรรพบุรุษในการทำนา ภายในกิจกรรมยังมีการออกบูธขายสินค้าจากสมาชิกในเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างรายได้ ความสนใจ ในการซื้อและบริโภคข้าวตรังพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น

พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 39 มกราคม 2566
9
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ศึกษาวิธีการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าว กระบวนการสีข้าว GMP ให้ได้มาซึ่งมาตรฐานและคุณภาพ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ณ ศูนย์วิจัยข้าว วิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต.เขาไพร จำนวน 8 คน โดยมีการเสวนาในหัวข้อเรื่อง "ข้าวไร่ ไม่สูญหาย และความท้าทายในเชิงพาณิชย์" โดยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง (นายกฤษณะ ศิริรัตน์), ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวตำบลป่าพะยอม (นายอภินันท์ รัตนพิบูลย์), ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คูโบต้าจักรกลกรุ๊ป จำกัด (นายวิสุทธิ์ วิบูลย์พันธ์) โดยมีนายก้องสกุล จันทราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงานวันสาธิตเทคโนโลยีการผลิตและเก็บเกี่ยวข้าวไร่ภาคใต้ "คืนพันธุ์ข้าวไร่ ให้แผ่นดินถิ่นใต้" และนางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าวร่วมในพิธีเปิด โดยสมาชิกได้เข้าร่วมกิจกรรมเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่พันธุ์ดี "พันธุ์ดอกพะยอม" โดยใช้เครื่องมือเก็บข้าว คือ แกะ ซึ่งข้าวดอกพะยอมเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 145-150 วัน ลักษณะลำต้นสีเขียว ใบยาว ชูรวงตรง ส่วนเมล็ดลักษณะเรียวยาว และสมาชิกยังนำเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวกลับไปเพาะปลูก ขยายพันธุ์ในพื้นที่ของต.เข้าไพร นอกจากนี้ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงยังจัดบูธอาหารเพื่อชิม เช่น ข้าวเหนียวถั่วดำ ขนมโค ขนมคนที เป็นต้น และผลิตภัณฑ์จากข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุง และข้าวเหนียวพันธุ์ดำหมอ 37 จากนั้นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่ต.เขาไพร ได้ไปศึกษาดูงานโรงสีข้าว GMP วิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง ต.ปันเต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยมีผู้บรรยาย คือ นายนัด อ่อนแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชน ได้กล่าวถึงแนวทางการทำงานของกลุ่ม ประสบการณ์ ปัญหาและแนวทางแก้ไข เพื่อให้นำไปปรับใช้กับกลุ่มการสีข้าวของต.เขาไพร เอง ที่มีปัญหา คือ โรงสีข้าวในชุมชนไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การสีข้าวที่ได้มาไม่สมบูรณ์ และไม่มีคุณภาพโดยมีข้าวเปลือก หิน เศษขยะปนมากับข้าวสารที่สีแล้ว, ข้าวเปลือกมีความชื้นสูง จึงต้องหาวิธีการลดความชื้นของข้าวเปลือกก่อนเข้าสู่กระบวนการสีข้าวที่มีคุณภาพ เป็นต้น

ศึกษาดูงานเพื่อ พัฒนาศักยภาพด้านการผลิต2 ธันวาคม 2565
2
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพวิธีการเพาะปลูกข้าวไร่ที่แตกต่างกันตามบริบทพื้นที่ ณ ต.บางสัก อ.กันตัง จ.ตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน ผู้ดำเนินกิจกรรม คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และแกนนำผู้ปลูกข้าวไร่ โดย นายนรินทร์ เฮ้งฉ้วน ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการผลิต พบว่า การเพาะปลูกข้าวไร่ต้องใช้ข้าวเปลือกไร่ละไม่เกิน 4-5 กิโลกรัมต่อไร่ โดยไม่ต้องแช่น้ำข้าวเปลือกก่อนการหว่านปลูกลงดิน ซึ่งในกระบวนการพรวนและเตรียมดินก่อนการปลูกข้าวไร่จะใช้การไถ่พรวน 7 จาน และหลังจากการหว่านข้าวจึงกลบหน้าดินโดยใช้โลตารี่รถไถ การเก็บเกี่ยวข้าวไร่นั้นควรเก็บก่อนกลางเดือนธันวาคม เพื่อป้องกันศัตรูพืชต่าง ๆ เช่น นก หนู แมลง ฯลฯ และลมฟ้าอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ปริมาณน้ำฝนน้อยลงที่ส่งผลต่อการทำการเกษตร อีกทั้งจากกิจกรรมยังสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการลงพื้นที่จริงผ่านการพูดคุยเล่าประสบการณ์การปลูกข้าวไร่ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ระหว่างการเก็บข้าว เช่น กระบวนเพาะปลูกตั้งแต่ช่วงก่อน ระหว่างและหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อนำมาปรับใช้ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ปลูกข้าวของตนเอง และให้ได้มาซึ่งข้าวที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวไร่ต่อปีให้ได้อย่างสูงสุด ก่อให้เกิดความพึงพอใจและความต้องการของผู้บริโภคข้าวมากยิ่งขึ้น

ARE ครั้งที่ 119 พฤศจิกายน 2565
19
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ยกระดับการพัฒนา ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ประเด็นความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต "ข้าว" ตรัง รวมถึงการสะท้อนผลลัพธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าของโครงการ ปัญหาและอุปสรรคในระหว่างการดำเนินโครงการ ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 70 คน ประกอบด้วย 1.ตัวแทนคณะทำงานโครงการย่อยจำนวน 11 โครงการ 2.พี่เลี้ยง/ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการ 3.วิทยากร (ผู้แทนภาคียุทธศาสตร์ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และวิชาการ) 4.องค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการย่อยความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตข้าว ต.เขาไพร จำนวน 5 คน คือ 1.นางกัญญ์วรา บุญชากร (ผู้รับผิดชอบโครงการ) 2.นายนิรันดร์ หมีทอง 3.นางบุญมี พรหมคณะ 4.นางพัชรี แทนสุวรรณ 5.นายประดิษฐ์ อั้นชณี ซึ่งได้ร่วมรับฟังและเสวนาวางแผนเพื่อการขับเคลื่อนตรังสู่ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรัง โดยเกษตรจังหวัดตรัง ประเด็น 1.การส่งเสริมการผลิดข้าวปลอดภัยเพื่อสุขภาพยั่งยืน โดยรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง (นายอนันต์ อัครสุวรรณกุล) 2.การส่งเสริมการผลิต จำหน่ายและการแปรรูป โดยอำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน (นายประพันธ์ วรรณบวร) และเกษตรจังหวัดตรัง โดยตัวแทนโครงการย่อยได้สะท้อนคืนผลลัพธ์กับกิจกรรมที่ได้ดำเนินโครงการมา ผ่านเวทีที่มีการรวมสมาชิกทุกกลุ่มภายในจังหวัด และได้ทบทวนปัญหา อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประสานงานและจัดทำโครงการ1 ตุลาคม 2565
1
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เจ้าหน้าที่ดำเนินการติดต่อประสานงานและจัดทำรายงานโครงการความมั่นคงทางอาหารข้าวไร่ ตำบลเขาไพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นางกัญญ์วรา บุญชากร เจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในโครงการความมั่นคงทางอาหารข้าวไร่ ตำบลเขาไพร เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์

จัดทำบัญชี1 ตุลาคม 2565
1
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บริหารงบประมาณและจัดทำบัญชีโครงการความมั่นคงทางอาหารข้าวไร่ ตำบลเขาไพร ตลอดระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมโดยแบ่งออกเป็น งวดที่ 1-3

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เจ้าหน้าที่บัญชี คือ นางพัชรี แทนสุวรรณ ที่ได้บริหารงบประมาณ และจัดทำบัญชีการเงินโครงการความมั่นคงทางอาหารข้าวไร่ ตำบลเขาไพร ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

ธนาคารเมล็ด พันธุ์ข้าวไร่22 กันยายน 2565
22
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดหาเมล็ดพันธ์ุข้าวปลูกที่มีคุณภาพ โดยสนับสนุนให้ครัวเรือนละ 7 กก.ต่อไร่ และได้มีการประชุมจัดทำข้อตกลงการดูแล จัดการเมล็ดพันธุ์ รวมถึงการรับคืนเมล็ดพันธุ์ โดย ต.เขาไพรได้มอบเมล็ดพันธุ์ข้าว 2 สายพันธุ์ จำนวน 175 กิโลกรัม คือ ข้าวเหนียวดำ 73 และข้าวหอมบอน ที่ซื้อจากกลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกข้าวไร่ ให้แก่สมาชิกภายกลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่เอง ในการปลูกและเก็บเกี่ยวพันธุ์ข้าวคืนในปีถัดไป ณ ม.1 บ้านลำช้าง ต.เขาไพร อ.รัษฎา จ.ตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน โดยมีวิทยากร คือ นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร ได้บรรยายประเด็น ดังนี้ 1.การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก 2.การเตรียมพื้นที่ดินให้เหมาะสมในการปลูก ตั้งแต่ การไถ่ดิน การพรวนเพื่อกลบดิน 3.การจัดการดูแลข้าวหลังจากหว่านลงดิน ตั้งแต่การใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช และศัตรูพืช 4.การรักษาสายพันธุ์ข้าวให้คงเดิมมากที่สุด ด้วยการสังเกตรวงข้าวภายในแปลง และนำไปเปรียบเทียบกับลักษณะเดิมของสายพันธุ์ข้าวนั้น ๆ โดยภายในกิจกรรมสมาชิกภายในเครือข่ายต.เขาไพรได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวตามความต้องการของตนเอง ครัวเรือนละ 7 กก. เพื่อเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้ โดยมีกระบวนการดูแลต่าง ๆ อย่างปลอดภัยและมีคุณภาพตามคำแนะนำของปราชญ์ชาวบ้าน ต.บางดี คือ นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร และประสบการณ์ของผู้ปลูกข้าวไร่ ต.เขาไพร เอง

พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 217 กันยายน 2565
17
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้ระบบ Happy Network เพื่อรายงานกิจกรรมและบันทึกกรายงานการเงิน รวมถึงการใช้โปรแกรม CANVA ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 คน โดยหลังจากการอบรม ทำให้คณะทำงานและคณะกรรมการมีเข้าใจในการใช้ระบบ Happy Network เพื่อบันทึกข้อมูลทั้งการรายงานกิจกรรมและการเงินของโครงการ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิโปรแกรม CANVA ที่จะเป็นตัวช่วยในการสร้างสรรค์สื่อในการนำเสนอที่หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 41 กันยายน 2565
1
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 4 เพื่อพูดคุยข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ โดยในการประชุมได้มีตัวแทนสภาองค์กรชุมชน ต.เขาไพร ประกอบด้วย ตัวแทนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น(อบท.), ผู้นำท้องที่ และแกนนำชุมชน เป็นผู้รับขับเคลื่อนในการประสานงานต่อเพื่อจัดทำแผนชุมชนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตข้าว ณ อาคารอเนกประสงค์ ต.เขาไพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 4 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย 1.นางศรวรรณ ไชยมณี 2.นางศุภลักษณ์ ทองสงค์ 3.นางบุญสุด เภอรักษ์ 4.นางวรรณา หนูแดง 5.นายนิรันดร์ หมีทอง 6.นางโสภา ก่อสกุล 7.นางนิโส หนูจันทร์ 8.นางยอง เรืองสังข์ 9.นางบุญมี พรหมครธ และนางหนูเนียน บุญชยการ พูดคุยในประเด็น ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าว ประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ 1.ข้อตกลงของชุมชนผู้ปลูกข้าวไร่ในเครือข่ายทั้งสิ้นจำนวน 10 แปลง 97 ไร่ ซึ่งไม่รวมเครือข่ายสมาชิกอื่นร่วม เพื่อให้พื้นที่การปลูกข้าวไร่ ต.เขาไพร เป็นแปลงข้าวไร่อินทรีย์ โดยลดการใช้ยาฆ่าหญ้าซึ่งเป็นสารเคมีในช่วงการเพาะปลูกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค โดยข้อมูลในพื้นที่ ต.เขาไพร 2.การจัดสรรงบประมาณ เพื่อรวมกลุ่ม สร้างแรงจูงใจในการพัฒนา ยกระดับศักยภาพ และจำนวนผู้ปลูกข้าวไร่ในพื้นที่ต.เขาไพร มากยิ่งขึ้นให้สมาชิกได้เห็นว่าการทำข้าวไร่ไม่ยาก ต้นทุนต่ำ ข้าวรสชาติดี และสามารถพึงพาตนเองได้ในยามสภาวะวิกฤตข้าว โดยภายในต.เขาไพร จะมีหน่วยงานสถาบันการเงินชุมชน ได้สนับสนุนเงินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 เป็นต้นมา ในการจัดซื้อผลผลิตข้าวไร่ ต.เขาไพร เองในรูปของข้าวสารจำนวน 1.5 ตันต่อปี โดยซื้อในราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อนำมามอบให้แก่คนในชุมชน ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ แทนการซื้อสินจากพื้นที่อื่น "ชุมชุมเพื่อชุมชน"

การจัดทำแปลง สาธิตเพื่อการเรียนรู้ข้าวไร่กับ ความมั่นคงทางอาหาร 2 แปลง2 สิงหาคม 2565
2
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดทำแปลงสาธิตเพื่อการเรียนรู้ข้าวไร่กับความมั่นคงทางอาหาร ให้แก่สมาชิกและกลุ่มผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้จำนวน 2 แปลง คือ แปลงที่ 1 ปลูกข้าวเจ้าหอมบอน ตำแหน่ง ม.1 บ้านลำช้าง ต.เขาไพร และแปลงที่ 2 ปลูกข้าวเหนียวดำ 73 ตำแหน่ง ม.2 โหล๊ะท่อม ต.เขาไพร โดยมีการทดลองแนวทางการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ต่อไร่เปรียบเทียบกับวิธีการปลูกแบบทั่วไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดำเนินการไถ่ปรับสภาพดินทั้งสิ้น 2 แปลง โดยจัดกิจกรรม
1.การจัดแปลงสาธิตเพื่อการเรียนรู้ข้าวไร่กับความมั่นคงทางอาหาร (หน่ำข้าว) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรรม 25 คน ประเด็น 1.การเปรียบเทียบปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวในหว่านและการหน่ำข้าว ซึ่งพบว่าการหน่ำข้าวใช้เมล็ดพันธุ์มากกว่าประมาณ 7-9 กก.ต่อไร่ อาจเป็นผลมาจากต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากจึงไม่สามารถควบคุมประมาณเมล็ดที่ใช้ได้ แต่หากเป็นการหว่านจะใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกเพียงแค่ 4-5 กก.ต่อไร่เท่านั้น เนื่องจากการหว่านจะใช้ผู้เพียงคนเดียวจึงสามารถควบคุมปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ ซึ่งจากการประเมินจากผู้ทำข้าวไร่ พบว่า การหน่ำ ต้องใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง ซุึ่งลักษณะการแตกกอข้าวน้อย ส่งผลต่อปริมาณด้านผลผลิตข้าวเปลือกต่อไร่ที่น้อยกว่าการหว่านข้าว เนื่องด้วยในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยี เครื่องจักรกลที่ทันสมัย การปรับสภาพดิน จึงเหมาะสำหรับการหว่านมากกว่า จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าการแทงสัก (หน่ำข้าว) เป็นวิธีการปลูกข้าวไร่แบบดังเดิมที่เหมาะสำหรับพื้นที่ลาดชันหรือพื้นที่ที่เครื่องจักรไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการวิธีการปลูกข้าวในปัจจุบันเมื่อคำนวณถึงความคุ้มทุนต่อผลผลิตที่ได้
2. การจัดแปลงสาธิตเพื่อการเรียนรู้ข้าวไร่กับความมั่นคงทางอาหาร (เกี่ยวข้าว) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรรม 23 คน และมีวิทยากร คือ นายสมพงษ์ อุ่นสุข บรรยายในประเด็น 1.อายุของการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ในปีถัดไป ซึ่งพบว่าต้องเพิ่มเวลาการเก็บเกี่ยว 7 วันหลังจากที่ต้นข้าวออกรวงเต็มที่ อาทิ หากต้นข้าวมีอายุการเจริญเติบโตที่ 110 วัน การเก็บเกี่ยวควรอยู่ในช่วงวันที่ 117 ของการเพาะปลูก เพื่อให้ข้าวได้สุกงอมอย่างเต็มที่ และสังเกตจากสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม โดยหากฝนตกต้องเลื่อนการเก็บเกี่ยวออกไปเนื่องจากความชื้น และส่งผลต่อคุณภาพการงอกของข้าว แต่หากมีแดดร้อนเหมาะสมสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ตามระยะเวลา 2.การเก็บรักษาพันธุ์ข้าว หลังจากการเก็บเกี่ยว โดยโรงเก็บต้องปลอดความชื้น มีแสงเข้าถึง อากาศถ่ายเท แนะนำว่าให้เก็บพันธุ์ข้าวไว้ทั้งรวงจะดีกว่าการเก็บเป็นเมล็ด

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 31 สิงหาคม 2565
1
สิงหาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 เพื่อเตรียมงานและติดตามความก้าวหน้ากิจกรรมการจัดทำแปลงสาธิตการเรียนรู้ข้าวไร่ ณ อาคารอเนกประสงค์ ม.2 ต.เขาไพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 13 คน ประกอบด้วย 1.นางกัญญ์วรา บุญชากร 2.นางสาวนิโส หนูจันทร์ 3.นายนิรันดร์ หมีทอง 4.นางศุภลักษณ์ ทองสงค์ 5.นายประดิษฐ์ อั้นนาตรี 6.นางอารมย์ เภอรักษ์ 7.นางโสภา ก่อสกุล 8.นางบุญมี พรหมคณะ 9.นายอนันต์ บุญชากร 10.นายประสิทธิ์ แทนสุวรรณ 11.นางวรรณา หนูแดง 12.นายพะยอม ทองสงฆ์ และนางพัชรี แทนสุวรรณ ซึ่งได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการแปลงสาธิตกับกลุ่มเครือข่ายคนทำข้าวไร่ ในประเด็น 1.การจัดการแปลง การดูแล และการใส่ปุ๋ย ซึ่งพบว่าการดูแลจัดการได้ให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช เช่น เพลี้ย แมลงสิงค์ หนอน ฯลฯ โดยใช้ประสบการณ์และความเข้าใจ ซึ่งการกำจัดวัชพืชพวกเถาวัลย์ที่ขึ้นไต่ตามต้นข้าวที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว โดยใช้มีดสับโค่นวัชพืช จะไม่ใช้วิธีถอน เนื่องจากรากของวัชพืชเมื่อถอนแล้วส่งผลกระทบต่อข้าวไร่ที่ปลูกด้วย เพราะหญ้าและข้าวจัดอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกเช่นเดียวกัน ความยาวและการปกคลุมของรากที่ผิวดินจึงมีความใกล้เคียงกันจึงอาจเกิดความเสียหายต่อต้นข้าวได้ ซึ่งการกำจัดวัชพืชจะใช้เวลา 2 ช่วงของการเจริญเติบโตข้าวไร่ 110-115 วัน คือ 1.ช่วงหลังจากหว่านข้าวลงดิน (เดือนกรกฏาคม) ระยะเวลา 1 เดือน/สูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร 2.ช่วงข้าวตั้งกอพร้อมที่จะออกรวง (เดือนกันยายน) อีกทั้งการใส่ปุ๋ยข้าวไร่ จะให้ในช่วงก่อนข้าวตั้งท้อง หลังจากกำจัดวัชพืชเสร็จในครั้งที่ 1 (หลังจากหว่านเมล็ดลงดิน ประมาณ 30 วัน) โดยจะใช้ปุ๋ยชีวภาพที่หมักและจัดทำกันเองในเครือข่ายกลุ่มทำข้าวไร่ ที่ใช้ส่วนประกอบของสมุนไพรที่มึนเมา คือ สะเดา พริก และยาเส้น

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 229 กรกฎาคม 2565
29
กรกฎาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 2 เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ รวมถึงกำหนดผู้รับผิดชอบกิจกรรมการดำเนินการ ณ อาคารอเนกประสงค์ ม.2 ต.เขาไพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 2 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย 1.นางพัชรี แทนสุวรรณ 2.นางกัญญ์วรา บุญชากร 3.นางนิโส หนูจันทร์ 4.นางโสภา ก่อสกุล 5.นางบุญมี พรหมคณะ 6.นายนิรันดร์ หมีทอง 7.นายประดิษฐ์ อั้นนาตรี 8.นางพิญภักดี ราชเพ็ชร 9.นายพะโยม ทองสงค์ และนางศุภลักษณ์ ทองสาลี พูดคุยในประเด็น 1.มอบหมายงานผู้รับผิดชอบโครงการในแต่กิจกรรม โดยแบ่งออกเป็น 1.ด้านการบริหารจัดการ 1.1 ผู้รับผิดชอบโครงการในการดำเนินงานหลัก 1.2 เจ้าหน้าที่การเงิน 1.3 คณะทำงานร่วม 2.ด้านการดำเนินกิจกรรมข้าวไร่ 2.1 การจัดหาเมล็ดพันธุ์ พัฒนาคุณภาพ 2.2 การจัดเตรียมพื้นที่ในการประสานรถไถ่ ต่างๆ 2.3 การผลิต ในเครือข่ายคนทำข้าวไร่ ตลอดถึงกระบวนสีข้าว 2.4 การตลาดและจำหน่าย โดยจากการประชุมทำให้สมาชิกได้รับทราบและเข้าใจโครงสร้างการทำงานร่วมกัน

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 13 มิถุนายน 2565
3
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 เพื่อพูดคุยชี้แจงทำความเข้าใจประเด็นความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล,จัดตั้งทีมคณะกรรมการทำงานเพื่อเตรียม วางแผนการดำเนินโครงการ และสร้างข้อตกลงร่วมของชุมชุนให้กับสมาชิกที่ดำเนินโครงการร่วม ณ อาคารอเนกประสงค์ ม.2 ต.เขาไพร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงาน และคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย 1.นางกัญญ์วรา บุญชากร 2.นางศุภลักษณ์ ทองสงค์ 3.นางบุญมี พรหมคณะ 4.นางนิโส หนูจันทร์ 5.นางยอง เรืองสังข์ 6.นายนิรันดร์ หมีทอง 7.นางโสภา ก่อสกุล 8.นางสรวรรณ ไชยมณี 9.นางวรรณา หนูแดง และนางหนูเนียน บุญชอบการ โดยพูดคุย ประเด็น ดังนี้ 1.ชี้แจงที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ ในการทำความเข้าใจ โดยคณะทำงาน นางกัญญ์วรา บุญชากร ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับผู้มีความรู้ในประเด็นความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติข้าว เนื่องจากในบริบทของต.เขาไพร ที่มีหมู่บ้านทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ประชากรในปี 2565 ประมาณ 2,285 คน ซึ่งมีพื้นที่ในการปลูกข้าวไร่ จำนวน 48 ไร่ ผลผลิตประมาณ 11,520 กก. โดยเมื่อประเมินกำลังการผลิตข้าวภายในต.เขาไพร อยู่ในภาวะวิกฤติความไม่มั่นคงทางอาหารที่สูงมากในร้อยละ 4.25 เมื่อคำนวณข้าวสารที่ต้องบริโภค ความเหมาะสมในการปลูกข้าวไร่ของพื้นที่ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ เพื่อให้คณะทำงานจึงเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาจากข้อมูลเบื้องต้นของข้าวในต.เขาไพร 2.ปัญหาสุขภาพของคนในพื้นที่ ต.เขาไพร โดยจากการประชุมคณะทำงานจึงเกิดการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารต.เขาไพร โดยการร่วมมือของสมาชิกเครือข่ายทำข้าวไร่ของต.เขาไพร และคณะทำงานผู้มีความรู้ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร โดย นางสุวณี สมาธิ, นายทวี สัตยาไชย และนายสำราญ สมาธิ พี่เลี้ยงโครงการ ในการจัดตั้งกฏ กติกา ให้แก่สมาชิกได้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน

ปฐมนิเทศโครงการย่อย2 มิถุนายน 2565
2
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฐมนิเทศโครงการย่อย เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในโครงการต่อไป ณ วิทยาลัยบรมราชชนนีตรัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการย่อยความมั่นคงทางอาหารต.เขาไพร จำนวน 3 คน คือ 1.นางกัญญ์วรา บุญชากร 2.นางพัชรี แทนสุวรรณ 3.นางนิโส หนูจันทร์ โดยหลังจากการประชุมทำให้ได้ทราบข้อตกลงในการดำเนินการตามกิจกรรมโครงการ รวมถึงโครงการที่ร่วม MOU กับรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานผู้รับผิดชอบโครงการ และทำสัญญาโครงการต่อไป

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร1 มิถุนายน 2565
1
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย NFT022
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ยืมเงินทดลองเปิดบัญชี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนเงินยืมทดลองเปิดบัญชี