stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการความมั่นคงทางอาหาร ข้าวไร่ ตำบลเขาไพร
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0018
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มข้าวไร่ตำบลเขาไพร
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัญญวรา บุญชากร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0934310024
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ สำราญ สมาธิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
2 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 60,000.00
3 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลเขาไพร มีหมู่บ้านทั้งหมด 5 หมู่บ้าน จำนวนประชากรปี 2565 มีจำนวน 2,285 คน เดิมตำบลเขา ไพรมีพื้นที่ทำนามากกว่าข้าวไร่ ประชาชนปลูกข้าวพันธุ์เล็บนกเพื่อบริโภคภายในครอบครัว ใช้วัวควายในการไถนา วัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวการแรกหว่านข้าวนาแทงสักข้าวไร่ เก็บข้าวกับแกะ มีการบูชาพระแม่โพสพเพื่อให้ทำงาน คล่องตัวไม่มีอุปสรรคเป็นสิริมงคลสำหรับการปลูกข้าว แต่เนื่องด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและราคา ผลผลิตทางการเกษตรทในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาทำให้พื้นที่ทั้งหมดกลายเป็นสวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา ด้วย เหตุผลที่ว่าไม่ต้องปลูกข้าวเพื่อการบริโภคของสมาชิกในครอบครัวก็ได้ สามารถนำเงินที่ได้จากการทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน หรือรับจ้างมาซื้อข้าวสารไว้บริโภคแทนก็ได้ วิถีการปลูกข้าวของตำบลเขาไพรจึงค่อย ๆ หายไป ตำบลเขาไพรประกอบด้วยพื้นที่ราบเนินและมีป่าต้นน้ำส่งผลให้ดินดี อากาศดี ข้าวรสชาติดี มีเกษตรกร บางส่วนยังปลูกข้าวไร่ไว้สำหรับกินเอง มีเหลือแบ่งปัน ทำข้าวม่าว ข้าวอวน ตามฤดูกาลก่อนข้าวสุก แจกแก่ ผู้สูงอายุ การเก็บเกี่ยวมีการใช้แกะ ในการเก็บข้าวเลียงและเก็บเมล็ดพันธุ์เลี้ยงไก่บ้านกินข้าวที่ร่วงหล่น และเศษ ฟาง มีการหมักปุ๋ยจากฟางข้าว ข้าวไร่ มีการปลูกข้าวไร่ในสวนยาง/สวนปาล์ม อายุ 1-3 ปี ผลผลิตประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ บางปี เกษตรกรประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงการปลูกข้าวไร่ทำให้พันธุ์ข้าวในอดีตรุ่นแม่ได้หายไป ปัจจุบันเหลือ ข้าวดอก พะยอม ข้าวหอมเจ็ดบ้านและข้าวหอมบอน โดยต้องนำเมล็ดพันธุ์จากที่อื่นมาทดแทน ปลูกโดยใช้วิธีแทงสักปลูก หยอดเมล็ดเป็นหลุม เริ่มมีการเพาะต้นกล้าในถาด เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จไถกลบ ทำให้ดินร่วนเหมาะสำหรับปลูก ถั่วลิสง ปลูกข้าวโพดต่อไป นับได้ว่ามีการปลูกข้าวเพื่อการยังชีพเป็นสำคัญ ส่วนที่เหลือสามารถขายเป็นรายได้ ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิดภายในตำบลที่ผ่านมานั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขา ไพรระบุว่าตำบลเขาไพรมีผู้ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ยอดผู้ติดเชื้อลดลงแล้ว แต่มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ พบว่าประชาชนเกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิต ขาดแคลนข้าวสารสำหรับการบริโภคอย่างมาก จึงทำให้เห็น ว่าตำบลเขาไพรขาดความมั่นคงทางอาหารด้านข้าวเป็นอย่างมาก ในปีผลิต 64/65 ตำบลมีการปลูกข้าว จำนวน 48 ไร่ ได้ผลผลิตทั้งหมด 11,520 กิโลกรัม สามารถ คำนวณเป็นข้าวสารได้ทั้งหมด 8,064 กิโลกรัม มีการจำหน่ายข้าวที่ปลูกเองในตำบลจำนวน 5 แห่ง และจากการ ทำที่ตำบลเขาไพรมีประชากรทั้งตำบลจำนวน 2,285 คน สามารถคำนวณเป็นข้าวสารที่ต้องบริโภคในจำนวน 1 ปี เท่ากับ 189,655 กิโลกรัม (นำจำนวนประชากรคูณปริมาณข้าวสารที่คนไทยบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อปีมีค่ากลาง เท่ากับ 83 กิโลกรัมต่อปี) ดังนั้นเราจึงสามารถผลิตข้าวภายในตำบลได้เท่ากับร้อยละ 4.25 ของปริมาณข้าวสารที่ ต้องการบริโภคทั้งหมดเท่านั้น นับได้ว่าเป็นภาวะวิกฤติความไม่มั่นคงทางที่สูงมากสมควรมาร่วมกันรณงค์ให้ ประชาชนในตำบลปลูกข้าวกันให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันตำบลเขาไพรมีหน่วยงานสนับสนุนการปลูกข้าวไร่หลายหน่วยงาน เช่น ปฎิรูปที่ดิน สนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรรู้รักษ์การใช้คุณค่าของที่ดินในภาคเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด การยางแห่ง ประเทศไทย (กยท.ตรัง) ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ขอทุนฯ การเพิ่มมูลค่าการใช้พื้นที่ว่างในระหว่างรอ ผลผลิตพืชหลัก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด พัฒนาที่ดินตรัง ดูแลการจัดการดิน ทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพสูตร ต่างๆ เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ดูแลการจัดองค์ความรู้การเพาะปลูก การจัดการให้ได้ซึ่งมาผลิตที่มีคุณภาพและการ ขึ้นทะเบียนข้าวไร่แก่เกษตรกร สาธารณสุข รพ.สต.เขาไพร อสม. โรงเรียนผู้สูงอายุวัดและโรงเรียนก็ช่วยส่งเสริม สนับสนุนด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดี ตำบลเขาไพรมีพื้นที่ปลูกข้าวไร่ 48 ไร่ จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าข้าวในตำบลเขาไพรยังขาดแคลนอีก จำนวนมาก จึงทำโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มสมาชิก และให้สมาชิกเดิมเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าว โดยวิธีการปลูก ข้าวไร่ เพื่อให้มีข้าวเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค มีการแก้ปัญหาร่วมกัน ประสานความร่วมมือจาก หลายๆ ฝ่าย เช่น ปฎิรูปที่ดิน,การยางแห่งประเทศไทย,พัฒนาที่ดิน,เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และ หน่วยงานภาคีต่างๆในพื้นที่ มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้การสืบค้นการจัดการเมล็ดพันธุ์จัดให้มีการศึกษาดู งานข้าวไร่ของกลุ่มเกษตรกรทำข้าวไร่อินทรีย์ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทการปลูก ข้าวไร่เขาไพรต่อไปและเพื่อเพิ่มผลผลิตมีการจัดทำแปลงสาธิตข้าวไร่ ใช้วิธีการบ่มเพาะเมล็ด/ต้นกล้าก่อนลงแปลง สาธิต(ข้าวหอมบอน 2 ไร่ ข้าวเหนียวดำหม้อ 2 ไร่) ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ, สารชีวพันธ์ เพื่อเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีวิธีเก็บ เกี่ยวโดยใช้แรงงานในครัวเรือน/เครือญาติด้วยการใช้แกะเก็บมือ มีเครื่องนวดข้าว ลดระยะเวลา นวดสด และตาก ได้ มีข้าวสดใหม่พร้อมบริโภค ด้วยกรรมวิธีการทำข้าวไร่ด้วยวิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ลงแปลงจะทำให้มีสิ้นเปลืองต้นทุน อันสืบเนื่องมาจากหลายๆปัจจัย ได้แก่ เปอร์เซนต์การงอก ( ดิน ฟ้า อากาศ/ศัตรูพืช) เกษตรกรผู้ทำข้าวไร่ตำบล เขาไพรได้จัดหาพื้นที่ปลูกได้แล้วไม่น้อยกว่า 100 ไร่ ปลูกข้าวไร่หอมบอน เป็นหลัก ซึ่งเป็นข้าวไร่ที่มีคุณสมบัติ นิ่ม และหอม เตรียมการแก้ปัญหาของการปลูกข้าวไร่ นก, โรคพืช, และพื้นที่ที่ต้องหมุนเวียน เมื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกจะ สามารถลดปริมาณนกได้, โรคพืชได้รับการแนะนำให้ใช้การหมักสารชีวพันธุ์จาก สถานีพัฒนาที่ดินใช้ในการฉีดพ่น เพิ่มเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำข้าวไร่ เพื่อให้สมาชิกเห็นว่าการทำข้าวไร่ง่าย ต้นทุนต่ำ รสชาติดี การปลูกข้าว ไร่กินเองจะเห็นได้ถึงข้อดี คือ ยามเกิดโรคภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เราก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่าง ปกติ อยู่บนความมั่นคงทางอาหาร

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล

1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่นอปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ. สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวไร่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่
1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณีข้าวใน ระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ 80
1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะ วิกฤตโควิด ข้าวตรัง
1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลครอบคลุม ข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าวจำนวนพื้นที่การผลิต ข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชน และการ บริโภคข้าวตรังในตำบล
1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังใน ตำบลและการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย
1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค

2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่ มีอยู่เดิม
2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่
2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์
2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง
2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภคเพิ่มขึ้น
2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล
2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับเครือข่าย ตำบลที่ดำเนินโครงการ

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย

3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10
3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 125
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้บริโภคข้าวปลอดภัยใน ต.เขาไพร และ ต.หนองบัว 100 -
สมาชิกเกษตรกร(เกษตรอินทรีย์ สปก.) 25 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 25,850.00                                
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 10,500.00                                
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 42,850.00                                
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 17,300.00                                
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 3,500.00                                
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,000.00                                
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                                
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 25,850.00 5 13,154.00
1 - 30 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 0 605.00 605.00
1 - 31 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 0 605.00 865.00
1 - 31 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 0 605.00 420.00
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 0 605.00 350.00
1 - 31 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 0 605.00 -
1 - 30 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 0 605.00 -
1 - 31 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 0 605.00 -
2 ธ.ค. 65 - 1 ต.ค. 66 ศึกษาดูงานเพื่อ พัฒนาศักยภาพด้านการผลิต 30 19,800.00 10,914.00
1 - 31 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 0 605.00 -
1 - 28 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 0 605.00 -
1 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10 0 605.00 -
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 10,500.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการความมันคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ตำบลเขา ไพร ครั้งที่ 1 0 3,500.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการความมันคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ตำบลเขา ไพร ครั้งที่ 2 0 3,500.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประชุม คณะกรรมการความมันคงทาง อาหารในภาวะวิกฤต ตำบลเขา ไพร ครั้งที่ 3 0 3,500.00 -
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 42,850.00 3 25,260.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 การจัดทำแปลง สาธิตเพื่อการเรียนรู้ข้าวไร่กับ ความมั่นคงทางอาหาร 2 แปลง 0 19,100.00 12,100.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ธนาคารเมล็ด พันธุ์ข้าวไร่ 0 11,600.00 11,600.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 การพัฒนาการ ดูแลแปลงข้าวไร่แบบGAP 0 12,150.00 -
23 ม.ค. 66 ศึกษาดูงานการแปรรูป และการตลาดเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 0 0.00 1,560.00
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 73 17,300.00 1 13,750.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 เวทีผู้บริโภคข้าว ในตำบล และรับรองข้อตกลง เพื่อความมั่นคงทางอาหารใน ภาวะวิกฤต 73 17,300.00 13,750.00
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 3,500.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ส่งผลผลิตข้าวไร่ ไปตรวจคุณภาพ 0 3,500.00 -
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 20,000.00 6 10,636.00
1 - 15 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 0 1,700.00 1,424.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ARE ครั้งที่ 1 0 1,700.00 848.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1 0 1,700.00 -
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2 0 1,700.00 1,424.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3 0 1,700.00 1,940.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ป้ายปลอดบุหรี่ 0 1,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 นิทรรศการ 0 2,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 จัดทำบัญชี 0 2,000.00 2,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประสานงานและจัดทำโครงการ 0 3,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ARE ครั้งที่ 2 0 1,700.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ARE ครั้งที่ 3 0 1,800.00 -
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 17:11 น.