directions_run

โครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ”

บ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นายไซลฮูดิง สาอิ

ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง

ที่อยู่ บ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-10018-18 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-10018-18 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

หมู่บ้านลูโบ๊ะซูลง มาจากคำว่า ลูโบ๊ะ” เป็นภาษามลายูท้องถิ่น แปลว่า พื้นที่ ๆ มีลักษณะเป็นพรุ มีน้ำท่วมขังและเป็นหลุมลึกกว้าง ส่วนคำว่า ”ซูลง” เป็นชื่อของบุคคลที่เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน วันหนึ่ง ”ซูลง” ได้พลัดตกลงไปเสียชีวิตในพรุที่เรียกกันว่าลูโบ๊ะ จึงนำคำว่า ลูโบ๊ะซูลง มารวมกันและใช้เป็นชื่อหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน บ้านลูโบ๊ะซูลง หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จากการลงสำรวจแบบสอบถามครัวเรือนด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม วันที่ 1 มีนาคม 2562 หมู่บ้านลูโบ๊ะซูลง มีพื้นที่ 680 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบ ล้อมรอบด้วยสวนยางพารา สวนผลไม้ มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 166 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 720 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 368 คน หญิง 352 คน ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปทั้งหมด 55 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 25 คน หญิง 30 คน ผู้พิการทั้งหมด 13 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 9 คน หญิง 4 คน เด็กกำพร้าทั้งหมด 7 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 4 คน หญิง 3 คน เด็กแรกเกิดทั้งหมด 5 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 2 คน ช่วงอายุ 1-4 ปีทั้งหมด 46 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 29 คน หญิง 17 คน ช่วงอายุ 5-14 ปีทั้งหมด 153 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 83 คน หญิง 70 คน ช่วงอายุ 15-18 ปีทั้งหมด 54 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 28 คน หญิง 26 คน ช่วงอายุ 19-59 ปีทั้งหมด 373 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 171 คน หญิง 202 คน และมีเยาวชนทั้งหมด 130 คน แยกเป็นประเภทชาย 90 คน ประเภทหญิง 40 คน มีโรงเรียนตาดีกา 1 โรงเรียน โดยคนในชุมชนมีระดับการศึกษา ไม่เรียนหนังสือมีทั้งหมด 60 คน ชาย 38 หญิง 22 คน กำลังศึกษา ป.6 ทั้งหมด 239 คน ชาย 140 คน หญิง 99 คน กำลังศึกษา ม.3 ทั้งหมด 54 คน ชาย 29 คน หญิง 25 คน กำลังศึกษา ม.6 มีทั้งหมด 73 คน ชาย 33 คน หญิง 40 คน และกำลังศึกษา ปริญญาตรีทั้งหมด 57 คน ชาย 16 คน หญิง 36 คน ในส่วนอาณาเขตติดต่อกันทิศเหนือติดกับ หมู่ที่ 5 บ้านชะเมาสามต้น ทิศใต้ติดกับ หมู่ที่ 4 บ้านสือดัง ทิศตะวันออกติดกับหมู่ที่ 6 บ้านบาโงมูลง ทิศตะวันตกติดกับ หมู่ที่ 11 บ้านกะลูบี ตำบลเตราะบอน ประชากรในหมู่บ้านสวนใหญ่มีอาชีพ รับจ้าง กรีดยาง ทำนา เพาะพันธ์ยาง ค้าขาย ข้าราชการ และรับจ้างทำงานนอกพื้นที่เช่น กรุงเทพ ภูเก็ต และประเทศมาเลเซีย เป็นต้น จากการลงสำรวจแบบสอบถามครัวเรือน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจในครัวเรือนพบว่า รายได้และรายจ่ายของครัวเรือนต่อปี รายได้เฉลี่ยจากอาชีพหลัก 1,000,000 บาทต่อปี 5 ครัวเรือน รายได้ 200,000 บาทต่อปี 67 ครัวเรือน รายได้ 100,000 บาทต่อปี 49 ครัวเรือนรายได้ 50,000บาทต่อปี 42 ครัวเรือนและ มีรายได้ต่ำกว่า 40,000 บาท จำนวน 3 คน ซึ่งเป็นครัวเรือนที่ตกเกณฑ์จปฐ.2565 ส่วนรายได้จากอาชีพเสริม 50,000 บาทต่อปี 42 ครัวเรือน 30,000 บาทต่อปี 55 ครัวเรือน และ 10,000 บาทต่อปี 38 ครัวเรือน ครัวเรือนที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเสริม 31 จำนวน รายได้เสริมส่วนใหญ่มาจากการทำเกษตรปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ การหาไว้กินเอง ขายของออนไลน์ และรับจ้างทั่วไปในช่วงเวลาว่าง จากสถานการณ์โรคระบาดโคโรน่าไรรัสหรือโรคระบาดโควิด 19 ในช่วงปลายปีพ.ศ.2562 ผ่านมาได้มีการแพร่ระบาดเชื้อไปยังทั่วโลกนั้น ส่งผลทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตด้วยความวาดกลัวและวิตกกังวล กลัวการเข้าไปอยู่ในสังคมที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมากๆ เพราะเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19 นั้นแพร่เชื้อได้ง่าย เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและผลอันตรายจากเชื้อมีความเสี่ยงต่อชีวิตเป็นอย่างมาก จึงทำให้ผู้คนพากันเก็บตัวอยู่กับบ้าน ไม่มีการร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ และไม่มีการรวมกลุ่มในช่วงที่มา ร้านค้าต่างก็ต้องปิดตัวลงเพื่อลดการระบาดเชื้อโรควิด เศรษฐกิจย่ำแย่ บางประเทศที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมากพากันปิดประเทศ ส่งผลให้แรงงานแห่กันอพยพกับมาปักลักในพื้นที่บ้านเกิดขึ้น ไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย อยู่ในสสภาพวะตึงเครียดเนื่องจากตั้งรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงต่อการดำรงชีวิตประจำวันไม่ไหว หมู่บ้านลูโบ๊ะซูลงเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่มีประชาการร้อยละ 10 (50-70 คน) ประกอบอาชีพลูกจ้างหรือรับจ้างเป็นแรงงานนอกพื้นที่ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 เมื่อเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 บริษัทบางที่จำเป็นต้องปิดการลง และบางบริษัทมีการปลดพนักงานออกเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง จาการสำรวจแรงงานในชุมชนอพยพกลับตั้งหลักเนื่องจากถูกเลิกจ้าง จำนวน 28 ราย และมีแรงงานที่ถูกพักงานจำนวน 15 ราย จำใจกลับมาอาศัยอยู่ที่บ้านด้วยสถานะที่ว่างงาน ไม่มีอาชีพประกอบ ขาดรายได้ในการดำรงชีพ ซึ่งแต่เดิมนั้นแรงงานดั่งกล่าวมีรายได้เฉลี่ยวันละ 400 - 600 บาทต่อวัน 12,000 – 18,000 ต่อเดือน ใช้ชีวิตด้วยความสะดวกสบายเพราะมีรายได้เข้าวันต่อวัน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่เชื้อโควิด 19 ระบาดหนักทำให้กลุ่มแรงงานดังกล่าวขาดรายได้ ไม่มีงานทำ อย่างไม่คาดคิดมาก่อน การใช้จ่ายในครัวเรือนของแรงานใช้จ่ายด้วยเงินเก็บส่วนที่เหลือใช้ไม่มีเพียงพอต่อการดำรงชีพ และแรงงานคนบางกลุ่มกลับมาเริ่มต้นด้วยการปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภคและขายหารายได้ บางกลุ่มเป็นลูกจ้างร้านอาหารพื้นที่ใกล้บ้าน บางกลุ่มประกอบอาชีพเป็นกรรมกร และบางกลุ่มไม่ได้ประกอบอาชีพพึ่งพ่อแม่ที่บ้าน และหวังอย่างว่าจะได้กลับไปทำงานเช่นเดิม จากสถานการณ์ดังกล่าวนั้นจึงทำให้แรงงานบางคนเลือกวิธีแก้ไขปัญหาชีวิตด้วยการกู้หนี้ยืมสิน โดยมีหนี้สินเฉลี่ย 20,000 – 50,000 บาทต่อครัวเรือน เนื่องจากต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเยอะในครัวเรือน ในชีวิตประจำวันเรื่องการซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคในครัวเรือจากเดิมมีรายได้วันละ 400 - 600 บาทต่อวัน 12,000 – 18,000 ต่อเดือนแต่รายได้นี้หายไปเมื่อถูกเลิกจ้างงาน ตกอยู่ในภาวะตึงเครียด มีสุขภาพจิตใจที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง นำซ้ำแรงงานบางคนมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เมื่อสภาวะเช่นนี้ ยิ่งส่งผลให้เกิดความแทรกซ้อนของโรค ยิ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา นำมาซึ่งการกู้หนี้ยืมสินเพิ่มขึ้น เกิดปัญหาภายในครอบครัวเรือนเรื่องค่าใช้จ่ายไม่มีเงินทุนมาหมุนเวียน ลูกหลานบางคนไม่สามารถไปเรียนหนังสือได้เนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเงิน ในส่วนของการเลือกบริโภคอาหารครัวเรือนจำต้องเลือกซื้ออาหาร วัตถุดิบ ที่มีราคาถูก ไม่ค่อยได้รับสารอาหารตามโภชนาการที่ครบถ้วนเท่าที่ควร และกลุ่มเปราะบางที่อยู่ในชุมชนที่ลูกหลานเคยส่งเสียดูแลเป็นอย่างดี กลับถูกดูแลเอาใจใสจากลูกหลานน้อยลง เกิดความน้อยใจ ไม่สมารถที่ปฏิบัติตามใจอย่างเช่นเคย ส่งผลให้สภาวะทางจิตใจแย่ลงกว่าที่เคยเล็กน้อยและจาการสำรวจข้อมูลการทุนชุมชนที่มีอยู่เดิมพบว่า ชุมชนมีฐานข้อมูลแหล่งผลิตอาหารภายในชุมชนกล่าวคือ ชุมชนมีกลุ่มฐานผลิตอาหารในพื้นที่ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักสวนครัวเรือนจากโครงการส่งเสริมการปลูกและการบริโภคผัก การทำสวนผลไม้ ปลูกนาข้าว และการเลี้ยงสัตว์ เช่น แพะ วัว ปลา ไก่ และมีกลุ่มที่สัมมาชีพที่ที่ทำข้าวเกรียบจากผักของกลุ่มแม่บ้านในชุมชน ร่วมถึงมีโรงน้ำดื่มที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนมีน้ำที่สะอาดดื่ม แต่สิ่งที่ขาดไปคือการนำทุนชุมชนที่มีอยู่ใปประยุกต์การใช้ประโยชน์ในเรื่องการบริการจัดการหนี้สินแก่ครัวเรือนที่ได้รับกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าทีควรนัก ข้อค้นพบคือ จากการดำเนินโครงการสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ชุมชนมุ่งเน้นที่จะสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารด้วยวิธีการส่งเสริมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลักเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ส่งเสริมการออม มีความรู้และทักษะในเรื่องการดูแลตัวเองในช่วงสถานการณ์โควิด 19 และมีความรู้ในเรื่องการเก็บออมเงิน บันทึกบัญชีในครัวเรือน แต่ยังขาดการประเมินการในเรื่องการจัดการระบบหนี้สินในครัวเรือน กล่าวคือ ครัวเรือนยังมีหนี้เมื่อเดิม แล้วทวีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องด้วยเขาของอุปโภคบริโภคในช่วงสถานการณ์นี้พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆเกือบเท่าตัวของราคาเดิม ทำให้ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายที่พอสูงขึ้น

จากการวิเคราะห์ตันไม้ปัญหาชุมชนพบว่า สาเหตุของปัญหาเกิดจากพฤติกรรมชุมชนมีการกู้หนี้ยิมสิ้นทั้งในและนอกระบบ ขาดการตระหนักเรื่องการค่าใช้จ่าย ไม่มีการเก็บออม มีความรู้เรื่องกการเก็บออมแต่ไม่นำมาใช้ ขาดการวางการบริหารจัดการเงินในครัวเรือน ไม่มีต้นแบบครัวเรือนการเก็บออมเงิน มีภาระค่าใช้จ่ายที่เกินความสามารถ ไม่มีหน่วยงานสนับสนุนกลุ่มให้เกิดการออม และเกิดปัญหาสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ชุมชนไม่มีแบบแผนการจัดการเงินครัวเรือน และหนี้สินที่เป็นระบบ ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาปลายเหตุตามมาคือ ความเครียด เกิดปัญหาทางสุขภาพจิต เกิดการตกงาน รายได้ไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายเยอะ ยิ่งทวีคูณให้ชุมชนมีการกู้ยืมเงินจากภายนอกและในระบบมากขยิ่งขึ้น เมื่อครอบครัวมีปัญหาทางการเงินลูกหลานไม่ได้เรียนหนังสือ ผู้สุงอายุและกลุ่มเปราะบางขาดการดูแลเอาใจใสใจ และเกิดปัญหาทะเลาะเบาะแวงภายในครอบครัวในที่สุด ความสุขทางใจของชุมชนก็น้อยลง ส่งผลการเข้าร่วมสังคมน้อยลง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
  2. 2.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการการเงินและหนี้สินของชุมชน
  3. 3.เพื่อจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในการแปรรูปอาหาร ของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. งบประมาณบริหารจัดการที่ สสส. สนับสนุน
  2. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน 12 เดือน
  3. ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลรายได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 3 ระยะ (ก่อนเริ่ม - ระหว่าง -สิ้นสุดโครงการ)
  4. กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มออมเพื่อการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน
  5. พัฒนาศักยภาพกลุ่มฯ
  6. ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์
  7. ศึกษาดูงานการแปรรุปอาหาร
  8. สรุปผลการดำเนินงาน
  9. ถอนเงินในบัญชี
  10. ปฐมนิเทศโครงการ
  11. ค่าป้ายไวนิลโครงการ
  12. ค่าตราปั้มโครงการ
  13. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 1
  14. ประชุมชี้แจงโครงการเพื่อทำความเข้าใจต่อกลุ่มเป้าหมาย
  15. พี่เลี้ยงคลี่โครงการฯ
  16. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 2
  17. ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 1
  18. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 3
  19. กิจกรรมการแปรรูปอาหารปลอดภัย “น้ำพริกชุมชน” ผลิตภัณฑ์ชุมชน (เช้า-บ่าย)
  20. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  21. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักผสมผสานในครัวเรือน
  22. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 4
  23. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือน
  24. กิจกรรมจัดบัญชีครัวเรือน
  25. ติดตามการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา ARE1.
  26. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5
  27. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน
  28. พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร
  29. พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร ครั้งที่ 2
  30. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์
  31. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 6
  32. ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 2
  33. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 7
  34. จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน
  35. ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 1
  36. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 8
  37. ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 2
  38. ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 3
  39. พัฒนาศักยภาพกลุ่มเพื่อการบริการจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน
  40. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน ว่าด้วยความมั่นคงทางอาหาร ร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน และกลุ่มอาชีพ
  41. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 9
  42. ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 3
  43. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 10
  44. ศึกษาดูงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน การทำน้ำพริก
  45. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 11
  46. สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียนพร้อมคืนข้อมูลสู่ชุมชน
  47. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 12
  48. ติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE.2
  49. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ และบทเรียนการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 30

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีระบบการจัดการอาหารระดับชุมชนในภาวะวิกฤติอย่างเพียงพอและปลอดภัย 2.เกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 1 กลุ่ม ที่สามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่อง เกิดรายได้ให้สมาชิกและครอบครัว


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. ลงทะเบียน เตรียมความพร้อมเข้าร่วมประชุมโดยมีพิธีกรกล่าวต้อนรับคณะทำงานทุกคน จากนั้นหัวหน้าโครงการฯ ชี้แจงนำเสนอกรอบโครงการและเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ที่คาดหวังของโครงการฯ และแบ่งกลุ่มย่อยตามพี่เลี้ยงและร่วมกันคลี่โครงการฯ ตามโครงการที่รับผิดชอบ ดังนี้ 1. 2. 3. จากนั้นตัวแทนกลุ่มนำเสนอตัวอย่างการคลี่กิจกรรม กลุ่มละ 1 โครงการ ช่วงที่ 2 วิทยากร บรรยาย เรืองการบริหารจัดการโครงการ(การจัดการข้อมูล การรายงานผลข้อมูล ความรอบรู้เรื่องสุขภาพ และการเงิน) โดยอธิบายขั้นตอนการการเบิกเงินตามงวด โดยการเบิกแบ่งออกเป็น 3 งวด ดังนี้ งวดที่ 1 วันที่1/9/65 งวดที่ 2 วันที่ 1/3/66  เมื่อผู้รับทุนส่งมอบรายงานการดำเนินงานงวดที่ 1 และรายงานการใช้จ่ายเงินของงวดที่ 1 ที่ผ่านมาเรียบร้อย งวดที่ 3(งบสนับสนุน) วันที่ 1/7/66 เมื่อผู้รับทุนได้ดำเนินการตามแผนเสร็จสิ้นครบถ้วนและได้จัดส่งรายงานการดำเนินงาน และรายงานการเงินที่ผ่าการตรวจสอบของทีมสนับสนุนฉบับสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย  จากนั้น วิทยากรได้สอนการลงทะเบียนเข้าใช้ระบบการบันทึกกิจกรรม (คนสร้างสุข) และอธิบายเรื่องการรายงานกิจกรรมในระบบ โดยแบ่งกลุ่มย่อยตามพี่เลี้ยง และร่วมกันทำความเข้าใจ ดังนี้ สวนที่ 1 รายละเอียดโครงการฯ ให้บันทึกรายละเอียดโครงการฯ และกิจกรรมทั้งหมดของโครงการฯ รวมทั้งงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละกิจกรรม สวนที่2 ปฏิทินกิจกรรมโครงการฯโดยให้ร่างกำหนดการกิจกรรมต่างในปฏิทิน สวนที่3 กิจกรรมแบ่งออกดังนี้ ชื่อกิจกรรม วันที่ปฏิบัติกิจกรรม รายละเอียดการดำเนินงานกิจกรรม และผลผลิตที่เกิดจริงโดยการบันทึกให้ละเอียด (ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร) วันที่ 2 พิธีกรกล่าวเปิดกิจกรรม จากนั้นมอบให้วิทยากรสอนปฏิบัติวิธีการบันทึกข้อมูลกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆในระบบ จากนั้นหัวหน้าโครงการกล่าวปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานมีความเข้าใจเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ที่คาดหวังของโครงการ
  • คณะทำงานสามารถบริหารจัดการข้อมูล และการรายงานผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • คณะทำงานมีความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการงบประมาณโครงการ และการเขียนรายงานสรุปการใช้เงินโครงการได้

 

3 0

2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ

วันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • นางสาวนาดียา เด็งมะระทำการออกแบบป้ายไวนิลชื่อโครงการ ประกอบด้วยโลโก้ สสส. โลโก้ชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ชื่อโคงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อบริหารจัดการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ขนาด 23 เมตร ไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการ ประกอบด้วยโลโก้ สสส. โลโก้ชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง กิจกรรมต่างๆในโครงการฯ ผลลัพธ์กิจกรรมที่เกิดขึ้น และตัวชีวัดกิจกรรม ขนาด 12 เมตร และป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่ ประกอบด้วย โลโก้ปลอดบุหรี่ ขนาด 1*0.8 เมตร  จากนั้นมอบหมายให้นายมะรอยี บือราเฮง ดำเนินการประสานติดต่อร้านค้าทำไวนิล และกำหนดวันเวลารับป้ายไวนิล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เกิดป้ายชื่อโครงการ 1 แผ่น
  • เกิดป้ายบันไดเกิดป้ายบันไดผลลัพธ์ เพื่อทบทวนกิจกรรมและผลสำเร็จของโครงการจำนวน 1 แผ่น
  • เกิดป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่จำนวน 1 แผ่น

 

0 0

3. ค่าตราปั้มโครงการ

วันที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวนาดียา เด็งมะระออกแบบตราปั้ม และประสานร้านค้าทางออนไลน์เพื่อสั่งทำตราปั้ม โดยออกแบบตราปั้มชื่อโครงการพร้อมด้วยรหัสโครงการ จำนวน 1 ชิ้น และให้ฝ่ายเหรัญญิก นางสาวพาตีเมาะ สาและทำการเบิกงบประมาณและดำเนินการชำระค่าตราปั้มและเก็บหลักฐานการชำระเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีตราปั้มชื่อโครงการและรหัสโครงการจำนวน 1 ชิ้น

 

0 0

4. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 1

วันที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น.คณะทำงานจำนวน 10 คน เข้าร่วมประจำเดือนครั้งที่ 1 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยมีนายไซลฮูดิง สาอิ ประธานโครงการกล่าวเปิดการประชุมและชี้แจงวาระการประชุมให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ  1.ชุมชนบ้านลูโบะซูลงได้รับงบประมาณโครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชน โดยได้รับบงประมาณทั้งสิ้น 100000 บาท ระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่ 1 กันยายน- 31 สิงหาคม มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน เพื่อส่งเสริมสนับสนันการบริหารจัดการการเงินและหนี้สินของชุมชน และเพื่อจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในการแปรรูปอาหารของชุมชน โดยมีนางกัลยา เอี่ยวสกุล เป็นพี่เลี้ยงโครงการ 2.กิจกรรมชี้แจงโครงการให้กลุ่มเป้าหมายจะจัดขึ้นในวันที่ 2 ตุลาคม 2565 โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายที่คัดเลือกตามวัตถุประสงค์โครงการฯ วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุม คณะทำงานทุกคนรับทราบและรับรองรายงานการประชุม วาระที่ 3 พิจารณา คณะทำงานที่เข้าร่วมประชุมเสนอการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในชุมชนโดยกลุ่มเป้าหมายต้องเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19  ครัวเรือนยากจนในชุมชน จำนวน 30 คน และมีการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยการเสนอและพิจารณาจากคณะทำงานที่เข้าร่วมประชุม มีโครงสร้าง ดังนี้ ประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ รองประธาน นางสาวสารีพ๊ะ ดอนิ เลขานุการ นางสาวพาตีเมาะ สาและ เหรัญญิก นางคอลีเยาะ วานิ ผู้บันทึกข้อมูล  นางสาวนาดียา เด็งมะระ ฝ่ายสวัสดิการ นางสาวรอซีด๊ะ สามะ ฝ่ายพื้นที่ นายมะรอยี บือราเฮง และนายอับดุลการีม เจะโซ๊ะ ฝ่ายสถานที่ นายมะอาซมิง ยง ฝ่ายประสาน นายสมาน เจ๊ะสือแม ฝ่ายโสต นายไซลฮูดิง สาอิ และกำหนดบทบาทหน้าที่ ดังนี้ ประธานมีหน้าที่บริหาร และดูแลภาพรวมของโครงการ รองประธานมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธานกรณีประธานติดภารกิจ/ดูและภาพรวมของโครงการ เลขานุการ มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธาน และรองประธาน เหรัญญิกมีหน้าที่ ดูแล/บริหารการเงิน ผู้บันทึกข้อมูลมีหน้าที่ สรุป และบันทึกข้อมูล ฝ่ายสวัสดิการมีหน้าที่จัดเตรียมอาหาร และอำนวยความสะดวก ฝ่ายพื้นที่ มีหน้าที่อำนวยความสะดวกพื้นที่จัดกิจกรรม ฝ่ายสถานที่มีหน้าที่ จัดเตรียมสถานที่การจัดกิจกรรม ฝ่านประสานมีหน้าที่ประสานงานสมาชิกในกลุ่ม และฝ่ายโสตมีหน้าที่ จัดเตรียมเครื่องเสียง และถ่ายรูป โดยทุกคนในที่ประชุมรับทราบ และเห็นด้วย จากนั้นประธานสรุปการประชุม และกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานที่เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการฯ เกิดโครงสร้างคณะกรรมการบริการโครงการฯ และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่

 

10 0

5. ประชุมชี้แจงโครงการเพื่อทำความเข้าใจต่อกลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 2 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำทำงานแกนนำหลัก 10 คน และกลุ่มเป้าหมาย 20 คน เข้าร่วมกิจกรรมชี้แจงโครงการฯ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยประธานโครงการฯกล่าวเปิดกิจกรรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโครงการฯเพื่อสร้างความเข้าใจให้กลุ่มเป้าหมาย โดยชี้แจงความเป็นมาของการทำโครงการฯ จากปัญหาสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบกับชุมชนทำให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก จึงมีความคิดที่จะทำโครงการระบบสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชน จากนั้นประธานมอบหมายให้นางสาวนาดียา เด็งมะระชี้แจงกิจกรรมบันไดผลลัพธ์กิจกรรมต่างๆที่จะทำ ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ดังนี้ เกิดคณะทำงานที่มีความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงานจากกิจกรรมที่เข้าร่วม เกิดเครื่องมือกลไกการบริหารจัดการกลุ่ม และเกิดระบบความมั่นคงทางอาหารในชุมชน และชี้แจงตัวชี้วัดของกิจกรรมต่างๆ จากนั้นจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โดยมีโครงสร้าง ดังนี้ ประธานนางสาวพาตีเมาะ อีแต รองประธานนางสาวซัลมา เจะนะ เหรัญญิกนางสาวหาซือน๊ะ หะมะ  ฝ่ายประสานนางสาวรอมละห์ อาแวยง ฝ่ายสถานที่นางสาวอาณีซ๊ะ วาเตะ ฝ่ายสวัสดิการนางสาวฟารีด๊ะ อาแวยง โดยมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ ประธานมีหน้าที่ดูแลภาพรวมของโครงการร่วมกับคณะทำงานบริหาร รองประธานมีหน้ามี่เป็นผู้ช่วยประธานร่วมกับคณะทำงานบริหาร เหรัญญิกมีหน้าที่ดูแลการเงินและเก็บเงินออมของกลุ่มเป้าหมาย ฝ่ายประสานงานมีหน้าที่ประสานงานและประชาสัมพันธ์งานในกลุ่ม ฝ่ายสถานที่มีหน้าที่จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรมร่วมกับคณฑทำงานบริหาร ฝ่ายสวัสดิการมีหน้าที่จัดเตรียมอาหาร และอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่ม  จากนั้นร่วมกันกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกัน ดังนี้
1.การปลูกพืช     - ปลูกพืชอย่างน้อย 3-5 ชนิด     - ปลูกพืชเพื่อกิน เหลือขาย     - ปลูกพืชแบบผสมผสาน     - ไม่ใช้สารเคมี 2.แผนงาน     - ต้องเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยเดือนละครั้ง     - มาช้าได้ไม่เกิน 15 นาที     - ห้ามสูบบุหรี่เวลาดำเนินกิจกรรม     - ห้ามเล่นโทรศัพท์ "แบบไร้สาระ" เวลาดำเนินกิจกรรม     - ทุกคนต้องพูด เสนอ มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 3.การออม     - ออมวันละ 1 บาท     - บันทึกการออมทุกครั้ง
โดยผู้เข่าร่วมกิจกรรมเสนอ และเห็นชอบร่วมกัน จากนั้นประธานสรุปกิจกรรม และกล่าวปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจโครงการฯ มีการจัดตั้งโ๕รงสร้างคณะทำงานดำเนินการ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่คณะทำงานดำเนินการ มีการกำหนดกติการข้อตกลงร่วมกัน

 

30 0

6. พี่เลี้ยงคลี่โครงการฯ

วันที่ 3 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานบริหาร 10 คนเข้าร่วมกิจกรรมพี่เลี้ยงคลี่กิจกรรม ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยประธานโครงการกล่าวต้อนรับพี่เลี้ยงนางกัลยา เอี่ยวสกุล จากนั้นดำเนินการคลี่กิจกรรมโครงการฯ ตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ โดยพี่เลี้ยงอธิบายการคลี่กิจกรรม ดังนี้ ชื่อกิจกรรม รายละเอียดกิจกรรมประกอบด้วยวันที่ทำกิจกรรมดำเนินการวันที่เท่าไหร่ ใครเป็นผุ้จัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายกิจกรรมมีกี่คน ถ้ากิจกรรมมีวิทยากร ใครเป็นวิทยากร ชื่ออะไร วัตถุประสงค์ของกิจกรรมมีว่าอย่างไร ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมมีอะไรบ้าง กิจกรรมดำเนินการอย่างไรบ้าง มีการเก็บตัวชี้วัดกิจกรรมอย่างไร มีตัวชีวัดกิจกรรมอะไรบ้าง จากนั้นพี่เลี้ยงอธิบายงบประมาณโครงการ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คืองบดำเนินโครงการฯ จำนวน 90000 บาท เป็นงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด และงบบริหารจัดการ จำนวน 10000 บาท เป็นงบที่ใช้ในการบริหารจัดการ เช่น ค่าทำป้ายไวนิล ค่าทำตราปั้มโครงการฯ ค่าเดินทางไปอบรมกิจกรรมต่างๆที่ร่วมกับหน่วยจัดการ เป็นต้น จากนั้น นางสาอารีนา สามะ สรุปการดำเนินกิจกรรม และส่งมอบให้ประธานกล่าวขอบคุณพี่เลี้ยงและกล่าวปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีความรู้เรื่องการคลี่กิจกกรม และเข้าใจการบริหารงบประมาณโครงการฯ

 

10 0

7. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 2

วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงานทั้ง 10 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 2 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยนายไซลฮูดิง สาอิ ประธานโครงการฯ กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงวัถุประสงค์การประชุม คือ ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการฯ จำนวน 30 คน โดยคณะทำงานบริหารที่เข้าร่วมประชุมร่วมกันคิดวางแผนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ แบ่งกลุ่มคณะทำงานเก็บข้อมูลตามโซนของหมู่บ้าน เพื่อการทำงานที่รวดเร็ว และทั่วถึง จำนวน 5 โซน โซนที่ 1 โซนบาตัส  ผู้รับผิดชอบ นายไซลฮูดิง สาอิ,นางสาวสารีพ๊ะ ดอนิ โซนที่ 2 โซนมัสยิด ผู้รับผิดชอบ นางสาวนาดียา เด็งมะระ, นายอับดุลการิม เจ๊ะโซะ โซนที่ 3 โซนป่าหว้า ผู้รับผิดชอบ นางคอลีเยาะ ซานิ, นายมะอาซมิง ยง โซนที่ 4 โซนโต๊ะฮะ ผู้รับผิดชอบ นางสาวรอซีด๊ะ สามะ,นางสาวพาตีเมาะ สาและ โซนที่ 5 โซนปอเนาะ ผู้รับผิดชอบ นายมะรอยี บือราเฮง, นายสมาน เจ๊ะสือแม จากนั้นคณะทำงานร่วมกันคิดออกแบบแบบสำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สิน ของกลุ่มเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดโครงการฯที่กำหนด โดยรายละเอียดการเก็บข้อมูลมีดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั้วไปของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ชื่อ-สกุล อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก อาชีพเสริม  ศาสนา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนทั้งหมด จำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่จริงในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนที่ 2 ข้อมูลรายได้ของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย รายได้ที่เป็นตัวเงิน และรายได้ที่เป็นสินทรัพย์ ส่วนที่ 3 ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือนประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ ส่วนที่ 4 หนี้สินทั้งหมดของครัวเรือนเป้าหมาย ประกอบด้วย หนี้สินในระบบ และหนี้สินนอกระบบ จากนั้นประธานกำหนดวันส่งแบบสำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งมอบให้นางสาวนาดียา เด็งมะระสรุปข้อมูล และบันทึกข้อมูล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดแผนการดำเนินงานการเก็บข้อมูลสำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย มีเอกสารประกอบแบบสำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของครัวเรือนเป้าหมาย

 

10 0

8. ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 1

วันที่ 30 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน 10 คน นัดหมายรวมตัว ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเตรียมตัวลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้น นางสาวนาดียา เด็งมะระ ได้อธฺิบายการสำรวจตามแบบสำรวจทบทวนทำความเข้าใจเนื้อหาในแบบสำรวจต่อคณะทำงานก่อนลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นแบ่งคณะทำงานตามโซนรับผิดชอบที่ได้จัดตั้งไว้ และลงพื้นที่สำรวจตามครัวเรือนเป้าหมายตามโซนรับผิดชอบของตนเอง โดยมีนางสาวพาตีเมาะ สาและ เป็นผู้รวบรวมเอกสารแบบสำรวจ รายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย และส่งมอบเอกสารต่อให้นางสาวนาดียา เด็งมะระเพื่อทำการสรุปแบบสำรวจจากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ 5000 – 10000 ทั้งสิ้น 8 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 7802.5 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 10000 – 15000 ทั้งสิ้น  17 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 12097.64 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 15000 – 20000 ทั้งสิ้น 5 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 17448 บาทต่อครัวเรือน โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงานหลักเฉลี่ย 27000 บาทต่อครัวเรือน กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจเฉลี่ย 7319 บาทต่อครัวเรือน และรายได้จากการทำการเกษตรเฉลี่ย 2297 บาทต่อครัวเรือน  และรายได้ที่ไม่เกิดจากการทำงาน เช่น รายได้จากเงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหรือบุคคลอื่นที่นอกครัวเรือนเฉลี่ย 5250 บาทต่อครัวเรือน และส่วนรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งอยู่ในรูปสวัสดิการ/สินค้า บริการต่างๆ ที่ได้มาโดยไม่ต้องซื้อ เฉลี่ย 4798 บาทต่อครัวเรือน ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 9498.3 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 6178 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งค่าใช้จ่ายหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบสูงสุด รองลงมาเป็นค่าเครื่องใช่ภายในบ้านเฉลี่ย 2260.3 บาทต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวการเดินทาง และยางพาหนะเฉลี่ย 1060 บาทต่อครัวเรือน
ครัวเรือนเป้าหมายเกือบครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย766.66 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนเฉลี่ยเดือนละ 390 บาทต่อครัวเรือน ประกอบไปด้วยหนี้สินเพื่อใช่จ่ายในการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยเดือนละ 190 บาทต่อครัวเรือน หนี้เพื่อใช้ในการศึกษาเฉลี่ยเดือนละ 200 บาทต่อครัวเรือน หนี้เพื่อใช้ทำการเกษตรเฉลี่ยเดือนละ 300 บาทต่อครัวเรือน และหนี้เพื่อใช่ในการลงทุนและอื่นๆเฉลี่ยเดือนละ 77.66 บาทต่อครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดชุดฐานข้อมูลรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 30 ครัวเรือน

 

30 0

9. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 3

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงานบริหาร จำนวน 10 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนครั้งที่ 3 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยมีประธานนายไซลฮูดิง สาอิ เปิดการประชุมและชี้แจงวาระการประชุมเพื่อทราบ ดังนี้ วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ ในวันที่ 19 เดือนพฤศจิกายน ทางหน่วยจัดการโครงการฯ มีการจัดอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการเงิน โดยจัดที่โรงแรมปาร์คอินทาวน์จังหวัดปัตตานีให้ตัวแทนโครงการละ 2 คนเพื่อเข้าอบรม โดยประธานให้เสนอรายชื่อคณะทำงานจำนวน 2 คน ที่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ ดังนี้ 1. นางสาวนาดียา เด็งมะระ และนางสาวรอซีด๊ะ สามะ โดยทุกคนในที่ประชุมเสนอ และเห็นชอบร่วมกัน จากนั้นตัวแทนคณะทำงานนายมะอาซมิง ยง ได้ชี้แจงผลสรุปข้อมูลการดำเนินงานกิจกรรมการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่าน ให้ทุกคนที่ประชุมรับทราบร่วมกัน วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับทราบ และรับรองรายงานการประชุมร่วมกัน วาระที่3 พิจารณา นางสาวนาดียา เด็งมะระชี้แจงบันไดผลลัพธ์กิจกรรมโดยคณะทำงานทุกคนที่เข้าร่วมประชุมร่วมวางแผนและออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมการปลูกผักผสมผสานในครัวเรือน ตามวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดโครงการฯ ดังนี้ ประสานกลุ่มเป้าหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักแบบผสมผสานในครัวเรือนในเวลา 09.00 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยให้กลุ่มเป้าหมายเตรียมภาชนะ กะลามัง หรือตะกร้าที่ไม่ใช้แล้วเพื่อให้วิทยากรทำการสาธิตการปลูกผักสวนครัวแบบลอยฟ้าในช่วงบ่ายของกิจกรรม และช่วงเช้าให้วิทยากรบรรยาย เรื่องส่งเสริมแนวคิด ความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักแบบผสมผสานในครัวเรือน และบรรยาย เรื่อง การปลูกผักแบบผสมผสานตามฤดูการ วิถีชุมชน และร่วมกันเสนอ และออกแบบกำหนดการกิจกรรมการแปรูปอาหารปลอดภัย "น้ำพริกชุมชน" ผลิตภัณฑ์ชุมชน ดังนี้ ให้คณะทำงานประสานกลู่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมการแปรรูปอาหารปลอดภัย"น้ำพริกชุมชน" ผลิตภัณฑ์ชุมชน ในวันที่ 12 เดือนพฤศจิกายน เวลา 09.00 น.- 16.00 น. โดยกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 คน พร้อมกัน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยเชิญวิทยากรจาก กศน.อำเภอสายบุรี ให้เป็นวิทยากร โดยกำหนดการช่วงเช้าวิทยากร บรรยาย เรืองการเตรียมวัตถุดิบ การเลืกใช้วัตถุดิบ และการเก็บรักษาน้ำพริก และช่วงบ่ายวิทยากรทำการสาธิตการทำน้ำพริกให้กลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น โดยคณะทำงานในที่ประชุมร่วมกันเสนอ พิจารณาออกแบบกิจกรรม และเห็นชอบร่วมกัน จากนั้นประธานสรุปการประชุม และกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีแผนงานกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักแบบผสมผสานในครัวเรือน

 

10 0

10. กิจกรรมการแปรรูปอาหารปลอดภัย “น้ำพริกชุมชน” ผลิตภัณฑ์ชุมชน (เช้า-บ่าย)

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 12 เดือนพฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น.กลุ่มเป้าหมาย 30 คนเข้าร่วมกิจกรรมการแปรรูปอาหารปลอดภัย "น้ำพริกชุมชน"ผลิตภัณฑ์ชุมชน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 บ้านลูโบ๊ะซูลง โดยประธานนายไซลฮูดิง สาอิ กล่าวเปิดกิจกรรม และกล่าวต้อนรับวิทยากร จากนั้นส่งมอบให้วิทยากรแนะนำชื่อ นางสาวซัยยีม๊ะห์ เจะเตะ ครูผู้สอน กศน.อำเภอสายบุรี และทำการบรรยายเรื่องการเลือกวัตถุดิบ และการเก็บรักษาน้ำพริก โดยมีการอธิบายการเลือกดูวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และการคำนวนราคาวัตถุดิบตามท้องตลาด เพื่อการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์น้ำพริก และอธิบายวิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการเก็บรักษาได้นาน โดยวิธีการปรุงอย่างไรไม่ให้เกิดการเหม็นหื่น และการบรรจุภัณฑ์อย่างไรให้มีความสวยงามและคงสภาพผลิตภัณฑ์ จากนั้นสุ่มกลุ่มเป้าหมายให้ออกนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตนเองอยากทำโดยสอดคล้องกับเนื่หาที่วิทยากรบรรยาย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในกิจกรรม จากนั้น สาธิตการทำงานน้ำพริกโดยเลือกวัตถุดิบในชุมชนที่ปลูกไว้ ดังนี้ 1. สาธิตการทำน้ำพริกเครื่องแกง ประกอบด้วยวัตถุดิบ ดังนี้ ตะไคร้ 400 กรัม ข่า 100 กรัม กระเทียม 200 กรัม หอมแดง 300 กรัม พริกสด/พริกขี้หนูแห้ง 100 กรัม กะปิ 100กรัม ขมิ้น 50 กรัม เปลือกมะกรูด 2 กรัม และเกลือเม็ด 50 กรัม โดยบดส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันและนำไปคั่วให้แห้ง 2. สาธิตการทำน้ำพริกราดพริก ประกอบด้วยวัตถุดิบ ดังนี้ พริกสด/พริกขี้หนูแห้ง 200 กรัม ราดผักชี 100 กรัม กระเทียม 200 กรัม หอมแดง 400 กรัมโดยบดส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันและนำไปเคี้ยวในน้ำมันที่ร้อนจัด 3. สาธิตการทำน้ำพริกแกงส้ม ประกอบด้วย พริกสด/พริกขี้หนู้แห้ง 100 กรัม กระเทียม 200 กรัม กะปิ 100 กรัม ขมิ้น 50 กรัม  เกลือเม็ด 50 กรัม โดยบดส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันและนำไปคั่วให้แห้ง  จากนั้นวิทยากรสรุป และทบทวนสูตรการทำน้ำพริกให้กลุ่มเป้าหมายอีกรอบ และประธานกล่าวขอบคุณวิทยากร และกล่าวปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้วิธีการทำน้ำพริก และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้เก็บได้นาน กลุ่มเป้าหมายมีความรู้วิธีการเลือกวัตถุดิบ และการคำนวนราคาวัตถุดิบเพื่อการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์

 

30 0

11. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 19 เดือนพฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. นางสาวนาดียา เด็งมะระ และนางสาวรอซีด๊ะ สามะ ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการเงิน ณ โรงแรมปาร์คอินทาวน์จังหวัดปัตตานี  โดยมีพิธีกรกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประอบรมทุกท่าน และส่งมอให้ประธานโครงการกล่าวเปิดกิกจกรรมการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การอบรม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ และการเงินของกลุ่มเป้าหมายโครงการต่างๆ  จากนั้นส่งมอบให้วิทยากร บรรยายความรอบรูัทางสุขภาพ โดยอธิบายความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ ใช้ข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการจัดการตนเอง และสามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพแก่ผู้อืนได้ องค์ประกอบรอบรู้ทางสุขภาพ 6 ด้าน จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมกันสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพจากอาชีพ และการทำงาน ของกลุ่มเป้าหมายในโครงการที่รับผิดชอบ และส่งตัวแทนผู้เข้าร่วมอบรมนำเสนอ กลุ่มละ 1 โครงการ จากนั้นวิทยากร อธิบายต่อเรืองการลดพฤติกรรมเสี่ยงด้วยการปรับพฤติกรรม ปรับวิธีการทำงาน และปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแนะนำแอปพลิเคชั่น H4U ในการเข้าถึงข้อมูล และบริการสุภาพ โดยให้ผู้เข้าร่วมการอบรมทดลองเข้าใช้แอปพลิเคชั่นดังกล่าว จากนั้นบรรยายต่อเรื่องความรอบรู้ด้านการเงิน โดบอาจาย์สุทย์ หมาดอะดำ เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่องการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานที่จะเกิดขึ้น ความรอบรู้สู่ความมั่นคงทางการเงิน รู้หา รู้ใช้ รู้เก็บ รู้ต่อยอด จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมสำรวจตนเองในการใช้เงินและสุ่มตัวแทนนำเสนอ  จากนั้นอธิบายการวางแผนการเงินในครัวเรือน และการติดตามแผนการใช้เงิน จากนั้นร่วมกันทำกิจกรรมสำรวจความมั่งคั่งส่วนบุคคลของตนเอง โดยการสำรวจสินทรัพย์ - หนี้สิน = ความั่งคั่งสุทธิของตนเอง จากนั้นพิธีกรกล่าวขอบคุณวิทยากทุกท่าน และปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพ และการเงิน

 

2 0

12. กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักผสมผสานในครัวเรือน

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน และกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักผสมผสานในครัวเรือนจำนวน 30 คน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน โดยนายไซลฮูดิง สาอิประธานโคงการฯ กล่าวเปิด และชี้แจงกิจกรรมคร่าวๆ จากนั้นเริ่มการบรรยาย ในหัวข้อเรื่องส่งเสริมแนวคิด ความรู้ ความเข้าใจในการปลูกผักแบบผสมผสานในครัวเรือน โดยวิทยากร นางสาวฐิตา ยามาเจริญ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอำเภอสายบุรี โดยบรรยายให้ความรู้การปลูกผักแบบผสมผสานในครัวเรือน และการดูแลพืชผักสวนครัว จากโรควัชพืชต่างๆ จากนั้นบรรยายเรือ่งการปลูกผักแบบผสมผสานในครัวเรือนตามฤดูกาลและความเหมาะสมของบริบทพื้นที่ จากนั้นวิทยากรเดินไมค์เืพื่อสอบถามกลุ่มเป้าที่เข้าร่วมกิจกรรมว่ามีการปลูกอะไรบ้างแล้ว และอยากปลูกอะไรเพิ่มและวิทยากรให้คำแนะนำแก่กลุ่มเป้าหมาย และเปิดให้ผู้เข้าร่วมสอบถาม จากนั้นดำเนินการบรรยายต่อในหัวข้อเรื่อง การปลูกผักแบบผสมผสานตามฤดูกาล วิถีชุมชน และร่วมกิจกรรมสาธิต และปฏิบัติการปลูกผักในสวนครัวแบบผสมผสาน โดยแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม และเวียนกันตามกลุ่ม กลุ่มละ 10 นาที ดังนี้ 1.กลุ่มผักเพาะงอก (ต้นกล้าทานตะวัน) โดยมีการสาธิตการเพาะพันธุ์เมล็ดทานตะวันในถาดเพาะปลูก 2.กลุ่มการปลูกผักในตะกร้า โดยสาธิตการปลูกผักในตะกร้า หรือภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว เช่น การปลูกผักกาดขาวในตะกร้าพลาสติกขนาดเล็กโดยการทำเป็นโมบายคอนโด เพื่อเพิ่มความสวยงาม และเหมาะกับบริบทพื้นที่ของชุมชน 3.กลุ่มการเตรียมดินปลูก โดยสาธิตการเตรียมดินปลูกโดยการผสมหน้าดิน แกลบดำ ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ กาบมะพร้าว ในสัดส่วนที่เท่ากัน ผสมให้เข้ากัน เพื่อดินไปใช้ในการเพาะปลูกพืชต่างๆ จากนั้นวิทยากร ทำงานสรุปกิจกรรม และนางสาวนาดียา เด็งมะระ ทบทวนข้อตกลงร่วมกันในการปลูกผักของกลุ่มเป้าหมาย และกล่าวขอบคุณวิทยากร และปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักแบบผสมผสานในครัวเรือน และการนำวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนมาประดิษฐิ์ในการปลูกผักในครัวเรือน

 

30 0

13. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 4

วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-คณะทำงานทั้ง 10 คน เข้าร่วมประชุมพร้อมกัน ณ ที่ทำที่การผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน โดยนายไซลฮูดิง สาอิ เปิดการปรพชุมและชี้แจงวาระการประชุมเพื่อทราบ วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ เรื่องการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมาโดยชี้แจงบันไดผผลลัพธ์การดำเนินอยู่ในขั้นบันไดที่ 2 ผลัพธ์ที่เกิดขึ้น กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ทักษะการดำเนิน จากนั้นคณะทำงานทุกคนร่วมกับทบทวนการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านร่วมกันในที่ประชุม วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับรองในที่ประชุม วาระที่ 3 พิจารณา โดยประธานส่งมอบให้นางสาวนาดียา เด็งมะระชี้แจงแผนการดำเนินงานกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเงิน และหนี้สินในครัวเรือน โดยคณะทำงานในที่ประชุมทุกคนร่วมกันเสนอแผนงานกำหนดการกิจกรรม ดังนี้ให้คณะทำงานประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมในเวลา 09.00 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน โดยช่วงแรกวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เรื่องเสริมความรู้แนวคิดการบริหารจัดการการเงินและหนี้สินในครัวเรือน จากนั้นบรรยายให้ความรู้ เรื่องสร้างแรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมทางการเงิน และวิเคราะห์วางแผนการใช้จ่ายทางการเงิน และกิจกรรมมส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้ เทคนิคการลดหนี้ (รู้สภาพหนี้และเทคนิคการลดหนี้)โดยคณะทำงานทุกคนพิจารณากิจกรรมร่วมกันในที่ประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดแผนการดำเนินงานกิจกรรมกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเงิน และหนี้สินในครัวเรือน

 

10 0

14. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือน

วันที่ 5 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน และกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมอบรมบริหารจัดการการเงิน และหนี้สินในครัวเรือน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน โดยมีประธานโครงการฯ นายไซลฮูดิง สาอิ กล่าวเปิดกิจกรรม และกล่าวต้อนรับวิทยากร นางสาวนิซูรัยนี กูโนะ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอสายบุรี จากนั้นวิทยากรแนะนำชื่อ และบรรยาย เรื่อง เสริมความรู้แนวคิดการบริหารจัดการการเงินและหนี้สินในครัวเรือน โดยอธิบาย ความหมายของคำว่าการเงิน และหนี้สิน และกระบวนการจัดการปํญหาการเงินในครัวเรือนโดยให้กลุ่มเป้าหมาที่เข้าร่วมกิจกรรมสำรวจตัวเองด้านการเงิน และทรัพย์สินในครัวเรือนของตนเอง จากนั้น ให้ตัวแทนนำเสนอการสำรวจตัวเองด้านการเงิน และวิทยากรให้คำแนะนำแก่กลุ่มเป้าหมาย จากนั้นดำเนินการบรรยายต่อในหัวข้อเรื่อง การสร้างแรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมทางการเงิน และวิเคราะห์วางแผนการใช้จ่ายทางการเงิน จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมโพสอิกแผนการใช้จ่ายประจำวันของกลู่มเป้าหมาย จากนั้นวิทยากรสรุปภาพรวมของกิจกรรมโพสอิกแผนการใช้จ่ายประจำวัน และดำเนินการกิจกรรมส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้ โดยอธิบายเทคนิคการลดหนี้ (รู้สภาพหนี้และเทคนิคการลดหนี้) จากนั้นประธานโครงการกล่าวขอบคุณวิทยากร และกล่าวปิดกจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน และกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงินและหนี้สินในครัวเรือน คณะทำงาน และกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้ากระบวนการวางแผผนการเงิน และการจัดการหนี้สินในครัวเรือน

 

30 0

15. กิจกรรมจัดบัญชีครัวเรือน

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายจำนวน30คนเข้าร่วมกิจกรรมจัดบัญชีครัวเรือน นางสาวนาดียา เด็งมะระ ได้ประสานหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี โดยจัดทำงานหนังสือเชิญวิทยาในหัวข้อเรื่องการจัดทำงานบัญชีครัวเรือน เพื่อเสริมความรู้แนวคิดการอย่าง่ายให้กับครัวเรือนเป้าหมาย โดยจัดในวันที่ 15/12/65 เวลา 09.00 น.กลุ่มเป้าหมายพร้อมกัน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยนายไซลฮูดิง สาอิ ประธานโครงการฯ ดำเนิการเปิดกิจกรรมและวัตถุประสงค์กิจกกรม เพื่อเสริมความรู้แนวคิดการอย่าง่ายให้กับครัวเรือนเป้าหมาย จากนั้นส่งมอบวิทยากร บรรยายความรู้แนวคิดการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย และวิทยาให้ความรู้การบันทึกบัญชีรายรับ รายจ่าย ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมดดยสอนวิธีการเขียนบันทึกรายการรายรับ รายจ่ายในครัวเรือน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมในการทำบัญชีครัวเรือน จากนั้น นางสาวนดียา เด็งมะระ ร่วมกำหนดข้อตกลงในการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายร่วมกัน ของกลุ่มเป้าหมาย  ดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมายต้องทำบันทึกรายรับ รายจ่ายในครัวเรือนของตนเองทุกวัน 2.คณะทำงาน นัดตรวจสมุดบีนทึกรายรับรายจ่ายในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทุกๆ 1 เด์อน โดยกำหนดวันที่ ตรวจ ในวันที่ 15 ของทุกเดือน จากนั้น ตัวแทนออกมานำเสนอสะท้อนการเรียนรู้สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม โดยอธิบายการบันทึกบัญชี รายรับ รายจ่ายในครัวเรือน ประกอบด้วยรายการ รายรับ รายจ่าย และคงเหลือจากการใช้จ่าย เป็นต้น จากนั้นนางสาวนาดียา เด็งมะระ กล่าวขอบคุณวิทยากร และกล่าวปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย 30คนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้และร่วมจัดทำข้อตกลงในการจัดทำบัญชี รายรับ รายจ่ายในครัวเรือนร่วมกัน

 

30 0

16. ติดตามการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา ARE1.

วันที่ 2 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน จำนวน 10 คน เข้าร่วมประชุมติดตามการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา ARE1. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน โดยประธานนายไซลฮูดิง สาอิ กล่าวต้อนรับพี่เลี้ยง นางกัลยา เอี่ยวสกุล จากนั้นพี่เลี้ยงได้ร่วมถอดบทเรียนการดำเนินงานจากกิจกรรมที่ผ่านโดยสอบถามคณะทำงานในที่ประชุมถึงบันไดผลลัพธืกิจกกรม เกิดคณะทำงาน โครงการ จำนวน 2 ชุด ชุดบริหาร และชุดดำเนินการ เกิดกติการ่มกัน 3 ข้อ 1.ด้านแผนงาน 2. ด้านการปลูก 3. ด้านการออม ของกลุ่มเป้หมาย การ)ฏิบัติตามแผนงาน มีดังนี้ มีการประชุมชีแจงโครงการ และประชุมประจำเดือนทุกเดือนตามกำหนดการ การสำรวจข้อมูล ดังนี้ มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ระยะที่ 1 การลงรายงานในระบบ ดังนี้ มีการรายงานเป็นปัจจุบันแต่ไม่สมบูรณ์ เอกสารการเบิกจ่าย มีครบทุกกิจกรรม  ปัญหารและอุปสรรค ทีพบ มีดังนี้ การนัดหมายของกลุ่มเป้าหมายมีการล่าช้า กลุ่มเป้าหมายไม่มีวินัยในการดำ้นินกิจกรรมต่อเนื่อง จากนั้นพี่เลี้ยงสรุปการถอดบทเรียนโครงการฯ โดยสร้างใยแมงมุน และให้คะแนนผลประเมินกิจกรรมโครงการฯ ดังนี้ บทบาท แผนงานชัดเจน การสื่อประชาสัมพันธ์ ความรู้ของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น โดยสรุปคะแนนโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ที่ 3 คะแนน จากนั้นพี่เลี้ยงได้แนะนำแนวทางการพัฒนาโครงการฯต่อไป ดันี้ คณะทำงานต้องมีส่วนร่วมและทำการสรุป และติดตามการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง  จานั้นประธานโครงฯกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดผลประเมินกิจกรรมโครงการ และแนวทางการพัฒนาต่อไป

 

0 0

17. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5

วันที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน เข้าร่วมประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 5 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน โดยประธานโครงการฯ นายไซลฮูดิง สาอิ กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงวาระการประชุม ดังนี้ วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ ในวันที่ 11-12 เดือนกุมภาพันธ์ 2566 หน่วยจัดการโครงการมีการจัดเวทีแลกเปลียนผลลัพธ์ และบทเรียนการดำเนินงาน ณ โรงแรมซาวท์เทิร์นแอร์พอร์ต จังหวัดสงขลา และคัดเลือคณะทำงานเพื่อไปเวทีแลกเปลียนผลลัพธ์ และบทเรียนการดำเนินงาน โดยคณะทำงานเสนอราชื่อ นางสาวนาดียา เด็งมะระ  และนางสาวอารีนา สามะ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม จากนั้น คระทำงานทุกคนในที่ประชุมร่วมกันสรุปการดำเนินงานที่ผ่านมาในการจัดกิจกรรม เพื่อสรุปและทำพอยด์นำเสนอ วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับทราบ และรับรองการประชุม วาระที่ 3 พิจารณา นางสาวนาดียา เด็งมะระ ชี้แจงแผนงานกิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน โดยให้คณะทำงานประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมดกิจกรรมในวันที่ 27 เดือนมกราคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นคณะทำงานร่วมกันวสงแผนกำหนดการกิจกรรม ดังนี้ ช่วงที่ 1 ให้วิทยากรบรรยาย เรื่องเสริมความรู้แนวคิดการจัดการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ฯ เพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน ช่วงที่ 2 บรรยาย เรื่องระเบียบการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และช่วงที่ 3 จัดตั้งโครงสร้างคณะทำงานกลุ่มฯ จากนั้น ประธานกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีตัวแทนคณะทำงานที่จะไปเข้าร่วมเวที่แลกเปลียนผลลัพธ์ และบทเรียนการดำเนินงาน
มีแผนงานกิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพยืเพื่อการผลิต เพื่อการรับมือสถานรการณ์การเงินในครัวเรือน

 

10 0

18. กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มออมเพื่อการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน

วันที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวนาดียา เด็งมะระ ประสานเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี โดยส่งหนังสือเชิญวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการบริการกลุ่มออมทรัพย์ และจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ในวันที่27 เดือนมกราคม 2566 เวลา 09.00 น. กลุ่มเป้าหมายเข่าร่วมกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เพื่อการับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน โดยประธานโครงการฯ กล่าวเปิดกิจกรรมและกล่าวต้อนรับวิทยากร นางสาววิภาวี บุญมี นักวิชาการพัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี จากนั้นวิทยากรบรรยายเรื่องเสริมความรู้แนวคิดการจัดการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ฯ จากนั้นอธิบายระเบียบการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ และปฏิบัติ จากนั้น กลุ่มเป้าหมายทุกคนยอมรับระเบียบการจัดตั้งกลุ่มฯ และร่วมกันกำหนดข้อตกลงการออมเงินออมทรัพย์ โดยกลุ่มเป้าหมายทุกคนเป็นสามชิกกลุ่มออมทรัพยืเพื่อการผลิต เพื่อการรับมือสถานการณ์ในครัวเรือน ดังนี้ กลุ่มเป้าหมายทุคน ต้องจ่ายสัจจะวันละ 1 บาท และเหณัญญิกจะเป็นคนเก็บเงิน เดือนละ 1 ครั้ง /30 บาท จากนั้นคณะทำงานทุกคนร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ดังนี้ ประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ รองประธาน นางสาวสารีพ๊ะ ดอนิ เลขานุการ นางสาวพาตีเมาะ สาและ เหรัญญิก นางคอลีเยาะ วานิ ผู้ช่วยเหรัญญิก นางสาวคอลีเย๊าะเจ๊ะแม ประชาสัมพันธ์ นางสาวหาซือน๊ะ หะมะ และนางสาวอาณีซ๊ะ วาเต๊ะ กรรมการ นางสาวพาตีเมาะ อีแต และนางสาวลาตีพ๊ะ สาแม็งกือเต๊ะ จากนั้นประธานโครงการกล่าวสรุปกิจกรรมและกล่าวปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการจัดตั้งกลุ่มออมเพื่อการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน เกิดโครงสร้างคณะกรรมการกลุ่มอออมทรัพย์ฯมีการจัดทำโครงสร้างกลุ่มออมทรัพย์ฯ มีการกำหนดกฏกติการ่วมกัน และจัดทำระเบียบการจัดการกลุ่มออมทรัพย์ฯจัดทำแผนงานกลุ่มออมทรัพย์ฯและกลุ่มเป้าหมายมีการออมเงิน

 

0 0

19. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. ผู้เข้าร่วมพร้อมกันที่ห้องประชุมโรงแรมซาวท์เทิร์นแอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ จากนั้นพิธีกรกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมทุกคน และประธานโครงการกล่าวชี้แจงกำหนดการกิจกรรมคร่าวๆ จากนั้น แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมตามพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบโครงการ จากนั้นทำการถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา โดยพี่เลี้ยงสอบถามในประเด็นหัวเรื่อง ดังนี้ ลักษณะของกลุ่มอาชีพโครงการฯ ลักษณะกลุ่มเป้าหมายหลักโครงการฯ ความรอบรู้ด้านการเงิน โดยแบ่งเป็น 2 คือจำนวนผู้ที่ผ่านการอบรม จำนวนผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลง ความรอบรู้ด้นสุขภาพ แบ่งเป็น 2 คือ จำนวนผู้ที่ผ่านการอบรม และจำนวนผู้ที่มรการเลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย (มีอะไรบ้างและมีกี่คน) รายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย รายจ่ายที่ลดลงของกลุ่มเป้าหมาย การออมของกลุ่มเป้าหมาย ปัญหาอุปสรรค์ และบทเรียนที่ได้รับ โดยให้ผู้เข้าร่วมเขียนในโน๊ตแล้วไปแปะที่กระดาษ จากนั้นพี่เลี้ยงทำการสรุปผลจากกระดาษโพสอิกที่ผู้เข้าร่วมไปแปะไว้ โดยการสรุปในรุปแบบภาพรวม จากนั้น พี่เลี้ยงแต่ละคนนำเสนอผลสรุปจากการถอดบทเรียนโครงการร่วมกัน  ช่วงที่ 2 พิธีกรกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และส่งมอบให้วิทยากร บรรยายเรื่องการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง โดยอธิบายการใช้เอกสารประกอบหลักการเงิน และการบนทึกรายการค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมต่างๆในโครงการฯ จากนั้นเปิดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสอบถามปัญหารที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับหลักฐานการเงินต่างๆ จากนั้นส่งมอบให้พิธีกรสันทนาการผู้เข้าร่มและเปิดดอกาสให้ผู้เข้าร่วมจัดการเอกสารที่ยังค้างทั้งในระบบ และหลักฐานต่างๆ จากนั้นประธานโครงการกล่าวสรุปกิจกรรมและขอขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกคน และกล่าวปิดพิธี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการทบทวนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการฯที่รับผิดชอบอยู้่ในขั้นใด และมีข้อบกพร่องใด
มีความรุ็ ความเข้าใจในการเตรียมหลักฐานการเงิน และการลงบันทึกค่าใช้จ่ายกิจกรรมในระบบ

 

2 0

20. พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร ครั้งที่ 2

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. นางสาวนาดียา เด็งมะระ ได้พบปะพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารการเงิน และตรวจการบันทึกรายงานกิจกรรมในระบบ ฅนสร้างสุข ณ ศูนย์ประสานงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยพี่เลี้ยงนางสาวกัลยา เอี่ยวสกุล ได้ตรวจสอบเอกสารการเงิน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำรายงานกิจกรรม ในระบบ และการเตรียมเอกสารหลักฐานการเงินรายกิจกรรม ให้สมบูรณ์ และครบถ้วน ดังนี้ 1.การบันทึกรายงานกิจกรรมในระบบให้พิมพ์รายละเอียดการดำดนินกิจกรรมให้ละเอียดโดยเริ่มบรรยายเหตุการณ์การดำเนินงานที่เกิดมีอะไร ใครทำอะไร ทำที่ไหน และอย่างไร เป็นต้น จากนั้นพี่เลี้ยงได้อธิบายการเตรียมเอกสารการเงิน หลักฐานอะไบ้างที่ต้องใช้ประกอบ เช่น ใบเสร็จที่ร้านค้าออกให้ ในกรณีที่เราไปซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างไป การใช้ใบสำคัญรับเงิน ในกรณีที่ใช้ในการเบิกค่าเดินทาง และการรายงานต้องใส่รูป และหลักฐานการเงิน เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีรายงานกิจกรรมในระบบที่สมบูรณ์ มีเอกสารการเงินที่ถูกต้อง และสมบูรณ์

 

0 0

21. พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. นางสาวนาดียา เด็งมะระ นางสาวพาตีเมาะ สาและ และนางคอลีเยาะ วานิ ได้พบปะพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินจากการดำเนินดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยพี่พี่เลี้งได้ตรวจสอบเอกสาร และได้สอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมเอกสารต่างๆ ดังนี้ 1.เอกสารหลักฐานการเงินค่าเดินทางในการเข้าร่วมการกิจกรรมต่างๆที่ต้องใช้ มีหลักฐานใบเสร็จค่าที่พัก หลักฐานใบสำคัญรับเงินค่าเดินทาง หลักฐานเอกสารแสดงเส้นทาง (กูเกิลแมปส์) และสำเนาทะเบียนรถที่ใช้ในการเดินทาง 2.ค่าตอบแทนวิทยากร ต้องใช้หลักฐานใบสำเนาบัตรประชาชนวิทยาการพร้อมเซ็นสำเนาให้เรียบร้อย และใบสำคัญรับเงินค่าวิทยากร 3.ค่าใช้สอย ต้องใช้หลักฐาน ใบเสร็จที่ทางร้านค้าออกให้โดยมีเลขกำกับภาษีและรายการการซื้อของ 4. ค่าวัสดุ ต้องมีหลักฐานใบเสร็จที่ทางร้านออกให้แล้วต้องมีลายเซ็นผู้รับเงิน พร้อมปั้ม จ่ายแล้ว และปั้มชื่อโครงการฯ พร้อมรหัสโครงการฯ เป็นต้น จากนั้นนางสาวนาดียา เด็งมะระได้ทำการตรวจสอบ และแก้ไขเอกสารหลักฐานการเงินต่างๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีเอกสารหลักฐานการเงินที่ถูกต้อง และสมบูรณ์

 

2 0

22. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์

วันที่ 1 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวนาดียา เด็งมะระ ได้ประสานเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี โดยส่งหนังสือเชิญวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ในวันที่1 เดือนมีนาคม พ.ศ.2566  เวลา 09.00 น. กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์ โดยนายไซลฮูดิง  สาอิ ประธานโครงการได้กล่าวเปิดกิจกรรม อธิบายวัตถุประสงค์กิจกรรม มีดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ฯ 2.เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนากลุ่มฯ 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์ฯ และได้กล่าวต้อนรับวิทยากร นางสาววิภาวี บุญมี นักวิชาการพัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี จากนั้นวิทยากรได้บรรยาย การพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์ฯ ดังนี้ 1.การพัฒนาศักยภาพด้่นการบริหารเงินทุน และทรัพยากรของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บ้านลุโบ๊ะซูลง ในการบริหารเงินทุนและทรัพยากรกลุ่ม ต้องมีวินัทางการบริหารเงิน และการควบคุมเงินอย่างที่ระบบมีความเป็นขั้นตอนชัดเจน มีการตรวจสอบควบคุมดูแลในแต่ละขั้นอย่างเป็นระบบ มีการเก็บสะสมเงินออมได้ครบ จากสมาชิกของกลุ่มตามระบบบัญชีมีมาตรฐาน และมีความชัดเจน มีการรายงานผลการตรวจสอบบัญชี และรายงานผลการดำเนินการเป็นประจำทุกปี 2.การพัฒนาศักยภาพด้านโครงสร้าง และกระบวนการทำงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านลูโบ๊ะซูลง โดยมีโครงสร้างการบริหารของคณะกรรมการที่มีความเข้มแข็งในการออกกฏระเบียบข้อบังคับเพื่อให้การบริหารจัดการกลุ่มมีความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคณะกรรมการได้มาจากการคักเลือกของสมาชิก 3.การพัฒนาศักยภาพด้านผลประโยชน์ โดยจัดสรรคกำไรของกลุ่มฯ ในการปันผลประโยชน์ และการจัดสรรสวัสดิการของสมาชิกอย่างชัดเจน โดยมีการชี้แจงของบัญชีงบดุล ติดประกาศไว้ที่ไวบอร์ดประชาสัมพันธ์ แจ้งต่อสมาชิกกลุ่มฯ และประชาชนทราบตลอดเวลา 4.การพัฒนาศักยภาพด้านการพัฒนาด้านขีดความสามารถขององค์กรกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านลูโบ๊ะซูลง โดยการดำเนินตามนโยบายของรัฐบาล ในด้านของการบริหารเงินทุน และทรัพยากรด้านโครงสร้าง และกระบวนการทำงาน ด้านผลประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน โดยจะสำเร็จต้องประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1.ด้านสมาชิก 2.ด้านคณะกรรมการ 3.ด้านจัดสรรคสวัสดิการ 4.ด้านการบริหารจัดการ 5.ด้านการขยายเครือข่าย จากนั้นนางสาวพาตีเมาะ สาและได้กล่าวขอบคุณวิทยากร และกล่าวปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกมีความรู้ด้านการจัดการบริหารกลุ่ม

 

30 0

23. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 6

วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงานทั้ง 10 คน พร้อมกันเข้าร่วมประชุมประจำเดือน โดยมีประธานเป็นผู้กล่าวเปิดการประชุมและชี้แจงวาระการประชุม ดังนี้ วาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ เรื่องที่ 1 สืบเนื่องจากกิจกรรมที่แล้ว การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านลูโบ๊ะซูลง ในวันที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา และการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านลูโบ๊ะซูลง มีจำนวนผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ทั้งสิ้น 23 คน จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 30 คน และจำนวนสมาชิที่ถือหุ้น 5 หุ้น จำนวน 5 คน สมาชิกที่ถือหุ้น 2 หุ้น จำนวน 16 คน และสมาชิกที่ถือหุ้น 1 หุ้น จำนวน 2 คน ประธานกำชับคณะทำงานทุกคนให้ประชาสัมพันธ์สมาชิกที่เหลือให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ทุกคน เรื่องที่ 2 แจ้งเพื่อทราบในวันที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2566 ให้คณะทำงานทั้ง 10 คน ลงพื้นที่เก็บสำรวจเก็บข้อมูลรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือน ระยะที่ 2 วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับทราบ และรับรองการประชุม วาระที่ 3 เรื่องพิจารณา โดย นางสาวนาดียา เด็งมะระ ชื้แจงแผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ระยะที่ 2 ในวันที่ 3 เดือนมีนาคม ดังนี้ 1.นางสาวนาดียา เด็งมะระ รับผิดชอบทำเอกสารแบบสำรวจ โดยมีรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั้่วไปของกลุ่เป้าหมาย ส่วนที่ 2 ด้านรายได้ รายจ่ายและหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ส่วนที่ 3 ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือน 2.ให้คณะทำงานทุกคนแบ่งตามคุ้มโซนที่กำหนดเพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูล โดยแบ่งดังนี้ โซนที่ 1 โซนบาตัส ผู้รับผิดชอบ นายไซลฮูดิง สาอิ,นางสาวสารีพ๊ะ ดอนิ โซนที่ 2 โซนมัสยิด ผู้รับผิดชอบ นางสาวนาดียา เด็งมะระ,นายอับดุลการิม เจ๊ะโซะ โซนที่ 3 โซนป่าหว้า ผู้รับผิดชอบ นางคอลีเยาะ วานิ นายมะอาซมิง ยง และนายอับดุลฮาเล็ม อูเซ็ง โซนที่ 4 โซนโต๊ะฮะ ผู้รัลผิดชอบ นางสาวพาตีเมาะ สาและ,นางสาวรอซีด๊ะ สามะ และโซนที่ 5 โซน ปอเนาะ ผู้รับผิดชอบ นายมะรอยี บือราเฮง,นายสมาน เจ๊ะสือแม จากนั้นประธานสรุปการประชุม และปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานในกิจกรรมต่อไป มีเอกสารประกอบแบบสำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 30 ชุด

 

10 0

24. ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 2

วันที่ 3 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน 10 คน นัดหมายรวมตัว ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเตรียมตัวลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้น นางสาวนาดียา เด็งมะระ ได้อธฺิบายการสำรวจตามแบบสำรวจทบทวนทำความเข้าใจเนื้อหาในแบบสำรวจต่อคณะทำงานก่อนลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นแบ่งคณะทำงานตามโซนรับผิดชอบที่ได้จัดตั้งไว้ และลงพื้นที่สำรวจตามครัวเรือนเป้าหมายตามโซนรับผิดชอบของตนเอง โดยมีนางสาวพาตีเมาะ สาและ เป็นผู้รวบรวมเอกสารแบบสำรวจ รายได้ รายจ่าย หนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย และการทำบัญชีครัวเรือน และส่งมอบเอกสารต่อให้นางสาวนาดียา เด็งมะระเพื่อทำการสรุปแบบสำรวจจากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย หนี้สินในครัวเรือน และการทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ น้อยกว่า 5,000 ทั้งสิ้น 11 ครัวเรือนที่มี รายได้ 5000 – 7999 ทั้งสิ้น 5 ครัวเรือนที่มีรายได้ 8000 – 11999 ทั้งสิ้น 6 ครัวเรือน และครัวเรือนที่มีรายได้ 12000-15000 ทั้งสิ้น 6 โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงานหลัก ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 6133.3 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 2733 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งค่าใช้จ่ายหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบสูงสุด รองลงมาเป็นค่าเครื่องใช่ภายในบ้านเฉลี่ย 2260.3 บาทต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทาง และยางพาหนะเฉลี่ย 1140 บาทต่อครัวเรือน ครัวเรือนเป้าหมายเกือบครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 2416.66 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนเฉลี่ยเดือนละ 1750.33 บาทต่อครัวเรือน หนี้เพื่อใช้ในการศึกษาเฉลี่ยเดือนละ 200 บาทต่อครัวเรือน หนี้เพื่อใช้ทำการเกษตรเฉลี่ยเดือนละ 250 บาทต่อครัวเรือน และหนี้เพื่อใช้ในการลงทุนและอื่นๆเฉลี่ยเดือนละ 186.33 บาทต่อครัวเรือน และครัวเป้าหมาย 30 ครัวเรือนมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน บางครั้ง บางครา จำนวน 16 ครัวเรือน และไม่มีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน จำนวน 14 ครัวเรือน จากการสำรวจพบว่าครัวที่มีการบันทึกบางครั้ง บางครา เนื่องจากมีความเครียดจากการบันทึกรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่บันทึกบัญชีครัวเรือน เนื่องจาก เขียนตัวหนังสือไม่เป็น และลูกหลานไม่ทำให้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดชุดฐานข้อมูลรายได้ รายจ่าย หนี้สิน และการทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน

 

30 0

25. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 7

วันที่ 5 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน ทุกคนเข้าร่วมประชุม ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ และเลขานุการ น.ส.พาตีเมาะ สาและ กล่าวเปิดการประชุมจากนั้นชี้แจงวาระการประชุมดังนี้ วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งเพื่อทราบ สืบเนื่องจากกิจกรรมที่แล้ว สรุปว่าจากการลงพื้นที่สำรวจครั้งที่ 2 ที่ผ่านมาสรุปดังนี้ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 คน มีรายได้ เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 500 บาทต่อครัวเรือนรายจ่ายในครัวลดลงจากเดิมร้อยละ 2860 บาทต่อครัวเรือน และการบันทึกบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 50% ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีการบันทึกบัญชีรายรับ รายจ่ายในครัวเรือน วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับบทราบ และรับรองการการประชุม วาระที่ 3 พิจารณา น.ส.นาดียา เด็งมะระ ชี้แจงกระบวนการแผนงานการลงพื้นที่ติดตามครัวเป้าหมาย โดยมีแผนงานดังนี้ 1.ติดตามครัวเรือนเป้าหมายมีการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 3-5 ชนิด 2.ครัวเรือนมีการทำบัญชีราบรับ รายจ่ายในครัวเรือน 3.ครัวเรือนมีการจัดการบริหารหนี้สินในครัวเรือน เป็นต้น จากนั้นประธานได้สรุปการประชุม และกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนงานกิจกรรมต่อไป

 

10 0

26. จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน

วันที่ 7 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น.คณะทำงานพร้อมกลุ่มเป้าหมาย 30 คน พร้อมกันลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มออทรัพย์เพื่อการผลิตเพื่อการรับมิอสถานการณ์การเงินในครัวเรือน โดยนางสาวนาดียา เด็งมะระได้ปรสานเจ้าหน้าที่พัมนาชุมชนอำเภอสายบุรี โดยการส่งหนังสือเชิญวิทยากรบรรยายแผนการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ระเบียบการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ โดยนายไซลฮูดิง สาอิ เป็นประธานกลุ่มฯ ได้กล่าวต้อนรับวิทยากร และแนะนำชื่อวิทยากรจากัฒนาชุมชนอำเภสายบุรีได้บรรยายระเบียบการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่ม 1 เพื่อส่งเสริมและฝึกนิสัยการประหยัดและอดออมของประชาชน2 เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการประกอบอาชีพ หรือมีความเดือดร้อน 3 เพื่อจัดสวัสดิการแก่สมาชิกและชุมชน4 เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน5 เพื่อให้คนมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สร้างความรัก ความสามัคคี ในชุมชน6 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง พัฒนาสังคม และพัฒนาเศรษฐกิจ ใช้เงินเป็นเครื่องมือพัฒนา และร่วมกันจัดตั้งโครงสร้างคณะกรรมการโดย นายไซลฮูดิง สาอิ เป็นประธาน นางสาวสารีพ๊ะ ดอนิ เป็นรองประธาน นางสาวพาตีเมาะ สาและ เป็นเลขานุการ นางคอลีเยาะ วานิ เป็นเหรัญญิก จากนั้นวิทยากรได้อธิบายการเขียนรายการลงในสมุดออมทรัพย์ และรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หมายถึง การรวมตัวกันของชาวบ้าน เพื่อช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยการประหยัดทรัพย์ แล้วนำมาสะสมรวมกันทีละเล็กละน้อยเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้เป็นทุนให้สมาชิกที่มีความจำเป็นเดือดร้อนกู้ยืมไปใช้ในการ ลงทุนประกอบอาชีพ หรือเพื่อสวัสดิการของตนเองและครอบครัว
หลักการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จะดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพจะต้องบริหารจัดการอยู่ภายใต้คุณธรรม 5 ประการ ดังนี้ 1 ความซื่อสัตย์2ความเสียสละเพื่อส่วนรวม3 ความรับผิดชอบร่วมกัน4 ความเห็นอกเห็นใจต่อกัน5ความไว้วางใจกัน แนวคิดของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีดังนี้       1. การรวมคนในหมู่บ้านให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยรวมคนที่มีฐานะแตกต่างกันให้ช่วยเหลือกัน อันจะเป็นการยกฐานะคนยากจน       2. การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินทุน โดยรวมกลุ่มกันออมเงินแล้วกู้ไปทำทุน       3. การนำเงินทุนไปดำเนินการด้วยความขยัน ประหยัดและถูกต้อง เพื่อให้ได้ทุนคืนและมีกำไรเป็นรายได้       4. การลดต้นทุนในการครองชีพ โดยการจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด เป็นการรวมกันซื้อ-ขาย สามารถลดต้นทุนในการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค และปัจจัยการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เมื่อดำเนินการระดมเงินออมมาได้ระยะหนึ่งจนสมาชิก มีความเข้าใจในการดำเนินงานกลุ่มแล้ว กลุ่มสามารถนำเงินทุนที่มีอยู่มาดำเนินกิจกรรมเพื่อ ช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาของสมาชิกและชุมชน โดยดำเนินกิจกรรมใน 3 ด้าน ได้แก่   1. ด้านการพัฒนาอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแหล่งเงินทุนให้สมาชิกกู้เงิน ไปประกอบอาชีพ ขยายการผลิต และเพื่อใช้เป็นสวัสดิการในครอบครัว โดยการดำเนินกิจกรรม การบริการเงินกู้     2. ด้านการพัฒนาระบบการจัดการทางธุรกิจ เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน เป็นการฝึกการดำเนินธุรกิจในระบบกลุ่ม และมุ่งหวังผล กำไรเพื่อนำไปดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มและการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกและชุมชน กิจกรรม เชิงธุรกิจที่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดำเนินการ ได้แก่ ศูนย์สาธิตการตลาดเป็นร้านค้าที่กลุ่มฯ ลงทุนจัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้าอุปโภค บริโภค รวมถึงปัจจัยการผลิตให้ กับสมาชิก ยุ้งฉาง เป็นกิจกรรมที่กลุ่มฯ ลงทุนจัด ขึ้น เพื่อดำเนินการซื้อขายผลผลิตของสมาชิก ด้วยการรับซื้อ ขายฝาก หรือ ฝากขาย ทั้งนี้กลุ่มจะช่วยให้สมาชิกไม่ต้องขายผลผลิตอย่างเร่งด่วน ถูกกดราคา และเป็นการหากำไรให้กับกลุ่มฯ ด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ตั้งกลุ่มดำเนินการ ตามมติของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการของสมาชิกและชุมชน เช่น ปั๊มน้ำมัน เพื่อจัดหาน้ำมันมาบริการแก่สมาชิกและประชาชนในราคายุติธรรม ลานตากผลผลิต เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิต มีความชื้น เช่น ข้าว, มันสำปะหลัง โรงสีข้าว เพื่อแก้ไขปัญหาข้าวเปลือกราคาตกต่ำ โดยแปรรูปเป็น ข้าวสาร และส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์โดยใช้รำและปลายข้าว กองทุนปุ๋ยชีวภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาดิน เสื่อมสภาพ การผลิตน้ำดื่มสะอาด โรงแป้งขนมจีน เป็นการฝึกหัดให้กลุ่มรู้จักดำเนินธุรกิจ   3. ด้านการสงเคราะห์และสวัสดิการ เป็นกิจกรรมที่กลุ่มดำเนินการเพื่อช่วยเหลือ สมาชิกและคนยากจนในชุมชน ได้แก่ ธนาคารข้าว เป็นกิจกรรมที่กลุ่มฯ ดำเนินการเพื่อการสงเคราะห์ ช่วยเหลือโดยการให้กู้ ให้ยืม และให้เปล่า นอกจากนี้กลุ่มฯ นำผลกำไรส่วนหนึ่งจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มาช่วยเหลือ สมาชิกที่เดือดร้อนและคืนสู่ชุมชน เช่น การรักษาพยาบาล ทุนการศึกษาบุตรของสมาชิก ช่วยเหลือ การจัดงานศพสมาชิกการสงเคราะห์คนชรา การพัฒนาหมู่บ้านและบำรุงรักษาสาธารณประโยชน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 1 กลุ่ม เกิดกฎระเบียบกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

 

30 0

27. ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 1

วันที่ 20 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงานพร้อมกัน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมลงพื้นที่ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการ การเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์ โดยแบ่งการลงพื้นที่ ติดตาม ตามโซนรับผิดชอบ จำนวน 5 โซน ดังนี้ 1.โซนมัสยิด 2.โซนบาตัส 3.โซนปอเนาะ 4.โซนโต๊ะฮะ 5.โซนปาวา โดยนางสาวนาดียา เด็งมะระได้แจกแบบติดตามให้กับคณะทำงาน และอธิบายเนื้อหาการติดตาม ดังนี้ ส่วนที่1 ข้อมูลทั้วไปของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนที่2 ข้อมูลด้านการลดรายจ่ายในครัวเรือน ประกอบด้วยข้อมุล ดังนี้ ครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านการเพิ่มรายได้ ประกอบด้วยครัวเรือนมีการปลูกพืชหมุนเวียน ครัวเรือนมีการแปรรุปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านการออม ประกอบด้วย ครัวเรือนมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินในครัวเรือน ครัวเรือนมีการออม เช่นเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ,กลุ่มสัจจะ เป็นต้น ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยข้อมูลครัวเรือนมีการทำบีญชีรายรับ-รายจ่าย ครัวเรือนมีการวางแผนชีวิตหรือ แผนครอบครัว ครัวเรือนรู้จักพอประมาณในการลงทุน การประกอบอาชีพ เป็นต้น จากนั้นคณะทำงานทุกคนลงพื้นที่ติดตามครัวเรือนเป้าหมายตามโซนรับผิดชอบของตนเอง โดยนางสาวนาดียา เด็งมะระ เป็นผู้รวบรวมแบบติดตามฯ และสรุปผลการติดตาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดฐานข้อมูลการติดตาม และประเมินผล การบริหารการเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์

 

30 0

28. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 8

วันที่ 5 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน เข้าร่วมประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 8 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน โดยประธานโครงการฯ นายไซลฮูดิง สาอิ กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงวาระการประชุม ดังนี้ วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ สืบเนื่องจากกิจกรรมที่แล้ว คณะทำได้ลงพื้นที่ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการ การเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 1 สรุปได้ว่า กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน มีการเก็บเงินออมทรัพย์ วันละ 1 บาท ทั้งหมด 27 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 คน กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 มีการปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 3-5 ชนิดต่อครัวเรือนตามข้อตกลงที่วางไว้ และกลุ่มเป้าหมายที่มีการบริหารจัดการหนี้สินในครัวเรือน โดยกลุ่มเป้าหมายสามารถชำระหนี้สินตามกำหนดได้ จำนวน 8 ครัวเรือน เนื่องจากมีการปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือนโดยสารถลดรายจ่ายจากการซื้อ วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับทราบ และรับรองการประชุม วาระที่ 3 พิจารณา นางสาวนาดียา เด็งมะระ ชี้แจงแผนงานกิจกรรมการลงพื้นที่ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการ การเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 2 โดยให้คณะทำงานร่วมกันเสนอความคิดออกแบบแบบติดตามต่อไป โดยสรุปจากการลงพื้นที่ติดตามครั้งที่ 1 และร่วมกันเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ดังนี้ คณะทำงานลงพื้นที่ติดตามครัวเรือนเป้าหมาย ตามคุ้มโซนรับผิดของตนเอง พร้อมถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีแผนงานกิจกรรมติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการ การเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์

 

10 0

29. พัฒนาศักยภาพกลุ่มเพื่อการบริการจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน

วันที่ 10 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวนาดียา เด็งมะระ ได้ประสานเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี โดยส่งหนังสือเชิญวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเพื่อการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน ในวันที่1 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2566  เวลา 09.00 น. กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเพื่อการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน โดยนายไซลฮูดิง  สาอิ ประธานโครงการได้กล่าวเปิดกิจกรรม อธิบายวัตถุประสงค์กิจกรรม มีดังนี้ 1. เพื่อศึกษาเรื่องการสื่อสารกระบวนการนำเวที การเป็นวิทยากร และการบริหารจัดการกลุ่มฯ 2.เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการพัฒนากลุ่มฯ 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเพื่อการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน และได้กล่าวต้อนรับวิทยากร นางสาววิภาวี บุญมี นักวิชาการพัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี จากนั้นวิทยากรได้บรรยาย การพัฒนาศักยภาพกลุ่มเพื่อการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน ดังนี้ 1.ีผู้นำศูนย์ที่ดี : จะต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ มีคณะกรรมการศูนย์ที่มีจริยธรรมและมีการบริหารจัดการที่ดี : ต้องมีกรรมการศูนย์ที่เข้มแข็ง มีความมุ่งมั่น มีคุณธรรม จริยธรรม และบริหารงานโปร่งใส  ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกศูนย์ สมาชิกของศูนย์ต้องมีคุณภาพ มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมเข้ามาร่วมคิด ร่วมดำเนินการ มีกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง : จะต้องมีการจัดการเรียรู้ เพื่อจะได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ตลอดเวลา รวมถึงต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างศูนย์การเรียนรู้อื่นๆเสมอ มีการสร้างระบบการจัดเก็บ และการน ามาใช้ขององค์ความรู้ที่ดี : ต้องมีการจัดเก็บความรู้ ทั้งความรู้ที่มีอยู่ในศูนย์การเรียนรู้ และความรู้จากภายนอกศูนย์การเรียนรู้ นำความรู้ที่มีอยู่มาใช้พัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ  มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งในศูนย์การเรียนรู้และนอกศูนย์การเรียนรู้ : ต้องมีความร่วมมือด้านกิจกรรมวิชาการ องค์ความรู้ต่างๆ มีการจัดการศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายอย่างประสิทธิภาพ ให้เกิดการพัฒนาอย่างเชื่อมโยง ประสานเกี่ยวเนื่องกันครอบคลุมทุกบริบท 2.การสื่อสารกระบวนการนำเวที โดยวิทยากรได้ให้ตัวแทนออกไปข้างหน้าเวทีและนำเสนอสรุปผลจากที่วิทยากรได้อธิบายมา จากนั้นวิทยากรได้อธิบายหลักการที่จะนำเวที และการพูดเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจในเรื่องที่กำลังพูด และฟังจนจบ จากนั้นนางสาวพาตีเมาะ สาและได้กล่าวขอบคุณวิทยากร และกล่าวปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดทักษะการบริหารจัดการชุมชน และศูนย์เรียนรู้ชุมชน

 

30 0

30. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน ว่าด้วยความมั่นคงทางอาหาร ร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน และกลุ่มอาชีพ

วันที่ 14 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวนาดียา เด็งมะระ ประสานเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี โดยส่งหนังสือเชิญวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การบริหารจัดการร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน  และจัดตั้งศุนย์เรียนรู้ชุมชนว่าด้วยความมั่นคงทางอาหาร ร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน ในวันที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น. กลุ่มเป้าหมายพร้อมกันลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม จากนั้นประธานโครงการฯได้ กล่าวเปิดกิจกรรมและกล่าวต้อนรับวิทยากร นางสาววิภาวี บุญมี นักวิชาการพัฒนาชุมชนอำเภอสายบุรี จากนั้นวิทยากรบรรยายเรื่องเสริมความรู้แนวคิดการจัดการบริหารศูนย์เรียรู้ชุมชน จากนั้นอธิบายระเบียบการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ และปฏิบัติตาม จากนั้น กลุ่มเป้าหมายทุกคนยอมรับระเบียบการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ จากนั้นคณะทำงานทุกคนร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ ดังนี้ ประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ รองประธาน นางสาวสารีพ๊ะ ดอนิ เลขานุการ นางสาวพาตีเมาะ สาและ เหรัญญิก นางคอลีเยาะ วานิ ผู้ช่วยเหรัญญิก นางสาวคอลีเย๊าะ เจ๊ะแม ประชาสัมพันธ์ นางสาวหาซือน๊ะ หะมะ และนางสาวอาณีซ๊ะ วาเต๊ะ กรรมการ นางสาวพาตีเมาะ อีแต และนางสาวลาตีพ๊ะ สาแม็งกือเต๊ะ จากนั้นประธานโครงการกล่าวสรุปกิจกรรมและกล่าวปิดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดสูนย์เรียนรู้ชุมชน 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การบริหารจัดการร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน และกลุ่มอาชีพ

 

30 0

31. ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 2

วันที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงานพร้อมกัน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมลงพื้นที่ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการ การเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์ โดยแบ่งการลงพื้นที่ ติดตาม ตามโซนรับผิดชอบ จำนวน 5 โซน ดังนี้ 1.โซนมัสยิด 2.โซนบาตัส 3.โซนปอเนาะ 4.โซนโต๊ะฮะ 5.โซนปาวา โดยนางสาวนาดียา เด็งมะระได้แจกแบบติดตามให้กับคณะทำงาน และอธิบายเนื้อหาการติดตาม ดังนี้ ส่วนที่1 ข้อมูลทั้วไปของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนที่2 ข้อมูลด้านการลดรายจ่ายในครัวเรือน ประกอบด้วยข้อมุล ดังนี้ ครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านการเพิ่มรายได้ ประกอบด้วยครัวเรือนมีการปลูกพืชหมุนเวียน ครัวเรือนมีการแปรรุปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านการออม ประกอบด้วย ครัวเรือนมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินในครัวเรือน ครัวเรือนมีการออม เช่นเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ,กลุ่มสัจจะ เป็นต้น ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยข้อมูลครัวเรือนมีการทำบีญชีรายรับ-รายจ่าย ครัวเรือนมีการวางแผนชีวิตหรือ แผนครอบครัว ครัวเรือนรู้จักพอประมาณในการลงทุน การประกอบอาชีพ เป็นต้น จากนั้นคณะทำงานทุกคนลงพื้นที่ติดตามครัวเรือนเป้าหมายตามโซนรับผิดชอบของตนเอง โดยนางสาวนาดียา เด็งมะระ เป็นผู้รวบรวมแบบติดตามฯ และสรุปผลการติดตาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดชุดฐานข้อมูลติดตาม และประเมินผลการบริหารการเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์

 

30 0

32. ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 3

วันที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน 10 คน นัดหมายรวมตัว ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเตรียมตัวลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้น นางสาวนาดียา เด็งมะระ ได้อธฺิบายการสำรวจตามแบบสำรวจทบทวนทำความเข้าใจเนื้อหาในแบบสำรวจต่อคณะทำงานก่อนลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นแบ่งคณะทำงานตามโซนรับผิดชอบที่ได้จัดตั้งไว้ และลงพื้นที่สำรวจตามครัวเรือนเป้าหมายตามโซนรับผิดชอบของตนเอง โดยมีนางสาวพาตีเมาะ สาและ เป็นผู้รวบรวมเอกสารแบบสำรวจ รายได้ รายจ่าย หนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย และการทำบัญชีครัวเรือน และส่งมอบเอกสารต่อให้นางสาวนาดียา เด็งมะระเพื่อทำการสรุปแบบสำรวจจากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย หนี้สินในครัวเรือน และการทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ น้อยกว่า 5,000 ทั้งสิ้น 11 ครัวเรือนที่มี รายได้ 5000 – 7999 ทั้งสิ้น 5 ครัวเรือนที่มีรายได้ 8000 – 11999 ทั้งสิ้น 6 ครัวเรือน และครัวเรือนที่มีรายได้ 12000-15000 ทั้งสิ้น 6 โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงานหลัก ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 6133.3 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 2733 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งค่าใช้จ่ายหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบสูงสุด รองลงมาเป็นค่าเครื่องใช่ภายในบ้านเฉลี่ย 2260.3 บาทต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทาง และยางพาหนะเฉลี่ย 1140 บาทต่อครัวเรือน ครัวเรือนเป้าหมายเกือบครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 2416.66 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนเฉลี่ยเดือนละ 1750.33 บาทต่อครัวเรือน หนี้เพื่อใช้ในการศึกษาเฉลี่ยเดือนละ 200 บาทต่อครัวเรือน หนี้เพื่อใช้ทำการเกษตรเฉลี่ยเดือนละ 250 บาทต่อครัวเรือน และหนี้เพื่อใช้ในการลงทุนและอื่นๆเฉลี่ยเดือนละ 186.33 บาทต่อครัวเรือน และครัวเป้าหมาย 30 ครัวเรือนมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน บางครั้ง บางครา จำนวน 16 ครัวเรือน และไม่มีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน จำนวน 14 ครัวเรือน จากการสำรวจพบว่าครัวที่มีการบันทึกบางครั้ง บางครา เนื่องจากมีความเครียดจากการบันทึกรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่บันทึกบัญชีครัวเรือน เนื่องจาก เขียนตัวหนังสือไม่เป็น และลูกหลานไม่ทำให้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดชุดฐานข้อมูลรายได้ รายจ่าย หนี้สิน และการทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน

 

30 0

33. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 9

วันที่ 5 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน ทุกคนเข้าร่วมประชุม ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ และเลขานุการ น.ส.พาตีเมาะ สาและ กล่าวเปิดการประชุมจากนั้นชี้แจงวาระการประชุมดังนี้ วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งเพื่อทราบ สืบเนื่องจากกิจกรรมที่แล้ว สรุปจากการลงพื้นที่ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการ การเงินในครัวเรือน ครั้งที่ 2 ที่ผ่านมาสรุปดังนี้ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 คน มีรายได้ เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 550 ต่อครัวเรือนรายจ่ายในครัวลดลงจากเดิมร้อยละ 2860 ต่อครัวเรือน หนี้สินสามารถชำระหนี้สินตามกำหนดได้ตรงต่อเวลาจำนวน 12 ครัวเรือน และมีการบันทึกบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 50% ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีการบันทึกบัญชีรายรับ รายจ่ายในครัวเรือน ครัวเรือนมีการออมเงินจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต วันละ 1 บาทจำนวน 27 คน ครัวเรือนเป้าหมายมีการปลูกพืชผักสวนครัว 3-5 ชนิดขึ้นไป จำนวน 27 ครัวเรือน และครัวเรือนเป้หมายเป้าหมายมีการแปรรูปอาหารกินเองในครัวเรือนโดยนำผลผลิตที่ได้จากการปลูกพืชผักสวนครัว เช่น การทำเครื่องแกงกินเอง วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับบทราบ และรับรองการการประชุม วาระที่ 3 พิจารณา น.ส.นาดียา เด็งมะระ ชี้แจงกระบวนการแผนงานศึดษาดูงาน ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำพริกบ้านท่าด่าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี โดยวางแผนงาน ดังนี้ 1. คณะทำงาน และกลุ่มเป้าหมายทุกคน พร้อมกันที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เวลา 08.00 น. 2.คณะทำงานทุกคนร่วมเสนอกำหนดหัวข้อเพื่อเตรียมซักถามวิทยากร 3. นางสาวนาดียา เด็งมะระรับผิดชอบประสานยานพาหนะในการใช้เดินทางไป ทุกคนรับทราบ และเห็นด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนงานกิจกรรมต่อไป

 

10 0

34. ศึกษาดูงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน การทำน้ำพริก

วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 08.30 น. ทีมงานพร้อมออกเดินทางไปยังสถานที่ศึกษาดูงาน ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำพริกบ้านท่าด่าน โดย นายนิราศ บุญหลง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนำ้พริกบ้านท่าด่านได้กล่าวต้อนรับคณะทีมทุกคน และแนะนำสมาชิกกลุ่มฯทุกคน จากนั้นประธานได้อธิบายประวัติความเป็นมาการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำพริกบ้านท่าด่าน โดยจุดเริ่มต้นของกลุ่มเกิดการรวมกลุ่มของแม่บ้านที่ว่างงานในชุมชนเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างกลุ่มให้อยู่ได้นาน โดยแนะนำว่าทีมงานทุกคนต้องมีใจรักในงานที่จะทำ โดยประธานกลุ่มต้องมีความอดทน มุ่งมั้นที่จะทำ และต้องมีความเสียสละ จากนั้น ประธานได้ส่งมอบให้กับรองประธานกลุ่มฯ เพื่ออธิบายต่อเกี่ยยวการเตรียมวัตถุดิบ การเลือกวัตถุดิบในการทำพริกแกง ดังนี้ การเลือกตะไคร้ควรเลือกตะไคร้ที่มีก้านอวบและหั่นตะไคร้ให้หั่นให้ถึงท่อนก้าน เพื่อให้เครื่องมีกลิ่นหอมสมุนไพร และวัตถุอื่นๆทุกอย่างนำไปตากแห้ง เอาส่วนผสมของน้ำในวัตถุดิบออกก่อน เพื่อไม่ให้เครื่องแกงเกิดรา และเสียง่าย โดยรองธานกลุ่มฯ ได้ให้คำแนะนำเกียวกับทำครั้งแรก ให้ทดลองวางเครื่องแกงที่ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้วางไว้ในตู้เย็น 1 ชุด วางไว้ด้านนอก 1 ชุด เพื่อทดสอบระยะเวลาการเก็บรักษา จากนั้นได้อธิบายวิธีการทำบัญชีออมทรัพย์กลุ่ม และการบริหารงานของกลุ่ม โดยสมาชิกทุกคนก่อนทำงานให้ลงชื่อเวลาเข้าทำงาน และเวลาเลิกงาน เพื่อทำการจ่ายค่าจ้าง โดยประธานกลุ่มจะให้ค่าจ้างสมาชิกที่มาทำงาน ร้อยละ 30 หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกลุ่่ม จากนั้นสมาชิกพาเดิรชมกระบวนการผลิต และการคัดเลือกวัตถุดิบ และเปิดให้ถามข้อสงสัย จากนั้นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำพริกบ้านท่าด่านสรุป และตัวแทนออกกล่าวขอบคุณกลุ่มวิสาหกิจชุมนกลุ่มน้ำพริกบ้านท่าด่าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารกลุ่ม และการทำพริกแกงต่างๆ

 

30 0

35. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 10

วันที่ 5 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน ทุกคนเข้าร่วมประชุม ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ กล่าวเปิดการประชุมจากนั้นชี้แจงวาระการประชุมดังนี้ วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งเพื่อทราบ สืบเนื่องจากกิจกรรมที่แล้ว ศึกษาดูงาน ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำพริกบ้านท่าด่าน โดยประธานได้สรุปกิจกรรม และเสนอแนวทางการพัฒนากลุ่มน้ำพริกบ้านลูโบ๊ะซูลง ดังนี้ คณะทำงาน และกลุ่มเป้าหมานต้องปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพร เพื่อกินเหลือขาย โดยกลุ่่มจะรับซื้อเพื่อนำมาแปรรูอาหาร 2.กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาทำงานให้มีการลงทะเบียนเวลาเข้าทำงาน และเวลาออกทำงาน เพื่อคำนวนค่าตอบแทน 3.กลุ่มต้องมีการผลิต และวางจำหน่ายอย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับบทราบ และรับรองการการประชุม วาระที่ 3 พิจารณา น.ส.นาดียา เด็งมะระ ชี้แจงการวางแผนงานกิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน ว่าด้วยความมั่นคงทางอาหาร ร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน และกลุ่มอาชีพนำ้พริก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดแผนงานกิจกรรมต่อไป

 

10 0

36. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 11

วันที่ 16 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน ทุกคนเข้าร่วมประชุม ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ กล่าวเปิดการประชุมจากนั้นชี้แจงวาระการประชุมดังนี้ วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งเพื่อทราบ สืบเนื่องจากกิจกรรมที่แล้ว ศึกษาดูงาน ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำพริกบ้านท่าด่าน โดยประธานได้สรุปกิจกรรม และเสนอแนวทางการพัฒนากลุ่มน้ำพริกบ้านลูโบ๊ะซูลง ดังนี้ คณะทำงาน และกลุ่มเป้าหมานต้องปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพร เพื่อกินเหลือขาย โดยกลุ่่มจะรับซื้อเพื่อนำมาแปรรูอาหาร 2.กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาทำงานให้มีการลงทะเบียนเวลาเข้าทำงาน และเวลาออกทำงาน เพื่อคำนวนค่าตอบแทน 3.กลุ่มต้องมีการผลิต และวางจำหน่ายอย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับบทราบ และรับรองการการประชุม วาระที่ 3 พิจารณา น.ส.นาดียา เด็งมะระ ชี้แจงการวางแผนงานกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน พร้อมคืนข้อมูลให้กับชุมชน โดยคณะทำงานทุกคนร่วมเสนอความคิดการจัดกิจกรรม และวางบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน ดังนี้ กำหนดหัวข้อสรุปการดำเนินงานตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ กำหนดแนวมางการพัฒนากลุ่มต่อไป โดยให้ประธานโครงการฯ นายไซลฮูดิง สาอิเป็นผู้กล่าวเปิดกิจกรรม และดำเนินเรื่องโดยนางสาวพาตีเมาะ สาและ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดบทบาทหน้าที่ในการดำเนอนกิจกรรม เกืดแผนงานกิจกรรมต่อไป

 

10 0

37. สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียนพร้อมคืนข้อมูลสู่ชุมชน

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

นางสาวนาดียา เด็งมะระ ได้นัดหมายกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน เวลา 09.00 น. กลุ่มเป้าหมายทุกคนพร้อมกัน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยประธานกล่าวต้อนรับ และชี้แจงกิจกรรมคร่าว จากนั้นนางสาวนาดียา เด็งมะระได้ทำการสรุปกิจกรรมที่ผ่านมา
บันไดผลลัพธ์1.เกิดคณะทำงานและมีความเข้าใจโครงการ ผลที่เกิดขึ้นเกิดคณะทำงานและกลุ่มเปราะบาง จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 ชุด ดังนี้
ชุดที่ 1 คณะทำงานบริหารจัดการ จำนวน10 คน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้าง 1.ประธาน 2.รองประธาน 3. เลขานุการ / ทะเบียน 4.เหรัญญิก 5. ผู้บันทึกข้อมูล 6.ฝ่ายสวัสดิการ 7. ฝ่ายพื้นที่ 8.ฝ่ายสถานที่ 9.ฝ่ายประสานงาน /บริหารจัดการทั่วไป 10.ฝ่ายโสต ชุดที่ 2 คณะทำงานดำเนินการ จำนวน 20 คน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้าง 1.ประธาน 2.รองประธาน 3. เหรัญญิก 4. ประสานงาน 5.สวัสดิการ คณะทำงานจัดประชุมประจำเดือนเพื่อกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกันเกิดจากการประชุมคณะกรรมการ จำนวน  3 ข้อ ดังนี้ 1.แผนงาน 1.1. สมาชิกต้องเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้องเดือนละ 1 ครั้ง 1.2. สมาชิกมาช้าได้ไม่เกิน 10 นาที ปรับครั้งละ 1 [km 1.3. ห้ามสูบบุหรี่เวลาดำเนินกิจกรรม 1.4. ห้ามเล่นโทรศัพท์แบบไร้สาระ เน้นทุกคนต้องพูด 2.แผนปลูก 2.1. ปลูกอย่างน้อย 3-5 ชนิด 2.2. เน้นปลูกผักเพื่อบริโภค จำหน่ายเสริมรายได้ 2.3. ปลูกผักแบบผสมผสาน 2.4. ปลูกแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี 3. แผนออม 3.1. สมาชิกเก็บออมวันละ 1 บาท เก็บแบบรายเดือน / รายสัปดาห์ ( 10 วันครั้ง หรือเดือนละ 1 ) ผู้เก็บเงิน คือ เหรัญญิก และมีสมุดจดบันทึก คณะทำงานมีการจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมกับพี่เลี้ยงตั้งแต่เริ่มเขียนโครงการและทบทวนแผนการดำเนินโครงการในเวทีปฐมนิเทศจัดแผนการดำเนินงานสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหาร เพื่อจัดบริหารการเงินในพื้นที่ชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลงตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566 จำนวน 1 แผน จำนวน 1 แผน คณะทำงานการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรายได้และหนี้สินในครัวเรือนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท รายได้ และหนี้สินสรุปดังนี้ จากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ 5000 – 10000 ทั้งสิ้น 8 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 7802.5 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 10000 – 15000 ทั้งสิ้น 17 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 12097.64 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 15000 – 20000 ทั้งสิ้น 5 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 17448 บาทต่อครัวเรือน โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงานหลักเฉลี่ย 27000 บาทต่อครัวเรือน กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจเฉลี่ย 7319 บาทต่อครัวเรือน และรายได้จากการทำการเกษตรเฉลี่ย 2297 บาทต่อครัวเรือน และรายได้ที่ไม่เกิดจากการทำงาน เช่น รายได้จากเงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหรือบุคคลอื่นที่นอกครัวเรือนเฉลี่ย 5250 บาทต่อครัวเรือน และส่วนรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งอยู่ในรูปสวัสดิการ/สินค้า บริการต่างๆ ที่ได้มาโดยไม่ต้องซื้อ เฉลี่ย 4798 บาทต่อครัวเรือน ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 9498.3 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 6178 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งค่าใช้จ่ายหมวดอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบสูงสุด รองลงมาเป็นค่าเครื่องใช่ภายในบ้านเฉลี่ย 2260.3 บาทต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวการเดินทาง และยางพาหนะเฉลี่ย 1060 บาทต่อครัวเรือน
ครัวเรือนเป้าหมายเกือบครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย766.66 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนเฉลี่ยเดือนละ 390 บาทต่อครัวเรือน ประกอบไปด้วยหนี้สินเพื่อใช่จ่ายในการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยเดือนละ 190 บาทต่อครัวเรือน หนี้เพื่อใช้ในการศึกษาเฉลี่ยเดือนละ 200 บาทต่อครัวเรือน หนี้เพื่อใช้ทำการเกษตรเฉลี่ยเดือนละ 300 บาทต่อครัวเรือน และหนี้เพื่อใช่ในการลงทุนและอื่นๆเฉลี่ยเดือนละ 77.66 บาทต่อครัวเรือน
ผลลัพธ์ที่2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่เกิดกลุ่มเป้าหมาย30 คน มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือนจากการอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือน มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนทั้ง30คน เข้าใจการวางแผนการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือน มีกลุ่มเป้าหมาย30คนมีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมจากการเก็บข้อมูลรายได้ รายจ่าย หนี้สิน นำมาวิเคราะห์ ประเมินผล คืนข้อมูลรายได้ รายจ่าย หนี้สิน ผลลัพธ์ที่3 .เกิดเครื่องมือกลไก การบริหารจัดการกลุ่ม ผลลัพธ์ที่เกิดมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่เกิดการดำเนินงานโครงการ 1 กลุ่มตามแผนออม สมาชิกเก็บออมวันละ 1 บาท เก็บแบบรายเดือน / รายสัปดาห์ ( 10 วันครั้ง หรือเดือนละ 1 ) เดือนละ 30 บาทหรือสัปดาห์ละ10 บาทผู้เก็บเงิน คือ เหรัญญิก และมีสมุดจดบันทึกรายคน กฎระเบียบการจัดการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนตามแผนออม ดังนี้ สมาชิกเก็บออมวันละ 1 บาท เก็บแบบรายเดือน / รายสัปดาห์ ( 10 วันครั้ง หรือเดือนละ 1 ) เดือนละ 30 บาทหรือสัปดาห์ละ10 บาทผู้เก็บเงิน คือ เหรัญญิก และมีสมุดจดบันทึกรายคน กลุ่มเป้าหมาย30คนสมาชิกเก็บออมวันละ 1 บาท เก็บแบบรายเดือน / รายสัปดาห์ ( 10 วันครั้ง หรือเดือนละ 1 ) เดือนละ 30 บาทหรือสัปดาห์ละ10 บาทผู้เก็บเงิน คือ เหรัญญิก และมีสมุดจดบันทึกรายคน กลุ่มเป้าหมาย30คนมีทักษะการบริหารจัดการหนี้สินในครัวเรือน โดยการลดรายจ่ายด้วยการปลูกผักกินเอง ทำเครื่องเองลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เรียนรู้กระบวนการทำบัญชีครัวเรือน แยกคำว่าจำเป็น ต้องการทำให้สามารถลดหนี้สินลดน้อยลง จ่ายตามเวลา
ผลลัพธ์ที่4.เกิดระบบความมั่นคงทางอาหารในชุมชน ผลที่เกิดกลุ่มเป้าหมาย30คน มีการปลูกผักบริโภค และจำหน่ายมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผักที่ปลูกบริโภค และมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเงินตนเองทำให้สามารถลดหนี้สินลดน้อยลง จ่ายตามเวลา สรุปปัญหา อุปสรรคจากการดำเนินกิจกรรมตอดทั้งปี และเปิดตัวผลิตภัณฑืที่เกิดขึ้นจากกลุ่มออมทรัพธ์ ทั้งเก่า และผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับรู้เกี่ยวการดำเนินงาน จากนั้นคณะทำงาน และกลุ่มเป้าทุกคนร่วมกันถอดบทเรียนจากสมาชิกกลุ่มที่ยังไม่เข้าร่วมกลุ่มออมทรัพย์ และเชิญชวนให้เข้าร่วมกลุ่มออมทรัพธ์ฯ และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาในอนาคต โดยการกำหนดวิธีการหาช่องทางการตลาดเพื่อขายสินค้าให้เกิดรายได้ต่อไปให้กับกลุุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดระบบความมั่นคงทางอาหารในชุมชน เกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 1 กลุ่ม เกิดแผนการเป้าหมายในอนาคต

 

30 0

38. ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 3

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงานพร้อมกัน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมลงพื้นที่ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการ การเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์ โดยแบ่งการลงพื้นที่ ติดตาม ตามโซนรับผิดชอบ จำนวน 5 โซน ดังนี้ 1.โซนมัสยิด 2.โซนบาตัส 3.โซนปอเนาะ 4.โซนโต๊ะฮะ 5.โซนปาวา โดยนางสาวนาดียา เด็งมะระได้แจกแบบติดตามให้กับคณะทำงาน และอธิบายเนื้อหาการติดตาม ดังนี้ ส่วนที่1 ข้อมูลทั้วไปของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนที่2 ข้อมูลด้านการลดรายจ่ายในครัวเรือน ประกอบด้วยข้อมุล ดังนี้ ครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านการเพิ่มรายได้ ประกอบด้วยครัวเรือนมีการปลูกพืชหมุนเวียน ครัวเรือนมีการแปรรุปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านการออม ประกอบด้วย ครัวเรือนมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินในครัวเรือน ครัวเรือนมีการออม เช่นเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ,กลุ่มสัจจะ เป็นต้น ส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยข้อมูลครัวเรือนมีการทำบีญชีรายรับ-รายจ่าย ครัวเรือนมีการวางแผนชีวิตหรือ แผนครอบครัว ครัวเรือนรู้จักพอประมาณในการลงทุน การประกอบอาชีพ เป็นต้น จากนั้นคณะทำงานทุกคนลงพื้นที่ติดตามครัวเรือนเป้าหมายตามโซนรับผิดชอบของตนเอง โดยนางสาวนาดียา เด็งมะระ เป็นผู้รวบรวมแบบติดตามฯ และสรุปผลการติดตาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดชุดฐานข้อมูลติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดกการ การเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์

 

10 0

39. ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 12

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน ทุกคนเข้าร่วมประชุม ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยประธาน นายไซลฮูดิง สาอิ กล่าวเปิดการประชุมจากนั้นชี้แจงวาระการประชุมดังนี้ วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งเพื่อทราบ สืบเนื่องจากกิจกรรมที่แล้ว สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียน พร้อมคืนข้อมูลให้กับชุมชน โดยประธานได้สรุปกิจกรรม และเสนอแนวทางการพัฒนากลุ่มน้ำพริกบ้านลูโบ๊ะซูลงต่อไป วาระที่ 2 คณะทำงานทุกคนรับรองการประชุม วาระที่ 3 พิจารณา นางสาวพาตีเมาะ สาและ ได้ชี้แจงการลงพื้นที่ของพี่เลี้ยงในการ สรุปผลการดำเนอนงานครั้งที่ 2 (ARE.2) โดยสร้างผังใยแมงมุม และคลี่กิจกรรมใหม่เพื่อสรุปผลการดำเนินงานสรุปงบประมาณการสนับสนุนจากหน่วยจัดการ100,000บาท แบ่ง3งวด งวดที่1จำนวน65,000บาท งวดที่2ได้รับ25,000 บาทและงวดที่3ตั้งเบิกสรุปรายงานจำนวน10,000 บาท และสรุปผลการดำเนินงานงบประมาณ1.บริหารจัดการที่ สสส. สนับสนุน 10,000.00
2. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน 12 เดือน3. ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลรายได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 3 ระยะ (ก่อนเริ่ม - ระหว่าง -สิ้นสุดโครงการกิจกรรม4.จัดตั้งกลุ่มออมเพื่อการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน 5.ศักยภาพกลุ่ม ฯ 6.ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย7ศึกษาดูงานการแปรรุปอาหาร 8สรุปผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดบทบาทหน้าที่คณะทำงาน

 

10 0

40. ติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE.2

วันที่ 27 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน จำนวน 10 คน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล และทีมงานผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3, 6, 9 เข้าร่วมประชุมติดตามการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา ARE2. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน โดยประธานนายไซลฮูดิง สาอิ กล่าวต้อนรับพี่เลี้ยง นางกัลยา เอี่ยวสกุล แจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล และทีมงานผู้ใหญ่บ้านทุกคน จากนั้นพี่เลี้ยงได้ร่วมถอดบทเรียนการดำเนินงานจากกิจกรรมที่ผ่านโดยสอบถามคณะทำงานในที่ประชุมถึงบันไดผลลัพธ์กิจกกรม เกิดคณะทำงาน โครงการ จำนวน 2 ชุด ชุดบริหาร และชุดดำเนินการ เกิดกติการ่มกัน 3 ข้อ 1.ด้านแผนงาน 2. ด้านการปลูก 3. ด้านการออม ของกลุ่มเป้หมาย การฏิบัติตามแผนงาน มีดังนี้ มีการประชุมชีแจงโครงการ และประชุมประจำเดือนทุกเดือนตามกำหนดการ การสำรวจข้อมูล ดังนี้ มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ระยะที่ 2 และระยะที่3 การติดตามประเมินผลการบริหารจัดการการเงินในครัวเรือน และกลุุ่มออมทรัพย์ฯ และการลงรายงานในระบบ ดังนี้ มีการรายงานเป็นปัจจุบันแต่ไม่สมบูรณ์ เอกสารการเบิกจ่าย มีครบทุกกิจกรรม  ปัญหารและอุปสรรค ทีพบ มีดังนี้ การนัดหมายของกลุ่มเป้าหมายมีการล่าช้า กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรม คณะทำงานมีการลงพื้นที่ติดตามประเมินผลและแก้ปัญหาให้คำแนะนำแก่กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายในครัวเรือน จากนั้นพี่เลี้ยงสรุปการถอดบทเรียนโครงการฯ โดยสร้างใยแมงมุน และให้คะแนนผลประเมินกิจกรรมโครงการฯ ดังนี้ บทบาท แผนงานชัดเจน การสื่อประชาสัมพันธ์ ความรู้ของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น โดยสรุปคะแนนโดยรวมอยู่ระดับดีมาก ที่ 5 คะแนน จากนั้นพี่เลี้ยงได้แนะนำแนวทางการพัฒนาโครงการฯต่อไป ดังนี้ คณะทำงานต้องมีส่วนร่วมและทำการสรุป และติดตามการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง  จากนั้นประธานโครงฯกล่าวปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดผลการประการเมินกิจกรรมโครงการ และแนวทางการพัฒนาต่อไป

 

10 0

41. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ และบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วลา 12.00 น. ผู้เข้าร่วมพร้อมกันที่ห้องประชุมโรงแรมซาวท์เทิร์นแอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ เพื่อเตรียมความพร้อมจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากชุมจากนั้น เวลา 13.00 น.พิธีกรกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมทุกคน และเริ่มการไลฟ์สด นำเสนอสินค้าชุมชน และการดำเนินกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ โดยวิทยากรเดินชมสินค้าชุมชนครบทุกบูท ประธานโครงการกล่าวชี้แจงกำหนดการกิจกรรมคร่าวๆ จากนั้น แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมตามพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบโครงการ จากนั้นทำการถอดบทเรียนผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา โดยพี่เลี้ยงสอบถามในประเด็นหัวเรื่อง ดังนี้ ลักษณะพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ และการเงิน แหล่งอาหารที่เกิดขึ้นในชุมชน ทรัพยากรที่มีในชุมชน กลุ่มอาชีพที่เกิดขึ้นในชุมชน รุปแบบสื่อที่ใช้ส่งเสริมอาชีพ จำรายได้ที่เพิ่มขึ้น จำนวนรายจ่ายที่ลดลง และการออม  โดยให้ผู้เข้าร่วมเขียนในโน๊ตแล้วไปแปะที่กระดาษ จากนั้นพี่เลี้ยงทำการสรุปผลจากกระดาษโพสอิกที่ผู้เข้าร่วมไปแปะไว้ โดยการสรุปในรุปแบบภาพรวม จากนั้น พี่เลี้ยงแต่ละคนนำเสนอผลสรุปจากการถอดบทเรียนโครงการร่วมกัน  ช่วงที่ 2 พิธีกรกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และร่วมรับประทานอาหารปาร์ตี้สร้างสรร วันที่ 2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมกัน ณ ห้องประชุม เวลา 09.00 น. วิทยากรได้ต้อนรับ และให้ผู้เข้าร่วมแบ่งกลุ่มถอดบทเรีบผลลัพธ์ ในประเด็นหัวข้อ การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการสนับสนุนควรมีแนวทางอย่างไร แกนนำควรได้รับการพัมนาทักษะเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้ขับเคลื่อนงานได้บรรลุผลลัพธ์ การจัดการข้อมูลตามบันไดผลลัพธ์ มีวิธีการเก็บ การตรวจสอบความถูกต้อง และการเอาข้อมูลไปใช้อย่างไร การทำงานร่วมกับทีมสนับสนุนมีแนวทางอย่างไร และความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยง จากหน่วยจัดการ และภาคีระดับพื้นที่อย่างไร โดยให้ผู้เข้าร่วมเขียนในโน๊ตแล้วไปแปะที่กระดาษ  และส่งตัวแทนจังหวัดเพื่อสรุปการถอดบทเรียน จากนั้นส่งมอบให้พิธีกรสันทนาการผู้เข้าร่มและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมถามข้อสงสัย จากนั้นประธานโครงการกล่าวสรุปกิจกรรมและขอขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกคน และกล่าวปิดพิธี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดผลลัพธืที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในพื้นที่ และเกิดผลิตภัณฑ์ชุมชน 1 ผลิตภัณฑ์

 

3 0

42. ถอนเงินในบัญชี

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวลา 09.00 น. นายไซลฮูดิง สาอิ ประธานโครงการ นางสาวพาตีเมาะ สาและ และ นางสาวรอซีด๊ะ สามะ ได้นัดหมายไปถอนเงินฝากเปิดบัญชี ณ ธนาคารกรุงไทย สาขาปัตตานี จำนวนเงิน 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับชอบโครงการ คณะทำงานถอนเงินเปิดบัญชี

 

3 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มสมาชิกและชุมชนมีระบบการจัดการอาหารที่ดี และปลอดภัยในการบริโภค 2.เกิดระบบความมั่นคงทางอาหารชุมชนด้านการเพาะปลูก

 

2 2.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการการเงินและหนี้สินของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 จัดทำบัญชีครัวเรือน 2.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 บริหารจัดการการเงินอย่างเป็นระบบ รายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง

 

3 3.เพื่อจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในการแปรรูปอาหาร ของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง
ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตแปรรูปพืชสมุนไพร สามารถผลิตเครื่องแกง ออกจำหน่ายอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน (2) 2.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการการเงินและหนี้สินของชุมชน (3) 3.เพื่อจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในการแปรรูปอาหาร ของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) งบประมาณบริหารจัดการที่ สสส. สนับสนุน (2) ประชุมคณะทำงานประจำเดือน 12  เดือน (3) ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลรายได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 3  ระยะ  (ก่อนเริ่ม - ระหว่าง -สิ้นสุดโครงการ) (4) กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มออมเพื่อการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน (5) พัฒนาศักยภาพกลุ่มฯ (6) ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ (7) ศึกษาดูงานการแปรรุปอาหาร (8) สรุปผลการดำเนินงาน (9) ถอนเงินในบัญชี (10) ปฐมนิเทศโครงการ (11) ค่าป้ายไวนิลโครงการ (12) ค่าตราปั้มโครงการ (13) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 1 (14) ประชุมชี้แจงโครงการเพื่อทำความเข้าใจต่อกลุ่มเป้าหมาย (15) พี่เลี้ยงคลี่โครงการฯ (16) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 2 (17) ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 1 (18) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 3 (19) กิจกรรมการแปรรูปอาหารปลอดภัย “น้ำพริกชุมชน” ผลิตภัณฑ์ชุมชน  (เช้า-บ่าย) (20) อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (21) กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักผสมผสานในครัวเรือน (22) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 4 (23) กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงินและหนี้สินในครัวเรือน (24) กิจกรรมจัดบัญชีครัวเรือน (25) ติดตามการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา ARE1. (26) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5 (27) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน (28) พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร (29) พี่เลี้ยงตรวจเอกสาร ครั้งที่ 2 (30) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มออมทรัพย์ (31) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 6 (32) ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 2 (33) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 7 (34) จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการการผลิตเพื่อการรับมือสถานการณ์การเงินในครัวเรือน (35) ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 1 (36) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 8 (37) ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 2 (38) ติดตามและประเมินผล การบริหารจัดการเงินในครัวเรือนและกลุ่มออมทรัพย์ ครั้งที่ 3 (39) พัฒนาศักยภาพกลุ่มเพื่อการบริการจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน (40) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน ว่าด้วยความมั่นคงทางอาหาร ร้านค้าลอยฟ้าสินค้าเพื่อชุมชน และกลุ่มอาชีพ (41) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 9 (42) ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลได้และหนี้สินในครัวเรือนเป้าหมาย ระยะที่ 3 (43) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 10 (44) ศึกษาดูงานการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน การทำน้ำพริก (45) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 11 (46) สรุปผลการดำเนินงาน และถอดบทเรียนพร้อมคืนข้อมูลสู่ชุมชน (47) ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 12 (48) ติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE.2 (49) เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์ และบทเรียนการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการการเงินกลุ่มเปราะบางในชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-10018-18

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายไซลฮูดิง สาอิ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด