directions_run

โครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหารในเขตเมืองชุมชนคลองน้ำเจ็ด

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหารในเขตเมืองชุมชนคลองน้ำเจ็ด
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-02
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2022 - 31 สิงหาคม 2023
งบประมาณ 79,950.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนคลองน้ำเจ็ด
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำนงค์ ชิตแก้ว
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 082-4202045
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Janork07@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนคลองน้ำเจ็ด
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ก.ย. 2022 28 ก.พ. 2023 50,000.00
2 1 มี.ค. 2023 30 มิ.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 25,000.00
3 1 ก.ค. 2023 31 ส.ค. 2023 4,950.00
รวมงบประมาณ 79,950.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ค่อนข้างรุนแรงในระยะที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยผลกระทบนั้นแผ่กระจายในวงกว้างกับคนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพ่อค้าแม่ค

จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ค่อนข้างรุนแรงในระยะที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยผลกระทบนั้นแผ่กระจายในวงกว้างกับคนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย จากรายงานสรุปสถิติข้อมูลล่าสุด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก มกราคม 2565 - วันที่ 27 เมษายน 2565 พบผู้ติดเชื้อสะสม 9,650 ราย รักษาหายแล้ว 9,451 ราย อยู่ระหว่างรักษา 137 ราย มีผู้เสียชีวิต สะสม 62 ราย และปัจจุบันยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาครัฐต้องกำหนดมาตรการต่างๆ อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายในเขตเทศบาลนครตรัง เนื่องจากมาตรการที่เข้มงวดส่งผลให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค มีการสั่งซื้อสินค้า สั่งอาหาร แบบออนไลน์ส่งถึงบ้าน มีการออกมาจับจ่ายใช้สอยตามร้านค้าต่างๆ ค่อนข้างน้อย ส่งผลกระทบกับรายได้ของพ่อค้าแม่ค้าในตลาด ที่มีไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดหนี้สินครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครตรัง (กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครตรัง, 2565) จากการประเมินข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 พบว่าพื้นที่ตัวเมืองในเขตเทศบาลนครตรัง ได้รับผลกระทบสูงที่สุด เนื่องจากเป็นจุดศูนย์กลางที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ และเป็นศูนย์กลางการค้า การบริการ และธุรกิจต่างๆ จำนวนมาก เทศบาลนครตรังเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ มีประชากร 56,893 คน แบ่งออกเป็น 4 เขต มีชุมชนทั้งสิ้น 42 ชุมชน (เมษายน, 2565) ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาล ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย และทำธุรกิจหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังพบว่า การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ยังส่งผลกระทบกับการจ้างงานของสถานประกอบการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานประกอบการณ์ในแหล่งท่องเที่ยวหลักของภาคใต้ เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ซึ่งมีประชาชนในจังหวัดตรังไปทำงานเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้ถูกเลิกจ้างเดินทางกลับภูมิลำเนามาใช้ชีวิตช่วงตกงานในพื้นที่เทศบาลนครตรัง กลายเป็นภาระของครอบครัวที่ต้องดูแลกลุ่มคนดังกล่าว จากสถานการณ์ข้างต้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ให้มีความรอบรู้ในการใช้จ่าย สามารถแสวงหาวิธีการลดรายจ่าย และสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ จนสามารถก้าวข้าวภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน จากการสำรวจข้อมูลของกองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครตรัง พบว่าประชาชนในเทศบาลกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติการบริโภคอาหารปลอดภัย สืบเนื่องจากตรวจพบสารเคมีปนเปื้อนในพืชผักที่จำหน่ายในตลาดเทศบาลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชผักสวนครัว เช่น พริกขี้หนู ที่มีการตรวจพบถึง 100% ของการสุ่มตรวจ ทางเทศบาลนครตรังได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดส่งเสริมประชาชนในเขตเทศบาลให้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคเองที่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ และเพื่อตอบโจทย์เรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัยของประชาชนในเขตเทศบาลนครตรัง ชุมชนคลองน้ำเจ็ด เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่รอบนอกของเขตเทศบาลนครตรัง มีจำนวนประชากร จำนวน 1,575 คน หรือ 761 ครัวเรือน โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและทำธุรกิจส่วนตัว และได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนในพื้นที่ยังขาดการเข้าถึงอาหารปลอดภัย และประสบกับปัญหาการขาดแคลนอาหารปลอดภัยบริโภค จากการสำรวจข้อมูลกับผู้นำชุมชน พบว่า ประชาชนในพื้นที่มีความสนใจและให้ความสำคัญกับการปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคเองที่บ้าน แต่ยังขาดองค์ความรู้ในการปลูกผักปลอดสาร รวมถึงการดูแลรักษาที่ถูกวิธี
จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวข้างต้น คณะทำงานหน่วยจัดการ COVID ภาคใต้ พื้นที่จังหวัดตรัง ร่วมกับกองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครตรัง จึงได้สนับสนุนให้คณะกรรมการชุมชนคลองน้ำเจ็ด จัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหารในเขตเมือง ชุมชนคลองน้ำเจ็ด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ขึ้น เพื่อส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยในเขตเทศบาลนครตรัง ตลอดจนพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ได้รับกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ให้มีความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการดำรงชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ต่อไป

4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน

1) ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพและการเงินเพิ่มขึ้น 2) ครัวเรือนเป้าหมายอย่างน้อย 80% สามารถนำความรู้ไปใช้แก้ไขปัญหาทางการเงินและสุขภาพได้

2 2. เพื่อส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเมือง

2.1.1) เกิดคณะทำงาน 8-12 คน ที่มาจากกรรมการชุมชน ปราชญ์ชุมชน และตัวแทนเทศบาลนครตรังและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 2.1.2) เกิดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน 2.1.3) มีแผนการปฏิบัติงาน 2.1.4) มีการติดตามผลการดำเนินงานและเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประเมินและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง เดือนละ 1 ครั้ง 2.1.5) ชุมชนมีข้อมูลสถานการณ์ด้านพฤติกรรมการปลูกและบริโภคผัก (ระบุ ชนิด พันธุ์ จำนวน การใช้ประโยชน์จากผัก ข้อมูลผักที่ซื้อมาบริโภค) การใช้สารเคมีในชุมชน และนำข้อมูลไปใช้รวมถึงคืนข้อมูลให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง
2.1.6) มีการกำหนดกติกาหรือข้อตกลงเรื่องการปลูกและการบริโภคผักปลอดสารเคมี และเกิดการปฏิบัติตามกติกาหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้ 2.2.1) ครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือน ปลูกผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคเองที่บ้าน เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 ชนิด (ระบุชื่อผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของครัวเรือน) 2.2.2) ครัวเรือนจำนวน 30 ครัวเรือน บริโภคผักที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ต่อเนื่องอย่างน้อย 4 เดือน)
2.2.3) เกิดครัวเรือนต้นแบบจำนวน 10 ครัวเรือน 2.3.1.) ค่าใช้จ่ายในการซื้อผักบริโภคต่อครัวเรือนต่อสัปดาห์ลดลงเฉลี่ย 50% (จากก่อนเข้าร่วมโครงการ) 2.4.1) มีกลไกคณะทำงานประจำศูนย์ฯ 2.4.2) มีแผนการปฏิบัติงาน 2.4.3) มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ตามภารกิจของศูนย์ฯ

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 230
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชาชนในชุมชน 200 -
ผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิท-19 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส.(18 ก.ย. 2022-31 ส.ค. 2023) 10,000.00                        
2 เยี่ยมแปลงผักเพื่อนบ้าน - แลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนา(8 ต.ค. 2022-19 ส.ค. 2023) 5,100.00                        
3 ประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าและเตรียมความพร้อมการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ Agri Center(17 ก.พ. 2023-17 ก.ค. 2023) 10,080.00                        
4 เยี่ยมแปลงผักชุมชน-เสริมพลังการทำงาน(20 มี.ค. 2023-20 มิ.ย. 2023) 6,720.00                        
รวม 31,900.00
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 8 10,000.00 6 8,300.00
18 ก.ย. 65 ปฐมนิเทศ 2 2,000.00 2,000.00
29 ต.ค. 65 การทำป้ายโครงการ 0 600.00 200.00
5 พ.ย. 65 อบรมกิจกรรมความรอบรู้ทางด้านการเงินและสุขภาพ 2 1,500.00 500.00
4 ก.พ. 66 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวที ARE ครั้งที่ 1 2 2,000.00 2,550.00
18 มี.ค. 66 การคืนเงินเปิดบัญชี 0 500.00 500.00
8 ก.ค. 66 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวที ARE ครั้งที่ 2 2 3,400.00 2,550.00
2 เยี่ยมแปลงผักเพื่อนบ้าน - แลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 5,100.00 2 4,410.00
17 มิ.ย. 66 เยี่ยมแปลงผักเพื่อนบ้าน ครั้งที่ 1 0 2,550.00 2,160.00
24 มิ.ย. 66 เยี่ยมแปลงผักเพื่อนบ้าน ครั้งที่ 2 0 2,550.00 2,250.00
3 ประชุมเพื่อติดตามความก้าวหน้าและเตรียมความพร้อมการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ Agri Center กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 10,080.00 5 8,400.00
17 ก.พ. 66 ประชุมติดตามความก้าวหน้า Agri Center ครั้งที่ 1/6 10 1,680.00 -
17 มี.ค. 66 ประชุมติดตามความก้าวหน้า Agri Center ครั้งที่ 2/6 10 1,680.00 1,680.00
17 เม.ย. 66 ประชุมติดตามความก้าวหน้า Agri Center ครั้งที่ 3/6 10 1,680.00 1,680.00
17 พ.ค. 66 ประชุมติดตามความก้าวหน้า Agri Center ครั้งที่ 4/6 10 1,680.00 1,680.00
17 มิ.ย. 66 ประชุมติดตามความก้าวหน้า Agri Center ครั้งที่ 5/6 10 1,680.00 1,680.00
17 ก.ค. 66 ประชุมติดตามความก้าวหน้า Agri Center ครั้งที่ 6/6 10 1,680.00 1,680.00
4 เยี่ยมแปลงผักชุมชน-เสริมพลังการทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 48 6,720.00 4 6,720.00
20 มี.ค. 66 เยี่ยมแปลงผักชุมชน ครั้งที่ 1/4 12 1,680.00 1,680.00
20 เม.ย. 66 เยี่ยมแปลงผักชุมชน ครั้งที่ 2/4 12 1,680.00 1,680.00
20 พ.ค. 66 เยี่ยมแปลงผักชุมชน ครั้งที่ 3/4 12 1,680.00 1,680.00
20 มิ.ย. 66 เยี่ยมแปลงผักชุมชน ครั้งที่ 4/4 12 1,680.00 1,680.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 102 48,050.00 7 48,500.00
12 พ.ย. 65 การทำตรายาง 0 0.00 450.00
12 พ.ย. 65 การทำตรายาง 0 0.00 0.00
28 พ.ย. 65 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน จัดทำแผนปฏิบัติการฯ 12 9,200.00 4,600.00
20 - 29 ม.ค. 66 กิจกรรม ส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน 30 8,810.00 8,810.00
29 ม.ค. 66 กิจกรรม การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การปลูกผักปลอดสาร และการจัดการเมล็ดพันธ์ุสู่ชุมชน 30 20,840.00 20,840.00
8 ก.พ. 66 กิจกรรมการประชุมเชิงปกิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครัวเรือนเป้าหมาย 30 9,200.00 9,200.00
8 พ.ค. 66 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน จัดทำแผนปฏิบัติการฯ ครั้งที่ 2/2566 0 0.00 4,600.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดคณะทำงานที่มีความเข้าใจและมีความสามารถในการดำเนินโครงการ
  2. เกิดกลไกสนับสนุน การปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน
  3. ครัวเรือนเป้าหมายมมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินเพิ่มขึ้น
  4. ครัวเรือนมีการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน
  5. เกิดศูนย์เรียนรู้การปลูกผักปลอดสารและการจัดการเมล็ดพันธุ์ชุมชน (Agri Center)
  6. ประชาชนในเขตเทศบาลนครตรังมีสุขภาพที่ดีขึ้น
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2022 07:12 น.