directions_run

โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node โควิค ภาคใต้


“ โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน ”

บ้านหูยาน ม.8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายอนุชา เฉลาชัย

ชื่อโครงการ โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน

ที่อยู่ บ้านหูยาน ม.8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-10018-24 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านหูยาน ม.8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node โควิค ภาคใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านหูยาน ม.8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65-10018-24 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก Node โควิค ภาคใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อเพิ่มศักยภาพแกนนำวิสาหกิจกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน เพิ่มรายได้ และลดความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง
  2. 2.เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนส่งเสริมการความรอบรู้ด้านการเงินและสุขภาพ โดยใช้ฐานข้อมูลกับกลุ่มและสมาชิก
  3. 3.เพื่อให้กลุ่มและสมาชิกมีแผนเรื่องความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินนำสู่การปฏิบัติได้ต่อเนื่อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส.
  2. การประชุมคณะทำงาน
  3. การติดตามประเมินผลการแลกเปลี่ยน
  4. 2.พัฒนาศักยภาพคณะทำงานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ
  5. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ
  6. เรียนรู้การวิเคราะห์และทำแผนปฏิบัติการความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ
  7. เก็บข้อมูลด้านสขภาพ 30 คนโดยรพสต ด้านการงินโดยก็บบัญชีครัวเรือน 30 คน
  8. ส่งเสริมการเลี้ยงปุ๋ยมูลไส้ดือนใช้เองพร้อมกับอุปกรณ์ชุดเลี้ยงให้กับสมาชิกกลุ่ม
  9. สงเสริมการปลูกวัตถุดิบเครื่องแกงโดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ไดด้รับผลกระทบจากโควิด 19
  10. อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
  11. ติกตามประเมินผล
  12. ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
  13. ปฐมนิเทศน์
  14. ถอนเงินเปิดบัญชี
  15. 1.ประชุมคณะแกนนำขับเคลื่อนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ สร้างความเข้าใจและแบ่งบทบาทหน้าที่เพื่อเก็บข้อมูลการเงินและข้อมูลสุขภาพ
  16. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
  17. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง
  18. ตรายางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มผลผลิตวิสาหกิจกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยานกับตรายางจ่ายแล้ว
  19. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง
  20. รายงานผลลัพธ์กิจกรมโครงการพร้อมรายงานการเงิน(ARE ครั้งที่ 1)
  21. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง
  22. ออกแบบพัฒนาสูตรดินปุ๋ยไส้เดือนพร้อมปลูกผสมมูลไส้เดือน
  23. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง
  24. อบรมการทำสื่่อโดยใช้ Canva
  25. ติดตามประเมินผล ARE ครั้งที่ 2
  26. เรียนรู้การวิเคราะห์และทำแผนปฏิบัติการความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ
  27. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธืและบทเรียนการดำเนินโครงการย่อย
  28. สร้างและพัฒนาช่องทางการขาย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำ 5 คนและกลุ่มวิสาหกิจฯมีความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ สามารถนำมาเป็นเครื่องมือไปขยายผลสู่ครอบครัว กลุ่มองค์กร และสู่ชุมชน แก้ปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ด้านเศรษฐกิจและด้านสุขภาพ
  2. แกนนำ 5 คนและกลุ่มวิสาหกิจฯ นำความรอบรู้ทางด้านการเงินและสุขภาพ เชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในระดับบุคคล กลุ่ม ชุมชน ได้อย่างปกติ โดยใช้ทรัพยากรในพื้นที่เป็นทุนตั้งต้น
  3. เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุนของ สสส. แกนนำ กลุ่ม และชุมชนยังคงดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องจากการทำงานร่วมกันเป็นภาคี เครือข่ายความร่วมมือ และเชื่อมต่อสู่เป็นนโยบายท้องถิ่นต่อไป

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศน์

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.การคลี่โครงการโดยมีการทำรายละเอียดของโครงการและตัวชี้วัด 2.เรียนรู้และทำความเข้าใจรายละเอียดการเงินของโครงการ 3.เรียนรู้การใช้เว็ปไซต์คนใต้สร้างสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานที่เข้าร่วม 2 คน ได้เรียนรู้และเข้าใจการทำโครงการ การคลี่โครงการ การทำรายละเอียดตัวชี้วัด การทำการเงิน การใช้เว็ปไซต์คนใต้สร้างสุข

 

2 0

2. ถอนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 19 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถอนเงินเปิดบัญชีจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มผลผลิตวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถอนเงินเปิดบัญชี

 

2 0

3. 1.ประชุมคณะแกนนำขับเคลื่อนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ สร้างความเข้าใจและแบ่งบทบาทหน้าที่เพื่อเก็บข้อมูลการเงินและข้อมูลสุขภาพ

วันที่ 7 ตุลาคม 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

สร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คนที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ผลผลิตของกลุ่มขายไม่ได้ถูกตีคืน  กลุ่มได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการปลูกเพื่มวัตถุดิบทำเครื่องแกงเพื่อท่ีจะมาจำหน่ายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีแกนนำจำนวน 5 คน ได้แบ่งกลุ่มกันดูแลสร้างเครือข่ายร่วมกันโดยมีเป้าหมาย 1.เกิดคณะทำงาน 5  คนมีศักยภาพเพื่อหาสมาชิกเป้าหมายเพิ่มอีก 25 คนรวมจำนวน 30  คนเข้าร่วมโครงการช่วยผู้ประสบภัยโควิด-19 มีรอบรู้เรื่องการเงินและสุขภาพ
2.เรียนรู้ข้อมูลการเงินบุคคลใช้ในการวางแผนการด้านการรอบรู้เรื่องการเงินเพิ่มรายได้และมีความรอบรู้เรื่องข้อมูลสุขภาพทำแผนสุขภาพของสมาชิกในกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดคณะทำงาน 5  คนเป็นแกนขับเคลื่อน และสมาชิกที่คณะทำงานรวบรวมได้มา 25  คนรวม ทั้งหมด 30  คน ได้แบ่งบทบาทหน้าที่  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการปลูก  ได้รับรู้ถึงจำนวนวัตถุดิบท่ีสมาชิกปลูกว่ามีปริมาณร้อยละ 70  ซื้อจากข้างนอกและ ได้เรียนรู้ถึงวิธีการจัดการเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง

 

30 0

4. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ

วันที่ 24 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดการอบรมโดย คุณจิราวัฒน์ รามจันทร์ หมอโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ให้ความรู้สุขภาพแก่สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยานโดยแบ่งออก 1การดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง เรียนรู้วิธีการหาค่าดัชนีมวลกาย 2การเช็คการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเช็คสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน
3วิธีการดูแลร่างกาย 3อ2ส รหัสป้องกันโรค 3อ ประกอบด้วย อ1ออกกำลังกาย อ2อาหาร อ3อารมณ์  2ส ประกอบด้วย ส1ไม่สูลบุหรี่ ส2 ไม่ดื่มสุรา 4การทำกิจกรรมร่วมกับการออกกำลังกายและการหัวเราะบำบัด 4ท่า 5อบรมการบันทึกข้อมูลบัญชีครัวเรือน 5.1 การวางแผนด้านการเงินของครัวเรือน จดบันทึกรายรับ รายจ่าย 5.2 การจดบันทึกบัญชีรายรับจากกลุุ่มวิสาหกิจชุมชนรายบุคคล การวางแผนการรับชื้อวัถตุดิบจากสมาชิกกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานและสมาชิกจำนวน 30 คน 1 ได้มีความรู้การเช็คสุขภาพดัชนีมวลการด้วยตัวเองได้ 2 ได้ทราบถึงสัญญาณเตือนของโรคต่างๆเบี้ยงต้นเป็น 3 ได้เรียนรู้วิธีการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ร่วมถึงรหัสที่จะป้องกันโรค 2ส ว่ามีอะไรบ้าง 4 ได้รู้วิธีการบำบัดจากการหัวเราะแบบการบำบัด 4 ท่าง่ายๆด้วยตนเองได้

 

30 0

5. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงิน สามารถเข้าถึง เข้าใจ การใช้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการจัดการตนเองได้และสามารถบอกกล่าวกับคนอื่นได้ มีทักษะการสื่อสาร ทั้งการพูการอ่าน การเขียนได้ถูกต้อง กำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนทำตามแผนที่กำหนดได้ถูกต้อง วิเคราะห์ผลดีผลเสีย ตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ด้านการเงิน กำหนดเป้าหมาย ครัวเรือนมีความเข้าใจสามารถวางแผนทางการเงินการใช้เงินในหมวดต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการใช้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำจำนวน 2 คนมีความรู้และเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินคือ 1 สามารถนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดเพื่อปรับใช้ให้กับสมาชิกทั้ง 30 คน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเงินควบคู่ไปด้วย 2 มีความรู้ในการเข้าถึง เข้าใจ ใช้ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการจัดการตนเองสามารถชีัแนะเรื่องสุขภาพแก่ผู้อื่นได้ และนำความรู้ไปปฎิบัติได้ถูกต้อง 3 มีทักษะการสื่อสาร ทั้งการพูด การอ่าน การเขียน ให้ผู้อื่นได้เข้าใจถูกต้อง มีการจัดการตนเองกำหนดเป้าหมาย ทำตามแผนที่กำหนด มีการตัดสินใจ สามารถกำหนดทางเลือก เลี่ยงวิธีการท่ีไม่เหมาะสมใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ ผลดี ผลเสีย รู้เท่าทันสื่อ สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ที่สื่อนำเสนอได้ 4 ลดพฤติกรรมเสี่ยงด้วยตนเองได้เช่น ปรับวิธีการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน เข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ รู้จักคุณประโยชน์ของอาหารมีการบันทึกสุขภาพตนเองจับประเด็นข่าวสารได้ มีการโต้ตอบ ซักถามแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ อสม จนท ได้ 5 ความรอบรู้เรื่องการเงิน มีการกำหนดเป้าหมาย สามารถวางแผนทางการเงินในหมวดต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนตัวได้ 6 ต้องมีการดำรงชีวิตแบบใด จุดเด่นสามารถว่างแผนการเงินของครัวเรือนในสิ่งที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นที่เหลือนำไปสู่การออมได้ 7 รู้ขันตอนความสำคัญของการวางแผนการเงิน รู้สถานการณ์การตัวเองสำรวจรายรับรายจ่าย กำหนดวัตถุประสงค์การใช้เงิน โดยแยกเป็นหมวดๆ ใช้เงินตามแผนที่วางไว้ ประเมินการใช้จ่ายเงินเป็นระยะ และหาโอกาสในการเพิ่มเงินออมให้มากขึ้น

 

2 0

6. ประชุมแกนนำและคณะทำงาน

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1 เชิญคณะทำงานของกลุ่มมาประชุมแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบ 2 คณะทำงานแบ่งรับผิดชอบคือ คณะทำงาน 1 คนรับผิดชอบสมาชิก 6 คน 3 ให้คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานของสมาชิกที่ตัวเองรับผิดชอบ 4 สมาชิกมีปัญหาด้านใดสามารถสอบถามจากคณะทำงานได้อย่างต่อเนือง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 คณะทำงานของกลุ่มได้รู้จักหน้าที่ๆตัวเองจะต้องรับผิดชอบ 2 สมาชิก 6 คนในกลุ่มของตัวเองจะได้รู้ว่าใครเป็นหัวหน้าของตัวเองมีปัญหาเรื่องใดสามารถปรึกษาได้ 3 การติดตามผลเราจะให้คณะทำงานเป็นผู้ติดตาม

 

5 0

7. เก็บข้อมูลด้านสุขภาพ 30 คนโดยรพสต ด้านการงินโดยก็บบัญชีครัวเรือน 30 คน

วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ อสม.ของหมู่ที่ 8 จำนวน 6 คนร่วมกันทำการให้ความรู้และตรวจคัดกรอง กลุ่มวิสาหกิจผลิตเครื่องแกง โดยมีขั้นตอนคือ 1 มอบสมุดบันทึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงให้กับสมาชิกกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน 2 ให้สมาชิกกรอกข้อมูลประจำตัวของตนเองว่าตนเองจะตั้งเป้าหมายด้านสุขภาพเรื่องอะไร เช่น ลดพุง ลดน้ำหนัก 3 ศึกษาข้อมูลความรู้เบื้องตนเกี่ยวกับการปรัปเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การจัดสัดส่วนอาหารตามหลัก 2:1:1 ศึกษาวิธีการออกกำลังกาย ปริมาณน้ำที่ควรดืมต่อวัน 4 บันทึกข้อมูลสุขภาพ พฤติกรรม และตั้งเป้าหมายความสำเร็จ และตั้งเป้าหมายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5 บันทึกกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองทั้ง 8 สัปดาห์ 6 อธิบายหลักการเขียนสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือน 7 กำหนดกฎกติกาข้อตกลงในกลุ่ม

ด้านความรอบรู้ทางด้านการเงิน
1.ใช้บันทึกการเงินของธนาคารธกส.ในการเก็บข้อมูลของสมาชิกเพื่อบันทึก รับจ่าย 2. การเงินเหรัญญิกของกลุ่มได้บันทึกสมุดรับจ่าย จากการขายและชื้อวัตถุดิบจากสมาชิกแต่ละคน เพื่อได้ความถึงยอดขายของกลุ่ม และวัตถุดิบจากสมาชิก 3. การกำหนดเป้าหมายทางการเงินของกลุ่ม เรื่อง ยอดขาย ช่องทางการขาย และยอดรับซื้อจากสมาชิก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ข้อมูลด้านสุขภาพและข้อมูลด้านการเงินก่อนการดำเนินงาน ของ 30 คน และการตั้งเป้าหมาย เรื่องการเงินและสุขภาพ
1 สมาชิกในกลุ่มได้เรียนรู้การคิดดัชนีมวลกายของตนเองได้และสามารถตั้งเป้าหมายสุขภาพตนเองได้ 2 สามารถอ่านผลการวัดค่า BMI ได้ด้วยตนเอง 3 ได้ความรู้สัดส่วนการวัดรอบเอวของผู้ชายไม่ควรเกิน 35 นิ้ว และของผู้หญิ่งไม่ควรเกิน 32 นิ้ว 4 ค่าความดันและความสี่ยงของโรคที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง 5 ได้จัดสัดส่วนอาหารตามหลัก 2:1:1: เพื่อลดพุงและลดโรค 6 สมาชิกได้เรียนรู้เรื่องการบันทึกบัญชีเพิ่มมากขึ้นในการลงรับ จ่าย โดยใช้สมุดบันทึกและมีการตั้งเป้าหมาย

 

30 0

8. ส่งเสริมการเลี้ยงปุ๋ยมูลไส้ดือนใช้เองพร้อมกับอุปกรณ์ชุดเลี้ยงให้กับสมาชิกกลุ่ม

วันที่ 18 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนการทำปุ๋ยไส้เดือนใช้เองในครัวเรือน 1 สมาชิกนำอุปกรณ์การเลี้ยงไส้เดือน  เช่น ขี้วัว กะละมังเจาะรู ใส่เดือน หยวกกล้ายหรือเศษผัก 2 สมาชิกนำชุดเลี้ยงที่ทางโครงการส่งเสริม เช่น ขี้วัวไปแช่น้ำอย่างน้อย7 วัน 3 นำกะละมังเจาะรูมาเตรียมไว้  ตักขี้วัวที่แช่น้ำทิ้งไว้มาใส่ลงในกะละมังใส่พอประมาณ  พร้อมกับคลุกเคล้ากับหยวกกล้วยที่หั่นใส่ลงไป 4 ใส่ตัวไส้เดือนหรือชุดพร้อมเลี้ยงลงไป แล้วรดน้ำให้ชุ่ม และนำกะละมังวางเป็นชั้่นๆห้ามเป็นพื้นดินไส้เดือนจะออกลงพื้นดินหมด 5 การรถน้ำใช้เวลาเลี้ยง 3 อาทิตย์ หลังจากนั้นปาดมูลไส้เดือนออกนำมาร่อนแยก ส่วนตัวและมูลที่เหลือให้นำกลับไปเลี้ยงในอาหารชุดใหม่ต่อไปทำอย่างนี้ต่อไปหรือจะขยายเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้ต่อไปก็ได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกทั้ง 30 คน มีความรู้และทำปุ๋ยไส้เดือนเป็น แต่คนที่เลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ๋ย จำนวน 12 คน ส่วนที่เหลือ 18 คน ซื้อปุ๋ยไส้เดือนจากกลุ่มและสมาชิกเนื่องจากไม่ผักที่ปลูกไม้ใช้สารเคมีเป็นผักปลอดสารพิษ 1 การเลี้ยงไส้เดือนเป็นการผลิตปุ๋ยคุณภาพดีส่งเสริมให้เกษตกรใช้ในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์ถือว่า เป็นการลดต้นทุน และลดการใช้สารเคมีของกลุ่ม 2 เกษตรกรเองก็จะได้ก็จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งได้ดูแลระบบนิเาศด้วย 3 ที่สำคัญดีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกรในการปลูกผักปลอดสารพิษและลดต้นทุนมีรายได้เพิ่มของสมาชิกจากการขายปุ๋ยมูลไส้เดือน

 

30 0

9. สงเสริมการปลูกวัตถุดิบเครื่องแกงโดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ไดด้รับผลกระทบจากโควิด 19

วันที่ 19 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนนำ จำนวน 5 กับสมาชิก 6 คน ได้สำรวจความต้องการเพื่อที่จะส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบ 4 ชนิด  พริกไทย พริกขี้หนู ขมิ้น ตะไคร้ ว่าสมาชิกต้องการปลูกอะไรจำนวนเท่าใด และและเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปลูกและปัญหา 1 สมาชิกกลุ่มเครื่องแกงต้องรู้ก่อนว่า พริก  ขมิ้น ตะไคร้ ชนิดใดที่เราจะเอามาผลิตเป็นเครื่องแกง และสมาชิกจะต้องรู้ว่าวัตถุดิบแต่ละอย่างสามารถนำไปปลูกในดินที่มีสภาพดินแบบใดได้บ้าง และสมาชิกทุกคนต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมพื้นที่ปลูก การให้น้ำ รวมถึงการดูแลและป้องกันโรค แมลง 2 การเตรียมดินปลูกวัตถุดิบ ควรพิจารณาความแตกต่าง สภาพของดินและระดับน้ำ ถ้าปลูกแล้วกี่วันจะใส่ปุ๋ยได้
3 ให้สมาชิกได้เรียนรู้ถึงวิธีการดูแลรักษา นอกจากการให้น้ำและใส่ปุ๋ยแล้ว การกำจัดศัตรูหรือแมลง ส่วนมากที่เห็นจะเป็น เพลี้ยไฟ  กุ้งแห้ง ต้องหมั่นตรวจดูต้นกล้าที่ปลูกบ่อยๆ ส่วนโรคกุ้งแห้ง จะพบมากในพริก อาการเริ่มแรกจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลแล้วค่อยขยายกว้างออกไป 4. สนับสนุนต้นชำเพื่อให้สมาชิกปลูกตามความต้องการที่ปลูกและดูแลได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกทั้ง 3 คน ของกลุ่มวิสาหกิจ มีการดำเนินการปลูกและอยู่ก่อนหน้าเมื่อมีการสนับสนนุนการปลูกและได้บันทึกเป็นข้อมูลรายรับ จ่าย
1 สมาชิกทั้ง 30 มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากการขายให้กลุ่ม ขายให้กับร้านค้า
2 ผู้สูงอายุมีความสุขกับการได้ดูแลพืชที่ตัวเองปลูก เกิดรายได้เพิ่มของผู้สูงอายุจะมีความภูมิใจที่สามารถหาเงินได้ด้วยตัวเอง 3 กลุ่มผู้สูงอายุมีความสม่ำเสมอในการทำให้กลุ่มวิสาหกิจเข้มแข็งมากกว่าคนหนุ่มสาว  ทำให้กลุ่มสามารถขายเครื่องแกงได้เพิ่มขึ้น และสมาชิกก็ขายวัตถุดิบได้มากขึ้น

 

30 0

10. ตรายางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มผลผลิตวิสาหกิจกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยานกับตรายางจ่ายแล้ว

วันที่ 13 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1ตรายางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มผลผลิตวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน 2 ตรงยางจ่ายแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1ได้ตรายางมาทำโครงการ

 

0 0

11. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน จำนวน 5 คน เพื่อเพิ่มแกนคณะทำงานจาก 5 คนเป็น 10 คนเพื่อสร้างแกนคนทำงานที่มีความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ  โดยมอบหมายให้เก็บข้อมูล 3 คนรวมทั้งตัวเองรวมทั้งสิ้น 30 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดแกนคณะทำงานจำนวน 8 คน จากเดิม มี 5 คน ได้มีการพูดคุยและมอบหมายในการเก็บและติดตามข้อมูล เป้าหมายด้านสุขภาพและข้อมูลกิจกรรมการปลูกจากการส่งเสริมเพิ่มรายได้จากการปลูกวัตถุดิบการผลิตเครื่องแกง

 

5 0

12. รายงานผลลัพธ์กิจกรมโครงการพร้อมรายงานการเงิน(ARE ครั้งที่ 1)

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1 สร้างความเข้าใจในกระบวนการการจัดการอบรม 2 สร้างความเข้าใจการรายงานผลลัพธ์ของโครงการโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยแล้วเขียนผลลัพธ์หรือบรรไดความสำเร็จของตนเอง 3 เรียนรู้การเขียนรายงานของกิจกรรมถึงวิธีการเขียน วิธีการบันทึก กิจกรรมที่ทำ 4 เรียนรู้การบันทึกบัญชีโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไ้ด้แรกเปลี่ยนเรียนรู้จากพื้นที่ต่างๆถึงวิธีการสร้างความเข้าใจของสมาชิกในชุมชนแต่ละพื้นที่สร้างความเข้าใจที่ต่างกัน แบ่งกลุ่มเรียนรู้ถึงผลลัพธ์ของพื้นที่ต่างๆ และการทำบัญชีโครงการถ้าทีปัญหาต้องแก้ไขอย่างไร และการรายงานในเวปว่าต้องรายงานอย่างไร

 

2 0

13. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 15 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมแกนนำอย่างน้อยเดือนละ 1ครั้ง เพื่อติดตามการจัดการด้านการเงิน/ด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ติดตามอย่างต่อเนื่องไม่เป็นทางการ 2 เรื่อง การเงินส่วนบุคคล/กลุ่มวิสาหกิจ 1 การใช้ข้อมูลด้านการเงินปรับเปลี่ยนการเงิน 2 การใช้ข้อมูลสุขภาพสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำ 10 คน ติดตามครัวเรือนจำนวน 24ครัวเรือน (คิดเป็นร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ) ปลูกพืช-ผัก ส่งกลุ่มวิสาหกิจโดยกลุ่มไม่ชื้อจากภายนอก สมาชิกมีรายได้เพิ่ม กลุ่มมีผลผลิตเพิ่มและผลิตภัณฑ์จำหน่ายเพิ่มรายได้ มีช่องทางตลาดจำหน่ายเครื่องแกงและวัตถุดิบเครื่องแกง มากกว่า 2 ช่องทาง และติดตามพฤติกรรมด้านสุขภาพ/ด้านการเงินของกลุ่มและบุคคลดีขึ้น

 

5 0

14. ออกแบบพัฒนาสูตรดินปุ๋ยไส้เดือนพร้อมปลูกผสมมูลไส้เดือน

วันที่ 21 เมษายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แกนนำจะไปเรียนรู้ที่บ้านของวิทยากร คือ บ้านนารีรัตน์  อินทรมาก ซึ่งเป็น แหล่งเรียนรู้ของชุมชน มีชื่อว่า บ้านสวนพลูครูกลิ่น ซึ่งที่บ้านครูกลิ่นจะมีวิธีการผสมดินอยู่หลายหลักสูตร แต่ละสูตรขึ้นอยู่กับว่าจะใช่ปลูกพืชชนิดใด แต่วัสดุหลัก ๆที่ใช่จะเหมือนๆกันทุกสูตรที่อยู่ที่การผสมอัตราส่วน แต่ที่แกนนำไปเรียนรู้จะเป็นดินปลูกเกี่ยวกับพืชที่จะใช่ในการผลิตเครื่องแกง  เช่นปลูก พริก ตะไคร้ ขมิ้น พริกไทย ส่วนผสมที่ได้และวัตถุดิบที่ต้องใช่ คือ 1. วัสดุที่ใช้ในการผสมดินพร้อมปลูกมี  หน้าดิน ปู๋ยคอกหรือขี้ไก่ ขุ่ยมะพร้าวหรือพดพร้าวซับ มูลไส้เดือน หรือแกลบดำ 2. วิธีการทำ นำปุ๋ยคอกไปแซ่นำสัก1-3 คืน
3. พดพร้าวหรือขุ่ยมะพร้าวต้องนำไปแซ่นำ้สัก 3 วัน แล้วเอาน้ำออก แล้วใส่แซ่ใหม่อีก 1 คืน
4. การผสม  นำหน้าดินหรือดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยคอกที่ผ่านการแซ่น้ำแล้ว 1 ส่วน หรือจะใส่ขี้ไก่เพิ่มอีก 1 ส่วนก็ได้  ขุ๋ยมะพร้ามหรือพดพร้าวสับที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว 1 ส่วน ปุ๋ยมูลไส้เดือน 1 ส่วน (วัสดุตวงต้องใช้แบบเดียวกันในการตวง) 5. นำส่วนผสมที่ตวงทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน ผ่านการหมัก 2-4 อาทิตย์ ตอนหมักสามารถใช้น้ำหมักที่มีอยู่ในครัวเรือน เช่น น้ำจ้าวปลวก น้ำจุลินทร์ซีแดง เปลือกไข่ที่ตากแดดแล้วตำให้ละเอียดนำมาหมักร่วมกันได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
  2. ช่วยรักษาความชุ่มซื้นในดินได้ดีขึ้น รากพืชสามารถดูดอาหารได้ง่าย
  3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปู๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
  4. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพราน
  5. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี ทำให้รากพืชใช้เพื่อช่วยหายใจ
  6. ได้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
  7. ดินที่ได้ทำให้พืชได้เกาะยึดเหนี่ยวของลำต้นได้อย่างแข็งแรง ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต

 

5 0

15. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงาน คุยเรื่องจุดเด่นของแต่ละคนที่เป็นแกนนำ และอยากให้องค์ความรู้กับสมาชิกเรื่องของวัตถุดิบในชุมชน ชวนแก่นนำมาสร้างความเข้าใจเรื่องการทำดินเพื่อจะนำมาปลูกหรือเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ คุยเรื่องสุขภาพ เป้าหมาย เรื่องการเงิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ดินพร้อมปลูกที่เป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่เพิ่มขึ้นภายในกลุ่ม ได้ช่องทางการจำหน่ายเช่น ปากต่อปาก ไลน์ ประชาสัมพันธ์กับแก่นนำ ได้สติกเกอร์ที่ใช่ติดกับถุงดิน สร้างคน สร้างงานภายในชุมชนให้สามาชิกมีรายได้ ทุกคนได้รับประโยชน์ สร้างแกนบ้างคนเป็นบุคลต้นแบบ - เรื่องสุขภาพ เราเก็ยข้อมูลของแต่ละบุคคล และตั้งเป้าหมายเอาไว้ก่อนเข้าร่วมโครงการ สมาชิกทุคนมีความรอบรู้เข้าใจและสามารถอธิบายให้กับคนอื่นได้ - การเงิน เราใช้บัญชีครัวเรือนทำแบบรับจ่ายโดยวิะีการง่ายๆที่สามาชิกเข้าใจและบันทึกได้

 

5 0

16. อบรมการทำสื่่อโดยใช้ Canva และ Tik T0k

วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. สอนวิธีการถ่ายภาพ การใช้แสงกับสินค้า
  2. สอนวิธีการใช้ Canva  การฝึกปฎิบัติการหารูปการจัดวางรูป
  3. การเขียนคอนเทนให้ดึงดูดและหน้าซื้อ
  4. การทำ Tik T0k  การถ่ายวิดีโอผลิตภัณฑ์ แล้วนำมาลงTik Tok

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกหรือตัวแทนภายในกลุ่มสามารถเรียนรู้ถึงช่องทางการจำหน่ายได้อีกช่องทางหนึ่งไม่ว่าจะเป็น Tik T0k หรือการโพสในโซเชียวต่างๆ
ได้ฝึกการสร้างคอนเทนและฝึกการนำรูปภาพมาจัดว่าง ได้รู้จักการจัดรูปแบบจาก Canva เพิ่มมากขึ้น

 

0 0

17. เรียนรู้การวิเคราะห์และทำแผนปฏิบัติการความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. เตรียมอุปกรณ์ในการเจาะสารเคมีในเลือดให้กับสมาชิกทั้ง 30 คน โดยใช้วิทยากรของ รพสต. ตำบลนาท่อมมาเป็นวิทยากร
  2. เชิญสมาชิกมาตามวันและเวลาที่กำหนด
  3. ก่อนเจาะเลือดวิทยากรให้ความรู้ถึงวิธีการเจาะสารเคมีในเลือด เพราะจะให้สมาชิกทราบถึงภัยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง และจะได้รับรู้ว่าตัวเองอยู่ในระดับไหนกันบ้าง
  4. ทำความสะอาดปลายนิ้วที่จะทำการเจาะเลือดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์
  5. เจาะเลือดและเก็บตัวอย่างเลือดด้วยอุปกรณ์การเจาะเลือดและหลอดแก้วขนาดเล็ก
  6. ตั้งหลอดแก้วดังกล่าวจนกระทั่งแยกชั้นน้ำเหลืองและเม็ดเลือดแดง
  7. นำกระดาษทดสอบที่ใช้สำหรับครวจหาสารเคมีบนแผ่นสไลด์ด้วยปากคีบ
  8. อ่านผลโดยการเทียบสีที่เปลี่ยนแปลงกับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. การตรวจสารเคมีในเลือด เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับของสารต่างๆ ในเลือด การครวจสารเคมีในเลือด ทำให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เพื่อนำผลมาประเมินความเสี่ยง ค่าปกติหรือไม่ปกติ มีความหลากหลายไปตามการทดสอบ การตรวจสารเคมีในเลือดสามารถอ่านผลได้ภายในทันที
  2. สีของกระดาษทดสอบเป็นสีเขียวเหลืองจนถึงสีแดงแสดงว่าปลอดภัย
  3. สีของกระดาษทดสอบเป็นสีเขียวแสดงว่ามีแนวโน้มไม่ปลอดภัย
  4. สีของกระดาษทดสอบเป็นสีเขียวนำ้เงินแสดงว่ามีแนวโน้มสารเคมีในเลือดสูง
  5. จากการตรวจสารเคมีในเลือดของกลุ่มพบว่า ไม่ปลอดภัย 17 คน มีความเสี่ยง 10 คน และปลอดภัย 3 คน ที่ไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงมีหลายสาเหตุ เช่น เรื่องการกิน การใช้เครื่องสำอาง เป็นต้น

 

30 0

18. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธืและบทเรียนการดำเนินโครงการย่อย

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทางโครงการมีการไลฟ์สด และเยี่ยมชมนิทรรศการของแต่ละโครงการ
เริ่มกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลลัพธ์ 26 ข้อมานำเสนอ
และให้พี่เลี้ยงนำผลการแลกเปลี่ยนแต่ละกลุ่มมานำเสนอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำในโครงการเข้าร่วม 2 คน แกนนำได้นำข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการ โดยวิธีการและกระบวนการของทีม สสส มาดำเนินการ  โครงการการผลิตเครื่องแกงของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปบ้านหูยาน และได้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ผลลัพธ์การนำเสนอเพื่อมาปรับใช้กับชุมชน ได้เรียนรู้ถึงการเลือกกลุ่มเป้าหมาย แกนนำจะต้องมีการพัฒนาทักษะเพื่อให้การขับเคลื่อนงานได้ผลลัพธืที่เพิ่มมากขึ้น และได้เรียนรู้การจัดการข้อมูลวิธีการเก็บการตรวจสอบ การเอาข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับโครงการอื่นๆได้ วิธีการดำเสนอว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อนแล้วเรียงลำดับตามขั้นตอน วิธีจัดกระบวนการรายละเอียดขั้นตอน

 

2 0

19. การติดตามประเมินผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา1

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รณรงค์กิจกรรมกรรม 3 อ2ส โดยกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น เช็คร่างกาย ติดตาม 6 เดือน/ ครั้ง เพื่อติดตาม -พฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยน 80% -รายได้สมาชิกเพิ่มขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีข้อมูลสถานการณ์ด้านพฤติกรรมการเงิน - การเงินของสมาชิก - การเงินกลุ่ม
- ข้อมูลการปลูกและการซื้อวัตถุดิบจากภายนอก

แกนนำมีข้อมูลการตรวจคัดกรองสุขภาพ ก่อนเริ่มโครงการของสมาชิกทั้ง 30  คน น และนำข้อมูลไปใช้รวมถึงคืนข้อมูลให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และ มีการกำหนดกติกา  เป้าหมาย หรือข้อตกลงเรื่องการเงินหรือการลดซื้อวัตถุดิบทำเครื่องแกงจากตลาดและกติกาปรับพฤติกรรมสุขภาพ และการ ปฏิบัติตามกติกาหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้ในระดับบุคคล และกลุ่ม

 

30 0

20. สร้างและพัฒนาช่องทางการขาย

วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทำหนังสื่อเชิญวิทยากร และเชิญแกนนำพร้อมสมาชิกมาพร้อมเพรียงกัน สมาชิกคนใดมาก่อนก็ลงทะเบียน เตรียมวัถุดิบที่จะนำมาไลฟ์สด พร้อมอุปกรณ์ที่จะทำการไลฟ์สด เตรียมสถานที่ จัดลำดับและขั้นตอนในการไดฟ์สด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เนื่องจากโครงการของวิสาหกิจชุมชนบ้านหูยานสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ กลุ่มจึงให้แกนนำเรียนรู้วิธีการไลฟ์สด การทำเพจ การขายแบบออนไลน์ ขายในเฟสบุ็ค ให้สมาชิกที่สูงอายุทำการเตรียมวัถตุดิบเมื่อเตรียมวัตถุดิบเสดสมาชิกทุกคนนั่งล้อมวงทุกคนต้องแต่งตัวเรียบร้อยในเสื้อกันเปื่อนและสวมหมวกกันทุกคน สมาชิกเริ่มทำวัตถุดิโดดยการปอกวัตถุดิบ เช่นการปอกกระเทียม ขมิ้น  ตะไคร้ เสร็จแล้วนำไปล้างตากในโรงตากจากโซลาเซลว์ แต่ทุกขั้นตอนเราจะทำการไลฟ์สด ตั่งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การปอก การล้างวัตถุดิบ เป็นต้น เสร็จกระบวนการทำโดยนำไปบดกับเครื่อง การไลฟ์สดคนที่จะทำการนำเสนอคือ  นายอนุชา  เฉลาชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ

 

30 0

21. ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

วันที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานที่ได้รับมอบหมายดำเนินการจัดทำสรุปการเงินและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยการรวบรวมภาพกิจกรรมและเอกสารการเงินลงบัญช่ี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ส่งรายงานสรุปการเงิน เอกสารการเงินให้ตรวจ และปริ้นให้ผู้รับผิดชอบตรวจ ทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งให้หน่วยจัดการ

 

2 0

22. ติดตามประเมินผล ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 6 สิงหาคม 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอแลกเปลี่ยนของแกนนำ  โดยวิธี ให้แกนนำเชิญสมาชิกของตัวเองที่รับผิดชอบมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สมาชิกทุกคนอย่างรู้และสงสัยเกี่ยวกับการทำบัญชี ปลูกผัก หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองพร้อมทั้งปัญหาของการปลูกผักว่าเจอปัญหาอะไรบ้าง และจะให้แกนนำช่วยเหลือด้านใดบ้าง พร้อมทั้งนำข้อมูลการจัดซื้อวัตถุดิบจากสมาชิกว่าสิ่งใดบ้างที่กลุ่มต้องการเป็นอย่างมากและยังคงให้สมาชิกปลูกเพิ่มขึ้นอีก อย่างเช่น พริกขี้หนูสด พริกไทยดำ ตะไคร้ กลุ่มยังต้องซื้อจากตลาดภายนอกอีก และสมาชิกบ้างท่านได้เจอปัญหาเรื่องปลูกพริกแล้วเจอลูกกุ้งแห้งบาง ใบหยิกบ้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วม  จำนวน 30  คน แกนนำ 10 คนและสมาชิก 20  คน  เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ตั้งแต่ต้นโครงการจนสิ้นสุดโครงการ สมาชิกกลุ่มมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง มีการวัดค่า BMI หรือการเรียนรู้เรื่อง 3อ2ส และนำไปตั้งเป้าหมายทางสุขภาพแต่ละคนตอนนี้สมาชิกได้พูดคุยให้กับคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกกลุ่มฟังถึงวิธีการต่างๆที่ตัวเองไปศึกษามาให้กับคนอื่นฟังได้ และเรื่องการเงินของกลุ่มสมาชิกจะต่อยอดการปลูกวัตถุให้เพิ่มมากขึ้นและจะแนะนำคนอื่นๆปลูกเพิ่มด้วย และสมาชิกแต่ละคนได้แนะนำสมาชิกถึงเรื่องที่เจอปัญหามานำเสนอเพื่อให้ทางกลุ่มแก้ไข  โดยให้สมาชิกทดลองนำวัตถุดิบเดิมที่สมาชิกปลูกอยู่แล้วมาขยายพันธ์ุต่อ โดยเน้นต้นที่แข็งแรง เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น และแกนนำจะนำข้อมูลบางส่วนของสมาชิกที่เจอปัญหาไปศึกษาหรือไปขอคำแนะนำจากเกษตรอำเภอ เกษตรตำบล หรือคนที่มีความรู้เรื่องการกำจัดศัตรตรูพืชมาให้อีกทางหนึ่ง โดยสรุป มีข้อเสนอ 2 เรื่องหลัก คือการส่งเสริมการเพิ่มรายได้ของสมาชิกกลุ่มโดยให้สมาชิกปลูกเพิ่ม  และให้มีการสนับสนุนอบรมเรียนรู้เรื่องแก้ปัญหาโรคพืชที่เกิดกับเกษตกรในกลุ่ม

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อเพิ่มศักยภาพแกนนำวิสาหกิจกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน เพิ่มรายได้ และลดความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดแกนนำ 5 คนของกลุ่มวิสาหกิจฯและสมาชิก25 คน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 2. กลุ่มวิสาหกิจฯมีแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างรายได้แก่กลุ่มอย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องแกง ผลิตภัณฑ์จากปุ๋ยมูลไส้เดือน 3.กลุ่มมีแผนแบ่งบทหน้าที่รับผิดชอบผลิตวัตถุดิบทำผลิตภันฑ์เครื่องแกงลดการนำเข้าส่งให้กลุ่มอย่างน้อยคนละ 3 ชนิดและแผนสุขภาพ
80.00 80.00

กลุ่มวิสาหกิจต้องเน้นเครื่องเสริมแรงเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องบด เครื่องสับ เข้ามาช่วย

2 2.เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนส่งเสริมการความรอบรู้ด้านการเงินและสุขภาพ โดยใช้ฐานข้อมูลกับกลุ่มและสมาชิก
ตัวชี้วัด : 1.สมาชิกกลุ่ม 30 คนมีแผนปลูกและจำหน่ายวัตถุดิบให้กับกลุ่มอย่างเพียงพอและเหลือจำหน่ายเป็นรายได้เพิ่ม 2.มีข้อมูลผลการคัดกรอง 30 คน ใช้ทำแผนสุขภาพ
80.00 80.00

กลุ่มมีทิศทางในการดำเนินที่มีสมาชิกผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จากการถอดบทเรียน

3 3.เพื่อให้กลุ่มและสมาชิกมีแผนเรื่องความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินนำสู่การปฏิบัติได้ต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1.กลุ่มวิสาหกิจและสมาชิก 30 คน 80 % ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและมีรายได้เพิ่มขึ้น 2.มีผลผลิตและผลิตภัณฑ์เพื่อขึ้นอย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ดินปลูกสูตรผสมมูลไส้เดือน วัตถุดิบผลิตเครื่องแกง เครื่องแกง 3.มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 ช่องทาง ออนไลน์ ไลท์สด ไลน์ เฟซบุ๊ค
80.00 80.00

ปรับสภาพแวดล้อมพื้นที่ให้สอดคล้องกับผู้สูงอายุ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อเพิ่มศักยภาพแกนนำวิสาหกิจกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน เพิ่มรายได้ และลดความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง (2) 2.เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนส่งเสริมการความรอบรู้ด้านการเงินและสุขภาพ โดยใช้ฐานข้อมูลกับกลุ่มและสมาชิก (3) 3.เพื่อให้กลุ่มและสมาชิกมีแผนเรื่องความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินนำสู่การปฏิบัติได้ต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส. (2) การประชุมคณะทำงาน (3) การติดตามประเมินผลการแลกเปลี่ยน (4) 2.พัฒนาศักยภาพคณะทำงานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ (5) พัฒนาศักยภาพคณะทำงานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ (6) เรียนรู้การวิเคราะห์และทำแผนปฏิบัติการความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ (7) เก็บข้อมูลด้านสขภาพ 30 คนโดยรพสต ด้านการงินโดยก็บบัญชีครัวเรือน 30 คน (8) ส่งเสริมการเลี้ยงปุ๋ยมูลไส้ดือนใช้เองพร้อมกับอุปกรณ์ชุดเลี้ยงให้กับสมาชิกกลุ่ม (9) สงเสริมการปลูกวัตถุดิบเครื่องแกงโดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ไดด้รับผลกระทบจากโควิด 19 (10) อบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (11) ติกตามประเมินผล (12) ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ (13) ปฐมนิเทศน์ (14) ถอนเงินเปิดบัญชี (15) 1.ประชุมคณะแกนนำขับเคลื่อนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ สร้างความเข้าใจและแบ่งบทบาทหน้าที่เพื่อเก็บข้อมูลการเงินและข้อมูลสุขภาพ (16) อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน (17) ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง (18) ตรายางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มผลผลิตวิสาหกิจกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยานกับตรายางจ่ายแล้ว (19) ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง (20) รายงานผลลัพธ์กิจกรมโครงการพร้อมรายงานการเงิน(ARE ครั้งที่ 1) (21) ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง (22) ออกแบบพัฒนาสูตรดินปุ๋ยไส้เดือนพร้อมปลูกผสมมูลไส้เดือน (23) ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง (24) อบรมการทำสื่่อโดยใช้ Canva (25) ติดตามประเมินผล ARE ครั้งที่ 2 (26) เรียนรู้การวิเคราะห์และทำแผนปฏิบัติการความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ (27) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธืและบทเรียนการดำเนินโครงการย่อย (28) สร้างและพัฒนาช่องทางการขาย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-10018-24

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอนุชา เฉลาชัย )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด