task_alt

3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ 3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ชุมชน หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

รหัสโครงการ 65-10154-004 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 5 มกราคม 2566 ถึง 15 พฤศจิกายน 2566

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มิถุนายน 2566 ถึงเดือน กันยายน 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/2

วันที่ 18 มิถุนายน 2566 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ผลผลิต : มีคณะกรรมการจำนวน 13 คน มีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การดูแลเรื่องสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่สำคัญที่ครอบครัว หรือคนดูแลไม่ควรมองข้าม สุขภาพจิตที่ดีจะนำมาซึ่งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงตามมา จะทำให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เป็นไปได้อย่างราบรื่น และมีความสุข หลัก 5 สุขในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ
หลัก 5 สุขในการดำเนินชีวิต ได้แก่ สุขสบาย : ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง คล่องแคล่ว ตามสภาพ ไม่ใช้สารเสพติด สุขสนุก : ทำกิจกรรมที่ทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ลดความซึมเศร้า ความเครียด และความกังวล สุขสง่า : มีความพึงพอใจในชีวิต ภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง มีความเห็นอกเห็นใจ และช่วยเหลือผู้อื่น สุขสว่าง : คิดและสื่อสารอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุขสงบ : รับรู้ เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุม และจัดการกับสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น สามารถผ่อนคลาย และปรับตัวยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามความเป็นจริง ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ : คณะกรรมการชมรม 13 คน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของวิทยากร มีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
เกิดทักษะนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ประยุกต์ สอดเเทรกให้เข้ากับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมที่ปฎิบัติ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยมีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การมีสุขภาพกายและจิตที่ดี
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ครั้งที่ 2/2 วันอาทิตย์ ที่ 18 มิถุนายน 2566 ณ มัสยิดดารุลนาอีม บ้านเขาน้อย ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล 09.30น. - 10.00น. - ลงทะเบียน
10.00น. - 10.20น. - กิจกรรมละลายพฤติกรรม 10.20น. – 10.30น. - รับประทานอาหารว่าง 10.30น. – 12.00น. - อบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หัวข้อ “การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต
12.00น. - 13.00น. - รับประทานอาหารเที่ยง 13.00น. - 15.30น. - แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ การดูแลสุขภาพกายและจิตสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน 15.30น. - 15.40น. - รับประทานอาหารว่าง 15.40น. - 16.30น. - ตัวแทน กล่าวแสดงความรู้สึกต่อผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในการออกแบบ                 กิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

 

13 0

2. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 3/5

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต
1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ จำนวน 50 คน 2.กลุ่มชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ได้ออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง 3.ได้กระบวนท่าออกกำลังกายที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ตลอด ผลลัพธ์ 1.ความต่อเนื่องของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมชมรมในเรื่องการออกกำลังกายสอดแทรกในกิจกรรมอบรมต่อเนื่อง ผู้เข้าร่วมร้อยละ 80 ออกกำลังกายต่อเนื่อง และมีความสุขจากการได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 3/5 วันที่ 24 มิถุนายน 2566 ณ ม.3 บ้านเขาน้อย ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล


09.00น. – 09.30น. - ลงทะเบียน
09.30น. - 10.00น. - กล่าวต้อนรับโดย นายอภิรัฐ แซะอามา ประธานชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย
10.00น. – 11.30น. - กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว 11.30น. - 12.00น. - กิจกรรมประเมินสภาวะของร่างกาย ความเปลี่ยนแปลง และประเมินการดูเเลสุขภาพ
                                ตนเอง คณะกรรมการเก็บบันทึกข้อมูลสุขภาพ 12.00น. - 13.00น. - รับประทานอาหารเที่ยง 13.00น. – 15.00น. - กิจกรรมให้ความรู้และสาธิต เรื่อง การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยวิทยากรชุมชน 15.00 – 15.30 น. - ถาม-ตอบ : แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน 15.30 – 16.00 น. -ตัวแทน กล่าวแสดงความรู้สึกต่อกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ - เสร็จสิ้นกิจกรรม

 

50 0

3. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 2/4

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) คณะกรรมการ 4 คน ได้ลงเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในกลุ่มเป้าหมาย 4 คน (รวมเป็น 3 โซน โซนละ 4 คน)ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่าง คกก.และกลุ่มเป้าหมาย ได้พูดคุยให้กำลังใจและสอบถามความเป็นอยู่ รวมทั้งได้ซื้อของเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย นำของเยี่ยมไปเยี่ยมกลุ่มเป้าาหมาย ได้บันทึกข้อมูลความเจ็บป่วยของกลุ่มเป้าหมาย ได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพกับผู้ป่วยและผู้ดูแล

ผลลัพธ์ (Outcome) กลุ่มเป้าหมาย 12 คน ได้รับการเยี่ยมบ้าน ได้กำลังใจ และรู้สึกผ่อนคลาย คณะกรรมการ 13 คน เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ได้รู้จักการแบ่งหน้าที่ และลงเยี่ยมบ้านตามแผน คณะกรรม 13 คน มีทักษะการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์และไว้วางใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง 1.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย จำนวน 13 คน ประชุมเตรียมการด้วยการวางเเผนลงเยี่ยมบ้าน ซึ่งมีทั้งหมด 3 โซน 2.เตรียมแบบสอบถาม โดยประเด็นการตั้งคำถามนั้น มาจากการตกลงร่วมกัน

 

16 0

4. การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ครั้งที่ 2/2

วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต 1.มีสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพ และการอบรม จำนวน 50 คน
2.สมาชิกชมรมผู้งสูอายุจำนวน 50 คน ได้ตรวจสุขภาพประจำเดือน
3.สมากชิกชมรมได้รับความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย ด้วยเทคนิควิธีจากวิทยากร

ผลลัพธ์ 1.สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม นำความรู้ เทคนิควิธีที่ได้จากการอบรมและกระบวนท่าออกกำลังกายจากอุปกรณ์ อย่างยางยืดไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.คำเเนะนำจากการตรวจสุขภาพเบื้องต้นกลับไปปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพกายใจที่ดี
3.ผู้เข้าร่วมรักในการเข้าร่วมกิจกรรม มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และให้ความสนใจในการอบรมความรู้ และมีการถามตอบเพื่อการทบทวนความเข้าใจ
4.มีสมาชิกชมรมที่เป้นต้นเเบบในการดูแลสุขภาพ ทั้งการออกกำลังกาย การกินอาหาร การพักผ่อนที่สามารถทำให้ค่าดัชนีมวลกายลดลงได้จากการใส่ใจในการดูแลสุขภาพ ผู้เข้าร่วมให้คำชื่นชม และให้กำลังจ ผู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เกิดความภาคภูมิใจและจะทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายและใจมีสุขต่อเนื่อง
4.ผู้เข้าร่วมได้เทคนิคการทำให้จิตใจผ่อนคลาย เกิดความต่อเนื่องของการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง จัดขึ้นจากความสนใจของสมาชิกผู้สูงอายุที่ร่วมกันตกลงทำกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพทั้งกายใจให้เเข็งเเรง และความต้องการได้รับความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง ให้ห่างไกลจากความเจ็บป่วย หรือให้เจ็บป่วยน้อยลง รวมทั้งสร้างความเพลิดเพิลน บรรเทิงใจเมื่อชมรมผู้สูงอายุได้ออกมาพบปะทำกิจกรรมร่วมกัน คลายความเหงาและได้รับเทคนิควิธีกลับไปปฏิบัติในการดูแลสุขภาพให้เเข็งเเรง จึงได้เชิญวิทยากร นายรอน หลีเยาว์ วิทยากรเชี่ยวชาญด้านการออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมาให้ความรู้และมีกิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและการทำจิตใจให้มีความสุข ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมโทรมในด้านต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ
คำว่า "สุขภาพ" หมายถึง
  "การที่มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บในทุก ส่วนต่างๆ ของร่างกาย การที่มีสุขภาพจิตดี และสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข ผู้มีสุขภาพดีจะถือได้ว่าเป็นกำไรของชีวิต เพราะทำให้ผู้เป็นเจ้าของชีวิตใช้ชีวิตอยู่ ได้อย่างเป็นสุข"
ปัญหาของผู้สูงอายุ ทั้ง 4 มิติ กาย : เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรัง จิต : ภาวะอารมณ์แปรปรวน, ภาวะเครียด, วิตกกังวล   โรคจิตเภท, โรคสมองเสื่อม สังคม : ความสัมพันธ์ในครอบครัว, ความยากจน ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากที่เจ็บป่วย
  และถูกทอดทิ้ง ส่งผลต่อด้าน จิตใจ คือ กังวลใจ ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย จิตวิญญาณ : ตัวแปรที่มี ต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ ได้แก่ การ   สนับสนุนทางสังคม สถานทางเศรษฐกิจ และการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา
อุปกรณ์ การออกกำลังกายด้วยเปลผ้าโสร่ง/ยางยืด 1.ยางยืด  2.ไม้กลม  3.ผ้าโสร่ง (ยางยืด: ใช้วัสดุยางในรถ หรือยางยืดรัดของ เป็นยางยืดใช้แทนสปริง) ข้อควรระวัง: ระวังในการใช้ยางยืดในรายที่มีอาการปวด อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ วิธีทำ 1. ใช้เชือกหรือยางยืดผูกปลายด้านหนึ่งกับที่ยึดโยงให้มั่น และปลายเชือกหรือยางอีกด้านหนึ่งผูกกับไม้กลมขนาดพอเหมาะให้แน่นโดยให้ปลายไม้ทั้ง 2 ด้านยื่นออกมาเล็กน้อยประมาณ 1 คืบ 2. ฟั่นผ้าโสร่งแล้วสอดไว้ที่ปลายไม้ที่ยื่นออกมาแล้ว ล็อคเป็นปมไว้ทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันผ้าหลุด

 

50 0

5. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 3/4

วันที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1.คณะกรรมการ 12 คน ได้ลงเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในกลุ่มเป้าหมาย 12 คนติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ทราบปัญหา ความต้องการ และศักยภาพของกลุ่มเปราะบางมากยิ่งขึ้น
2.ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่าง คกก.และกลุ่มเป้าหมาย ได้พูดคุยให้กำลังใจและสอบถามความเป็นอยู่
3.ได้ทำเมนูเครื่องดื่มสมุนไพรดูแลสุขภาพไปเป็นของฝากเยี่ยม 4.ได้บันทึกข้อมูลความเจ็บป่วยของกลุ่มเป้าหมาย ได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพกับผู้ป่วยและผู้ดูแล 5.กลุ่มเป้าหมาย 12 คน ได้รับการเยี่ยมบ้าน ได้กำลังใจ และรู้สึกผ่อนคลาย ผลลัพธ์ (Outcome)
1.คณะกรรมการ 13 คนเกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ได้รู้จักการแบ่งหน้าที่ และลงเยี่ยมบ้านตามแผน 2.คณะกรรม 13 คน มีทักษะการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์และไว้วางใจ 3.เกิดการออกแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนเปราะบางที่ต่อยอดจากศักยภาพของกลไกคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ 4.มีข้อมูลการลงพื้นที่ส่งต่อให้หน่วยงานในพื้นที่หนุนเสริมและเกิดการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง 1.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย จำนวน 13 คน ประชุมเตรียมการด้วยการวางเเผนลงเยี่ยมบ้าน ซึ่งมีทั้งหมด 3 โซน 2.เตรียมแบบสอบถาม โดยประเด็นการตั้งคำถามนั้น มาจากการตกลงร่วมกัน วันที่ 5 สิงหาคม 2566  คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยซึ่งดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสตูลร่วมกับอบจ.สตูลโดยโครงการพลังชุมชนฯภาคใต้เป็นพี่เลี้ยงการดำเนินงานในพื้นที่และประสานงานร่วมกัน ได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน (ครัวเรือนเปราะบาง 11 ครัวเรือน ผู้เปราะบางกลุ่มพิการ และผู้สูงอายุติดบ้านที่มีปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วย/โรคประจำตัว และปัญหาที่อยู่อาศัย) ทั้งหมด 3 โซน ความถี่ของคณะกรรมการชมรมฯลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนั้นจัดต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง สืบเนื่องจากการลงเยี่ยม พูดคุยและติดตามการดูแลสุขภาพครั้งที่ผ่านๆมา ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายมักเล่าให้ฟัง จึงเริ่มคิดเรื่องอาหาร ทดลองทำเมนูสุขภาพส่งความห่วงใยให้กลุ่มเป้าหมาย ทำเมนูเครื่องดื่มสมุนไพรง่ายๆที่ทีมสามารถทำได้ โดยนำความรู้จากกิจกรรมห้องเรียนสุขภาพมาใช้ นอกจากมีเมนูสุขภาพต่อส่งให้กับกลุ่มเปราะบางแล้วยังสามารถเป็นแนวทางที่ดีให้กับผู้ดูแลกลุ่มเปราะบางนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ด้วย
ได้ทำเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อมอบให้กลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ได้ติดตามการดูแลสุขภาพ สร้างความสัมพันธ์ ให้กำลังใจต่อเนื่อง เรียนรู้การทำงานร่วมกันและออกแบบการดูแลระหว่างกัน และนำความต้องการช่วยเหลือหารือกับหน่วยงานในพื้นที่ต่อไป

 

16 0

6. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 5/6

วันที่ 9 สิงหาคม 2566 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.มีคณะกรรมการ 13 คน เข้าร่วมการประชุม
2.ได้นัดหมาย แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรม 3.มีแผนการดำเนินงานกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 4,5
4.มีเเผนกิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ 1.เกิดแกนนำด้านการดูแลผู้สูงอายุต่อเนื่องในชุมชน 2.เกิดทักษะการจัดการงานกิจกรรมโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการชมรมผู้สู.อายุจำนวน 13 คน ใช้เวลา (3 ชั่วโมง) เป็นการประชุมความคืบหน้าการทำโครงการ ติดตามการดำเนินงาน และการสรุปกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งวางเเผนการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุต่อไป

 

13 0

7. กิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการเงินให้กับโครงการย่อย

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ผู้สนับสนุนได้ทราบความก้าวหน้าของโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย การดำเนินเอกสารการเงินเรียบร้อย 2.ชมรมผู้สูงอายุได้รับคำแนะนำ เพื่อนำไปกระตุ้นฝหนุนเสริมให้การทำงานของโครงการสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย 3.ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
ผลลัพธ์กิจกรรม 1.แกนนำชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ได้แนวทางไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมในพื้นที่ต่อไป
2.เกิดการแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกับโครงการย่อยอื่นๆในจังหวัดสตูล ผลกระทบกิจกรรม 1.นำไปสู่การสร้างเครือข่ายเรียนรู้ระหว่างโครงการย่อยในพื้นที่จังหวัดสตูล ในประเด็นการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้คนในชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การชี้เเจงเพื่อปิดงวด 1 และการเคลียร์เอกสารการเงิน การชี้เเจงการดำเนินกิจกรรมในงวดที่ 2 การเเลกเปลี่ยนประเด็นที่เกิดปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานในพื้นที่

 

0 0

8. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 4/5

วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต -ชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพกายและใจที่ดี เเละเป็นการพบปะเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน เข้าร่วมจำนวน 50 คน
-ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้ประเมินสุขภาพของตนเองเบื้องต้น เช่น น้ำหนัก รอบเอว  เพื่อจะได้ดูแลตัวเองให้เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูเเลสุขภาพตนเองให้ดีขึ้น
-ผู้เข้าร่วมได้ ร่วมกันทำเมนูอาหารสุขภาพ ได้เเก่ แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน ยำหัวปลีปลาย่าง -สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้สูงอายุให้มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ จากต้นแบบของเพื่อนผู้สูงอายุ -ผลลัพธ์ -ผู้เข้าร่วมร้อยละ 80 ตระหนักถึงผลของการตรวจสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการควบคุมตนเองเเละเกิดเเรงบันดาลใจจากเพื่อนที่มีผลสุขภาพดีขึ้น ส่งผลให้นำไปปฏิบัติตาม เเละเกิดการเเลกเปลี่ยนร่วมกันถึงวิธีการดูเเลตนเองที่เหมาะสม ให้สุขภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น -เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเมนูสุขภาพ และสร้างวัฒนธรรมชมรมสู่การส่งเสริมสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน -มีพื้นที่สร้างสรรค์ทำกิจกรรมสำหรับกลุ่มวัยเดียวกัน ฝึกความกล้าเเสดงออก ฝึกการพูดคุยในที่สาธารณะ กลุ่มเป้าหมายเห็นคุณค่าในตนเอง -ต้นแบบผู้สูงอายุสุขภาพดีสามารถสร้างแรงบันดาลใจด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สร้างการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพให้กับผู้สูงอายุคนอื่นๆ ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมตรวจสุขภาพ โดยมีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุคอยอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ เตรียม วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งวัตถุดิบในการทำ โดยเเต่ละโซนมีการร่วมด้วยช่วยกัน
ร่วมกันทำเมนูอาหารสุขภาพ เเละเเลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เมนูอาหารร่วมกัน เเลกเปลี่ยน สอบถาม เเละช่วยกันเสนอเเนะเมนูสุขภาพที่เเต่ละโซนเเบ่งกันทำ เเละได้ชี้เเจงรายละเอียดเมนูสุขภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ เทคนิคกลับไปใช้ต่อได้

 

50 0

9. กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 5/5

วันที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มชมรมผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ ก่อนเริ่มทำกิจกรรม 2.กลุ่มชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยจำนวน 50 คน ได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำน้ำสมุนไพร
3.ได้ขยายองค์ความรู้การทำน้ำสมุนไพรขมิ้นชัน
4.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเกี่ยวกับการทำเมนูอาหารสุขภาพ ผลลัพธ์ 1.การบริหารจัดการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของคนในชมรมผู้สูงอายุโดยกลไกชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย 2.สมาชิกชมรมฝึกการเป็นวิทยากร สามารถบรรยายให้ความรู้ และบริหารจัดการกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถนำผลไปขยายต่อ หรือนำรูปแบบกิจกรรมไปขยายต่อในพื้นที่อื่นๆที่สนใจเรื่องการทำน้ำขมิ้นชันต่อไปได้ 3.ผู้เข้าร่วม จำนวน 46 คน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีสุขภาพกายเเละจิตดีจากการได้พบปะเเละทำกิจกรรมชมรมร่วมกัน 4.ร้อยละ 70 มีสุขภาพที่ดีขึ้น จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ช่วงเช้าเป็นการเดินออกกำลังกายบนถนนสายสุขภาพ ต่อด้วยการตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อประเมินความเปลี่ยนเเปลงของตนเอง หลังจากนั้นร่วมกันเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับทำน้ำสมุนไพรขมิ้นชัน มีการให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำสมุนไพรขมิ้นชัน หลังจากนั้นวิทยากรบรรยายรูปแบบกิจกรรม ผ่านการสาธิตทุกขั้นตอนการทำเพื่อให้เพื่อสมาชิกชมรมสามารถนำกลับไปทำต่อที่บ้านได้ เเละต่อด้วยกิจกรรมฝึกปฏิบัิตเพื่อการเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมทุกคน ได้ฝึกปฏิบัติ เเละเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกัน

 

50 0

10. การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 4/4

วันที่ 3 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ผลผลิต (Output) คณะกรรมการ 4 คน ได้ลงเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในกลุ่มเป้าหมาย 4 คน ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่าง คกก.และกลุ่มเป้าหมาย ได้พูดคุยให้กำลังใจและสอบถามความเป็นอยู่ รวมทั้งได้ซื้อของเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย ได้บันทึกข้อมูลความเจ็บป่วยของกลุ่มเป้าหมาย ได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพกับผู้ป่วยและผู้ดูแล

ผลลัพธ์ (Outcome) กลุ่มเป้าหมาย 12 คน ได้รับการเยี่ยมบ้าน ได้กำลังใจ และรู้สึกผ่อนคลาย คณะกรรมการ 13 คน เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ได้รู้จักการแบ่งหน้าที่ และลงเยี่ยมบ้านตามแผน คณะกรรม 13 คน มีทักษะการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์และไว้วางใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง 1.คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย จำนวน 13 คน ประชุมเตรียมการด้วยการวางเเผนลงเยี่ยมบ้าน ซึ่งมีทั้งหมด 3 โซน 2.เตรียมแบบสอบถาม โดยประเด็นการตั้งคำถามนั้น มาจากการตกลงร่วมกัน

 

16 0

11. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 6/6

วันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 19:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงาน 13 คน เข้าใจเเนวทางการดำเนินกิจกรรมโครงการอย่างลึกซึ้ง พร้อมรับฟัง และเเก้ไขปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานร่วมกัน เกิดบทเรียนการทำงานร่วมกัน นำไปสู่ได้เเผนการดำเนินกิจกรรมที่คงเหลือให้เป็นไปตามตัวชี้วัด เกิดทักษะการเรียนรู้จากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ทำงานประเด็นผู้สูงอายุ เกิดความรู้เพิ่มในการสรุปข้อมูลของผู้สูงอายุ คณะทำงานให้ความสำคัญการกับทำงานเป็นทีมและการทำงานเพื่อช่วยเลือคนในชุมชนให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมความก้าวหน้าการดำเนินโครงการที่ผ่านมา บทเรียนการทำโครงการร่วมกัน -วางแผนการสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนหลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย -วางแผนเตรียมต้อนรับคณะอนุกรรมการ ติดตามการดำเนินโครงการย่อย ครั้งที่ 2 -วางแผนจัดกิจกรรมเวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน -วางแผนกิจกรรมถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

 

13 0

12. การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 2/2

วันที่ 17 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ทราบข้อมูลหลังจากการสัมภาษณ์ ทั้งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมและ ผู้สูงอายุในชุมชน ทำให้ทรายว่า กิจกรรมที่ดำเนินในโครงการมีประโยชน์กับผู้เข้าร่วมที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง มีสังคม ผู้สูงอายุหลายท่านที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ได้รับความสัมพันธ์ที่ดี ผู้สูงอายุมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมที่เหมาะสม และได้พัฒนาทักษะที่นำไปสู่การเกิดรายได้ และมีคุณค่าในตนเอง การได้พบปะเพื่อนวัยเดียวกัน ทำให้สุขภาพกายและใจดี ได้มีโอกาสถามมสารทุกข์สุขดิบ เหมือนได้ย้อนความหลัง มีเสียงหัวเราาะ รอยยิ้ม และได้ทพกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการกิน การอยู่ อารมณ์ เเละทำจิตใจให้เบิกบาน พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 80 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เกิดการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว เช่น การรับประทานอาหารสุขภาพเน้นการรับประทานผักและปรุงให้น้อยที่สุด รวมทั้งเกิดการรวมตัวออกกำลังกายบนถนนสายสุขภาพชุมชนอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 85 สามารถจัดการความเครียดในชีวิตประจำวันได้ด้วยการออกมาพบปะทำกิจกรรมหรือพูดคุยกับคนในครอบครัว และเพื่อนวัยเดียวกัน  พฤติกรรมการบริโภคอาหาร บริโภคผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 85 นำความรู้จากห้องเรียนไปใช้ได้จริงในครัวกว่า 45 คน มีผู้สูงอายุต้นเเบบที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม 8 ท่าน เกิดการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมกองทุนผู้สูงอายุเพื่่อดูเเลเพื่อนผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการจำนวน 13คน ร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ จัดทำข้อมูลภายหลังสมาชิกชมรมได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพ ผ่านการสัมภาษณ์ บันทึกลงในแบบฟอร์ม

 

13 0

13. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 18 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.กลุ่มเป้าหมาย 50 คน ได้ร่วมกันถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2.ผู้สูงอายุมีความเครียดอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 80 จำนวน 40 คน 2. ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายและแกนนำได้ออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100 (จำนวน 100 คน) 3.ชมรมผู้สูงอายุเข้มเเข็งขึ้น เป็นศูนย์กลางของการประสานงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และการติดตามสุขภาพ เยี่ยมเยือนบ้าน 4.เกิดทักษะการเรียนรู้ร่วมกันหลายด้าน ทำให้สามารถนำสิ่งที่ได้จากกิจกรรมไปเเนะนำผู้อื่นต่อไป 5.เกิดหน่วยงานเข้ามาหนุนเสริมพลัง จัดกระบวนการให้กับกลุ่มชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย 6.ชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อยได้จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ดำเนินงานด้านผู้สูงอายุกับ พมจ.สตูล 7.ผู้สูงอายุร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูเเลสุขภาพกายและจิตใจดี จากการเข้าร่วมกิจกรรมชมรม และการปรับพฤติกรรมการกิน
8.เกิดกลไกอาสาสมัครดูเเลผู้เปราะบางในชุมชน ซ฿่งเป้นคณะทำงานของชมรมผู้สูงอายุ 9.ชมรมผู้สูงอายุระดับบ้าน มีกลไกกรรมการที่เข้มแข็ง มีการประสานที่ดี สามารถเผยแพร่ข่าวสารให้แก่ผู้สูงอายุในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ 10.ชมรมผู้สูงอายุได้ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุในหมู่บ้านซึ่งเป็นกิจกรรมของชมรมที่จะร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยภายใน -ชมรมผู้สูงอายุมีการทำงานเป็นทีมการประสานงานระหว่างคณะกรรมการ 3 โซน ดูแลผู้สูงอายุในโซนรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสม ทั้งเชิญชวนร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง -ประธานชมรมและคณะกรรมการชมรมมีความตั้งใจในการขับเคลื่อนงานชมรมผู้สูงอายุและมีความเชื่อมั่นและเห็นความสำคัญของชมรมผู้สูงอายุที่จะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุได้

ปัจจัยภายนอก มีภาคีเครือข่ายการทำงานและการประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เเละหน่วยงานอื่นๆ เข้ามามีการประสานความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุ บทเรียนจากการดำเนินงาน 1.ภาคีเครือข่ายมีความสำคัญหากชมรมผู้สูงอายุมีการประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุจะสามารถนำความรู้จากหน่วยงานต่างๆมาช่วยในการแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุในพื้นที่ของตนเอง 2.ชมรมผู้สูงอายุระดับหมู่บ้านเป็นศูนย์กลางประสานงานด้านต่างๆ จากหน่วยงานราชการหรือองค์กรต่าง ๆ ที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 3.ชมรมผู้สูงอายุระดับหมู่บ้านมีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ หากไม่มีกลไกระดับหมู่บ้านในการค้นหาปัญหาและการทำแผน ปัญหาผู้สูงอายุก็จะไม่ถูกแก้ไข 4.ความร่วมมือ ความพร้อม ความตั้งใจ ของคนในชมรมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมดำเนินลุล่วงไปได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โดยเชิญสมาชิกชมรมผู้สูงอายุและคณะทำงาน จำนวน 50 คน และภาคีเครือข่ายอื่นๆ 5 คน รวมเป็น 55 คน มาร่วมกันฟัง การนำเสนอผลการทำงานโครงการ และมีการสรุปโครงการ โดยวิทยากรกระบวนการมาร่วมจัดกิจกรรม ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสรุปความคิดเห็น ข้อเสนอ เพื่อนำไปปรับใช้ในโครงการต่อไป -ใช้ระยะเวลา 1 วัน โดยการเตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจ ย้อนความทรงจำการทำโครงการร่วมกัน และวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ

 

50 0

14. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันที่ 26 กันยายน 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ตัวแทนโครงการที่เข้าร่วม จำนวน 3 คน
-การถอดบทเรียนร่วมกับโครงการผู้สูงอายุร่วมกับโครงการย่อยอื่น พบประเด็นที่เป็นจุดร่วมกันดังนี้    ปัจจัยวิธีสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านเขาน้อยคือ การมีคณะทำงานที่เข้มเเข็ง สามารถร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนงานในพื้นที่ทั้งการออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มชมรม การสำรวจสถานการณ์เเละดึงกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม  รวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มชมรม ทำให้กิจกรรมดำเนินไปได้ การมีข้อตกลงที่ชัดเจนทั้งในเรื่องการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การเข้าร่วมกิจกรรมชมรม  มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่น
-ชมรมได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆเข้ามาช่วยหนุนเสริมในการทำงานในพื้นที่และการขับเคลื่อนกิจกรรม  ได้เเก่ โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านซื่อ โรงพยาบาลควนโดน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การประชุมร่วมกับแผนงานร่วมทุนฯอบจ.สตูลเพื่อให้คณะทำงานโครงการย่อย ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานก่อนสรุปปิดโครงการ มีประเด็นที่เรียนรู้ร่วมกันดังนี้ 1.ปัจจัยหรือผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์ในแต่ละประเด็นที่สำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ 2.ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและแนวทางแก้ไขที่โครงการย่อยประสบและดำเนินการ 3.ความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่สรุปก่อนปิดโครงการ 4.การนำผลไปสู่การขยายไปยังพื้นที่อื่นในอนาคต

 

0 0

15. จัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

วันที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการที่เสร็จสิ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คีย์ข้อมูลรายงานการดำเนินงานโครงการผ่านระบบออนไลน์ จัดทำรูปเล่มรายงาน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 32 31                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 80,742.00                    
คุณภาพกิจกรรม 124                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายอภิรัฐ แซะอามา
ผู้รับผิดชอบโครงการ