directions_run

17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ 17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 65-10154-018
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ -
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนันทวัฒน์ เต๊ะสมัน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 086-2861896
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ nantawat4871@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางซอร์ฟีเย๊าะ สองเมือง
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 1 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.8001895859235,100.1302360785place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2566 15 มิ.ย. 2566 5 ม.ค. 2566 15 มิ.ย. 2566 50,000.00
2 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 16 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 25,000.00
3 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่น หมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีอายุระหว่าง 9-19 ปีซึ่งนับเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา โดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือมีการพัฒนาทางร่างกายโดยเฉพาะในการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ จนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการด้านจิตใจ ซึ่งเป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้ด้วยตนเองหรือมีสิทธิ์ทางกฎหมายในด้านต่างๆ ในด้านพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ พบว่าวัยรุ่นอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน ดังนั้นวัยรุ่น จึงเป็นวัยที่ถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตนเอง รวมถึงขาดทักษะในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง ในด้านต่างๆเช่น ขับรถประมาท การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาสังคมที่ซับซ้อนและส่งผลให้สังคมเปราะบางขาดความมั่นคง ขาดการพัฒนา และไม่สามารถสร้างคนคุณภาพ Thailand 4.0 ได้ กระทบต่อสถาบันครอบครัว เกิดการหย่าร้างง่ายขึ้น และเด็กที่เกิดจากหญิงวัยรุ่นจะถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 10-14 ปี หรือ 15-19 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย จากสถิติของ องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น วัยเรียนสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชียอาคเนย์ เฉลี่ยอายุ 12 ปี และไม่เกิน 19 ปี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดสตูล ในปี 2565 มีจำนวนการตั้งครรภ์ของหญิงอายุน้อยกว่า 15 ปี จำนวน 12 ราย คลอดบุตร จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.07 ตั้งครรภ์ในหญิงอายุ 15 - 19 ปี จำนวน 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.40 สำหรับในพื้นที่ตำบลวังประจัน มีจำนวนการตั้งครรภ์และคลอดในหญิงอายุ 14 - 19 ปี ในปี 2563 – 2565 จำนวน 1 3 และ 3 ราย ตามเรื่องเพศศึกษา ซึ่งเป็นการคลอดก่อนการสมรส และเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นในระหว่างที่กำลังศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและ กศน.ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นลำดับ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง และ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ตำบลวังประจันในปัจจุบัน คือ หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ช้า ทำให้กระบวนการในการคัดกรองครรภ์เสี่ยงล่าช้าตามไปด้วย ทำให้ไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงได้ ทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักน้อย จากสถิติ ในปีงบประมาณ 2563 มีทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย มารจำนวน 1 ราย ปีงบประมาณ 2564 มีหญิงตั้งครรภ์ฝากท้องล่าช้า จำนวน 3 ราย ทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย จำนวน 2 ราย และไม่ได้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่ เนื่องจากขาดทักษะและไม่มีความอดทนมากพอในการให้นมบุตร ปีงบประมาณ 2565มารดามีภาวะตกเลือดหลังคลอด 1 ราย เนื่องจากมารดามีภาวะซีดและเป็นโรคอ้วน มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์และเกิดการหย่าร้างหลังคลอด จำนวน 1 ราย เนื่องจากปัญหาขาดความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ซึ่งปัญหาดังที่กล่าวมาเกิดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 19 ปีทั้งสิ้น การขับเคลื่อนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของตำบลวังประจันยังขาดความต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วน เพื่อการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ชุมชนบ้านทุ่งมะปรังจึงจัดโครงการวัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ เพื่อสร้างทักษะชีวิตและสร้างแกนนำวัยใสร่วมกันป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้ง ชมรม STOP TEEN MOM ส่งเสริมการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของวัยรุ่น
  1. เกิดชมรม STOP TEEN MOM เพื่อหยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในหญิงวัยรุ่นวัยเรียน โดยจัดตั้งชมรมขึ้นในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
1.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิต เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  1. สมาชิกชมรมได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิต มีความรู้ความเข้าใจ รวมถึงทักษะการใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. มีครอบครัวต้นแบบ 5 ครอบครัว และวัยรุ่นต้นแบบ 10 คน
3 เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น)
  1. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น)
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง : กลุ่มเยาวชน อายุ 12 – 19 ปี 50 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก : แกนนำกลุ่มในชุมชน 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66
1 กิจกรรมดำเนินงานร่วมกับ สสส(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 5,366.00                      
2 คณะทำงานจัดประชุมเพื่อกำหนดบทบาทและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน(7 ก.พ. 2566-21 ก.ย. 2566) 4,800.00                      
3 ส่งเสริมการสร้างกระแสชุมชนและสร้างความตระหนักในการป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น(25 เม.ย. 2566-31 พ.ค. 2566) 14,100.00                      
4 จัดกิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM(7 มิ.ย. 2566-8 มิ.ย. 2566) 49,280.00                      
5 ชมรม STOP TEEN MOM ดำเนินกิจกรรมในชุมชน(6 ส.ค. 2566-6 ส.ค. 2566) 1,530.00                      
6 ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน(15 ก.ย. 2566-15 ก.ย. 2566) 5,290.00                      
รวม 80,366.00
1 กิจกรรมดำเนินงานร่วมกับ สสส กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 11 5,366.00 8 5,545.97
5 ม.ค. 66 - 31 ต.ค. 66 ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการ ,ตราสัญลักษณ์โครงการ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรม 0 1,000.00 1,178.00
7 ก.พ. 66 ประชุมคลี่โครงการ 0 0.00 0.00
28 ก.พ. 66 ค่าเดินทางเข้าร่วมประชุมกับ สสส. 3 600.00 600.00
27 เม.ย. 66 ค่าเดินทาง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 900.00 900.00
18 ส.ค. 66 ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการใช้เงินให้กับโครงการย่อย 2 242.00 242.00
26 ก.ย. 66 ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมกับ สสส 2 624.00 624.00
29 ก.ย. 66 ค่าจัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ 1 2,000.00 2,000.00
7 พ.ย. 66 คืนดอกเบี้ย 0 0.00 1.97
2 คณะทำงานจัดประชุมเพื่อกำหนดบทบาทและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 4,800.00 4 4,800.00
7 ก.พ. 66 ประชุมครั้งที่ 1/4 30 1,050.00 1,050.00
2 พ.ค. 66 ประชุมครั้งที่ 2/4 30 1,650.00 1,650.00
20 ก.ค. 66 ประชุมครั้งที่ 3/4 30 1,050.00 1,050.00
8 ก.ย. 66 ประชุมครั้งที่ 4/4 30 1,050.00 1,050.00
3 ส่งเสริมการสร้างกระแสชุมชนและสร้างความตระหนักในการป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 14,100.00 4 13,600.00
25 มี.ค. 66 รณรงค์และสร้างกระแส ในโรงเรียนตาดีกา มัสยิดบ้านทุ่งมะปรัง 30 7,450.00 7,450.00
18 พ.ค. 66 รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในกศน.ตำบลวังประจัน 30 2,050.00 2,050.00
20 พ.ค. 66 รณรงค์และสร้างกระแส ในชุมชน บ้านทุ่งมะปรัง 30 2,050.00 2,050.00
1 มิ.ย. 66 รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง 30 2,550.00 2,050.00
4 จัดกิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 83 49,280.00 1 46,940.00
10 - 11 มิ.ย. 66 กิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM 83 49,280.00 46,940.00
5 ชมรม STOP TEEN MOM ดำเนินกิจกรรมในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,530.00 1 1,530.00
19 ส.ค. 66 ชมรม STOP TEEN MOM ติดตามและสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกชมรม STOP TEEN MOM ถึง พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน 30 1,530.00 1,530.00
6 ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 5,290.00 1 4,500.00
15 ก.ย. 66 ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน 30 5,290.00 4,500.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,530.00 3 3,530.00
16 ม.ค. 66 ถอนเงิน เปิดบัญชี 500 บาท 0 500.00 500.00
22 พ.ค. 66 ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการครั้งที่ 1 0 500.00 500.00
26 พ.ค. 66 ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการ 0 2,530.00 2,530.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ
- มีครัวเรือนต้นแบบ เยาวชนต้นแบบ และชมรม STOP TEEN MOM 2.เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุนของ สสส. หมดลง จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร - ดำเนินการขับเคลื่อน ชมรม STOP TEEN MOM ส่งต่อให้กับรุ่นต่อไป 3.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร - รับสมัครสมาชิก ชมรม STOP TEEN MOM ในตำบลวังประจัน เพื่อตำบลวังประจัน มีกฎ กติกาชุมชนเพื่อยึดถือปฏิบัติ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น วัยเรียน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 14:12 น.