directions_run

17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล


“ 17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง ”

หมู่ 1 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายนันทวัฒน์ เต๊ะสมัน

ชื่อโครงการ 17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง

ที่อยู่ หมู่ 1 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 65-10154-018 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 5 มกราคม 2566 ถึง 15 พฤศจิกายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ 1 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง



บทคัดย่อ

โครงการ " 17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ 1 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 65-10154-018 ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 มกราคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

วัยรุ่น หมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีอายุระหว่าง 9-19 ปีซึ่งนับเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา โดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือมีการพัฒนาทางร่างกายโดยเฉพาะในการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ จนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการด้านจิตใจ ซึ่งเป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้ด้วยตนเองหรือมีสิทธิ์ทางกฎหมายในด้านต่างๆ ในด้านพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ พบว่าวัยรุ่นอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน ดังนั้นวัยรุ่น จึงเป็นวัยที่ถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตนเอง รวมถึงขาดทักษะในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง ในด้านต่างๆเช่น ขับรถประมาท การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาสังคมที่ซับซ้อนและส่งผลให้สังคมเปราะบางขาดความมั่นคง ขาดการพัฒนา และไม่สามารถสร้างคนคุณภาพ Thailand 4.0 ได้ กระทบต่อสถาบันครอบครัว เกิดการหย่าร้างง่ายขึ้น และเด็กที่เกิดจากหญิงวัยรุ่นจะถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 10-14 ปี หรือ 15-19 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย จากสถิติของ องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น วัยเรียนสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชียอาคเนย์ เฉลี่ยอายุ 12 ปี และไม่เกิน 19 ปี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดสตูล ในปี 2565 มีจำนวนการตั้งครรภ์ของหญิงอายุน้อยกว่า 15 ปี จำนวน 12 ราย คลอดบุตร จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.07 ตั้งครรภ์ในหญิงอายุ 15 - 19 ปี จำนวน 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.40 สำหรับในพื้นที่ตำบลวังประจัน มีจำนวนการตั้งครรภ์และคลอดในหญิงอายุ 14 - 19 ปี ในปี 2563 – 2565 จำนวน 1 3 และ 3 ราย ตามเรื่องเพศศึกษา ซึ่งเป็นการคลอดก่อนการสมรส และเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นในระหว่างที่กำลังศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและ กศน.ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นลำดับ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง และ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ตำบลวังประจันในปัจจุบัน คือ หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ช้า ทำให้กระบวนการในการคัดกรองครรภ์เสี่ยงล่าช้าตามไปด้วย ทำให้ไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงได้ ทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักน้อย จากสถิติ ในปีงบประมาณ 2563 มีทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย มารจำนวน 1 ราย ปีงบประมาณ 2564 มีหญิงตั้งครรภ์ฝากท้องล่าช้า จำนวน 3 ราย ทารกคลอดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย จำนวน 2 ราย และไม่ได้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่ เนื่องจากขาดทักษะและไม่มีความอดทนมากพอในการให้นมบุตร ปีงบประมาณ 2565มารดามีภาวะตกเลือดหลังคลอด 1 ราย เนื่องจากมารดามีภาวะซีดและเป็นโรคอ้วน มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์และเกิดการหย่าร้างหลังคลอด จำนวน 1 ราย เนื่องจากปัญหาขาดความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ซึ่งปัญหาดังที่กล่าวมาเกิดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 19 ปีทั้งสิ้น การขับเคลื่อนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของตำบลวังประจันยังขาดความต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วน เพื่อการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ชุมชนบ้านทุ่งมะปรังจึงจัดโครงการวัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ เพื่อสร้างทักษะชีวิตและสร้างแกนนำวัยใสร่วมกันป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อจัดตั้ง ชมรม STOP TEEN MOM ส่งเสริมการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของวัยรุ่น
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิต เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  3. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมดำเนินงานร่วมกับ สสส
  2. ถอนเงิน เปิดบัญชี 500 บาท
  3. คณะทำงานจัดประชุมเพื่อกำหนดบทบาทและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  4. ส่งเสริมการสร้างกระแสชุมชนและสร้างความตระหนักในการป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น
  5. ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการครั้งที่ 1
  6. ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการ
  7. จัดกิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM
  8. ชมรม STOP TEEN MOM ดำเนินกิจกรรมในชุมชน
  9. ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน
  10. ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการ ,ตราสัญลักษณ์โครงการ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรม
  11. ประชุมครั้งที่ 1/4
  12. ประชุมคลี่โครงการ
  13. ค่าเดินทางเข้าร่วมประชุมกับ สสส.
  14. รณรงค์และสร้างกระแส ในโรงเรียนตาดีกา มัสยิดบ้านทุ่งมะปรัง
  15. ค่าเดินทาง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  16. ประชุมครั้งที่ 2/4
  17. รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในกศน.ตำบลวังประจัน
  18. รณรงค์และสร้างกระแส ในชุมชน บ้านทุ่งมะปรัง
  19. รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง
  20. กิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM
  21. ประชุมครั้งที่ 3/4
  22. ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการใช้เงินให้กับโครงการย่อย
  23. ชมรม STOP TEEN MOM ติดตามและสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกชมรม STOP TEEN MOM ถึง พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน
  24. ประชุมครั้งที่ 4/4
  25. ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน
  26. ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมกับ สสส
  27. ค่าจัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์
  28. คืนดอกเบี้ย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายรอง : กลุ่มเยาวชน อายุ 12 – 19 ปี 50
กลุ่มเป้าหมายหลัก : แกนนำกลุ่มในชุมชน 30

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ
- มีครัวเรือนต้นแบบ เยาวชนต้นแบบ และชมรม STOP TEEN MOM 2.เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุนของ สสส. หมดลง จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร - ดำเนินการขับเคลื่อน ชมรม STOP TEEN MOM ส่งต่อให้กับรุ่นต่อไป 3.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร - รับสมัครสมาชิก ชมรม STOP TEEN MOM ในตำบลวังประจัน เพื่อตำบลวังประจัน มีกฎ กติกาชุมชนเพื่อยึดถือปฏิบัติ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น วัยเรียน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการ ,ตราสัญลักษณ์โครงการ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรม

วันที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการ ,ตราสัญลักษณ์โครงการ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการ ,ตราสัญลักษณ์โครงการ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรม

 

0 0

2. ค่าเดินทางเข้าร่วมประชุมกับ สสส.

วันที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อปรึกษาพี่เลี้ยงและเข้าร่วมประชุมกับ สสส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อปรึกษาพี่เลี้ยงและเข้าร่วมประชุมกับ สสส.

 

3 0

3. ถอนเงิน เปิดบัญชี 500 บาท

วันที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถอนเงิน เปิดบัญชี 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถอนเงิน เปิดบัญชี 500 บาท

 

0 0

4. ประชุมคลี่โครงการ

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

พี่เลี้ยงโครงการแจกแจงรายละเอียดของแผนและการดำเนินการในโครงการ โดยการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานตามแผน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง : ได้มีการนัดพี่เลี้ยง คุณซอร์ฟีเย๊าะ สองเมือง เพื่อ ร่วมแจกแจงรายละเอียดให้กับคณะทำงานในโครงการ รวมถึงแกนนำหลักที่สนใจ

            เข้าร่วมรับฟังโดยมีแกนนำหลักเข้าร่วมประชุม รายชื่อ ดังนี้

            1. กำนันตำบลวังประจัน นายเรวัฒน์ บูอีตำ

            2. ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 นายมาแอน ปานกลาย

            3. อบต. ม.1 นาย กอเฉ็ม โต๊ะดุสน

            4. อีหม่าม ม.1 นายกอดาษ เจ๊ะด๊ะ

            5. ครูอนามัยโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง นางสาว โซโรดา หลังแดง

            6. ครูกศน.ตำบลวังประจัน นาง วนิดา รักเมือง
            7. ผู้นำองกรค์อิสระ นาย ปฏิวัติ ปะดุกา

            8. ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย นันทวัฒน์ เต๊ะสมัน ประธาน อสม.1 บ้านทุ่งมะปรัง

            9. เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ นายอิสมาแอน อุสนุน  เจ้าหน้าที่ธุรการ รพ.สต. วังประจัน

            10. คณะทำงานโครงการ นาง อภิยา เหตุทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.วังประจัน
            11. คณะทำงานโครงการ นาง ฮามีดะ หลังยาหน่าย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.วังประจัน

            12. ประธานอสม.ตำบลวังประจัน นาง อาซีซ๊ะ ละใบโดย

ผลผลิต ( Output ) :      มีผู้เข้าร่วมประชุม แจกแจงรายละเอียดโครงการ จำนวน 12 คน
ผลลัพธ์ ( Outcome ) :      ได้มีการนัดประชุม ครั้งต่อไปเพื่อ วางแผนการจัดทำกิจกรรม ได้ตามเป้าหมาย

ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม :  ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนและได้ขยายเป้าหมายให้ ตัวแทนวัยรุ่น อายุ 12 - 19 ปี
                                        เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่ม หมู่บ้านละ 5 คน เพื่อเป็นแกนนำ ในตำบลวังประจำวันได้ครอบคลุม ทั้งตำบล

 

0 0

5. ประชุมครั้งที่ 1/4

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมครั้งที่ 1 เพื่อ ชี้แจง คืนข้อมูลสภาพปัญหา ทำความเข้าใจโครงการ แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนดำเนินงานร่วมกัน เพื่อจัดตั้งชมรม ค้นหากลุ่มเป้าหมายและรับสมัครสมาชิกชมรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต (Output) :  แกนนำเข้าร่วมประชุมและให้ความร่วมมือ วางแผนจัดทำโครงการ จำนวาน 30 คน

ผลลัพธ์ ( Outcom ) : ขยายพื้นที่กลุ่มเป้าหมายโดยรวมทั้งตำบล เพื่อขยายแกนนำให้ครอบคลุมทั้งตำบล
                เพื่อให้ทุกหมู่บ้านมีตัวแทนแกนนำวัยรุ่น โดยมีเป้าหมายหลัก คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรังจำนวน 20 คน

                นักเรียนกศน.ตำบลวังประจันจำนวน 10 คน นักเรียนจากต่างโรงเรียนที่สนใจ อาศัยอยู่ในพื้นหมู่ 1 บ้านทุ่งมะปรัง จำนวน 10 คน

                ตัวแทนวัยรุ่นที่สนใจจาก ม.2, ม.3 ,ม.4 จำนวน 10 คน รวมสมาชิกครบตามเป้าหมายจำนวน 50 คน

                เพื่อจัดตั้งชมรม stop teen momต่อไป

-  ในชุมชนและตำบล มีกฎ กติกาชุมชนเป็น แนวปฏิบัติ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนโดยมี ภาคี เครือข่าย
    ช่วยกัน ออกแบบ กฎ ,กติกา แนวปฏิบัติชุมชน นำเสนอ นายกฯ อบต. วังประจันเพื่อประกาศใช้ทั้งตำบลต่อไป

-  เกิดการแบ่งบทบาทหน้าที่แกนนำ ดังนี้

  1. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่ ติดตามกลุ่มวัยรุ่น อายุ 12-19 ปี เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

    1.1 ร่วมกิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในชุมชน

    1.2 ร่วมประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน กับ คณะทำงาน ในโครงการตามแผน

    1.3 ประสานงานทีมภาคีเครือข่ายทั้งตำบล ให้คำปรึกษาหากพบปัญหาหน้างาน เนื่องจาก ทำงานแบบภาคีเครือข่าย
  2. อบต. ม 1 มีหน้าที่ ร่วมกิจกรรมรณรงค์และสนับสนุนทุกกิจกรรมในโครงการรวมถึงประสานงานกับอบต. ตำบลวังประจัน

  3. อสม. เฝ้าติดตาม กลุ่มเป้าหมาย 12-19 ปี เข้ารับสมัครสมาชิก ชมรม Stop teen mom ในเขตพื้นที่ของตัวเอง
    3.1 อสม. เฝ้าติดตามพฤติกรรมเสี่ยง และ ส่งเสริมการสร้างทักษะชีวิต ในการป้องกันตนเอง ทักษะการคิด

      ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสฎและการมีความมั่นใจในตัวเอง เพื่อ ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน
    3.2  มีหน้าที่ สื่อสาร ช่องทางในการเข้ารับบริการ และ ให้คำปรึกษากับกลุ่มวัยรุ่น อายุ 12-19 ปี ในเขตพื้นที่ตนเอง

    3.3  ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์วัยใส ให้ กับ เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข รพ.สต วังประจัน เพื่อให้ได้รับการดูแล และ คัดกรอง ความเสี่ยงต่อไป

  4.  ผู้นำศาสนา มี หน้าที อบรมทักษะ การนำคำสอน ทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเคร่งครัด

      โดยยึดหลักธรรมนุญแห่งชีวิต เน้นย้ำถึงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

    4.1  รณรงค์สร้างความตระหนักในครอบครัว ผู้ปกครอง เน้นย้ำเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ ในวัยเรียน
      โดยยึดหลัก คำสอน อย่างเคร่งครัด
    4.2  สื่อสารทักษะชีวิตการป้องกันตนเอง ในชั่วโมงการเรียนศาสนา โรงเรียนตาฏีกา และ ชั่วโมงการเรียนสาสนาของผู้ปกครอง

    4.3  ส่งต่อข้อมูล คู่แต่งงานวัยรุ่น อายุ 12-19 ปี ให้กับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. วังประจัน เพื่อเข้ารับการวางแผนครอบครัว
      และวางแผนการตั้งครรภ์คุณภาพได้อย่างเหมาะสม ต่อไป

  5.  แกนนำกลุ่มสตรีมีหน้าที่ ส่งเสริมและสร้างความตระหนักเรื่องป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีการสื่อสารเรื่องทักษะชีวิต
      ในกลุ่มแม่บ้านและสตรี ช่วยดูแลป้องกันในวัยเรียนและช่วยป้องกันเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น อายุ 12-19 ปี

  5.1 ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เพื่อรับฝากครรภ์คุณภาพให้กับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข รพ.สต. วังประจัน

  6.  ตัวแทนจากองค์กรอิสระ ร่วมขับเคลื่อนร่วมขับเคลื่อนตามแผนงานกิจกรรมทุกกิจกรรม ร่วมประชุมและให้ความร่วมมือ
      นำเสนอแนวคิด และ วิธีการในการออกแบบ กฎ กติกาชุมชน
  -  เกิดแผนการจัดกิจกรรมรณรงค์ การสร้างกระแสในชุมชน และ สร้างความตระหนักในการป้องกันแก้ปัญหาวัยรุ่น มีแผน การดำเนินงานดังนี้

    25/2/2566 รณรงค์สร้างกระแส และ สร้างความตระหนักในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ณ.โรงเรียนตาฎีกามัสยิดบ้านทุ่งมะปรัง

    2 /5/2566 ประชุม ครั้งที่ 2/4 วางแผนดำเนินกิจกรรม เข้าค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตค้นหาครอบครัวและเยาวชนต้นแบบ

  -  ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม :  มีแผนการดำเนินงานโครงการ และ มีทีมภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง

 

30 0

6. รณรงค์และสร้างกระแส ในโรงเรียนตาดีกา มัสยิดบ้านทุ่งมะปรัง

วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

รณรงค์และสร้างกระแส ในโรงเรียนตาดีกา มัสยิดบ้านทุ่งมะปรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รณรงค์และสร้างกระแส ในโรงเรียนตาดีกา มัสยิดบ้านทุ่งมะปรัง

  • ผลที่เกิดขึ้นจริง      :      นักเรียนตาฎิกาเข้าร่วมกิจกรรม ทุกระดับชั้น จำนวน 32 คน อายุไม่ ครบ 12 ปี
                                      ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายแต่มีความสนใจอยากเข้าร่วมกิจกรรม อสม. ผู้ปกครองที่สนใจเข้าร่วมด้วย

  • ผลผลิต ( Output ) :    แกนนำร่วมรณรงค์ สร้างกระแส จำนวน 30 คน

  • ผลลัพธ์ ( Outcome) :  มีวัยรุ่น อายุ 12-19 เข้ารับฟังกิจกรรม ร่วมรณรงค์ จำนวน 63 คน โดยมีผู้ปกครองบางส่วน

                                      ให้ความสำคัญ สนใจ สอบถาม ถึงการเข้าข่ายเพื่อฝึกทักษะชีวิต

  • ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม : ได้รับความสนใจ และ สมัรคเป็น สมาชิกชมรม stop teen mon จำนวน 8 คน

 

30 0

7. ค่าเดินทาง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าเดินทาง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าเดินทาง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

3 0

8. ประชุมครั้งที่ 2/4

วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดบทบาทตามแผนการดำเนินงาน กิจกรรมรณรงค์และเข้าค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตสมาชิกชมรม Stop Teen mom ค้นหาครอบครัวเยาวชนต้นแบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กำหนดบทบาทตามแผนการดำเนินงานกิจกรรมรณรงค์และเข้าค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตสมาชิก
ชมรม Stop Teen mom ค้นหาครอบครัวเยาวชนต้นแบบ

ผลผลิต ( Output ) : แกนนำจำนวน 30 คน ได้เข้าร่วมประชุมวางแผนกำหนดหน้าทีรับผิดชอบ ในกิจกรรมค่าย

ผลลัพธ์ ( Outcome ) : แกนนำหลัก ได้ร่วมวางแผนจัดกิจกรรม ค่าย โดย แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ

        1. กองอำนวยการประสานงานและสนับสนุนกิจกรรมค่ายพัฒนาศักยภาพและทักษะชีวิต ณ.เลบาราโฮมสเตย์ รับผิดชอบโดยกำนันตำบลวังประจัน

        2. ฝ่ายอาคารสถานที่ ผู้รับผิดชอบ ประธานอสม. ม1 กลุ่มสตรี

        3. ฝ่ายรับ-ส่งเด็ก ไป-กลับ ให้ปลอดภัย ผู้รับผิดชอบผู้ใหญ่บ้าน ม.1 ม.3 ม.4

        4. ฝ่ายอาหาร อสม. ม.1 ผู้รับผิดหลัก นาง ซีตีฝาตีม๊ะ โต๊ะเร๊ะ

        5. ฝ่ายวิชาการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.วังประจัน
        6. ฝ่ายสันทนาการ ครูอนามัยโรงเรียนทุ่งมะปรัง ครูกศนตำบลวังประจัน

        7. ฝ่ายเวรยามดูแลความเรียบร้อยตลอดกิจกรรมค่าย อสม.ม2 ม3 ม4 และผู้ปกครองที่อาสาเข้าร่วมกิจกรรม

        8. ฝ่ายการเงินและประชาสัมพันธ์ นาย อิสมาแอน อุสนุน เจ้าหน้าที่รพ.สตวังประจัน

ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม : มีแผนนการปฏิบัติงานพร้อมทีมwork

 

30 0

9. รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในกศน.ตำบลวังประจัน

วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในกศน.ตำบลวังประจัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในกศน.ตำบลวังประจัน
- ผลที่เกิดขึ้นจริง :      มีแกนนำหลัก ตัวแทน จากเครือข่าย เข้าร่วมในการรณรงค์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.1 ผอ. รพ.สต. วังประจัน

                              อสม. ม.1 ,ม2 , ม3 ครูกศน. ตำบลวังประจัน กลุ่มทำขนมพื้นบ้าน ม.3 และ นักเรียน กศน.ตำบลวังปจัน
                              โดยได้รับความสนใจและได้รับความร่วมมือในการเข้ารับสมัครสมาชิกชมรม Stop tee mom รวมถึงผู้ปกครองอยากให้บุตรหลาน
                              อายุ 12-19 เข้าร่วมกิจกรรมค่ายพัฒนา ทักษะชีวิต ตามที่ แกนนำ ได้ร่วม รณรงค์ และ ให้ความรู้ เบื้องต้น
- ผลผลิต ( Output ) :      มีแกนนำเข้าร่วมรณรงค์ จำนวน 30 คน ได้รับสมาชิกแกนนำเพิ่มจาก กศน.ตำบลวังประจัน จำนวน 10 คน

  • ผลลัพธ์ ( OutCome ) :        เกิดกระแสในการส่งเสริมทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยกลุ่มนักเรียนกศน. ผู้ปกครอง

                                        กลุ่มสตรีใน หมู่ 3 และ หมู่ 4 เนื่องจาก นักเรียนส่วนใหญ่อาศัยในพื้นที่ ม.3 และ ม.4 ตำบลวังประจัน

  • ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม :    จากการรณรงค์ เกิดกระแสการส่งเสริมทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยมีนักเรียนกศน.ตำบลวังประจัน
                                                สมัครสมาชิกชมรม Stop teen mom จำนวน 10 คน เพื่อเป็นแกนนำต่อไป

 

30 0

10. รณรงค์และสร้างกระแส ในชุมชน บ้านทุ่งมะปรัง

วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

รณรงค์และสร้างกระแส ในชุมชน บ้านทุ่งมะปรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รณรงค์และสร้างกระแส ในชุมชน บ้านทุ่งมะปรัง
ผลที่เกิดขึ้นจริง :            มีแกนนำหลักเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 อบต. ม1 ผู้นำศสานา ม.1 อสม.1
                                  สนใจเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ด้วยความเต็มใจ และ ชอบที่มีกิจกรรมแบบนี้ มีประชาชนและผู้ปกครองอยากให้บุตรหลาน
                                  เข้าร่วมกิจกรรมค่ายพัฒนาศักยภาพ  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ทั้งหมด จำนวน 61 คน

ผลผลิต ( Output ) :      มีแกนนำเข้าร่วม รณรงค์ จำนวน 30 คน มีวัยรุ่น ให้ความสนใจ และ ร่วมกิจกรรม จำนวน 21 คน

ผลลัพธ์ ( Outcome ) :    เกิดกระแส การส่งเสริมทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยมีผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการนำบุตรหลานเข้าร่วม
                                  สมัครเข้าค่าย เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และเข้าร่วม สมัคร สมาชิก ชมรม STOP TEEN MOM จำนวน 10 คน
ผลสรุปที่สำคํญของกิจกรรมนี้ : ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองในชุมชนรวมถึงประชาชนทั่วไปในพื้นที่เป้าหมายได้รับสมัครชิกชมรมเพิ่มจำนวน 10 คน
                                          ซึ่งเป็นแกนนำวัยรุ่น ที่ไปเรียนหนังสือนอกพื้นทีทำให้เขาสามารถเข้าถึงกิจกรรมในชุมชนได้

 

30 0

11. ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการครั้งที่ 1

วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการครั้งที่ 1

 

0 0

12. ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการ

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการ

 

0 0

13. รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง
- ผลที่เกิดขึ้นจริง :  มีแกนนำ จำนวน จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นแกนนำหลัก ในการ ร่วมรณรงค์ อสม. ม. 1 ม.2 ครูอนามัย
              โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง ผอ.โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรังรวมถึงคุณครูทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์
              และให้ความร่วมมือมีนักเรียนชั้น ป.4 และ ป.5 ที่อายุ ไม่ถึงเกณฑ์ 12 ปี เข้าร่วม
              รับฟัง และ มีความสนใจอยากเข้าร่วม กิจกรรมค่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิต

  • ผลผลิต ( Output ) : มีแกนนำหลักร่วมรณรงค์ จำนวน 30 คน มีนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรังสมัคร
                  เข้าร่วมเป็นสมาชิก ชมรม Stop teen mom จำนวน 40 คน

  • ผลลัพธ์ (outcome): เกิดกระแสการส่งเสริมทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรังต้องการเข้าร่วม
                  ค่าย มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เกินเป้าหมาย จำนวน 82 คน และ อสม.ต้องการนำบุตรหลาน
                  เข้าร่วมค่ายฝึกทักษะชีวิตป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

  • ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม : จากการรณรงค์ทำให้เกิดกระแสในโรงเรียนและผู้ปกครอง มีแกนนำวัยรุ่นในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง
                        สนใจกิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะชีวิตซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในพื้นที่

 

30 0

14. กิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM

วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 10:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM

  • ผลที่เกิดขึ้นจริง : มีแกนนำหลักเข้าร่วม 30 คน ตามที่ได้ตกลงกันไว้ มีผู้ปกครองสนใจเข้าร่วมจำนวน 10 คน โดยยินดี
                สนับสนุนค่าใชจ่ายด้วยตนเองรวมถึงอสม.บางส่วนได้เป็นเป้าหมายหลัก จำนวน 5 คน มีนักเรียนที่เป็นเป้าหมายรอง
                จำนวน 50 คนซึ่งเป็นแกนนำในชมรม Stop Teen mom ต่อไปและมีนักเรียนที่สนใจและยินดี
                เข้าร่วมกิกรรมโดย ใช้ค่าจ่ายส่วนตัว จำนวน 4 คน รวมสมาชิก ที่เข้าค่ายทั้งหมด 99 คน

-  ผลผลิต ( Output ) :  เกิดแกนนำ ได้ตามเป้าหมาย จำ นวน 80 คน โดย มีเป้าหมายหลักจำนวน 30 คนและมีเป้าหมายรอง
                จำนวน 50 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิต เกี่ยวกับ
                การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

-  ผลลัพธ์ ( Outcome ) : เกิดแกนนำในการช่วยเหลือ เพื่อนวัยรุ่น ที่มีปํญหาเรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม จำนวน 50 คน
                  เป็นผู้ใหญ่จำนวน 30 คนที่คอยให้ความช่วยเหลือ ในการทำกิจกรรมในชุมชนแกนนำหลักและ

                  แกนนำรองในชุมชนได้รับการพัฒนาทักษะและอบรม จานวน 3 หลักสูตร ดังนี้

    1. หลักสูตรความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
      บทบาทคุณค่าความเป็น ชาย-หญิง

    2. หลักสูตรทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเอง ทักษะการคิดการวิเคราะห์ทักษะการต่อรองทักษะในการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยง
      การมีความมั่นใจป้องกันการท้องไม่พร้อม

    3. การนำคำสอนทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยยึดหลักตามธรรมนูญชีวิต

-  ผลการทำแบบประเมินวัดความรู้ ก่อนอบรม ( Pretest ) ผลการวัดพบว่ามีความรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

      กลุ่มที่ 1 . คะแนน อยู่ในช่วง 7-10 คะแนน 12 คน ร้อยละ 24

      กลุ่มที่ 2. คะแนน อยู่ในช่วง 4-6 คะแนน 20 คน ร้อยละ 40

      กลุ่มที่ 3. คะแนน อยู่ในช่วง 0-5 คะแนน 18 คน ร้อยละ 36

-  ผลการทำแบบประเมินวัดความรู้ หลังอบรม ( Post test ) ผลการวัดพบว่ามีความรู้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
      กลุ่มที่ 1.  คะแนน อยู่ในช่วง 7-10 คะแนน 36 คน ร้อยละ 72

      กลุมที่ 2.  คะแนน อยู่ในช่วง 4-6 คะแนน 12 คน ร้อยละ 25

      กลุ่มที่ 3.  คะแนน อยู่ในช่วง 0-5 คะแนน 2 คน ร้อยละ 4

-  สรุปผล :  หลังจากการนำ แกนนำวัยรุ่น จำนวน 50 คน เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ และ ฝึกอบรมทักษะชีวิต
            ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 96 ซึงเป็นที่น่าพอใจ สามารถ เป็นแกนนำและ

            และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ฝึกฝนตนเองพร้อมทั้งสามารถสื่อสารและช่วยเหลือให้คำแนะนำเพื่อนวัยรุ่นในชุมชนต่อไป

-  ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม :  แกนนำมีความรู้ความเข้าใจและนำสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งต่อยอดด้วยการสานต่อในชุมชน
                      จากรุ่นสู่รุ่นเพื่อความยั่งยืน

 

83 0

15. ประชุมครั้งที่ 3/4

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมครั้งที่ 3/4
ภาคีเครือข่าย แกนนำ หลัก ได้สรุป และ วางแผน เพื่อ ขับเคลื่อน กิจกรรมของ ชมรม Stoop teen mom บ้านทุ่งมะปรัง โดย มีการจัดตั้งชมรม Stop teen mom ในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง มี ครูอนามัยโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง และ มีเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข รพ.สต. วังประจัน เป็นที่ปรึกษา
โดย กำหนด บทบาทของสมาชิกในชมรม stop teen mom ในการ ร่วมขับเคลื่อน และ รณรงค์สร้างความตระหนัก ในพื้นที่ตำบล วังประจัน ต่อไป
  1. สมาชิกชมรม Stop teen mom มีจำนวน 50 คน
  2. สมาชิก ชมรม stop teen mom ได้รับ ความรู้ จากค่ายพัฒนาศักยภาพและทักษะชีวิต โดย ผ่านการอบรม 3 หลักสูตร ดังนี้
    2.1 หลักสูตรความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อท่างเพศสัมพันธ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร บทบาทและคุณค่าของ
      ความเป็นชาย-หญิง
    2.2 หลักศุตรทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเอง ทักษะการคิด การวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะในการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยง การมี
      ความมั่นใจในตนเอง เพื่อป้องกัน การท้องไม่พร้อม
    2.3 หลักสูตรการนำคำสอนทางศาสนา มาใช้ในชีวิตประจำวัน โดย ยึดหลักธรรมฯุญชีวิต
  3. แกนนำวัยรุ่น มีหน้าที่ ติดตาม เยี่ยมบ้าน เพื่อนวัยรุ่น ที่ ยังไม่สมัครเป็น สมาชิก ชมรม stop teen mom
  4. แกนนำวัยรุ่น มีหน้าที่ ติดตาม ทำแบบสอบถาม กับ วัยรุ่นในพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูล เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  5. แกนนำวัยรุ่น มีหน้าที่ ทำตัวเป็นแบบอย่าง และ ให้คำปรึกษา และ ชี้ช่องทางในการแก้ปัญหา
  6. ชมรม stop teen mom คัดสรร เยาวชนต้นแบบ จำนวน 10 คน

    กำหนด บทบาท หลัก ของภาคีเครือข่ายแกนนำ จำนวน 30 คน ดังนี้
  1. ช่วยขับเคลื่อน โดย การส่งเสริม กิจกรรม ของ ชมรม stop teen mom
  2. ผลักดันการประกาศใช้ กฎ กติกาชุมชน ให้เป็นแนวทางปฎิบัติร่วมกันในพื้นที่ ตำบลวังประจัน

  3. คัดเลือกครอบครัว ต้นแบบ จำนวน 5 ครอบครัว
  4. ประสานงานทีม ภาคีเครือข่ายให้กับเยาวชนที่ประสบปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยเรียน และ กลุ่มเสี่ยงในการตั้งครรภ์ในวัยเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมครั้งที่ 3/4 แกนนำให้ความร่วมมือ และ เข้าร่วมประชุม เสนอ ความคิดเห็นเพื่อขับเคลื่อน ชมรม stop teen mom ให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน
  ผลผลิต : มีแกนนำหลัก เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน

  ผลลัพธ์ : เกิดทีมแกนนำที่เข้มแข็ง ใน ชุมชน เพื่อ คอยสนับสนุนกิจกรรม ชมรม Stop teen mom
  ผลสรุป : มี แกนนำที่เข้มแข็งในชุมชน จำนวน 30 คน

              มี ชมรม stop teen momที่ ขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน

 

30 0

16. ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการใช้เงินให้กับโครงการย่อย

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการใช้เงินให้กับโครงการย่อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการใช้เงินให้กับโครงการย่อย

 

2 0

17. ชมรม STOP TEEN MOM ติดตามและสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกชมรม STOP TEEN MOM ถึง พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน

วันที่ 19 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ชมรม STOP TEEN MOM ติดตามและสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกชมรม STOP TEEN MOM ถึง พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ชมรม STOP TEEN MOM ติดตามและสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกชมรม STOP TEEN MOM ถึง พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน

ผลที่เกิดขึ้นจริง : สมาชิกชมรม stop teen mom ให้ความร่วมมือ และสนใจ การทำกิจกรรมเป็นอย่างดี โดย

                    ทำแบบประเมินความรู้ ผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ 100

                    ทุกคนให้ ความสนใจ การทำกิจกรรม Work shop และ นำเสนอ ด้วยความมั่นใจ และ ทุกคนมีความมั่นใจ
                    ในการเป็นแกนนำพื้นที่ ม.1 บ้านทุ่งมะปรัง และ พื้นที่ ตำบล วังประจันต่อไป

ผลผลิต :      แกนนำวัยรุ่น จำนวน 50 คน มีความรู้ ความสามารถ ความมั่นใจ ในการนำความรู้เรื่องป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

                    บอกเล่าใน ชุมชน และ เพื่อนวัยรุ่นต่อไป
ผลลัพธ์ :      แกนนำมีความรู้และทักษะชีวิต เรื่อง การป้องกันแม่วัยใส

ผลสรุปที่สำคัญของกิกรรม :  ชมรม stop teen mom มีความเข้มแข็ง มี ภาคีเครือข่ายคอยสนับสนุนกิจกรรม ในชุมชน

 

30 0

18. ประชุมครั้งที่ 4/4

วันที่ 8 กันยายน 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมครั้งที่ 4/4

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมครั้งที่ 4/4
ผลที่เกิดขึ้นจริง :    ประชุมสรุปโครงการ แกนนำ จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรม


                    โดย มีตัวแทนจากภาคีเครือข่ายเข้าร่วม ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็น ตัวแทนแกนนำ


ผลผลิต :        มีแกนนำหลัก และ ตัวแทน เข้าร่วมประชุม 30 คน ( ในกรณีที่แกนนำตัวจริงมาไม่ได้มีตัวแทนเข้าประชุมแทน)


ผลลัพธ์ :        แกนนำ และ ตัวแทนให้ความสนใจที่จะเป็นแกนนำเพื่อช่วยเหลือวัยรุ่นในเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน


                    บ้านทุ่งมะปรัง

ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม : ชุมชน มีความเข้มแข็งในเรื่อง การดูแลและป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน โดย


                    อัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เป้าหมาย อัตราไม่เกิน 23 ต่อแสน ประชาการ


                    หลังจากได้จัดทำโครงการ ปรากฎว่า อัตราการการตั้งครรภ์ เป็น 0

 

30 0

19. ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน

วันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน ผลผลิต : แกนนำภาคีเครือข่าย นำโดย กำนันตำบลวังประจัน ผู้ใหญ่บ้าน ม. 1 ม. 2 ม. 3 อบต. ม.1 อีหม่าม มัสยิด ม.1 ม.2 ม.3 แกนนำสตรี ม.1 ม.2 ม.3 ครูอนามัยโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง ครู กศน. ตำบลวังประจัน อสม.ตำบลวังประจัน ผอ. รพ.สต.ตำบลบ้านวังประจัน รวมถึง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต. วังประจัน ประธานชมรม Stop teen mom และ เลขา เข้าร่วม
ทหารผู้รับผิดชอบเขตปกครองพิเศษตำบลวังประจัน ร่วมประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน จำนวน 30 คน
ผลลัพธ์ : 1. เกิด กฎ กติกา ชุมชน นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนบ้านทุ่งมะปรัง และ ตำบลวังประจัน ทุกหมู่บ้าน
  2. มีแกนนำเยาวชน จาก ชมรม Stop teen mom ได้ ร่วมนำเสนอ และ ออกแบบ การส่งต่อข้อมูลให้กับวัยรุ่น ในพื้นที ตำบลวังประจัน
  จำนวน 50 คน   3. มีแกนนำหลัก จากภาคีเครือข่าย จำนวน 30 คน คอยส่งเสริม สนับสนุน แกนนำเยาวชนในการทำกิจกรรม
  4. มีช่องทางในการประสานงานกับ กลุ่ม วัยรุ่น ในพื้นที่โดย มี แกนนำ ชมรม Stop teen mom เป็นผู้เชื่อมโยง
  กับ แกนนำหลักที่เป็นภาคีเครือข่าย เพื่อเฝ้าระวัง วัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์
  5. มีช่องทางในการส่งต่อ วัยรุ่นตั้งครรภ์ให้ กับ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อทำการรับฝากครรภ์
  หรือ แก้ปัญหาให้ทันท่วงที และ จัดการได้อย่างเหมาะสม เป็นรายๆ ไป
  โดย มี บทบาทของ ภาคีเครือข่าย เข้ามาเกี่ยวข้อง ตามลักษณะ ของปัญหา เช่น อีหม่าม มีหน้าทีสืบค้นข้อมูล ก่อนการนิกะ
  6. มีทีม Work ในการจัดการ ปํญหา ของวัยรุ่นในพื้นที โดย ใช้ กฎ กติกา ชุมชน ผลลัพธ์ : ทีมภาคีเครือข่าย มี กฏ กติกา ชุมชน
ผลสรุปที่สำคัญของกิกรรม : ขับเคลื่อน การประกาศใช้ กฎ กติกาชุมชน 5 ข้อ ดังนี
  1. ตรวจสอบการตั้งครรภ์ สืบค้นข้อมูลคู่สมรส ก่อน นิกะ

  2. ส่งเสริมให้เด็กทุกคน เรียนตาดีกา
  3. ผู้ปกครองต้องได้เรียนรุ้ เรื่อง ศาสนาเป็นประจำ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและเป็นแบบอย่างให้กับุตร

  4. แนะนำการป้องกันการตั้งครรภ์ โดยใช้ถุงยางอนามัย

  5. อบรมผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในกลุ่มเสี่ยง

 

30 0

20. ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมกับ สสส

วันที่ 26 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมกับ สสส

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมกับ สสส

 

2 0

21. ค่าจัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

วันที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ค่าจัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าจัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

 

1 0

22. คืนดอกเบี้ย

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คืนดอกเบี้ย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คืนดอกเบี้ย

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อจัดตั้ง ชมรม STOP TEEN MOM ส่งเสริมการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของวัยรุ่น
ตัวชี้วัด : 1. เกิดชมรม STOP TEEN MOM เพื่อหยุดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในหญิงวัยรุ่นวัยเรียน โดยจัดตั้งชมรมขึ้นในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
1.00

 

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิต เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
ตัวชี้วัด : 1. สมาชิกชมรมได้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิต มีความรู้ความเข้าใจ รวมถึงทักษะการใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 2. มีครอบครัวต้นแบบ 5 ครอบครัว และวัยรุ่นต้นแบบ 10 คน

 

3 เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น)
ตัวชี้วัด : 1. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น)

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง : กลุ่มเยาวชน อายุ 12 – 19 ปี 50
กลุ่มเป้าหมายหลัก : แกนนำกลุ่มในชุมชน 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อจัดตั้ง ชมรม STOP TEEN MOM ส่งเสริมการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของวัยรุ่น (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิต เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (3) เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมดำเนินงานร่วมกับ สสส (2) ถอนเงิน เปิดบัญชี 500 บาท (3) คณะทำงานจัดประชุมเพื่อกำหนดบทบาทและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน (4) ส่งเสริมการสร้างกระแสชุมชนและสร้างความตระหนักในการป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและลดการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น (5) ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการครั้งที่ 1 (6) ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในโครงการ (7) จัดกิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM (8) ชมรม STOP TEEN MOM ดำเนินกิจกรรมในชุมชน (9) ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน (10) ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการ ,ตราสัญลักษณ์โครงการ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรม (11) ประชุมครั้งที่ 1/4 (12) ประชุมคลี่โครงการ (13) ค่าเดินทางเข้าร่วมประชุมกับ สสส. (14) รณรงค์และสร้างกระแส ในโรงเรียนตาดีกา มัสยิดบ้านทุ่งมะปรัง (15) ค่าเดินทาง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (16) ประชุมครั้งที่ 2/4 (17) รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในกศน.ตำบลวังประจัน (18) รณรงค์และสร้างกระแส ในชุมชน บ้านทุ่งมะปรัง (19) รณรงค์สร้างกระแสและความตระหนัก ในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง (20) กิจกรรมค่ายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับสมาชิกชมรม STOP TEEN MOM (21) ประชุมครั้งที่ 3/4 (22) ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการใช้เงินให้กับโครงการย่อย (23) ชมรม STOP TEEN MOM ติดตามและสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกชมรม STOP TEEN MOM ถึง พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน (24) ประชุมครั้งที่ 4/4 (25) ประชุมสรุปโครงการและถอดบทเรียน (26) ค่าเดินทางไปร่วมกิจกรรมกับ สสส (27) ค่าจัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ (28) คืนดอกเบี้ย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


17. วัยรุ่นวัยใส ห่างไกลการตั้งครรภ์ในวัยเรียน บ้านทุ่งมะปรัง จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 65-10154-018

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายนันทวัฒน์ เต๊ะสมัน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด