directions_run

1. เสริมฝันปันใจสร้างสุขผู้สูงวัย บ้านโต๊ะวัง บ้านโคกประดู่ จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ 1. เสริมฝันปันใจสร้างสุขผู้สูงวัย บ้านโต๊ะวัง บ้านโคกประดู่ จังหวัดสตูล
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 65-10154-003
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะทำงานด้านเอดส์ในชุมชน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรัตถกร ปังแลมาปุเลา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 061-6975476
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ aeksit88@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางนฤมล ฮะอุราและ นายเอกมาศ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2566 15 มิ.ย. 2566 5 ม.ค. 2566 15 มิ.ย. 2566 50,000.00
2 15 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 25,000.00
3 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากผู้สูงวัยในปัจจุบันด้วยสภาพทางสังคมที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยบริบททางสังคมของผู้สูงวัยจากที่เคยเป็นที่รักได้รับการเคารพและให้ความสำคัญจากวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ปลูกฝังให้บุตรหลานมีความกตัญญูรู้คุณต่อปู่ย่าตายายและผู้สูงวัยอันเป็นขนบธรรมเนียมที่งดงามสอดแทรกความสำคัญในบริบทของผู้สูงวัยในยุคก่อน สถานการณ์ที่พบในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเคยให้ความสำคัญกับผู้สูงวัย ถูกละเลยเพราะช่องว่างระหว่างวัย ความต้องการของคนแต่ละยุคสมัยแตกต่างกันจากที่เคยโหยหาความรักความรักความอบอุ่นการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ผูกโยงจากคนแต่ละช่วงวัย จากปัญหาที่ค้นพบผู้สูงวัยในยุคปัจจุบันอยู่ในสภาวะจำยอม หลายคนถูกละเลยขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควรอันเกิดมาจากตัวผู้สูงวัยเองมีความคาดหวัง รอคอยที่จะพึ่งพิงบุคคลอันเป็นที่รักของตนแต่ในทางกลับกันคนที่ผู้สูงวัยคาดหวังกลับไม่มีความพร้อมที่จะดูแลด้วยความจำเป็นส่วนตัวและจากคนในครอบครัว ความโชคดีจากบริบทความเป็นชุมชนยังเอื้อต่อการพึ่งพาอาศัย สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2564 สัดส่วนผู้สูงอายุจะอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 18 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งประมาณการว่าจะมีผู้สูงอายุ ประมาณ 11 ล้านคน ในจำนวนผู้สูงอายุดังกล่าวเมื่อแบ่งตามสุขภาวะของผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มติดสังคม มีประมาณ 8.5 ล้านคน (79.50%) กลุ่มติดบ้านมีประมาณ 2 ล้านคน (19.00%) และกลุ่มติดเตียง มีประมาณ 5 แสนคน (1.50%) ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ในช่วงอายุ 60-70 ปี เป็นกลุ่มที่ยังมีพลังในการขับเคลื่อนสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความอบอุ่น เป็นหลัก เป็นที่พึ่งให้แก่สมาชิกในครอบครัว หากแต่ละครอบครัวมีความเข้มแข็งย่อมส่งผลให้ชุมชน สังคมและประเทศเข้มแข็งไปด้วย เพราะสถาบันครอบครัวในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย สังคมยุค IT ส่งผลด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้เกิดความห่างเหิน มีเวลาปฏิสัมพันธ์กันน้อยลง ยุคสังคมก้มหน้าคนมีเวลาให้กันน้อยลง จนไม่มีเวลาให้กันและกันความฉาบฉวยและการตอบสนองต่อความคิดทำให้ติดเป็นนิสัยชอบอยู่กับโลกสมมุติมากกว่าโลกของความเป็นจริง ก่อให้เกิดความห่างเหินและลดทอนความสำคัญของสถาบันครอบครัวอย่างน่าใจหาย
จากสภาพปัญหาที่ค้นพบทางคณะทำงานด้านเอดส์ในชุมชนจึงได้มีแผนกิจกรรมเสริมฝันปันใจสร้างสุขผู้สูงวัย บ้านโต๊ะวัง บ้านโคกประดู่ จังหวัดสตูลขึ้น

การที่จะให้ผู้สูงอายุ “กลุ่มติดสังคม” ยังสามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคม โครงการเสริมฝันปันใจสร้างสุขผู้สูงวัยจะช่วยเสริมพลังให้กับกลุ่มผู้สูงวัยที่ติดสังคมให้มีกำลังใจในการทำหน้าที่เป็นที่พึ่งให้กับครอบครัวและเป็นกำลังสำคัญในการสร้างความอบอุ่นและร่มเย็นให้แก่บุตรหลานในครอบครัวต่อไป
ความสำคัญของปัญหา สถาบันครอบครัวมีความสำคัญต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยบุตรหลานมีบทบาทในการเสริมสร้างพลังกายพลังใจให้แก่ผู้สูงวัยโดยผ่านโครงการเสริมฝันปันใจสร้างสุขผู้สูงวัย ร่วมขับเคลื่อนและมีส่วนร่วมในการดูแลส่งเสริมและสร้างความสุขแก่ผู้สูงวัยได้เป็นอย่างดี ลดความเครียดจากปัญหายาเสพติดและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
การวิเคราะห์สถานการณ์ จากอดีตสังคมครอบครัวของคนไทยจะอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่โดยมีผู้สูงวัยอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรเป็นที่พึ่งทางใจและคอยให้คำปรึกษาแก่คนในครอบครัว ส่งผลให้สังคมครอบครัวมีความเป็นปึกแผ่น มีความอบอุ่นร่มเย็นมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ผู้สูงวัยเป็นศูนย์รวมความรักความห่วงใยของครอบครัวมาอย่างช้านาน แต่ในยุคปัจจุบันสังคมครอบครัวแบบครอบครัวใหญ่ถูกให้ความสำคัญน้อยลง เพราะต่างคนต่างแยกย้ายไปสร้างครอบครัวใหม่ อยู่แบบคนยุคใหม่ผู้สูงวัยถูกละเลยจะได้รับความสำคัญเฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆหรือวันหยุดประจำปีเท่านั้น ผู้สูงวัยบางส่วนไม่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุตรหลานหรือคนในครอบครัวส่งผลให้ผู้สูงวัยตกอยู่ในสภาวะโรคซึมเศร้าทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม
  โดยพื้นที่ตำบลฉลุง อ.เมืองสตูล เป็นตำบลที่มีอาณาเขตการปกครองแบ่งออกเป็น 2 อปท. มีเขตเทศบาลตำบลและเขตองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 14 หมู่บ้าน มีโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 5 โรงเรียน และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจำนวน 5 โรงเรียน โดยเขตเทศบาลตำบลฉลุงมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1,2, 5 และ 13 ของตำบลฉลุง เขตพื้นที่ส่วนใหญ่ดูแลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทางทิศเหนือมีอาณาเขตติดกับตำบลย่านซื่อ อ.ควนโดน ทิศใต้ติดกับ ต.บ้านควน ทิศตะวันตกติดกับ ต.ควนโพธ์ ส่วนทิศตะวันออกติด ต.สตอ อ.ควนโดน
ตำบลฉลุงมีภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบลุ่มแต่เดิมเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำบึงปลักพระยาเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าของตำบลฉลุง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรและรับจ้าง มีลำคลองดูสนใหลผ่านจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ มีเทือกเขาพระยาบังสาเป็นพรมแดนธรรมชาติ โดยลักษณะของชุมชนเป็นชุมชนแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท ชุมชนหมู่ 10 และหมู่ 11 มีโครงสร้างครอบครัวแบบครอบครัวใหญ่ บางครอบครัวเป็นครอบครัวที่อยู่ร่วมกันระหว่างคน 5 ช่วงวัย คือ วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงวัย บางส่วนมีการแยกครอบครัวไปอยู่เป็นปัจเจกโดยผู้สูงอายุต้องอยู่ในพื้นที่อาศัยเดิมกับเครือญาติในชุมชน พื้นที่หมู่ 10 บ้านโต๊ะวัง มีจำนวนผู้สูงวัย 51 คน พื้นที่หมู่ 11 มีจำนวนผู้สูงวัย 80 คน ในจำนวนนี้มีกรณีที่เข้าข่ายควรได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการเสริมฝันปันใจสร้างสุขผู้สูงวัยจำนวน 30 คนทั้งนี้จะมีลูกหลานในครอบครัวร่วมด้วย (เป็นผู้ดูแล)

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งกลไกแกนนำขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัย
  • มีแกนนำผู้สูงวัย 10 คน ที่มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน และมาจากองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น กรรมการหมู่บ้าน อสม.รพ.สต. เป็นต้น
  • แกนนำผู้สูงวัย 10 คน มีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและมีการออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยที่เหมาะสม
  • มีข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงวัยในชุมชนที่ครบถ้วนเพื่อออกแบบกิจกรรม เช่น จำนวนและประเภทผู้สูงอายุ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านสังคม เป็นต้น
2 เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพของคนในครอบครัวและให้ความรู้ครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ
  • ครอบครัวมีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 (จำนวน 30 ราย)
  • ครอบครัวร่วมทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุเดือนละครั้ง ร้อยละ 80 (จำนวน 30 ราย) (การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การปลูกผักสวนครัว)
3 เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • เกิดชมรมผู้สูงวัย 1 ชมรม
  • ผู้สูงวัยกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมชมรมต่อเนื่องอย่างน้อยร้อยละ 80 (จำนวน 30 ราย)
  • มีกิจกรรม .ปิ่นโตสร้างสุข ล้อมวงเสริมพลัง” เดือนละ 1 ครั้ง
4 เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งทางกายและจิตใจ
  • ผู้สูงวัยน้ำหนักตัวเหมาะสมตามเกณฑ์ ร้อยละ 80
  • ผู้สูงวัยมีคะแนนความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 80
  • ผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัวสามารถควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในระดับปกติได้ร้อยละ 80
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้สูงวัย 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66
1 ประชุมคณะทำงาน(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 4,538.00                      
2 ชมรมผู้สูงอายุ(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 33,600.00                      
3 ครอบครัวอบอุ่น(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 12,600.00                      
4 ปิ่นโตสร้างสุข ล้อมวงเสริมพลัง(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 4,600.33                      
5 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงวัย(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 4,100.00                      
6 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 9,000.00                      
7 ร่วมกิจกรรมกับแผนงานร่วมทุน(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 0.00                      
8 เสริมสร้างสัมพันธภาพของคนในครอบครัว(25 ก.พ. 2566-25 ก.พ. 2566) 7,450.00                      
9 ประชุมแกนนำโครงการ(18 พ.ค. 2566-18 พ.ค. 2566) 0.00                      
รวม 75,888.33
1 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 78 4,538.00 5 4,083.00
11 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่1/6 13 455.00 455.00
18 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่2/6 13 2,263.00 2,263.00
6 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่3/6 13 455.00 455.00
3 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่4/6 13 455.00 455.00
1 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่5/6 13 455.00 455.00
2 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่6/6 13 455.00 -
2 ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 33,600.00 3 11,200.00
13 พ.ค. 66 ชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่1/6 40 5,600.00 5,600.00
10 มิ.ย. 66 ชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่2/6 40 5,600.00 5,600.00
8 ก.ค. 66 ชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่3/6 0 5,600.00 0.00
12 ส.ค. 66 ชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่4/6 0 5,600.00 -
9 ก.ย. 66 ชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่5/6 0 5,600.00 -
7 ต.ค. 66 ชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่6/6 0 5,600.00 -
3 ครอบครัวอบอุ่น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 12,600.00 2 3,860.00
5 พ.ค. 66 ครอบครัวอบอุ่น (ออกกำลังกาย) ครั้งที่1/2 0 1,750.00 1,750.00
2 มิ.ย. 66 ครอบครัวอบอุ่น (ปลูกผักสวนครัว) ครั้งที่1/2 0 3,850.00 2,110.00
15 ก.ค. 66 ครอบครัวอบอุ่น (ปลูกผักสวนครัว) ครั้งที่2/2 0 1,750.00 -
5 ส.ค. 66 ครอบครัวอบอุ่น (กิจกรรมปิคนิค) ครั้งที่1/2 0 1,750.00 -
23 ก.ย. 66 ครอบครัวอบอุ่น (ออกกำลังกาย) ครั้งที่2/2 0 1,750.00 -
5 ต.ค. 66 ครอบครัวอบอุ่น (กิจกรรมปิคนิค) ครั้งที่2/2 0 1,750.00 -
4 ปิ่นโตสร้างสุข ล้อมวงเสริมพลัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,600.33 2 1,367.00
20 พ.ค. 66 ปิ่นโตสร้างสุข ล้อมวงเสริมพลัง ครั้งที่1/6 0 767.00 767.00
17 มิ.ย. 66 ปิ่นโตสร้างสุข ล้อมวงเสริมพลัง ครั้งที่2/6 0 766.67 600.00
22 ก.ค. 66 ปิ่นโตสร้างสุข ล้อมวงเสริมพลัง ครั้งที่3/6 0 766.67 -
19 ส.ค. 66 ปิ่นโตสร้างสุข ล้อมวงเสริมพลัง ครั้งที่4/6 0 766.67 -
16 ก.ย. 66 ปิ่นโตสร้างสุข ล้อมวงเสริมพลัง ครั้งที่5/6 0 766.67 -
14 ต.ค. 66 ปิ่นโตสร้างสุข ล้อมวงเสริมพลัง ครั้งที่6/6 0 766.65 -
5 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,100.00 1 0.00
24 มิ.ย. 66 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงวัย ครั้งที่1/4 0 1,775.00 0.00
29 ก.ค. 66 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงวัย ครั้งที่2/4 0 775.00 -
26 ส.ค. 66 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงวัย ครั้งที่3/4 0 775.00 -
23 ก.ย. 66 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงวัย ครั้งที่4/4 0 775.00 -
6 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 9,000.00 0 0.00
10 ก.ย. 66 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน 0 9,000.00 -
7 ร่วมกิจกรรมกับแผนงานร่วมทุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2 0.00 2 224.00
28 ม.ค. 66 ปฐมนิเทศโครงการฯ/ ทำ MOU 2 0.00 96.00
27 เม.ย. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยครั้งที่ 1 0 0.00 128.00
8 เสริมสร้างสัมพันธภาพของคนในครอบครัว กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 7,450.00 1 7,450.00
24 เม.ย. 66 เสริมสร้างสัมพันธภาพของคนในครอบครัว 40 7,450.00 7,450.00
9 ประชุมแกนนำโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 500.00 2 596.00
5 ม.ค. 66 กิจกรรม MOU 0 0.00 96.00
11 ก.พ. 66 คืนเงินเปิดบัญชี 0 500.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงวัยมีสุขภาพกายสุขภาพจิตดีเหมาะสมตามวัยสามารถดูแลตนเองและอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว ชุมชนอย่างมีความสุขตามอัตภาพ
  2. ผู้สูงวัยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว คนวัยเดียวกันและคนต่างวัยได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิก ชุมชน ไม่ถูกทอดทิ้ง
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 14:22 น.