directions_run

บริโภคผักให้เป็นยาในชุมชนหมู่ 4 บ้านตะโละใส ตำลปากน้ำ จังหวัดสตูล

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล


“ บริโภคผักให้เป็นยาในชุมชนหมู่ 4 บ้านตะโละใส ตำลปากน้ำ จังหวัดสตูล ”

ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางรัตนา สอและ

ชื่อโครงการ บริโภคผักให้เป็นยาในชุมชนหมู่ 4 บ้านตะโละใส ตำลปากน้ำ จังหวัดสตูล

ที่อยู่ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 6510154026 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 5 มกราคม 2023 ถึง 15 พฤศจิกายน 2023


กิตติกรรมประกาศ

"บริโภคผักให้เป็นยาในชุมชนหมู่ 4 บ้านตะโละใส ตำลปากน้ำ จังหวัดสตูล จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บริโภคผักให้เป็นยาในชุมชนหมู่ 4 บ้านตะโละใส ตำลปากน้ำ จังหวัดสตูล



บทคัดย่อ

โครงการ " บริโภคผักให้เป็นยาในชุมชนหมู่ 4 บ้านตะโละใส ตำลปากน้ำ จังหวัดสตูล " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 6510154026 ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 มกราคม 2023 - 15 พฤศจิกายน 2023 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กลุ่มโรค NCD (Non communicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาวะโรคโดยรวม จากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCD มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปี พ.ศ.2555 เป็น 41 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 71 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากรโลก) ในปี พ.ศ.2559 เมื่อพิจารณาการตายจำแนกตามรายโรคของประชากรไทย ทุกอายุในในปี พ.ศ.2557 ใน 10 อันดับแรก พบว่า 5 อันดับแรกส่วนใหญ่มีสาเหตุการตายจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (อ้างอิงข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,2562) ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาโรคไม่ติดต่อในพื้นที่ของตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล จากการรายงานข้อมูลจากงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำพบว่า ปีงบประมาณ 2560 มีผู้ป่วยเรื้อรังทั้งหมด 873 คน ปีงบประมาณ 2565 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 1,146 คน 5 ปี มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 273 คน คิดเป็นร้อยละ 23.82 ซึ่งอัตราการป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำ อำเภอ ละงู จังหวัดสตูล จึงได้มีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ประชาชนหันมาดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการส่งเสริมการปลูกและบริโภคผักให้ปลอดภัยปราศจากสารพิษและสารเคมี แปรรูปผักให้สะดวกในการบริโภคไม่ต้องเคี้ยวเสียเวลาเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการเคี้ยว และมีประโยชน์สูงสุดด้วยผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง  และเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  จากประโยชน์ดังที่กล่าวมาส่งผลให้ประชาชนทั่วไปผู้เสี่ยงและผู้ป่วยมีโอกาสบริโภคผักมากขึ้น  มีโอกาสหายจากโรคได้มากขึ้น มีแนวโน้มที่จะลดการบริโภคยาเคมี มีโอกาสที่ร่างกายได้ฟื้นฟูกลับคืนสู่สภาพใกล้เคียงปกติ ได้รับความร่วมมือภาคเอกชนบ้านสุขภาพสตูลมีส่วนร่วมในโครงการในครั้งนี้  เพราะบ้านสุขภาพสตูลมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ได้รักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วยการบริโภคอาหารให้เป็นยาระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ว่าการบริโภคผักให้เป็นยารักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ ดังนั้นในปี 2566 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากน้ำร่วมกับบ้านสุขภาพสตูล จัดทำโครงการการปลูกผักอินทรีย์และบริโภคผักให้เป็นยา โดยมุ่งเน้นไปที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขและครัวเรือนผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง  ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความจำเป็นและต้องบริโภคผักในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในอาหารแต่ละมื้อและมีความรู้ในการบริโภคผักให้เป็นยา มีแผนการเพิ่มพื้นที่ส่วนกลางให้สมาชิกมาปลูกผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพื่อเพิ่มปริมาณผักให้สอดคล้องกับความต้องการโครงการนี้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะทำงาน จำนวน 4 ครั้ง
  2. กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการและพัฒนาศักยภาพแกนนำ
  3. กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งชมรมปลูกผักอินทรีย์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตำบลปากน้ำและศูนย์เรียนรู้เรื่องการบริโภคผักเป็นยา
  4. บริหารจัดการโครงการ
  5. คณะติดตามความก้าวหน้าพร้องลงเยี่ยมบ้านจำนวน 3 ครั้ง
  6. ถอนเงินเปิดบัญชี
  7. กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ เรื่องการบริโภคผักให้เป็นยา
  8. กิจกรรมที่ 6 เวทีถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลโครงการ
  9. ค่าจัดเอกสารและบันทึกรายงาน
  10. ถอนเงินงวด 3 และคืนดอกเบี้ย
  11. ค่าเดินทางจัดทำ MOU
  12. คลีโครงการ
  13. ค่าทำป้าย
  14. ค่าตรายาง
  15. ประชุมเชิงปฎิบัติการคณะทำงานครั้งที่ 1
  16. ค่าเดินทางเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  17. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2
  18. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3
  19. ติดตามความก้าวหน้าพร้อมลงเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 1
  20. ติดตามความก้าวหน้าพร้อมลงเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 2
  21. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4
  22. ติดตามความก้าวหน้าพร้อมลงเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 3

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
แกนนำปลูกผัก/แกนนำส่งเสริมการบริโภคผักให้เป็นยา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ค่าเดินทางจัดทำ MOU

วันที่ 5 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เดินทางจัดทำ MOU ณ อบจ.สตูล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน เข้าร่วมลงนาม MOU

 

2 0

2. คลีโครงการ

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

พี่เลี่ยงโครงการร่วมชี้แจงแนวทางการดำเนินการแก่คณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการได้เห็นทิศทางเป้าหมายของโครงการไปในทางเดียว

 

6 0

3. ค่าตรายาง

วันที่ 27 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำตรายางชื่อโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตรายางชื่อโครงการ จำนวน 1 อัน

 

0 0

4. ค่าทำป้าย

วันที่ 27 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายโครงการและป้ายบันไดผลลัพธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ป้ายบันไดผลลัพธ์ จำนวน 1 ป้าย

 

0 0

5. ประชุมเชิงปฎิบัติการคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 28 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อคัดเลือกตัวแทนจากผู้ที่มีจิตอาสาและมีภาวะผู้นำจากหมู่บ้าน ชี้แจงโครงการ และร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่ ของแกนนำที่จำต้องดำเนินงาน ชี้แจงสถานการณ์ของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง ในพื้นที่  จำนวน 35 คน 1. ทำหนังสือเชิญประชุม 2. ทำหนังสือเชิญวิทยากร 3. จัดเตรียมเอกสาร/สถานที่/วัสดุอุปกรณ์ ในการประชุม 4. ประชุมเชิงปฎิบัติการ   4.1 ชี้แจงที่มา วัตุประสงค์ สถานการณ์โรคเรื่อรัง การดูแลสุขภาพตนเอง   4.2 คัดเลือกแกนนำคณะทำงาน จำนวน 35 คน   4.3 กำหนดบทบาทหน้าที่ของแกนนำ   4.4 บรรยายการดูแลสุขภาพตนเองในเดือนรอมฎอน 5. สรุปกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้แกนนำจำนวน 35 คน -บทบาทหน้าที่ของแกนนำ ได้แก่ การติดตาม   แกนนำ อสม. ทำหน้าที่ ติดตาม   แกนนำปลูกผัก ทำหน้าที่

 

35 0

6. ค่าเดินทางเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 28 เมษายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เดินทางเข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เดินทางเข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 จำนวน 2 คน

 

2 0

7. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 2 พฤษภาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน พร้อมจัดทำแผนที่ผังครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมกับการประเมินภาวะสุขภาพ อื่น ๆ เช่น วัดรอบเอว หาค่า BMI  วัดความดัน วัดส่วนสูง เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานจำนวน 10 คน ได้ร่วมกำหนดรูปแบบการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายจำนวน 80 คน พร้อมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย

 

10 0

8. กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการและพัฒนาศักยภาพแกนนำ

วันที่ 8 พฤษภาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม
  2. จัดทำหนังสือเชิญวิทยากร
  3. จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารประกอบการประชุม
  4. อบรมให้ความรู้แกนนำปลูกผัก จำนวน 35 คน เรื่องการปลูกผัก การดูแลรักษาแปลงผัก การใส่ปุ๋ย และองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเชิญวิทยากรจากบ้านสุขภาพสตูล
  5. อบรมให้ความรู้ เรื่อง การบริโภคผักให้เป็นยาที่สามารถลดโรคเรื้อรังในระดับครัวเรือน เช่น ผักเเคลใบหยัก สีเขียว สีม่วง รวมถึงสรรพคุณของผักด้านต่าง ๆ ของพืชผักเหล่านี้
  6. กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ โดยการจัดทำเอกสารประกอบการประชุมเรื่องการกินผักให้เป็นยา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • แกนนำ อสม./แกนนำปลูกผัก จำนวน 35 คน มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผัก การดูแลรักษาแปลงผัก การใส่ปุ๋ย และองค์ความรู้อื่น ๆ

 

35 0

9. กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งชมรมปลูกผักอินทรีย์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตำบลปากน้ำและศูนย์เรียนรู้เรื่องการบริโภคผักเป็นยา

วันที่ 30 พฤษภาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เรื่องการบริโภคผักให้เป็นยา ของชุมชน จำนวน 1 ศูนย์ ที่ บ้านเลขที่ 346 หมู่ที่ 4 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีป้ายศูนย์การเรียนรู้ จำนวน 1 ป้าย มีป้ายบอร์ดให้ความรู้ จำนวน 5 ป้าย

 

0 0

10. ถอนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 12 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-เดินทางไปถอนเงินเปิดบัญชีที่ธนาคารกรุงไทย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถอนเงินคืนจำนวน 500 บาท

 

2 0

11. กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ เรื่องการบริโภคผักให้เป็นยา

วันที่ 14 กรกฎาคม 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม
  2. จัดทำหนังสือเชิญวิทยากร
  3. จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เอกสารประกอบการประชุม
  4. อบรมให้ความรู้แกนนำปลูกผัก แกนนำ อสม. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง และผู้สนใจ จำนวน 80 คน เรื่อง   4.1เรื่องสรรพคุณของผักแต่ละชนิดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อาทิ ผักเคล ผักจิงจูฉ่าย บัวบก เสาวรส
      4.2 ทำไมต้องทำน้ำผักปั่น   4.3 ร่วมสาธิตการทำน้ำผักปั่น   4.4 ถอดบทเรียนการเลี้ยงผักเคล ปัญหา อุปสรรคของการปลูกผักเคล ปัญญาศัตรูพืช ปลูกผักเคลระบบปิดหรือเปิดดีกว่า ปัญหาเรื่องการเตรียมดิน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • แกนนำปลูกผัก แกนนำ อสม. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง และผู้สนใจ จำนวน 80 คน มีความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของผักแต่ละชนิดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อาทิ ผักเคล ผักจิงจูฉ่าย บัวบก เสาวรส
    ทำไมต้องทำน้ำผักปั่น
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำน้ำผักได้ รู้สูตรในการทำน้ำผักปั่น รู้สรรพคุณของน้ำผักปั่น
  • ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมรับรู้ถึงปัญหาอุปสรรคของการปลูกผักเคลให้เข้าสภาพของชุมชนนั้นๆ และทำให้สามารถรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้

 

80 0

12. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 11 สิงหาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แจ้งคณะทำงาน กำหนดวัน เวลา และสถานที่
  • ร่วมออกแบบแบบติดตามเยี่ยมบ้านและทำความเข้าใจและฝึกการลงข้อมูล
  • ร่วมประชุมกำหนดรูปแบบการลงเยี่ยมติดตาม
  • ทำความเข้าใจกับแบบสอบถาม
  • ทำความเข้าเกี่ยวกับการเก็บภาพ
  • ร่วมกำหนดการส่งรายงาน
  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัดรอบเอว วัดความดัน และการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้แบบสอบติดตามเยี่ยม
  • แกนนำสามารถคำนวณ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ได้ และสามารถแปลผลได้ถูกต้อง
  • แกนนำสามารถวัดความดันโลหิต และวัดรอบเอวได้และสามารถแปลผลได้ถูกต้อง

 

10 0

13. ติดตามความก้าวหน้าพร้อมลงเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 1

วันที่ 14 สิงหาคม 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ทำหนังสือแจ้งกำหนดการเยี่ยมกับสมาชิก
  • ซักประวัติส่วนตัว และประวัติโรคประจำตัว พฤติกรรมการบริโภค ผักที่บริโภคเป็นประจำ
  • แกนนำ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดรอบเอวให้กับสมาชิก พร้อมกับคำนวนดัชนีมวลกาย
  • สำรวจชนิดผักที่ครัวเรือนปลูกไว้เพื่อบริโภค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลจากการติดตามเยี่ยมครั้งที่ 1 พบว่า สมาชิกที่มีค่าดัชนีมวลกายเกิน 25 มีจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ของสมาชิกทั้งหมด รอบเอวเกิน 80 ซ.ม. ในผู้หญิง และเกิน 90 ซ.ม.ในผู้ชาย จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ของสมาชิกทั้งหมด
มีสมาชิกที่เป็นผู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 27 คิดเป็นร้อยละ 33.75 คน

 

35 0

14. ติดตามความก้าวหน้าพร้อมลงเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 2

วันที่ 3 กันยายน 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • กำหนดวัน เวลา และสถานที่
  • แจ้งสมาชิกมาร่วมน้ำหมักชีวภาพเพื่อบริโภคจากผลไม้ในท้องถิ่น
  • ให้สมาชิกเตรียมผลไม้และอุปกรณ์ที่ใช้ทำการทำน้ำหมัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้กระบวนการในการทำน้ำหมักชีวภาพ และได้น้ำหมักชีวภาพคนละ 1 กระปุก

 

35 0

15. ติดตามความก้าวหน้าพร้อมลงเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 3

วันที่ 18 กันยายน 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ติดตามความก้าวหน้าการเยี่ยมบ้านสมาชิก
  • ซักประวัติ พฤติกรรมการบริโภค
  • ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดรอบเอว คำนวนค่าดัชนีมวลกาย
  • ติดตามการปลูกผักของโครงการ เช่น ผักเคล จิงจูฉ่าย เสาวรส และบัวบก -ปัญหาอุปสรรคในการปลูกผักของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพิ่มการบริโภคผักมากขึ้น ส่งผลให้สมาชิกมีค่าดัชนีมวลกายเกิน 25 ลดลง 19 คนจาก 40 คนของการเยี่ยมครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 40 รอบเอวเกิน 80 ซ.ม.ในผู้หญิงและ 90 ซ.ม .ในผู้ชายลดลง 16 จาก 50 คนของการเยี่ยมครั้งที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 32

 

35 0

16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

วันที่ 18 กันยายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • แจ้งคณะทำงาน จำนวน 10 คน เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมที่ 6 เวทีถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลโครงการ
  • ร่วมสรุปผลการเยี่ยมติดตามสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ได้รูปแบบการจัดกิจกรรม
  • สรุปแบบติดตามเยี่ยมบ้าน

 

10 0

17. กิจกรรมที่ 6 เวทีถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลโครงการ

วันที่ 21 กันยายน 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ทำหนังสือเชิญวิทยากร /ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • ประสานพี่เลี้ยงโครงการ
    -เตรียมสถานที่
  • เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
  • กิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม โดยให้สมาชิกมีการถอดบทเรียนเกี่ยวกับการทำโครงการ
  1. ใครคือแกนนำของกลุ่ม กี่คน

- เพียงพอหรือไม่ - ควรมีหรือไม่ ถ้ามี ควรมีบทบาทเช่นไร - มีวิธีการคัดเลือกอย่างไร 2. อะไรบ้างที่ทำได้ดีแล้ว - สิ่งที่ชัดเจน คืออะไร - ทำกิจกรรมไปแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง - อะไรที่ทำไปแล้ว ไม่ได้ประโยชน์ ไม่ควรทำอีกในรอบต่อไป 3. มีอะไรบ้างที่ช่วยให้งานเสร็จ - ด้านคน - วิธีการ - สิ่งสนับสนุน - อะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน 4. สิ่งใหม่ๆ ที่ค้นพบจากการทำกิจกรรม ที่ไม่เคยมีมาก่อน (อาจไม่เหมือนกันแต่ละคน - ด้านสิ่งแวดล้อม ทางสังคมเช่น เครือข่าย กลุ่ม ค้นพบภูมิปัญญา - วิธีการ องค์ความรู้ นวัตกรรม - การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ - การเปลี่ยนแปลงด้านการเงิน - การจัดการด้านข้อมูล และอื่นๆ 5. โครงการต่ออีก ควรทำต่อไปอีกหรือไม่ ถ้าทำต่อ อะไรคือ ความต้องการ - ความต้องการสิ่งสนับสนุน - หน่อยงาน/องค์กร/ความรู้ - อื่นๆ 6. สิ่งที่อยากจะบอกทีมงานมีอะไรบ้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • แกนนำปลูกผักอยากได้แกนนำปลูกผักเพิ่มในอีกหลายๆโซน
  • ขอให้มีการเพิ่มชนิดของผักมากขึ้นจากผักของโครงการ 4 ชนิด (ผักเคล จิงจูฉ่าย บัวบก เสาวรส )
  • สมาชิกร่วมมือ มีความกระตือรือร้น
  • เสนอแนะให้มีการทำบัญชีครัวเรือน
  • ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอ อบต. สาธารณสุข
  • เกิอความสำนึกในการเลือกบริโภคอาหารต่างๆ มากขึ้น
  • ได้เกิดความสัมพันธ์ พบปะ กับเพื่อนๆในชุมชนเดียวกันมากขึ้น ที่มีเป้าหมายเดียวกันในการดูแลรักษาสุขภาพ การปลูกผัก มีความสนใจในสุขภาพของคนในครอบครัวมากขึ้น
  • ควรมีการโครงการอย่างต่อเนื่องในปีถัดไป
  • ควรมีการปลูกผักในพื้นที่ส่วนร่วม

 

50 0

18. ค่าจัดเอกสารและบันทึกรายงาน

วันที่ 29 กันยายน 2023 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำเอกสารและบันทึกรายงานของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เอกสารและรายงานโครงการเสร็จสมบูรณ์

 

1 0

19. ถอนเงินงวด 3 และคืนดอกเบี้ย

วันที่ 12 ตุลาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถอนเงินดอกเบี้ยคืน อบจ.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถอนเงินดอกเบี้ยคืนอบจ.สตูล จำนวน 27.61 บาท

 

2 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
แกนนำปลูกผัก/แกนนำส่งเสริมการบริโภคผักให้เป็นยา 0

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทำงาน จำนวน 4 ครั้ง (2) กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการและพัฒนาศักยภาพแกนนำ (3) กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งชมรมปลูกผักอินทรีย์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตำบลปากน้ำและศูนย์เรียนรู้เรื่องการบริโภคผักเป็นยา (4) บริหารจัดการโครงการ (5) คณะติดตามความก้าวหน้าพร้องลงเยี่ยมบ้านจำนวน 3 ครั้ง (6) ถอนเงินเปิดบัญชี (7) กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ เรื่องการบริโภคผักให้เป็นยา (8) กิจกรรมที่ 6 เวทีถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลโครงการ (9) ค่าจัดเอกสารและบันทึกรายงาน (10) ถอนเงินงวด 3 และคืนดอกเบี้ย (11) ค่าเดินทางจัดทำ MOU (12) คลีโครงการ (13) ค่าทำป้าย (14) ค่าตรายาง (15) ประชุมเชิงปฎิบัติการคณะทำงานครั้งที่ 1 (16) ค่าเดินทางเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (17) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (18) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 (19) ติดตามความก้าวหน้าพร้อมลงเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 1 (20) ติดตามความก้าวหน้าพร้อมลงเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 2 (21) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 (22) ติดตามความก้าวหน้าพร้อมลงเยี่ยมบ้าน ครั้งที่ 3

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


บริโภคผักให้เป็นยาในชุมชนหมู่ 4 บ้านตะโละใส ตำลปากน้ำ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 6510154026

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางรัตนา สอและ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด