stars
1. ความสำคัญของประเด็น สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
  • พฤติกรรมมารดาขาด Health Literacy ไม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพตนเอง มีภาวะซีด ไม่รับประทานยาบำรุงเลือด และทำให้ตัดสินใจเข้ารับบริการล่าช้า
  • มารดาเสียชีวิตและเด็กไม่ได้รับวัคซีน เป็นปัญหาที่มีปัจจัยกำหนดคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับความยากจน และความเชื่อทางศาสนา
  • ระบบบริการ ข้อมูลย้อนหลัง ๕ ปี ของเขต ๑๒ พบว่า จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล เป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนมารดาตายสูงเกินเกณฑ์กำหนดทุกปี เกิดจากการวินิจฉัยและรักษาล่าช้า
  • สาเหตุซับซ้อนมากขึ้น ปัจจุบันสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดการตาย ๑) เป็นโรคที่ไม่ควรท้องก็ยังท้อง ๒) ปัญหาแม่แก่และแม่เด็ก และแม่ที่เกิดหลายๆ คน อยู่ที่ตัวหญิงตั้งครรภ์เอง คนวัยทำงานเป็นโรคเบาหวานความดันมากขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น ที่จะเป็นโรคความดันและชัก ในขณะตั้งครรภ์ ๓) ปัญหายาเสพติดในหญิงตั้งครรภ์ ๔) สาเหตุการดูแลในครอบครัวที่ไม่ดีพอ โดยต้องค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน ๕) ระบบบริการ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้มีภาคประชาชนหลายๆ ส่วนที่เข้ามาช่วยเหลือ ๖) ปัญหาเรื่องเด็ก คือ การระบาดโรคหัด มีการเจาะเลือดหาวิตามิน A เด็กในเขต ๑๒ เตี้ยผอม มีการวิจัยพบว่าช่วงหัดระบาดเด็กขาดวิตามิน A มีการรณรงค์การจ่ายวิตามินเอ เพื่อทำซ้ำและออกมาตรการ การส่งเสริมประชาชนตั้งแต่อุ้งเชิงกรานจนถึงเชิงตะกอน ทำอย่างไรให้เกิดการดูแลลูกให้เติบโตแข็งแรง และการดูแลในเรื่องไอคิว ในพื้นที่ตชด.พื้นที่ กปด ถิ่นธุรกันดารของพระเทพ โครงการส่งเสริมเด็กในพื้นที่ถิ่นธุรกันดาร ซึ่งเด็กส่วนหนึ่งเข้าไม่ถึงระบบบริการ
  • ยาฝังเว้นระยะการมีบุตร มีการฝังยากึ่งถาวร เป็นการลดแม่ตาย ตอนนี้มีการซื้อให้กับแม่ทุกวัย โดยให้ฟรีทุกโรงพยาบาลโดยศูนย์อนามัยจัดซื้อ ได้รับงบประมาณจาก สปสช.
  • ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนทุกชนิดในกลุ่มเด็กตามเขตรอยต่อชายแดน โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อยู่ที่ร้อยละ ๓๐-๖๐ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เกิดจากการกลัวผลข้างเคียงของวัคซีน และประสบการณ์ทางลบเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน ความรู้ ความเข้าใจที่มีต่อวัคซีน และพฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่
  • ความเชื่อ โดยเฉพาะในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือฉีดแล้วเด็กไม่สบาย ซึ่งจะส่งผลต่อพ่อแม่ ทำให้การหยุดงานหรือการประกอบอาชีพที่ทำไม่ได้ เมื่อฉีดแล้วทำให้กระทบต่ออาชีพ และความเชื่อว่าวัคซีนไม่ฮาลาล
  • โรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีน ๗ จังหวัดใต้ล่าง ปี ๖๐-๖๕ โรคติดต่อที่สำคัญ ได้แก่ หัด คอตีบ ไอกรน มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะในช่วงปี ๖๓-๖๔ เป็นโรคที่ติดต่อทางเดินหายใจเป็นหลัก ในเรื่องของการควบคุมของวัคซีนได้รับน้อย ตั้งแต่ปี ๖๕ ตั้งแต่เมษา-มิถุนายน ลดลง ๓ โซน ตรังพัทลุง ได้รับค่อนข้างดี สตูลสงขลาได้รับค่อนข้างดีและกลาง ๆ ขณะพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ได้รับค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กได้รับน้อย การให้บริการเชิงรุกในช่วงโควิดมีน้อย เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีภาระ และผู้ปกครองปฏิเสธวัคซีน
  • วัคซีนต้องฉีดใหม่เสมอ แผนงานด้านควบคุมโรค ขวบปีแรกต้องพาเด็กไปรับวัคซีนอย่างน้อย ๗ ครั้ง ขวบปีแรกเป็นวัคซีนที่สำคัญสูงสุด หลังจากนั้นเป็นวัคซีนกระตุ้น หากยังเก็บตกไม่ได้ในช่วง ๓-๕ ปีจะมีวัคซีนเสริม ในกลุ่ม ๗-๑๒ ปี ในพื้นที่ ๓ จังหวัดต่ำสม่ำเสมอและตกถ้วนหน้าทุกอำเภอ ร้อยคนต้องได้เก้าสิบคน หัดและเยอรมันคางทูมครั้งที่ ๒ ในโซนพัทลุงตรังสตูล พบปัญหาในพื้นที่ที่เป็นเกาะ และสงขลา ๔ อำเภอ โดยมีอำเภอที่ต่ำสุดในระดับประเทศ ได้แก่ ตำบลบาเจาะ ในพื้นที่ศรีสาคร เจาะไอร้อง จ.ปัตตานี อ.ทุ่งยางแดง ปัจจัยสำคัญ ๑) เจ้าหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ๒) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการต้องมีใจจดจ่อและทำอย่างต่อเนื่อง ๓) เครือข่ายภาคประชาชน ผู้นำทางจิตวิญญาณ ต้องให้ความร่วมมือ
  • สคร.เขต ๑๒ มีการประกวดการฉีดวัคซีน
  • ประเด็นหลักคือการป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีน และเรื่องของปัญหาการเชื่อมโยงหน่วยบริการสาธารณสุข โดยการกำหนดรูปแบบการส่งต่อในหน่วยบริการ มีแม่ข่ายในการรับจากหน่วยงานในพื้นที่ ระบบการส่งต่อ คือพยายามไม่ให้ออกนอกระบบสาธารณสุข เนื่องจากคำนึงถึงขอบเขตการให้การบริการ และขอบเขตสิทธิในการรักษา แต่การรับรู้ของผู้ปฏิบัติที่ยังไม่เข้าใจที่ตรงกัน โดยเขตสุขภาพ ๑๒ต้องมีการสื่อสารให้มีการเปิดกว้างในการส่งต่อ นโยบายคือไม่ต้องมีใบส่งตัว ใบส่งตัวคือใบที่บอกว่าคนไข้ได้รับการดูแลอย่างไรมาแล้ว เป็นประเด็นสำคัญ คือการส่งต่อตามศักยภาพตามความจำเป็น โดยไม่คำนึงถึงภูมิศาสตร์
  • ปัญหาไม่ใช่เพียงประเด็นแม่และเด็ก เช่น ประเด็นเด็กมีพัฒนาการช้า นมอนามัยไข่ ต้องการให้เด็กโตอย่างสมส่วน ซึ่งสิ่งที่แจกไปไม่ทั่วถึงไม่ตอบสนอง เด็กเองมีหลายกลุ่มคือเด็กที่ไม่ได้อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีเด็กที่ออกจากระบบพัฒนาของศูนย์เด็กเล็ก การแก้ปัญหาควรมองภาพรวมที่ครอบครัว และเน้นการวัดผลความสำเร็จต้องวัดไปที่ตัวเด็ก ว่าเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน ระยะสั้น กลาง ไกล อีคิวเป็นอย่างไร มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นหรือไม่
  • สปสช.เขต 12 มีการจัดทำข้อมูลที่ทำเพื่อลดปัญหา มีความพยายามในการทำรายงานประจำปี โดยนำเรื่องของข้อมูลที่มีไปสู่การประเมินผลอย่างน้อย ๖ เดือน ไปใช้ประโยชน์ได้
  • มีการจัดตั้งศึกษาธิการจังหวัดทุกพื้นที่ มีการติดตามพฤติกรรมของเด็ก มีกิจกรรมการช่วยเหลือในการดูแลเด็กวัยรุ่นที่ไม่พึงประสงค์ การจัดทำกิจกรรมกลุ่มจังหวัดได้รับการจากสาธารณสุขในเรื่องสุขภาวะของแม่ ทำโครงการเสนองบประมาณกลุ่มจังหวัดในการดูแลสุขภาวะอนามัยในการเตรียมความพร้อมการเป็นแม่ การดูแลเด็ก
stars
2. เป้าประสงค์
join_inner
เป้าประสงค์ร่วม
1 ยกระดับคุณภาพชีวิตในแม่และเด็ก ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสามารถเข้าถึงบริการ วางแผนครอบครัว ชะลอการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
2 พัฒนาระบบบริการ ลดการเสียชีวิตของแม่และเด็ก ลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ เพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพแบบเชิงรุก/พัฒนาเด็กด้านพัฒนาการ โภชนาการ วัคซีนและการดูแลสุขภาพช่องปาก
join_right
เป้าประสงค์เฉพาะ
1 เพิ่มรายได้ ลดความยากจนในกลุ่มครอบครัว ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
2 ผลักดันนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เข้าถึงสิทธิเบี้ยเลี้ยง/เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
stars
3. ภาคีที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานโครงการ
1 ไม่ระบุ 1
2 กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหาดใหญ่ 1
3 กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลหาดใหญ่ 2
4 กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส 1
5 เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอหาดใหญ่ 1
6 เครือข่ายสื่อชุมชนชายแดนใต้ 1
7 เทศบาลตำบลกำแพง 1
8 ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) 2
9 ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 1
10 ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา 1
11 ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1
12 สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12(คณะกรรมการ MCH Board ระดับเขตสุขภาพที่ 12 /ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา) 1
13 สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12(ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา/ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์) 1
14 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 2
15 สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 1
16 สำนักงานสาธาณณสุขจังหวัดสงขลา 1
17 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี 1
18 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 3
19 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทุลุง 1
20 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 3
21 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา 1
stars
4. โครงการ/กิจกรรม
ปีชื่อโครงการองค์กรรับผิดชอบงบประมาณ (บาท)
1 2566 โครงการSMART KIDS สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี 250,000.00
2 2566 โครงการพัฒนาการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเขต 12 ปีงบประมาณ 2566 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 42,000.00
3 2566 โครงการลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาและทารก เพื่อส่งเสริมการคลอดอย่างมีคุณภาพในเขตสุขภาพที่ 12 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12(คณะกรรมการ MCH Board ระดับเขตสุขภาพที่ 12 /ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา) 200,000.00
4 2567 โครงการส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดการตายของมารดา ปีงบประมาณ 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา 37,200.00
5 2566 โครงการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่และไข้หวัดใหญ่ ปี 2566 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา 22,000.00
6 2566 โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันพลัส เพื่อลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย ภาวะโภชนาการดี เครือข่ายบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลหาดใหญ่ ปีงบประมาณ 2566 เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอหาดใหญ่ 165,400.00
7 2566 โครงการแก้ปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย เขตสุขภาพที่ 12 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานเขตสุขภาพที่ 12(ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา/ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์) 500,000.00
8 2566 ขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานศึกษาธิการภาค 7 27,000.00
9 2566 โครงการพัฒนาคุณภาพการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งในหอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลหาดใหญ่ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหาดใหญ่ 0.00
10 2566 โครงการ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 167,600.00
11 2566 โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2566 สำนักงานสาธาณณสุขจังหวัดสงขลา 46,100.00
12 2566 โครงการขับเคลื่อนเด็กปฐมวัยสุขภาพดี 4 ด้าน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 62,100.00
13 2566 โครงการ ส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน จังหวัดยะลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 69,420.00
14 2566 โครงการพัฒนาแนวทางการดูแลมารดาหลังคลอดที่ใช้สารเสพติด โรงพยาบาลหาดใหญ่ กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลหาดใหญ่ 0.00
15 2566 โครงการพัฒนาระบบการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในห้องคลอดรพหาดใหญ่ กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลหาดใหญ่ 0.00
16 2566 โครงการ สานพลังชุมชนเพื่อป้องกันสุขภาวะทางเพศและการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เครือข่ายสื่อชุมชนชายแดนใต้ 0.00
17 2566 ส่งเสริมทักษะแกนนำครอบครัวเยาวชนให้มีทักษะป้องกันสารเสพติด 71,575.00
18 2566 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย (ด้านสุขภาพ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 129,550.00
19 2566 โครงการพัฒนาระบบงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย จังหวัดพัทลุง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 26,250.00
20 2565 โครงการพัฒนาระบบงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย จังหวัดพัทลุง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทุลุง 26,250.00
21 2566 โครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดพัทลุง 0.00
22 2566 การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย (ด้านสุขภาพ) 5,000.00
23 2566 พัฒนาระบบบริการสาขาโรคมะเร็ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 27,400.00
24 2565 โครงการสานสัมพันธ์รักครอบครัววันแม่แห่งชาติ เทศบาลตำบลกำแพง 30,000.00
25 2566 ส่งเสริมป้องกันและพัฒนาสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก จ.นราธิวาส 0.00
26 2566 ส่งเสริมป้องกันและพัฒนาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กจังหวัดนราธิวาส กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส 0.00
27 2566 โครงการส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กปฐมวัยเขตสุขภาพที่ 12 ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 210,000.00
28 2566 ส่งเสริมการฝากครรภ์โดยหมอคนที่ 1 (อสม.) ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา 1,000,000.00
29 2566 โครงการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง :ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ ในวิถีพหุ วัฒนธรรม ตามบริบทของพื้นที่แผนงานที่ ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2,827,300.00
30 2566 โครงการพัฒนาฐานข้อมูลสุขภาพเด็กปฐมวัย 4D : DIET DEVELOPMENT&PLAY DENTAL DISEASES แบบองค์รวมใน 5 จังหวัด ชายแดนใต้ ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) 270,000.00
31 2566 โครงการพัฒนาและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ พื้นบ้าน ภายใต้พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้อย่างยั่งยืนทุกกลุ่มวัย ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศบ.สต.) 376,262.00
รวม 6,588,407.00
Little Bear
Little Bearแผนงานเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 น.