directions_run

ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม ”

ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายถาวร คงศรี

ชื่อโครงการ ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม

ที่อยู่ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ ุ65-10156-001 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 ตุลาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม



บทคัดย่อ

โครงการ " ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ ุ65-10156-001 ระยะเวลาการดำเนินงาน 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 15 ตุลาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 106,150.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เดือนกรกฎาคม 2565 ข้อมูลสถานการณ์สถานภาพสมรสของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป และสถานภาพครอบครัวของตำบลนาท่อมจากการสำรวจประชากรจำนวน 3,387 คน สถานะสมรสไม่จดทะเบียน 370 คน อยู่ด้วยกันไม่สมรส 49 คน เป็นหม้าย 306 คน หย่า31 คนแยกกันอยู่ 27 คน  ภาระหนี้สินของครัวเรือนภาระหนี้สินของครัวเรือนจากการสำรวจประชากรจำนวน 1,308 ครัวเรือน มีภาระหนี้สินของครัวเรือน 634 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 48.47 การว่างงานของประชากรอายุ 15-59 ปีจากการสำรวจประชากรจำนวน 2,449 คน มีการว่างงาน 227 คน คิดเป็นร้อยละ 9.27 สาเหตุด้านพฤติกรรมขาดความรู้ไม่มีการวางแผนครอบครัว ชอบเลียนแบบครอบครัวอื่น มีค่านิยมทีผิดชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมปัจจุบันเป็นสังคมครอบครัวต่างคนต่างอยู่มีโลกส่วนตัวมากขึ้นขาดการพูดคุยสมาชิกในครอบครัว เป็นสังคมออนไลน์มากขึ้น ด้านการศึกษา การช๊อปปิ้งต่างๆ ขาดการมีสัมพันธภาพในครอบครัว จากการเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์สภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 นำไปสู่ความอ่อนแอทางสังคมในมิติของครอบครัวเพิ่มขึ้นเกิดปัญหาที่ได้รับผลกระทบในทุกระดับของประเทศ ตลอดถึงครอบครัวในยุคปัจจุบันที่มีรูปแบบแตกต่างและหลากหลายแม้จะมีการช่วยเหลือเยียวยาในเชิงนโยบายแล้วก็ตาม สภาพปัญหาของครอบครัวยังเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงในครอบครัวที่เริ่มก่อตัวมาจากเรื่องสัมพันธภาพและการสื่อสารในครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเด็กผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง หลังโควิด 19 สถานการณ์สังคมครอบครัวที่ปรับเปลี่ยนไปสู่โลกใช้ออนไลน์มากขึ้นในชีวิตประจำวัน การเรียนออนไลน์ ซื้อของออนไลน์ สื่อสารออนไลน์ มีผลกระทบทั้งบวกและลบมาจากการเกิดโรคระบาดโควิด 19 ทำให้สภาพแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนไป ด้านปัญหาเดิมทียังไม่ถูกแก้ เช่น อบายมุข การพนัน บุหรี่ เหล้า สารเสพติดของสมาชิกในครอบครัว การติดเกมส์ ท้องก่อนวัยอันควร  ล้วนส่งผลกระทบต่อความเข้มแข็งของครอบครัว และนำไปสู่ปัญหาทางสังคม เช่น เกิดความรุนแรงในครอบครัว ทะเลาะ พ่อแม่ทุบตีกัน พ่อแม่พูดจาไม่เพราะ เด็กหนีออกจากบ้านตามมา นำไปสู่ความอ่อนแอและเป็นครอบครัวเปราะบาง ครอบครัวไม่สามารถดูแลกันเองได้ และเด็กหนีจากบ้านไม่ไปโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อสังคม ด้านเศรษฐกิจพ่อแม่หย่าร้าง แยกกันอยู่เป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นหม้าย เป็นครอบครัวเปราะบางในที่สุดหากินคนเดียวเลี้ยงครอบครัวลำบากเป็นหนี้สินประสบปัญหาต้องช่วยกันดูแลภาระของสังคม กลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีกลไกภาครัฐที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน(ศพค) อาสาสมัครพัฒนาสังคมฯ(อพม) พมจ เทศบาล ฝ่ายปกครอง โรงเรียน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ครอบครัวและชุมชนดำเนินชีวิตที่เร่งรีบต่างคนต่างทำและขาดทักษะการจัดการอารมณ์ เกิดความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ภายในครอบครัว ทั้งต่อเด็ก รู้ไม่เท่าทัน ขาดทักษะในการเล่นบทบาทพี่เลี้ยงให้กับเด็กและเยาวชน เหมือนเช่นอดีตที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ทำให้การเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษาโดยธรรมชาติขาดหายไป เด็กและเยาวชนขาดที่พึ่ง
การดำเนินงานร่วมกันในการที่จะพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน ด้วย 5 ทักษะที่สำคัญ คือ 1) ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน 2) ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย 3) ทักษะบริหารจัดการ ความรุนแรงความขัดแย้ง 4) ทักษะการเฝ้าระวัง และ 5) ทักษะการให้ความช่วยเหลือ
เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสื่อสารพลังบวก ในพื้นที่ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ในการนำองค์ความรู้และเครื่องมือที่ได้มีพัฒนา ไปต่อยอดขยายผลสู่การพัฒนาศักยภาพแกนนำในชุมชน ที่มีทั้งกระบวนการพัฒนาคน พัฒนากลไก และพัฒนากิจกรรม โดยการเชื่อมโยงและสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง หรือตัวแทนชุมชนเอง เกิดการเรียนรู้จากการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมมีระบบพี่เลี้ยงชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อนงาน และสร้างครอบครัวพลังบวกนำร่องและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนระบบพี่เลี้ยงของชุมชน รวมถึงการจัดทำชุดข้อมูลสถานการณ์สภาพปัญหาในพื้นที่ตำบลนาท่อม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนขยายผลสู่ครอบครัวพลังบวก เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมครอบครัว ร่วมวางแผน เชื่อมโยงภาคีกลไกภาครัฐ ประชาสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านต่างๆที่สำคัญด้วยบริบทท้องถิ่น และการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เกิดคณะทำงานเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวก
  2. เพื่อคณะทำงานมีความรอบรู้และขับเคลื่อนงานได้
  3. เพื่อเกิดปฏิบัติการครอบครัวสื่อสารพลังบวก
  4. เพื่อเกิดครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ชื่อกิจกรรมที่ 2 อบรมหลักสูตรเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก
  2. ชื่อกิจกรรมที่ 3 เก็บข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวของตำบลนาท่อม
  3. กิจกรรมที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบกิจกรรมร่วมบรรจุในแผนพัฒนาประเด็นครอบครัวตำบลนาท่อม
  4. ชื่อกิจกรรมที่ 8 กิจกรรมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก โชว์ แชร์ เพื่อหาต้นแบบครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรง
  5. ชื่อกิจกรรมที่ 6 ออกแบบกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการแก้ปัญหาผู้ปกครอบร่วมกับเด็ก
  6. ชื่อกิจกรรมที่ 5. ติดตามผลโครงการ ARE ครั้งที่ 1
  7. ถอนเงินสดเปิดบัญชี
  8. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนากับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 1
  9. ชื่อกิจกรรมที่ 7.1 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้งที่ 1
  10. ชื่อกิจกรรมที่ 12 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงผลงาน/สรุปบทเรียน
  11. ชื่อกิจกรรมที่ 9 กิจกรรมผลิตสื่ออย่างน้อย 2 ช่องทางแสดงผลงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก
  12. ชื่อกิจกรรมที่ 7.2 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้ง 2
  13. ชื่อกิจกรรมที่ 10 ถอดบทเรียนครัวต้นแบบ
  14. ชื่อกิจกรรมที่ 11. ติดตามผลโครงการ ARE ครั้งที่ 2
  15. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนากับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 2(ARE2)
  16. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
  17. ชื่อกิจกรรมที่ 1 อบรม กลไกทำงานครอบครัวในพื้นที่ ให้ความรู้ครอบครัวสื่อสารพลังบวก เพื่อสร้างคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ครอบครัว ร่วมผู้ปกครองกับบุตร 80
เป้าหมายรอง เด็กกับผู้ปกครองในตำบลนาท่อมที่มีอายุไ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ชื่อกิจกรรมที่ 1 อบรม กลไกทำงานครอบครัวในพื้นที่ ให้ความรู้ครอบครัวสื่อสารพลังบวก เพื่อสร้างคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก

วันที่ 9 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม จำนวน 20 คน เพื่อสร้างคณะทำงานพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาครอบครัวในชุมชน โดยมีการอบรมผ่านระบบซูมทุกวันอาทิตย์ สอนโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยประสานมิตร โดยมีภาคีเครือข่าย ศูนย์คุณธรรมองค์การมหาชนสนับสนุนองค์ความรู้ทีมวิทยากร
  2. วิทยากรครอบครัวให้ความรู้กับคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก มาจาก กรรมการศูนย์ศพค /ทต/รร/ปก/อพม 20 คน
  3. คณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก มีความรอบรู้ครอบครัวสื่อสารพลังบวกกับครอบครัวในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน สมัครใจเป็นครู ก  ครู ข ในการเป็นพี่่เลี้ยงชุมชนจำนวน 8  คน  ที่เหลือ 12 คน ร่วมเรียนรู้ช่วยเหลือ ครู ก ครูข
  2. เรียนรู้ผ่านระบบซูมจำนวน 12  ครั้ง สนับสนุนวิชาการโดย ศูนย์คุณธรรมองค์การมหาชน เป็นหลักสูตรการเป็นพี่เลี้ยงชุมชน

ผลลัพธ์ เกิดระบบพี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชนที่มีความรู้คิดออกแบบกิจกรรมและมีเทคนิคในการจัดค่ายครอบครัว และนำไปสู่การเข้าถึงปัญหาในพื้นที่ได้และสามารถเป็นนักจัดกระบวนการในชุมชน จำนวน 8  คน

 

20 0

2. ชื่อกิจกรรมที่ 2 อบรมหลักสูตรเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก

วันที่ 16 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดทำข้อมูลสถานการณ์สภาพปัญหาในพื้นที่ โดย สำรวจข้อมูลสถานการณ์ครอบครัว ด้วยแบบประเมินรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงบวก (สำหรับครอบครัวที่มีบุตรหลาน อายุ 8-20 ปี) จำนวน 240 ครอบครัว วิเคราะห์ผล และจัดทำรายงานสรุปผล 2.คณะกรรมการศูนย์ ศพค และคณะทำงานเป็นแกนนำเข้าร่วมอบรม Online เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาในชุมชน ทั้ง 3 หัวข้อ ได้แก่ 1 รูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงบวกและเทคนิคการให้คำปรึกษา  2. การพัฒนาต้นแบบระบบพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในชุมชน  3. การสร้างความร่วมมือเครือข่ายภายในและภายนอก  โดยมีเป้าหมายพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน  ด้วย 5 ทักษะที่สำคัญ คือ 1) ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน 2) ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย 3) ทักษะบริหารจัดการความรุนแรงความขัดแย้ง 4) ทักษะการเฝ้าระวัง และ 5) ทักษะการให้ความช่วยเหลือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต คณะกรรมการศูนย์ ศพค จำนวน 20 คนมีความรู้และเข้าใจหลักสูตรเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก โดยคณะกรรมการและคณะทำงานสมัครเป็นแกนนำครู ก และ ข เข้าร่วมอบรม Online เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก จำนวน 8 คน
ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจริง
กรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวและแกนนำ จำนวน 8 คนได้ฝึกอบรมมีความรู้โดยจาก มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์ ผ่านระบบ ซูม ในทุกวันอาทิตย์เวลา 10.30-12.30 น จำนวน 12 ครั้ง เริ่มเรียนวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน - 30 กรกฎาคม 66 และมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

20 0

3. ชื่อกิจกรรมที่ 3 เก็บข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวของตำบลนาท่อม

วันที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อมร่วมออกแบบประเมินและเก็บข้อมูลในระดับตำบลทุกหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และใช้ออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัว 1. ผู้ให้คำตอบแบบประเมินนี้ คือ พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ที่มีบุตรหลาน อายุระหว่าง 8 – 20 ปี 2. แบบประเมินนี้ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่
2.1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตของลูก ขอบเขตพฤติกรรม และกฏระเบียบภายในบ้าน (ข้อ 1-5) 2.2 การยอมรับ และตอบสนองความต้องการตามวัยของลูก (ข้อ 6-11) 2.3 ทักษะการใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก (ข้อ 17-29) ข้อ 26-29 เป็นการให้คะแนนแบบย้อนกลับ 3. การตอบแบบประเมิน: ให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ประเมินตนเองว่าอยู่ในระดับใด (1-7 คะแนน) 4. (ตัวอย่าง) วิธีการให้คะแนนในแต่ละคำถาม เช่น ฉันให้อิสระลูกในการคิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเองระดับใด ให้พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ประเมินตนเองว่า เราได้ ให้โอกาส หรือ ให้อิสระ กับลูก (หรือหลาน) คิดแก้ไขปัญหาของตัวเองมากน้อยแค่ไหน เกณฑ์การให้คะแนน : 1 = ฉันเป็นคนคิดแก้ไขปัญหาให้ ทุกครั้ง 2 = ฉันเป็นคนคิดแก้ไขปัญหาให้ บ่อยครั้ง 3 = ฉันเป็นคนคิดแก้ไขปัญหาให้ ค่อนข้างบ่อย 4 = ฉัน และ ลูก ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหา 5 = ลูกเป็นคนแก้ไขปัญหาเอง ค่อนข้างบ่อย
                        6 = ลูกเป็นคนแก้ไขปัญหาเอง บ่อยครั้ง                         7 = ลูกเป็นคนคิดแก้ไขปัญหาเอง ทุกครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวตั้งเป้าหมายเก็บข้อมูลหมู่ละ 30 ชุด 8 หมู่บ้าน 240 ชุด เก็บได้จำนวน 81 ชุด/ครอบครัว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลรามแนบ ผลลัพธ์ คณะกรรมการศูนย์ได้สำรวจสถานการณ์ครอบครัวโดยใช้แบบประเมินในการเก็บข้อมูลและได้สร้างสัมพันธภาพกับครอบครัวในแต่ละชุมชน ง่ายต่อการเข้าถึงสมาชิกครอบครัวในแต่ละชุมชนเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบทำกิจกรรมแก้ปัญหาครอบครัวในตำบล แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ ครอบครัวปกติ และครอบครัวไม่ปกติ ใช้ข้อมูลออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัวพลังบวกโดยทีมพี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชนที่ผ่านการเรียนรู้และได้ออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้อง

 

20 0

4. กิจกรรมที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบกิจกรรมร่วมบรรจุในแผนพัฒนาประเด็นครอบครัวตำบลนาท่อม

วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เป้าหมายคณะทำงานมีความรอบรู้และขับเคลื่อนงานได้  เกิดแผนพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งตำบลนาท่อม.ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล และเกิดแผนดำเนินงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก จากความต้องการของเด็กและผู้ปกครอง หลังจบโครงการมีการพัฒนาเป็นหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของตำบลนาท่อมใช้กับศูนย์พัฒนาครอบครัว     คณะกรรมการและคณะทำงานที่เป็นพี่เลี้ยงร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลแปลผลออกมาเป็น 9 องค์ประกอบรูปแบบการเลี้ยงดูดังนี้ 1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตของลูก ขอบเขตพฤติกรรม และกฏระเบียบภายในบ้าน (ข้อ 1-5) 2 การยอมรับ และตอบสนองความต้องการตามวัยของลูก (ข้อ 6-11) 3 ทักษะการใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก (ข้อ 17-29)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แบบประเมิน 240  ชุด มีผู้ตอบมา 81  ชุด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตของลูก ขอบเขตพฤติกรรม และกฏระเบียบภายในบ้าน (ข้อ 1-5)   1.1  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเข้มงวด (5-15 คะแนน)  จำนวน 3  ครอบครัว   1.2  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบมีส่วนร่วม (16-24 คะแนน) จำนวน 28  ครอบครัว   1.3  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบตามใจ (25-35 คะแนน) จำนวน 50  ครอบครัว 2 การยอมรับ และตอบสนองความต้องการตามวัยของลูก (ข้อ 6-11)     2.1 รูปแบบการเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป (55-77 คะแนน)  จำนวน 46  ครอบครัว   2.2  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเหมาะสมตามวัย (34-54 คะแนน) จำนวน 34  ครอบครัว   2.3  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบปล่อยปะละเลบ (11-33 คะแนน) จำนวน 1  ครอบครัว 3 ทักษะการใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก (ข้อ 17-29)
  3.1  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเชิงลบ (13-39 คะแนน)  จำนวน 0  ครอบครัว   3.2  รูปแบบการเลี้ยงดูเชิงบวก (65-91 คะแนน) จำนวน 66  ครอบครัว   3.3  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบไม่แน่นอน (40-64 คะแนน) จำนวน 15  ครอบครัว โดยสรุปจากข้อมูลร้อยละ 33.75  ตำบลนาท่อม
-  สถานการณ์การเลี้ยงดูแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตลูก แบบตามใจร้อยละ 61.73  แบบมีส่วนร่วมร้อยละ  34.56 -  สถานการณ์การยอมรับและการตอบสนองตามช่วงวัย  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไปร้อยละ 56.79  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 41.98 -  สถานการณ์การใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก  รูปแบบการเลี้ยงดูเชิงบวกร้อยละ 81.48  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบไม่แน่นอน ร้อยละ 18.52 คณะกรรมการและทีมพี่เลี้ยงได้ออกแบบตามข้อมูล ในกิจกรรมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวกเพื่อหาครอบครัวต้นแบบครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรง

 

20 0

5. ชื่อกิจกรรมที่ 8 กิจกรรมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก โชว์ แชร์ เพื่อหาต้นแบบครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรง

วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จากข้อมูลและการออกแบบค่ายครอบครัวมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้ 1. ค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก 2 วัน 1 คืน โดยเด็กร่วมออกแบบกิจกรรม  หาดปากเมงรีสอร์ท จ.ตรัง . วิธีดำเนินการ     1. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวหรือแกนนำครอบครัวพลังบวก เพื่อออกแบบครอบครัวต้นแบบด้านการสื่อสารพลังบวกในครอบครัวคัดเลือกตัวแทนกลุ่มเป้าหมายจาก ๘ หมู่บ้าน จำนวน 30 ครอบครัวเรือน ๆ ละ 2  คน(ผู้ปกครอง รวมเด็กอายุ ๗-๒๐ ปี) รวมกลุ่มเป้าหมาย 70  คนรวมแกนนำด้วย 80  คน รวม ครู ก/ข 2. ประชุมสร้างความเข้าใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมของครู ก/ข ค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก จำนวน 20 คน  โดยออก แบบมีส่วนร่วม เด็กคิด เด็กทำ ผู้ใหญ่หนุนเสริม เพื่อทำแผนการดำเนินงานโครงการครอบครัวพลังบวก 3. ดำเนินกิจกรรมตามแผนการดำเนินโครงการดังนี้ แบ่ง 2  กลุ่ม ผู้ปกครอง กับ เด็กและเยาวชน   ภาคเข้า จัดค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก โดยมีกระบวนการ การให้ความรู้ในภาคเช้า เรื่อง การสื่อสารพลังบวกในครอบครัว ผ่านกิจกรรมที่สมาชิกเลือกเองเพื่อการเรียนรู้ ของครู ก ข กับ ผู้ปกครอง  เป็นเกมส์ เทคนิคพี่เลี้ยงชุมชนทำกับผู้ปกครอง  เทคนิคการสื่อสารที่เกิดจากไม่เข้าใจของลูกและหลาน  กิจกรรมอื่นตามความเหมาะสม
ภาคบ่าย สันธนาการกับเด็กและเยาวชนพร้อมผู้ปกครองศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติ ภาคภาคค่ำ กลับมาสรุปบทเรียนที่ได้ ทำกิจกรรม ครอบครัวสื่อพลังบวกร่วมกันกำหนด กิจกรรในแผนของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม     4. สรุปกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วม 80  คน แบ่งเป็น ผู้ปกครองกับเด็ก 70  คน ครู ก ข(ทีมพี่เลี้ยงชุมชน) จำนวน 10 คน ผลลัพธ์ 1, เกิดพี่เลี้ยงชุมชน 8 คนที่มีความรู้และสร้างกระบวนการค่ายครอบครัวสามารถร่วมกันได้  และจัดกิจกรรม จัดกระบวนการที่ได้ใช้เทคนิคหรือองค์ความรู้ในกระบวนการ 2. เกิดครอบครัวต้นแบบครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงอย่างน้อยหมู่ละ 1 ครอบครัว 3. เกิดทีมวิทยากรกระบวนการที่เป็นทีมพี่เลี้ยงชุมชน หรือ ครู ก ข สามารถขับเคลื่อนงานได้ และเป็นทีมวิทยากรครอบครัวให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม

 

80 0

6. ชื่อกิจกรรมที่ 6 ออกแบบกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการแก้ปัญหาผู้ปกครอบร่วมกับเด็ก

วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วิธีการดำเนินงาน 1. นำกิจกรรมจากแผนมาร่วมออกแบบร่วมกันกับเด็ก ผู้ปกครอง  ให้เด็กคิดเด็กทำผู้ใหญ่สนับสนุน ครูพี่เลี้ยงทำร่วมกับเด็กหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม ตำบลนาท่อม 2. ประสานเด็กกลุ่มต่างๆมาร่วมกิจกรรมตามแผน ค่ายกิจกรรมครอบครัวสื่อสารพลังบวก หลังจากการทำค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก โดยการกลับมาสำรวจชุมชนร่วมกับครอบครัวอื่นในพื้นเป้าหมาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมจำนวน 40 คนประกอบด้วย พี่เลี้ยงในชุมชน  เด็กในชุมชน ผู้ปกครองในฐานะพี่เลี้ยงเด็ก มีความรู้และร่วมกันเรียนรู้ชุมชนทำแผ่นที่เดินดิน สำรวจชุมชน พื้นที่สร้างสรรค์และพื้นที่เสี่ยง

ผลลัพธ์ -เกิดแผนที่เดินดิน บ้านโคกแย้มในการเรียนรู้ของเด็กคิด เด็กทำ  วิธีการโดยเด็กเก็บข้อมูล เรียนรู้ชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้มีครูพี่เลี้ยงแนะนำ

 

40 0

7. ชื่อกิจกรรมที่ 7.1 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้งที่ 1

วันที่ 17 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ถอดบทเรียนค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก หลังจากการทำกิจกรรมค่ายครอบครัว คณะทำงาน ครูพี่เลี่้ยงชุมชน ได้สรุปบทเรียนดังนี้   จากการเก็บข้อมูลและสรุปวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 9 องค์ประกอบรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กตำบลนาท่อม  สุ่มเก็บข้อมูล 81  ครัวเรือน พบว่า 1.1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตลูก และขอบเขตการดูแลเลี้ยงดู พบว่า
          3  ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูแบบเข้มงวด
          30 ครัวเรือนมีรูปแบบการเลี้ยงดูแบบมีส่วนร่วม       48 คร้วเรือนมีรูปแบบการเูแลเลี้ยงดูแบบตามใจ 1.2 การยอมรับและตอบสนองความต้องการตามวัย       46 ครัวเรือนมีรูปแบบเบี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป       34 ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูแบบเหมาะสมตามวัย         1 ครัวเรือนมีรูแแบบการดูแบเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย 1.3  วิธีการสร้างวินัย       0 ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงลบ     ุุ66  ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงบวก     15  ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูแบบไม่แน่นอน

      โดยสรุปจากคณะทำงาน การดูแลเลี้ยงดูอบรมของครอบครัว  แบบมีส่วนร่วมของครอบครัว รูปแบบที่มีการปกป้องมาเกินไปรองลงมามีความเหมาสมตามช่วงวัย และเป็นการดูแลเลี่้ยงดูเชิงบวก จากข้อสังเกตุและพูดคุยหาข้อมูลเพิ่ม ปัจจุบันครอบครัวมีขนาดเล็กลง จำนวนลูก 1-2 คน จะถูกดูแลตามใจ  ซึ่งกิจกรรมกรรมค่ายครอบครัวพลังบวกจะเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับครอบครัวปกติ มีผู้ปกครองในการดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย เป็นการเสริมพลังป้องกันครอบครัวสร้างความเข้มแข็งยิ่งขึ้นนำไปสู่การชักชวน ชี้เป้าครอบครัวที่ไม่ปกติให้เข้าถึงได้ร่วมกิจกรรมและเข้าถึงของหน่วยงานอื่นให้การช่วยเหลือ

  1. การจัดทำเป็นหลักสูตรครอบครัวสื่อสารพลังบวกที่เหมาะสม คือ  2 วัน 1 คืน
    หลักสูตร แบ่งเป็น 2 ส่วน
    ส่วนที่ 1 พัฒนาครูพี่เลี้ยงอบรม 5 ทักษะพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวก 1)ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน ฝึกทักษะพี่เลี้ยงครู ก ขยายผลสู่ ผู้ปกครอง และสร้างพี่เลี้ยงเด็กและเยาวชน เป็นข้อต่อเชื่อมงานเด็กและเยาวขนในชุมชน 2)ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย  ผลักดันให้เกิดหลักสูตรท้องถิ่นเป็นวิชาทางเลือก 3)ทักษะบริหารจัดการความรุนแรงความขัดแย้ง ใช้สหวิชาชีพในการจัดการ 4)ทักษะการเฝ้าระวัง  คือ ออกแบบสร้างกิจกรรม 5)ทักษะการให้ความช่วยเหลือ  คือการส่งต่อ ส่วนที่ 2 หลักสูตรค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก นำความรู้และเทคนิคใช้กับครอบครัวปกติและไม่ปกติ       วิชาหรือหลักสูตร เป็นรูปแบบการเลี้ยงดูเชิงบวก ใช้เทคนิคการให้คำ ปรึกษา ครู ก. : ความรู้เรื่องการให้คำปรึกษา    พี่เลี้ยงที่ปรึกษา คือ ผู้ที่ให้คำ แนะนำ ดูแลช่วยเหลือ เด็กและวัยรุ่น บทบาทพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในชุมชน จะดูแลให้คำ แนะนำ ช่วยเหลือเด็ก และคนในชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดี พัฒนาศักยภาพ ช่วยเหลือเด็กและ วัยรุ่น
          ขั้นตอน สู่การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงในชุมชน ต้องมีทักษะ 5 ด้าน โดย เฉพาะเทคนิคที่ปรึกษา หัวใจสำคัญการให้คำปรึกษา คือ การพูดคุย สื่อสาร ให้เข้าใจ เเละ พัฒนาศักยภาพได้ (ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะรู้คิด) โดยต้องมี "ผู้ให้ และผู้รับ" ทุกคนสามารถเป็นพี่เลี้ยงได้ เช่น ครู ผู้นำ ผู้ที่ได้รับการนับถือ หรือ ไว้ใจจากชุมชน  เป้าหมายการให้คำ ปรึกษา คือ เข้าใจปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ คุณสมบัติที่ดี คือ ตั้งใจช่วยเหลือ ผู้ฟังที่ดี เป็นมิตร อดทน รักษา ความลับ และคิดบวก ขั้นตอนการให้คำปรึกษา ภาษาที่ใช้ ไม่เป็นทางการ (พี่เลี้ยงในชุมชน) และทางการ (ครู) แบ่งเป็น 3 ช่วง ก่อนดำ เนินการ ดำ เนินการให้คำ ปรึกษา และ ขั้นยุติการให้คำ ปรึกษา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต     คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว จำนวน 21 คนมีความรู้และเข้าใจและเป็นกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในการทำงานด้านพัฒนาครอบครัวและจัดค่ายครอบครัวอย่างต่อเนื่อง และสร้างการเรียนรู้ด้วนระบบออนไลน์ ซูม ในวันอาทิตย์ จำนวน 12 ครั้งของพี่เลี้ยงครู ก และ ข จำนวน 9 คน เพื่อเป็นครูพี่เลี้ยงในชุมชน และเรียนรู้เทคนิคการแก้ปัญหาครอบครัวในชุมชน ของคนในแต่ละช่วงวัย โดย มศว  ศูนย์คุณธรรม องค์การมหาชน  ม.มหิดล  ม.ราชภัคเชียงใหม่ สนับสนุนองค์ความรู้

ผลลัพธ์     คณะกรรมการ 21 คน ครูพี่เลี่้ยง จำนวน 9 คน สามารถให้คำปรึกษา สามารถออกแบบแก้ปัญหาในระดับเบื้องต้น  คิดวิธีหาวิธีในการออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัวได้ สามารถออกแบบเทคนิคต่างๆ

 

20 0

8. ชื่อกิจกรรมที่ 5. ติดตามผลโครงการ ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม 1. คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัว  ตัวแทนภาคีร่วมขับเคลื่อนเทศบาลตำบลนาท่อม พี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก จำนวน 20 คน ร่วมประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์ โดยใช้บันไดผลลัพธ์เป็นเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น ระหว่างทาง และตอนสุดท้ายของการเข้าร่วม 2. วิเคราะห์ข้อมูลความก้าวหน้า และปรับแผนการดำเนินงาน โดยใช้บันไดผลลัพธ์ของโครงการตั้งแล้วดูผลการดำเนินการหรือตัวชี้วัดของโครงการว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในระหว่างการทำกิจกรรมโครงการ 3. สรุปการประเมินผลการดำเนินงาน (กิจกรรม ผลลัพธ์ การใช้เงิน การรายงานผลงวดที่ 1)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เกิดคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก จำนวน 9 คน ที่มาจาก มาจากกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว มาจากเทศบาลตำบลนาท่อม มาจากอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกาย 2.คณะทำงาน มีความรอบรู้ ครอบครัวพลังบวก 5 ด้าน
  1)ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน
  2)ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย
  3)ทักษะบริหารจัดการความรุนแรงความขัดแย้ง
  4)ทักษะการเฝ้าระวัง
  5)ทักษะการให้ความช่วยเหลือ 3.มีขัอมูลสถานครอบครัว ในตำบลนาท่อม 4.มีแผนพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งตำบลนาท่อม.ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล 2 แบบ คือ แผนพัฒนาครอบครัวปกติ กับแผนพัฒนาครอบครัวไม่ปกติ 5.มีแผนดำเนินงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก จากความต้องการของเด็ก ผู้ปกครอง กับครอบครัวปกติ คือครอบครัวที่อยู่กับผู้ปกครอง 3.เกิดร่างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของตำบลนาท่อม ที่ใช้กับครอบครัวปกติ ในกิจกรรมค่ายครอบครัวพลังบวก

ผลลัพธ์ 1. เกิดคณะทำงาน ที่่เรียกว่า ที่พี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชน
2. คณะทำงานทีมพี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชน มีความรอบรู้และขับเคลื่อนงานได้ โดยร่วมคิดออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาในชุมชนตามข้อมูลปัญหาได้สะท้อน

 

20 0

9. ถอนเงินสดเปิดบัญชี

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้มีอำนาจลงนามในบัญชีโครงการ 2ใน 3 คนโดยนายอนุชา เฉลาชัยเป็นคนหลัก เพื่อถอนเงินออกจากบัญชี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการได้ถอนเงินออกจากบัญชี  2  ใน 3  โดยกำนันอนุชา คนหลักถอนเงินถอนเงินออกจากโครงการ

 

3 0

10. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนากับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 1

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แบ่งกลุ่มตามประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ในประเด็น เด็ก เยาวชนและครอบครัว ระดมความคิดแต่ละพื้นที่เกิดอะไรบ้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีคณะทำงานเข้าร่วม  3 คน  1 นายอนุชา  เฉล่ชัย  ผู้รับผิดชอบโครงการ  2 นายถาวร  คงศรี  3  นส ธนภรณ์  นำเสนอ ผลลัพธ์ จากการดำเนินงานโครงการตามบันไดผลลัพธ์อยู่ในขั้นที่ 2 เกิดคณะทำงานเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวกจำนวน 9 คน จากคณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวจำนวน 21 คนมีข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวตำบลนาท่อม และคณะทำงานพี่เลี่้ยงครอบครัว  มีความรอบรู้และสามารขับเคลื่อนงานได้ คือ มีแผน ทำกิจกรรมค่ายครอบครัวเพื่อแก้ปัญหา และเกิดร่่างหลักสูตรเพื่อใช้ในการเรียนการสอน  ต่อไป

 

3 0

11. ชื่อกิจกรรมที่ 12 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงผลงาน/สรุปบทเรียน

วันที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานทีมครอบครัวประกอบด้วย คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวและพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทบทเรียนจากการดำเนินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิตและผลลัพธ์ 1.เกิดคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก มาจาก  คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลนาท่อมและมาจากแกนนำหลายภาคส่วน  เทศบาลตำบลนาท่อม ผู้ใหญ่ กำนัน  ผอ.รร อพม  อสม  รวมจำนวน  30 คน (กรรมการ 21 คน พี่เลี้ยง 9  คน) 2.คณะทำงาน มีความรอบรู้ ครอบครัวพลังบวก ทักษะ 5 ด้าน 3.มีขัอมูลสถานครอบครัว ตำบลนาท่อม และกรรมการและพี่เลี้ยงใช้ข้อมูล ออกแบบ ทำค่ายครัวตามข้อมูลปัญหาจริงในพื้นที่ 4.เกิดแผนพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งตำบลนาท่อม.ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล และนำใช้ข้อมูล ผ่านกิจกรรมค่ายครอบครัว  ผ่านหน่วยงานที่มีภารกิจ เช่น พบเด็กมีปัญหา ส่ง พมจ สู่บ้านพักเด็ก  คนต้องการทำอาชีพ ส่งผ่านศูนย์พัฒนาอาชีพภาคใต้  พบบ้านไม่มีห้องน้ำหรือบ้านไม่มั่นคง ส่งต่อเข้าโครงการบ้านมั่นคงของคนเปราะบาง 5.เกิดแผนดำเนินงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก จากความต้องการของเด็ก ผู้ปกครอง เกิดครอบครัวต้นแบบ ทั้ง 8 หมู่บ้านเพื่อขยายผลในระดับพื้นที่ชุมชน สร้างและขยายครอบครัวอบอุ่น เข้มแข็ง ไร้ความรุนแรง 6.เกิดหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของตำบลนาท่อม ที่เน้น 5 ทักษะสู่การพัฒนาขยายผลในปีต่อไปสร้่างของศูนย์พัฒนาครอบครัว 7.เกิดพื้นที่ โชว์ แชร์ เพื่อรณรงค์สร้างครอบครัวพลังบวกไร้ความรุนแรงอย่างน้อย 1 แหล่ง  คือ หมู่ที่ 2  บ้านโคกแย้ม ตำบลนาท่อม ที่ทำควบคู่กับโรงเรียน เด็ก ผู้ปกครอง วัดโคกแย้ม(บวร) ใช้ศิลปะวัฒนธรรมมโนราห์เชื่อมเด็ก ผู้ใหญ่ทุกช่วงวัยร่วมกันสื่อสาร นำไปสู่กิจกรรมอื่น ที่พบปัญหาใหม่ส่งต่อเพื่อแก้ต่อไป 8.มีสื่อเพื่อเผยแพร่กิจกรรมครอบครัวอบอุ่นพลังบวกไร้ความรุนแรง อย่างน้อย 2 ช่องทาง  คือ เฟสบุก  กลุ่มไลน์  reels  Tikkok 9.เกิดครอบครัวอบอุ่นต้นแบบสื่อสารพลังบวกอย่างน้อย 8 ครอบครัว หมู่บ้านละ 1 ครอบครัว เกิดจริงทั้ง 8 หมู่บ้านและค้นพบต้องดำเนินการต่อให้เด็กในครอบครัวต้นแบบเป็นพี่เลี้ยงเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ สนับสนุนให้แกนนำเด็ก หรือ พี่เลี้ยงในเด็กได้ทำงานเป็น  ในรูปแบบของสภาเด็กหรือแกนนำเด็ก โดยให้หน่วยงานภาระกิจสนับสนุน  ศูนย์พัฒนาครอบครัวหนุนเสริม

 

20 0

12. ชื่อกิจกรรมที่ 10 ถอดบทเรียนครัวต้นแบบ

วันที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ถอดบทเรียนกิจกรรมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก วิธีการ       จากกิจกรรมค่ายครอบครัวพลังบวก พบ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม จำนวน 21 คน มีศักยภาพเป็นพี่เลี่ยงได้ทุกคน เพราะได้รับการคัดเลือกมาจากกลุ่มองค์กร และหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับครอบครัว สำหรับ คณะกรรมการและแกนนำที่สมัครใจ อบรมหลักสูตรพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก  มีความสามารถ คิดออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัวตามข้อมูลปัญหาที่พบ  เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาครอบครัวในชุมชน ตามหลักวิชาการรองรับ         จากกิจกรรมค่ายครอบครัวยังพบพี่เลี้ยง  ครอบครัวที่เข้าร่วม  เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วม ได้ดำเนินการงานกิจกรรมในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง  จนคณะกรรมการ  เทศบาล  โรงเรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นปัญหาในครอบครัวในชุมชน  ทำให้การทำงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลนาท่อม  ทำงานได้ง่ายขึ้น  และสามารถทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนและสามารถทำงานเข้าถึงส่งต่อไปสู่หน่วยภาระกิจได้อย่างสะดวกขึ้น  ตัวอย่าง การส่งกลุ่มเปราะบางสู่ พมจ  และ พมจ.พัทลุงลงมาประเมินและส่งต่อผู้เปราะบางไปตามช่องทางต่าง ๆได้ง่ายขี้น         จากกิจกรรมค่ายครอบครัว ทำให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง ในหมู่ที่ 2 ในการนำเอาการทำแผนที่เดินดิน  การทำเรื่องเล่าเร้าพลัง ของ เด็กคิด เด็กทำ  ผู้ใหญ่สนับสนุนกิจกรรม เรื่องเด่นที่เกิดขึ้น หนังสื่อเล่มเล็ก  สืบค้นทวดตาลก  แผนที่เดินดิน  หิ้งมโนราห์ และเกิดแกนนำเด็กรุ่นใหม่ ที่เขาเชื่อมและจัดการกันเองเพียงผู้ใหญ่เปิดพื้นที่คอยสนับสนุนกิจกรรมห่างๆ 2.ถอดบทเรียนครอบครัวต้นแบบ           จากกิจกรรมค่ายครอบครัว  พบ ผู้ปกครอบที่ไม่เป็นทั้งพ่อและแม่ เป็น ปู่  ย่า  น้า  อา หรือ ป้า ลุง  ที่ไปเป็นผู้ปกครอง ได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ได้รู้เท่าทันเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นผ่านวิทยากรกระบวนการของพี่เลี้ยง เทคนิคการแก้ปัญหา การเป็นเพื่อนกับลูก  การชม  การกอด  ได้จากกิจกรรมค่ายครอบครัว  และถ้ามีปัญหาจะส่งต่อได้ที่ไหน อย่างไร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลจากการจัดค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก
      ครัวเรือนต้นแบบ 8 ครัว 16 คน เป็นตัวแทน 8 หมู่บ้านของตำบลนาท่อมและคณะกรรมการของศูนย์21คน และพี่่เลี้ยง  9 คน เป็นตัวแทนในการขับเคลื่อน แต่ละหมู่บ้าน ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูล การออกแบบกิจกรรม การจัดกิจกรรม การส่งต่อปัญหาที่พบเรื่องครอบครัวสู่การสร้างความเข้มแข็งลดความรุนแรงในครอบครัวในชุมชน

หลังจากจัดค่ายกิจกรรมครอบครัวดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้ 1.อบรมผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพครอบครัวของผู้ปกครองกับเด็ก โดยใช้การเล่าเรื่องเน้นความรู้ในชุมชน.และเสนอเรื่องเล่า เข้าร่วมค่ายกิจรรม
    หลังจากร่วมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก 1 ครั้งในระดับตำบล  ได้คัดเลือกเด็กในชุมชน 1 พื้นที่เพื่อขยายผลทำงานในระดับพื้นที่เชิงลึก คือ เด็กในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม ที่มีโรงเรียน มีแกนนำเด็ก มีแกนนำเยาวชน นำเด็กเรียนรู้ชุมชน ผ่านกิจกรรมในชุมชน  คือ เรื่องความเชื่อทวดตาลก  เรื่องมโนราห์ สืบค้นเป็นเรื่องเล่า ทำแผนที่เดินชุมชน  จัดกิจกรรมครอบครัวชวนเด็กเล่าเรื่องชุมชนของเรา จัดทุกวันเสาร์ ณ.ศาลาหมู่ที่ 2 จำนวน 4  ครั้ง  เริ่มสร้างความเข้าใจกับเด็กๆ  หาข้อมูลโดยการใช้กิจกรรมวาดภาพเรื่องเด่น เล่าเรื่องเด่นในชุมชนทำเป็นสมุดเล่มเล็ก  ลงพื้นที่ไปพบเรื่องเด่น ให้เด็กวาดเป็นแผนที่เดินชุมชน  นำเรื่องเด่นในชุมชนหมู่ที่ 2 คือ ทวดตาลกเป็นเรื่องเล่า  และนำเรื่องมโนราห์ที่เด็กชอบมาทำการแสดง และ ขยายผลไปพื้นที่อื่นๆ คือ หมู่ที่ 8 บ้านหูยาน เพื่อสร้างแกนนำเด็กในพื้นที่อื่นๆต่อไป

สรุปกิจกรรม/ถอดบทเรียน ครอบครัวชวนเด็กเล่าเรื่องชุมชนของเรา
  ค่ายกิจกรรมครอบครัวสื่อสารพลังบวกในชุมชนสามารถเข้าถึงครอบครัว  เข้าถึงเด็ก รับทราบข้อมูลที่เป็นปัญหาในพื้นที่จากการร่วมกิจกรรมและรับฟังปัญหาแต่ละชุมชน ข้อสังเกตุ กิจกรรมแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน  ตัวอย่าง หมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้มเด็กๆจะชอบรำมโนราห์  ส่วนหมู่ที่ 8  เด็กชอบเล่นสวนน้ำ  แต่มีเรื่องที่เด็กชอบร่วมกันทั้ง 2 คือ เรื่องกิน ใช้ กิจกรรมสุกี้มือถือ มุ่งเน้นการให้เด็กมีกติกา คิดเอง ทำเอง มีกติกาจัดการกันเอง โดยผู้ใหญ่สนับสนุน ส่วนคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวต้องเก็บข้อมูลปัญหาในพื้นที่เพื่อไปดำเนินงานปรับปรุง แก้ไข พัฒนา หรือส่งต่อ

 

20 0

13. ชื่อกิจกรรมที่ 9 กิจกรรมผลิตสื่ออย่างน้อย 2 ช่องทางแสดงผลงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก

วันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. กิจกรรมทำสื่อโดย คณะทำงานทีมครอบครัวและทีมเด็กเพื่อสื่อสาร อย่างน้อย 2 ช่องทาง ทำได้จริงเกิด  4  ช่องทาง

- ช่องทางเฟสบุค - ช่องทางReal - ช่องทางTikk0k - กลุ่มไสน์ วิธีการดำเนินการทำ - คณะทำงานช่วยกันถ่ายรูปและคริปสั้น - ทำการสรุปประเด็น เขียนคอนเต้นหรือ เขียนสรุปเนื้อนา -นำภาพหรือคริปสั้นมาเรียบเรียงตามเนื้อหาสรุปคำบรรยาย -ส่งลงในช่องทางต่าง ๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลิต เกิดช่องทางการนำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์พฒนาครอบคร้ว จำนวน 4 ช่องทาง และมีคนติดตามดูผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อมมากกว่า 200 ครั้่ง ผลลัพธ์ มีผู้สนใจเข้าศึกษาเรียนรุ้ดูงาน จากการรับรู้ในช่องทางเหล่านี้จากต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น  และ ครอบครัวในชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากขึ้นกว่่าแต่เดิมจากการจัดกิจกรรม และการหาผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นไม่อยาก

 

20 0

14. ชื่อกิจกรรมที่ 7.2 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้ง 2

วันที่ 15 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ถอดบทเรียนค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก ผลที่ได้จากค่ายครอบครัว ดังนี้     1) เกิดพี่เลี่ยงครอบครัวพลังบวกจำนวน 9 คนมีองค์ความรู้ ทักษะ 5 ด้านนำสู่การปฏิบัติได้     2) เกิดพี่เลี่ยงเด็กและเยาวชน รุ่นใหม่เชื่อมโยงเด็กในชุมชนให้เข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้ แต่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยผู้ใหญ่ต้องสนับสนุนให้เด็กคิด และเด็กทำ
2. จัดทำเป็นหลักสูตรครอบครัวสื่อสารพลังบวก จากการฝึกอบรม 5 ทักษะพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวกและทำเป็นหลักสูตรนำใช้ในชุมชนลดปัญหาความรุนแรง ด้วย 5 ทักษะดังนี้       1) ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน  ทักษะการใช้เทคนิคของพี่เลี่้ยง เช่น  การชมสุดซอย  การปลอบก่อนสอนทีหลัง       2) ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย  เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบกิจกรรมตามข้อมูลที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย  เช่น เรื่องเล่าเร้าพล้ง  ค่ายครอบครัวสัมพันธ์       3) ทักษะบริหารจัดการความรุนแรงความขัดแย้ง  ทักษะพี่่เลี้ยงทำงานประสานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ       4)ทักษะการเฝ้าระวัง  เช่น การออกแบบหลักสูตรที่สอดคล้องกับช่วงวัย สนับสนุนการทำกิจกรรมที่เกิดจากเด็กคิด  เด็กทำ  เช่น  เรื่องเล่า  เร้าพลัง  ค้นหามโนราห์    เรื่องเล่ากับข้าวหวันเย็น โดยมีกิจกรรมเสริมสุกี้มือถอ       5)ทักษะการให้ความช่วยเหลือ พี่เลี้ยงกับการทำงานร่วมกับภาคีสนับสนุนทั้งภายในและภายนอก
3. ชื่อหลักสูตร เด็กคิด เด็กทำ ผู้ใหญ่หนุนเสริม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลิต 1) เกิดพี่เลี่ยงครอบครัวพลังบวกจำนวน 9 คนมีองค์ความรู้ ทักษะ 5 ด้านนำสู่การปฏิบัติได้ 2) เกิดพี่เลี่ยงเด็กและเยาวชน รุ่นใหม่เชื่อมโยงเด็กในชุมชนให้เข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 8 คน แต่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยผู้ใหญ่ต้องสนับสนุนให้เด็กคิด และเด็กทำ ผลลัพธ์ 1) ที่มพี่เลี้ยงสามารถเป็นทีมวิทยากรขับเคลื่อนงานกระบวนการค่ายครอบครัวในชุมชนและสามารถรับการศึกษาดูงานได้ 2) ค้นพบเด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาเป็นพี่เลี้ยงเด็กรุ่นถัดมาได้ เป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างเด็กในชุมชนกับเด็กเรียนนอกชุมชนและเป็นพี่เลี้ยงเด็กรุ่นใหม่ไๆด้แต่มีเงื่อนไขผู้ใหญ่ต้องสนับสนุน

 

20 0

15. ชื่อกิจกรรมที่ 11. ติดตามผลโครงการ ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว โดยประธานศูนย์ฯ ได้เชิญ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว แกนนำพี่เลี้ยงครู ก ครู ข พี่เลี้ยงแกนนำเด็กและเยาวชน แกนนำเด็ก  ครอบครัวต้นแบบ นักพัฒนาชุมชน  มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ได้เช็ญชุมชนต้นแบบมาร่วมแสดงผลการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อจากค่ายครอบครัวพลังบวก  โดยนำผลงานของแกนนำเด็กได้ไปขยายทำกิจกรรมกับเด็กในชุมชน บ้านโคกแย้ม  เพื่อมาสื่อสารให้กับคณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวได้เห็น และพี่เลี่ยงครู ก ข ได้เป็นผลการขับเคลื่อนจากค่ายครอบครัว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์  จากโครงการครอบครัวพลังบวก คือ  กรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม 21 คนมีความรู้เข้าใจครอบครัวสื่อสารพลังบวก เกิดพี่เลีี้ยงครู ก ครู ข 9 คน มีข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวนำมาสู่การ ออกแบบสร้างกระบวนการค่ายครอบครัวได้ โดยใช้องค์ความรู้จากการเรียนผ่านระบบออนไลน์  เกิดแกนนำเด็ก จำนวน 3 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นแกนนำชักชวนเด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องแม้ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาในชุมชนยังมาร่วมงานได้ เกิดหลักสูตรการเป็นพี่เลี้ยง  เกิดสื่อสารออนไล ผ่านคนไก คณะกรรมการ  พี่เลี่ยง  เด็กและผู่้ปกครอล เกิดชุมชนต้นแบบ คือ ชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม เด็กนักเรียน  ครูโรงเรียนวัดโคกแย้ม ผู้ปกครองให้ความรุวมมือ สามารถทำกิจกรรมกับเด็กทำให้เข้าถึงครอบครัวที่เปราะบาง สู่การส่งต่อหน่วยงานที่เป็นภารกิจ เช่น พมจ  บ้านพักเด็ก เทศบาล แก้ปัญหาได้

 

20 0

16. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนากับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 2(ARE2)

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

หลังจากลงทะเบียนสร้างความเข้าใจ ได้แบ่งกลุ่มตามประเด็น ให้นำเสนอผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการ โดยการให้คณะทำงานแต่ละโครงนำเสนอมีพี่เลี้ยงเก็บประเด็น เช่น การดำเนินการค้นพบอะไรจากการดำเนินโครงการครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก และมีข้อเสนอแนะอะไรจากการดำเนินงานโครงการ  สิ่งดีๆที่พบมีอะไรบ้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วิธีการดำเนินงานโครงการโดยสรุปต่อกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว 1.รับสมัครพี่เลี้ยง ครู ก ครู ข เป็นพี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชน ได้จำนวน 9 คน 2.เรียนรู้องค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย มศว  ม.มหิดล ม.ราชภัฎคเชียงใหม่ 12 ครั้งผ่านระบบซูม 3.เก็บข้อมูลจำนวน 80 ชุด ร่วม วิเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัว 4.จัดกิจกรรมค่ายครอบครัว 1 ครั้ง โดยพี่เลี้ยงครู ก ครู ข ได้ผลลัพธ์ ครัวเรือนต้นแบบ 8 หมู่บ้านละ 1 ครัวเรือน ได้แกนนำเด็กไว้สืบทอด สร้างความต่อเนื่อง ได้แกนนำเด็กจำนวน 3 คน
5.หลังจากจบกิจกรรมค่ายครอบครัวได้คัดเลือกชุมชนที่มีความพร้อม คือ หมู่ที่ 2  บ้านโคกแย้มเป็นชุมชนนำร่องต้นแบบการแก้ปัญหาในประเด็กเด็กและครอบครัว  โดยมีทั้งโรงเรียน ครู เด็ก ผู้ปกครอบให้ความร่วมมือ โดยมีครูเชื่อมงานกับ ผู้นำ เทศบาล ศพค พมจ ศูนย์คุ้มครองเด็กทำงานลงสู่พื้นที่กับครอบครัวที่ไม่ปกติสู่การแก้ปัญหาเบื้องต้น 6.ชุมชนนำร่อง เริ่มจากการรวมเด็กโดยมีพี่เลี้ยงแกนนำเด็ก ใช้ศิลปะในการเข้าถึงชุมชน เริ่มด้วยการสืบค้นทำข้อมูลด้วยแผนที่เดินชุมชน  คนหาเรื่องเด่นในชุมชน ได้เรื่องเล่าทวดตาลก  กับมโนราห์ ต่อมาแปลงจากเรื่องเล่ามาเป็นการแสดงมโนราห์ตามความถนัดของเด็กๆในชุมชนนั้นๆ 7.นำชุมชนนำร่องไปขยายผลสู่ชุมชนอื่น คือ จากเด็กๆหมู่ที่ 2 บ้านตาลก สู่เด็กๆ หมู่ที่ 8 บ้านหูยาน ขายผล และจะขยายผลไปสู่เด็กๆทั้งตำบลต่อไป

หลังจากจัดค่ายกิจกรรมครอบครัวดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้ 1.อบรมผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพครอบครัวของผู้ปกครองกับเด็ก โดยใช้การเล่าเรื่องเน้นความรู้ในชุมชน.และเสนอเรื่องเล่า 1เข้าร่วมค่ายกิจรรม
    หลังจากร่วมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก 1 ครั้งในระดับตำบล  คัดเลือกเด็กในชุมชน 1 พื้นที่เพื่อขยายผลทำงานในระดับพื้นที่เชิงลึก คือ เด็กในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม ที่มีโรงเรียน มีแกนนำเด็ก มีแกนนำเยาวชน นำเด็กเรียนรู้ชุมชน ผ่านกิจกรรมในชุมชน  คือ เรื่องความเชื่อทวดตาลก  เรื่องมโนราห์ สืบค้นเป็นเรื่องเล่า ทำแผนที่เดินชุมชน  จัดกิจกรรมครอบครัวชวนเด็กเล่าเรื่องชุมชนของเรา จัดทุกวันเสาร์ ณ.ศาลาหมู่ที่ 2 จำนวน 4  ครั้ง  เริ่มสร้างความเข้าใจกับเด็กๆ  หาข้อมูลโดยการใช้กิจกรรมวาดภาพเรื่องเด่น เล่าเรื่องเด่นในชุมชนทำเป็นสมุดเล่มเล็ก  ลงพื้นที่ไปพบเรื่องเด่น ให้เด็กวาดเป็นแผนที่เดินชุมชน  นำเรื่องเด่นในชุมชนหมู่ที่ 2 คือ ทวดตาลกเป็นเรื่องเล่า  และนำเรื่องมโนราห์ที่เด็กชอบมาทำการแสดง และ ขยายผลไปพื้นที่อื่นๆ คือ หมู่ที่ 8 บ้านหูยาน เพื่อสร้างแกนนำเด็กในพื้นที่อื่นๆต่อไป

4.สรุปกิจกรรม/ถอดบทเรียน ครอบครัวชวนเด็กเล่าเรื่องชุมชนของเรา
  ค่ายกิจกรรมครอบครัวสื่อสารพลังบวกในชุมชนสามารถเข้าถึงครอบครัว  เข้าถึงเด็ก รับทราบข้อมูลที่เป็นปัญหาในพื้นที่จากการร่วมกิจกรรมและรับฟังปัญหาแต่ละชุมชน ข้อสังเกตุ กิจกรรมแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน  ตัวอย่าง หมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้มเด็กๆจะชอบรำมโนราห์  ส่วนหมู่ที่ 8  เด็กชอบเล่นสวนน้ำ  แต่มีเรื่องที่เด็กชอบร่วมกันทั้ง 2 คือ เรื่องกิน ใช้ กิจกรรมสุกี้มือถือ มุ่งเน้นการให้เด็กมีกติกา คิดเอง ทำเอง มีกติกาจัดการกันเอง โดยผู้ใหญ่สนับสนุน

 

3 0

17. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รวมรวมเอกสารจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์โดยมีรายละเอียดดังนี้ -ค่าอินเตอร์เน็ตในการบันทึกข้อมูลเข้าระบบออนไลน์คั้งแต่เริ่มทำรายงานถึงสรุป
-เก็บร่วมรวมภาพกิจกรรมเพื่อบันทึกเข้าระบบ -เก็บรวมเอกสารรายงาน ทำสรุปกิจกรรมเป็นรายงานเพื่อบันทึกเข้าระบบ -จัดทำบัญชีและสรุปการเงินกิจกรรมโครงการเพื่อส่งตรวจสอบ เป็นการจัดทำรายงานทั้งโ่ครงการ งวดที่ 1 และงวดที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานโครงการฉบับสมบูรณ์ ที่บันทึกเข้าระบบ คนใต้สร้างสุข รายงานการเงินงวดที่ 1 แลงวดที่ 2

 

3 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เกิดคณะทำงานเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวก
ตัวชี้วัด : 1.เกิดคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก มาจาก ศูนย์ศพค/ทต/รร/ปก/อพม จำนวน 20 คน 2.คณะทำงาน มีความรอบรู้ ครอบครัวสื่อสารพลังบวก 3.มีขัอมูลสถานการณ์ครอบครัว ตำบลนาท่อม
20.00 21.00

คณะทำงานของโครงการส่วนใหญ่เป็นคณะทำงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลนาท่อม ซึ่ง ประกอบไปด้วย ท้องที่ ท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่เห็น แกนนำเยาวชนเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน

2 เพื่อคณะทำงานมีความรอบรู้และขับเคลื่อนงานได้
ตัวชี้วัด : 1.เกิดแผนพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งตำบลนาท่อม.ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล 2.เกิดแผนดำเนินงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก จากความต้องการของเด็ก ผู้ปกครอง 3.เกิดหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของตำบลนาท่อม
20.00 30.00

ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด ทั้ง3 ตัวชี้วัด ข้อสังเกตุ เกิดจาการเก็บข้อมูลสถานการรณ์และผ่านกาวิเคราะห์ ทำให้เกิดแผน เกิดหลักสูตร แนวทางการแก้ไข ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

3 เพื่อเกิดปฏิบัติการครอบครัวสื่อสารพลังบวก
ตัวชี้วัด : 1.เกิดพื้นที่ โชว์ แชร์ เพื่อรณรงค์สื่อสารสร้างครอบครัวพลังบวกไร้ความรุนแรงอย่างน้อย 1 แหล่ง 2.มีสื่อเพื่อเผยแพร่กิจกรรมครอบครัวอบอุ่นพลังบวกไร้ความรุนแรง อย่างน้อย 2 ช่องทาง
3.00 1.00

ผลลัพธ์ เกิดกิจกรรมครอบครัวผลจากการทำค่ายครอบครัว ในระดับตำบล หมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม แกนนำพี่เลี้ยงในชุมชนยบับต่่อ ดำเนินการร่วมกับ โรงเรียนโคกแย้ม ครู เด็ก ผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาครอบครัว เทศบาล ฝ่ายปกครอง เปิดโอกาสให้เด็กและครอบครัวในชุมชน ทำกิจกรรมแผนที่เดินดิน สืบค้นมโนราห์ ทวดตาลก ผลที่ได้รับ โรงเรียน ศพค เทศบาล ทราบปัญหา เด็กครอบครัวยากจน ไม่มีห้องน้ำเด็กผู้หญิงมีความเสี่ยง ประสาน พมจ และบ้านพักเด็ก ได้รับการแก้ปัญหา จากการพบและประสานส่งต่อ

4 เพื่อเกิดครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก
ตัวชี้วัด : 1.เกิดครอบครัวอบอุ่นต้นแบบสื่อสารพลังบวกอย่างน้อย 8 ครอบครัว หมู่บ้านละ 1 ครอบครัว
8.00 8.00

เด็กเป็นพี่เลี้ยงชุมชนในกลุ่มของเด็กและเยาวชนที่เกิดจากการเห็นช่องว่างของการพัฒนาโดยการทำกิจกรรม แต่ไม่สามารถเดินไปข้างหน้าได้ถ้าไม่พัฒนนาและต่อยอดกิจกรรมในการสร้างและพัฒนาพี่เลี้ยงเด็กให้ข้บเคลื่อนงานเองได้ ชุมชนก็จะขาดช่วงอีก คือ พอจบระดับประถมแล้วเด็กก็จะกระจายไปคนละทิศทางรวมตัวกันไม่ได้อีก ชุมชนต้องเริ่มต้นใหม่อีก

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครอบครัว ร่วมผู้ปกครองกับบุตร 80
เป้าหมายรอง เด็กกับผู้ปกครองในตำบลนาท่อมที่มีอายุไ 0

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เกิดคณะทำงานเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวก (2) เพื่อคณะทำงานมีความรอบรู้และขับเคลื่อนงานได้ (3) เพื่อเกิดปฏิบัติการครอบครัวสื่อสารพลังบวก (4) เพื่อเกิดครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ชื่อกิจกรรมที่ 2  อบรมหลักสูตรเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก (2) ชื่อกิจกรรมที่ 3  เก็บข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวของตำบลนาท่อม (3)  (4) กิจกรรมที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบกิจกรรมร่วมบรรจุในแผนพัฒนาประเด็นครอบครัวตำบลนาท่อม (5) ชื่อกิจกรรมที่ 8 กิจกรรมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก โชว์ แชร์ เพื่อหาต้นแบบครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรง (6) ชื่อกิจกรรมที่ 6  ออกแบบกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการแก้ปัญหาผู้ปกครอบร่วมกับเด็ก (7) ชื่อกิจกรรมที่ 5. ติดตามผลโครงการ ARE ครั้งที่ 1 (8) ถอนเงินสดเปิดบัญชี (9) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนากับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 1 (10) ชื่อกิจกรรมที่ 7.1 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้งที่ 1 (11) ชื่อกิจกรรมที่ 12 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงผลงาน/สรุปบทเรียน (12) ชื่อกิจกรรมที่ 9 กิจกรรมผลิตสื่ออย่างน้อย 2 ช่องทางแสดงผลงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก (13) ชื่อกิจกรรมที่ 7.2 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้ง 2 (14) ชื่อกิจกรรมที่ 10 ถอดบทเรียนครัวต้นแบบ (15) ชื่อกิจกรรมที่ 11. ติดตามผลโครงการ ARE ครั้งที่ 2 (16) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนากับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 2(ARE2) (17) จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ (18) ชื่อกิจกรรมที่ 1  อบรม กลไกทำงานครอบครัวในพื้นที่  ให้ความรู้ครอบครัวสื่อสารพลังบวก เพื่อสร้างคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม

รหัสโครงการ ุ65-10156-001 ระยะเวลาโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 15 ตุลาคม 2566

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

พี่เลี้ยงครู ก ครู ข จำนวน 9 คน ได้ผ่านหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชน โดยใช้ความรู้เทคนิคต่างๆ ในการแก้ปัญหาครอบครัวในชุมชน

ทั้ง 9 คน มีความรู้ มีข้อมูลปัญหาของชุมชนและออกแบบจัดค่ายครอบครัว โดยการแบ่งบทบาทหน้าที่กันจัดกระบวนการ

พัฒนาศักยภาพให้สามารถสร้างหลักสูตรครอบครัวเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงความต้องการกับข้อมูลปัญหา

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

การนำศิลปะพื้นที่มาใช้ดึงความสนใจของเด็กและครอบครัวมาร่วมกิจกรรม เช่น การสืบค้นจากชุมชน เช่น ความเชื่อสิ่งศักสิทธิ์ ทวดตาลก ครูหมอมโนราห์ การต้้งหิ้ง

ศาลทวดตาลก และ มโนราห์โรงครู

การร้อยลูกปัดมโนราห์  เรื่องเล่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทวดตาลก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

การสืบค้น  การทำแผนที่เดินดิน เรื่องเล่าความเชื่อ

วาดรูปมโนราห์ และเขียนประวัติ  วาดแผนที่ชุมชนทำให้เด็กรู้จักชุมชน

พัฒนาศักยภาพและสร้างแกนนำเด็กขยายไปพื้นที่อื่น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

การออกแบบค่ายครอบครัวพลังบวก

การนำข้อมูลสะท้อนปัญหา มาออกแบบ ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ไปทำค่ายครอบครัว

พัฒนาศักยภาพแกนนำครู พี่เลีี้ยง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

เกิดกลุ่มเด็กรวมต้วกันในชุมชน โดยมีกิจกรรมทำร่วมในการเชื่อมเด็ก คือ มโนราห์ แต่มีกิจกรรมอื่นมาเสริมให้คนในชุมชนมาร่วมกิจกรรม เช่น สุกี้มือถือ

หมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม ใช้มโนราห์ หมู่ที่ 8 กิจกรรมเล่นสวนน้ำ หมู่อื่นก็แตกต่างกันออกไป แต่ สุกี้มือถือเด็กทุกหมู่บ้านชอบกินเหมือนกัน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

เกิดแกนนำเด็ก เชื่อมต่อ เด็กรุ่นใหม่กับเด็กในชุมชน

แกนนำเด็ก 3 คน

สร้างและพัฒนาแกนนำเด็กเพิ่ม

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

สุขกี้มือถึอมีกติกาให้เด็กกินผัก

สุกิ้ 1 ไม้ ต้องมีผักจำนวน 3ชิ้น เนื่อ 3 ชิ้น

การจัดการอาหารในโรงเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

การบริโภคผักเพิ่มในเด็ก

สร้างกิติกาในการกินสุขกี้มือถือ

สร้างเงือนไขในการบริโภคผักในเด็ก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

เกิดกิจกรรมที่เด็กและครอบครัวชอบทำแล้วมีความสุข

การกิน การเล่น เป็นกิจกรรมที่เด็กคิด เด็กทำ ผู้ใหญ่สนับสนุน

สร้างประสบการณ์ให้เกิดการขยายไปหมู่บ้านอื่น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มโนราห์ในการรวมเด็กให้มีความสนใจกิจกรรม

โรงเรียนโคกแย้มพัฒนาเป็นหลักสูตรชุมชน

สนับสนุนกิจกรรมให้มีความต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

เกิดการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน เปิดใจให้ผู้ช่วยพัฒนาเข้ามาร่วม

สามารถส่งต่อถึงแหล่งหน่วยงงานภารกิจมาสนับสนุนต่อยอด เช่น พมจ บ้านพักเด็ก อบจ ทต ศพค

หน่วยงานสนับสนุนความต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

เกิดเป็นครอบครัวที่อบอุ่นไ้ด้รับการแก้ปัญหาตรงความต้องการ

ได้รับทุนการศึกษา ได้รับการทำห้องน้ำให้เด็กที่ขาดทุนทรัพย์ ได้มีการพัฒนาค่ายครอบครัว

ความต่อเนื่องในการพัฒนาเด็กใและครอบครัวในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

การร้อยลูกปัดมโนราห์

กลุ่มร้อยลูกปัดมโนราห์

ส่งเสริมอาชีพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

การมีส่วนร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง

ภายใน สปสช ท้องที่ ท้องถิ่น วัด โรงเรียน องค์กร ภายนอก พมจ บ้านพักเด็ก สสส ศูนย์คุณธรรม ตำรวจ

การยกระดับกิจกรรมและสร้างความต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

เกิดการทำงานร่วมระหว่างภาคีทั้งในและนอก

มีการปรับแผนเข้าสู่เทศบาล และเชื่อมงานกับโรงเรียน และพมจในประเด็นเด็กและสู่การแก้ปัญหาในระดับครอบครัว หลายครอบครัวในตำบลนาท่อม

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

เชิญครูมาเป็นคณะทำงานและผู้ปกครองเด็กเป็นพี่เลี้ยงครอบครัว

ในการจัดค่ายกิจกรรมนำเอาผู้ปกครอบเป็นพี่เลี้ยงดูแลเด็กเรียนรู้กับเด็ก

การขยายกลุ่มเป้าหมายไม่ให้ซ้ำ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์พัฒนาครอบครัวดำเนินการทุกปี

ใช้กิจกรรมค่ายครอบครัวในการแก้ปัญหาความรุนแรงในตำบล

ขอเข้าแผนเทศบาลเพื่อทำกิจกรรมต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

มีการประชุมกรรมการทุกปีและถอดบทเรียน

หลังจัดค่ายกิจกรรมจะมีการถอดบทเรียนคืนข้อมูล

พัฒนาประเด็นอื่นเชื่อมต่อ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

โครงการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

เก็บข้อมูล วิเคราะห์และนำใช้ โดยพี่เลี้ยงครู ก ข

พัฒนาทักษะครูพี่เลี้ยงเพิ่ม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

เห็นการดูแลซึ่งกันและกันของแต่ละครอบครัว

การดูแล ช่วยเหลือ แบ่งปันของผู้เข้าร่วม ผู้ปกครอง เด็ก

ควรสนับสนุนต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

การมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมโครงการ

ผู้ปกครองต่างคนต่างดูแลเป็นพี่เลี้ยงซึ่งกันและกัน

ขยายกลุ่มเป้าหมายไม่ซ้ำคนเดิมจะทำให้พี่เลี้ยงครอบครัวเพิ่มขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

ครอบครัวแบ่งปัน

การดูแลซึ่งกันละกัน

สนับสนุนต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

 

 

 

ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ ุ65-10156-001

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายถาวร คงศรี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด