directions_run

กิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ใช้เวลาร่วมกันของคนบ้านควนนกหว้า

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ กิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ใช้เวลาร่วมกันของคนบ้านควนนกหว้า ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายณัธพงค์ แก้วมณี

ชื่อโครงการ กิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ใช้เวลาร่วมกันของคนบ้านควนนกหว้า

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-10156-003 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"กิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ใช้เวลาร่วมกันของคนบ้านควนนกหว้า จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
กิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ใช้เวลาร่วมกันของคนบ้านควนนกหว้า



บทคัดย่อ

โครงการ " กิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ใช้เวลาร่วมกันของคนบ้านควนนกหว้า " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65-10156-003 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 56,300.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

บ้านควนนกหว้า หมู่ที่ 10 ตำบลหารเทามีประชากรทั้งสิ้น 621 คน ชาย 305 คน หญิง 327 คน มีผู้สูงอายุ 90 คน มีเด็กและเยาวชน 119 คน วัยทำงาน 412 คน ประชากรบ้านควนนกหว้าส่วนใหญ่ไม่มีการทำกิจกรรมทางกายร่วมกันในครัวเรือนและชุมชน เด็กและเยาวชนมีภาวะเฉื่อยชา อารมณ์รุนแรงเนื่องจากการติดโซเชียลและเพื่อนในโลกเสมือนจริง ทำให้มีปัญหาการเข้าสังคม ปรับพฤติกรรมให้เข้ากับคนรอบข้างได้ยาก อีกทั้งครอบครัวไม่นิยมให้เด็กช่วยทำกิจกรรมในบ้าน จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของคนในหมู่ที่10 พบ ปัญหาเด็กอ้วนร้อยละ6 วัยทำงานและผู้สูงอายุป่วยโรคเรื้อรังร้อยละ 15.62 โดยทางชุมชนมีลานกิจกรรมแต่ขาดแกนนำในการทำกิจกรรม คนในชุมชนมีพฤติกรรมพฤติกรรมเฉื่อยชาไม่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางกาย วัยทำงานบางส่วนต้องไปทำงานนอกพื้นที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ผู้สูงอายุขาดการสนับสนุนให้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เด็กเยาวชนขาดการสนับสนุนการทำกิจกรรมทางกายร่วมกันในครอบครัวมักปล่อยให้เด็กทำกิจกรรมอยู่กับบ้านตามลำพังโดยไม่มีการดูแล ทำให้มีปัญหาการติดเกมส์เสพสื่อที่ไม่เหมาะสม บุคคลในครอบครัวใช้เวลาร่วมกันแบบสังคมก้มหน้า อาจเกิดภาวะเครียดสะสมและมีแนวโน้มจำนวนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือปัญหารายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มือถือ ฯลฯ และสามารถส่งผลจนเกิดภาระจากการดูแลสุขภาพได้
ตำบลหารเทามีทุนที่สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหาข้างต้น คือ 1.คณะกรรมการหมู่บ้าน, 2.โรงเรียนบ้านควนนกหว้า,3.กลุ่มอนุรักษ์กลองยาวบ้านควนนกหว้า,4.กลุ่มอสม. สมาชิก 14 คน และ5.ลานกิจกรรมกลางบ้าน โดยคณะกรรมการหมู่บ้านหมู่ที่10 บ้านควนนกหว้าได้มีการประชุมร่วมกับ“กลุ่มอนุรักษ์กลองยาวบ้านควนนกหว้า” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของผู้นำภาคประชาชนในท้องที่จากหลายกลุ่มเพื่อทำงานร่วมแก้ปัญหาในชุมชน มีตัวแทนอสม.จากรพ.สต บ้านทะเลเหมียง ตัวแทนโรงเรียนบ้านควนนกหว้าเล็งเห็นความจำเป็นในการดูแลสุขภาพของเยาวชนและคนในชุมชน เพื่อป้องกันปัญหาการเจ็บป่วยทางกายและทางจิตใจ โดยมอบหมายให้ “กลุ่มอนุรักษ์กลองยาวบ้านควนนกหว้า”เป็นแกนนำการเสริมสร้างกิจกรรมทางกายในพื้นที่หมู่ที่10 บ้านควนนกหว้า ส่งเสริมให้เยาวชนให้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันกับคนในครอบครัวและชุมชน มีองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนให้การสนับสนุน เป็นแนวร่วมในการหาแนวทางดูแลการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน เยาวชนและคนในชุมชนได้ตระหนักรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายร่วสมกันในชุมชนและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน ที่ต้องการให้คนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายร่วมส่งผลต่อสุขภาพกาย ใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
จากบริบทข้างต้น“กลุ่มอนุรักษ์กลองยาวบ้านควนนกหว้า” เป็นแกนนำในการเสนอโครงการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าวให้คนทุกช่วงวัยในชุมชนได้ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายร่วมกันจะส่งผลดีต่อสุขภาพกายและใจ รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว สร้างการดูแลซึ่งกันและกันของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน ด้วยการใช้กลไก “การสร้างกิจกรรมทางกายโดยใช้จังหวะกลองยาว”เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการรวมกลุ่มกิจกรรมทางกาย ส่งผลให้เยาวชนและคนในชุมชนมีสุขภาวะทางใจทางกายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการทำกิจกรรมทางกาย
  2. เพื่อให้กลุ่ม 3 วัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการทำกิจกรรมทางกาย
  3. เพื่อให้กลุ่ม 3 วัย มีการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน
  4. เพื่อให้กลุ่ม 3 วัย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน
  2. กิจกรรมที่ 3 อบรมแกนนำคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์โดยกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมกลองยาว
  3. กิจกรรมที่ 2 เวทีสร้างความเข้าใจเพื่อประชาสัมพันธ์ค้นหาคัดเลือกคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์
  4. กิจกรรมที่ 6 กลองยาวสานสัมพันธ์กลุ่ม 3 วัย (เดือนเมษายน-พฤษภาคม)
  5. กิจกรรมที่ 6 กลองยาวสานสัมพันธ์กลุ่ม 3 วัย(เดือนมิถุนายน)
  6. กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผลโครงการ(ARE)
  7. กิจกรรมที่6 กลองยาวสานสัมพันธ์ 3 วัย(เดือนกรกฎาคม)
  8. ARE(รวม) ครั้งที่ 1 การวิเคราะห์และติดตามผล
  9. เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด "งานสมัชชา คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี 2"
  10. ประชุมชี้แจงผู้รับทุน(เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566)
  11. อบรมด้านการเงินแก่คณะทำงานโครงการ (เมื่อ 20 มีนาคม 2566)
  12. กิจกรรม 4 อบรมให้ความรู้“การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ”โดยบุคลากรทางการแพทย์
  13. ประชุมติดตามผลการจัดกิจกรรม ARE2 (รวมทุกพื้นที่)
  14. กิจกรรม 7 ประชุมสรุปถอดบทเรียนรวม(ในพื้นที่)
  15. ค่าจ้างจัดทำเอกสารการเงิน/รายงานผลข้อมูล
  16. ถอดบทเรียนโครงการรวม
  17. เวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (งบสมทบ)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มประชากรที่จะเข้าร่วมดำเนินงานในโครงการ และคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดการประชุมคณะทำงาน จำนวน 28 คน (ผู้รับผิดชอบโครงการ 4 คน,ตัวแทนผู้นำชุมชน 5 คน,ภาคีเครือข่าย 6 คน) เพื่อวางแผนแนวทางการดำเนินงานโครงการ/ ตลอดโครงการประชุมติดตามผล 4 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครั้งที่ 1 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 9.00-11.00 น.ประชุมคณะทำงาน 15 คน มีผู้เข้าร่วมการประชุม 8 คน คณะทำงานได้ข้อสรุปว่า ก่อนที่จะได้รับงบประมาณมา ให้ใช้การสื่อสารผ่านการพูดปากต่อปาก เชิญชวนกันทำกิจกรรม เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน โดยเน้นความสมัครใจ
ครั้งที่ 2 วันที่ 24 มีนาคม 2566 9.00-10.30 น.มีแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน 15 คน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 12 คน สร้างกติกา แผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดยมี นางณิชาลักษณ์ แสงมณี เป็นผู้คัดเลือกผู้เข้าร่วมคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ จำนวน 10 คน ครั้งที่ 3 วันที่ 2 เมษายน 2566 9.00-10.30 น. ประชุมการวางรูปแบบกิจกรรม

 

40 0

2. กิจกรรมที่ 3 อบรมแกนนำคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์โดยกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมกลองยาว

วันที่ 2 เมษายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ จำนวน 10 คน ร่วมกับคณะทำงาน 15 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์มีการออกแบบการออกำลังกายให้สอดคล้องกับการตีกลองยาว มีการกำหนด วัน-เวลา การทำกิจกรรมเป็นแผนงานคร่าวๆ เพื่อให้โครงการแล้วเสร็จตามวัน-เวลา และมีการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมด้วย

 

40 0

3. กิจกรรมที่ 2 เวทีสร้างความเข้าใจเพื่อประชาสัมพันธ์ค้นหาคัดเลือกคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์

วันที่ 21 เมษายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน 15 คน ประชุมคัดเลือกคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ จำนวน 10 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 12 คน คณะทำงานแบ่งบทบาทหน้าที่ กติกา แผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดยมีนางณิชาลักษณ์ แสงมณี เป็นผูัค้นหา คัดเลือกคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ จำนวน 10 คน

 

40 0

4. กิจกรรมที่ 6 กลองยาวสานสัมพันธ์กลุ่ม 3 วัย (เดือนเมษายน-พฤษภาคม)

วันที่ 21 เมษายน 2566 เวลา 16:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานร่วมด้วยผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ออกกำลังกายร่วมกัน โดยการให้จังหวะด้วยกลองยาว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คนควนนกหว้าสนใจการทำกิจกรรมเป็นจำนวนมาก มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 42 คน โดยมีบางท่านที่ติดภารกิจทำให้ออกกำลังกายได้แค่ครั้งละ 1 ชั่วโมง เริ่มทำกิจกรรมโดยการใช้กลองยาวให้จังหวะเป็นวันแรก ผู้เข้าร่วมยังมีสับสนกับท่าทางบ้างซึ่งคณะทำงานจะนำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไป

 

40 0

5. กิจกรรมที่ 6 กลองยาวสานสัมพันธ์กลุ่ม 3 วัย(เดือนมิถุนายน)

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 17:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานร่วมด้วยกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกันทำกิจกรรมทางกายบ้านควนนกหว้า ตำบลหารเทา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ณ. ศาลาประชาคมบ้านควนนกหว้า ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน กลุ่มเป้าหมาย ทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน อย่างน้อย 40 นาที โดยมีแกนนำและผู้เข้าร่วมโครงการโดยเฉลี่ย 40 คน/วัน ออกกำลังกายด้วยการเต้นเข้าจังหวะในระยะเวลาตลอด 1 เดือน พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตแจ่มใสมากขึ้น

 

0 0

6. กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผลโครงการ(ARE)ในพื้นที่ (ใช้งบร่วมกับกิจกรรมที่ 1)

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดประชุมเพื่อวิเคราะห์แนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการร่วมกันระหว่างคณะทำงาน 15 คน และคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ 10 คน ร่วมด้วยผู้ดูแลโครงการ 3 คน
2.กลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน แกนนำ และกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งหมด 50 คน
โดยมีการติดตามผลตามรายการ ดังนี้ 1.จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ (จำนวนคน) 40 คน 2.แกนนำ คณะทำงาน รวมทั้งสิ้น 55 คน 3.เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีระดับตำบล 4.เกิดพื้นที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ จำนวน 2 พื้นที่ คือ ลานกิจกรรมศาลาประชาคมหมู่ 10 บ้านควนนกหว้า และโรงเรียนบ้านควนนกหว้า 5.การเกิดสภาพแวดล้อมทางสังคม มีกติกาชุมชนคือ ต้องมีการรวมกลุ่มกัน ออกกำลังกายอย่างน้อย3ครั้ง/สัปดาห์ เวลา 5 โมงเย็น ออกำลังกายไม่ต่ำกว่า 40นาที/วัน ติดตามผลจากการลงชื่อทำกิจกรรม

 

0 0

7. กิจกรรมที่6 กลองยาวสานสัมพันธ์ 3 วัย(เดือนกรกฎาคม)

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คนควนนกหว้าทำกิจกรรมกลองยาวให้จังหวะในการออกกำลังกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมโครงการ โดยเฉลี่ย 40 คนทำกิจกรรมทางกายต่อยอดเป็นนางรำในงานบุญของตำบลหารเทา และพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีกลองงยาวร่วมให้จังหวะ

 

0 0

8. ARE(รวม) ครั้งที่ 1 การวิเคราะห์และติดตามผล

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานร่วมด้วยพี่เลี้ยงโครงการ เข้าร่วมกาววิเคราะห์และประเมินผลโครงการ ณ โรงแรมชัยคณาธานี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการทำโครงการในพื้นที่บ้านควนนกหว้า ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน สามารถสุปผลการดำเนินโครงการได้ตามหัวข้อการวิเคราะห์ผล ดังนี้ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 40 คน มีคณะทำงาน 25 คน มีแกนนำ 5 คน ดำเนินกิจกรรมไปแล้ว 4 กิจกรรม มีพื้นที่ที่ปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพแล้วจำนวน 2 พื้นที่ ผู้เข้าร่วมทุกคนมีการขยับกายต่อเนื่อง 150 นาที/สัปดาห์ จำนวน 40 คน

 

3 0

9. เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด "งานสมัชชา คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี 2"

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบและคณะทำงานโครงการได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานโครงการร่วมกับองค์กร หน่วยงานที่ขับเคลื่อนงานร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการได้ร่วมกิจกรรมและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานโครงการร่วมกับหน่วยงาน องค์การที่เกี่ยวข้อง

 

1 0

10. ประชุมชี้แจงผู้รับทุน(เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566)

วันที่ 12 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรม รับฟังคำชี้แจงจากผู้ให้ทุน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานโครงการทำความรู้จักกับพี่เลี้ยงโครงการ และเข้าใจถึงเงื่อนไขในการรับทุน

 

3 0

11. อบรมด้านการเงินแก่คณะทำงานโครงการ (เมื่อ 20 มีนาคม 2566)

วันที่ 12 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมเอกสารการเงิน ข้อจำกัด ระเบียบ และรายละเอียดเอกสารในการเบิกเงินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนระเบียบ และรายละเอียดเอกสารในการเบิกเงินโครงการ

 

3 0

12. กิจกรรม 4 อบรมให้ความรู้“การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ”โดยบุคลากรทางการแพทย์

วันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.อบรมให้ความรู้การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโดยบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มเป้าหมายกลุ่มคน 3 วัย 60 คน 2.ตรวจสุขภาพทางกาย-ทางจิต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยบุคลากรทางการแพทย์ โดยการวัด BMI,รอบเอว,ความดัน,แบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการตรวจสุขภาพทางกาย จิตใจ จากบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 42 คน -บุคลากรทางการแพทย์ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักรู้ และส่งต่อความรู้แก่คนในครอบครัว

 

60 0

13. ประชุมติดตามผลการจัดกิจกรรม ARE2 (รวมทุกพื้นที่)

วันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินกิจกรรมของโครงการร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน แกนนำ และกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งหมด 50 คน
โดยมีการติดตามผลตามรายการ ดังนี้ 1.จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ (จำนวนคน) 40 คน 2.แกนนำ คณะทำงาน รวมทั้งสิ้น 55 คน 3.เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีระดับตำบล 4.เกิดพื้นที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ จำนวน 2 พื้นที่ คือ ลานกิจกรรมศาลาประชาคมหมู่ 10 บ้านควนนกหว้า และโรงเรียนบ้านควนนกหว้า 5.การเกิดสภาพแวดล้อมทางสังคม มีกติกาชุมชนคือ ต้องมีการรวมกลุ่มกัน ออกกำลังกายอย่างน้อย3ครั้ง/สัปดาห์ เวลา 5 โมงเย็น ออกำลังกายไม่ต่ำกว่า 40นาที/วัน ติดตามผลจากการลงชื่อทำกิจกรรม

 

2 0

14. กิจกรรม 7 ประชุมสรุปถอดบทเรียนรวม(ในพื้นที่)

วันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดเวทีเสวนาเพื่อถอดบทเรียนการจัดกิจกรรม โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 คน
2.มีการตรวจสุขภาพทางกาย-ทางจิต หลังการเข้าร่วมโครงการ ประเมินจากการวัดแบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ,BMI,รอบเอว,ความดัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายมีการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ และมีการชักชวนผู้ที่อยากผ่อนคลาย คลายความเครียดและผู้ที่รักสุขภาพให้มาออกกำลังกายร่วมกัน ผลการประเมินสุขภาพและสุขภาพจิต อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยมีการติดตามผลตามรายการ ดังนี้ 1.จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ (จำนวนคน) 40 คน 2.แกนนำ จำนวน 40คน คณะทำงาน จำนวน 15 คน 3.เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การรำในงานบุญ 4.เกิดพื้นที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ จำนวน 2 พื้นที่ คือ ลานกิจกรรมศาลาประชาคมหมู่ 10 บ้านควนนกหว้า และโรงเรียนบ้านควนนกหว้า 5.การเกิดสภาพแวดล้อมทางสังคม มีกติกาชุมชนคือ ต้องมีการรวมกลุ่มกัน ออกกำลังกายอย่างน้อย3ครั้ง/สัปดาห์ เวลา 5 โมงเย็น ออกำลังกายไม่ต่ำกว่า 40นาที/วัน ติดตามผลจากการลงชื่อทำกิจกรรม 6.ผู้ร่วมทำกิจกรรมมีการกินมากขึ้น (รู่สึกว่าอาหารอร่อย)จำนวน 3 คน การนอนหลับดีขึ้นทุกคน

 

60 0

15. ค่าจ้างจัดทำเอกสารการเงิน/รายงานผลข้อมูล

วันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำเอกสารพร้อมทั้งรายงานผลข้อมูลการทำกิจกรรมผ่านเว็บไซต์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดทำเอกสารพร้อมทั้งรายงานผลข้อมูลการทำกิจกรรมผ่านเว็บไซต์

 

1 0

16. ถอดบทเรียนโครงการรวม

วันที่ 17 ธันวาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมถอดบทเรียน การดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา  ร่วมกับทีมพี่เลี้ยงแผนงานร่วมทุน อบจและสสส.  และ โครงการจากพื้นที่ตำบล อื่นๆ ในอำเภอปากพะยูน  อีก 3 โครงการ รวมทั้งสิ้น 4 โครงการ ณ  ศูนย์การเรียนรู้โอทอปบ้านช่องฟืน  ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการ และ คณะทำงาน เข่าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 คน ได้ข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่าน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  ผลงานเด่น/นวตกรรม ตลอดจน ปัญหาอุปสรรค ที่ผ่านมา

 

3 0

17. เวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (งบสมทบ)

วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมดำเนินโครงการเข้าร่วม เวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีการจัดบู๊ท นิทรรศการ เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  นวัตกรรม ร่วมโชว์ศักยภาพพื้นที่ในการทำกิจกรรมทางกายบนเวที ร่ววมกิจกรรมตามตาราง กิจกรรมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ และผู้ร่วมทำกิจกรรม เข้าร่วมโครงการ  จำนวน  20  คน -  แนวทางการนำเสนอ เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  นวัตกรรม
-  จัดหา วัสดุ อุปกรณ์  การจัดกิจกรรม - ร่ววมกิจกรรมตามตาราง กิจกรรมโครงการ

 

20 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการทำกิจกรรมทางกาย
ตัวชี้วัด : 1มีคณะทำงานหลากหลายช่วงวัยจากภาคีเครือข่ายจำนวน 25 คน ซึ่งผ่านการอบรมกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ 2.มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ 3.มีแผนการดำเนินงาน 4.มีการประชุมติดตามผลผู้ทำกิจกรรม 4 ครั้งตลอดโครงการ
25.00 25.00

จากการพบปะพูดคุย และการเห็นตัวอย่างจากคนใกล้ตัว

2 เพื่อให้กลุ่ม 3 วัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการทำกิจกรรมทางกาย
ตัวชี้วัด : 1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตระหนักรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร้อยละ 60 โดยการทำแบบทดสอบหลังการอบรม 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการตรวจสุขภาพกายก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 100% 3.มีการประชุมติดตามผลการทำงาน ARE อย่างน้อย 1 ครั้ง
60.00 60.00

กลุ่มเป้าหมายใช้กิจกรรมทางกายเป็นส่วนหนึ่งในการออกกำลังกาย,มีการออกกำลังกายร่วมกัน

3 เพื่อให้กลุ่ม 3 วัย มีการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน
ตัวชี้วัด : 1.กลุ่ม 3 วัย เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 40 คน 2.มีการจัดกิจกรรม “กลองยาวแดนซ์” 96 ครั้ง ตลอดโครงการ
60.00 60.00

มีการนัดหมาย พูดคุย สื่อสารระหว่างกัน ตลอด

4 เพื่อให้กลุ่ม 3 วัย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน
ตัวชี้วัด : 1.กลุ่ม 3 วัย เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 40 คน
60.00 60.00

มีการพูดคุย ระหว่างแกนนำและกลุ่มเป้าหมาย,มีการาทำกิจกรรมร่วมกันของคน 3 วัย บ้านควนนกหว้า

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการทำกิจกรรมทางกาย (2) เพื่อให้กลุ่ม 3 วัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการทำกิจกรรมทางกาย (3) เพื่อให้กลุ่ม 3 วัย มีการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน (4) เพื่อให้กลุ่ม 3 วัย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายร่วมกัน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 1  ประชุมคณะทำงาน (2) กิจกรรมที่ 3 อบรมแกนนำคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์โดยกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมกลองยาว (3) กิจกรรมที่ 2 เวทีสร้างความเข้าใจเพื่อประชาสัมพันธ์ค้นหาคัดเลือกคณะขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ (4) กิจกรรมที่ 6 กลองยาวสานสัมพันธ์กลุ่ม 3 วัย (เดือนเมษายน-พฤษภาคม) (5) กิจกรรมที่ 6 กลองยาวสานสัมพันธ์กลุ่ม 3 วัย(เดือนมิถุนายน) (6) กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผลโครงการ(ARE) (7) กิจกรรมที่6 กลองยาวสานสัมพันธ์ 3 วัย(เดือนกรกฎาคม) (8) ARE(รวม) ครั้งที่ 1 การวิเคราะห์และติดตามผล (9) เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด "งานสมัชชา คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี 2" (10) ประชุมชี้แจงผู้รับทุน(เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566) (11) อบรมด้านการเงินแก่คณะทำงานโครงการ (เมื่อ 20 มีนาคม 2566) (12) กิจกรรม 4 อบรมให้ความรู้“การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ”โดยบุคลากรทางการแพทย์ (13) ประชุมติดตามผลการจัดกิจกรรม ARE2 (รวมทุกพื้นที่) (14) กิจกรรม 7 ประชุมสรุปถอดบทเรียนรวม(ในพื้นที่) (15) ค่าจ้างจัดทำเอกสารการเงิน/รายงานผลข้อมูล (16) ถอดบทเรียนโครงการรวม (17) เวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (งบสมทบ)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


กิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ใช้เวลาร่วมกันของคนบ้านควนนกหว้า จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-10156-003

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายณัธพงค์ แก้วมณี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด