directions_run

โครงการพัฒนาเครือข่ายดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลฝาละมี

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมเวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในวันที่ 19 ธันวาคม 256619 ธันวาคม 2566
19
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  ในวันที่  19 ธันวาคม  2566  ณ  หอประชุมใหญ่  โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง
- ประสานงาน กับ คณะกรรมทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ และสมาชิก ที่เข้าร่วมโครงการ -  แนวทางการนำเสนอ เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  นวัตกรรม -  จัดหา วัสดุ อุปกรณ์  การจัดกิจกรรม - จัดบู๊ท นิทรรศการ สรุปผลการดำเนินงาน - ร่ววมกิจกรรมตามตาราง กิจกรรมโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มี คณะกรรมทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ และสมาชิก เข้าร่วมโครงการ  จำนวน  30  คน -  แนวทางการนำเสนอ เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  นวัตกรรม จำนวน 1  ครั้ง -  จัดหา วัสดุ อุปกรณ์  การจัดกิจกรรม - จัดบู๊ท นิทรรศการ สรุปผลการดำเนินงาน  จำนวน 1  ครั้ง - ร่ววมกิจกรรมตามตาราง กิจกรรมโครงการ  จำนวน 1  ครั้ง

ประชุมถอดบทเรียนร่วมกับทีมพี่เลี้ยง สสส.10 ธันวาคม 2566
10
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมถอดบทเรียน การดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา  ร่วมกับทีมพี่เลี้ยง สสส.  และ โครงการจากพื้นที่ อื่นๆ ในอำเภอปากพะยูน  ณ  ศูนย์การเรียนรู้บ้านช่องฟืน  ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการ และ คณะทำงาน เข่าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน ได้ข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่าน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  ผลงานเด่น/นวตกรรม ตลอดจน ปัญหาอุปสรรค ที่ผ่านมา

การมอบเกียรติบัตร แก่ผู้สูงอายุต้นแบบด้านการดูแลสขภาพของตนเอง13 กันยายน 2566
13
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบด้านการดูแลสขภาพของตนเอง
  2. ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง 3.จัดทำเกียรติพร้อมกรอบ และจัดหาของรางวัล
  3. แจ้งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
  4. มอบเกียรติบัตร แก่ผู้สูงอายุต้นแบบด้านการดูแลสขภาพของตนเอง
  5. ถ่ายรูปร่วมกัน และกล่าวสรุปปิดโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้สูงอายุต้นแบบด้านการดูแลสขภาพของตนเอง  จำนวน 17  ราย 2.ผู้สูงอายุต้นแบบด้านการดูแลสขภาพของตนเอง  มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม
กิจกรรมที่ 9 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน10 กันยายน 2566
10
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมชี้แจงรายละเอียด การเยี่ยมผู้สูงอายุ แก่แกนนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุ ในแต่ละชุมชน
  2. ประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรในชุมชน เช่น อสม. CG  ผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด จนท. รพ.สต.
  3. จัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาในด้านเศรษฐกิจและขาดผู้ดูแล โดยเป็นไปในลักษณะของการให้กำลังใจและเยียวยาจิตใจ  โดยออกเยี่ยมบ้านร่วมกับ อสม. หรือเจ้าหน้าที่ รพ.สต.  เดือนละ 1 ครั้ง
  4. จัดกิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน โดยการติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ประเภท 2 และ 3  และผู้สูงอายุโรคมะเร็ง เยี่ยมประคับประครองในระยะสุดท้าย โดยบุคลากรสาธารณสุขและกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ
  5. สรุปผลการเยี่ยม ปัญหา อุปสรรค ของผู้สูงอายุ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการเยี่ยม ผู้สูงอายุ ในตำบลฝาละมี จำนวน 11 หมู่บ้าน จำนวน ผู้สูงอายุ  220  คน  จำนวน  2  ครั้ง
  2. มีภาคีเครือข่ายดูลแลผู้สูงอายุ จำนวน 11 ชุมชน
  3. ผู้สูงอายุ มีความสุข ภาคภูมิใจ มีกำลังเพิ่มมากขึ้น
  4. ได้รับทราบปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุ
  5. ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง กลุ่ม 2 กลุ่ม 3 และกลุ่ม 4 จำนวน  92 คน ได้รับการเยี่ยมทุกราย
กิจกรรมสมทบ การประชุม ติดตามประเมินผลแบบมี่ส่วนร่วม (ARE) ครั้งที่ 2 แผนงานร่วมทุนสนับสนุนกาสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ณ โรงแรมชัยคณาธานี31 สิงหาคม 2566
31
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมตามวัน เวลา สถานที่ ที่กำหนด นำเสนอผลการดำเนินงาน และแลกเปลียนเรียนรู้ กับพื้นที่ และโครงการอื่น รับการชี้แจง การดำเนินงานในโอกาสต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้รับผิดชอบโครงการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 คน

    1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม นำเสนอผลการดำเนินงาน และแลกเปลียนเรียนรู้ กับพื้นที่ และโครงการอื่น และรับการชี้แจง การดำเนินงานในโอกาสต่อไป
    2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีความรู้ ความเข้าใจ การดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น
กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ(ครั้งที่ 2)30 สิงหาคม 2566
30
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกาย และการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้ผู้สูงอายุ ในพื้นที่ต่างๆ
1.ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม
2. ประสานงานวิทยากร และกลุ่มเป้าหมาย จากพื้นที่ต่างๆ 3. ส่งเสริมการออกกำลังกายโดยวิธีบาสโลป ไลน์เด้น และไม้เท้าป้าบุญมี ผ้าขาวม้า
  4. กิจกรรมออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุในชุมชน ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม ประเพณี ศาสนาและวัฒนธรรม ร่วมกิจกรรมประเพณี ศาสนาและวัฒนธรรม ในท้องถิ่น การประเมินภาวะสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ ในชุมชน ติดตาม เยี่ยมผู้สูงอายุ ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายแก่ผู้สูงอายุ มีการฝึกสอนการออกกำลังกาย ด้วยวิธีต่างๆ เช่น บาสโลป ไลน์เด้น และไม้เท้าป้าบุญมี และผ้าขาวม้า กลุ่มเป้าหมายมีการออกกลังกาย อย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 ชุมชน  จำนวน 250  คน มีการร่วมกลุ่มสันทนาการออกกำลังกายร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ ระดับตำบล จำนวน 2 ครั้ง กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ   - ร่วมกิจกรรมประเพณี ศาสนาและวัฒนธรรม ในท้องถิ่น  จำนวน  5  ครั้ง  - การประเมินภาวะสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ ในชุมชน  จำนวน 250 คน  -  ติดตาม เยี่ยมผู้สูงอายุ ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง  15 คน ผลลัพท์ ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค  ร้อยละ  85.18 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล ทุกราย 3 ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้น ร้อยละ  54.25 - ผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมโครงการทุกราย  ได้ทำกิจกรรมด้านศาสนาร่วมกัน

กิจกรรมที่ 10 ประชุมสรุปถอดบทเรียน /ค้นหาผู้สูงอายุต้นแบบ29 สิงหาคม 2566
29
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม
  2. ประชุมชี้แจง หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบ
  3. ค้นหาผู้สูงอายุต้นแบบ
  4. คณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติผู้สูงอายุต้นแบบ
  5. แจ้งวันประชุม สรุปโครงการ
  6. ประชุมสรุปผลโครงการ ผลการคัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบ
  7. มอบเกียรติบัตรแก่ผู้สูงอายุต้นแบบ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เครือข่ายผู้สูงอายุ  ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ ตามวัตถุและเป้าหมายของโครงการ
  2. การคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในต่างๆ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการดำเนินงาน  จำนวน  1 ครั้ง
  3. การสรุปบทเรียนการดำเนินงาน ทั้งในส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ  จำนวน  1 ครั้ง 4.    การส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับทราบข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนงานต่อไป เช่น อบต. รพ.สต. เป็นต้น 5.    มีผู้สูงอายุต้นแบบในการดูแลสุขภาพตนเอง จำนวน 17 คน
กิจกรรมที่4 ศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายผู้สูงอายุต้นแบบในการดูแลสุขภาพตนเอง26 สิงหาคม 2566
26
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.แจ้งประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการและแกนนำผู้สูงอายุในตำบลเข้าร่วมกิจกรรม 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. นัดหมายการจัดกิจกรรม 4. กิจกรรมศึกษาดูงานและเปลี่ยนเรียนรู้ กับเครือข่ายผู้สูงอายุต้นแบบ ณ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบลบ้านนา  อำเภอนาเดิม จังหวัดสุราษฏร์ธานี 5. สรุปผลการกิจกรรมศึกษาดูงานและเปลี่ยนเรียนรู้ กับเครือข่ายผู้สูงอายุต้นแบบ ณ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบลบ้านนา  อำเภอนาเดิม จังหวัดสุราษฏร์ธานี 6. นำเสนอแก่ที่ประชุม แกนนำเครือข่าย ผู้สูงอายุตำบลฝาละมี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีคณะกรรมการและแกนนำผู้สูงอายุในตำบลเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานและเปลี่ยนเรียนรู้ กับเครือข่ายผู้สูงอายุต้นแบบ ณ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบลบ้านนา  อำเภอนาเดิม จังหวัดสุราษฏร์ธานี  จำนวน 54 คน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แลกเปลียนเรียนรู้ การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
  4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้เรียนรู้กระบวนการดูแลผู้ป่วย ใน Day care Center
  5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้เรียนรู้การพัฒนานวัตกรรมการดูแล การสร้างสิ่งประดิษฐ์ ในการฟื้นฟูนสมรรถภาพผู้ป่วย
  6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ระดับดีมาก
กิจกรรมที่8 การประชุม ติดตามประเมินผล(ARE)ในพื้นที่ ครั้งที่ 222 สิงหาคม 2566
22
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานผู้เข้าร่วมประชุม ติดต่อวิทยากร พี่เลี้ยงโครงการ ประสานงานสถานที่ และอุปกรณ์การประชุม
จัดกิจกรรม สรุป ประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ ครั้ง ที่ 2

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้สูงอายุ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 170 คน
  2. มีผแกนนำ และคณะกรรมการ ที่ปรึกษา โครงการ เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน
  3. ได้ข้อมูล สรุปผลการดำเนินงาน ด้านต่างๆ จำนวน 1 ชุด
    1. การดำเนินกิจกรรม จัดไปแล้ว 9 กิจกรรม ได้แก่ การประชุมแกนนำ การสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ และชมรม การประเมินความเข้มแข็งของชมรม และการรวมกลุ่มการออกกำลังกาย
  4. คณะดำเนินการ จำนวน 25 คน แกนนำเครือข่าย 30 คน กลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด 200 คน
    มีกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน 6 กลุ่ม กลุ่มเด้นทืกระจาย กลุ่มแอร์โรบิกบ้านควนพระ แอร์โรบิคบ้านบางมวง รวมพลคนออกกำลังกาย ออกกำลังกายหลังสถานี ไลน์เด้นบ้านบางขวน
    3.กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การเข้าวัดทำบุญ กิจกรรมทางกาย สืบสานวัฒนาธรรม คนสามวัย เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนมากขึ้น ปลูกผักปลอดสารพิษ 4.เกิดกติกาข้อตกลง ทุกวันที่ 12 ของเดือน สมาชิกผู้สูงอายุพบกัน เพื่อ ประชุมแกนนำ ตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย ค้นหาผู้สูงอายุต้นแบบ
  5. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม เช่น มีคนออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ลด หวาน มันเค็ม
  6. ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม 14 ภาคี เช่น อสม. ท้องที่ ท้องถิ่น สสส. รร. รพ.สต. มัสยิด กองทุนต่างๆ ในชุมชน 7.พื้นที่จัดกิจกรรม เช่น รพ.สต. วัด โรงเรียน ตลาด ศาลาหมู่บ้าน ลานกิจกรรม แปลงผักสาธารณะ
  7. มีกลุ่ม ทำกิจกรรม ร่วมกัน จำนวน 6 กลุ่ม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเฉลี่ย ร้อยละ 80 ของเป้าหมาย
  8. นวัตกรรม เช่น เกิดแปลงผักปลอดสารพิษ การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า
  9. ผู้สูงอายุมีความเครียดเฉลี่ย ร้อยละ 15 ของกลุ่มเป้าหมาย
  10. ดัชนีความสุข ของคนเข้าร่วมกิจกรรม เฉลี่ย 37 คะแนน ความสุขมากกว่าคนทั่วไป ร้
  11. มีผู้สูอายุ ต้นแบบ จำนวน 17 คน

  12. ได้สรุปผลสำเร็จที่ได้จากโครงการ ตลอดจนปัญหา อุปสรรค์ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาในโอกาสต่อไป
    จุดเด่นทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ

  13. การได้รับความร่วมมือจากสมาชิก
  14. คณะกรรมการ มีความเข้มแข็ง 3..การสื่อสาร รวดเร็ว สมาชิกเข้าถึงได้ง่าย
  15. มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน


ปัญหาอุปสรรค 1.คณะทำงาน มีภาระงาน และความรับผิดชอบหลายงาน 2. การทำงานในระดับตำบลที่กว้าง สมาชิกอยุ่ไกล บางรายเดินทางไม่สะดวก

กิจกรรมสมทบ ร่วมงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2 “คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี เพื่อกำหนดอนาคตของตนเอง” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนายั่งยืนแบบบูรณาการ จังหวัดพัทลุง15 สิงหาคม 2566
15
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานกับผู้รับผิดชอบโครงการ เข้าร่วมงาน ตามวันเวลาที่กำหนด รวบรวม ผลการได้ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปนำเสนอ เวทีประชุม คณะทำงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้รับผิดชอบเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลียนเรียนรู้ กับโครงการ องค์กรอื่น

กิจกรรมที่ 7 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ และการติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ14 สิงหาคม 2566
14
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานสานงาน แกนนำ คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลฝาละมี
  2. ประชุมชีแจง  การประเมินสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพผูู้สูงอายุ
  3. จัดทำแบบประเมิน
  4. แกนนำ คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลฝาละมี  ออกการประเมินสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพผูู้สูงอายุ
  5. สรุป ผลการสำรวจ การประเมินสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพผูู้สูงอายุ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ประสานสานงาน แกนนำ คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลฝาละมี  จำนวน 1 ครั้ง
  2. ประชุมชีแจง  การประเมินสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพผูู้สูงอายุ  จำนวน 23 คน
  3. จัดทำแบบประเมิน จำนวน 290 ชุด
  4. แกนนำ คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลฝาละมี  ออกการประเมินสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพผูู้สูงอายุ  จำนวน 300 คน
  5. สรุป ผลการสำรวจ การประเมินสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพผูู้สูงอายุ  จำนวน 1 ครั้ง  ผลการสำรวจ ดังนี้   ตำบลฝาละมี  อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง  พบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน 1,341 คน คิดเป็นร้อยละ  28.51 ของประชากร  จากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 90 คน เป็นกลุ่มที่ 1 (เคลื่อนไหวได้บ้างมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสน) จำนวน 54 คน กลุ่มที่ 2 (เคลื่อนไหวได้บ้างมีภาวะสับสน และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย) จำนวน 20 คน และกลุ่มที่ 3(เคลื่อนไหวเองไม่ได้และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายหรือเจ็บป่วยรุนแรง)จำนวน 10  คน และกลุ่มที่ 4  (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต)จำนวน 6 คน
กิจกรรมที่ 5 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง31 พฤษภาคม 2566
31
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สำรวจรายชื่อ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม
  2. ติดต่อประสานงาน วิทยากร
  3. ประสานงานสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ การจัดประชุม
  4. ทำหนังสือแจ้งผู้เข้าร่วมประชุม วิทยากร 5.จัดกิจกรรมอบรม ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ
                              1. การดูแลสุขภาพเบื้องต้น  หลัก 6 อ.                           2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
                              3. อาหาร/การดูแลสุขภาพช่องปาก                           4. การจัดการด้านอารมณ์และการจัดการความเครียด                           5. อนามัยสิ่งแวดล้อม/สภาพสิ่งแวดล้อมในบ้านที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุ                           6. อบายมุข การละเลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์
                            7. การใช้ยาสมุนไพร และการแพทย์แผนไทย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดอบรม จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 31 พค.66 ผู้เข้าร่วมอบรม 72 คน และครั้งที่ 2 วันที่ 6 มิย. 66 มีผู้เข้ารับการอบรม 54 คน 1.มีผู้เข้ารับการอบรมในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง จำนวน 126  คน 2.ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ และสามารถดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ได้ถูกต้อง เพิ่มมากขึ้น 2.ผู้เข้ารับการอบรม นำความรู้ และการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ไปขยายผล แนะนำแก่เพื่อนๆ และบุคคลในครอบครัวได้

กิจกรรมที่ 3 การอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ในเรื่องการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง26 พฤษภาคม 2566
26
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ในเรื่องการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง จำนวน  30 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ได้รับทราบปัญหา และสถานการณ์ ข้อมูลทั่วไป ของผู้สูงอายุในชุมชน
  2. แกนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีความรู้ และสมารถดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้ถูกต้อง
กิจกรรมสมทบ การประชุม ติดตามประเมินผล(ARE) รวม ครั้งที่ 124 พฤษภาคม 2566
24
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมกิจกรรมติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม(ARE) ครั้งที่ ๑ ณ ห้องประชุมทองอินทรา ชั้น ๒ โรงแรมชัยคณาธานี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ตามที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในจังหวัดพัทลุง ภายใต้แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ประเด็นผู้สูงอายุ
ขณะนี้โครงการดังกล่าวได้ดำเนินงานมาระยะหนึ่งแล้ว จึงได้กำหนดจัดเวทีประเมินผลเพื่อ ๑. สร้างกระบวนการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการ ทีมคณะทำงานสนับสนุนวิชาการขับเคลื่อนแผนงานร่วมทุนฯ และคณะกรรมการแผนงานร่วมทุนฯ
๒. เพื่อสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้แนวทางการดำเนินงานระหว่างพื้นที่ที่ดำเนินโครงการในประเด็นเดียวกัน
๓. เพื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการดำเนินงานให้สามารถดำเนินโครงการในระยะเวลาที่เหลือให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการรับผิดชอบโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 3 คน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแผนงาน/โครงการอื่นๆ
ตรวจสอบเอกสารทางการเงิน
แนวทางการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ(ครั้งที่ 1)19 พฤษภาคม 2566
19
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกาย
1.ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม 2. ประสานงานวิทยากร และกลุ่มเป้าหมาย จากพื้นที่ต่างๆ
3. จัดสอน แนะนำ การออกกำลังกายโดยวิธีบาสโลป ไลน์เด้น และไม้เท้าป้าบุญมี 4. กิจกรรมออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่อง

  1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุในชุมชน
    1. ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม ประเพณี ศาสนาและวัฒนธรรม
    2. ร่วมกิจกรรมประเพณี ศาสนาและวัฒนธรรม ในท้องถิ่น
    3. การประเมินภาวะสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ ในชุมชน
    4. ติดตาม เยี่ยมผู้สูงอายุ ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายแก่ผู้สูงอายุ มีการฝึกสอนการออกลำกลังกาย ด้วยวิธีต่างๆ เช่น บาสโลป ไลน์เด้น และไม้เท้าป้าบุญมี
    กลุ่มเป้าหมายมีการออกกลังกาย อย่างต่อเนื่อง จำนวน 5 ชุมชน  จำนวน 250  คน มีการร่วมกลุ่มสันทนาการออกกำลังกายร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ ระดับตำบล จำนวน 2 ครั้ง
  2. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ
      - ร่วมกิจกรรมประเพณี ศาสนาและวัฒนธรรม ในท้องถิ่น  จำนวน  5  ครั้ง   - การประเมินภาวะสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ ในชุมชน  จำนวน 250 คน   -  ติดตาม เยี่ยมผู้สูงอายุ ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง  15 คน ผลลัพท์
    1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค  ร้อยละ  85.18
    2. จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล ทุกราย 3 ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้น ร้อยละ  54.25

- ผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมโครงการทุกราย  ได้ทำกิจกรรมด้านศาสนาร่วมกัน

กิจกรรมที่ 8 การประชุม ติดตามประเมินผล(ARE) ในพื้นที่ ครั้งที่ 118 พฤษภาคม 2566
18
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานงานผู้เข้าร่วมประชุม ติดต่อวิทยากร พี่เลี้ยงโครงการ ประสานงานสถานที่ และอุปกรณ์การประชุม
จัดกิจกรรม สรุป ประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ ครั้ง ที่ 1

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีแกนนำ และคณะกรรมการ ที่ปรึกษา โครงการ เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน 1. ได้ข้อมูล สรุปผลการดำเนินงาน ด้านต่างๆ จำนวน 1 ชุด
  1. การดำเนินกิจกรรม จัดไปแล้ว 4 กิจกรรม ได้แก่ การประชุมแกนนำ การสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ และชมรม การประเมินความเข้มแข็งของชมรม และการรวมกลุ่มการออกกำลังกาย 2. คณะดำเนินการ จำนวน 29 คน แกนนำเครือข่าย 30 คน กลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด 200 คน
มีกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน 6 กลุ่ม กลุ่มเด้นทืกระจาย กลุ่มแอร์โรบิกบ้านควนพระ แอร์โรบิคบ้านบางมวง รวมพลคนออกกำลังกาย ออกกำลังกายหลังสถานี ไลน์เด้นบ้านบางขวน
3.กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การเข้าวัดทำบุญ กิจกรรมทางกาย สืบสานวัฒนาธรรม คนสามวัย เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนมากขึ้น ปลูกผักปลอดสารพิษ 4.เกิดกติกาข้อตกลง ทุกวันที่ 12 ของเดือน สมาชิกผู้สูงอายุพบกัน เพื่อ ประชุมแกนนำ ตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย 5. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม เช่น มีคนออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ลด หวาน มันเค็ม
6. ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม 14 ภาคี เช่น อสม. ท้องที่ ท้องถิ่น สสส. รร. รพ.สต. มัสยิด กองทุนต่างๆ ในชุมชน 7.พื้นที่จัดกิจกรรม เช่น รพ.สต. วัด โรงเรียน ตลาด ศาลาหมู่บ้าน ลานกิจกรรม แปลงผักสาธารณะ 8. นวัตกรรม เช่น เกิดแปลงผักปลอดสารพิษ การออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า 9. ดัชนีความสุข ของคนเข้าร่วมกิจกรรม เฉลี่ย 32 คะแนน
ความสุขมากกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 35.3 ความสุขเท่าคนทั่วไป ร้อยละ 588 และความสุข น้อยกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 5.9

  1. ได้แนวทางการจัดกิจกรรม ครั้งต่อไป
กิจกรรมที่ 1 เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการ และระดมความคิดในการจัดทำแผนงาน กิจกรรม แก้ปัญหาของผู้สูงอายุ24 เมษายน 2566
24
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานกับแกนนำ เครืข่ายผู้สูงอายุ จากหมู่บ้านต่าง ๆ
  2. ติดต่อ วิทยากร
  3. แจ้งกลุ่มเป้าหมาย และวิทยากร ทราบ
  4. จัดประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการ และระดมความคิดในการจัดทำแผนงาน กิจกรรม แก้ปัญหาของผู้สูงอายุ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการ และระดมความคิดในการจัดทำแผนงาน กิจกรรม แก้ปัญหาของผู้สูงอายุ  จำนวน  30  คน
  2. มีผู้เข้าร่วมประชุม  มีความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ และสามารถรจัดทำแผนงาน กิจกรรม แก้ปัญหาของผู้สูงอายุ ในชุมชนได้
กิจกรรมที่ 2 ประชุมแกนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน12 เมษายน 2566
12
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงาน แจ้งกลุ่มเป้าหมายทราบ
  2. จัดประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการ และแนวทางการจัดกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการ จำนวน 60 คน 2.. มีผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ และมีความเข้าใจโครงการ
กิจกรรมสมทบ ประชุมเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการ/ประชุม พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน16 กุมภาพันธ์ 2566
16
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nutchanart
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการ  วันที่  23  ธันวาคม  2565
  2. ประชุม พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน  วันที่ 16  กุมภาพันธ์ 2566
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กรรมการ ผู้รับผิดชอบโครงการ มีความรู้เข้าใจ แนวทางการดำเนินงานตามแผนงาน
  2. แผนงานโครงการได้รับการพัฒนา สอดคล้องกับแผนงานโครงการของ สสส/อบจ.พัทลุง