directions_run

โครงการพัฒนาเครือข่ายดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลฝาละมี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลฝาละมี
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-101556-012
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 15 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 106,400.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลฝาละมี
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.นิยม ณ พัทลุง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 086 – 2991723
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sritawee2510@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สังข์สุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.พ. 2566 15 มิ.ย. 2566 16 ก.พ. 2566 15 มิ.ย. 2566 53,200.00
2 16 มิ.ย. 2566 15 ก.ย. 2566 16 มิ.ย. 2566 20 ธ.ค. 2566 42,520.00
3 16 ก.ย. 2566 15 ต.ค. 2566 16 ก.ย. 2566 15 ต.ค. 2566 10,680.00
รวมงบประมาณ 106,400.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลฝาละมี มีประชากรทั้งสิ้น 10,765 คน จำนวน 11 หมู่บ้าน มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 1,700 คน คิดเป็นร้อยละ 15.79 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน จำนวน 424 ราย คิดร้อยละ 24.94  โรคความดันโลหิตสูง 1,014 ราย คิดร้อยละ  59.65 และมีผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดสมองทำให้มีปัญหาอัมพฤกษ์ อัมพาต 102 ราย คิดร้อยละ 6.00 ซึ่งเป็นปัญหาที่สูงมากในชุมชน นอกจากนั้นยังพบว่ามีผู้สูงอายุในชุมชนส่วนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง และรวมทั้งยังมีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 26.5 มีการออกกำลังกายเป็นประจำ และร้อยละ 30.5 มีการบริโภคอาหารที่เหมาะกับวัย ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ในปี 2565 มีผู้สูงอายุในตำบลฝาละมี ที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 30.5 และมีบางพื้นที่ขาดการรวมกลุ่มการจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ หรือขาดการต่อเนื่อง
    จากสภาพปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุดังกล่าว ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียการมีสุขภาพดี และความเสื่อมของร่างกายทำให้เกิดการพึ่งพิงสูง บางรายมีภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ซึ่งเป็นภาระการดูแลของคนในครอบครัว และชุมชนในการดูแล จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งหมดในตำบลฝาละมี 2565 แยกตามความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน พบว่า ผู้สูงอายุทั้งหมด 1,700 คน เป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงจำนวน 86 คน คิดเป็นร้อยละ 5.08 แยกเป็น ผู้สูงอายุประเภทที่ 1 ช่วยเหลือตัวเองได้ดี จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 53.48 เป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 2 ช่วยตัวเองได้บ้าง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 25.58 เป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 3 ต้องพึ่งพิงคนอื่นจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 13.95 และเป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 4 ต้องพึ่งพิงคนอื่นจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6.97 ซึ่งเป็นภาระของผู้ดูแล ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในตำบลฝาละมี มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 5 แห่ง มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 16 คน มี อสม. จำนวน 235 คน มีจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุที่ดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะติดบ้านติดเตียงจำนวน 15 คน ซี่งจะเห็นว่า กลุ่มเครือข่ายที่ดูแลการสร้างสุขภาพแก่ผู้สูงอายุมีไม่เพียงพอกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มเครือข่ายที่ดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุโดยเฉพาะ จึงมีความจำเป็นซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญต่อการ ส่งเสริม ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพชองผู้สูงอายุในชุมชน ตามรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน และมีมาตรฐานการดำเนินงานที่ได้รับการพัฒนาตามหลักวิชาการผ่านกระบวนการทำงาน ของพื้นที่จริง ดังนั้น เพื่อรองรับสังคมสูงอายุและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กลุ่มหรือเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนถือเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีความใกล้ชิด เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ รวมถึงสามารถเข้าถึงและพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชนได้ดีที่สุด แต่ในปัจจุบันกลับพบว่ากลุ่มหรือเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในบางพื้นที่ยังขาดความเข้มแข็งในการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม กล่าวคือ บางกลุ่มเพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นของการรวมตัว หรือบางกลุ่มแม้จะมีการรวมตัวมานานแล้วแต่ขาดการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น พบว่า ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ขาดเครือข่ายที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ชมรมผู้สูงอายุตำบลฝาละมี จึงเห็นความสำคัญและความจำเป็นในดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อป้องกันปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้สูงอายุและความพิการที่จะตามมาและเสริมสร้างพลังกลุ่มต่างๆ องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุระดับต่างๆ กลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ  และกลุ่มจิตอาสาอื่นๆให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางในการดูแล โดยการส่งเสริมศักยภาพให้กับเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งกลไกสำคัญที่ส่งผลต่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยสมาชิกเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ตรงตามปัญหาและความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชนการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ความสำคัญและความจำเป็นในดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อป้องกันปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้สูงอายุและความพิการที่จะตามมาและเสริมสร้างพลังกลุ่มต่างๆ องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนตั้งแต่ตัวของผู้ป่วย ผู้ดูแล กลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ  และกลุ่มจิตอาสาอื่นๆให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางในการดูแล การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน  อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ตรงตามปัญหาและความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชนการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเป็นกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

12.มีเครือข่ายผู้สูงอายุ 30 คน ที่มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน และมาจากตัวแทนทุกภาคส่วน เช่น กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนคุ้มบ้าน อปท. รพ.สต. เป็นต้น 2 เครือข่ายผู้สูงอายุสามารถจัดทำแผนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และผลักดันให้เกิดการดำเนินงานตามแผน

30.00
2 เพื่อให้เครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองและสามารถ จัดการในการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้

3 เครือข่ายผู้สูงอายุ ร้อยละ 80  มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง 4.เครือข่ายผู้สูงอายุ  30  คน มีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและมีการออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เหมาะสม

100.00
3 . เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกิดพฤติกรรมเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 ที่ผ่านการอบรมมีความรู้และเกิดความตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง                                                                                6. ร้อยละ 30  ของผู้สูงอายุ มีมาตรฐานสุขภาพที่พึงประสงค์
100.00
4 เพื่อให้เกิดเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนที่เข้มแข็ง
  1. มีการดำเนินงานของเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องทุกชุมชม        อย่างน้อย ชุมชนละ 1 ชมรม
    8.  ผู้สูงอายุประเภท 3 และ 4  และผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบาง ได้รับการดูแลและได้รับการเยี่ยมจากเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ทุกคน
  2. มีผลการประเมินติดตามการดำเนินงานเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 10.มีข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทุกคน รวมทั้งมีการคืนข้อมูลแก่ผู้สูงอายุและครอบครัวเป็นประจำทุกเดือน
1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 216
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงจำนวน 86 -
ผู้สูงอายุในชุมชน 100 -
แกนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 การบริหารจัดการโครงการ(16 ก.พ. 2566-15 ต.ค. 2566) 6,300.00                      
2 เวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ แกนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน(1 เม.ย. 2566-1 เม.ย. 2566) 3,900.00                      
3 ประชุมแกนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง(1 เม.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 6,600.00                      
4 การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน(1 เม.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 8,400.00                      
5 กิจกรรมการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ(1 พ.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 11,000.00                      
6 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ และการติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ(15 พ.ค. 2566-30 ส.ค. 2566) 2,900.00                      
7 3 การอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ในเรื่องการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง(20 พ.ค. 2566-25 พ.ค. 2566) 8,700.00                      
8 ศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายผู้สูงอายุต้นแบบในการดูแลสุขภาพตนเอง(10 มิ.ย. 2566-15 มิ.ย. 2566) 18,000.00                      
9 การประชุม ติดตามประเมินผล(ARE) 2 ครั้ง(15 มิ.ย. 2566-15 ก.ย. 2566) 6,600.00                      
10 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง(20 มิ.ย. 2566-22 มิ.ย. 2566) 24,300.00                      
11 ประชุมสรุปถอดบทเรียน /ค้นหาผู้สูงอายุต้นแบบ(10 ก.ย. 2566-15 ก.ย. 2566) 9,700.00                      
รวม 106,400.00
1 การบริหารจัดการโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 6,300.00 6 7,730.00
16 ก.พ. 66 - 16 มี.ค. 66 กิจกรรมสมทบ ประชุมเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการ/ประชุม พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน 10 6,300.00 1,920.00
24 พ.ค. 66 กิจกรรมสมทบ การประชุม ติดตามประเมินผล(ARE) รวม ครั้งที่ 1 0 0.00 1,380.00
15 ส.ค. 66 กิจกรรมสมทบ การประชุม ติดตามประเมินผลแบบมี่ส่วนร่วม (ARE) ครั้งที่ 2 แผนงานร่วมทุนสนับสนุนกาสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ณ โรงแรมชัยคณาธานี 0 0.00 960.00
15 ต.ค. 66 กิจกรรมสมทบ ร่วมงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2 “คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี เพื่อกำหนดอนาคตของตนเอง” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนายั่งยืนแบบบูรณาการ จังหวัดพัทลุง 0 0.00 680.00
18 - 10 ธ.ค. 66 ประชุมถอดบทเรียนร่วมกับทีมพี่เลี้ยง สสส. 0 0.00 0.00
19 ธ.ค. 66 กิจกรรมเวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในวันที่ 19 ธันวาคม 2566 20 0.00 2,790.00
2 เวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ แกนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 3,900.00 1 3,900.00
1 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 1 เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการ และระดมความคิดในการจัดทำแผนงาน กิจกรรม แก้ปัญหาของผู้สูงอายุ 30 3,900.00 3,900.00
3 ประชุมแกนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 6,600.00 1 6,600.00
12 เม.ย. 66 - 31 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 ประชุมแกนนำเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 30 6,600.00 6,600.00
4 การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 86 8,400.00 1 8,400.00
10 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 9 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน 86 8,400.00 8,400.00
5 กิจกรรมการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 11,000.00 2 11,000.00
19 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ(ครั้งที่ 1) 100 11,000.00 3,000.00
30 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ(ครั้งที่ 2) 100 0.00 8,000.00
6 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ และการติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 2,900.00 1 2,900.00
18 - 14 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 7 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ และการติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ 100 2,900.00 2,900.00
7 3 การอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ในเรื่องการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 8,700.00 1 8,700.00
1 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 3 การอบรมให้ความรู้แก่เครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ในเรื่องการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุ และการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 30 8,700.00 8,700.00
8 ศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายผู้สูงอายุต้นแบบในการดูแลสุขภาพตนเอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 18,000.00 1 18,000.00
26 ส.ค. 66 กิจกรรมที่4 ศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายผู้สูงอายุต้นแบบในการดูแลสุขภาพตนเอง 50 18,000.00 18,000.00
9 การประชุม ติดตามประเมินผล(ARE) 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 6,600.00 2 6,600.00
18 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 8 การประชุม ติดตามประเมินผล(ARE) ในพื้นที่ ครั้งที่ 1 30 6,600.00 3,300.00
22 ส.ค. 66 กิจกรรมที่8 การประชุม ติดตามประเมินผล(ARE)ในพื้นที่ ครั้งที่ 2 30 0.00 3,300.00
10 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 24,300.00 1 24,300.00
1 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 5 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 100 24,300.00 24,300.00
11 ประชุมสรุปถอดบทเรียน /ค้นหาผู้สูงอายุต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 9,700.00 2 9,700.00
29 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 10 ประชุมสรุปถอดบทเรียน /ค้นหาผู้สูงอายุต้นแบบ 100 9,700.00 9,700.00
13 ก.ย. 66 การมอบเกียรติบัตร แก่ผู้สูงอายุต้นแบบด้านการดูแลสขภาพของตนเอง 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 2.เครือข่ายผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองและสามารถ จัดการในการทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 3.เกิดเครือข่ายดูแลผู้สูงอายุในชุมชนที่เข้มแข็ง 4.มีการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเป็นกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 21:56 น.