directions_run

โครงการพลังอสม. ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อชีวิตปลอดภัย สร้างกำไรสู่ชุมชน.

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลังอสม. ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อชีวิตปลอดภัย สร้างกำไรสู่ชุมชน.
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 10 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 156,290.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม. อ.ควนขนุน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาภรณ์ ลูกแก้ว
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0892199841
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.พ. 2566 15 มิ.ย. 2566 16 ก.พ. 2566 10 ก.ย. 2566 78,145.00
2 16 มิ.ย. 2566 15 ก.ย. 2566 10 ก.ย. 2566 19 ธ.ค. 2566 62,516.00
3 16 ก.ย. 2566 10 ธ.ค. 2566 20 ธ.ค. 2566 20 ธ.ค. 2566 15,629.00
รวมงบประมาณ 156,290.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 คนบริโภคไม่ปลอดภัย
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ได้มีตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดในกลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ปี 2565 จำนวน 1,191 คน พบว่ามีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากการมีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดจำนวน 624 คน คิดเป็นร้อยละ 52.39 ซึ่งเกินกว่าครึ่งของที่ได้รับการตรวจทั้งหมด  และจากการตรวจสารพิษตกค้างในผักก็มีข้อจำกัดจำนวนตัวอย่างในการตรวจ ปีละ ๕ ตัวอย่าง ซึ่งไม่สามารถครอบคลุมผักที่มีการบริโภคในชีวิตประจำวันในครัวเรือนและร้านอาหารตามสั่งในชุมชน รวมไปถึงบางครั้งก็ตรวจพบสารพิษตกค้างในตัวอย่างที่มีการสุ่มตรวจ (ปี ๒๕๖๕ พบ ๑ ตัวอย่างที่ไม่ผ่าน : คะน้า) จากข้อมูลข้างต้นจากการสอบถามพื้นที่พบว่า มีการนำผักที่จำหน่ายในตลาดใหญ่ในพื้นที่อำเภอควนขนุน ไปจำหน่ายในระดับหมู่บ้าน เนื่องด้วยผักมีไม่เพียงพอ แม้ที่ผ่านมาจะมีโครงการสนับสนุนให้ประชาชนได้มีการปลูกผักปลอดสารพิษจากหลากหลายหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยพฤติกรรมและค่านิยมของผู้บริโภคที่ชอบความสะดวกและความสวยงามของผัก จนในบางครั้งลืมถึงความปลอดภัยจากการบริโภคผักที่อาจมีสารตกค้างที่ไม่ปลอดภัย จนอาจก่อให้เกิดการสะสมอาจจะนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในระยะยาว ซึ่งจากข้อมูลอำเภอควนขนุน ก็พบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตมีด้วยมะเร็งในอัตราที่สูงขึ้น จากปี ๒๕๖๒ - ๒๕๖๕ ดังนี้ ๗๓.๕๒ , ๗๔.๗๘ , ๗๖.๖๔ และ ๗๗.๙๑ ต่อแสนประชากรตามลำดับ
ชมรม อสม.อำเภอควนขนุน ซึ่งมี อสม. จำนวน 1,732 คน ที่ได้กระจายทุกหมู่บ้าน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการสร้างกระแสให้มีครัวเรือน อสม.แกนนำทุกหมู่บ้าน อย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 คน มีการปลูกผักที่มีความเพียงพอในการบริโภคและสามารถแบ่งปันครัวเรือนข้างเคียงตามโครงการประกวดบ้าน อสม.ตัวอย่างปลูกผักปลอดสารพิษตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และปี 2565 ได้ดำเนินโครงการครัวเรือน อสม. ปลูกผักบ้านละ 10 ต้น เน้นผักที่บริโภคในชีวิตประจำวันที่มีอายุระยะยาว โดยได้สนับสนุนต้นกล้าให้แก่ อสม. จำนวน 660 ครัวเรือน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างให้แก่ครัวเรือนในพื้นที่รับผิดชอบไม่สามารถจะกระจายผักให้เพียงพอต่อการบริโภคของคนในชุมชนได้
ดังนั้นชมรม อสม.อำเภอควนขนุน จึงได้นำแนวคิดการเป็นแกนนำ การเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษที่ผ่านมา มาต่อยอดการจัดกิจกรรมเพื่อให้ชุมชนมี อสม.เป็นแกนนำสื่อสารความรู้การปลูกผักที่ไม่ใช้สารเคมี สนับสนุนให้ครัวเรือน อสม.ปลูกผักที่มีการบริโภคในชีวิตประจำวันโดยไม่ใช้สารเคมี มีการกระจายผักให้มีความเพียงพอในชุมชน ทั้งนี้ก็คาดหวังว่า ความเสี่ยงต่อการมีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกรในพื้นที่จะลดลง และ ระยะยาวความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในประชาชนในพื้นที่มีแนวโน้มลดลง และสามารถที่จะลดรายจ่ายของครัวเรือนในด้านสุขภาพและสนับสนุนระบบเศรษฐกิจชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้อสม. มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักในการปลูกและบรโภคผักท่ปลอดภัย

มีชุดข้อมูลการลริโภคผักที่ปฃอดภัย ระดับพื้นที่ ระดับอำเภอ จำนวน 1 ชด อสม.ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ที่ถูกต้องในการบริโภคผักที่ปลอดภัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ  ๘๐

2 ๒. เพื่อให้ชุมชนมีกลไกสนับสนุนการปลูกการจำหน่ายการบริโภคผักที่ปลอดสารพิษ
  • มีคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับ อำเภอ 1 ชุด และ ระดับตำบล 4 ตำบล
  • คณะกรรมการระดับอำเภอ ระดับตำบล มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
  • ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้การจัดทำปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยชีวภาพ/สารชีวพันธ์ จำนวน 4 ตำบล ๆ ละ  1 กลุ่ม
  • ครัวเรือน อสม.มีการปลูกผักปลอดภัยเไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
  • มีเครือข่ายผักปลอดภัย จำนวน 4 เครือข่าย
  • ชุมชนมีการกำหนดกติกาการปลูก  การจำหน่ายการบริโภคผักที่ปลอดภัย 4 ชุมชน
3 เพื่อให้คนในฃุมชนได้บริโภคผักอย่างปลอดภัยที่เพียงพอ
  • ผลการตรวจสารพิษเคมีตกค้างในกระแสเลือด อสม.ที่เข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับที่ปลอดภัย มากกว่าร้อยละ 80เลือดระดับที่ปลอดภัย เปรียบเทียบกับก่อนร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
4 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการมีประสิทธิภาพ

๑.มีการเข้าร่วมกิจกรรมกับแผนงานร่วมทุน ๒.สามารถจัดส่งรายงานโครงการได้ตามกำหนด

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 140
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
อสม. 140 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67
1 กิจกรรมแผนร่วมทุน(16 ก.พ. 2566-15 ต.ค. 2566) 6,874.00                          
2 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมากรคุ้มครองผู้บริโภคระดับอำเภอ ระดับตำบล(6 พ.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 37,364.00                          
3 ส่งเสริมความรู้ ความตระหนัก การบริโภคผักที่ปลอดภัยแก่ อสม.ที่เข้าร่วมโครงการ(26 พ.ค. 2566-26 พ.ค. 2566) 50,140.00                          
รวม 94,378.00
1 กิจกรรมแผนร่วมทุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 22 6,874.00 0 0.00
28 ก.พ. 66 ปฐมนิเทศ 5 500.00 -
13 ก.ค. 66 เวที่ ARE1 3 1,000.00 -
30 ส.ค. 66 - 10 ธ.ค. 66 จัดทำรายงาน 8 3,374.00 -
30 ก.ย. 66 เวทีARE2 3 1,000.00 -
12 ต.ค. 66 สรุปโครงการ 3 1,000.00 -
2 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมากรคุ้มครองผู้บริโภคระดับอำเภอ ระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 37,364.00 0 0.00
17 พ.ย. 66 - 16 ก.พ. 67 จัดตั้งเครือข่ายผักปลอดภัย 140 37,364.00 -
3 ส่งเสริมความรู้ ความตระหนัก การบริโภคผักที่ปลอดภัยแก่ อสม.ที่เข้าร่วมโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 400 50,140.00 2 13,000.00
28 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 4 สนับสนุนครัวเรือน อสม.ปลูกผักปลอดภัย 140 18,240.00 4,200.00
20 พ.ย. 66 6 สร้างความตระหนักการปลูก การจำหน่าย การบริโภค ผักที่ปลอดภัย 120 23,100.00 -
4 ธ.ค. 66 ประเมินสภานการณ์ความปลอดภัยจากการปลูก การบริโภค ผักในชุมชน 140 8,800.00 8,800.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 231 42,500.00 9 117,018.00
7 พ.ค. 66 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลการปลูก การบริโภค การจำหน่ายผักในชุมชน 44 8,180.00 8,180.00
3 มิ.ย. 66 สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ แก่ อสม. ประชาชนในชุมชน 47 6,320.00 2,860.00
28 มิ.ย. 66 3 ชุมชนจัดให้มีแหล่งเข้าถึงปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพสารชีวพันธ์ 140 28,000.00 28,100.00
18 ก.ย. 66 1 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลการปลูก การบริโภค การจำหน่ายผักในชุมชน 0 0.00 0.00
18 ก.ย. 66 2 ส่งเสริมความรู้ ความตระหนัก การบริโภคผักที่ปลอดภัยแก่ อสม.ที่เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 0.00
17 พ.ย. 66 จัดตั้งเครือข่ายผักปลอดภัย 0 0.00 37,364.00
21 พ.ย. 66 สนับสนุนครัวเรือน อสม.ปลูกผักปลอดภัย ประกวดครัวเรือนต้นแบบ ปลูกผักปลอดภัย 0 0.00 14,040.00
30 พ.ย. 66 จัดทำรายงาย 0 0.00 3,374.00
28 ธ.ค. 66 สร้างความตระหนักการปลูก การจำหน่าย การบริโภคผักปลอดภัย 0 0.00 23,100.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 22:04 น.