directions_run

โครงการสิ่งแวดล้อมที่ดี วิถีเยาวชน ตำบลบ้านพร้าว

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสิ่งแวดล้อมที่ดี วิถีเยาวชน ตำบลบ้านพร้าว
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-10156-030
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 15 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 83,650.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลบ้านพร้าว
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิพงค์ หนูชูชัย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0862860012
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ oppo567vbb@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายไพฑูรย์ ทองสม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 607665,865746place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.พ. 2566 15 มิ.ย. 2566 16 ก.พ. 2566 26 มิ.ย. 2566 41,825.00
2 16 มิ.ย. 2566 15 ก.ย. 2566 10 ส.ค. 2566 29 ต.ค. 2566 33,460.00
3 16 ก.ย. 2566 15 ต.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 19 ธ.ค. 2566 8,365.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 83,650.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานสารเสพติด
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในพื้นที่ตำบลบ้านพร้าว อำาเภอป่าพะยอม มีกลุ่มเด็กเยาวชนที่อยู่ในชุมชนเกินร้อยละ 90 ที่ไม่ได้นำเวลาว่างของตัวเองมาทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน ต่างคนต่างอยู่ ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับโลกโซเซียล จึงเกิดสภาพที่เกิดความโดดเดี่ยวของเด็ก เนื่องด้วยสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะจิตที่ย่ำแย่และการเจ็บป่วยจากการติดสารเสพติดจนนำไปสู่การเข้าสังคมไม่ได้ของเยาวชน การไม่สนใจไม่มีความสัมพันธ์ของคนรอบข้าง จากอัตราสถิติ การคาดการณ์ จำนวนเยาวชน ร้อยละ 25 เกิดสภาพปัญหาการติดโซเซียลเทคโนโลยีอันนำไปสู่การมี ผลกระทบต่อสุขภาวะจิตและการพึ่งพายาเสพติด ในปัจจุบันอัตราการซื้อขายยาเสพติดที่เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท/ปี และมูลค่าการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมเหล่านี้เป็นผลนำไปสู่การใช้เวลาว่างที่ไม่เกิดประโยชน์ และการขาดทักษะ ความรู้การใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งกลไกการไม่มีเครือข่ายร่วมในการทำงาน หรือ กิจกรรมที่สร้างสรรค์ ไม่มีการรวมกลุ่มที่ ชัดเจน และข้อตกลง แผนงาน โครงการหรือกิจกรรม ที่ไม่มีดำเนินการในพื้นที่ สิ่งเหล่านี้มาจากสภาพแวดล้อมด้านสังคมและกายภาพไม่เอื้อต่อการการสร้างสรรค์กิจกรรม การมีแหล่งมั่วสุ่มที่เยอะในพื้นที่ การเข้าถึงสิ่งไม่ดีค่อนข้างง่าย การใช้โซเซียลตลอดเวลา และการซื้อขายยาเสพติดอย่างเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะ กระบวนการสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นที่ต้องรวมกลุ่มและนำเยาวชนเข้าสู่กระบวนการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาวะจิตของสังคมเด็กและเยาวชน และยาเสพติดเพื่อให้เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในสังคมวัยรุ่นผ่านทรัพยากรป่าไม้ต่างๆในพื้นที่ และพื้นที่ในการเป็นแปลงสาธิตเยาวชนแด็กแวดล้อม ซึ่งเป็นทุนเดิมที่หมู่บ้านมี เยาวชนที่เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สุขภาวะจิตดีขึ้น อัตราการติดเทคโนโลยีและการติดยาเสพติดที่ลดลง มันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายร่วมกันในการทำงานหรือกิจกรรมในพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ มีข้อตกลง แผนงาน โครงการ กิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ลดสภาวะกลุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่การพึ่งพา สารเสพติดในอนาคต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและ ตระหนักเกี่ยวกับการใช้ชีวิตเชิงสร้างสรรค์ ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมชุมชน

1 จำนวนเยาวชนมีความรู้การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2 มีข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเด็กเยาวชนอย่างน้อย1ชุด

2 2.เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนการทำงานของกลุ่มเด็กเยาวชน

1.เกิดกลุ่มขับเคลื่อนงานสร้างสรรค์เยาวชน 1 กลุ่ม 2.เกิดแผนงาน, กิจกรรม, โครงการ, ในการขับเคลื่อนเยาวชนสร้างสรรค์ 1 ชุด 3.มีกติกาในการทำกิจกรรมร่วมกันของเด็กเยาวชน

3 3.เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

1 เกิดพื้นที่เรียนรู้แลกเปลี่ยน, สร้างสรรค์ชุมชนร่วมกัน อย่างน้อย2 จุด

4 4.เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่มีกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ท า เพิ่มขึ้น

1 เยาวชนในกลุ่มเป้าหมาย 80 % ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 208 59,050.00 10 64,450.00
19 มิ.ย. 66 กิจกรรมจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมเยาวชน 35 3,650.00 3,650.00
20 มิ.ย. 66 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติเรื่อง "การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ 40 9,800.00 9,800.00
22 มิ.ย. 66 ทำแผนพัฒนาชุมชนในมุมมองเยาวชน 40 9,500.00 9,500.00
10 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน 20 800.00 800.00
12 ส.ค. 66 Are1 3 1,000.00 1,000.00
15 ก.ย. 66 เยาวชนจัดการขยะเชิงสร้างสรรค์ 30 32,700.00 32,700.00
23 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน 20 800.00 800.00
28 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน 20 800.00 800.00
18 ธ.ค. 66 จัดทำประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการของทีมสนับสนุนวิชาการ 0 0.00 4,400.00
19 ธ.ค. 66 เบิกค่าเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมรวมพลคน 3 วัย 0 0.00 1,000.00
15 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน 20 800.00 800.00
40 1,600.00 2 1,600.00
26 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน 20 800.00 800.00
21 มิ.ย. 66 ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างกลไกและกติกากลุ่มเยาวชน 30 1,900.00 1,900.00
30 1,900.00 1 1,900.00
23 มิ.ย. 66 กิจกรรมเรียนรู้ทรัพยากรพืชท้องถิ่น 30 6,000.00 6,000.00
30 6,000.00 1 6,000.00
25 มิ.ย. 66 กิจกรรมค่ายดนตรี 30 9,800.00 9,800.00
30 9,800.00 1 9,800.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับการใช้ชีวิตเชิงสร้างสรรค์ ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม 2.เกิดกลไกการขับเคลื่อนการทำงานของกลุ่มเด็กเยาวชน 3.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4.เยาวชนในพื้นที่มีกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ทำเพิ่มขึ้น

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 22:14 น.