directions_run

โครงการเสริมสร้างวัคซีนชีวิตแก่เด็กเยาวชนและครอบครัวในยุควิถีชีวิตใหม่ ตำบลชัยบุรี

assignment
บันทึกกิจกรรม
จ่ายค่าค้างชำระงวดที่ 11 พฤศจิกายน 2566
1
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ดำเนินการจ่ายค่าค้างชำระงวดที่ 1

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดำเนินการจ่ายค่าค้างชำระงวดที่ 1 เรียบร้อยแล้ว

รับการประเมินโครงการ จากสำนักวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก สสส.โดย ดร.สัญชัย รัตนขวัญ1 พฤศจิกายน 2566
1
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 1 พย.2566 เวลา 13.30 น.
คณะทำงานชมรมจิตตปัญญา ร่วมต้อนรับ ดร.สัญชัย รัตนขวัญ เจ้าหน้าที่ประเมินจากแนงานร่วมทุน ซึ่งมาจากสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กรุงเทพ เข้าพื้นที่เพื่อประเมินโครงการ โดยเมตตาจากพระครูสิทธิการโสภณ (ผ่อง ฐานุตตฺโม) ประธานที่ปรึกษาชมรมชมจิตตปัญญา มีเมตตาร่วมต้อนรับ นำชมสถานที่ทำงานชมรมจิตตปัญญา วัดโดนโสภณะปัญหาวิหาร หมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นฐานการเรียนรู้และฐานกิจกรรมการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนและครอบครัว ฐานจิตใจ และจิตตวิญญาณ  ร่วมตอบข้อซักถามความสำเร็จของโครงการ โดยเจ้าหน้าที่ประเมิน สอบถามความสำเร็จของโครงการ ท่านให้แนวคิดว่า ในโครงการว่า
จากที่ผ่านมา เด็กเยาวชน เข้ามาทำกิจกรรมในวัดมากขึ้น และที่ดีขึ้นคือ วันไม่มีกิจกรรมเด็กเยาวชนก็ยังมาช่วยกวาดขยะ  มานั่งเล่นในวัด ถือเป็นนิมิตรที่ดีของโครงการที่ทำให้เด็กเข้ามาในวัดมากขึ้น ดีกว่าไปเที่ยวหรือเล่นเกมส์

เวลา 14.30 น. คณะทำงานนำเจ้าหน้าที่ประเมินเข้าชมศูนย์เรียนรู้ บริการสังคมในโรงเรียนพรหมพินิต ชัยบุรี และพบปะผู้มีส่วนร่วมรับประโยชน์จากโครงการ ซึ่งมีผู้อำนวยการโรงเรียนพรหมพินิต ชัยบุรี นายภูวไนย รักจำรูญ ให้การต้อนรับ พร้อมรองผู้อำนวนการ และคณะครู นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน  จากนั้น พระสมุห์ธนภัทธ ธนภททฺโท พระวิทยากร ในโครงการ และสมาชิกชมรมจิตตปัญญา นำไหว้พระ สวดมนต์ และเปิดวงสุนทรียสนทนา แนะนำให้ทุกท่านรู้จักกัน โดย นางสาวณัฏฐชาญ์ ธรรมธนไพศาล ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดสุนทรียสนทนา ให้ชื่อวันนี้ว่ากิจกรรมนี้ว่า กิจกรรม "วันชัยบุรี" ซึ่งถือว่า  ระฆังสติ ได้ตีให้ดังขึ้นแล้ว ที่ทุกคนร่วมกันทำงาน เข้าร่วมกิจกรรม และมีผู้เข้าเยี่ยมพื้นที่ ร่วมประเมินและถอดบทเรียนที่มาจากนอกพื้นที่ และเชิญให้ทุกท่าน แนะนำตัวเอง เล่าสิ่งที่ประสบจากการเรียนรู้ในโครงการ โดยท่านใดพร้อมให้เชิญเชิญระฆังให้ดังและพูดเล่าประสบการณ์ในการเข้าร่วมโครงการ และกิจกรรม เริ่มจาก ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าว่า มีแรงบันดาลใจ เห็นครู และนักเรียนร่วมกิจกรรมในวัดเขาเมืองเก่า ด้วยความสามัคค่ี เมื่อหลายปีที่ผ่านมา และเข้ามาเที่ยวชัยบุรีบ่อย เนื่องจากเป็นพื้นที่ มีอัตตลักษณ์ จิตวิญญาณ และคุณค่าของเมืองเก่าชัยบุรี สมัยโบราญที่มีชื่อเสียงและอาณาเขตกว้างขวาง จึงชอบนำคนนอกพื้นที่ ชาวต่างชาติ มาเที่ยวที่นี่บ่อยครั้ง ในบางครั้งห็นเด็กขับรถเกเร บนถนน เห็นช่องว่าของช่วงวัยเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมที่อยู่ในความเสี่ยงเช่น เล่นเกมส์ หนีเรียน มานั่งในพื้นที่ เขาบ่อลา ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณเมืองเก่า จึงมีแนวคิดสร้างระบบความคิดให้เด็กเห็นคุณค่าของเมืองเก่ารักบ้านเกิดสำนึกจิตสาธารณะ ช่วยกันสร้างชุมชน โดยได้จัดกิจกรรม ร่วมกับโรงเรียนและวัด จึงเป็นที่มาของโครงการ และพบว่า เด็กทุกคนพร้อมเปิดใจเรียนรู้ ให้ความร่วมมือ ชุมชนเห็นประโยชน์ จึงจัดตั้งชมรม มีคณะทำงานอย่างมีส่วนร่วมที่เป็นระบบขึ้นในชุมชน ทั้ง บ้าน วัด โรงเรียน รพสต.ปกคอง ท้องถิ้นเข้ามาร่วมช่วยกันขับเคลื่อนการทำงาน นอกจากนั้นมีหน่วยงานวนอุทยานก็มีส่วนสนับสนุนกิจกรรม ชาวบ้านมาร่วม นี่คือความสำเณ้จของโครงการ

ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้เล่าว่า โรงเรียนได้แนวคิดการทำงาน เปิดโอกาสให้เป็นพื้นที่บริการสังคม ให้โอกาสและทางเลือกแก่เด็กในการสร้างงาน ฝึกปฏิบัติการงานอาชีพ ในเด็กที่ไม่สามารถเรียนต่อได้ และส่งเสริมให้โรงเรียนนำกิจกรรมจากโครงการไปพัฒนาต่อยอดเป็นโรงเรียนให้เป็นโครงการคุณธรรมดีเด่น จนได้รับรางวัลจากเขตการศึกษาพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนั้น๕ะนักเรียนที่ทำงานในโครงการ ได้เข้ารับคัดเลือกเป็นนักเรียนพระราชทาน คนทำงานมีการพัฒนาการมากขึ้นไปพร้อมกับโครงการ

รองผู้อำนวยการ เล่าว่า ผลสำเร็จการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมนักเรียน เห็นเด็กพัฒนาการมากขึ้นด้าน คุณธรรมจริยธรรม การช่วยเหลือสังคม

นักเรียนในโครงการเล่าว่า กล้าคิด กล้าทำ กล้านำเสนอ และชอบมาโรงเรียนเพื่อได้ทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนมากขึ้น

เยาวชนผู้หญืงเล่าเรื่องการออกนอกพื้นที่ เพื่อไปศึกษากสถานที่สำคัญเช่น พื้นที การทำเกษตรพอเพียง การทำคลิปแนะนำชัยบุรี เป็นต้น ถือ่ว่าชอบมาก และตัวเองได้แรงบันดาลใจ ได้รับรางวัลนักเรียนดีเด่น เป็นต้นผู้ประเมินชื่นชม คณะทำงาน
ผู้เข้าร่วมโครงการเล่าการร่วมกิจกรรม และเจ้าหน้าที่ประเมิน ให้ ตอบข้อซักถาม
1.ความรู้อะไรที่นำไปใช้ได้ เยาวชนตอบว่า สมาธิ การสร้างแรงบันดาลใจ การฝึกทำงานเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ทำงานกลุ่ม ทำให้เขากล้า มั่นใจ มากขึ้น 2.ประทับใจกิจกรรมอะไร เยาวชนสรุปตอบว่า การออกสึกษานอกห้องเรียน การทำคลิปนำเสนอพื้นที่
3.ประทับใจอะไรที่สุดในโครงการ ความสามัคคีในการทำงาน ของเพื่อนเพื่อนในกลุ่ม

สรุปปิดโดยผู้ประเมินชื่นชม คณะทำงาน ให้การแนะนำสร้างชุดคู่มือการทำงาน เพื่อขยายผล และแนะนำให้เขียนหนังสือทางวิชาการการแก้ปัญหาเด็กเยาวชนยุควิถีชีิวิตใหม่และแนะนำให้ส่งผลงานนำเสนอระดับชาติ
ปิดการประเมิน 17.30 น.พระสมุห์ธนภัทธ นำไหว้พระเป็นการ กราบลาพระรัตนตรัย ในการเปิดและปิดประชุมวงสุนทรียสนทนาทุกครั้ง ของโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ระฆังสติ เป็นเครื่องหมายของการ เปิดใจ เปิดทัศนะการแสดงความคิดเห็น
ได้นำมาใช้ในการเปิดวงสุนทรียสนทนาเชิงประเมินสรุปโครงการ โดยให้ทุกคนเล่าบรรยากาศ กิจกรรม ทีตัวเองประสบมา และผู้ประเมินนั่งจดประเด็นตามที่ประเมินได้
จัดรอบการดำเนินการ ทั้งหมด 3 รอบ เมื่อระฆังมาถึงใคร เมื่อตนเอพร้อมพูดก็ให้พูดหากยังไม่พร้อมให้เลื่อนระฆังไปที่ท่านอื่น เมื่อพร้อมพูดจะตีระฆังให้สัญญาณ เพื่อให้ผู้ฟังได้ตั้งใจฟังที่ตนเล่า วนเรื่อยไป เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างกระบวนกรใหม่ 20 คน ที่าเข้าร่วมในการประเมิน
สรุปผลลัพธ์ ดังนี้ 1.ได้เครื่องมือในการทำกิจกรรม 2.ได้กระบวนการ และกระบวนกรเพิ่มขึ้น 3.ได้ชุดความรู้การประเมินโครงการ จาก สสส.และแผนร่วทุน

ARE231 ตุลาคม 2566
31
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รับฟังงสรุปการทำงานของโครงการแผนร่วมทุนจากหัวหน้าโครงการ แผนร่วมทุน
การสรุปการดำเนินโครงการในระบบออนไลน์และการกำหนดส่งงวดงานในงวดที่สาม และการเบิกจ่ายงบประมาณ
สรุปผลการดำเนินงานแต่ละพื้นที่และแต่ละประเด็นปัญหา พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องเหมือนกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้รับความรู้ในการสรุปผลในระบบออนไลน์ 2.ได้รับความรู้เรื่องการขยายเวลาในการดำเนินปิดโครงการ 3.เกิดทักษะการทำงานมากขึ้นจากการเรียนรู้ร่วมกัน ผลลัพธ์ 1.คณะทำงานมีความเข้าใจกระบวนการทำงานของแผนร่วมทุนมากขึ้น 2.เกิดองค์ความรู้ใหม่จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.เกิดภาคีในระดับประเด็นปัญหาเยาวชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

สร้างความสัมพันธ์ ในระดับแกนนำ การทำงานเด็กเยาวชน เช่น โคกม่วงเขาชัยสน  มีการใช้เครื่องหมายสติกเกอร์สร้างแรงจูงใจให้เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรม
พื้นที่ นาท่อม เมืองพัทลุง ค้นพบจิตวิญญาณในพื้นที่เกี่ยวกับมโนราห์ กลุ่มลำสินธ์ จัดกิจกรรมป้องกันเด็กกลุ่มเสี่ยงด้วยจิตอาสาในการเก็บขยะบริเวณน้ำตก กลุ่มศรีนครินทร์ จัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ้นเข้าสู่การเรียนรู้กับเด็กเยาวชน  เป็นต้น เทศบาลเมือง กลุ่มวัยรุ่น วัยใส ใส่ใจปัญหาวัยรุ่น ของโรงเรียจุงฮั้ว เป็นต้น เห้นการทำงานอย่างมีความพยายามช่วยรูณรงค์ปัญหา ซึ่งสิ่งสำคัญที่เกิดองค์ความรู้ใหม่คือ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ การเชือมโยง ความเชี่ยวชาญของคนทำงานด้านเยาวชน หากได้นำทุกคนมานั่งเล่าประสบการณ์ร่วมกันก็จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันได้

พื้นที่ชัยบุรี ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ ชัยบุรีโมเดล มีความเหมือนและแตกต่าง ในการให้เด็กลุ่มเสี่ยง เกเร ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในก่อนการเปลี่ยนแปลงภายนอก โดยสร้างความตระหนักรู้ และเกิดจิตสำนึก รัก คุณค่า อัตตลักษณื จิตตวิญาณ และภุมิปัญยาความเป็นคนพัทลุง คนชัยบุรี และสำนึกรักตัวเอง รักบ้านในการร่วมกันเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างชุมชน รักษา ต่อยอด ผ่านการทำกิจกรรม จิตตปัญญา โดยมีส่วนร่วม พระ ผู้นำศาสนา ครู หมอ รพสต และผู้มีส่วนร่วมในชุมชน เปิดพื้นที่ให้คนอื่นได้เข้ามาชม เป็นการเติบโตจากภายในเพื่อให้ยั่งยืน และต่อยอดในการสร้างอาชีพ รายได้ สร้างความมั่งคั่งต่อไป

กิจกรรมสรุปวิเคราะห์ ประเมินผล คืนข้อมูล15 กันยายน 2566
15
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พร้อมกันต้อนรับคณะที่ปรึกษา และคณะทำงาน หัวหน้ากลุ่มเปิดวงสุนทรียสนทนา ด้วยการกล่าวต้อนรับ และนำเสนอการร่วมทำงานในโครงการ สิ่งที่ได้จากโครงการ อุปสรรคปัญหาในการทำงานร่วมกับเพื่อนในโครงการ และแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผล ข้อเสนอแนะ

จากนั้นกรรมการคณะทำงาน ร่วมสะท้อนบทเรียน และสรุปการส่งคืนข้อมูล และคัดเลือกคณะทำานเยาวชนเพื่อให้ร่วมทำงานในโครงการ และการพัฒนาต่อยอดในอนาคต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงาน 2.ต้นแบบเยาวชน 3.คลิปสรุปผลงาน 4.เสียงจากเยาวชน ในแนวคิดการแก้ปัญหาเด็กเยาวชน

จัดทำรายงาน29 สิงหาคม 2566
29
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เช้า พี่เลี้ยงโครงการเข้าในพื้นที่แนะนำการทำรายงานและวิธีเบิกจ่ายงบประมาณ
บ่าย ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน พร้อมวิทยากร ร่วมประชุม ที่ชมรมจิตตปัญญาวัดโดนโสภณะปัญญาวิหาร เพื่อสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา การประเมินผลกิจกรรมจากวิทยากร  และจัดพิมพ์ ทำเล่มรายงานการดำเนินโครงการเพื่อสรุปคืนข้อมูลให้ผู้มีส่วนในโครงการ โดยนำเรียนประธาน คือพระครูสิทธิการโสภณ องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี โรงเรียนพรหมพินิต ชัยบุรี  รพสต.ชัยบุรี กำนัน  เจ้าคณะตำบลชัยบุรีวัดเขาเมืองเก่า  ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา
นอกจากนั้นเตรียมจัดทำสรุปให้กับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลง เขตการศึกษาพื้นที่ และคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดพัทลุง ต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ความรู้การรายงานระบบแผนงานร่วมทุน ได้ความรู้การทำเรื่องเบิกงบประมาณส่งบัญชี ได้เล่มสรุปการดำเนินกิจกรรมพร้อมส่งมอบให้ประธานที่ปรึกษาชมรม จัดทำใบประกาศผู้มีส่วนร่วม และผู้เข้าร่วมกิจกรรม

กิจกรรมที่ ๕ ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ติดตาม ประเมินผล Chaiburi Youth Inchange)25 กรกฎาคม 2566
25
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ต้นแบบและแกนนำ ได้จัดกระบวนการเปิดเวทีร่วมกับกลุ่มนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เปิดเวทีสุนทรียสนทนา ดำเนินการกระบวนการโดยเปิดเพลงมารช์โรงเรียน เพื่อให้ทุกคนรักสำนึกถึงสถาบัน สำนึกถึงคุณค่าของตัวเอง โดยประธานนักเรียน กล่าวนำต้อนรับผู้ทรงคุณวุฒิ รอ.ดร.ภูวนาถ แก้วปลั่ง ประธานที่ปรึกษาชมรมจิตตปัญญา และผู้ทรงคุณวุฒิ ติดตามประเมินโครงการ และประธานคณะทำงาน ผู้รับทุน นายวิกรม พงศ์จันทร์เสถียร และพระสงฆ์ผู้มีส่วนร่วมในโครงการเข้าร่วมติดตามประเมินสรุปในครั้งนี้
กิจกรรม เริ่มด้วย ต้นแบบจัดเวที ห้องประชุม เครื่องเสียง กันเอง และเปิดวงสุนทรียสนทนาเอง จากนั้นนิมนต์พระนำสวดมนต์ ซึ่งถือเป็นอัตตลักษณ์ของผู้เข้าร่วมจะมีการไหว้พระรัตนตรัยเพื่อดึงดูดพลังใจ จิตตวิญญาณ ให้ทุกคนกลับมาอยู่ในปัจจุบันขณะเติมเต็มพลังต่อกัน พระสงฆ์ให้พร และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ สี้างแรงบันดาลใจในการทำงานจิตอาสา ให้ฟัง เล่าประสบการณ์ทำงานจิตอาสา จากนั้นผู้รับทุนโครงการเข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา ขอบคุณที่ทุกคนร่วมมือร่วมใจสามัคคีในการทำงานร่วมและความเป็นหนึ่งเดียวในการร่วมสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงพฤ๖ิกรรมอันนำไปสู่ความเจริญของตัวเองและส่วนรวม

จากนั้นให้ทุกคนเล่าประสบการณ์ในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้  สิ่งที่ได้ เล่าการทำงาน ร่วมกับชุมชน การเข้าอบรมร่วมกับวนอุทยาน และความรู้ที่ได้รับ  โดยเริ่มจากคนมีจิตอาสาออกมาเล่าก่อน

ในการนี้ ผู้รับผิดชอบโครงการ สังเกตุพฤติกรรม ความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเสี่ยง จากการร่วมพูดคุย การแสดงออกพฤติกรรม การมีส่วนร่วม การทักทาย การให้ความร่วมมือในการทำงานจิตอาสา การสรุปประเมินพฤติกรรม และการลงคะแนน จิตอาสาที่ทำงานต่อเนื่อง เข้าสู่ธนาคาร ความดี การเปลี่ยนความดีเป็นเงินอย่างมีระบบรับรองจากอาจารย์ผู้ดูแลกิจกรรม เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานจิตอาสา 20 คน และต้นแบบ ผู้นำจิตอาสาอีก 10 คน ผู้เข้าร่วมกลุ่มเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงตัวเองเข้าร่วม ทั้งหมด 60 ครุผู้ควบคุม และผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วม 84 คน เกิด ธนาคารความดี @ชัยบุรี เกิดแกนนำต้นแบบ 6 คนเป็นตัวแทนในการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมชุมชนในการประสานงานจัดกิจกรรมและประเมินผลร่วมของโครงการ เกิดโครงงานในอนาคต

ARE124 กรกฎาคม 2566
24
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลลัพธธ์การดำเนินงานร่วมกับโครงการอื่นอื่นและทีมสนับสนุนวิชาการ รวมถึงรับทราบแนวทางการปิดงวดและทำรายงานต่างต่าง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วม 2 คน ได้เรียนรุ้การปิดโครงการ ผลลัพธ์พื้นที่อื่น เชื่อโยงเครือข่ายการทำงาน และทราบรายละเอียดการทำงานของพื้นที่อื่นที่มีความหลากหลายประเด็นปัญหา และวิถีทางการดำเนินงานที่เหมาะสมกับพื้นที่

กิจกรรมที่ ๗ (ต่อยอด) ประชาสัมพันธ์โครงการ คณะทำงานนำเสนอผลงาน ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัดห้วยยอด จังหวัดตรัง (สนับสนุนโดยภาคีเครือข่าย)22 กรกฎาคม 2566
22
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นำผลเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ปัญหาเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงโดยใช้พลัง บวร และการจัดการเรียนรู้แบบ Mindfulness based active learning และการบริหารจัดการด้วยระบบ สุนทรียสนทนาเพื่อแก้ปัญหาเด็กเยาวชนและครอบครัว ร่วมกับพื้นที่จังหวัดตรัง และหลายจังหวัดในภาคใต้จัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในการสร้างต้นแบบจิตอาสาร่วมกับชุมชน โดย นางสาวนันทิยา นิ่มสวาท นักสาธารณะสุของค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี นำเสนอกลยุทธิ์การเข้าถึงนักเรียนกลุ่มเสี่ยง การทำงานในพื้นที่ การสรางความสัมพันธฺชุมชน การสร้างเครือข่ายจิตอาสาและธนาคารความดี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน 10 ท่าน พระสงฆ์ ครู ผู้ติดตามประเมินโครงการ วิทยากร และคณะทำงาน รวม 10 คน ได้นำเสนอผลงานการแก้ปัญหาเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับพื้นที่อื่นอื่นในภาคใต้และภาคกลาง ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย ได้รับความสนใจจากพื้นที่อื่นมาก และคณะทำงานได้ความรู้ใหม่ ในเชิงการปฏิบัติดูแล ส่งต่อ จากหลายพื้นที่ ได้เครือข่ายการทำงานเพิ่มขึ้น แนวคิดการทำงานที่หลากหลายเหมาะกับพื้นที่ นวัตกรรมการทำงานและแนวทางการพัฒนากลไกในพื้นที่

กิจกรรมที่ ๘ นโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมภาคี ( MOU)อบรมเชิงปฏิบัติการ "รักบ้านเกิด เมืองเก่าชัยบุรี : สนับสนุนโดยวนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี18 กรกฎาคม 2566
18
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี โดยวนอุทยานได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วันในชุดความรู้ ชัยบุรีศึกษา หลักสูตร รักบ้านเกิด เมืองเก่าชัยบุรี ให้ด็กเยาวชนที่เข้าร่วมอบรมเกิดสำนึกคุณค่า รักตัวเอง รักบ้านเกิด เกิดความรู้เกี่ยวกับเมืองเก่าชัยบุรี และสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในวนอุทยานเมืองเก่าให้เป็นฐานการเรียนรู้รักษ์ตัวเอง รักธรรมชาติสัตว์ สิ่งแวดล้อม พร้อมกันรักษาและสืบทอดต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดกลุ่มสำนึกรักบ้านเกิดชัยบุรี จำนวน 50 และครูคณะทำงาน 2 เข้าร่วมอบรม มีแผนงานทำงานร่วมกับชุมชนคือวนอุทยานที่เป็นรูปธรรม ผ่านกลไกการทำงานของหน่วยงานผู้มีส่วนร่วมในชุมชน
เกิดนิเวศน์ชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยใช้พื้นที่ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ เกิดชุดความรู้ ชัยบุรีศึกษา

กิจกรรมที่ ๓ กลุ่มย่อยในพื้นที่ Change Yourself The World Change ประเมินผลรอบแรก11 กรกฎาคม 2566
11
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้ร่วมโครงการ แบ่งกลุ่มการทำงาน กลุ่มละ 20 คน ออกเป็นสี่กลุ่มโดยให้เข้าร่วมกลุ่มทั้งเด็กคณะทำงานและกลุ่มเสี่ยงได้เรียนรู้ทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้เลือกทำกิจกรรม เช่น การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ที่แสดงถึงคุณค่า อัตตลักษณ์ จิตวิญญาณ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่ม แบ่งได้ดังนี้
1.ร่วมเรียนรู้ทำลูกปัดโนรา ทำหนังตลุง ร่วมแลกเปลี่ยนกับปราญชาวบ้าน 2.การทำงานจิตอาสาในชุมชนร่วมกับวัด เขาเมืองเก่า หรือวัดโดนโสภณะปัญญาวิหาร 3.การทำงานจิตอาสาสร้างความสุขให้สังคม เช่น เล่นดนตรี
4.การสร้างแรงบันดาลใจ ออกพื้นที่ เยี่ยมบ้านเพื่อน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.นักเรียนได้หัดทำลูกปักโนรา หนังตลุง  รู้จักภูมิปัญญากะลามะพร้าว
2.เกิดกลุ่มทำงาน
3.เกิดแผนงานวิชาชีพทางเลือก

กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมสอบประเมินพฤติกรรม (สอบอารมณ์/การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม)21 มิถุนายน 2566
21
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นักเรียนต้นแบบ ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ และสมาชิกสรุปการทำงาน ตามโครงการ ด้วยการนำเสนอสร้างการรับรู้ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี โดยมีนายวุฒิชัย มุสิด นายอกอง๕ืการบริหารส่วนตำบล เป็นประธาน มีรองนายกอง๕ืการบริหารส่วนตำบลฝ่ายการศึกษา รองปลัดและเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการ ชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับรู้แผนงานที่นักเรียนนำเสนอการเปิดพื้นที่สาธารณะของชุมชน ให้เด็กกลุ่มเสี่ยงมีพื้นที่ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์สำหรับชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดนำต้นแบบนพื้นที่ มีแผนงานทำงานร่วมกับชุมชน เกิดการผลักดันนโยบายสาธารณะร่วมกัน ระหว่างพระสงฆ์ ครู ชุมชน ในการทำงานเพื่อชุมชน

กิจกรรมเป้าหมายชัด ชีวิตเปลี่ยน วันที่ ๒ "การพัฒนาศักยภาพและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม"8 มิถุนายน 2566
8
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิกจรรม วันที่ ๒ หลักสูตร เป้าหมายชัด ชีวิตเปลี่ยน
ผู้เช้าร่วมทุกคน แบ่งกลุ่ม ศึกษาข้อมูลของสมาชิกในกลุ่ม และวางแผนการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างพื้นที่การทำงานร่วม สร้างแรงจูงใจการรักการเรียน การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายชีวิต -นำเสนอแผนงานกลุ่ม
-ให้โอกาสการจัดกิจกรรม ติดตาม ประเมินผล การเปลี่ยนแปลงพฤ๖ิกรรมด้วยตัวเอง -สรุปผล การเปลี่ยนแปลงพฤ๖ิกรรม จะ ให้เป็นคพแนนความดี ใช้ระบบธนาคารความดี
เช่นการมาสายน้อยลง จะมอบคะแนนให้
การช่วยเหลือเพื่อ การทำความสะอาดโรงเรียน
ธนาคารขยะ เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แผนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผ่านการทำดี /หัวหน้ากลุ่ม /

กิจกรรมที่ ๒ อบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะชีวิต หลักสูตร "เป้าหมายชัด ชีวิตเปลี่ยน"7 มิถุนายน 2566
7
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ ๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการ เป้าหมายชัด ชีวิตเปลี่ยน
จัดกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการ และสุนทรียสนทนาให้เด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา จากโรงเรียนเข้ามาร่วมเรียนรู้ด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญากระบวนการโดยสร้างพื้นที่ปลอดภัย และอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าร่วมได้รู้สึกสบายใจในการแสดงทัศนะความคิดเห็น เปิดใจ โดยเชิญหัวหน้าหน่วยงานราชการ ในชุมชน และเชิญปราญช์ชาวบ้าน เข้ามาร่วมวงสุนทรียสนทนา  เปิดวงสนทนาด้วยการสร้างแรงบันดาลใจจากศิษย์เก่าของโรงเรียนที่เคยมีพฤติกรรมมาสาย ขาดเรียน และเกเร แต่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤ๖ิกรรมได้ทำงานดีมีคุรภาพชีวิตมาสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่า ความรักตัวเอง และเป้าหมายชีวิต ให้ชัดเจนขึ้น มีนายวุฒิชัย มุสิด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี ในนามศิษย์เก่า มาเล่าเรื่องในอดีตสมัยเป็นนักเรียน และจุดเปลี่ยนของชีวิตในการทำงานเพื่อชุมชนและการสร้างหลักฐานครอบครัว  จากนั้นให้นักเรียนเข้าสู่กระบวนการภาคปฏิบัติในการหันมารักตัวเอง นึกถึงอดีตพฤติกรรมที่ทำให้ครอบครัวเสียใจ ทำให้ตัวเองเสียโอกาส และทำกิจกรรมขอโทษ ให้อภัยตัวเอง พร้อมขอบคุณครูอาจารย์ที่สั่งสอน พ่อแม่ผู้มีพระคุณที่ให้โอกาส และการตั้งจิตในการเปลี่ยนแปลงตัวเองวันละเล็กน้อย ให้เพิ่มขึ้นทุกวัน โดยให้เด็กเยาวชนคิดถึงเป้าหมายของตัวเอง และชีวิตใหม่ที่อยากเห็นภาพของตัวเองในอนาคต  ภาคบ่าย มีวิทยากรรับเชิญ ซึ่งเป็นวิทยากรให้แรงบันดาลใจ และให้ความรู้สลับกัน นอกจากนั้นมีผู้มีส่วนร่วมในพื้นที่ เช่น หัวหน้าอุทยานได้มาให้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อทักษะอาชีพ เช่น การทำงานร่วมกับวนอุทยานในการเป็นต้นแบบนำความรู้เรื่องเมืองเก่าชัยบุรีบอกผู้มาเยือนในพื้นที่ และผู้อำนวยการโรงเรียนให้ข้อคิด เรื่องการเรียนรู้อย่างมีความสุขและการพัฒนาจากภายใน โดยนักเรียนสามารถออกแบบการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตัวเองตามความถนัดเช่น คนที่ไม่ชอบวิชาการ ก็จะส่งเสริมเรื่องอาชีพ ส่งเสริมกิฬา ดนตรี เป็นต้น ปิดการอบรมรมด้วยการให้นักเรียนที่เข้าร่วมเขียนแผนงานชีวิตใหม่เป็นโครงงานของนักเรียนในนามโรงเรียนขับเคลื่อนติดตามผลต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมอบรม 80 คน และครู ผู้ปกครอง 20 คน 2.ได้รับความรู้และทักษะ ชีวิต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และเกิดคณะทำงานเยาวชนร่วมในพื้นที่  3.เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนร่วมในพื้นที่ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล 4.เกิดกลไกความร่วมมือกับวนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรีในการจัดอบรมให้ความรู้ เพื่อสำนักรักชัยบุรี เกิดการต่อยอดการทำงานร่วมกัน 5.เกิดพื้นที่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ 6.มีจิตอาสาร่วมทำงาน7.เกิดธนาคารความดี

กิจกรรมที่ ๑ ประชุม จัดทำสำรวจกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่ตำบลชัยบุรี16 พฤษภาคม 2566
16
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Cittapanya
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ ๑ สำรวจัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยง
ประชุมคณะทำงาน เพื่อจัดทำข้อมูลนักเรียนเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่ พร้อมจัดทำแผนงาน การดำเนินการโครงการ กำหนดกรอบเวลาการทำงาน แบ่งงาน และจัดทำชุดการเรียนรู้ การติดตามประเมินและกำหนดความรับผิดชอบการทำงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วม 40 คน มีคณะทำงาน แบ่งเป็น 4 ทีม เกิดคณะทำงานในพื้นที่และผู้ทรงคุณวุฒิจากนอกพื้นที่ เกิดวิธีจัดเก็บข้อมูลนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เกิดชุดวิชาการทำงานร่วมกัน เกิด MOU ในการทำงาน