directions_run

โครงการเสริมสร้างวัคซีนชีวิตแก่เด็กเยาวชนและครอบครัวในยุควิถีชีวิตใหม่ ตำบลชัยบุรี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างวัคซีนชีวิตแก่เด็กเยาวชนและครอบครัวในยุควิถีชีวิตใหม่ ตำบลชัยบุรี
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 65-10156-031
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2566 - 15 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 106,300.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมจิตตปัญญา วัดโดนโสภณะปัญญาวิหาร หมู่ที่ ๑ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัด
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฏฐชาญ์ ธรรมธนไพศาล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 095-774-0307
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ natthachathamthanapaisarn@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.พ. 2566 15 มิ.ย. 2566 16 ก.พ. 2566 31 ก.ค. 2566 53,150.00
2 28 ต.ค. 2566 31 ต.ค. 2566 28 ส.ค. 2566 19 ธ.ค. 2566 42,520.00
3 16 ก.ย. 2566 15 ต.ค. 2566 20 ธ.ค. 2566 20 ธ.ค. 2566 10,630.00
รวมงบประมาณ 106,300.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีเป็นความมั่งคั่ง ยั่งยืนที่แท้จริง เพราะสุขภาพที่ดีคือวัคซีนชีวิตที่สมบูรณ์ 4 ด้าน คือ ร่างกาย การเงิน เวลา และสังคม เยาวชนหรือจิตวิทยาเรียกว่า วัยรุ่น Young Teenage องค์การอนามัยโลก WHO ให้ความหมายวัยรุ่นคือ เด็กอายุ 10-19 ปี เป็นช่วงที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางกายและจิตใจ การยอมรับ อารมณ์ สัมพันธ์กับความตระหนักรู้ Consciousness ทางกาย จิต สติปัญญา อารมณ์และสังคม นำมาซึ่งสุขภาวะอนามัยทางร่างกายในวัยเจริญพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ทางสติยับยั้ง Gap in between ต่อพฤติกรรมหงุดหงิด ก้าวร้าว ปลีกตัว หนีสังคม ซึมเศร้า จึงถือเป็นกลุ่มเสี่ยงถูกล่อลวงง่าย ทั้งเกมส์ สิ่งมึนเมา ยาเสพติด ติดพศตรงข้าม ผลการเรียนตกต่ำ เสียเงิน ก่ออาชกรรม กระทบครอบครัวเป็นห่วงโซ่อุปาทานของชุมชน พื้นที่ตำบลชัยบุรี มี 13 หมู่บ้าน มีสถานศึกษามัธยม และประถมศึกษา ประเด็นปัญหาที่สำคัญของเยาวชน ร้อยละ 30 เช่น มาสาย ก้าวร้าว ติดเกมส์ ติดเพื่อน ติดสิ่งเสพติด บุหรี่ สุรา มีพฤติกรรม เด็กแว้น ลักขโมย ท้อง แท้ง ทิ้ง เหล่านี้คือประเด็นปัญหา ที่เริ่มลุกลามของกลุ่มเสี่ยงข้อมูลจากการประชุมร่วมฝ่ายสาธารณะสุข องค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า สถิติจากปี 2555-2565 ปัญหาเด็กเยาวชน โน้มเอียงไปทางเด็กขาดการปลูกฝังทางด้านคุณธรรม จิตใจ สติ อารมณ์ และปัญญา มากถึง ร้อยละ 70 ฐานรากประเด็นมาจาก ปัญหาครอบครัว พ่อแม่แยกทาง ความไม่เข้าใจในครอบครัว ไม่มีเวลา เหล่านี้เป็นประเด็นหลัก จุดแข็งของพื้นที่ชัยบุรีคือคุณค่า อัตตลักษณ์ จิตตวิญญาณ ภูมิปัญญาท้องถิ่นความเข้มแข็งของชุมชน ศูนย์กลางความรุ่งเรืองสังคมพหุวัฒนธรรมที่หล่อหลอมฐานรากทางศาสนาที่มีพระสงฆ์เป็นผู้นำจิตวิญญาณในระดับภาคใต้ เป็นที่พึงทางใจและความเจริญทางโรงเรียน โรงพยาบาล ธรรมชาติที่สวยงาม สิ่งเหล่านี้คือ จิตสำนึกที่ทรงคุณค่า ที่ต้องปลูกฝังให้เยาวชนได้ตระหนัก ยอมรับ คุณค่าตัวเองเพื่อชุมชนเปลี่ยนจากกลุ่มเสี่ยงเป็นจิตสำนึกสาธารณะเพื่อชุมชน จากทฤษฎีความเชื่อ When we change ,The world will change. การแก้ปัญหาวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงใช้หลักคุณธรรมตามศาสตร์พระราชา และกระบวนการทางพุทธจิตวิทยา ในการเปลี่ยนแปลงตัวตนด้วยการให้ยอมรับ เข้าใจและรักตัวเอง Self-Love /Self-Confident มีเป้าหมายในชีวิตชัดเจน พัฒนาสุขภาวะทางสติปัญญา ปรับเปลี่ยน MindSet ด้วย KIO based active learning การรับฟังเขาด้วยหัวใจ ให้โอกาส สร้างพื้นที่ปลอดภัย เชื่อมั่น ให้สร้างตัวตนในชุมชน เพื่อเกิดจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนในและนอกพื้นที่ สร้างประสบการณ์ร่วมกับครอบครัว ครู ชุมชนช่วยเกื้อกูลเพิ่มสมรรถนะ เสริมแรง ชื่นชม ประกาศให้เห็นคุณค่า เหล่านี้คือกระบวนการในการ Transform กลุ่มเสี่ยงเป็นต้นแบบเยาวชนในพื้นที่
ดังนั้นทางผู้จัดทำโครงการ เห็นว่าโครงการฯ นี้ มีประโยชน์ และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วน ในการสร้างแบบแผนการปฏิบัติที่เป็นต้นแบบพื้นที่ร่วมกันในจังหวัด จึงได้จัดทำโครงการขอรับความสนับสนุนจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ จังหวัดพัทลุง สร้างต้นแบบเยาวชนจากพื้นที่ Local สู่วัฒนธรรมเลอค่าบนฐานคุณค่า อัตตลักษณ์ จิตตวิญญาณของเมืองเก่าพัทลุง บูรณาการสอดรับกับแผนพัฒนาจังหวัดด้วยการพัฒนาจิตวิญญาณตามศาสตร์พระราชา เตรียมเปิดต้นแบบเยาวชนและพื้นที่ยุควิถีชีวิตใหม่อย่างสากลผ่านเครือข่ายภาคี ในระดับเยาวชนนานาชาติในอนาคตที่พร้อมเปลี่ยนตัวเองและเปลี่ยนโลกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงฆ์ของโครงการอย่างเป็นรูปธรรมที่สร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป ใน ปีงบประมาณ 2566 นี้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย จิตใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2561) การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาคนในทุกมิติและทุกช่วงวัยนั้น จะต้องพัฒนาทุกช่วงวัย เพื่อให้การทำหน้าที่บริหารของสมองระดับสูง (Executive Function) ในการบริหารจัดการ และการกำกับ ควบคุม ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของเด็กเยาวชนเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้ ด้วยการบริหารจิตใจ สติ สมาธิ ความคิด จากภายในซึ่งจะเป็นรากฐานของการเป็นคนดี เก่ง มีความสุขและมีคุณภาพของคนๆหนึ่งอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ซึ่งพัฒนาการเป็นพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกให้สังเกตเห็นได้ ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการของสมองและระบบประสาทที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างต่างสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ให้ความรู้ เพิ่มทักษะ ทางด้านสุขภาวะทางกาย ใจ สังคม และปัญญา

1.เด็กเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และสามารถสร้างแนวทางการปฏิบัติร่วมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2.สร้างแนวทางในการปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เหมาะสมในชีวิตประจำวัน

1.เด็กและเยาวชนนำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่น้อยกว่าร้อยละ 90  และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
3 3.พัฒนากิจกรรมจิตอาสาที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม

มีจิตอาสาร่วมทำงานเป็นแกนนำเพิ่มมากขึ้น  กลุ่มเสี่ยงน้อยลง ความสัมพันธ์ในชุมชนดีขึ้น

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เด็กเยาวชนและครอบครัว 80 200
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 64ก.พ. 64มี.ค. 64เม.ย. 64พ.ค. 64มิ.ย. 64ก.ค. 64ส.ค. 64ก.ย. 64ต.ค. 64พ.ย. 64ธ.ค. 64ม.ค. 65ก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 จ่ายค่าค้างชำระงวดที่ 1(1 ม.ค. 2564-10 ม.ค. 2564) 0.00                                                                        
2 เข้าร่วมกิจกรรมกับแผนงานร่วมทุน(15 ก.พ. 2566-15 ก.ย. 2566) 12,600.00                                                                        
3 กิจกรรมที่ ๓ กลุ่มย่อยในพื้นที่ Change Yourself The World Change ประเมินผลรอบแรก(11 ก.ค. 2566-11 ก.ค. 2566) 0.00                                                                        
4 กิจกรรมที่ ๖ สรุปคืนข้อมูล /รับประกาศนียบัตร(14 ก.ย. 2566-14 ก.ย. 2566) 0.00                                                                        
5 กิจกรรมกลุ่มย่อยในพื้นที่(21 มิ.ย. 2566-21 มิ.ย. 2566) 0.00                                                                        
รวม 12,600.00
1 จ่ายค่าค้างชำระงวดที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
1 พ.ย. 66 จ่ายค่าค้างชำระงวดที่ 1 0 0.00 0.00
2 เข้าร่วมกิจกรรมกับแผนงานร่วมทุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 53 12,600.00 4 12,050.00
24 ก.ค. 66 ARE1 3 1,000.00 700.00
29 ส.ค. 66 จัดทำรายงาน 15 4,600.00 3,500.00
31 ต.ค. 66 ARE2 5 2,000.00 2,400.00
1 พ.ย. 66 รับการประเมินโครงการ จากสำนักวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก สสส.โดย ดร.สัญชัย รัตนขวัญ 30 5,000.00 5,450.00
3 กิจกรรมที่ ๓ กลุ่มย่อยในพื้นที่ Change Yourself The World Change ประเมินผลรอบแรก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
4 กิจกรรมที่ ๖ สรุปคืนข้อมูล /รับประกาศนียบัตร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
5 กิจกรรมกลุ่มย่อยในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 0.00 1 0.00
8 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ ๒ (วันที่ ๒) เป้าหมายชัด ชีวิตเปลี่ยน การพัฒนาศักยภาพและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 80 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 280 84,700.00 7 84,700.00
16 พ.ค. 66 - 16 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ ๑ ประชุม จัดทำสำรวจกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่ตำบลชัยบุรี 40 25,800.00 25,800.00
7 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ ๒ อบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะชีวิต หลักสูตร "เป้าหมายชัด ชีวิตเปลี่ยน" 80 52,200.00 52,200.00
21 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมสอบประเมินพฤติกรรม (สอบอารมณ์/การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) 20 1,200.00 1,200.00
18 ก.ค. 66 - 19 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ ๘ นโยบายสาธารณะแบบการมีส่วนร่วมภาคี ( MOU)อบรมเชิงปฏิบัติการ "รักบ้านเกิด เมืองเก่าชัยบุรี : สนับสนุนโดยวนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี 80 0.00 0.00
22 - 23 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ ๗ (ต่อยอด) ประชาสัมพันธ์โครงการ คณะทำงานนำเสนอผลงาน ศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัดห้วยยอด จังหวัดตรัง (สนับสนุนโดยภาคีเครือข่าย) 20 0.00 0.00
25 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ ๕ ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ติดตาม ประเมินผล Chaiburi Youth Inchange) 20 1,200.00 1,200.00
15 ก.ย. 66 กิจกรรมสรุปวิเคราะห์ ประเมินผล คืนข้อมูล 20 4,300.00 4,300.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ในการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
2.เกิดการมีส่วนร่วมการทำงานในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงร่วมกัน 3.ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดจิตสำนึกรักชุมชน มีความสามัคคี
4.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อการให้เยาวชนใช้พื้นที่สร้างงานจิตอาสาร่วมกัน 5.เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 22:15 น.