directions_run

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่4 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

assignment
บันทึกกิจกรรม
คืนดอกเบี้ยใหกับเเผนงานฯ29 มกราคม 2567
29
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Muktar
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คืนดอกเบี้ยใหกับเเผนงานฯ จำนวน 72.09 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนดอกเบี้ยใหกับเเผนงานฯ

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1022 มกราคม 2567
22
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ  ในวันที่ 12 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน ประชุมเพื่อสรุปและปิดโครงการ โดยมีนายดอเลาะ ลาเต๊ะ ประธานโครงการ เป็นผู้รายงานกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาทั้งหมด ดังนี้ โครงการลดปริมาณขยะ ม.4 บ้านคลองช้างได้เริ่มดำเนินการตอนเดือน พฤษภาคม 2566 มีกิจกรรมการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 ซึ่งได้รับความสนใจจากชุมชน จึงมีการจัดตั้งคณะทำงานทั้งหมด 10 คน เพื่อให้กิจกรรมมีความก้าวหน้าและติดตามผลการดำเนินงาน จึงมีการจัดประชุมคณะทำงานมาตลอด พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชน ซึ่วได้รับความสนใจจากตัวแทนครัวเรือน และได้นำคสามรุ้ที่ได้รับไปปรับใช้กับครัวเรือนของตนเอง เกิดกิจกรรมการคัดแยกขยะตามมา นอกจากนี้คณะทำงานยังได้มีการสำรวจข้อมูลปัญหาขยะในพื้นที่ และติดตามบันทึกข้อมูลขยะหลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งพบว่า ปริมาณขยะที่ทิ้งให้อบต.นาเกตุ จัดการ มีปริมาณที่ลดลง อย่างเห็นได้ชัด จากเดิมที่รถเก็บขยะของ อบต.นาเกตุ ได้เก็บขยะในหมู่ที่สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ลดลง เป็นสัปดาห์ละ 2 และปัจจุบันลดลงเหลือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งเป้นการประหยัดงบประมารได้เป็นจำนวนมาก มีกติการชุมชนที่เกิดจากาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ประกาศใช้ทั้งหมู่บ้าน มีจุดพักขยะ จำนวน 2 จุด คือที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ และมัสยิดดารุลอาบีดีน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 14 หลังคาเรือนและชาวบ้านในหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้างให้ความใจและให้ความร่วมมือแยกขยะรีไซเคิลที่มีในครัวเรือนมาให้ที่จุดพักขยะทั้ง 2 จุด เพื่อนำไปขาย สร้างรายได้ให้กับมัสยิด ปัจจุบันมัสยิดดารุลอาบีดีนมีเงินสะสมจากการเก็บขยะขายประมาณ 2 พันกว่าบาทแล้ว กิจกรรมที่ได้ดำเนินการต่ออีกคือการประกวดบ้านคัดแยกขยะดีเด่น โดยคณะทำงานร่วมกับตัวแทนชุมชนได้มีการคัดเลือกบ้านคัดแยกขยะดีเด่น 3 บ้าน ซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชนได้
จากการดำเนินงานโครงการมาตั้งแต่เดือนพฤษาภาคมถึงเดือนมกราคม โครงการได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี ถือเป็นการพัฒนาชุมชน สร้างเสริมพฤติกรรที่ดีให้กับคนชมุชน ส่งเสริมให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี แต่กำเนินงานโครงการก็ยังพบปัฐหาอุปสรรคอยู่ เช่นระยะเวลาเวลาดำเนินโครงการสั้นเกินไป ทำให้ต้องรวบรัดโครงการ การนัดประชุมคณะทำงานบางครั้ง คณะทำงานไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้เนื่องจากติดภารกิจ แต่โดยรวมแล้วโครงการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ต18 มกราคม 2567
18
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการโดยนายดอเลาะ ลาเตะ ประธานโครงการได้มอบหมายให้นางสาวอัยเสาะ บือราเฮง จัดทำเล่มรายงานสรุปกิจกรรมโครงการทั้งหมดและทำรายงานการเงินเพื่อส่งให้ทาง สสส และ อบจ.ปัตตานี ตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนที่จะปิดตัวโครงการต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นางสาวอัยเสาะ บือราเฮง ได้ดำเนินการ จัดทำเล่มรายงานสรุปกิจกรรมโครงการ จำนวน 1 เล่ม และทำรายงานการเงินเพื่อส่งให้ทาง สสส และ อบจ.ปัตตานี  ตรวจสอบความถูกต้อง จำนวน 2 ชุด โดยได้รวมรวมหลักฐานการเบิกจ่ายทั้งหมดตั้งแต่ดำเนินโครงการมา และเพิ่มเติมเอกสารเพื่อความถูกต้อง และการรายงานความก้าวหน้าโครงการในเวบไซด์คนสร้างสุข

ค่าเดินทางเข้าร่วมการอบรมและจัดแสดงนิทรรศการ15 มกราคม 2567
15
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการลดปริมาณขยะ ได้รับหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ไม่เกิน 8 คน ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของโครงการ ณ ห้องประชุม อบจ.ปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการพร้อมด้วยตัวแทนครัวเรือนที่เข้ร่วมโครงการจำนวนทั้งหมด 8 คน เข้าร่วมการอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของโครงการ ณ ห้องประชุม อบจ.ปัตตานี ทางโครงการลดปริมาณขยะได้ร่วมจัดแสดงนิทรรการนำเสนอผลการการดำเนินงาน ร่วมด้วย ในการเดินทางของผู้เข้าร่วม ได้เดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 1 คนเพื่อพาอุปกรณ์การจัดนิทรรศการ และเดินทางโดยรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างต่อด้วยโดยสารประจำทาง จำนวน 7 คน เพื่อเดินทางการเข้าร่วมกิจรรมในครั้งนี้

ค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมการอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้15 มกราคม 2567
15
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการลดปริมาณขยะ ได้รับหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของโครงการ ณ ห้องประชุม อบจ.ปัตตานี และเข้าร่วมการตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นของโครงการย่อยให้สอดคล้องในระบบคนสร้างสุข ในวันที่ 16 มกราคม 2567 ณ กองสาธารณสุข อบจ.ปัตตานี จึงมีความจำเป็นต้องพักโรงแรมจำนวน 1 ห้อง 1 คืน เข้าพัก ณ โรแงรมซีเอส ปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ ชื่อนางมารียานี มะเด็ง ได้เข้าพักที่โรงแรมซีเอสจำนวน 1 คืน เพื่อร่วมจัดแสดงนิทรรศการในวันที่ 15 มกราคม และเข้าร่วมการตรวจเอกสารในวันที่ 16 มกราคม ทำให้สามารถกิจกรรมได้ทั้งสองวัน สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

วัสดุอุปกรณ์ในการจัดแสดงนิทรรศกาล12 มกราคม 2567
12
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ได้สั่งซื้ออุปกรณ์ เพื่อใช้ในจัดแสดงนิทรรศการสรุปโครงการใยัวนที่ 15 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม อบจ.ปัตตานี จำนวนเงิน 569 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ซื้ออุปกรณ์ใช้สำหรับจัดแสดงนิทรรการ จำนวนเงิน 569  บาท จากร้านซาลาซาเครื่องเขียน รายการดังนี้ 1.กระดาษ A4 จำนวน 2 รีมๆละ 155 บาท เป็นเงิน 310 บาท 2.ปากกา จำนวน 7 ด้ามๆละ 7 บาท เป็นเงิน49 บาท 3.ผ้าเทปขยาด 1.5 นิ้ว จำนวน 6 ม้วนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 210 บาท

จัดทำไวนิลสรุปผลการดำเนินงานโครงการ12 มกราคม 2567
12
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการลดปริมาณขยะ ได้รับหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567  ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของโครงการ ณ ห้องประชุม อบจ.ปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการโดยนายดอเลาะ ลาเตะ ได้จัดทำป้ายประกอบการแสดงสรุปปิดโครงการ เพื่อนำเสนอ ณ สถานที่นิทรรศการนำเสนอผลงานของโครงการ โดยได้ป้ายไวนิลเอกซแสตน จำนวน 1 ป้าย ป้ายอื่นๆอีก 3 ป้าย

คณะทำงานร่วมกับตัวแทนหน่วยงานรัฐ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินบ้านแยกขยะดีเด่น8 มกราคม 2567
8
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม และตัวแทนผู้นำชุมชน เพื่อร่วมกันเป็นคณะกรรมการตัดสินครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะดีเด่น ในวันที่ 8 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน และตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน รวมเป็น 15 คนโดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการร่วมกันตัดสินบ้านคัดแยกขยะดีเด่น โดยมีครัวเรือนที่เข้าร่วมการประกวดทั้งหมด 9 บ้าน ดังนี้ 1.ครัวเรือนของนางรอพีอ๊ะ สิงหาด มีการแยกขยะ ดังนี้ ขยะเปียกเอามหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ มีการประดษฐ์โคมไฟจากสิ่งของที่เหลือใช้ 2.ครัวเรือนนายหามะ สามะ ทำอาชีพรับซื้อของเก่าขาย จึงมีการคัดแยกขยะทุกประเภทที่สามารถขายได้ ส่วนขยะเปียกใช้เลี้ยงสัวต์ต่อเนื่องจากที่บ้านมีเลี้ยงเป็ดและไก่ 3.ครัวเรือนของนางสาวพาอีซะห์ ดอเลาะ มีการคัดแยกขยะ ขยะรีไซเคิลบริจาคให้มัสยิด ได้แก่กระดาษลังต่างๆ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว ส่วนขยะเปียกจะใช้เลี้ยงเป็ด เนื่องจากที่บ้านอยู่ติดทุ่งนา จึงทำให้มีบริเวณกว้างใช้เลี้ยงสัตย์ได้ ทำนวัตกรรมจากขยะ คือ ผ้ากันเปื้อนจากกระสอบข้าวสารใช้เวลาชำแหละไก่ เนื่องจากประกอบอาชีพขายไก่สด 4.ครัวเรือนของนางสาวนูรอาซีกีน ดาราหวี มีการคัดแยกขยะ ขยะรีไซเคิลบริจาคให้มัสยิด เช่น ขวดพลาสติก กล่องบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ขยะเปียกกำจัดโดยการทำถังขยะตามที่ได้เรียนรู้จากการอบรมของโครงการ 5.ครัวเรือนของนางสาวฟาซีลา มะเด็ง มีการคัดแยกขยะ ขยะรีไซเคิลบริจาคให้มัสยิด เช่น ขวดพลาสติก กล่องบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ขยะเปียกกำจัดโดยการให้เป็นอาหารสัตย์เลี้ยง 6.ครัวเรือนของนางสาวกูสนี ตูแวบีรู มีการคัดแยกขยะ ขยะรีไซเคิลบริจาคให้มัสยิด เช่น ขวดพลาสติก กล่องบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ขยะเปียกกำจัดโดยการทำถังขยะตามที่ได้เรียนรู้จากการอบรมของโครงการ มีนวัตกรรมคือกระเป๋าจากถุงน้ำยาปรับผ้านุ่มและถุงน้ำยาซักผ้า 7.ครัวเรือนของนางอายเสาะ ยูโซ๊ะ มีการคัดแยกขยะ ขยะรีไซเคิลบริจาคให้มัสยิด เช่น ขวดพลาสติก กล่องบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ขยะเปียกกำจัดโดยการให้อาหารไก่ 8.ครัวเรือนของนายรอสะมิง บือราเฮง มีการคัดแยกขยะ ขยะรีไซเคิลบริจาคให้มัสยิด เช่น ขวดพลาสติก กล่องบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ขยะเปียกกำจัดโดยการทำถังขยะตามที่ได้เรียนรู้จากการอบรมของโครงการ มีนวัตกรรมคือ โมบายต้นเคราฤาษี 9.ครอบครัวของนายอุสมาน หามะ มีการคัดแยกขยะ ขยะรีไซเคิลบริจาคให้มัสยิด เช่น ขวดพลาสติก กล่องบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่างๆ ขยะเปียกกำจัดโดยการให้อาหารเป็ด ผลการตัดสินจากคณะกรรมการจำนวน 15 คน สรุปได้ดังนี้ รางวัลบ้านคัดแยกขยะดีเด่นลำดับที่ 1 ได้แก่บ้านนางรอพีอะ สิงหาด รางวัลบ้านคัดแยกขยะดีเด่นลำดับที่ 2 ได้แก่บ้านนางสาวกูสนี ตูแวบีรู รางวัลบ้านคัดแยกขยะดีเด่นลำดับที่ 3 ได้แก่บ้านนางพาอีซะห์ ดอเลาะ

คณะทำงานร่วมกับตัวแทนหมู่บ้านแลกเปลี่ยนเรียบรู้หมู่บ้านที่มีการจัดการขยะ2 มกราคม 2567
2
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม และตัวแทนครัวเรือนที่มีการจัดการขยะ จำนวน 20 ครัวเรือน เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้านที่มีการจัดการขยะ ในวันที่ 2 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน และตัวแทนครัวเรือนที่มีการจัดการขยะ จำนวน 20 ครัวเรือนโดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี พร้อมด้วยตัวแทนครัวเรือนจำนวน 20 หลังคาเรือน เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานบ้านคัดแยกขยะ ในที่ประชุมได้มีการพูดคุย นายดอเลาะ ลาเตะ ประธานโครงการ ได้สอบถามผู้เข้าร่วมประชุมว่าครัวเรือนมีการคัดแยกขยะใรวิธีการใดบ้าง นารอพิอ๊ะ สิงหาด ได้พูดคัยแลกเปลี่ยนดังนี้ การคัดขยะที่บ้านทำหลายรูปแบบ ที่ชัดเจนคือ การหมักเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เอาไปใช้กับพืชในแปลงที่ทำอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากนางรอพิอ๊ะ เป็นการเกษตรแบบผสมผสาน จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเศษอาหารเหล่านี้ได้อย่างดี และเศษอาหารบางชนิด เช่นข้าวที่เหลือจากการกินหรือบูดเน่าก็เอาไปให้เ็ดที่เลี้ยงไว้ ซึ่งเลี้ยงไว้ไม่เยอะ แต่สามารถลดต้นทุนการซื้ออาหารได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ก็จะเอามาปรับใช้กับที่บ้าน เช่น ฝาตะแกรงพัดลม เอามาทำเป็นที่แขวนต้นเคราฤาษี ระดับบ้านได้อีกด้วย ส่วนขวดน้ำหรือพลาสติกบรรจุภัณฑ์ ตนเองจะเอาให้บริจาคที่จุดพักขยะของ รพสต.นาเกตุ นางสาวมัสรี ดอหนิ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนดังนี้ ตนเองบ้านอยู่ใกล้มัสยิด เวลามีขยะรีไซเคิลก็จะเอาไปไว้ที่จุดพักขยะในมัสยิดเลยทำให้ไม่มีขยะค้างที่บ้านเท่าไหร่ กิจกรรมการแยกขยะจึงไม่เป็นภาระให้กับตนเองมากนัก ส่วนขยะเปียกที่ได้จากเศษอาหารเหลือทิ้งในครัว เนื่องจากตยเลี้ยงไก่ จึงเอาให้ไก่กิน ไม่ได้ทำถังขยะเปียกแต่อย่างใด นอกจากนี้ที่บ้านยังมีขยะอันตรายเช่นพวกหลอดไฟ ถ่านไฟ แบตเอรี่ ตนจะใส่ถุงและให้รถขยะ อบต.เก็บไปจัดการต่อ นายดอเลาะ ลาเตะ ประธานโครงการได้สอบถามว่า ทุกท่านรู้หรือปล่าวว่าขยะอันตราย ทาง อบต.นาเกตุ ยังการยังไงต่อ ในที่ประชุมไม่มีคนทราบว่าขยะอันตรายจัดการอย่างไหร่ นางมารียานี มะเด็ง จึงอธิบายในที่ประชุมว่า ขยะอันตราย เป้นหน้าที่ของทาง อบจ.ปัตตานีที่จะรับไปกำจัดต่อ โดยทาง อบต.นาเกตุ จะส่งขยะอัตรายให้ อบจ.ปัตตานี กำจัด ถ้าบ้านใหนมีขยะอันตรายให้ใส่ถุงต่างหากและนำไปให้เจ้าหน้าเก็บขยะของ อบต.นาเกตุ เพื่อที่ อบต.นาเกตุ จะได้ส่งต่อให้ อบจ.ปัตตานี กำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป หลักจากนั้นในที่ประชุมมีการพูดคุยเรื่องการคัดแยกขยะ สามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้ 1.การกำจัดขยะเปียก ส่วนใหญ่ครัวเรือนจะกำจัดโดยการเทให้อาหารสัตว์ลี้ยง บางบ้านที่ไม่ได้เลี้ยงสัตย์ก็ทำถังขยะเปียก 2.ขยะรีไซเคิล แต่ก่อนชาวบ้านก็ทิ้งขยะรวมทั่วไปโดยไม่มีการคัดแยกขยะมาก่อน แต่หลังจากมีการประชาสัมพันธ์โครงการและดำเนินกิจกรรมรับบริจาคขยะ ก็เริ่มมีการคัดแยกขยะที่สามารีไซเคิลได้ และบริจาคให้มัสยิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาๆ 3.ขยะอันตรายก็ใส่ถุงต่างหากส่งต่อให้ รถ อบต.นาเกตุ รับไปกำจัดต่อ 4.ขยะทั่วไปก็ทิ้งในถังขยะให้เรียบร้อย รอรถเก็บขยะของ อบต.นาเกตุมารับและไปกำจัดต่อ

AREครั้งที่42 มกราคม 2567
2
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย saow8229
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงลงติดตามตามกำหนดการข้อ ทบทวนกิจกรรมผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ และตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และสรุปตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และประเมินความเสี่ยงและความโดดเด่นของโครงการ
และติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณ/ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ขั้นที่4 กรรมการมีความเข้มแข็งดำเนินกิจกรรมได้ เกิดจุดตัวอย่างในการแยกขยะ มีการนำขยะมาใช้ประโยชน์

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานครั้งที่ 91 มกราคม 2567
1
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 1 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ประธานได้มีการชี้แจงกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวันที่ 2 มกราคม 2567 คือการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะจำนวน 20 หลังคาเรือน ซึ่งทางคณะทำงานได้คัดเลือกครัวเรือนที่คัดแยกขยะอย่างดีและครัวเรือนที่มีการคัดแยกเบื้องต้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการปฏิบัติ เพื่อนำองค์ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะไปใช้ต่อไป

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานครั้งที่ 817 ธันวาคม 2566
17
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 17 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ในที่ประชุมได้พูดคุยสอบถามเรื่องที่หารือจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา นายอาสะมี เจีะอะ ได้นำเสนอ ว่ามีการออกไปรับขยะรีไซเคิลจากครัวเรือนมาไว้ที่พักขยะของมัสยิด ซึ่งขยะส่วนใหญ่ที่ได้คือขวดพลาสติก และบรรจุภัณฑ์ต่างๆปริมาณที่ได้ถือว่าเยอะพอสมควร ซึ่งสามารถประเมินได้ว่า ชาวบ้านมีการคัดแยกขยะที่ครัวเรือนจริง และจากการสอบถามถึงปัญหาของการคัดแยกขยะ พบว่า ขยะที่แยกไว้บางครั้งไม่ทันไปบริจาคให้กับมัสยิดเนื่องจากในพื้นที่มีคนเก็บขยะตามบ้านเรือนหรือที่รู้จักกันดี คือ เป๊าะวอ จะคอยตามเก็บและขอขยะรีไซเคิล ชาวบ้านจึงมักจะให้เป๊าะวอ จึงไม่มีขยะรีไซเคิลให้มัสยิดได้ ในที่ประชุม มีการพูดคุยว่า ถ้าเป๊าะวอมาขอขยะ ก็ให่เป๊าะวอไป เนื่องจากขยะที่เป๊าะวอเอาไว้ปลายทางก็คือการรีไซเคิลขยะ ซึ่งเป็นเป้าหมายของโครงการอยู่แล้ว อีกทั้งเป๊าะวอเองก็มีความยากลำบากในชัวิต สามารถประกอบอาชีพได้อย่างเดียวคือ การเก็บขยะขาย การที่ชาวบ้านให้ขยะรีไซเคิลแก่เป๊าะวอก็ถือเป็นการบริจาคอีกรูปแบบหนึ่ง

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 48 ธันวาคม 2566
8
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
นายดอเลาะ ลาเต๊ะ ได้สรุปผลการดำเนินงาน พบว่ามีการดำเนินกิจกรรม เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ โดยพบปัญหาอุปสรรคดังนี้ 1.กิจกรรมขยะแลกบุญ พบว่าขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ชาวบ้านที่มาละหมาดไม่ได้นำขยะรีไซเคิลมาบริจาคให้มัสยิด ทำให้มัสยิดไม่มีขยะขาย จึงมีการหารือใหนที่ประชุมเพื่อแก้ปัญหาการหาขยะรีไซเคิลมาขาย เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินกิจกรรมได้และสร้างจิตสำนึกการคัดแยกขยะให้กับชาวบ้านได้อย่างต่อเนื่อง ที่ประชุม เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และให้คณะทำงานโครงการออกไปรับขยะรีไซเคิลตามบ้านเรือน เนื่องจาก จากการสอบถามถึงปัญหาการนำขยะรีไซเคิลมาบริจาคพบว่า ชาวบ้านที่มาละหมาดมีการเตรียมตัวมาละหมาด อาบน้ำแต่งตัวอย่างดี จึงไม่อยากหิ้วขยะมา กลัวเปื้อนหรือสกปรกจะทำให้ละหมาดไม่ได้

จัดทำบัญชีบันทึกจำนวนขยะและรายได้ที่เกิดจากการขายยขะ จำนวน 140 เล่ม29 พฤศจิกายน 2566
29
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการโดยนายดอเลาะ ลาเตะ ได้มอบหมายให้นางมารียานี มะเด็ง จัดทำบัญชีบันทึกปริมาณขยะของครัวเรือน เพื่อจดบันทึกขยะที่ครัวเรือนได้ทิ้งให้รถของ อบต.นาเกตุ มาเก็บทุกสัปดาห์ และเพื่อบันทึกปริมาณขยะรีไซเคิลที่ได้จากการคัดแยกขยะที่ครัวเรือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นางมารียานี มะเด็งได้ดำนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดทำเอกสารบัญชีบันทึกปริมาณขยะของครัวเรือน จำนวน 140 เล่ม ดังนี้ 1. กระดาษถ่ายเอกสาร 80 แกรม จำนวน 40 รีมๆละ 155 บาท เป็นเงิน 6,200 บาท
2. กระดาษปกการ์ดสีหนา A4 180 แกรม จำนวน 8 ห่อๆละ 75 บาท เป็นเงิน 600 บาท 3. ผ้าเทป ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 30 ม้วนๆละ 44 บาท เป็นเงิน 1,320 บาท 4. ไม้บรรทัดพลาสติดจำนวน 36 อันๆละ 10 บาท เป็นเงิน 360 บาท 5. ที่เย็บกระดาษ No1 จำนวน 12 อันๆละ 88 บาท เป้นเงิน 1.056 บาท 6. ลวดเย็บกระดาษ NO1 จำนวน 24 กล่องๆละ 11 บาท เป็นเงิน 264 บาท

จัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักเพื่อชั่งน้ำหนักขยะก่อนทิ้ง27 พฤศจิกายน 2566
27
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครางการลดปริมาณขยะได้จัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 6 อัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการสามารถนำเครื่อชั่งน้ำหนักไปชั่งน้ำหนักขยะที่ต้องทิ้งลงถังขยะของ อบต.นาเกตุ เพื่อทำบัญชีดูปริมาณขยะ โดยจัดซื้อเครื่องชั่งขยะ จำนวน 6 อันๆละ 1000 บาท เป็นเงิน 6000 บาท จากร้านนูรอีหม่าม

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานครั้งที่ 724 พฤศจิกายน 2566
24
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ  ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ประธานในที่ประชุม ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมประกวดบ้านคัดแยกขยะดีเด่นแลบุคคลต้นแบบคัดแยกขยะ นายอาสะมี เจ๊ะอะ ได้เสนอว่า ขณะนี้ใกล้เส็จสิ้นโครงการแล้ว ยังไม่ได้คัดเลือกบ้านคัดแยกขยะและบุคคลต้นแบบ ควรกำหนดวันที่เพื่อให้คณะทำงานได้เตรียมตัวและร่วมกันประเมินบ้านคัดแยกขยะและบุคคลต้นแบบ นายอัสมาน สือรี ได้เสนอว่า ยังพอมีเวลาเหลืออีก 1 เดือน ให้เวลาครัวเรือนที่เข้าร่วมการประกวดได้เตรียมตัว ประมาณปลายเดือนธันวาคม น่าจะเหมาะสมกว่า นายอะนุวา สาและ เห็นด้วยที่จะมีการประเมินปลายเดือนธันวาคมนี้ ประธานที่ประชุม รับทราบและขยายเวลาการประกวดครัวเรือนกำจัดขยะเป็นปลายเดือนธันวาคมนี้

ARE ร่วมกับพี่เลี้ยงครั้งที่ 310 พฤศจิกายน 2566
10
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงโครงการติดตามการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงลงติดตามการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ เกิดคณะทำงานจัดการขยะ ชุมชนมึความตระหนักคัดแยกขยะ เร่งรัดให้มีการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้ให้เกิดกลไกการติดตามและสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะและให้ประเมินความเสี่ยงและความโดดเด่นของโครงการ

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานติดตามผลการดำเนินงานครั้งที่ 610 พฤศจิกายน 2566
10
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ  ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในเวทีการประชุมสมาชิกได้นำเสนอ นางสารีปะ ลัสสะมะนอ ได้เสนอว่า คณะทำงานได้มีการติดตามชั่งน้ำหนักขยะที่ต้องทิ้งลงถังขยะหมู่บ้าน โดยมีการชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ก่อนที่รถเก็บขยะของ อบต,นาเกตุ จะมารับไป ซึงปกติ อบต.นาเกตุ จำมารับขยะในวันอังคารของแต่ละสัปดาห์ นางสุฮายนี หมะ ได้เสนอว่า จากการเก็บบันทึกข้อมูลพบว่าขยะทั่วไปที่ทิ้งลงถังขยะมีจำนวนลดลงจากเดิมมาก ชาวบ้านให้ความสนใจและมีความตระหนักในการคัดแยกขยะเป็นอย่างดี นางสาวฟาซีลา มะเด็ง ได้เสนอว่า ชาวบ้านที่นอกเหนือกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ก็มีความสนใจจะแยกขยะไปด้วย เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ของโครงการ นายดาโอ๊ะ ตอลี เสนอว่า ถ้ามีโอกาส อนาคตข้างหน้าควรให้ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการทุกหลังคาเรือน ประธานที่ประชุม รับทราบและจะนำเรียนผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่ให้งบประมาณมาจัดโครงการต่อไป

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานติดตามผลการดำเนินงานครั้งที่ 520 ตุลาคม 2566
20
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์มัสยิดดารุลอาบีดีน เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ  ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในเวทีการประชุมสประธานในที่ประชุม ติดตามผลการกำหนดกติกาชุมชน ที่ได้ร่วมกันนำเสนอเมื่อเวทีประชุมครั้งที่แล้ว ได้มา 8 ข้อ สอบถามว่าพบปัญหาอะไรไหม นายสมาน ดือเร๊ะ เสนอว่า มีการติดตั้งป้ายกติกาชุมชนไปแล้ว 2  จุด นายอัสมาน สือรี เสนอว่า ได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเวทีต่างๆอีกด้วย นายลายิ ปูเต๊ะ เสนอ ชาวบ้านบางคนเริ่มปฏิบัติตามกติกาชุมชนที่ตั้งไว้แต่บางคนก็ไม่ได้ปฏบัติตาม จึงขำเสนอให้เพิ่มการประชาสัมพันธ์ในช่องทางอื่นอีกด้วย เพื่อให้ชาวบ้านได้รับทราบถึงกติกาชุมชนที่ตั้งไว้

ทำจุดพักขยะรีไซเคิล จำนวน 2 จุด16 ตุลาคม 2566
16
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำจุดพักขยะรีไซเคิลจำนวน 2 จุด โดยกำหนดจุดที่ 1 คือ มัสยิดดารุลอาบีดีน จุดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดกิจกรรมขยะแลกบุญ โดยชาวบ้านในชุมชนได้พาขยะที่สามารถรีไซเคิลได้มาบริจาคให้มัสยิดเพื่อขายให้กับผู้ที่รับซื้อของเก่า เป็นรายได้เข้ามัสยิด ส่งเสริมให้ประชาชนแยกขยะที่ครัวเรือนมากขึ้นและเห็นความสำคัญของการแยกขยะ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 316 ตุลาคม 2566
16
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ  ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และคณะทำงานมีการประชุมหารือประธานในที่ประชุม เสนอให้คณะทำงานประชาสัมพันธ์คัดเลือกบ้านจัดการขยะดีเด่นโดยพิจารณาบ้านตัวอย่างจำนวน 8 แปด และบุคคลตัวอย่างเรื่องการจัดการขยะครัวเรือนจำนวน 2 คนนายประสพพร สังข์ทอง เสนอให้คณะทำงานเสนอชื่อบ้านที่มีความพร้อม ที่ผ่านการพิจารณาอย่างคร่าวๆ มาก่อน
นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย เสนอบ้านมิสรี สือรี เนื่องจากเห็นมีการทำถึงขยะหมักขยะและสามารถใช้งานได้จริง นายอะนุวา สาและ เสนอบ้านมะยูโซ๊ะ เนื่องจากมีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี
นายสาวสารีป๊ะ ลัสสะมะนอ เสนอให้ที่ประชุม/คณะทำงาน ลงไปดูที่บ้านของชาวบ้านี่มีการจัดการขยะ และค่อยนำเสนออีกครั้ง มติที่ประชุม..รับทราบการลงพื้นที่เพื่อดูการจัดการขยะที่ครัวเรือนอีกครั้ง

ประชุมคณะทำงานและผู้นำชุมชน เพื่อกำหนดกติกาชุมชน2 ตุลาคม 2566
2
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน และผุ้นำชุมชน ตัวแทนหมู่บ้านจำนวน 10 คน รวมเป็น 20 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา และดำเนินการกำหนดกติกาชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน และผุ้นำชุมชน ตัวแทนหมู่บ้านจำนวน 10 คน ได้ร่วมกัน กำหนดกติกาชุมชน โดยสรุปได้ดังนี้ กติกาชุมชน 1.การเก็บรวบรวมขยะรีไซเคิลสร้างบุญ ให้มัสยิดทุกวันศุกร์ 2.ทุกครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ก่อนทิ้งทุกครั้ง 3.ผู้นำชุมชน/คณะกรรมการมัสยิด/ คณะกรรมการโครงการเป็นต้นแบบการคัดแยกขยะ 4.คนคลองช้างไม่ทิ้งขยะตามถนนทางและที่สาธารณะ 5.รายได้จากการจำหน่ายขยะรีไซเคิล มอบให้มัสยิด 6.มีป้ายแจ้งเตือนเขตปลอดขยะ 7.มีจุดพักขยะรีไซเคิล จุดแสดงตังอย่างการคัดแยกขยะ 8.หลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก มีการใช้ถุงผ้าแทน

อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามโครงการย่อย AER ครั้งที่ 1/256625 กันยายน 2566
25
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการได้รับหนังสือเชิญเข้าร่วมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โรงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 จากแผนงานร่วมทุนสนัสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ตามหนังสือ เลขที่ ปน51006/ว92 ลงวันที่ 6 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์คอินทาวน์ อำเอภเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันที 25 กันยายน 2566

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการลดปริมาณขยะ จำนวน 2 คน คือนายดอเลาะ ลาเตะ และนางมารียานี มะเด็ง ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามหนังสือเชิญ ในวันและเวลาดังกล่าว โดยในเวทีการประชุมได้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเข้ากลุ่มย่อยเพื่อเรียนรู้ขั้นตอนการจัดทำเอกสารต่างๆ มีดังนี้ 1.การบันทึกข้อมูลในเวบคนใต้สร้างสุข 2.การจัดทำรายงานการเงิน 3.การจัดทำบันใดผลลัพธ์ให้สามารถตอบโจทย์โครงการ

จากการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว คณะทำงานโครงการลดปริมารขยะ ได้มีความรุ้ความเข้าในขั้นตอนต่างๆเป็นอย่างดี

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 422 กันยายน 2566
22
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 22 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ  ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จากเวทีการประชุมนำเสนอปัญหาจากการดำเนินงานกิจกรรมขยะแลกบุญยังไม่ได้รับความสนใจหรือความร่วมมือจากคนชุมชนมากนัก  พบว่าคนที่ขยะแลกบุญมาส่วนใหญ่ เป็นคนเฒ่าคนแก่มากกว่า เรื่องนี้ไม่ได้รับความร่วมมือจากวัยทำงานหรือวัยรุ่นมากนัก นายสมาน ดือเร๊ะ เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์มากขึ้นในกลุ่มวัยทำงานหรือวัยรุ่น เนื่องจาก 2 วัยนี้ยังไม่ได้มาละหมาดที่มัสยิดบ่อยครั้งเท่ากับคนแก่ จึงอาจจะยังไม่ทราบกิจกรรมของโครงการที่ได้ดำเนินการไป นายอัสมาน สือรี จึงเสนอ ให้มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านร่วมด้วย นายลายิ ปูเต๊ะ เสนอให้ติดป้าย 2 จุด ทางเข้าหมู่ และ ทางแยกไป อบต ผลการประชุม ประธานโครงการรับทราบและแจ้งนางมารียานี มะเด็งให้ดำเนินการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการเพิ่มเติม

อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน20 กันยายน 2566
20
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการดังนี้ 1.ออกหนังสือ เชิญกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนจัดการขยะ เพื่อจัดกิจกรรมอบรมให้ความรุ้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยมีกลุ่มเป้ายทั้งหมด 140 หลังคาเรือน จัดขึ้นในวันที่ 20 กันยายน 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์มัสยิดดารุลอาบีดีน
2. ออกหนังสือเชิญคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน เข้าร่วมการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรุ้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน 3.ซื้อวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการสาธิตการทำถังขยะเปียกเพื่อใช้ในครัวเรือน 4.เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการคัดแยกขยะในพื้นที่ คือ นายประสพพร สังข์ทอง ผอ.รพ.สต.นาเกตุ มาให้ความรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรุู้มีตัวแทนครัวเรือนจำนวน 140 คนและคณะทำงานจำวน 10 คน เข้าร่วมการอบรมให้ความเรื่องการจัดการขยะที่ครัวเรือน เปิดกิจกรรมอบรมให้ความรู้โดยประธานโครงการ นายดอเลาะ ลาเตะ และกล่าวปิดโครงการโดยนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  4 บรรยายให้ความรู้ โดยวิทยากร นายประสพพร สังข์ทอง หัวข้อแรกคือสถานการณ์ปัญหาขยะในืพน้ที่  หัวข้อที่ 2 คือ ประเภทของขยะ หัวข้อที่ 3 คือ การจัดการขยะแต่ละประเภท และหัวข้อที่ 4 สาธิตการทำถังขยะเปียก(ถังกรีนโคน) เพื่อใช้กำจัดขยะเปียกในครัวเรือน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความกระตือรื้อร้น และให้ความสนใจในเนื้อหาที่วิทยากรบรรยายเป็นอย่างมาก และได้สอบถามขั้นการทำถังขยะเปียกเพื่อให้สามารถทำไปทำที่บ้านได้ โดยตัวอย่างถังขยะเปียก สามารถไปดูได้ที่จุดสาธิตที่มัสยิดและที่ รพสต. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ  มีความรู้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะ และสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 84

ARE พี่เลี้ยงโครงการ ครั้งที่ 226 สิงหาคม 2566
26
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พี่เลี้ยงโครงการติดตามการดำเนินงานโครงการทบทวนบันไดผลผลัพธ์/กำหนดประเด็นการติดตาม ร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมวางแผนการดำเนินงานต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เร่งรัดให้มีการดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ และการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 325 สิงหาคม 2566
25
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์มัสยิดดารุลอาบีดีน เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ  ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา จากกการประชุมประธานในที่ประชุม นำเสนอให้เลื่อนการจัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ จำนวน 140 ครัว จากเดิมที่ตั้งไว้วันที่ 20 กันยายน 2566 เป็นไปอีก 1 สัปดาห์ เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำนา ประธานกังวลว่าจะไม่มีผู้เข้าร่วมการอบรมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นายอานุวา สาและ ผุ้ใหญ่บ้าน เสนอให้ ให้คงไว้เหมือนเดิม เนื่องวันที่ได้ประชาสัมพันธ์ชาวบ้านบางส่วนไว้แล้ว ถ้าเลื่อนเกรงว่าจะมีปัญหาตามมา นายปราะสพพร สังข์ทอง ผอ.สต.นาเกตุ เห็นด้วยที่จัดไว้ตามกำหนดการเดิม เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 140 ครัวเรือนได้รับทราบแล้ว ว่าจะมีการรบรมให้ความรู้ และตั้งใจที่เข้าร่วมกิจกรรม
นางมารียานี มะเด็ง เสนอว่า ถ้าเลื่อนการอบรม จะให้โครงการทำเกิดความล่าช้าไปอีก จะไม่สามารถปิดโครงการได้ทันตามที่กำหนด มติที่ประชุมจึงสรุปคงการจัดอบรมตามที่ได้กำหนดไว้เหมือนเดิม

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 215 สิงหาคม 2566
15
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในเวทีการประชุมสมาชิกได้นำเสนอปัญหาที่เจ้าหน้าที่ของ อบต.นาเกตุได้สะท้อนมาว่า ชาวบ้านไม่มีการแยกขยะเปียกกับขยะทั่วไป มักจะเทรวมลงไปในถังขยะทั่วของ อบต.จึงให้ส่งกลิ่นเหม็นเน่าออกมา และเป็นบ่อเกิดของพาหะนำโรคหลายชนิด คณะทำงานจึงมีการประชุมร่วมกัน เสนอให้มีการพูดคุยในเวทีของการบรรยายธรรมของมัสยิดร่วมด้วย เพื่อให้ชาวบ้านได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมกันแก้ไขปัญหา

จัดทำตราปั้มโครงการและเลขที่โครงการ13 สิงหาคม 2566
13
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ได้สั่งทำตราปั้มข้อความ "แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี (อบจ.ปัตตานี) ถนนเดชา ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 0994000596383 และ ตราปั้มข้อความ "65-P1-0068-007 เพื่อใช้ในการทำเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินโครงการ โดยสั่งจากที่ร้านมะแอดเวอร์ไทซิ่ง ราคา 535 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีตราปั้มจำนวน 2 อัน ใช้สำหรับการปั้มลงในเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินโครงการในรายการต่างๆ ซึ่งทำให้การทำเอกสารมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

ถอนเงินเพื่อคืนค่าเปิดบัญชี12 สิงหาคม 2566
12
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการ ดำเนินการถอนเงินงวดที่ 1 จำนวน 500 บาท โดยไปถอนที่ธนาคารกรุงไทยสาขาบิ้กซีปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนเงินค่าเปิดบัญชีจำนวน 500 บาทให้นางมารียานี มะเด็ง

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 24 สิงหาคม 2566
4
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์มัสยิดดารุลอาบีดีน เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ  ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยกิจกรรมล่าสุดที่ได้ดำเนินการคือ การรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการจำนวน 140 หลังคาเรือน ซึ่งผลการดำเนินกิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดี กิจกรรมต่อไปที่จะดำเนินการคือ ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านช่องทางต่างๆเพื่อให้ชุมชนได้รับทราบและปฏิบัติตามแนวทางของโครงการที่ได้ตั้งไว้

รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ25 กรกฎาคม 2566
25
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานร่วมกันรับสมัครคัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีครัวเรือนสนใจเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 140 ครัวเรือน

รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการกิจกรรมบ้านคัดแยกขยะ25 กรกฎาคม 2566
25
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ ม.4 บ้านคลองช้าง ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการส่งหนังสือเชิญคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรมรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการลดปริมาณขยะและเชิญกลุ่มเป้าหมายจำนวน 140 ครัวเรือน เพื่อมาสมัครเข้าร่วมโครงการและเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์มัสยิดดารุลอาบีดีน เวลา 08.00 น. ถึง 15.30 น.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี ดำเนินการรับสมัครครัวเรือนเพื่อเข้าร่วมโครงการจำนวน 14 หลังคาเรือน ผลการรับสมัคร พบว่าตัวแทนครัวเรือนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก แต่ทางโครงการได้คัดเลือกให้เป็นเป้าหมายของโครงการจำนวน 140 หลังคารเรือน ส่วนครัวเรือนที่นอกเหรือ 140 หลังคาเรือนที่เป็นเป้าหมายสามารถเข้าร่วมร่วมกิจกรรมของโครงการได้แต่ไม่นับเป็นเป้าหมายติดตามผลการดำเนินงาน กิจกรรมการรับสมัครบ้านที่เข้าร่วมโครงการเสร็จสิ้นเรียบร้อย มีการกำหนดวันจัดกิจกรรมให้ความรู้ในวันที่ 20 กันยายน 2566 จึงนัดหมายให้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมารับฟังการให้ความรู้เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 114 กรกฎาคม 2566
14
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ดำเนินการออกหนังสือ เชิญคณะทำงานร่วมประชุม เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์มัสยิดดารุลอาบีดีน เวลา 09.00-14.00 น.กลุ่มเป้ามหายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน โดยมีนายดอเลาะ ลาเตะ เป็นผู้รายงานดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาานโครงการจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย นายอัสมาน สือรี,นายมะปีเยาะ สาและบู,นายอาแว ดือเระ,นางสาวสารีปะ ลัสสะมะนอ,นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย,นางสุฮายนี หมะ,นายอะนุวา สาและ,นายอาสะมี เจ๊ะอะ,นายนุรดีน มะดีเยาะ,และนายดาโอ๊ะ ตอลี โดยมีนายอะนุวา สาและ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง เปิดประชุม และหัวหน้าโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การจัดป้ายโครงการจำนวน 1 แผ่น ป้ายปลอดเหล้าและบุหรี่จำนวน 1 ป้าย ราคา 1,000 บาท และจัดทำตรายางจำนวน 1 ชุดราคา 535 บาท และกิจกรรมจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะในพื้นที่มีข้อมูลชนิดและปริมาณขยะที่มีอยู่ในหมู่บ้าน การจัดแผนการดำเนินงานโครงการ กำหนดวันปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพื่อการดำเนินงานมีความต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนปิดการประชุม ได้มีการนำเสนอให้กำหนดวันจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 14 หลังคาเรือนในวันที่ 20 กันยายน 2566

ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติงาน3 กรกฎาคม 2566
3
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นางเสาวลักษณ์ ศรเรือง พี่เลี้ยงโครงการได้ลงติดตามความก้าวหน้าโครงการกับคณะทำงานจำนวน 10 คน ประกอบไปด้วย 1.นายหามะ ดือเระ 2.นายอาสะมี เจ๊ะอะ 3.นายสะปีเยาะ สาและบู 4.นายอับดุลเล๊าะ เหมพิทักษ์ 5.นายดาโอ๊ะ ตอลี 6.นายประสพพร สังข์ทอง 7.นางสารีป๊ะ ลัสสะมะนอ 8.นายอัสมาน สือรี 9.นายอะนุวา สาและ 10.นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย โดยพี่เลี้ยงได้สอบถามความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมโครงการ พร้อมทั้งได้ติดตามตามบรรไดผลลัพท์ที่ตั้งไว้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการจำนวน 10 คนได้ประชุมจัดแผนปฏิบัติงาน โดยได้กำหนดปฏิทินการดำเนินงานดังนี้ 1.ประชุมคณะทำงานจำนวน 4 ครั้ง 13 มิถุนายน,15 สิงหาคม,16 ตุลาคม และ 8 ธนวาคม 2.รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมบ้านคัดแยกขยะวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 3.การประชุมเพื่อกำหนดกติกาชุมชน ในวันที่ 2 และ 15 ตุลาคม 2566 4.การประชุมคณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน วันที่ 14 กรกฎาคม 2566, 4 สิงหาคม 2566, 25 สิงหาคม 2566, 22 กันยายน 2566, 20 ตุลาคม 2566, 10 พฤศจิกายน 2566, 24 พฤศจิกายน 2566 , 17 ธันวาคม 2566, 1 มกราคม 2567 และ12 มกราคม 2567 5.กิจกรรมการจัดทำบัญชีขยะ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 6.กิจกรรมประกวดบ้านคัดแยกจขยะดีเด่น วันที่ 2,8 มกราคม 2567

สำรวจสถานการณ์ปัญหา ปริมาณ ชนิด และการคัดแยกขยะแต่ละประเภท27 มิถุนายน 2566
27
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน สำรวจสถานการณ์ปัญหาขยะที่มีอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านคลองช้าง ตำบลนาเกตุ โดยได้ลงสอบถามครัวเรือน และสังเกตุขยะที่มีอยู่ตามบ้านเรือน โดยปฏิบัติจำนวน 2 วัน ใช้แบบบันทึกปริมาณขยะในชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป้นความจริงมากที่สุด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถานการณ์ปัญหาขยะในพื้นที่ มีขยะตามบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก เป็นขยะที่รถรถ อบต.มาเก็บ และขยะที่เตรียมเผา สามาถจำแนกขยะได้ดังนี้ 1.ขยะเปียก มีปริมาณขยะจำนวน 20% จากขยะที่มีอยู่ในพื้นที่ ส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านจะกำจัดขยะเปียกโดยให้เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงเช่นไก่ เป็ด จำนวนหนึ่งจะถุกทิ้งลงถังขยะเช่นเปลือกผลไม้ชนิด คือเปลือกทุเรียน เปลือก,กะลามะพร้าวซึ่งมีน้ำหนักเยอะ ชาวบ้านไม่มีที่กำจัดจึงทิ้งลงถังขยะของ อบต. 2.ขยะทั่วไป มีจำนวนมากที่สุด ประกอบไปด้วย ถุงพลาสติก ถุงขนม  ถุงใส่แกง ซึ่งมีปริมาณมากถึงร้อยละ 50 ของขยะ ทั้งหมด ขยะทั่วไปนี้ชาวบ้านจะทิ้งลงถังขยะของ อบต. บางส่วนก็กองอยู่เตียมเผา
3.ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ประกอบไปด้วย กระดาษ ลัง กลอ่งใส่ของต่างๆ พลาสติดแข็ง มีปริมาณ 30% ของขยะทั้งหมด ชาวบ้านยังไม่มีความรู้เรื่องการจัดการขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ จึงทำให้ทิ้งลงถังขยะ ทำให้ถังขยะของ อบต.มีปริมาณขยะที่เยอะมากขึ้น 4.ขยะอันตราย ประกอบไปด้วย ถ่านไฟ หลอดไฟ ภาชนะที่ใส่สารเคมีต่างๆ ชาวบ้านไม่มีที่ทิ้งขยะเหล่านี้ จึงทิ้งลงถังขยะของ อบต.ไปด้วย

ประชุมครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการ13 มิถุนายน 2566
13
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ๅ.คณะทำงานโครงการร่วมกำหนดวันจัดประชุมและสถานที่ 2.เชิญผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และตัวแทนหมู่บ้านประชมุ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ เพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ 3.ชี้แจงโครงการให้ผู้เข้าร่วมประชุม 4.ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอแนะโครงการ
5.แต่งตั้งคณะทำงานจำนวน 11 คน เพื่อติดตามโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานประกอบไปด้วยผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ตัวแทนหมู่บ้าน จำนวนทั้งหมด 10 คือ ดังนี้1.นายอะนุวา สาและ
2.นายดาโอ๊ะ ตอลี
3.นายอาสะมี เจ๊ะอะ
4.นายสมาน ดือเระ
5.นายอัสมาน สือรี
6.นางสุฮายนี หมะ
7.นางเจ๊ะรอหะนี บ่อเตย
8.นางสารีปะ ลัสสะมะนอ
9.นายนูรดีน มะดีเยาะ
10.นายสะปีเยาะ สาและบู
คณะทำงานทุดคนมีความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงานและวัตถุประสงค์โครงการลดปริมาณขยะของหมู่ 4 บ้านคลองช้าง และมีความมยินดีเข้าร่วมเป็นคณะทำงานของโครงการ มีการนัดหมายการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือน

จัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ ผ้ายชื่อโครงการ ป้ายบันใดผลลัพธ์6 มิถุนายน 2566
6
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายโครงการและป้ายสัญลักษณ์สถานที่ปลอดเหล้าและแอลกอฮอล์ ที่้ร้านศิริศิลป์ จำนวนทั้งหมด 2 ป้าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีป้ายโครงการขนาด 120240 ซม จำนวน 1 แผ่น และป้ายสัญลักษร์สถานที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์ ขนาด 50150 ซม จำนวน 1 ด้าน

เวทีปฐมนิเทศน์และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโครงการ6 มิถุนายน 2566
6
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย mareeyaneemadeng
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่  6 มิถุนายน 2566
๐๘.3๐ - ๐9.0๐ น. ลงทะเบียน ๐๙.๐๐ - ๐๙.30 น. พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี) และกล่าวรายงานโดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข
๐๙.30 - ๑๐.๓๐ น. รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ๑๐.๓๐ - ๑๐.๔0 น. รับประทานอาหารว่าง ๑๐.๔0 - ๑๒.0๐ น. รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" (ต่อ) โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ๑๒.0๐ - ๑๓.0๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.0๐ - ๑๔.0๐ น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การวางแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมที่โครงการย่อย” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร
กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร  วายา
กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล  นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร  บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร  บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค  กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา  ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี  ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี  รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ  มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ  หวังกุหลำ


กลุ่มที่ 11....

  • 2 –

    กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์  ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ  อาลี
    กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม  ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์  นวลดี ๑๔.0๐ - ๑๔.15 น. รับประทานอาหารว่าง ๑๔.1๕ - ๑6.30 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การออกแบบเก็บข้อมูลและกำหนดกิจกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และทีมผู้ช่วยวิทยากร
    กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร  วายา
    กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล  นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร  บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร  บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค  กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา  ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี  ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี  รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ  มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ  หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์  ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ  อาลี
    กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม  ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์  นวลดี วันที่  7  มิถุนายน 2566
    ๐8.30 - ๑๐.๓๐ น. รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร
    ๑๐.๓๐ - ๑๐.๔0 น. รับประทานอาหารว่าง ๑๐.๔0 - ๑๒.0๐ น. รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” และถาม - ตอบ เกี่ยวกับการเงิน โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร
    ๑๒.0๐ - ๑๓.0๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.0๐ - ๑๔.๓๐ น. รับฟังการบรรยาย ในหัวข้อ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯและการรายงานกิจกรรม” และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล และทีมผู้ช่วยวิทยากร


    กลุ่มที่ 1...


  • 3 –

กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร  วายา
กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล  นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร  บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร  บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค  กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา  ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี  ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี  รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ  มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ  หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์  ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ  อาลี
กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม  ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์  นวลดี ๑๔.๓๐ - ๑๔.๔0 น. รับประทานอาหารว่าง ๑๔.๔0 - ๑6.3๐ น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯ
และการรายงานกิจกรรม”(ต่อ) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร
และทีมผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร  วายา
กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล  นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร  บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร  บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค  กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา  ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี  ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี  รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ  มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ  หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์  ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ  อาลี
กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม  ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์  นวลดี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นางมารียานี มะเด็ง คณะทำงานโครงการ เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าในกระบวนการขั้นตอนการดำเนินโครงการ จัดทำแผนการดำเนินงาน  สามารถบันทึกโครงการลงในโปรแกรมคนสร้างสุขได้ และเรียนรุ้เรื่องการจัดทำรายงานการเงิน