directions_run

โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่4 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดปริมาณขยะ บ้านคลองช้าง หมู่4 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-007
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 97,420.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดอเลาะ ลาเต๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0862973639
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ acute_ka3@hotmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางเสาวลักษณ์ ศรเรือง
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.737307,101.15518place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 77,936.00
2 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 19,484.00
รวมงบประมาณ 97,420.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ 1.สภาพทางภูมิศาสตร์ บ้านคลองช้าง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ทั้งหมด 4.8 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน…1,982….คน มีครัวเรือนทั้งหมด 415 ครัวเรือน ถือเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับ1 ของตำบลนาเกตุ หมู่บ้านคลองช้าง เป็นหมู่บ้านชนบท มีถนนตัดผ่านหมู่บ้านจำนวน 2 เส้นทาง เป็นเส้นทางหลักที่ใช้สัญจรของคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ เนื่องจากเป็นถนนที่สามารถเชื่อมต่อกับตำบลอื่น และเป็นเส้นทางไปสู่จังหวัดยะลาอีกด้วย ทำให้มีรถพลุกพล่าน ลักษณะหมู่บ้านจะเป็นแนวยาวไปตามถนน บางจุดบ้านเรือนจะจุกตัวแน่นหนา บางจุดบ้านเรือนกระจายตามพื้นที่ สามารถแบ่งโซนหมู่บ้านออกเป็น 3 โซน คือโซนต้นหมู่บ้าน โซนกลางหมู่บ้าน และโซนปลายหมู่บ้าน วิถีชีวิตของคนในชุมชน จะมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 80 รองลงมา คือรับจ้าง ทั้งรับจ้างภายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน ส่วนน้อยประกอบอาชีพค้าขายและออกไปทำงานรับจ้างที่ประเทศมาเลเซีย รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 5,000 บาท หมู่ที่ 4  บ้านคลองช้างเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการ 2 หน่วยคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกตุ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ และมีสถานที่สำคัญในชุมชน ดังนี้ 1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง 2.ตาดีกา จำนวน 1 แห่ง 3.โรงเรียนกีรออาตี จำนวน 2 แห่ง 4.โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ระดับมัธยม) จำนวน 1 โรง 5.โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ระดับประถม) จำนวน 1 โรง 6.สถาบันศึกกรุอาน จำนวน 2 แห่ง 7.มัสยิด จำนวน 1 แห่ง 8.บาลาเซาะห์ จำนวน 1 แห่ง ร้านค้า สถานประกอบการดังนี้ 1.ตลาดจำนวน 2 แห่ง 2.ร้านขายอาหาร จำนวน 6 ร้าน 3.ร้านขายของชำ สินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 4 ร้าน 4.โรงงานผลิตน้ำดื่ม จำนวน 1 โรง 5.ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง จำนวน 1 ร้าน 2.ข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน จากการเก็บข้อมูลขยะในชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง พบว่า ในแต่ละครัวเรือนมีปริมาณขยะเฉลี่ยประมาณ 30 กิโลกรัม/เดือน ประเภทขยะที่พบ คือ ขยะแห้ง ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์    ขยะอันตราย ประเภทขยะที่พบ ขยะแห้ง/ขยะทั่วไป (ถุงพลาสติก,กระดาษ,กล่องโฟม,ผ้าอ้อมเด็กที่ใช้แล้ว) เป็นร้อยละ 39
    /ขยะเปียก… ขยะเปียก / ขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร,เปลือกผลไม้) คิดเป็นร้อยละ 45 ขยะรีไซเคิล (กล่อง หรือกระปุกพลาสติก ขวดแก้ว ขวดน้ำพลาสติก อะลูมีเนียม) คิดเป็นร้อยละ 12 และขยะอันตราย (หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ) คิดเป็น ร้อยละ 4 ทำให้เกิดขยะชุมชนต่อเดือนเป็นจำนวนมาก  องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงานจัดการขยะประมาณ 130,000 บาทต่อปี (องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ,2565) และคาดการณ์ว่าจะต้องเพิ่มงบประมาณมากขึ้นทุกปี  องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุได้กำหนดวันเวลาเก็บยะในหมู่ที่ 4 คือทุกเช้าวันอังคารเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเก็บเพิ่มในเช้าวันศุกร์ร่วมด้วย โดยเก็บขยะที่ประชาชนมาถึงที่ถังขยะ ของอบต.ซึ่งได้ตั้งไว้ริมถนนสายหลักของหมู่บ้าน เกือบจะทุกครัวเรือนที่มีบ้านติดถนนหลัก ส่วนบ้านที่เข้าซอยหรืออยู่ข้างใน ประชาชนจะนำขยะออกมาทิ้งที่จุดรับขยะแต่ส่วนใหญ่กำจัดขยะโดยการเผาเสียมากกว่าทำให้เกิดมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม จากข้อมูลดังกล่าวมีแนวโน้มว่าขยะจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากพฤติกรรมการทิ้งขยะของคนในหมู่บานเป็นสาเหตุหลัก ทำให้เกิดปัญหาขยะปริมาณมากส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของชาวบ้านทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วย ขยะยังเป็นแหล่งกำเนิดของพาหนะนำโรคโดยเฉพาะแมลงวัน ยุง หนู แมลงหวี่ อีกครั้งปัญหาขยะยังส่งผลด้านเศรษฐกิจ สังคมตามมาด้วย จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา จำแนกออกได้ดังนี้ 1.ด้านพฤติกรรม
1.ประชาชนขาดจิตสำนึก และความตระหนักในการจัดการขยะ ทำให้ไม่มีการแยกขยะก่อนทิ้ง
2.ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจการคัดแยกขยะ ไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง 3.ประชาชนมีวิถีชีวิตเคยชินกับความสะดวกสบาย ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วทิ้งและไม่นิยมกลับมาใช้ซ้ำเนื่องจากไม่สวยงามและยุ่งยากในการทำความสะอาดและเก็บรักษา 4.ขาดแบบอย่าง,หรือต้นแบบที่ดี ในการแยกขยะ ทำให้เด็กหรือเยาวชนไม่มีความสนใจในการแยกขยะ 2.สภาพแวดล้อมทางสังคม 1.สังคมบริโภคนิยมเน้นความสวยงามของบรรจุภัณฑ์หรือความสะดวกสบาย ส่งเสริมการบริโภคและสร้างขยะเป็นจำนวนมาก 2.ชุมชนบ้านคลองช้างมักมีการรวมกลุ่ม ทำกิจกรรมเป็นประจำ ทำให้เป็นแหล่งกำเนิดของขยะได้ เช่น ตลาดนัด กิจกรรมกีฬาหมู่บ้าน กิจกรรมกวนอาซูรอ กิจกรรมบรรยายธรรม กิจกรรมเฉลิมฉลองวันตรุษอีดิ้ลฟิตรีและอีดิ้ลอัฏฮาร์
3.สภาพแวดล้อมด้านกายภาพ 1.ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านมีถนนเส้นหลักผ่านหมู่บ้าน ทำให้มีรถสัญจรจำนวนมาก มีการทิ้งขยะระหว่างทาง 2.ประชาชนอาศัยเป็นจำนวนมาก บางจุดมีบ้านเรือนแน่นหนา
ทำให้ปริมาณขยะจำนวนมาก 3.มีตลาด ร้านค้า หรือแหล่งจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดขยะจำนวนมากตามไปด้วย 4.มีโรงเรียน สถาบันสอนหนังสือ จำนวนหลายแห่ง ทำให้มีการรวมกลุ่มของเยาวชนจำนวนมากส่งผลให้มีการบริโภคและอุปโภคมากขึ้นตามไปด้วย


/4.กลไกระบบ… 4.กลไกระบบที่เกี่ยวข้อง 1.ขาดการรวมกลุ่มดำเนินงานจัดการขยะในพื้นที่ 2.ขาดแนวปฏิบัติร่วมกันหรือมาตรการทางสังคม ที่จะทำให้ชาวบ้านปฏิบัติตามข้อตกลง 3.ขาดหน่วยงานราชการที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานจัดการขยะที่ดีในพื้นที่ ไม่มีความต่อเนื่องในการจัดการขยะ

1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหา
จากสถานการณ์ปัญหาขยะในพื้นที่และการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาจะเห็นได้การแก้ไขปัญหาขยะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากบ่อเกิดของขยะร้อยละ 90 เกิดจากตัวประชาชนเอง และต้องใช้ความต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการแก้ไขในระยะยาว แนวทางการจัดการขยะสามารถทำได้ ดังนี้ 1.มีกลุ่มหรือคณะทำงานจัดการปัญหาขยะ ที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐ เอกนชนและชาวบ้าน 2.ส่งเสริมความรู้ ติดอาวุธทางปัญญาให้ชาวบ้านรู้จักวิธีการจัดการหรือคัดแยกขยะ 3.สร้างความตระหนักและชี้ให้ประชาชนเห็นถึงประโยชน์ของการจัดการขยะ 4.มีข้อตกลงหรือกติกาชุมชนร่วมกัน ให้ประชาชนสามารถปฏิบัติได้เพื่อลดประมาณขยะในชุมชน 5.มีการติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ นอกจากนี้สิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินจัดการขยะในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของชุมชน ดังนี้ 1.ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีผู้นำที่ชาวบ้านให้การยอมรับและพร้อมที่สนับสนุนการดำเนินงานหรือกิจกรรมในพื้นที่
2.มีโรงเรียนที่เป็นแหล่งบ่มเพาะวิชาความรู้ให้กับลูกหลานในพื้นที่ ทำให้เยาวชนเข้าถึงการศึกษาทั้งทางด้านสามัญและศาสนาควบคู่กัน สามารถบูรณาการการจัดการขยะเข้าในวิชาเรียนได้ 3.มีมัสยิดถือเป็นศูนย์กลางของคนในชุมชน เป็นที่รวมกลุ่มของทุกช่วงวัย เป็นเวทีให้การปรึกษาหารือและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ 4.มีหน่วยงานภาครัฐ ที่พร้อมสนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ และทรัพยากรบุคคลเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่

1.3 ประโยชน์ของโครงการต่อการสร้างเสริมสุขภาพ โครงการลดปริมาณขยะหมู่ที่ 4 บ้านคลองช้าง ตำบลนาเกตุ จะเป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชนเป็นอย่างมาก ทำให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ ทำให้เกิดพฤติกรรมจัดการขยะที่ดี และได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงเช่น มีรายได้เพิ่มจากขยะที่สามารถขายได้ สามารถสร้างมูลเพิ่มให้ขยะได้ ได้รับประโยชน์จากการแปรรูปอาหารเหลือทิ้ง ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในทางอ้อม ประชาชนมีสุขภาพที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่มีเหตุที่ก่อให้เกิดภัยต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือนที่ต้องกำจัดจริงหลังจากการคัดแยกขยะที่ต้นทาง

ผลลัพธ์ 1.เกิดคณะทำงานการจัดการขยะ ผลลัพธ์ 2.ชุมชนมีความตระหนักและเข้าใจในกระบวนการ ผลลัพธ์ 3. คณะทำงานมีกลไกการติดตามและสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ ผลลัพธ์ 4. ครัวเรือน มีการคัดแยกขยะ
ผลลัพธ์ 5. ปริมาณขยะที่ต้องจัดการลดลง

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 140 184
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ครัวเรือนในหมู่ที่ 4 ตำบลน 140 184
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67
1 สนับสนุนการบริหารจัดการ(6 มิ.ย. 2566-4 ก.ค. 2566) 10,000.00                    
2 มีคณะทำงาน 10 คน(13 มิ.ย. 2566-13 มิ.ย. 2566) 4,400.00                    
3 มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน(15 มิ.ย. 2566-15 มิ.ย. 2566) 1,100.00                    
4 มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะในชุมชน(19 มิ.ย. 2566-7 ก.ค. 2566) 4,780.00                    
5 รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการกิจกรรมบ้านแยกขยะ(26 มิ.ย. 2566-30 มิ.ย. 2566) 6,800.00                    
6 คณะทำงานมีการติดตามผลการดำเนินงานการจัดการขยะในครัวเรือนทุกเดือน(1 ก.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 11,000.00                    
7 ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง(18 ก.ค. 2566-18 ก.ค. 2566) 0.00                    
8 ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเข้าใจเรื่องการจัดการขยะ(20 ก.ย. 2566-20 ก.ย. 2566) 27,600.00                    
9 เกิดกติกาการจัดการขยะที่มาจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน(1 ต.ค. 2566-30 พ.ย. 2566) 10,990.00                    
10 มีการทำบัญชีขะในระดับครัวเรือน เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน(1 ต.ค. 2566-31 ม.ค. 2567) 15,800.00                    
11 ปริมาณขยะของครัวเรือนลดลงร้อยละ 50(14 พ.ย. 2566-14 พ.ย. 2566) 0.00                    
12 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะที่คัดแยก(1 ม.ค. 2567-29 ก.พ. 2567) 4,950.00                    
รวม 97,420.00
1 สนับสนุนการบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 10,000.00 9 10,000.00
6 - 7 มิ.ย. 66 เวทีปฐมนิเทศน์และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโครงการ 2 352.00 352.00
6 มิ.ย. 66 จัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ ผ้ายชื่อโครงการ ป้ายบันใดผลลัพธ์ 0 1,000.00 1,000.00
13 ส.ค. 66 จัดทำตราปั้มโครงการและเลขที่โครงการ 1 535.00 535.00
25 ก.ย. 66 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามโครงการย่อย AER ครั้งที่ 1/2566 2 352.00 352.00
12 ม.ค. 67 วัสดุอุปกรณ์ในการจัดแสดงนิทรรศกาล 0 569.00 569.00
12 ม.ค. 67 จัดทำไวนิลสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 8 2,400.00 2,400.00
15 - 16 ม.ค. 67 ค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมการอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 1,200.00 1,200.00
15 ม.ค. 67 ค่าเดินทางเข้าร่วมการอบรมและจัดแสดงนิทรรศการ 8 1,592.00 1,592.00
18 ม.ค. 67 ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ต 3 2,000.00 2,000.00
2 มีคณะทำงาน 10 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 4,400.00 4 4,400.00
13 มิ.ย. 66 ประชุมครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการ 10 1,100.00 1,100.00
15 ส.ค. 66 ประชุมครั้งที่ 2 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
16 ต.ค. 66 ประชุมครั้งที่ 3 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามการดำเินงาน 10 1,100.00 1,100.00
8 ธ.ค. 66 ประชุมครั้งที่ 4 ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และหารือถึงการทำงานนี้ต่อเมื่อโครงการที่ สสส.สนับสนุนสิ้นสุดลง และหรืออื่น ๆ 10 1,100.00 1,100.00
3 มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 1,100.00 1 1,100.00
3 ก.ค. 66 ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติงาน 10 1,100.00 1,100.00
4 มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 4,780.00 1 4,780.00
28 มิ.ย. 66 สำรวจสถานการณ์ปัญหา ปริมาณ ชนิด และการคัดแยกขยะแต่ละประเภท 140 4,780.00 4,780.00
5 รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการกิจกรรมบ้านแยกขยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 6,800.00 2 6,800.00
25 ก.ค. 66 รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการกิจกรรมบ้านคัดแยกขยะ 10 1,100.00 1,100.00
25 ก.ค. 66 รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 140 5,700.00 5,700.00
6 คณะทำงานมีการติดตามผลการดำเนินงานการจัดการขยะในครัวเรือนทุกเดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 11,000.00 10 11,000.00
14 ก.ค. 66 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
4 ส.ค. 66 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
25 ส.ค. 66 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
22 ก.ย. 66 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
20 ต.ค. 66 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
10 พ.ย. 66 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
24 พ.ย. 66 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
17 ธ.ค. 66 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
1 ม.ค. 67 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
12 ม.ค. 67 คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน 10 1,100.00 1,100.00
7 ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 23 0.00 3 0.00
26 ส.ค. 66 ARE พี่เลี้ยงโครงการ ครั้งที่ 1 13 0.00 0.00
10 พ.ย. 66 ARE ร่วมกับพี่เลี้ยงครั้งที่ 3 10 0.00 0.00
2 ม.ค. 67 AREครั้งที่4 0 0.00 0.00
8 ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และเข้าใจเรื่องการจัดการขยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 140 27,600.00 1 27,600.00
20 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน 140 27,600.00 27,600.00
9 เกิดกติกาการจัดการขยะที่มาจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 160 10,990.00 2 10,990.00
2 ต.ค. 66 ประชุมคณะทำงานและผู้นำชุมชน 20 2,600.00 2,600.00
16 ต.ค. 66 ทำจุดพักขยะรีไซเคิล จำนวน 2 จุด 140 8,390.00 8,390.00
10 มีการทำบัญชีขะในระดับครัวเรือน เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 15,800.00 2 15,800.00
27 พ.ย. 66 จัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักเพื่อชั่งน้ำหนักขยะก่อนทิ้ง 0 6,000.00 6,000.00
29 พ.ย. 66 จัดทำบัญชีบันทึกจำนวนขยะและรายได้ที่เกิดจากการขายยขะ จำนวน 140 เล่ม 0 9,800.00 9,800.00
11 ปริมาณขยะของครัวเรือนลดลงร้อยละ 50 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
12 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะที่คัดแยก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,950.00 2 4,950.00
2 ม.ค. 67 คณะทำงานร่วมกับตัวแทนหมู่บ้านแลกเปลี่ยนเรียบรู้หมู่บ้านที่มีการจัดการขยะ 0 3,300.00 3,300.00
9 ม.ค. 67 คณะทำงานร่วมกับตัวแทนหน่วยงานรัฐ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินบ้านแยกขยะดีเด่น 0 1,650.00 1,650.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 572.09
12 ส.ค. 66 ถอนเงินเพื่อคืน่าเปิดบัญชี 0 0.00 500.00
29 ม.ค. 67 จ่าย ดอกเบี้ยให้กองคลัง 0 0.00 72.09

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 14:45 น.