directions_run

โครงการชาวบางปู สุขภาพดี ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ประจำปี 2566

assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอนเงินดอกเบี้ยคืนให้แผนงานร่วมทุนฯ24 มกราคม 2567
24
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Muktar
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนเงินดอกเบี้ยในบัญชีคืนแผนงานร่วมทุน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนแผนงานร่วมทุน

ถอนเงิน เปิดบัญชี23 มกราคม 2567
23
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Muktar
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนเงิน เปิดบัญชี 500 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ถอนเงิน เปิดบัญชี

ค่าเดินทาง ARE หน่วยจัดการแผนร่วมทุน (30 โครงการ) ครั้งที่ 2/256617 มกราคม 2567
17
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง จากตำบลบางปู - ห้องประชุม อบจ.ปัตตานี จำนวน 5ราย 1.นส.มาเรียม สะนิ 2.นส.ฮามีด๊ะ เจะเด็ง 3.นางซารีป๊ะ ดอเลาะ 4.นางฟาตีหม๊ะ หะยีเด็ง 5.นส.แวฮัสนะห์ ลาเตะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน 5 รายได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปบทเรียนจากการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 215 มกราคม 2567
15
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการ ผู้รับผิดชอบการเงิน และผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูล จากโครงการฯ จำนวน 5 คน ที่ดำเนิน"โครงการชาวบางปู สุขภาพดี ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ประจำปี 2566 หัวข้อเรื่องการ เข้าร่วมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานและผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานของโครงการที่ขอรับทุนทั้ง 30 โครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการ ผู้รับผิดชอบการเงิน ผู้รับผิดชอบบันทึกข้อมูล และคณะแกนนำจากโครงการฯ จำนวน 5 คน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยต่างๆทั้ง 30 โครงการ ได้แก่การคัดเลือกคณะแกนนำ รายงานความก้าวหน้า และผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดจนการนำไปสานต่อในภายภาคหน้า

จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดนิทรรศการ10 มกราคม 2567
10
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดนิทรรศการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้วัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดนิทรรศการสำเร็จตามวัตถุประสงค์

ARE ครั้งที่ 4 ร่วมกับพี่เลี้ยง9 มกราคม 2567
9
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 9 มกราคม 2566 ได้กิจกรรม ARE 4 ร่วมกับพี่เลี้ยง นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของโครงการตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการ มีคณะทำงานเข้าร่วม 10 คน รายละเอียดกิจกรรม หัวหน้าโครงการได้นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว พร้อมกับนำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแต่ละขั้นเพื่อตอบตัวชี้วัดที่วางไว้ให้กับพี่เลี้ยง จากนั้นพี่เลี้ยงได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ ประเมินความสำเร็จของโครงการ มีรายละเอียดดังนี้ ความสำเร็จของโครงการให้ 4 คะแนน  นื่องจากว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ 2 โครงสร้างให้คะแนน 4 เพราะมีการจัดวางโครงสร้างของโครงการได้ดี  3 แบ่งบทบาทหน้าที่คณะทำงานให้คะแนน 5 เพราะทุกคนทำได้ดีมาก  มีแผนงานให้คะแนน 5 เพราะมีแผนงานสามารถเดินตามแผนงานในการขับเคลื่อนงาน 5 ปฏิบัติตามแผนให้คะแนน 4  6 มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้คะแนน 5 เพราะทุกคนมีการสื่อสารการมีการพูดคุยกันมีการประชุมวางแผนกัน  มีความรู้ของชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมายให้คะแนน 4  การมีส่วนร่วมให้คะแนน 5 เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันไดผลลัพธ์ของโครงการในช่วงเดือนที่ 11 อยู่นช่วงขั้นที่ 4 ต้องนำข้อมูลเพื่อตอบผลลัพธ์ขั้นที่ 4 อย่างสมบูรณ์

แลกเปลี่ยนเรียนรู้/สรุปบทเรียน27 ธันวาคม 2566
27
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 27 ธันวาคม 2566 ณ ลานมัสยิดอัตตักวา ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน ภายใต้โครงการ ฯ
ผู้เข้าร่วม จำนวน 30 คน ประกอบด้วย คณะทำงานจำนวน 19 คน ประกอบด้วย อสม. ตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คณะกรรมการมัสยิด และมีที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้าน และทีมงาน กิจกรรมเริ่มเวลา. คณะทำงานได้มีการลงทะเบียน และพร้อมกันตรวจสุขภาพ วันความดัน วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก ให้กับผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนคณะทำงาน ได้ทำกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุก่อนเริ่มกิจกรรม กำนัน ได้กล่าวเปิดงาน พูดคุยให้กำลังใจ และกล่าวชื่นชมผู้สูงอายุทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และกล่าวดุอาเปิดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน หัวหน้าโครงการ ได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรมตลอดระยะเวลา 8 เดือน พร้อมสรุปผลการจากการเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่มีการเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ และถอดสรุปบทเรียนจากโครงการ ดังนี้มีคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมายมีความรู้มากขึ้น ได้มีชมรมออกกำลังกาย มีการสร้างอาชีพ ทำน้ำมันเหลือง ทำที่รองครก ทำน้ำยาล้างจาน มีการแลกเปลี่ยนการดูแลสุขภาพกาย
ปัญหาอุปสรรค สถานที่คับแคบ ระยะเวลาการทำกิจกรรม มีจำกัด คนในครอบครัวไม่สนับสนุนในการร่วมกิจกรรม โอกาสพัฒนา ต่อยอดด้านอาชีพ มีความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับรู้ และรับทราบผลการดำเนินงานของโครงการ ได้ชุดความรู้ ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน

ติดตามผลการดำเนินงาน (คณะทำงาน ) ครั้งที่425 ธันวาคม 2566
25
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ครั้งที่ 4  จัดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม  2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู  คณะทำงานร่วมกับ กลุ่ม อสม. ประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินของโครงการ ตัวแทนคณะทำงานได้มีการกล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุมในครั้งนี้ พร้อมทั้งชวนคุยผลการดำเนินงาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย นำไปวางแผนการทำงานต่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
2.ผู้สูงอายุและครอบครัวผู้สูงอายุได้รับทราบสถานการณ์สุขภาพของตนเอง 3.ได้ข้อมูลสถานการณ์กผลการติดตามการดำเนินงานขอโครงการ

ค่าเดินทางไปเบิกเงินครั้งที่ 417 ธันวาคม 2566
17
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่ามอเตอร์ไซค์ รับจ้างจากตำบลบางปู - ธนาคารกรุงไทย สาขาเจริญประดิษฐ์ จำนวน 2 ราย 1.นส.มาเรียม สะนิ 2.นางฟาตีหม๊ะ  หะยีเด็ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เบิกเงินเพื่อมาใช้ในการดำเนินงานโครงการต่อไป

ประกวดเมนูอาหารสุขภาพ (๑ครอบครัว๑เมนู)14 ธันวาคม 2566
14
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 14 ธันวาคม 256ุ6 ณ ลานมัสยิดบ้านอัตตักวา ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ผู้เข้าร่วม จำนวน 120 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน และผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายคนกิจกรรมประกวนเมนูอาหารสุขภาพ 1 ครอบครัว 1 เมนู มีวัตถุประสงค์ ส่งเสริมการจัดทำเมนูอาหารสุขภาพ ปรุงประกอบอาหารเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มีผู้เข้าร่วม จำนวน 120 คน เริ่มจากมีผอ. รพ.สต ตำบลบางปู ได้กล่าวเปิดงานและจัดกิจกรรม ภายใต้ โครงการชาวบางปู สุขภาพดี ด้วยการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ในกิจกรรมประกวดเมนูอาหารพื้นถิ่น สุขภาพดี วิถีธรรม ณ ลานมัสยิดบ้านตักวา ตำบลบางปู อำเภอยะหริิ่ง จังหวัดปัตตานี รูปแบบกิจกรรม เมนูอาหารที่นำมาประกวด เป็นเมนูอาหารท้องถิ่น อาหารไทย ผู้เข้าประกวดออกแบบ “เมนูอาหารจานเดียว” โดยแต่ละเมนูต้องมีองค์ประกอบของผัก และ/หรือ สมุนไพร และ/หรือ ผลไม้ รวมทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่ว หรือ ธัญพืช จัดทำอาหารเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม สะอาด ปลอดภัย โดยจัดประกวดเมนูอาหารที่ดีต่อวันผู้สูงอายุ ที่เข้าประกวด 10 เมนู ได้แก่ แกงส้มปลา ปลาย่างน้ำพริก ผักต้มน้ำพริก ไข่ต้มน้ำพริก แกงจืด แกงเลียง ไก่ต้มน้ำพริก โดยที่เมนูที่ได้รางวัลที่ 1 คือแกงส้ม 1 ครอบครัว 1 เมนู

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เมนูและการปรุงอาหารที่เมาะสมและดีต่อสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีด้วยการกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ประชุมคณะทำงาน ครั้ง ที่ 411 ธันวาคม 2566
11
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 11 ธันวาคม 2566 ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี มีผู้เข้าร่วมประชุม 15 คน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนและออกแบบกิจกรรมถอดบทเรียน และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม
หัวหน้าโครงการได้มีการพูดคุยถึงการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปในวันที่ 27 ธันวาคม 2566 เป็นกิจกรรมถอดบทเรียน ในวันกิจกรรมต้องเชิญ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อบต. และรพ.สต. เข้าร่วมในวันเวทีด้วย โดยในเวทีจะมีการถอดบทเรียนที่ได้ดำเนินการตลอดทั้งโครงการ จากนั้นได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ รายงานความก้าวหน้าของโครงการ รายงานการเงินให้คณะการเงินรับทราบ และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดรูปแบบกิจกรรมในการดำเนินเวทีคืนข้อมูลของโครงการ  เกิดการแบ่งบทบาทหน้าที่คณะทำงานมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน
คณะทำงานได้ทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ ความคืบหน้าของรายงาน และรับทราบรายละเอียดการเงินของโครงการ

ติดตามประเมินผล ๓ เดือนครั้ง10 ธันวาคม 2566
10
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม : ติดตามผลประเมินผล 3 เดือน/ครั้ง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 ณ มัสยิดอัตตักวา ม.3 ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ผู้เข้าร่วม    120 คน กิจกรรม ติดตามผลพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายและครอบครัว โดยคณะทำงานได้นัดทำกิจกรรมการติดตามหลังจากให้ความรู้ 3อ.2ส. โดยมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต และวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ ( 3 เดือน/ครั้ง) ผลพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพที่ดีขึ้น 80 ราย น้ำหนักลดลง รอบเอวลดลง และจากการสัมภาษณ์ พบว่า จากรายที่มีอาการเจ็บเข่า ละหมาดแบบปกติไม่ได้ ต้องใช้เก้าอี้ทดแทน สามารถละหมาดแบบปกติได้ , รายที่ต้องใช้ไม้เท้าในครั้งแรกที่มาร่วมกิจกรรม ตอนนี้ไม่ต้องใช้ไม้เท้า สามารถเดินมาร่วมกิจกรรมได้ตามปกติ , บางรายบอกว่า น้ำหนักตัวเบาลง เสื้อจากที่ใส่ไม่ได้ สามารถนำมาใส่ได้เหมือนเดิม , รายที่มีความดันเริ่มเข้าสู่กลุ่มเสี่ยง 150/90 มิลลิเมตรปรอท ภาวะความดันเข้าสู่ภาวะปกติ 130/90 มิลลิเมตรปรอท และในอีกหลายรายที่มีสุขภาพแนวโน้มที่ดีขึ้น นอกจากภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว ภาวะสุขภาพจิตของกลุ่มเป้าหมายก็ดีตาม มีการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน มีการพบปะ พูดคุย นัดกันไปเยี่ยมเยียนรายที่ไม่สบาย ทำให้กลุ่มมีสัมพันธภาพที่ดีขึ้น
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม 1.กลุ่มเป้าหมาย มีสุขภาพที่ดีขึ้นทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
2.ผู้สูงอายุและครอบครัวผู้สูงอายุได้รับทราบสถานการณ์สุขภาพของตนเอง 3.ได้ข้อมูลสถานการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง 4.เกิดกลุ่มชมรม “สุขภาพดีที่ตักวา บางปู” 5.เกิดกลุ่มไลน์ “สุขภาพดีที่ตักวา บางปู” เพื่อเสริมแรงบันดาลใจให้กับทุกคนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย นำไปวางแผนการทำงานต่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
2.ผู้สูงอายุและครอบครัวผู้สูงอายุได้รับทราบสถานการณ์สุขภาพของตนเอง 3.ได้ข้อมูลสถานการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ได้ข้อมูลผลการติดตามการดำเนินงานขอโครงการ

มหกรรมอาหารสุขภาพ4 ธันวาคม 2566
4
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุปมหกรรมอาหาร กิจกรรม : มหกรรมอาหารสุขภาพ วันที่ 14 ธันวาคม 2566 ณ ลานมัสยิดอัตตักวา ต.บางปู  อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
มีผู้เข้าร่วมจำนวน 120 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน 19 คน และผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อสม.  กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
จัดกิจกรรม มหกรรมอาหารสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานของประชาชนในชุมชน กระบวนการเริ่มหัวหน้าโครงการฯ และผอ. รพ.สต.บางปู ได้เปิดกิจกรรมหกรรมอาหารสุขภาพ มองว่าการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี  ที่ผ่านมาทางโครงการฯได้ให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ช่วยป้องกันโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกกินอาหารแบบ 2::1:1 เน้นอาหารให้ครบ 5 หมู่ให้ความหลากหลายและพอเพียง งดอาหารหวาน มัน เค็ม ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ  ช่วยคนห่างไกลโรคมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว  เพื่อให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง 3 กระบวนการ ได้แก่ ๑. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ - ๕วันๆละอย่างน้อย๓๐นาที ๒. การเลือกกินอาหารแบบ 2::1:1 ,การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหาร แต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมัน จะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ถึงร้อยละ๒๐ -๓๐โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดก็ลดลงมากเช่นกันทั้งการออกกำลังกาย ยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย 3. การดำเนินชีวิต ตามนาฬิกาชีวิต จึงได้จัดทำโครงการมหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพขึ้น และจากการคัดเลือกบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามโครงการฯ โดยใช้เกณฑ์ ความดันลด รอบเอวลด น้ำหนักลด และเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 1. นางตีเมาะ  ตาเละ 2.นางสาวฮามีด๊ะ  เจะเด็ง 3.นายอับดุลมาหน๊ะ  สาและ 4.นายยาการียา  เจะเด็ง 5.นายซาการียา  กาเดร์ ซึ่งบุคคลดังกล่าวสามารถลดดัชนีมวลกายจากอ้วนเป็นปกติได้ ระดับความดันโลหิตปกติ มีความต่อเนื่องในการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง และจากปัญหาเจ็บข้อเข่าทั้งสองข้าง สามารถเดินมาละหมาดได้โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  จำนวน 5 คน ผู้สูงอายุในหมู่บ้านจำนวน 35 คน ลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือด และกลุ่มเป้าหมายจำนวน 80 คน มีสุขภาพที่ดีขึ้นตามลำดับ ผู้สูงอายุได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นแบบอย่างหมู่บ้านสุขภาพดีตามวิถีชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการลด โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ

ติดตามผลการดำเนินงาน (คณะทำงาน ) ครั้งที่ 324 พฤศจิกายน 2566
24
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ครั้งที่ 3 จัดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน  2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู  คณะทำงานร่วมกับ กลุ่ม อสม. ประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินของโครงการ ตัวแทนคณะทำงานได้มีการกล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุมในครั้งนี้ พร้อมทั้งได้ชวนคุย ผลการดำเนินงานหลังจากอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ2ส จะเห็นได้ว่ากลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ และผู้ดูแล ได้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร โดยปรุงอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อต้องการให้มีสุขภาพที่ดีกว่าเดิม โดยภาพรรวมถือว่า การจัดกิจกรรมที่ผ่านมา เป็นประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย นำไปวางแผนการทำงานต่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
2.ผู้สูงอายุและครอบครัวผู้สูงอายุได้รับทราบสถานการณ์สุขภาพของตนเอง

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 323 ตุลาคม 2566
23
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 23  ตุลาคม พ.ศ.2566 ณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู จังหวัดปัตตานีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน ที่ปรึกษา ผู้นำชุมชน
ได้จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนงานเป็นการจัดกิจกรรมพบปะพูดคุยกับคณะทำงาน โดยมีผอ. รพ.สต. บางปู และ หัวหน้าโครงการฯ ได้อธิบายผลการดำเนินงานและติดตามความ ก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม รวมถึงข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ปรับปรุงแผนการดำเนินงาน อีกทั้งภายใน คณะทำงาน ได้แลกเปลี่ยนความรู้จากการได้ทำงานมาเล่าสู่กันฟัง ในระหว่างการทำงานพบเจออุปสรรค การหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆหรือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง เพื่อให้คณะทำงานได้นำไปปรับใช้ในในการทำงาน และสามารถนำงานไปต่อยอดได้ในอนาคต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้ร่วมกันสรุปและทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา เกิดความรู้ ความเข้าใจกระบวนการทำงานเพิ่มขึ้น และเกิดการแลกเปลี่ยนปัญหาอุปสรรค พร้อมแนวทางในการแก้ปัญหา

ARE ครั้งที่ 3 ร่วมกับพี่เลี้ยง3 ตุลาคม 2566
3
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 3 ตุลาคม 2566 ได้กิจกรรม ARE 3 ร่วมกับพี่เลี้ยง นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของโครงการตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการ มีคณะทำงานเข้าร่วม 10 คน รายละเอียดกิจกรรม หัวหน้าโครงการได้นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว พร้อมกับนำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแต่ละขั้นเพื่อตอบตัวชี้วัดที่วางไว้ให้กับพี่เลี้ยง จากนั้นพี่เลี้ยงได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ มีรายละเอียดดังนี้ โดยมีบันไดผลลัพธ์ 1 เกิดคณะทำงานและคนกลายติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ซึ่งมีกิจกรรมประกอบไปด้วย 1 ประชุมคณะทำงาน 2 เดือนครั้ง 2 ประชาสัมพันธ์และชี้แจงโครงการ 3 จัดทำกติกาคณะทำงาน 4 ติดตามผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคและการออกกำลังกายโดยมีกิจกรรม 1 การอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2 ส 2 สำรวจข้อมูลลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคและออกกำลังกายซึ่งจะมีด้วยก่อนเริ่มโครงการระหว่างโครงการและสิ้นสุดโครงการ 3 วิเคราะห์คืนข้อมูลให้ความรู้เมนูอาหารสุขภาพศรีประจำจัดทำแผนสุขภาพกำหนดกติกาชุมชน ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีกิจกรรมประกอบไปด้วยจัดเวทีกำหนดรูปแบบการออกกำลังกายกำหนดกติกาชุมชน 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เมนูอาหารสุขภาพสารประกอบเมนูอาหารสุขภาพ 4 คัดเลือกคนต้นแบบ 5 มหกรรมอาหารสุขภาพที่  ผลลัพธ์ 4 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกายอย่างถูกต้องมีกิจกรรม 1 ติดตามประเมินผล 3 เดือนครั้งและเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียน ซึ่งกิจกรรมที่เหลือที่ต้องทำ 1 ประชุมประจำเดือนจำนวน 2 ครั้ง 2 เก็บข้อมูลระหว่างกลางและสิ้นสุดโครงการ 3 เกิดกติกาชุมชนชมรมออกกำลังกายผู้สูงอายุเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค 4 จัดทำข้อมูลการวิเคราะห์การบริโภคอาหาร 5 การประกวดเมนูอาหารคัดเลือกคนต้นแบบมหกรรมอาหารสุขภาพ 6 ติดตามและเก็บข้อมูล 7 และเปลี่ยนเรียนรู้สรุปบทเรียนและข้อตกลงร้านค้า

กติกาของกลุ่มออกกำลังกาย
1. ทุกคนต้องมาออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ 4 ครั้งครั้งละ 30 นาที 2. ทุกคนต้องส่งเมนูอาหารในแต่ละมื้อเข้ามาใน LINE กลุ่ม 3. ประเมินสุขภาพตนเองต้องให้ความร่วมมือในระยะเวลา 1 เดือน
การบริโภคใช้หลักการ 2.1.1
• ผัก 2 กำ โปรตีน 1 กำ ข้าวเปล่า 1 กำ
• ใช้นาฬิกาชีวิต 5 โมงเช้าตื่นนอนต้องดื่มน้ำ 2 แก้ว 6 โมงถึง 9:00 น ทานข้าวเช้าและผลไม้ 9 โมงถึง 11:00 น รับประทานอาหาร ดื่มได้เฉพาะน้ำเปล่า  11 โมงถึงบ่ายโมง มื้อเที่ยงบ่ายโมงถึง 4 โมงเย็น พักรับประทานอาหาร ดื่มได้น้ำเปล่า  6 โมงถึง 8 โมงรับประทานอาหารเย็น งดแป้งและผลไม้ 18:00 น ถึง 20:00 น พักผ่อน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันไดผลลัพธ์ของโครงการในช่วงเดือนที่ 9 กำลังอยู่ในช่วงขั้นที่ 4 ที่ต้องนำข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่เก็บหลังจากดำเนินโครงการมาวิเคราะห์เพื่อตอบผลลัพธ์ขั้นที่ 4 อย่างสมบูรณ์

การอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3อ2ส30 กันยายน 2566
30
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 30 กันยายน 66 ณ มัสยิดอัตตักวาบ้านบางปู ผู้เข้าร่วมจำนวน 120 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย กรรมการชุมชน กรรมการมัสยิด ผอ.รพ.สต.และคณะทำงานได้ประสานงาน กลุ่มเป้าหมาย ภาคีหน่วยงาน กรรมการชุมชน กรรมการมัสยิด อสม. สนับสนุน และขับเคลื่อนนำผู้สูงอายุออกกำลังกาย และทำกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้รวมตัวรวมกัน 120 คน ตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดันโลหิต BMI วัดรอบเอวในกลุ่มเป้าหมายและเจาะ DTX ในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน และอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยง ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3อ2สและโภชนาการและออกกำลังกาย โดยรพ.สต. ดย นางอามีหน๊ะ มะดีเยาะ ผู้อํานวยกาเข้าใจ การดูแลสุขภาพกาย ใจ การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม การดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ.2 ส. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี นอกจากนี้ยังให้ความรู้เรื่องอาหารที่ดีต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่มีผล ต่อการย่อย การดูดซึม รวมไปถึงการรับกลิ่นและรสที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดอาการเบื่ออาหาร กินน้อย หรือบางคนเลือกกิน ทำให้กินไม่หลากหลาย พอนานวันเข้า สารอาหารที่ได้รับจะไม่ครบถ้วน กลายเป็นปัญหาทางโภชนาการในผู้สูงอายุได้ ดังนั้นหากอยากให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ห่างไกลโรค จำเป็นต้องใส่ใจในเรื่องของอาหาร ตั้งแต่การเลือกเมนูอาหารที่เหมาะสม วัตถุดิบที่สด สะอาด และปลอดภัย เพื่อให้พลังงานและสารอาหารอย่างครบถ้วน หลังจากนั้น มีการเสริมด้วยสอนท่าออกกำลังกายด้วยท่าบริหารร่างกายด้วยกระบวนการฝึก โยคะ ท่า สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อไปฝึกทำที่บ้านได้
และได้ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ภัยเงียบของโรค NCDs

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพ และความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลตัวเองเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ 2.ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันในชุมชน 3.ผู้สูงอายุได้ท่าออกกำลังกายด้วยท่าบริหารร่างกายด้วยกระบวนการฝึก โยคะ ท่า สำหรับผู้สูงอายุ

ค่าเดินทางไปเบิกเงินครั้งที่ 2-329 กันยายน 2566
29
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เดินทางโดยมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จากตำบลบางปู - ธนาคารกรุงไทย สาขาเจริญประดิษฐ์ 2 คน
1.นส.มาเรียม สะนิ  2.นางฟาตีหม๊ะ  หะยีเด็ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เบิกเงินใช้ในการดำเนินโครงการ

ติดตามผลการดำเนินงาน (คณะทำงาน ) ครั้งที่ 226 กันยายน 2566
26
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ครั้งที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 ณ โรงพยายามส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต. ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ผู้เข้าร่วม 15 คน ติดตามผลการดำเนินงาน ภายใต้โครงการฯ คณะทำงานติดตามและ  คืนข้อมูลและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายให้แก่กลุ่มเป้าหมายและครอบครัว โดย 1.การติดตามประเมินผู้ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยแกนนำ อสม.และ ได้เชิญนายนิรันดร์ แวจูนา คณะทำงาน/ที่ปรึกษา . นางซารีป๊ะ ดอเลาะ คณะทำงาน/ที่ได้ทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการที่ผ่าน มีการประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนงานและสรุปประเมินผลการติดตาม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย นำไปวางแผนการทำงานต่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
2.ผู้สูงอายุและครอบครัวผู้สูงอายุได้รับทราบสถานการณ์สุขภาพของตนเอง 3.ได้ข้อมูลสถานการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ได้ข้อมูลผลการติดตามการดำเนินงานขอโครงการ

ค่าเดินทาง ไป ARE หน่วยจัดการแผนร่วมทุน (30 โครงการ) ครั้งที่ 125 กันยายน 2566
25
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Phaijit1967
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการอบรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566  ในวันที่ 25 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี วันที่ 25 กันยายน 2566  เวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยตัวแทนจากประเด็นกลุ่มย่อยของโครงการย่อย โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากรและนายมุคตาร วายา ผู้ช่วยวิทยากร  พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566โดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี) กล่าวรายงาน โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข  ช่วงที่ 1 ในหัวข้อ "ทบทวนการดำเนินงานแผนงานร่วมทุน"โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา
ช่วงที่ 2 “ประเมินผลการดำเนินงาน 3 มิติ”  2.1 แบ่งกลุ่ม ตามโครงการย่อย เพื่อประเมินผลการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่ 1.กลไกการบริหารแผนงานร่วมทุน 2. กลไกพี่เลี้ยง 3. ผลลัพธ์โครงการย่อย  2.2 นำเสนอผลการประเมินตนเองของโครงการย่อย (วงใหญ่ 40 นาที) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจกลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามากลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดชกลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกรกลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวคกลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิตกลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำกลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรืองกลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี
ช่วงที่ 3 ประเด็นโครงการย่อยกับผลลัพธ์สุด WOW !!!  3.1 แบ่งกลุ่มตามโครงการย่อยเพื่อทบทวนการดำเนินงานในประเด็นดังนี้ - ประเด็นการดำเนินงาน (จำนวน/พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย) - ผลลัพธ์ (Outcome) ในแต่ละประเด็น - ความคืบหน้าโครงการย่อยตามบันไดผลลัพธ์กลาง - สรุปปัจจัยสำคัญ เงื่อนไข ปัญหาอุปสรรค สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ไม่ ควรเกิดขึ้นพร้อมค้นหาความเสี่ยงต่อการล้มเหลว  ของโครงการย่อย และข้อเสนอแนะ 3.2 กิจกรรม World Café แลกเปลี่ยนวงใหญ่ (โครงละ 5 นาที) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา  กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ  กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ  กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง  กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา  กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร  กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค  กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต  กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ  กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง  กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ  กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี ช่วงที่ 4 ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมแลกเปลี่ยนในวงใหญ่ และสรุปความเชื่อมโยง (กลไกการบริหารแผนงานร่วมทุน/กลไกพี่เลี้ยง/โครงการย่อย) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้รับทุนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดจนได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานที่เหลือร่วมกับพี่เลี้ยงงาน
  2. ผู้รับทุนได้เรียนการการดำเนินงานของพื้นที่อื่น ๆ ร่วมถึงได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่พบเจอตลอดระยะเวลาในการดำเนินงาน
ประชาสัมพันธ์โครงการชี้แจงโครงการ24 กันยายน 2566
24
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 24 กันยายน 66 คณะทำงานชุมชนบ้านบางปู ได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และชี้แจงโครงการชาวบางปู สุขภาพดี ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค ประจําปี 2566 มีผู้เข้าร่วม จำนวน 120 คน ณ มัสยิดอัตตักวา ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มี ผู้อำนวยการ รพ.สต. บางปูรวมทั้งคณะทำงาน ได้มีการชี้แจงรายละเอียด เริ่มจากอธิบายความเป็นมาของโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์ 1.เกิดคณะทํางานและกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 2.เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคภายใต้มจากโครงการฯ 3.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายอย่างถูกต้อง กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดําเนินการคือกลุ่มเป้าหมายหลักประชากรกลุ่มเสี่ยงด้วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน จํานวน 120 คน กลุ่มเป้าหมายรอง เยาวชนในชุมชน. จํานวน 20 คน แกนนําชุมชน ผู้นําองค์กร จํานวน 10 คน ผู้ประกอบการร้านค้า จํานวน 30 คน อาสาสมัครสาธารณสุข ตําบลบางปู จํานวน 70 คน โดยมีกิจกรรมที่ต้องดําเนินงานทั้งหมด 17 กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับและแนวทางการขยายผล1.ประชาชนตําบลบางปู มีความรู้และความตระหนักเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค และมีสุขภาพที่ดี 2.เกิดการขับเคลื่อนของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการทํางานด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ3.การดําเนินการต่อเนื่องในรูปแบบของภาคีเครือข่าย เช่น ชมรมต่างๆ องค์กรผู็นําศาสนา และอาสาสมัคร สาธารณสุขตําบล รวมทั้งแกนนําต่างๆที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายสาธารณะด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเกิดกระแสการออกกําลังกายอย่างต่อเนื่อง   หลังจากมีการชี้แจงรายละเอียดโครงการฯ ทางคณะทำงาน ได้มีการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ กลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรม โดยในการดำเนินงานโครงการฯ ต้องจัดให้มีการดำเนินกิจกรรมด้านการมีส่วน ร่วมของผู้สูอายุ ประชาชน ตลอดระยะการดำเนินโครงการ เพื่อให้ผู้สูงอายุ ประชาชนทั่วไป ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการและมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนข้อมูล
แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการอันจะนำไปสู่การสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของทุกเพศ ทุกวัย ในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้สูงอายุ เยาวชน แกนนำ ฯลฯ ได้รับทราบความเป็นมาของโครงการฯ 2. ผู้สูงอายุ เยาวชน แกนนำ ฯลฯ ที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจแผนในการดำเนินงานที่ระบุ วัน เวลา ตลอดโครงการ 3.เกิดการแลกเปลี่ยน ซักถามจากกลุ่มเป้าหมาย และนัดแนะทำกิจกรรมการออกกำลังการ พร้อมกติกาในการออกกำลังกาย จำนวน 3 ข้อดังนี้
  1.สมาชิกทุกคนต้องมาออกกำลังกาย อย่างน้อย สัปดาห์ละ 4 ครั้งๆละไม่ต่ำกว่า 40 นาที อย่าง พร้อมเพรียงกันตั้งแต่เวลา 6.30 น.   2.ในระยะเวลา 1 เดือนต้องให้ความร่วมมือในการ ประเมินสุขภาพตนเอง
  3.สมาชิกทุกคนต้องส่งเมนูอาหารในแต่ละมื้อเข้าใน กลุ่มไลน์

จัดเวทีกำหนดรูปแบบการออกกำลังกาย15 กันยายน 2566
15
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 27 สิงหาคม 66 ณ ลานมัสยิดบ้านอัตตักวา ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ผู้เข้าร่วม จำนวน 120 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน และผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายคน คณะทำงานได้จัดเวทีกำหนดรูปแบบการออกกำลังกาย โดยเน้นการวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ณ บริเวณลานมัสยิดตักวา ตำบลบางปู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีเข้าร่วม ประกอบด้วยผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง เยาวชน แกนนำ อสม. จำนวน 120 คน มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดรูปแบบการออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ดี โดยมี ผอ. รพ.สต. มาร่วมออกแบบการออกกำลังกายของผู่สูงอายุในชุมชน โดยการออกแบบอย่างง่าย นื่องจากผู้สูงอายุจำนวนมากไม่ค่อยออกกำลังกายหรือไม่ชอบออกกำลังกายตั้งแต่วัยหนุ่มสาวทำให้ขาดความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นก็ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอหรือมีปัญหาทางสุขภาพได้ง่าย ปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะได้รับคำแนะนำทั้งจาก อสม. อาสาสมัครผู้นำชุมชน หรือเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทำให้หลายๆ คนเริ่มหันมาสนใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น อย่างในเรื่องของการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ   ควรเริ่มจากการยืดกล้ามเนื้อและอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง เพราะเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพลงทำให้การออกแรงมากๆ เป็นเรื่องยากและก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ เลือกสวมรองเท้าออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย เลือกกิจกรรมที่ทำติดต่อกันได้ 10-15 นาที เลือกกิจกรรมที่ไม่ทำให้เกิดความเครียด ควรมีเพื่อนหรือคนในครอบครัวร่วมออกกำลังกายอย่างน้อย 1 คน

กายบริหาร โดยสามารถออกกำลังกายได้ทุกสัดส่วน พร้อมทั้งฝึกความอดทน การทรงตัว และความยืดหยุ่นของร่างกาย ซึ่งกายบริหารมีหลายท่าให้เลือกตามความเหมาะสม เช่น เหยียดน่อง เขย่งปลายเท้า ย่อเข่า โยกลำตัว เป็นต้น ช่วยต้านทานโรคและรักษาโรคได้

ข้อดีจากการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ     การได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธีส่งผลให้มีโอกาสการเกิดโรคภัยไข้เจ็บลดลงได้ เนื่องจากร่างกายมีความแข็งแรงและระบบการทำงานภายในร่างกายที่ยังทำงานได้เป็นปกติ นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยรักษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ให้ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดลดลงได้ ชะลอการเสื่อมของอวัยวะ ช่วยสร้างสุขภาพจิดที่ดีขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดรูปแบบการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ และการรวมกลุ่มทำกิจกรรมด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุเกิดความเข้าใจในข้อจำกัดของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุได้ท่าการออกกำลังอย่างง่ายและสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผู้สูงอายุได้สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและเข้าร่วมกับชุมชนสังคมได้ดี

วิเคราะห์คืนข้อมูล/ให้ความรู้เมนูอาหารสุขภาพ27 สิงหาคม 2566
27
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรม วิเคราะห์คืนข้อมูล วันที่ 27 สิงหาคม 2566 ณ มัสยิดอัตตักวา ต.บางปู อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี กิจกรรม ผู้เข้าร่วม 120 คน ประกอบด้วยคณะทำงาน กิจกรรม เวทีวิเคราะห์คืนข้อมูลและให้ความรู้เมนูอาหารสุขภาพของผู้สูงอายุ คณะทำงานได้จัดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ ทำความเข้าใจร่วมกันให้กับชาวบ้านในชุมชน และคืนข้อมูลการผลการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายก่อนดำเนินโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วม 120 คน ณ มัสยิดตักวา ต.บางปู อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี ในเวทีหัวหน้าโครงการ และคณะทำงานได้มีการคืนข้อมูลผลจากการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย หัวหน้าโครงการได้อธิบายรายละเอียดการดำเนินโครงการให้กับผู้เข้าร่วมได้รับทราบ จากนั้นก็ได้มีการคืนข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 120 คน รายละเอียดดังนี้ 1) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คน แบ่งเป็น ผู้หญิง 117 คน ผู้ชาย 2 คน 2) ตนเองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ไม่มีความรู้ 120 คน  ออกกำลังกาย ไม่ได้ออกกำลังกาย จำนวน 105 คน ออกกำลังกานอยู่ 15 คน  2-3 วัน/สัปดาห์ จำนวน 12 คน  3-5 วัน/สัปดาห์ 3 คน ระยะเวลาออกกำลังกาย 15-30 นาที/ครั้ง 15 คน  มีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ ทานทุกวัน 3 คน ทานเป็นบางวัน 117 คน รสชาติที่ทานเป็นประจำ รสหวาน 39 คน รสมัน 33 คน รสเค็ม 45 คน เผ็ด 48 คน เปรี้ยว 77 คน  มีความเครียดในชีวิตประจำวัน  ไม่เครียด 6 คน  มีความเครียด 114 คน  ความถี่เป็นบางวัน 114 คน  มีวิธีการจัดการความเครียด คืออดทน ใช้ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ  นอน  มีความสุขในชีวิตประจำวัน  มีความสุข เป็นบางวัน 120 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมเวทีได้รับรู้ และรับทราบรายละเอียดการดำเนินโครงการพร้อมทั้งได้รับทราบสถานการณ์สุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ
  2. มีการทำข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 4 ข้อ ดังนี้ 1) มีการพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง 2) เข้าร่วมฟังบรรยายธรรมทุก ๆ วันศุกร์แรกของของเดือน 3) มีการออกกำลังกายด้วย โยคะมุสลีมะห์หรือยางยืดเพื่อสุขภาพ ร่วมกัน 2 เดือนครั้ง หรือต่างคนต่างออกกำลังกายที่บ้าน และ 4) คณะทำงานลงเยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ 3 เดือนครั้ง
แลกเปลี่ยนเรียนรู้เมนูอาหารสุขภาพ27 สิงหาคม 2566
27
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุป กิจกรรมแลกเปลี่ยนเมนูอาหารสุขภาพ กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เมนูอาหารสุขภาพ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 ณ มัสยิดอัตตักวา บ้านบางปู  ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ผู้เข้าร่วม จำนวน 120 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน อสม. ได้แลกเปลี่ยนเมนูอาหารในครอบครัวโดยการหิ้วปิ่นโตโดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบางปู ร่วมแลกเปลี่ยน และคัดเลือกครอบครัวเข้าร่วมประกวดเมนูอาหารสุขภาพคณะทำงานฯ พร้อมทั้งได้แนะนำเมนูอาหารที่เหมาะสมของผู้สูงอายุ มาให้ความรู้ โดยเริ่มจาก หลักการ 3 อ. ลดอ้วนลงพุง ให้กลับมาสุขภาพดีอ้วนลงพุง ต้องรีบลดอย่างเร่งด่วน หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจจะเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากการอ้วนลงพุงมีวิธี 3 อ. พิชิตอ้วนลงพุงอ้วนลงพุงอันตรายอย่างไร อ้วนลงพุง เกิดจากการมีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก โดยไขมันชนิดนี้จะอยู่ใกล้ตับจนทำให้ตับเปลี่ยนเปลี่ยนไขมันนี้เป็นโคเลสเตอรอล และดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ อ้วนลงพุงจึงเป็นสาเหตุของโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และยังส่งผลให้เกิดปัญหาด้านอื่น ๆ ตามมา ทั้งค่าใช้จ่าย และสุขภาพจิตใจอีกด้วย นอกจากนี้แนะนำการใช้หลัก 2:1:1 (ผัก 2 ส่วน: ข้าวกล้อง 1 ส่วน : กับข้าว 1 ส่วน) และการนำนาฬิกาชีวิตมาใช้ในชีวิตประจำวันควบคู่ด้วย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้อายุได้ข้อมูลเกี่ยวกับเมนูเพื่อสุขภาพและนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลตัวเองการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันในชุมชน และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 223 สิงหาคม 2566
23
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ณ สำนักงานสมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา ผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน ประกอบด้วยคณะทำงาน พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา คณะทำงานประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 เริ่มด้วยการหัวหน้าโครงการกล่าวต้อนรับคณะทำงานก่อนที่จะสรุปภาพรวมของโครงการให้กับทีมได้รับทราบ และกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการมาประชุมในครั้งนี้เพื่อวางแผนการเก็บสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโครงการ และมอบหมายบทบาทหน้าที่ในเขตรับผิดชอบแต่ละโซนของตัวเอง และทำความเข้าใจแบบสอบถามการเก็บข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ จากนั้นหัวหน้าโครงการก็ได้มอบหมายให้ คณะทำงาน เลขานุการรับหน้าที่ในการอธิบายแบบเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 3 ชุด ชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ชุดที่ 2 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ และชุดที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (ก่อนเข้าโครงการ) เมื่อทีมงานทำความเข้าใจในส่วนของแบบสอบถามแล้ว รวมถึงได้มีการแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบของคณะทำงานแต่ละคน1. นางสาวมาเรียม สะนิ ประธาน/ ผู้ประสานงาน 2. นางฟาตีหม๊ะ หะยีเด็ง กรรมการ/เลขานุการ/จนท.คีย์ข้อมูล3. นางสาวฮามีด๊ะ เจะเด็ง 4. นางสาวเจะแย อาแว 5. นางแวลีเมาะ กามา 6. นายยาการียา เจะเด็ง 7. นางสาวรอฮานี เปาะวอ 8. นางสาวอามีนะห์ แวและ 9. นางสาวซาปีนะ อาแว 10. นางสาวฟาดียะห์ คอแต11. นางรูฮานี อาแว 12. นางสาวเจะฮัสนะห์ ลาเตะ 13. นางสาวเจะซากีย๊ะ ลาเตะ 14. นางเจะยัม เจะโซะ 15. นายอับดุลมาหน๊ะ สาและ 16. จ่าเอกปรีชา พูลทวี 17. นางอามีหน๊ะ มะดีเยาะ18. นายนิรันดร์ แวจูนา 19. นางซารีป๊ะ ดอเลาะ โดยมีระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 – 20 กรกฎาคม 2566

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจข้อมูล คณะทำงานจำนวน 15 คน มีการแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ

ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ ป้ายโครงการ ป้ายบันไดผลลัพท์15 สิงหาคม 2566
15
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Phaijit1967
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำป้ายโครงการ ขนาด 1.5 เมตร * 2 เมตร จำนวน 1ป้าย
  • จัดทำป้ายบันไดผลลัพท์ ขนาด 1.5*2 เมตร จำนวน 2ป้าย
  • จัดทำป้ายปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีป้ายโครงการ ขนาด 1.5 เมตร * 2 เมตร จำนวน 1ป้าย
  • มีป้ายบันไดผลลัพท์ ขนาด 1.5*2 เมตร จำนวน 2ป้าย
  • มีป้ายปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย
ค่าเดินทางไปประชุมวางแผนบ้านพี่เลี้ยง13 สิงหาคม 2566
13
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าเดินทางมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จำนวน 4 คน 1.นางสาวมาเรียม สะนิ 2.นางซารีป๊ะ ดอเลาะ 3.นางสาวฮามีด๊ะ เจะเด็ง 4.นางอามีหน๊ะ มะดีเยาะ  จากตำบลบางปู ถึงตำบลจะบังติกอ เมืองปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้ร่วมวางแผน คลี่โครงการ และวางแผนการดำเนินงานต่อไป

จัดทำตรายางโครงการ12 สิงหาคม 2566
12
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำที่ร้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1ได้ตรายาง2อัน

ค่าเดินทางไปเบิกเงินครั้งที่ 111 สิงหาคม 2566
11
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ไป2คันรถ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง2  คันจากตำบลบางปู ถึงธนาคารกรุงไทยสาขาเจริญประดิษฐ์
1นางสาวมาเรียม สะนิ  2นางสาวฮามีด๊ะ เจ๊ะเด็ง

ARE ครั้งที่ 2 ร่วมกับพี่เลี้ยง1 สิงหาคม 2566
1
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 8 ตุลาคม 2566 คณะทำงานได้ ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง นางสาวคนึงนิจ มากชูซิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม หัวหน้าโครงการได้นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้วพร้อมกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามบันได จากนั้นพี่เลี้ยงได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ และได้มีการตรวจสอบเอกสารการเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันไดขั้นที่ 1 ตัวชี้วัดข้อที่ 2 ยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูล อยู่ในระดับ 70 % ในส่วนของบันไดขั้นที่ 2 และบันไดขั้นที่ 3 ยังอยู่ในช่วงของการดำเนินกิจกรรม

ติดตามผลการดำเนินงาน(คณะทำงาน) ครั้งที่ 121 กรกฎาคม 2566
21
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ครั้งที่ 1 จัดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ณ โรงพยายามส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต. ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ผู้เข้าร่วม 15 คน กิจกรรม ติดตามผลการดำเนินงาน ภายใต้โครงการฯ คณะทำงานติดตามและ  คืนข้อมูลและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายให้แก่กลุ่มเป้าหมายและครอบครัว โดยคณะทำงานได้แบ่งโซนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ผู้สูงอายุพูดคุยสอบถามการปฏิบัติตน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และให้กำลังใจผู้สูงอายุ ซึ่งหลังจากการได้รับความรู้หลักการ 3อ.2ส.ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และมีการรวมกลุ่มออกกำลังกายอาทิตย์ละ 4 วันๆละ 40 นาทีเป็นอย่างน้อย พร้อมสรุปผลการจากการเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่มีการเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ ให้คณะทำงาน 19 คน และคืนข้อมูลให้กับกลุ่มเป้าหมายและครอบครัวได้รับทราบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย นำไปวางแผนการทำงานต่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
2.ผู้สูงอายุและครอบครัวผู้สูงอายุได้รับทราบสถานการณ์สุขภาพของตนเอง 3.ได้ข้อมูลสถานการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ได้ข้อมูลผลการติดตามการดำเนินงานขอโครงการ

คัดเลือกคนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3 กรกฎาคม 2566
3
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 28  ธันวาคม 2566 ณ ลานมัสยิดตักวา ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ผู้เข้าร่วม 120 คน ประกอบด้วย คณะทำงาน ผู้สูงอายุ แกนนำชุมชน คณะทำงานได้มีการจัดกิจกรรมประกาศรางวัลผู้สูงอายุสุขภาพดี มีผู้เข้าร่วม 120 คน ณ ลานมัสยิดตักวา ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ได้ประกาศผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัล “ผู้สูงอายุสุขภาพดี” จำนวน 5 รางวัล โดยใช้เกณฑ์ ความดันลด รอบเอวลด น้ำหนักลด และเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสำหรับรางวัล "ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง" จำนวน 5 คน พร้อมกับมอบของรางวัลให้กับทุกคน พร้อมกับทาง ผอ. รพ.สต ได้พูดถึงความต่อเนื่องของการดำเนินกิจกรรมที่จะให้ทางทีมคณะทำงาน. ของบจาก สสส. เพื่อต่อยอด นำงบมาขับเคลื่อนกิจกรรมการออกำลังกายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่เชิญสมาชิก ผู้ใหญ่บ้าน มากล่าวให้กำลังใจและกล่าวปิดโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัล “ผู้สูงอายุสุขภาพดี” จำนวน 5รางวัล และ "ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง" จำนวน 5 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับรู้ และรับทราบผลการดำเนินงานของโครงการ

ติดตามผลการดำเนินงาน /คืนข้อมูล ๒ เดือนครั้ง3 กรกฎาคม 2566
3
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ติดตามผลการดำเนินงาน คืนข้อมูล 2 เดือนครั้ง วันที่ 03 กรกฏาคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู คณะทำงานร่วมกับ กลุ่มอสม. ประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินของโครงการ ตัวแทนคณะทำงานได้มีการกล่าววัตถุประสงค์การจัดประชุมในครั้งนี้ พร้อมทั้งได้ชวนคุย ผลการดำเนินงานหลังจากอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ2ส จะเห็นได้ว่ากลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ และผู้ดูแล ได้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร โดยปรุงอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อต้องการให้มีสุขภาพที่ดีกว่าเดิม โดยภาพรรวมถือว่า การจัดกิจกรรมที่ผ่านมา เป็นประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลสถานการณ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ได้ข้อมูลผลการติดตามการดำเนินงานขอโครงการ

สำรวจข้อมูล ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคและออกกำลังกาย(ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างและสิ้นสุดโครงการ)1 กรกฎาคม 2566
1
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สารุปกิจกรรม สำรวจข้อมูล ก่อน ระหว่าง สิ้นสุดโครงการ กิจกรรม : สำรวจข้อมูล ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการบริโภคและออกกำลังกาย(ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างและสิ้นสุดโครงการ)\r ครั้งที่ 1 ก่อนเริ่มโครงการ  วันที่ 23 กรกฎาคม 2566
ครั้งที่ 2 ระหว่างโครงการ  วันที่ 1 ตุลาคม 2566
ครั้งที่ 3  หลังสิ้นสุดโครงการ  วันที่ 3 ธันวาคม 2566
ผู้เข้าร่วมคณะทำงาน จำนวน 19 คน ได้แบ่งโซนเก็บ สํารวจข้อมูล ณ ชุมชนบ้านบางปู เกี่ยวกับ การบริโภคและออกกําลังกาย (ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างและสิ้นสุดโครงการ) สํารวจและเก็บข้อมูล จํานวน 120 ชุด โดยมีคำถามแบบสอบถามดังนี้  1.เพศ ผู้หญิง  ผู้ชาย  2.ตนเองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ  3. ออกกำลังกาย  ไม่ได้ออกกำลังกาย 4. ระยะเวลาออกกำลังกาย 5.มีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้  6.รสชาติที่ทานเป็นประจำ  7. มีความเครียดในชีวิตประจำวัน  8. มีวิธีการจัดการความเครียด  9. มีความสุขในชีวิตประจำวัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 ชุด นำมาสรุปให้คณะทำงานได้ทราบถึงข้อมูลการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ได้ทราบข้อมูลการขยับร่างกายหรือออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จากข้อมูลการทำกิจกรรมครั้งนี้ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มด้านสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้นตามลำดับ

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 123 มิถุนายน 2566
23
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านบางปู
ผู้เข้าร่วมจำนวน 19 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผอ.รพ.สต. และคณะทำงาน การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เริ่มด้วยการ ผอ. รพ.สต. บางปู กล่าวเปิดการประชุม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ก่อนที่จะมอบบทบาทหน้าที่ให้กับหัวหน้าโครงการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมในวันนี้เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการ จัดตั้งคณะทำงาน และแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน จากนั้นหัวหน้าโครงการได้อธิบายความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ รายละเอียดกิจกรรม งบประมาณในการดำเนินงาน และทำความเข้าใจบันไดผลลัพธ์ของโครงการพร้อมกัน และลำดับ และได้มีการจัดตั้งคณะทำงานจำนวน 19 คน แบ่งบทบาทหน้าที่ แบ่งพื้นที่เขตรับผิดชอบ 1. นางสาวมาเรียม สะนิ ประธาน/ ผู้ประสานงาน2. นางฟาตีหม๊ะ หะยีเด็ง กรรมการ/เลขานุการ/จนท.คีย์ข้อมูล 3. นางสาวฮามีด๊ะ เจะเด็ง รองประธาน/ ประชาสัมพันธ์ 4. นางสาวเจะแย อาแว กรรมการ/ดูแลสถานที่/ปฏิคม 5. นางแวลีเมาะ กามา กรรมการ/ผู้บันทึกภาพ 6. นายยาการียา เจะเด็ง กรรมการ/ดูแลอาหาร/ปฏิคม 7. นางสาวรอฮานี เปาะวอ คณะทำงาน/เก็บข้อมูลติดตาม 8. นางสาวอามีนะห์ แวและ คณะทำงาน/เก็บข้อมูลติดตาม 9. นางสาวซาปีนะ อาแว คณะทำงาน/การเงิน 10. นางสาวฟาดียะห์ คอแต คณะทำงาน/เก็บข้อมูล 11. นางรูฮานี อาแว คณะทำงาน/เก็บข้อมูลติดตาม 12. นางสาวเจะฮัสนะห์ ลาเตะ คณะทำงาน/เก็บข้อมูลติดตาม 13. นางสาวเจะซากีย๊ะ ลาเตะ คณะทำงาน/เก็บข้อมูลติดตาม 14. นางเจะยัม เจะโซะ คณะทำงาน/เก็บข้อมูลติดตาม 15. นายอับดุลมาหน๊ะ สาและ คณะทำงาน/ที่ปรึกษา 16. จ่าเอกปรีชา พูลทวี คณะทำงาน/ที่ปรึกษา 17. นางอามีหน๊ะ มะดีเยาะ คณะทำงาน/ที่ปรึกษา 18. นายนิรันดร์ แวจูนา คณะทำงาน/ที่ปรึกษา 19. นางซารีป๊ะ ดอเลาะ คณะทำงาน/ที่ปรึกษา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์และรายละเอียดของโครงการงบประมาณกิจกรรมแผนการดำเนินโครงการฯ 2.เกิดการจัดตั้งและแต่งตั้งคณะทำงานที่มีความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการฯ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ในการขับเคลื่อนโครงการ และมีผู้ใหญ่บ้าน  เป็นที่ปรึกษาโครงการ
3.คณะทำงานทั้ง 19 คน มีบทบาทหน้าที่ และเขตพื้นที่รับผิดชอบในการดูแลผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ

ค่าจัดทํารายงานและ่ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทํารายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์7 มิถุนายน 2566
7
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

บันทึกรายงานผลการดำเนินงานตลอดทั้งโครงการ เริ่มจาก 1.กิจกรรมประชุมคณะทำงาน  2.กิจกรรมประชาสัมพันธ์และชี้แจงโครงการ และอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส. 3.กิจกรรมลงพื้นเก็บข้อมูล (ก่อนดำเนินงาน) 120 ชุด(การบริโภคและออกกำลังกาย) 4. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส.  ทำป้ายปชส.ภัยเงียบของโค 16 ป้าย  8 มัสยิด มัสยิดละ 2 ป้าย  (ป้ายเบาหวาน  จัดเวทีกำหนดรูปแบบการออกกำลังกาย  กิจกรรม ARE
ติดตามผลการดำเนินงาน/คืนข้อมูล 3ด :ครั้ง 1 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลครั้งที่ 2 (ระหว่างดำเนินงาน)  กิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูล/ให้ความรู้เมนูอาหารสุขภาพ  ติดตามผลการดำเนินงานตลอดโครงการครั้งที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมนูอาหารสุขภาพ  กิจกรรมประกกวดอาหารสุขภาพ(1 ครัว 1 เมนู)  กิจกรรมคัดเลือกคนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมหกรรมอาการสุขภาพ กิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลครั้งที่ 3 (หลังดำเนินงาน) 120 ชุด กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงานคณะทำงานตลอดโครงการ  กิจกรรมติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/สรุปบทเรียน จำนวน 30คน รวมทั้ง  17 กิจกรรมที่ได้บันทึกผลการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รายงานผลการดำเนินงาน ได้ข้อมูลผลการวิเคราะห์ในเรื่องสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ได้ข้อมูลชุดความรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

ค่าเดินทางไปประชุมเวทีปฐมนิเทศ6 มิถุนายน 2566
6
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่  6 มิถุนายน 2566  ณ โรงแรมปาร์ควิวอินทาว์น มีผู้เข้าร่วมจำนวน 3. คน พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี) และกล่าวรายงานโดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข  รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" (ต่อ) โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การวางแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมที่โครงการย่อย” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร และ แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การออกแบบเก็บข้อมูลและกำหนดกิจกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และทีมผู้ช่วยวิทยากร
วันที่  7  มิถุนายน 2566  รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร - รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” และถาม - ตอบ เกี่ยวกับการเงิน โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร  รับฟังการบรรยาย ในหัวข้อ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯและการรายงานกิจกรรม” และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล และทีมผู้ช่วยวิทยากร      - แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯ และการรายงานกิจกรรม”(ต่อ) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการฯ จำนวน 3 คน ได้เรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการโครงการ การบริหารและเบิกจ่ายเงิน และกำหนดแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมโครงการย่อย การคีย์ข้อมูลลงระบบริหารแผนงานร่วมทุนฯและการรายงานกิจกรรม และได้รู้จักเพื่อนๆต่างโครงการ ปี 66

อบรมเวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน6 มิถุนายน 2566
6
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Phaijit1967
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่  6 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมปาร์ควิวอินทาว์น มีผู้เข้าร่วมจำนวน 3 คน       พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี) และกล่าวรายงานโดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" (ต่อ) โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  มีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การวางแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมที่โครงการย่อย” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร และ แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การออกแบบเก็บข้อมูลและกำหนดกิจกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และทีมผู้ช่วยวิทยากร วันที่  7  มิถุนายน 2566       รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร  รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” และถาม - ตอบ เกี่ยวกับการเงิน โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากรรับฟังการบรรยาย ในหัวข้อ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯและการรายงานกิจกรรม” และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล และทีมผู้ช่วยวิทยากร  มีการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯ และการรายงานกิจกรรม”(ต่อ) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการฯ จำนวน 3 คน ได้เรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการโครงการ การบริหารและเบิกจ่ายเงิน และกำหนดแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมโครงการย่อย การคีย์ข้อมูลลงระบบริหารแผนงานร่วมทุนฯและการรายงานกิจกรรม และได้รู้จักเพื่อนๆต่างโครงการ ปี 66

ARE ครั้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง5 มิถุนายน 2566
5
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 5 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ได้กิจกรรม ARE 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง นางสาวคนิงนิจ มากชูซิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของโครงการตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการ มีคณะทำงานเข้าร่วม 19 คน รายละเอียดกิจกรรม หัวหน้าโครงการได้นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว โดยนำเสนอรูปแบบ PowerPoint พร้อมกับนำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแต่ละขั้นเพื่อตอบตัวชี้วัดที่วางไว้ให้กับพี่เลี้ยง จากนั้นพี่เลี้ยงได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ และดูเอกสารการเงินของโครงการ พร้อมทั้งคลีแผนงานและรายละเอียดแผนการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานจำนวน 19 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจเป้าหมายวัตถุประสงค์ รายละเอียดและแนวทางการดำเนินกิจกรรมทั้งโครงการ และได้แผนในการดำเนินงานที่ระบุ วัน เวลา ตลอดโครงการ (แนบแผนงานโครงการ)

ค่าเดินทางไปเปิดบัญชี18 พฤษภาคม 2566
18
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sareepah_doloh
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดบัญชีโครงการธนาคารแบบกลุ่ม 1.นางสาวมาเรียม สะนิ  ประธาน  2. นางสาวฮามีด๊ะ เจ๊ะเด็ง รองประธาน  3.  นางสาวฟาตีหม๊ะ หะยีเด็ง กรรมการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1สมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาเจริญประดิษฐ์ โครงการแบบกลุ่ม 1.นางสาวมาเรียม สะนิ  ประธาน  2. นางสาวฮามีด๊ะ เจ๊ะเด็ง รองประธาน  3.  นางสาวฟาตีหม๊ะ หะยีเด็ง กรรมการ