directions_run

โครงการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 2 ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 2 ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-016
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
งบประมาณ 91,100.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบาราโหม
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ดรุณี ดีแสง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0819970969
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางจุฬามณี รังสิเวค/นางวรรณี ชัยรัตนมโนการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 1 ม.ค. 2567 1 พ.ค. 2566 1 ม.ค. 2567 72,880.00
2 1 ม.ค. 2567 29 ก.พ. 2567 1 ม.ค. 2567 29 ก.พ. 2567 18,220.00
รวมงบประมาณ 91,100.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบาราโหมมีประชากรที่ทั้งหมด 3,039 คน (ข้อมูล ณ มกราคม 2566) แบ่งเป็นเพศชาย ร้อยละ 49.26 (1,497 คน) เพศหญิง ร้อยละ 50.74 (1,542 คน) จำนวนหลังคาเรือน 591 หลังคาเรือน 812 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 93.25 และศาสนาพุทธ ร้อยละ 6.75 มีผู้สูงอายุ จำนวน 299 คน คิดเป็นร้อยละ 9.77 แบ่งเป็นหมู่ที่ 1 บ้านปาเระ จำนวน 54 ราย หมู่ที่ 2 บ้านปาเระ จำนวน 151 ราย และหมู่ที่ 3 บ้านดี จำนวน 94 ราย จากตารางที่ 1 พบว่า ผู้สูงอายุหมู่ที่ 2 เป็นโรคเรื้อรังมากที่สุด ร้อยละ 52.73 (87 ราย) ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 28.48 (47 ราย) รองลงมาเป็นโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง ร้อยละ 20.00 (30 ราย) และ เบาหวาน ร้อยละ 4.24 (7 ราย) ดังนี้ ตารางที่ 1 ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เบาหวานและความดันโลหิตสูง ดังตารางต่อไปนี้ หมู่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เบาหวานและความดันโลหิตสูง รวม จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 1 18 10.91 0 0.00 8 4.85 26 15.76 2 47 28.48 7 4.24 33 20.00 87 52.73 3 32 19.39 9 5.45 11 6.67 52 31.52 รวม 97 58.79 16 9.70 52 31.52 165 100.00 ผลจากการเยี่ยมบ้านและสอบถามผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ที่มารับบริการ ณ สถานบริการ พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 2 จำนวน 87 ราย ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ผู้สูงอายุขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 37.93 (33 ราย) พฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ รับประทานอาหารซ้ำ ๆ เช่น ข้าวยำ ปลาเค็ม บูดู แกงกะทิ น้ำชา น้ำหวาน ร้อยละ 64.37 (56 ราย) บางคนสูบบุหรี่ ร้อยละ 17.24 (15 ราย) ไม่ชอบออกกำลังกาย ร้อยละ 74.71 (65 ราย) มีภาวะเครียด วิตกกังวล ร้อยละ 13.79 (12 ราย) ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อตัวผู้สูงอายุเอง และครอบครัวรวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ต้องอยู่คนเดียวขาดการดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บางคนมีภาระต้องเลี้ยงหลานเนื่องจากบุตรไปทำงานต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย บางคน ไม่สะดวกในการเดินทาง การเดินทางลำบาก (ไม่มีรถ) มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุเองทำให้ไม่ได้รับการยกย่องจากสังคม ขาดการรวมกลุ่ม ทำกิจกรรมทำให้คุณค่าในตัวเองลดลง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลและสภาพแวดล้อมโดยใช้กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนและเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง เป็นที่ยอมรับของสังคม ด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ บ้านของผู้สูงอายุบางรายห้องน้ำไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ อาจกส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ ด้านกลไกในการส่งเสริมสุขภาพ ยังขาดระบบการติดตามอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้สูงอายุบางคนละเลย หรือลืม เช่นการมารับยาตามนัดเป็นต้น อีกทั้งยังขาดกิจกรรมการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่อาจส่งผลให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านเศรษฐกิจ ปัญหา พบว่า ผู้สูงอายุรายได้ไม่เพียงพอเพิ่มภาระให้กับครอบครัว หากผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ สามารถเพิ่มรายให้กับตัวเองและครอบครัวทำใหคุณภาพชีวิตดีขึ้น จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หมู่ที่ 2 มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงดำเนินการจัดทำโครงการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวหมู่ที่ 2 ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เกิดกลไกการดูแลสุขภาพ และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวสามารถความคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือความดันโลหิตสูงได้ยั่งยืนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และผู้ดูแลมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม
  • ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ร้อยละ 60
  • ร้อยละของผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ร้อยละ 60
60.00
2 เพื่อพัฒนากลไกการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง -ฟื้นฟูชมรมผู้สูงอายุ -เกิดกลไกเพื่อนช่วยเพื่อน
  • ชมรมผู้สูงอายุและภาคีร่วมติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  • เกิดกลไก “เพื่อนช่วยเพื่อน”
80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 125 131
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ชมรมผู้สูงอายุ 15 21
ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดันโล 40 40
ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 40 40
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 27 27
แกนนำชุมชน 3 3
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67
1 งบประมาณบริหารจัดการ(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 9,800.00                    
2 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานและชี้แจงโครงการ(1 พ.ค. 2566-30 มิ.ย. 2566) 8,400.00                    
3 ประชุมชมรมผู้สูงอายุ(1 มิ.ย. 2566-31 ธ.ค. 2566) 8,700.00                    
4 ประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อคืนข้อมูลและชี้แจงโครงการ(1 มิ.ย. 2566-31 ก.ค. 2566) 4,200.00                    
5 อบรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว(1 ก.ค. 2566-31 ธ.ค. 2566) 52,000.00                    
6 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน(1 ก.ย. 2566-31 ธ.ค. 2566) 8,000.00                    
รวม 91,100.00
1 งบประมาณบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 9,800.00 7 9,800.00
1 มิ.ย. 66 - 29 ก.พ. 67 ค่าจัดทำรายงานและอินเตอร์เน็ต 0 2,000.00 2,000.00
6 - 7 มิ.ย. 66 เวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน 0 0.00 960.00
16 มิ.ย. 66 ค่าป้ายโครงการ 0 800.00 800.00
3 ก.ค. 66 ปั้มตรายางโครงการ 0 0.00 535.00
25 ก.ย. 66 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 0 0.00 680.00
15 ม.ค. 67 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2566 0 7,000.00 4,105.00
16 ม.ค. 67 ประชุมเตรียมความพร้อมปิดโครงการย่อยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี 0 0.00 720.00
2 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานและชี้แจงโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 8,400.00 2 8,400.00
16 มิ.ย. 66 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานและชี้แจงโครงการ 30 4,200.00 4,200.00
12 ม.ค. 67 ประชุมสรุปการดำเนินโครงการ 0 4,200.00 4,200.00
3 ประชุมชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 8,700.00 3 8,700.00
22 มิ.ย. 66 ประชุม ชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1 15 2,100.00 2,100.00
18 ก.ค. 66 ประชุมชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 0 2,100.00 2,100.00
31 ส.ค. 66 อบรมเทคนิคการเยี่ยมบ้านอย่างมีคุณภาพ 0 4,500.00 4,500.00
4 ประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อคืนข้อมูลและชี้แจงโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 4,200.00 1 4,200.00
21 ก.ค. 66 จัดประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อคืนข้อมูลและชี้แจงโครงการ 30 4,200.00 4,200.00
5 อบรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 52,000.00 6 52,000.00
6 ก.ค. 66 ประชุมค้นหาปัญหาสุขภาพและสาเหตุของปัญหา 40 10,600.00 10,600.00
1 ส.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 ส่งเสริมกิจกรรมจัดการความเครียดตามบริบท 0 3,000.00 3,000.00
7 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว 0 10,600.00 10,600.00
8 ส.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลผู้สูงอายุประจำตัว 40 10,600.00 10,600.00
7 ก.ย. 66 ประชุมติดตามครั้งที่ 1 (ถอดบทเรียน ผู้สูงอายุ กับกระบวนการทำงาน) 0 8,600.00 8,600.00
7 ธ.ค. 66 ประชุมสรุปถอดบทเรียนสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 0 8,600.00 8,600.00
6 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 8,000.00 1 8,000.00
1 ก.ย. 66 - 31 ธ.ค. 66 เยี่ยมบ้าน ผู้สูงอายุ ร่วมกับภาคีเครือข่าย 40 8,000.00 8,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 537.60
24 ม.ค. 67 จ่าย ดอกเบี้ยให้กองคลัง 0 0.00 37.60
9 ก.พ. 67 ถอนเงินเพื่อคืนค่าเปิดบัญชี 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวมีความรู้ในการดูแลสุขขภาพที่เหมาะสม
  • ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวมีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ สามารถจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงอายุได้
  • ผู้สูงอายุสามารถความคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตสูงได้
  • ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 14:53 น.