directions_run

โครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลาม ในชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลาม ในชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-017
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมนุุมนักศึกษาสาขาวิชาซะรีอะฮฺ คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซูไลมาน ยูโซ๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0614485201
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sulaiman68374@g,ail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายมุคตาร วายา
พื้นที่ดำเนินการ บ้านโสร่ง ม.3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.598118,101.343888place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 80,000.00
2 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ ซึ่งจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 20 และเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 28 ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ในปี พ.ศ. 2563 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 18.24 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) ซึ่งตามการคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ และคาดว่าในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศดังนั้นการให้ความสำคัญและมุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มติดบ้านและติดเตียง ให้ได้รับการดูแลที่ถูกต้องทั้งในด้านการประกอบศาสนกิจและสุขลักษณะในด้านต่างๆจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช) และภาคีเครือข่ายได้ระบุถึงตัวเลขประชากรผู้สูงอายุติดเตียงในประเทศไทยปี พ.ศ. 2562 ได้ระบุถึงตัวเลขประชากรผู้สูงอายุติดเตียงในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 มีจำนวน 136,677 ราย และคาดการณ์อนาคตว่าในปี พ.ศ. 2580 ผู้สูงอายุติดเตียงจะเพิ่มขึ้นเป็น 311,256 ราย คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 8,000 – 10,000 คนต่อปี ซึ่งสัมพันธ์กับจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่ต้องเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง โดยที่ผู้ดูแลบางคนอาจจะยังไม่พร้อมในการดูแลผู้ป่วย ไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยทำให้เกิดความเครียดเหนื่อยล้า หรือรู้สึกเป็นภาระในการดูแลผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ดูแลไม่มีเวลาสำหรับตนเองในการที่จะประกอบอาชีพ เข้าสังคม หรือทำหน้าที่ตามบทบาท สัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวอาจเปลี่ยนแปลงไปและอาจเกิดความขัดแย้งได้ส่งผลให้ผู้ดูแลมีอารมณ์ที่ฉุนเฉียวง่าย รู้สึกไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง สูญเสียความเป็นส่วนตัว รู้สึกเหมือนผูกติดกับผู้ป่วยถูกแยกจากสังคม ขาดเพื่อน เบื่อหน่าย เกิดความเครียดสะสม ซึ่งสภาพอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลให้ผู้ดูแลเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตได้ (ชนิกานต์ ส่วยนุและคณะ,2561)
ผลสำรวจของตำบลเขาตูม ประมาณการณ์ว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 15.3 ในปี 2563 และนั่นหมายความว่า อัตราส่วนของวัยแรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิงสูงขึ้นไปอีก เรียกภาวะนี้ว่า “ผู้สูงอายุเขาตูม.. จน..ป่วย” ในปี 2565 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่า 833 บาทต่อเดือน มีอยู่ราวร้อยละ 16 ส่วนผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่า 1,666 บาทต่อเดือน มีอยู่ร้อยละ 17 ซึ่งพบว่าร้อยละ 30 ของประชากรผู้สูงอายุนั้นมีฐานะยากจน ในขณะที่แหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้สูงอายุ ร้อยละ 52 มาจากบุตร และร้อยละ 39 มาจากการทำงาน บำนาญ หรือเงินออมของตนเอง กล่าวได้ว่า ผู้สูงอายุถึง 1 ใน 4 คน ที่อยู่ในภาวะเปราะบางทางเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่พอเพียงมีประมาณ ร้อยละ 14 ในด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุประเมินตนเองว่ามีสุขภาพดีถึงดีมากมีอยู่ร้อยละ 28 สุขภาพปานกลางร้อยละ 32 และผู้ตอบว่าสุขภาพไม่ดีร้อยละ 40 ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานลดลงจากวัยผู้ใหญ่เนื่องจากกล้ามเนื้อและมวลกล้ามเนื้อที่ลดลงการลดลงของมวลกล้ามเนื้อ อาจเนื่องมาจากการใช้พลังงานสำหรับการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันและอัตราการสร้างกล้ามเนื้อใหม่ๆ ลดลง อัตราการเผาผลาญอาหารลดลงตามอยู่ที่เพิ่มขึ้นแต่ความต้องการสารอาหารอื่นๆ รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ไม่ลดลง ในการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุต้องคำนึงถึงคุณภาพของอาหาร โดยให้พลังงานลดลงแต่ได้สารอาหารที่ครบถ้วน พืชผักเป็นอาหารที่คนไทยนิยมนำมารับประทานกันมากและเหมาะสำหรับผู้สูงอายุเนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้นมักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเริ่มตั้งแต่วิธีการปลูก การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ที่ปลอดภัยเป็นสิ่งที่จำเป็นในการที่ได้ผักที่ปลอดสารพิษมาบริโภคและจำหน่ายส่งท้องตลาด ชุมนุมนักศึกษาสาขาวิชาชะรีอะฮฺได้เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเริ่มตั้งแต่ในครัวเรือนจึงได้จัดทำโครงการผู้สูงวัยใส่สุขภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลามในชุมชนโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เกิดแกนนำชมรมผู้สูงอายุที่เข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพได้

1.1 มีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ 15 คน ที่มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน และมาจากองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนหมู่บ้าน อปท. เป็นต้น
1.2 คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ 15 คน มีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและมีการออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เหมาะสม
1.3 เกิดข้อมูลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุและอาการพฤติกรรมที่เป็นข้อมูลรายบุคคล จำนวน 60 คน

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ ตามวิถีอิสลาม

2.1 เกิดข้อตกลงร่วมของผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนที่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุออกแบบไว้
2.2 ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน ร้อยละ 100 มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองที่เหมาะสม เช่น กิจกรรมทางกาย การบริโภคผัก

3 ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็ง สามารถทำกิจกรรมได้ตามข้อตกลง และติดตามผลการดำเนินงานของชมรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.1 ชมรมผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมหรือดำเนินการตามข้อตกลงร่วมของผู้สูงอายุ
3.2 มีข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทุกคน จำนวน 30 คนรวมทั้งมีการคืนข้อมูลแก่ผู้สูงอายุและครอบครัวเป็นประจำทุกเดือน

4 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

4.1 ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 30 คนอย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมทางกายเป็นประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาทีในระยะเวลาโครงการต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน
4.2 ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมาย) มีการบริโภคผักเพิ่มขึ้น

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 75 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 15 15
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 30 30
ผู้สูงอายุในชุมชนโสร่ง 30 30
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67
1 ประชุมคณะทำงาน(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 6,000.00                    
2 ประชาสัมพันธ์โครงการ(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 8,800.00                    
3 สำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 4,100.00                    
4 อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องการดูแลสุขภาพ(8 พ.ค. 2566-8 พ.ค. 2566) 11,250.00                    
5 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในเรื่องการปลูกและบริโภคผักปลอดภัย(1 มิ.ย. 2566-1 มิ.ย. 2566) 12,250.00                    
6 อบรมการทำปุ๋ยหมักและสารไล่แมลง(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 5,750.00                    
7 กิจกรรมผู้สูงอายุ ผู้ดูแลปฏิบัติปลูกผักปลอดสารพิษ./จดบันทึกการกินผัก(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 750.00                    
8 ประกวดเมนูอาหารสุขภาพ1เมนู1ครัวเรือน(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 2,250.00                    
9 ติดตาม คืนข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุทุกเดือน(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 6,500.00                    
10 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ที่ชุมชนอยากทำจะต้องเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และส่งผลต่อการบรรลุตามผลลัพธ์ของโครงการ รวมถึงสอดคล้องตามข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 6,550.00                    
11 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (ฟังธรรม)(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 5,400.00                    
12 ปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดตามบ้านติดเตียง(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 3,600.00                    
13 จัดมหกรรมสุขภาพ (กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ)(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 6,300.00                    
14 กิจกรรม สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(6 มิ.ย. 2566-6 มิ.ย. 2566) 10,000.00                    
15 เวทีสรุปถอดบทเรียน(26 ธ.ค. 2566-26 ธ.ค. 2566) 10,500.00                    
รวม 100,000.00
1 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 6,000.00 5 6,000.00
20 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 15 6,000.00 1,200.00
6 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 0 0.00 1,200.00
23 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 0 0.00 1,200.00
15 พ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 0 0.00 1,200.00
7 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 0 0.00 1,200.00
2 ประชาสัมพันธ์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 8,800.00 1 8,800.00
1 ก.ค. 66 ประชาสัมพันธ์โครงการ 80 8,800.00 8,800.00
3 สำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 4,100.00 3 4,100.00
2 ก.ค. 66 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้ง ที่ 1 15 4,100.00 1,700.00
3 ก.ค. 66 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 2 0 0.00 1,200.00
4 ก.ค. 66 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 3 0 0.00 1,200.00
4 อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องการดูแลสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 11,250.00 1 11,250.00
10 ส.ค. 66 คณะทำงานประสานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดยพิจารณาตามสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่เรื่อง“ สุข 5 มิติในวัยสูงอายุ” 75 11,250.00 11,250.00
5 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในเรื่องการปลูกและบริโภคผักปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 12,250.00 1 12,250.00
24 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ปลูกผักและบริโภคผักปลอดภัยและอันตรายจากสารเคมีตกค้างในผัก 75 12,250.00 12,250.00
6 อบรมการทำปุ๋ยหมักและสารไล่แมลง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 5,750.00 1 5,750.00
27 ส.ค. 66 อบรมการทำปุ๋ยหมักและสารไล่แมลง 75 5,750.00 5,750.00
7 กิจกรรมผู้สูงอายุ ผู้ดูแลปฏิบัติปลูกผักปลอดสารพิษ./จดบันทึกการกินผัก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 750.00 1 750.00
27 ส.ค. 66 ปฏิบัติการปลูกผักบริโภคปลอดสารในพื้นที่รอบบ้าน พื้นที่ว่างรูปแบบต่างๆตามความคิดสร้างสรรค์ 75 750.00 750.00
8 ประกวดเมนูอาหารสุขภาพ1เมนู1ครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 2,250.00 1 2,250.00
28 พ.ย. 66 ประกาศรับสมัครครัวเรือนประกวดการจัดทำอาหารจากผักที่ปลูกปลอดสาร 75 2,250.00 2,250.00
9 ติดตาม คืนข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุทุกเดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 6,500.00 5 6,500.00
10 ก.ย. 66 ติดตาม คืนข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ครั้ง ที่ 1 15 6,500.00 1,700.00
29 ก.ย. 66 ติดตาม คืนข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ครั้ง ที่ 2 0 0.00 1,200.00
20 ต.ค. 66 ติดตาม คืนข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ครั้ง ที่ 3 0 0.00 1,200.00
31 ต.ค. 66 ติดตาม คืนข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ครั้ง ที่ 4 0 0.00 1,200.00
10 พ.ย. 66 ติดตาม คืนข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ครั้ง ที่ 5 0 0.00 1,200.00
10 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ที่ชุมชนอยากทำจะต้องเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และส่งผลต่อการบรรลุตามผลลัพธ์ของโครงการ รวมถึงสอดคล้องตามข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 6,550.00 1 6,550.00
1 ธ.ค. 66 การส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพให้มีรายได้เพื่อปัญหาด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ 75 6,550.00 6,550.00
11 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (ฟังธรรม) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 5,400.00 18 5,400.00
4 ก.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 1 75 5,400.00 300.00
7 ก.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 2 0 0.00 300.00
11 ก.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 3 0 0.00 300.00
14 ก.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 4 0 0.00 300.00
18 ก.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 5 0 0.00 300.00
21 ก.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 6 0 0.00 300.00
25 ก.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 8 0 0.00 300.00
28 ก.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 7 0 0.00 300.00
2 ต.ค. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 9 0 0.00 300.00
5 ต.ค. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 10 0 0.00 300.00
9 ต.ค. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 11 0 0.00 300.00
12 ต.ค. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 12 0 0.00 300.00
16 ต.ค. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 13 0 0.00 300.00
19 ต.ค. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 14 0 0.00 300.00
23 ต.ค. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 15 0 0.00 300.00
26 ต.ค. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 16 0 0.00 300.00
2 พ.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 17 0 0.00 300.00
6 พ.ย. 66 อิหม่ามบรรยายธรรม ประจำมัสยิด ครั้ง 18 0 0.00 300.00
12 ปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดตามบ้านติดเตียง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 3,600.00 1 3,600.00
8 ธ.ค. 66 คณะทำงานประสานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ความรู้การดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดตามบ้านติดเตียง 30 3,600.00 3,600.00
13 จัดมหกรรมสุขภาพ (กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 6,300.00 1 6,300.00
28 พ.ย. 66 จัดกิจกรรมมหกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ บู๊ทให้ความรู้ การแสดงผู้สูงอายุ ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี 0 6,300.00 6,300.00
14 กิจกรรม สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 78 10,000.00 16 10,000.00
6 มิ.ย. 66 กิจกรรม สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม 0 10,000.00 449.00
6 - 7 มิ.ย. 66 อบรมปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน 3 0.00 1,212.00
6 มิ.ย. 66 ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือหน่วยจัดการระดับจังหวัด รวมถึงค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 0 0.00 0.00
22 ส.ค. 66 ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง 0 0.00 1,000.00
22 ส.ค. 66 ถอนเงิน ครั้งที่ 1 3 0.00 688.00
15 ก.ย. 66 พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้ง 2 15 0.00 0.00
25 ก.ย. 66 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 3 0.00 320.00
14 พ.ย. 66 ถอนเงิน ครั้งที่ 2 3 0.00 688.00
15 พ.ย. 66 ตรายางหมึกในตัว 0 0.00 535.00
16 พ.ย. 66 พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้ง 3 15 0.00 0.00
27 พ.ย. 66 ถอนเงิน ครั้งที่ 3 3 0.00 688.00
6 ธ.ค. 66 ตรวจสอบเอกสารการเงิน 3 0.00 774.00
4 ม.ค. 67 ไวนิล x stand ขนาด 180x80 0 0.00 1,200.00
4 ม.ค. 67 พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้ง 4 15 0.00 0.00
10 ม.ค. 67 ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ 15 0.00 2,000.00
15 ม.ค. 67 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 0 0.00 446.00
15 ม.ค. 67 สำรองจ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม ARE ครั้งที่ 1/2566 0 0.00 -
15 เวทีสรุปถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 10,500.00 1 10,500.00
20 ธ.ค. 66 คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุตามเป้าหมายของโครงการ 0 10,500.00 10,500.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 561.73
22 ม.ค. 67 ถอนเงิน เปิดบัญชี 0 0.00 500.00
22 ม.ค. 67 จ่าย ดอกเบี้ยให้แผนงานร่วมทุน 0 0.00 61.73

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ   1.1 ผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 30 คน มีทักษะในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักการตามวิถีอิสลาม   1.2 ผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 30 คน มีผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. การขยายผลการดำเนินงาน   เมื่อโครงการเสร็จสิ้นกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงจะได้รับการแต่งตั้งเป็นแกนนำที่สามารถให้ความรู้และทักษะในดำเนินชีวิตโดยใช้หลักการตามวิถีอิสลาม
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 14:53 น.