directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ”

จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางสาวซัลมา แดเมาะเล็ง

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

ที่อยู่ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-P1-0068-018 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-P1-0068-018 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2566 - 31 มกราคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ 2560 - 2579 ปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ อาทิ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และจิตสาธารณะ แผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 พ.ศ 2560 - 2579 ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2560 - 2579 เพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยกำหนดเป็น 6 ยุทธศาสตร์ คือ ๑. การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ๒. การผลิตและการพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน ๓ . การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ๔ . การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมทางการศึกษา ๕. การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ ๖ .การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาภายใต้แผนยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้มุ่งพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่   ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ ซึ่งจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 20 และเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super - Aging Society) เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 28 ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ในปี พ.ศ. 2563 มีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 18.24 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี (คิดเป็น 400,000 คนต่อปี) ซึ่งตามการคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2566
จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ และคาดว่าในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศดังนั้นการให้ความสำคัญและมุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วยการอยู่กับอัลกุรอานด้วยความเข้าใจ ศรัทธา และสู่การนำปฏิบัติในด้านการประกอบการงานที่ดีในชีวิตโดยไม่มีภาวะซึมเศร้าดังจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี   อัลกุรอาน คือพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ทรงประทานให้แก่ท่านนบีมุหัมมัด โดยผ่านมลาอิกะฮฺญิบริลเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของอัลลอฮฺสำหรับมนุษยชาติเพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ไปสู่การมีชีวิตที่มีความสงบสุขในโลกนี้(ดุนยา)และโลกหน้า(อาคีเราะฮฺ) ดังที่อัลลอฮตรัสไว้ ความว่า “แท้จริง อัลลอฮนี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่ง และแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดีทั้งหลายว่าสำหรับพวกนั้นจะได้รับการตอบแทบนอันยิ่งใหญ่”( สูเราะฮ อัล อิสรออ :9 ) และการอิบาดะฮฺโดยการอ่านอัลกุรอาน ดังนั้นการอ่านจำเป็นต้องอ่านให้ถูกต้องและสำหรับผู้ที่ไม่สามารถอ่านอัลกุรอานได้นั้น คือผู้ที่ขาดทุนมากขาดทุนทั้งในโลกนี้และโลกหน้าเนื่องจากผลบุญของการอ่านอัลกุรอานมหาศาลดังหะดีษที่ท่านนบีกล่าวว่า “ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอานเพียงอักษรเดียว เขาจะได้รับหนึ่งความดี และหนึ่งความดีนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าตัว ฉันไม่ได้กล่าวว่า อลิฟ ลาม มีม คือหนึ่งอักษร แต่อลิฟคือหนึ่งอักษร ลามคือหนึ่งอักษร และมีมคือหนึ่งอักษร”(รายงานโดยอัตติรมีซีย์เลขที่ 2921)
  การอ่านอัลกรุอานจำเป็นจะต้องอ่านอย่างถูกต้องและควรอ่านในสภาพบริสุทธิ์มีน้ำละหมาดในสถานที่สะอาด พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาสาระในอัลกุรอานด้วยการเรียนรู้และศึกษาความหมายของอัลกุรอานจากผู้รู้และค้นคว้าจากหนังสือคำแปลอัลกุรอานและหนังสืออรรถาธิบายอัลกุรอานเพื่อจะได้เข้าใจอัลกุรอานอย่างลึกซึ้ง การอ่านอัลกุรอานเป็นสิ่งที่อิสลามกำชับและส่งเสริมอย่างยิ่ง โดยกำหนดผลบุญมากมายไว้ เมื่อมุสลิมปฎิบัติตามคำสอนของอัลลอฮ ในอัลกุรอาน เขาจะได้ประโยชน์อย่างมาก จะได้รับทางนำจากอัลลอฮ ทำให้ความศรัทธามีความมั่นคงและเข้มแข็ง มีความมั่นใจต่ออัลลอฮ เพิ่มมากขั้น ทำให้จิตใจบริสุทธ์และรำลึกถึงอัลลอฮอยู่เสมอและเกรงกว่ากลัวต่อวันอาคิเราะฮ์ที่จะมาถึง กระตุ้นให้เกิดความรู้ลึกจนปฏิบัติตามคำสอนของอัลลอฮ อย่างเคร่งครัด และละเว้นสิ่งที่ห้ามต่างๆ ส่งเสริมให้เป็นมุสลิมที่ดี มีศีลธรรมและคุณธรรมสูง ป้องกันจากการกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติและคำสอนของอิสลามได้ และทำให้สังคมมีความเจริญและความสูงส่ง ดังที่ท่านนะบี ได้กล่าวว่า "แท้จริงอัลลอฮจะยกระดับบางกลุ่มชนให้สูงส่งด้วยคัมภีร์ ( อัลกุรอานนี้ เนื่องจากพวกเขาปฏิบัติตามคำสอนของมัน )และทรงให้บางกลุ่มชนตกต่ำด้วยคัมภีร์ ( อัลกุรอานนี้ )เช่นกัน (เนื่องจากพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติตามมัน)”(รายงานโดย มุสลิม)
  ผลสำรวจของตำบลเขาตูม ประมาณการณ์ว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 15.3% ในปี 2563 และนั่นหมายความว่า อัตราส่วนของวัยแรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิงสูงขึ้นไปอีก เรียกภาวะนี้ว่า “ผู้สูงอายุเขาตูม.. จน..ป่วย” ในปี 2550 พบว่า ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่า 833 บาทต่อเดือนมีอยู่ราว 16% ส่วนผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำกว่า 1,666 บาทต่อเดือนมีอยู่ 17% ซึ่งพบว่า 30% ของประชากรผู้สูงอายุนั้นมีฐานะยากจน ในขณะที่แหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้สูงอายุ 52% มาจากบุตร และ 39% มาจากการทำงาน บำนาญ หรือเงินออมของตนเอง กล่าวได้ว่า ผู้สูงอายุถึง 1 ใน 4 คน ที่อยู่ในภาวะเปราะบางทางเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่พอเพียงมีประมาณ ร้อยละ 14 ในด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุประเมินตนเองว่ามีสุขภาพดีถึงดีมากมีอยู่ 28% สุขภาพปานกลาง 32 % และผู้ตอบว่าสุขภาพไม่ดี 40%     จากการสำรวจสถานการณ์ปัจจุบันผู้สูงอายุในพื้นที่โสร่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ตำบลเขาตูม ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน มี จำนวน 5,245 ครัวเรือน ครัวเรือน มีผู้สูงอายุทั้งหมด 1,435 คน
ชาย 620 คน หญิง 815 คนอาชีพหลัก ได้แก่ ทำสวนยางพารา ค้าขาย เกษตรกร อาชีพรอง ได้แก่ รับจ้างทั่วไป และพื้นที่ตำบลเขาตูมเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฟาฏอนีในหมู่บ้านโสร่ง หมู่ที่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นสถาบันอุดมศึกษาอิสลามแห่งแรกในประเทศไทย มีเจตนารมณ์ที่ต้องการพัฒนาและบริการด้านวิชาการอิสลามให้แก่สังคม ซึ่งในมหาวิทยาลัยฟาฏอนีมีศูนย์ศึกษากุรอาน ได้นำหลักคำสอนของศาสนามาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต ทำให้ชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนับตั้งแต่บรรพชนโดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางในการจัดงานต่างๆ ทั้งทางด้านสังคมศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรมอื่นๆ ทางศาสนา มัสยิดจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และมีผลต่อวีถีชีวิตของคนในอดีต แต่สภาพการณ์ในปัจจุบันปัญหาต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมได้ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนและผู้สูงอายุ ให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากสังคมที่สงบมีความโอบอ้อมอารีเป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันกลับกลายเป็นสังคมที่วุ่นวายแก่งแย่งแข่งกันที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในสังคมที่เห็นได้ชัดเจน คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นวัยที่พ้นจากวัยแรงงานจึงมักถูกทิ้งให้อยู่บ้านตามลำพัง ผู้สูงอายุหลายคนขาดความสุขทางใจเกิดเป็นโรคซึมเศร้าจากสภาพปัญหาผู้สูงอายุ สาเหตุของปัญหา
ด้านพฤติกรรม ผู้สูงอายุในพื้นที่โสร่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ผู้สูงอายุขาดความรู้ในเรื่องการยกระดับคุณภาพจิตใจโดยใช้อัลกุรอานเป็นฐาน ขาดการนำหลักคำสอนของศาสนามาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต และรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ และต้องประกอบอาชีพ เช่นกรีดยาง ขายของ รับจ้าง มีภาวะอยู่บ้านเลี้ยงหลาน
    ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม     ผู้สูงอายุขาดความรู้ในเรื่องการพัฒนาสุขภาพจิตด้วยอัลกุรอาน ลูกหลานขาดความเข้าใจ ผู้สูงอายุขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันขาดการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม     ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ     ไม่มีหน่วยงานให้คำปรึกษาในเรื่องการพัฒนาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ และการให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ดูแล     ด้านกลไกระบบที่เกี่ยวข้อง
ขาดกลไกขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในเรื่องการยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงอายุในชุมชน ไม่มีแกนนำด้านการดูแลผู้สูงอายุ และชุมชนไม่มีการรวมกลุ่ม หรือจัดเป็นชมรมการดูแลผู้สูงอายุ จากสภาพปัญหาดังกล่าวมหาวิทยาลัยฟาฏอนีตั้งใจที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมในผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ที่มีปัญหาและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ จึงได้มีแนวทางจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจด้วยวีถีอิสลาม ด้วยการฟังบรรยายธรรมเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุได้นำแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อดูแลสุขภาพกายและจิตใจ มาปรับใช้ในวิถีชีวิตด้วยการเสริมสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและมีความรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุลและพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดคณะทำงาน ในการขับเคลื่อนงาน
  2. เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม
  3. เพื่อให้เกิดกลไกดูแลสุขภาพกาย จิตใจตามหลักศาสนาอิสลามของผู้สูงอายุ - อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม
  4. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพกาย จิตใจตามหลักศาสนาอิสลาม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม
  2. กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน (ผู้สู
  3. สนับสนุนการบริหารจัดการ
  4. ARE กับพี่เลี้ยง
  5. ชื่อกิจกรรมที่ 1ประชุมคณะทำงาน (2 เดือน:1 ครั้ง)
  6. ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน
  7. เวทีคืนข้อมูล
  8. เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม
  9. ชื่อกิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามการดูแลผู้สูงอายุ
  10. ชื่อกิจกรรมที่ 6 เวทีสรุปบทเรียน
  11. ถอนเงิน เปิดบัญชี
  12. ดอกเบี้ยคืนกองคลัง
  13. ARE 1 คลี่แผนงานโครงการ
  14. เวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน
  15. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1
  16. 1. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง ไม่เกิน 1,000 บาท
  17. ประชุมคณะทำงานกับพี่เลี้ยง
  18. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2
  19. ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ครั้งที่1
  20. เวทีคืนข้อมูล
  21. อบรมด้านการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุจำนวน 40 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน คณะทำงาน
  22. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3
  23. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน
  24. อบรมผู้ดูแลให้ความรู้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลในเรื่องอาหารโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุและเรื่องอาหารที่หะลาลลันตอยยีบันสำหรับผู้สูงอายุ และสาธิตการทำอาหาร (คณะทำงาน 15 คนและผู้ดูแล 40 คน รวม 55 คน)
  25. ARE2 ติดตามผลลัพธ์
  26. อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม
  27. ติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1
  28. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4
  29. เบิกค่าเดินทางเพื่อไปถอนเงินและค่าเบียเลี้ยงคณะทำงาน 3 คน
  30. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน
  31. ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ครั้งที่ 2
  32. วงล้อมหะละเกาะฮฺประจำสัปดาห์
  33. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5
  34. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามการดูแลผู้สูงอายุ
  35. ARE 3
  36. เวทีสรุปบทเรียน
  37. ARE 4
  38. ค่าทำไวนิล เพื่อประกอบการนำเสนอโครงการในกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567
  39. ค่าจัดทำรายงาน
  40. ค่าเดินทางไปประชุมกับพี่เลี้ยง 2 คน
  41. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
คณะทำงาน 15
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 40
ผู้สูงอายุ 40

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล 40 คน
2.บุคคลในครอบครัวสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้อง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ARE 1 คลี่แผนงานโครงการ

วันที่ 5 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566 ผู้รับผิดชอบโครงการได้เข้าร่วมการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(คลี่แผนงานโครงการ)ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ ณ โรงแรมปาร์คอินทาว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ เกิดการเรียนรู้ด้านารบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการการเงินโครงการ และเรียนรู้การคีย์ข้อมูลเข้าระบบออนไลน์ จำนวน 3 คน เข้าร่วมการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (คลี่แผนโครงการ)
ได้แผนการกิจกรรมที่ระบุวันเวลาในการดำเนินงานตลอดโครงการ

 

0 0

2. เวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี) และกล่าวรายงานโดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โนภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ “การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน” โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมในหัวข้อ “การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน” (ต่อ) โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การวางแผนการดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมที่โครงการย่อย” โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากรและทีมผู้ช่วยวิทยากร และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การออกแบบเก็บข้อมูลและกำหนดกิจกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์” โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และทีมผู้ช่วยวิทยากร วันที่ 7 มิถุนายน 2566 รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล เป็นวิทยากร ร่วมรับฟังการบรรยาย “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” (ต่อ) ช่วงถาม-ตอบเกี่ยวกับการเงิน โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล ต่อจากนั้นรับฟังการบรรยายในหัวข้อ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯ และการรายงานกิจกรรม” และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุลและทีมผู้ช่วยวิทยากร แลรับฟังการบรรยายในหัวข้อ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯ และการรายงานกิจกรรม” (ต่อ) และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุลและทีมผู้ช่วยวิทยากร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานจำนวน 3คนwfhเข้าร่วมปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน มีความรู้เรื่องการทำรายงานในระบบคนสร้างสุข และการจัดทำรายงานการเงินในระบบ

 

3 0

3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน 2566 ที่มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จำนวนผู้เข้าร่วม 17 คน คณะทำงาน 17 คน ได้ประชุมเกี่ยวกับโครงการที่รับทุนสนับสนุนและได้มีการนำเสนอและชี้แจ้งรายละเอียดความเป็นมาของโครงการให้กับคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน และมีการการออกแบบจัดทำข้อมูลผู้สูงอายุ โดยการสำรวจผู้สูงอายุในชุมชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ และติดตามการปรับตัวของผู้สูงอายุโดยการติดตามกลุ่มศึกษาหะละเกาะฮฺประจำสัปดาห์  มีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการกับผู้สูงอายุด้วยวิถีอิสลามในระยะเวลา 6 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการและมีการแต่งตั้งคณะทำงานเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละฝ่ายและตกลงร่วมกันในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
  • คณะทำงานได้มีการออกแบบจัดทำข้อมูลผู้สูงอายุ โดยการสำรวจผู้สูงอายุในชุมชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ และติดตามการปรับตัวของผู้สูงอายุโดยการติดตามกลุ่มศึกษาหะละเกาะฮฺประจำสัปดาห์ -คณะทำงานได้แผนงานและได้ออกแบบกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการกับผู้สูงอายุด้วยวิถีอิสลามในระยะเวลา 6 เดือน

 

15 0

4. 1.ค่าทำป้ายไวนิลโครงการ 2.ค่าทำไวนิลบันไดผลลัพท์ 3.ค่าตรายางปั้มชื่อโครงการ 4.ค่าเดินทางเพื่อไปรับตรายาง กาลอ-ห้างหุ้นส่วนมะ แอดเวอร์ไทซิ่ง5.ค่าเบี้ยเลี้ยงไปรับตรายาง

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ค่าทำป้ายไวนิลโครงการ เป็นเงิน 300 บาท 2.ค่าทำไวนิลบันไดผลลัพท์ เป็นเงิน 330 บาท 3.ค่าตรายางปั้มชื่อโครงการ เป็นเงิน 535 บาท 4.ค่าเดินทางเพื่อไปรับตรายาง กาลอ-ห้างหุ้นส่วนมะ แอดเวอร์ไทซิ่งเป็นเงิน 520 บาท 5.ค่าเบี้ยเลี้ยงไปรับตรายาง คนๆละ120 บาทเป็นเงิน 240 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ได้ป้ายไวนิลโครงการ
2.ได้ไวนิลบันไดผลลัพท์
3.ได้ตรายางปั้มชื่อโครงการ

 

0 0

5. ARE2 ติดตามผลลัพธ์

วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ARE ติดตามและประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ละพัฒนา วันที่ 4 กันยายน ม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น. ณ  หมู่ที่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 09.00 – 10.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม 10.00 – 10.30 น.  เปิดการประชุม ....โดย ผู้รับผิดชอบโครงการฯ                 -ชี้แจงวัตถุประสงค์  -แนะนำผู้เข้าร่วม                 -แนะนำบทบาทหน้าทีทีมงานในการARE (ใครนำ ใครจดบันทึก ใครเขียนบนกระดาษ) 10.30 – 11.00น.  พี่เลี้ยงอธิบายขั้นตอนและกระบวนการ ARE...โดยพี่เลี้ยง คุณคนึงนิจ มากชูชิต                 -ทบทวนบันไดผลผลัพธ์/กำหนดประเด็นการติดตาม (พร้อมรับอาหารว่าง) 11.00 – 12.00 น.    ทีมงานโครงการฯ - นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯที่ผ่านมา
12.00 - 13.30 น.  พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด 13.30 – 14.00 น.  แลกเปลี่ยน/สะท้อนผล/ตัวชี้วัดการดำเนินงานโครงการฯ
14.00 - 15.00 น.    ร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมวางแผนการดำเนินงานต่อไป 15.00          ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ติดตามและประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา

 

0 0

6. ประชุมคณะทำงานกับพี่เลี้ยง

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้มีการจะมีการประชุมทำความเข้าใจเอกสารการเงิน เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารการเงินของโครงการฯ” ในวันพุธ ที่ 19 กรกฎาคม 2566 ณ สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา ตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป โดยได้นำเอกสารการเงินมาดูความถูกต้อง ในราบละเอียด การจัดเอกสารและเอกสารแนบในแต่ละกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการและบัญชีโครงการมีความเข้าใจการจัดทำเอกสารการเงินของโครงการฯ สามารถกลับไปทำได้

 

3 0

7. อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม

วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทำฮาลาเกาะห์อัลกุรอานทุกๆสัปดาห์ๆละ 1 ครั้งเป็นการอ่านอัลกุรอานและมีการศึกษาความหมายของอัลกุรอานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยวงล้อมฮาลาเกาะห์อัลกุรอานโดยในวงล้อมหะละเกาะฮฺจะมีการทำอ่านอัลกุรอานร่วมกัน ศึกษาความหมายของอัลกุรอานและนำผลจากการศึกษาอัลกุรอานมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามวิถีอิสลาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดวงล้อมหะละเกาะฮฺ ยังเป็นวิธีการและกระบวนการในการปลูกฝังจิตสํานึกที่ดีงามโดยผ่านกระบวนการขัดเกลาและปลูกฝังจิตสํานึกที่ดีตามวิถีอิสลาม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้ ผู้สูงอายุมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกละอายต่อบาป หรือต่อการกระทำที่ไม่ดีหรือที่ผิดหลักการผิดศีลธรรมและบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า กระบวนการขัดเกลาจิตใจและจิตสํานึกมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สังคมต้องการ เป็นการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม เป็นการปลูกฝังระเบียบวินัย เป็นการปลูกฝังความมุ่งหวัง ในชีวิตตามที่กลุ่มยอมรับ และเพิ่มทักษะในการดำเนินชีวิต
ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยวยาจิตใจด้วยอัลกุรอานจึงทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตใจที่มีความสงบสุขด้วยกับการอยู่กับอัลกุรอานเป็นฐานในการดำเนินชีวิตและการทำฮาลาเกาะห์อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม

 

40 0

8. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ที่มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จำนวนผู้เข้าร่วม 17 คน คณะทำงาน 17 คน ได้ประชุมเกี่ยวกับผลของการสำรวจผู้สูงอายุในชุมชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ และติดตามการปรับตัวของผู้สูงอายุโดยการติดตามกลุ่มศึกษาหะละเกาะฮฺประจำสัปดาห์  มีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการกับผู้สูงอายุด้วยวิถีอิสลามในระยะเวลา 6 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้ทราบผลของข้อมูลสำรวจผู้สูงอายุในชุมชนกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ และติดตามการปรับตัวของผู้สูงอายุ ผลจากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 40 คน มีโรคประจำตัว 70% ไม่มีโรคประจำตัว 30% มีโรคประจำตัวคือ ข้อเสื่อมและอักเสบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไขมันในเลือด ส่วนการออกกำลังกายของผู้สูงอายุปัจจุบันมีการออกกำลังกาย 50 % ส่วนที่ไม่ออกกำลังกายอีก 50 %นั้นเพราะไม่มีความรู้เรื่องออกกำลังกาย ชราแล้ว ไม่มีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย ไม่มีเวลา ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ขยับตัวนานไม่ได้ , ยืนนาน , นั้งนาน , เดินเยอะไม่ได้ มีอาการปวดเอว และไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย และการวิธีออกกำลังกายของผู้สูงอายุคือ การขยับแขน ขยับขา ขึ้นเขา ลงเขา ถอนหญ้า ทำสวน เดิน , แกว่งมือ วิ่ง วิ่งเยาะๆ และเดินภายในบ้าน ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุคือ บริโภคผักและผลไม้ ทานทุกวัน27.3 % ทานเป็นบางวัน69.7 % ไม่ทานเลย 1% ส่วนรสชาดที่ทานเป็นประจำส่วนมากรส จืดคือ 78.8% หวาน30.3% เค็ม36.4% เปรี้ยว15.2% มัน9.1%  และ เผ็ด9.1% ผู้สูงอายุมีความเครียดในชีวิตส่วนใหญ่ไม่มีความเครียด คิดเป็นเปอร์เซ็น 70/30% ส่วนผู้สูงอายุที่มีความเครียดจะแก้ปัญหาความเครียดด้วยวิธีการดังนี้ ขอดูอาร์ต่ออัลลอฮฺ อ่านอัลกุรอาน อยู่นิ่งๆ หาที่สงบอยู่ อาบน้ำละหมาด ซิกรุลลอฮฺ และฟังบรรยายธรรมศาสนา100%ผู้สูงอายุอ่านอัลกุรอานในชีวิตประจำวัน และศึกษาความหมายบางในชีวิตประจำวัน และอัลกุรอานสามารถบำบัดจิตใจของผู้สูงอายุเพราะทำให้จิตใจสงบ ทำให้ตระหนักต่ออัลลอฮฺทุกครั้งเวลาอ่านอัลกุรอาน อ่านอัลกุรอ่านมีความสุข รู้สึกผ่อนคลายและทำให้จิตใจสงบ ทำให้นึกถึงอัลลอฮฺมากขึ้น อ่านแล้วรู้สึกสงบ ทำให้มีจิตใจที่สงบ นึกถึงอัลลอฮฺอยู่ทุกเวลา ทำให้จิตใจสงบและมีสมาธิมากขึ้น อ่านอัลกุรอานเหมือนยารักษาโรค พอรู้สึกไม่สบายใจ ได้ฟังได้อ่านอัลกุรอ่านก็รู้สึกดีขึ้นแล้ว อัลกุรอานคือยารักษาโรค อัลกุรอานคือยา อัลกุรอานสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต เพราะทำให้เรามีจิตใจที่สงบสุข ยิ่งเพิ่มข้อมูล ความรู้หลายๆด้าน อัลกุรอานคือทางนำที่เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถบำบัดจิตใจของเราให้สงบและบริสุทธิ์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต คนที่ใจอยู่กับอัลกุรอานและอัลลอฮฺชีวิตจะสงบ เพราะในอัลกุรอ่านได้สอนทุกอย่างในการดำเนินชีวิต และอัลกุรอานคือทางนำ จากการรายงานผลของการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุคณะทำงานได้มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปคือ กิจกรรมเวทีคืนข้อมูล

 

0 0

9. ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ครั้งที่1

วันที่ 1 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุุเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอาน การออกกำลังกาย การกินอาหารที่มีประโยชน์ไม่หวาน มัน เค็ม โดยการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลและเก็บข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชนร่วมกับแกนนำอาสาพี่เลี้ยงกลุ่มศึกษาอัลกุรอาน(ก่อนดำเนินงาน) และมีการสร้างความเข้าใจกับผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน แกนนำ และภาคี ในรายละเอียดโครงการ และแผนงานตลอดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ข้อมูลผู้สูงอายุเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุุเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอาน การออกกำลังกาย การกินอาหารที่มีประโยชน์ไม่หวาน มัน เค็มผลจากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 40 คน มีโรคประจำตัว 70% ไม่มีโรคประจำตัว 30% มีโรคประจำตัวคือ ข้อเสื่อมและอักเสบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไขมันในเลือด ส่วนการออกกำลังกายของผู้สูงอายุปัจจุบันมีการออกกำลังกาย 50 % ส่วนที่ไม่ออกกำลังกายอีก 50 %นั้นเพราะไม่มีความรู้เรื่องออกกำลังกาย ชราแล้ว ไม่มีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย ไม่มีเวลา ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ขยับตัวนานไม่ได้ , ยืนนาน , นั้งนาน , เดินเยอะไม่ได้ มีอาการปวดเอว และไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย และการวิธีออกกำลังกายของผู้สูงอายุคือ การขยับแขน ขยับขา ขึ้นเขา ลงเขา ถอนหญ้า ทำสวน เดิน , แกว่งมือ วิ่ง วิ่งเยาะๆ และเดินภายในบ้าน ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุคือ บริโภคผักและผลไม้ ทานทุกวัน27.3 % ทานเป็นบางวัน69.7 % ไม่ทานเลย 1% ส่วนรสชาดที่ทานเป็นประจำส่วนมากรส จืดคือ 78.8% หวาน30.3% เค็ม36.4% เปรี้ยว15.2% มัน9.1%  และ เผ็ด9.1% ผู้สูงอายุมีความเครียดในชีวิตส่วนใหญ่ไม่มีความเครียด คิดเป็นเปอร์เซ็น 70/30% ส่วนผู้สูงอายุที่มีความเครียดจะแก้ปัญหาความเครียดด้วยวิธีการดังนี้ ขอดูอาร์ต่ออัลลอฮฺ อ่านอัลกุรอาน อยู่นิ่งๆ หาที่สงบอยู่ อาบน้ำละหมาด ซิกรุลลอฮฺ และฟังบรรยายธรรมศาสนา100%ผู้สูงอายุอ่านอัลกุรอานในชีวิตประจำวัน และศึกษาความหมายบางในชีวิตประจำวัน และอัลกุรอานสามารถบำบัดจิตใจของผู้สูงอายุเพราะทำให้จิตใจสงบ ทำให้ตระหนักต่ออัลลอฮฺทุกครั้งเวลาอ่านอัลกุรอาน อ่านอัลกุรอ่านมีความสุข รู้สึกผ่อนคลายและทำให้จิตใจสงบ ทำให้นึกถึงอัลลอฮฺมากขึ้น อ่านแล้วรู้สึกสงบ ทำให้มีจิตใจที่สงบ นึกถึงอัลลอฮฺอยู่ทุกเวลา ทำให้จิตใจสงบและมีสมาธิมากขึ้น อ่านอัลกุรอานเหมือนยารักษาโรค พอรู้สึกไม่สบายใจ ได้ฟังได้อ่านอัลกุรอ่านก็รู้สึกดีขึ้นแล้ว อัลกุรอานคือยารักษาโรค อัลกุรอานคือยา อัลกุรอานสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต เพราะทำให้เรามีจิตใจที่สงบสุข ยิ่งเพิ่มข้อมูล ความรู้หลายๆด้าน อัลกุรอานคือทางนำที่เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถบำบัดจิตใจของเราให้สงบและบริสุทธิ์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต คนที่ใจอยู่กับอัลกุรอานและอัลลอฮฺชีวิตจะสงบ เพราะในอัลกุรอ่านได้สอนทุกอย่างในการดำเนินชีวิต และอัลกุรอานคือทางนำ

 

15 0

10. เวทีคืนข้อมูล

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้จัดกิจกรรมในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จำนวนผู้เข้าร่วม 97 คน คณะทำงานจำนวน 17 คน ผู้สูงอายุจำนวน 40 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุจำนวน 40 คน เริ่มกิจกรรมด้วยการลงทะเบียนและมีการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุโดยเชิญหน่วยงานจากรพ.สต.โสร่งมาตรวจสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ หลังจากตรวจสุขภาพเสร็จผู้สูงอายุได้รับฟังการอ่านอัลกุรอานเป็นการเปิดพีธี หลังจากเปิดพิธีคณะทำงานได้นำเสนอผลของข้อมูลสำรวจผู้สูงอายุในชุมชนกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ และติดตามการปรับตัวของผู้สูงอายุ ผลจากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 40 คน มีโรคประจำตัว 70% ไม่มีโรคประจำตัว 30% มีโรคประจำตัวคือ ข้อเสื่อมและอักเสบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไขมันในเลือด ส่วนการออกกำลังกายของผู้สูงอายุปัจจุบันมีการออกกำลังกาย 50 % ส่วนที่ไม่ออกกำลังกายอีก 50 %นั้นเพราะไม่มีความรู้เรื่องออกกำลังกาย ชราแล้ว ไม่มีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย ไม่มีเวลา ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ขยับตัวนานไม่ได้ , ยืนนาน , นั้งนาน , เดินเยอะไม่ได้ มีอาการปวดเอว และไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย และการวิธีออกกำลังกายของผู้สูงอายุคือ การขยับแขน ขยับขา ขึ้นเขา ลงเขา ถอนหญ้า ทำสวน เดิน , แกว่งมือ วิ่ง วิ่งเยาะๆ และเดินภายในบ้าน ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุคือ บริโภคผักและผลไม้ ทานทุกวัน27.3 % ทานเป็นบางวัน69.7 % ไม่ทานเลย 1% ส่วนรสชาดที่ทานเป็นประจำส่วนมากรส จืดคือ 78.8% หวาน30.3% เค็ม36.4% เปรี้ยว15.2% มัน9.1%  และ เผ็ด9.1% ผู้สูงอายุมีความเครียดในชีวิตส่วนใหญ่ไม่มีความเครียด คิดเป็นเปอร์เซ็น 70/30% ส่วนผู้สูงอายุที่มีความเครียดจะแก้ปัญหาความเครียดด้วยวิธีการดังนี้ ขอดูอาร์ต่ออัลลอฮฺ อ่านอัลกุรอาน อยู่นิ่งๆ หาที่สงบอยู่ อาบน้ำละหมาด ซิกรุลลอฮฺ และฟังบรรยายธรรมศาสนา100%ผู้สูงอายุอ่านอัลกุรอานในชีวิตประจำวัน และศึกษาความหมายบางในชีวิตประจำวัน และอัลกุรอานสามารถบำบัดจิตใจของผู้สูงอายุเพราะทำให้จิตใจสงบ ทำให้ตระหนักต่ออัลลอฮฺทุกครั้งเวลาอ่านอัลกุรอาน อ่านอัลกุรอ่านมีความสุข รู้สึกผ่อนคลายและทำให้จิตใจสงบ ทำให้นึกถึงอัลลอฮฺมากขึ้น อ่านแล้วรู้สึกสงบ ทำให้มีจิตใจที่สงบ นึกถึงอัลลอฮฺอยู่ทุกเวลา ทำให้จิตใจสงบและมีสมาธิมากขึ้น อ่านอัลกุรอานเหมือนยารักษาโรค พอรู้สึกไม่สบายใจ ได้ฟังได้อ่านอัลกุรอ่านก็รู้สึกดีขึ้นแล้ว อัลกุรอานคือยารักษาโรค อัลกุรอานคือยา อัลกุรอานสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต เพราะทำให้เรามีจิตใจที่สงบสุข ยิ่งเพิ่มข้อมูล ความรู้หลายๆด้าน อัลกุรอานคือทางนำที่เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถบำบัดจิตใจของเราให้สงบและบริสุทธิ์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต คนที่ใจอยู่กับอัลกุรอานและอัลลอฮฺชีวิตจะสงบ เพราะในอัลกุรอ่านได้สอนทุกอย่างในการดำเนินชีวิต และอัลกุรอานคือทางนำ
หลังจากฟังผลของการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุแล้วมีกฎกติการ่วมกันคือ 1.จะต้องให้ความร่วมมือในการประชุมทุกครั้ง 2.ต้องมีการอ่านอัลกุรอานสม่ำเสมอ 3.ต้องมีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3วันๆละ30 นาที 4.ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ไม่หวาน มัน เค็ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เกิดภาคีความร่วมมือที่หลากหลายเข้าร่วม เช่น อสม. รพ.สต. นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ท้องที่ ท้องถิ่น ได้สร้างความตระหนักให้กับผู้สูงอายุและผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อสอดคล้องกับวิถีอิสลาม ได้เกิดกฎกติกาคือ 1.จะต้องให้ความร่วมมือในการประชุมทุกครั้ง 2.ต้องมีการอ่านอัลกุรอานสม่ำเสมอ 3.ต้องมีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3วันๆละ30 นาที 4.ต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ไม่หวาน มัน เค็ม

 

95 0

11. อบรมด้านการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุจำนวน 40 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน คณะทำงาน

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้จัดอบรมด้านการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จำนวนผู้เข้าร่วม 55 คน คณะทำงานจำนวน 15 คน ผู้สูงอายุจำนวน 40 คน เริ่มเปิดกิจกรรมด้วยกับการอ่านอัลกุรอานสูเราะห์ อัลฟาตีฮะห์พร้อมๆกันหลังจากอ่านสูเราะห์อัลฟาตีฮะห์เสร็จ เริ่มกิจกรรมด้วยการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้องสำหรับผู้สูงอายุโดยเชิญพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลเขาตูมมาให้ความรู้ และได้มีการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุโดยวิถีอิสลาม จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการโดยการแบ่งกลุ่มกำลังกาย พร้อมมีพี่เลี้ยงที่ค่อยแนะนำและอธิบายวิธีการออกกำลังกายวิถีอิสลามที่ผู้อายุสามารถทำได้เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายที่ดีที่สามาถประกอบศาสนกิจได้อย่างสมบูรณ์ หลังจากเสร็จกิจกรรมเชิงปฏิบัติการแล้วให้กับผู้สูงอายุกลับไปทำที่บ้านสัปดาห์ละอย่าง 30 นาที และได้มีกันนัดจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เกิดผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน มีความรู้ความเข้าใจวิธีการออกกำลังกายวิถีอิสลามที่ผู้อายุสามารถทำได้เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายที่ดีที่สามาถประกอบศาสนกิจได้
  • เกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้อัลกุรอานเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต -เกิดความรู้ทักษะในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุและสามารถปฏิบัติได้

 

55 0

12. ถอนเงิน เปิดบัญชี

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน ได้ ถอนเงินปิดบัญชี จำนวน 500 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สามารถถอนเงิน เปิดบัญชี ได้

 

0 0

13. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมครั้งที่ 3 เพื่อเตรียมการประติดตามผลลัพธ์กกับพี่เลี้ยง วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น. ณ สาขาอัลกุรอานและสุนนะห์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี หมู่ที่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 09.00 – 10.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วม 10.00 – 10.30 น. เปิดการประชุม ....โดย ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จะเป็นผู้ชี้แจงวัตถุประสงค์ -แนะนำผู้เข้าร่วม และอธิบายถึงารติดตามประเมินผลลัพธ์
และได้จัดแบ่งหน้าที่ในเวทีการติดตาม โดยให้ผู้รับผิดชอบแนะนำบทบาทหน้าทีทีมงานในการทำงาน (ใครนำ ใครจดบันทึก ใครเขียนบนกระดาษ) ทีมงานโครงการฯ จำนวน 2 คน - นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯที่ผ่านมา
-พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด -แลกเปลี่ยน/สะท้อนผล/ตัวชี้วัดการดำเนินงานโครงการฯ โดยพี่เลี่ยง -ร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมวางแผนการดำเนินงานต่อไป โดยพี่เลี้ยงชวนคุย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานคณะทำงานจำนวน 17 คน มีความพร้อมในการเข้าร่วม ติดตามระเมินผล เกิดการเตรียมข้อมูลติดตามและประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ละพัฒนา ได้ทบทวนบันไดผลผลัพธ์ ได้แลกเปลี่ยน/สะท้อนผล/ตัวชี้วัดการดำเนินงานโครงการฯ
ได้ประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมวางแผนการดำเนินงานต่อไป ก่อนมีเวที

 

0 0

14. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 4.1 จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่าน เพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน
วันที่จัดกิจกรรม วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ณ มัสยิด หมู่ที่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ผู้เข้าร่วม จำนวนผู้เข้าร่วม 47 คน ประกอบด้วย คณะทำงานจำนวน 7 คน ผู้สูงอายุจำนวน 40 คน
ได้จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่าน เพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน
ขั้นตอนในการ “จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน ” เริ่มกิจกรรม ด้วยการอ่านอัลกุรอ่าน และกล่าวต้อนรับโดย ผศ.ดร.อิสมาแอ สาเมาะ หัวหน้าศูนย์ศึกษาอัลกุรอานมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และบรรยายเกี่ยวกับความสำคัญของอัลกุรอานสำหรับผู้สูงอายุ โดยอาจารย์ซาการียา เจะนะ อาจารย์ประจำศูนย์ศึกษาอัลกุรอาน มหาวิทยาลัยฟาฏอนีบรรยายเกี่ยวกับความประเสริฐและคุณค่าของอัลกุรอานจากอัลกุรอานดังนี้ 1.อัลลอฮฺทรงมีดำรัสความว่า “แท้จริง อัลกุรอานนี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่ง และแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบความดีทั้งหลายว่า สำหรับพวกเขานั้นจะได้รับการตอบแทนอันยิ่งใหญ่”                    (อัลอิสรออฺ : 9) 2. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสความว่า “และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานลงมาซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธาและมันมิได้เพิ่มอันใดแก่พวกอธรรม นอกจากการขาดทุนเท่านั้น ” (อัลอิสรออฺ :82)
3. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสความว่า “แท้จริง บรรดาผู้อ่านคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และดำรงการละหมาด และบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา โดยซ่อนเร้นและเปิดเผยเพื่อหวังการค้าที่ไม่ซบเซา (ขาดทุน)”            (ฟาฎิร : 29) และได้เกี่ยวกับความประเสริฐและคุณค่าของอัลกุรอานจากอัลหะดีษดังนี้ จากอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่ามีความว่า “ผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่านคือผู้ที่ศึกษาและทำการสอนอัลกุรอาน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5027 ) ความประเสริฐของผู้อ่านอัลกุรอานและปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน จากอบีอามามะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่ามีความว่า “พึงอ่านอัลกุรอานเถิด แท้จริงอัลกุรอานจะไปเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮ์ (ให้ความช่วยเหลือ) แก่ผู้ที่ชอบอ่านมันในวันกิยามะฮฺ” (รายงานโดยมุสลิม) จากอบูมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวมีความว่า “อุปมาผู้ศรัทธาที่อ่านอัลกุรอานและปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน อุปมัยดังผลส้ม (Citrus) ที่มีรสชาติดีอีกทั้งมีกลิ่นหอม อุปมาผู้ศรัทธาที่ไม่อ่านอัลกุรอานและปฏิบัติตามอุปมัยดังผลอินทผาลัม ที่มีรสชาติดีแต่ไร้กลิ่นหอม อุปมาคนมุนาฟิก (กลับกลอก) ที่อ่านอัลกุรอาน อุปมัยดังใบโหระพา ซึ่งมีกลิ่นหอมแต่มีรสชาติขม และอุปมาคนมุนาฟิก (กลับกลอก) ที่ไม่อ่านอัลกุอาน อุปมัยดังบวบขม ที่มีรสขมและไม่มีกลิ่น” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์: 5059, มุสลิม: 797) จากท่านหญิงอาอีซะฮ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวมีความว่า “ผู้ที่อ่านอัลกุรอานได้อย่างคล่องแคล่ว จะได้อยู่พร้อมกับบรรดามลาอิกะฮฺผู้ทรงเกียรติและประเสริฐ และผู้ที่อ่านอัลกุรอานอย่างตะกุกตะกัก ยากลำบาก(ไม่คล่อง) เขาจะได้รับสองผลบุญ” (รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม) จากท่านอิบนิมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวมีความว่า “ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอานเพียงอักษรเดียว เขาจะได้รับหนึ่งความดี และหนึ่งความดีนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าตัว ฉันไม่ได้กล่าวว่า อลิฟ ลาม มีม คือหนึ่งอักษร แต่อลิฟคือหนึ่งอักษร ลามคือหนึ่งอักษร และมีมคือหนึ่งอักษร”(รายงานโดยอัตติรมิซีย์) จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวมีความว่า “คนหนึ่งในหมู่พวกท่านจะพอใจไหม หากกลับบ้านแล้วพบอูฐสามตัวที่อ้วนพี พวกเราตอบว่าใช่แล้ว (พวกเราพอใจ) ท่านเราะสูลกล่าวว่า “สามอายะฮฺที่พวกท่านได้อ่านในละหมาดของตนดียิ่งกว่าอูฐสามตัวที่อ้วนพีเสียอีก” (บันทึกโดย มุสลิม : 802 ) จากท่านอุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮูกล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวมีความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้ยกสถานะบางกลุ่มชนให้สูงส่งด้วยอัลกุรอานและได้ทรงทำให้บางกลุ่มชนต่ำต้อยด้วยอัลกุรอานเช่นกัน” (รายงานโดยมุสลิม) จากท่านอิบนิอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวมีความว่า “แท้จริงผู้ที่ในทรวงอกของเขาไม่มีสิ่งใดเลยจากอัลกุรอาน เปรียบเสมือนดั่งบ้านร้าง” (รายงานโดยอัตติรมิซีย์) ความประเสริฐของการท่องจำอัลกุรอาน ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวมีความว่า “แท้จริงสำหรับอัลลอฮฺนั้นมีสมาชิกจำนวนหนึ่งในหมู่มนุษย์ พวกเขาถามว่า พวกเหล่านั้นคือใครกัน โอ้ท่านรสูล? ท่านตอบว่า “พวกเขาคืออัฮลุลกุรอาน (คือผู้ที่อยู่กับอัลกุรอาน ท่องจำ และปฏิบัติตาม)พวกเขาคือสมาชิกของอัลลอฮฺและบุคคลพิเศษของพระองค์” ( รายงานโดย อิบนูมาญะฮ์ 215 ) ความประเสริฐของการทบทวนอัลกุรอาน ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวมีความว่า “พวกท่านจงอ่าน ท่อง และทบทวน (เอาใจใส่) กับอัลกุรอานอย่างสม่ำเสมอ เพราะแท้จริงแล้ว ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺผู้ซึ่งชีวิตของมุหัมหมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า อัลกุรอานนั้นเตลิดและหายไปจากความจำของผู้ใดก็ตามจากหมู่พวกท่านง่ายยิ่งกว่าอูฐเปรียวที่หลุดจากเชือดที่ผูกเข่าของมันเสียอีก” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5033 , มุสลิม : 791 หลังจากการบรรยาย ผู้สูงอายุมีการแลกเปลี่ยนซักถาม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และได้ฝึกสาธิตการอ่านและรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดทักษะการอ่านและสามารถนำไปปฏิบัติในชุวิติประจำวันได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1)เกิดบุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล ด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้องร้อยละ 100 2) เกิดผู้สูงอายุที่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้อัลกุรอานเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ร้อยละ 100 3) เกิดผู้สูงอายุจำนวน 40 คน ที่มีทักษะความเข้าใจในการอ่านอัลกุรอานที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ในชีวิติประจำวันได้

 

55 0

15. อบรมผู้ดูแลให้ความรู้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลในเรื่องอาหารโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุและเรื่องอาหารที่หะลาลลันตอยยีบันสำหรับผู้สูงอายุ และสาธิตการทำอาหาร (คณะทำงาน 15 คนและผู้ดูแล 40 คน รวม 55 คน)

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
ได้จัดอบรมผู้ดูแลให้ความรู้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลในเรื่องอาหารโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุและเรื่องอาหารที่หะลาลลันตอยยีบันสำหรับผู้สูงอายุ จำนวนผู้เข้าร่วม 55 คน คณะทำงานจำนวน 15 คน ผู้สูงอายุจำนวน 40 คน
เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 – 15.00 น. ณ อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ (คูเวต) ชั้น1 เริ่มกิจกรรมด้วยการลงทะเบียนผู้เข้าร่วม ตรวจสุขภาพ และเปิดพิธีอ่านอัลกุรอ่านโดยนายฟุรกอน อาแว ตัวแทนนักศึกษาสาขาวิชาชะรีอะฮฺ  และกล่าวต้อนรับโดย ผศ.ดร.อิสมาแอ สาเมาะ หัวหน้าศูนย์ศึกษาอัลกุรอาน
(พักรับประทานอาหารว่าง) บรรยายเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี (ช่วงถาม -ตอบ) พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด ช่วงบ่ายได้บรรยายเกี่ยวกับอาหารที่หะลาลลันตอยยีบันสำหรับผู้สูงอายุ โดย ผศ.ดร.อับดุรรอฮฺมาน จะปะกิยา คณบดีคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์(ช่วงถาม -ตอบ) เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เกิดความรู้ทักษะในการปรุงอาหารสำหรับผู้สูงอายุในเรื่องอาหารโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุและเรื่องอาหารที่หะลาลลันตอยยีบันสำหรับผู้สูงอายุ
  • เกิดความรู้ทักษะในการปรุงอาหารสำหรับผู้สูงอายุและสามารถปฏิบัติได้ ร้อยละ 80
  • ผู้สูงอายุจำนวน 40 คน มีสุขภาพกายที่ลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย และการเกิดโรค มีสุขภาพใจที่ดีขึ้น เช่น ลดความกังวล

 

55 0

16. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566

วันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ได้กำหนดอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 ในวันที่ 25 กันยายน 2566 ผู้เข้าร่วม คือผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการ จำนวน 3 คน ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อให้ผู้รับทุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อให้แผนงานร่วทุนฯนำสิ่งที่ไ้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับปรุงการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาที่เหลือ และนำประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรค หาแนวทางแก้ไขต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการเรียนรู้เพิ่มเติมการบันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ "คนสร้างสุข" การทำตามแผนขั้นบันไดผลลัพธ์ ระเบียบการเงิน และเอกสารต่าง ๆการเงิน

 

0 0

17. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

วันที่ 14 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศูนย์ศึกษาอัลกุรอาน คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ ดำเนินการออกหนังสือเชิญคณะทำงานร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสโมสรนักศึกษาชั้น 2 อาคาร อัลกุรอ่านและอัสสุนนะห์ คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 14 ตุลาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงานตัวแทนอีหม่ามประจำหมู่บ้าน แกนนำผู้สูงอายุในชุมชน อาสาสมัครจากนักศึกษา และคณาจารย์ เป็นจำนวน 15 คน โดยมี    นางสาวซัลมา แดเมาะเล็ง เป็นผู้รายงานดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านมา (กิจกรรมที่ 1-5) มีจำนวนผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายและบริโภคผักเพิ่มขี้นหลังเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 38 คน ผลลัพธ์ที่ได้คือ มีคณะทำงาน จำนวน 15 คน ร่วมกันวางแผนการลงพื้นที่หรือให้ผู้ดูแลคอยติดตามให้คำปรึกษาและจดบันทึก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทีมคณะทำงาน ได้แก่ ตัวแทนอีหม่ามประจำหมู่บ้าน แกนนำพี่เลี้ยงผู้สูงอายุในชุมชน อาสาสมัครจากนักศึกษา และคณาจารย์ เป็นจำนวน 15 คน ณ ห้องประชุมสโมสรนักศึกษาชั้น 2 อาคาร อัลกุรอ่านและอัสสุนนะห์ คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 14 ตุลาคม 2566 ในรายละเอียดการประชุมมีการวางแผนร่วมกันว่าให้มีการลงพื้นที่ติดตามร่วมกับผู้ดูแลหรือติดตามให้คำปรึกษาในสัปดาห์ถัดไปโดยมีกำหนดวันสินสุดการติดตามและให้คำปรึกษาก่อนวันปิดโครงการคือสิ้นเดือนธันวาคม หลังพบว่าเมื่อดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านมา (กิจกรรมที่ 1-5) จำนวนผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายและบริโภคผักเพิ่มขี้นหลังเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 38 คน

 

0 0

18. เบิกค่าเดินทางเพื่อไปถอนเงินและค่าเบียเลี้ยงคณะทำงาน 3 คน

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เบิกค่าเดินทางเพื่อไปถอนเงินและค่าเบียเลี้ยงคณะทำงาน 3 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เบิกค่าเดินทางเพื่อไปถอนเงินและค่าเบียเลี้ยงคณะทำงาน 3 คน

 

3 0

19. วงล้อมหะละเกาะฮฺประจำสัปดาห์

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้ทำฮาลาเกาะห์อัลกุรอานทุกๆสัปดาห์ๆละ 1 ครั้งเป็นการอ่านอัลกุรอานและมีการศึกษาความหมายของอัลกุรอานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยวงล้อมฮาลาเกาะห์อัลกุรอานโดยในวงล้อมหะละเกาะฮฺจะมีการทำอ่านอัลกุรอานร่วมกัน ศึกษาความหมายของอัลกุรอานและนำผลจากการศึกษาอัลกุรอานมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตตามวิถีอิสลาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดวงล้อมหะละเกาะฮฺ ยังเป็นวิธีการและกระบวนการในการปลูกฝังจิตสํานึกที่ดีงามโดยผ่านกระบวนการขัดเกลาและปลูกฝังจิตสํานึกที่ดีตามวิถีอิสลาม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้ ผู้สูงอายุมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกละอายต่อบาป หรือต่อการกระทำที่ไม่ดีหรือที่ผิดหลักการผิดศีลธรรมและบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า กระบวนการขัดเกลาจิตใจและจิตสํานึกมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สังคมต้องการ เป็นการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม เป็นการปลูกฝังระเบียบวินัย เป็นการปลูกฝังความมุ่งหวัง ในชีวิตตามที่กลุ่มยอมรับ และเพิ่มทักษะในการดำเนินชีวิต
ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยวยาจิตใจด้วยอัลกุรอานจึงทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตใจที่มีความสงบสุขด้วยกับการอยู่กับอัลกุรอานเป็นฐานในการดำเนินชีวิตและการทำฮาลาเกาะห์อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม ผู้สูงอายุมีความสุขเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุไม่มีโรคซึมเศร้า

 

0 0

20. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้ดำเนินการทดสอบอัลกุรอานจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน จัดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมlสาขาอัลกุรอานและสุนนะห์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี ผุู้เข้าร่วม จำนวน ...55.... คน ประกอบด้วยคณะทำงาน 15 คน ผู้สูงอายุ 40 คน เริ่่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 08.30 น. 09.00 น. เริ่มกระบวนการเวที ทดสอบการอ่านอัลกุรอานสูเราะห์อัลฟาตีฮะห์(จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน)โดย วิทยากรจากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ผศ.ดร.อิสมาแอ สาเมาะ  อาจารย์ชะห์มี เจ๊ะโก๊ะ และอาจารย์ชารีปะห์ กาเจ วิทยากรในการทดสอบการอ่านอัลกุรอาน - ผู้รับผิดชอบกล่าวต้อนรับและแนะนำผู้เข้าร่วม
- เริ่มทดสอบการอ่านอัลกุรอานสูเราะห์อัลฟาตีฮะห์ ตั้งแต่เวลา 10.00- 12.00 น. - ช่ว่งบ่ายได้มีการประกาศผลผู้ที่ผ่านการทดสอบการอ่านอัลกุรอาน แจกอาหารว่างและแยกย้ายกันกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบการอ่านอัลกุรอานสูเราะห์อัลฟาตีฮะห์
  • ผู้สูงอายุสามารถอ่านอัลกุรอานได้และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้จำนวน 38 คน

 

0 0

21. ARE 3

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ARE ครั้งที่ 3 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา จัดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี ผุู้เข้าร่วม จำนวน 15 คน ประกอบด้วยคณะทำงาน 12 คน คณะพี่เลี้ยง 3 คน เริ่่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 08.30 น. 09.00 น. เริ่มกระบวนการเวที ARE โดย ผู้รับผิดชอบโครงกล่าวตอนรับและกล่าวเปิดพิธีด้วยการอ่านสูเราะห์อัลฟาตีฮะห์พร้อมๆกัน -ผู้รับผิดชอบกล่างต้อนรับและแนะนำผู้เข้าร่วม
-พี่เลี้ยง นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต ชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) -พี่่เลี้ยงชวนชวนพื้นที่ให้จัดบทบาทหน้าทีทีมงานในการ ARE (ใครนำ ใครจดบันทึก ใครเขียนบนกระดาษ) อธิบายขั้นตอนและกระบวนการ ARE และทบทวนบันไดผลผลัพธ์/กำหนดประเด็นการติดตาม ผู้รับผิดชอบโครงการฯและทีมงานโครงการฯ นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯที่ผ่านมา ปัญหา/อุปศรรค โดยชุมชนได้ดำเนินกิจกรรม อบรมให้ความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เื่องการออกกำลังกาย อาหารและโภชนาการ เป็นต้น กิจกรรม เกิดผลลัพธ์คือบุคคลในครอบครัวสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้อง และบบริโภคอาการที่เหมาะสม - ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ จิตใจตามหลักศาสนาดังนี้ ผู้สูงอายุสามารถอ่านอันกุลอานได้และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้จำนวน 38 คน - เกิดกลไกการดูแลสุขภาพกาย จิตใจตามแนวทางศาสนาอิสลาม จำนวน 10 คน ที่มาจากหลากหลาย มีคณะอาจารย์ม.ฟาฏอนี นักศึกษา ผู้นำชุมชน ที่มีแผนในการขับเคลื่อน แบ่งโซนรับผิดชอบหนุนเสริมและติดตามการอ่านอย่างต่อเนื่อง มีการประชุม และจัดตั้งชมรมของผู้สูงอายุ - เกิดกติกาการทำงานร่วมกันของกลไล จำนวน ..3..ข้อ ดังนี้ 1.ต้องเข้าร่วมประชุมทุกเดือน 2.กลไลจำนวน 10 คน ต้องให้ความร่วมมือติดตามหนุ่นเสริมผู้สูงอายุทุกครั้งที่ได้รับมอบหมาย 3.ต้องนำการติดตามมาสรุปในการประชุมกลไลทุกครั้ง - เกิดแผนการติดตามผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว ดูการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้อง โดยมีการติดตามตามกลุ่มวงล้อมหะละเกาะฮฺประจำสัปดาห์ -ผู้สูงอายุ จำนวน…38.. คน ร้อยละ…95.. ร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำ ดังนี้ผู้สูงอายุมีความสารมารถมีทักษะในการอ่านอันกุลอ่านที่ถูกต้อง และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดความสุขกาย สบายใจ
และช่วงสุดท้าย พี่เลี้ยงนำกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนและร่วมกันสะท้อนผลลัพธ์ตัวชี้วัดการดำเนินงานโครงการฯ โดย ให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในแต่ละด้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดคณะทำงาน จำนวน 17 คน ที่มีความเข้าใจในโครงการ มาจาก เจ้าหน้าที่ อาจารย์ ม.ฟาฏอนี นักศึกษา ผู้นำชุมชน มีโครงสร้างการบทบาทหน้าที่การทำงานมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน - มีข้อมูลผู้สูงอายุและอาการ/พฤติกรรมรายบุคคคน ทั้ง 40 คน -เกิดจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล จำนวน 40 คน
บุคคลในครอบครัวสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้อง และบบริโภคอาการที่เหมาะสม - ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ จิตใจตามหลักศาสนาดังนี้ ผู้สูงอายุสามารถอ่านอันกุลอานได้และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้จำนวน 38 คน ช่วงสุดท้าร่วมกันสะท้อนการดำเนินงานในแต่ละด้านและวางแผนการดำเนินกิจกรรมในระยะต่อไป

 

0 0

22. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ศูนย์ศึกษาอัลกุรอาน คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดำเนินการวางแผนเตรียมการจัดประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการออกหนังสือเชิญ เตรียมอาหารและอาหารว่าง เตรียมเอกสารนำเสนอผลการดำเนินงานรวมทั้ง ประสานงาน รพ.สต. เพื่อเตรียมสถานที่และกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ มีการประชุม ณ ห้องประชุมสโมสรนักศึกษาชั้น 2 อาคาร อัลกุรอ่านและอัสสุนนะห์ คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน แกนนำผู้สูงอายุในชุมชน อาสาสมัครจากนักศึกษา และคณาจารย์ เป็นจำนวน 17 คน โดยมี นางสาวซัลมา แดเมาะเล็ง เป็นผู้รายงานดำเนินงานของกิจกรรมที่ผ่านมา (กิจกรรมที่ 1-ุ6) ผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้มากว่าร้อยละ 80

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงาน จำนวน 17 คน รับทราบผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้มากว่าร้อยละ 80 กล่าวคือ มีคณะทำงานจำนวน 17 คน มีโครงสร้างบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนและดำเนินการได้ตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ โดย มีผู้ดูแลผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมเสริมความรู้ จำนวนทั้งสิ้น 40 คน, มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน, มี ตัวแทนนักวิชาการมุสลิม แกนนำผู้สูงอายุในชุมชน อาสาสมัครจากนักศึกษา และคณาจารย์ เป็นจำนวน 1ึ7 คน, มีคืนข้อมูลผ่านการเวทีสรุปโครงการตลอดการดำเนินกิจกรรม

 

0 0

23. ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ครั้งที่ 2

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุุเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอาน การออกกำลังกาย การกินอาหารที่มีประโยชน์ไม่หวาน มัน เค็ม โดยการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลและเก็บข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชนร่วมกับแกนนำอาสาพี่เลี้ยงกลุ่มศึกษาอัลกุรอาน(หลังดำเนินงาน) และมีการดำเนินการกับผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน แกนนำ และภาคี ในรายละเอียดโครงการ และแผนงานตลอดโครงการ ได้ข้อมูลผู้สูงอายุเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุุเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอาน การออกกำลังกาย การกินอาหารที่มีประโยชน์ไม่หวาน มัน เค็ม ผลจากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 40 คน มีโรคประจำตัว 70% ไม่มีโรคประจำตัว 30% มีโรคประจำตัวคือ ข้อเสื่อมและอักเสบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไขมันในเลือด ส่วนการออกกำลังกายของผู้สูงอายุปัจจุบันมีการออกกำลังกาย 80 % ส่วนที่ไม่ออกกำลังกายอีก 20 %นั้นเพราะไม่มีความรู้เรื่องออกกำลังกาย ชราแล้ว ไม่มีความรู้เรื่องการออกกำลังกาย ไม่มีเวลา ไม่ค่อยมีเวลาว่าง ขยับตัวนานไม่ได้ , ยืนนาน , นั้งนาน , เดินเยอะไม่ได้ มีอาการปวดเอว และไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย และการวิธีออกกำลังกายของผู้สูงอายุคือ การขยับแขน ขยับขา ขึ้นเขา ลงเขา ถอนหญ้า ทำสวน เดิน , แกว่งมือ วิ่ง วิ่งเยาะๆ และเดินภายในบ้าน ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุคือ บริโภคผักและผลไม้ ทานทุกวัน73 % ทานเป็นบางวัน7 % ไม่ทานเลย 1% ส่วนรสชาดที่ทานเป็นประจำส่วนมากรส จืดคือ 90 % หวาน.3% เค็ม 4% เปรี้ยว2% มัน1% และ เผ็ด9.1% ผู้สูงอายุมีความเครียดในชีวิตส่วนใหญ่ไม่มีความเครียด คิดเป็นเปอร์เซ็น 100% เนื่องจากหลังจากการได้ร่วมโครงการผู้สูงอายุมีการปรับแปลี่ยนพฤติกรรมมากขึ้น คือฟังบรรยายธรรมศาสนา100%ผู้สูงอายุอ่านอัลกุรอานในชีวิตประจำวัน และศึกษาความหมายบางในชีวิตประจำวัน และอัลกุรอานสามารถบำบัดจิตใจของผู้สูงอายุเพราะทำให้จิตใจสงบ ทำให้ตระหนักต่ออัลลอฮฺทุกครั้งเวลาอ่านอัลกุรอาน อ่านอัลกุรอ่านมีความสุข รู้สึกผ่อนคลายและทำให้จิตใจสงบ ทำให้นึกถึงอัลลอฮฺมากขึ้น อ่านแล้วรู้สึกสงบ ทำให้มีจิตใจที่สงบ นึกถึงอัลลอฮฺอยู่ทุกเวลา ทำให้จิตใจสงบและมีสมาธิมากขึ้น อ่านอัลกุรอานเหมือนยารักษาโรค พอรู้สึกไม่สบายใจ ได้ฟังได้อ่านอัลกุรอ่านก็รู้สึกดีขึ้นแล้ว อัลกุรอานคือยารักษาโรค อัลกุรอานคือยา อัลกุรอานสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต เพราะทำให้เรามีจิตใจที่สงบสุข ยิ่งเพิ่มข้อมูล ความรู้หลายๆด้าน อัลกุรอานคือทางนำที่เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถบำบัดจิตใจของเราให้สงบและบริสุทธิ์ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต คนที่ใจอยู่กับอัลกุรอานและอัลลอฮฺชีวิตจะสงบ เพราะในอัลกุรอ่านได้สอนทุกอย่างในการดำเนินชีวิต และอัลกุรอานคือทางนำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ -ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ออกกำลังกายประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ในรูปแบบ เดินออกกำลังกายในยามเช้า ทุกวัน -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 ร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำ
-ผู้สูงอายุเกิดความสารมารถมีทักษะในการอ่านอันกุลอ่านที่ถูกต้อง เป็นทางนำในการใช้ชีวิตอิสลาม มีความภาคภูมิใจ และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดความสุขกาย สบายใจ
-ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากครอบครัวอย่างถูกต้อง มีสุขภาพกาย จิตใจ ที่ดี และเกิดทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง -เกิดการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ดังนี้...ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 และมีความสุขเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1.มีความรู้ ความเข้าใจในการดูและสุขภาพ 2.มีทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง 3.มีการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม 4.ได้รับการติดตาม การตรวจและดูแลสุขภาพต่อเนื่อง

 

0 0

24. เวทีสรุปบทเรียน

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมเวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน และการมอบเกียรติบัตรให้กับผู้สูงอายุที่ผ่านการทดสอบการอ่านอัลกุรอานสูเราะห์อัลฟาตีฮะห์ ในวันที่ 30 มกราคม 2566 เวลา 08.30 น. – 15.30 น. มีผู้เข้าร่วม จำนวน 60 คน คือ คณะกรรมการโครงการ จำนวน 17 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและนักวิชากรมุสลิม3 คน ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนการ สะท้อนผลการเปลี่ยนแปลง ปัญหาอุปสรรค สรุปผลการดำเนินงานตลอดโครงการซึ่งทางคณะกรรมการโครงการได้เชิญ ผศ.ดร.อะหมัด อุมาร จะปะกิยา รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ,ผศ.ดร.อับดุรรอฮมาน จะปะกิยา คณบดีคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ ,ผศ.ดร.อิสมาแอ สาเมาะ หัวหน้าศูนย์ศึกษาอัลกุรอาน,อาจารย์อาลาวี รอยูโมง อาจารย์ประจำสาขาวิชาอัลกุรอานและนายอุสมาน วายุ เจ้าหน้าที่ศุนย์ศึกษาอัลกุรอาน เพื่อมาเป็นเกียรติในการมอบประกาศนียบัตร และของรางวัลเป็นขวัญกำลังใจในการสอบผ่านการอ่านอัลกุรอานที่ถูกต้องตามหลักตัจวีด แก่ผู้สูงอายุทั้งหมด 40 ท่าน และสรุปผลการดำเนินงานตลอดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ออกกำลังกายประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ในรูปแบบ เดินออกกำลังกายในยามเช้า ทุกวัน -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 ร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำ
-ผู้สูงอายุเกิดความสารมารถมีทักษะในการอ่านอันกุลอ่านที่ถูกต้อง เป็นทางนำในการใช้ชีวิตอิสลาม มีความภาคภูมิใจ และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดความสุขกาย สบายใจ
-ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากครอบครัวอย่างถูกต้อง มีสุขภาพกาย จิตใจ ที่ดี และเกิดทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง -เกิดการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ดังนี้ ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 และมีความสุขเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1.มีความรู้ ความเข้าใจในการดูและสุขภาพ 2.มีทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง 3.มีการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม 4.ได้รับการติดตาม การตรวจและดูแลสุขภาพต่อเนื่อง

 

60 0

25. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามการดูแลผู้สูงอายุ

วันที่ 2 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลการดูแลผู้สงอายุ ในวันที่ 2 ธันวาคม 2566 เวลา 08.30-15.30น. ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยฟาฏอนี จำนวนผู้เข้าร่วม 55 คนได้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยคณะทำงาน 15 คน และผู้สูงอายุ 40 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเกิดคณะทำงานและกลไกลงพื้นที่ติดตามการดูแลผู้สูงอายุ การออกกำลังกาย อาหาร การอ่านกุรอาน การปรับสภาพแวดล้อม และเพื่อจัดเวทีผู้ดูแลผู้สูงอายุแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาอุปสรรคในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงการร่วมกันให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคและการปรับปรุงแผนการดำเนินงาน โดยเชิญวิทยากร ผศ.ดร.อิสมาแอ สาเมาะ หังหน้าศูนย์ศึกษาอัลกุรอานแลศูนย์ฟัตวา ,ผศ.ดร.อับดุลลาเต๊ะ สาและ หัวหน้าสาขาชะรีอะฮฺ และเจ้าหน้าที่รพ.สต.เขาตูมเพื่อมาตรวจสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ -ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ออกกำลังกายประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ในรูปแบบ เดินออกกำลังกายในยามเช้า ทุกวัน -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 ร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำ
-ผู้สูงอายุเกิดความสารมารถมีทักษะในการอ่านอันกุลอ่านที่ถูกต้อง เป็นทางนำในการใช้ชีวิตอิสลาม มีความภาคภูมิใจ และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดความสุขกาย สบายใจ
-ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากครอบครัวอย่างถูกต้อง มีสุขภาพกาย จิตใจ ที่ดี และเกิดทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง -เกิดการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ดังนี้...ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 และมีความสุขเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1.มีความรู้ ความเข้าใจในการดูและสุขภาพ 2.มีทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง 3.มีการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม 4.ได้รับการติดตาม การตรวจและดูแลสุขภาพต่อเนื่อง

 

55 0

26. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้า

วันที่ 3 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้จัดทำรายงาน ดำเนินการคีย์ข้อมูลความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามรายกิจกรรมทุกกิจกรรมเข้าระบบการทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ตลอดโครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง หมู่ 3 ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ได้ให้ค่าตอบแทนค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ จำนวน 1 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ค่าตอบแทนค่าจัดทำรายงานเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

 

0 0

27. ARE 4

วันที่ 5 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ARE ครั้งที่ 4 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา จัดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อ.ยะรัง จังหวัดปัตตานี ผุู้เข้าร่วม จำนวน ....13... คน ประกอบด้วย คณะทำงาน 10 คน ทีมพี่เลี้ยง 3 คน เริ่่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 08.30 น. 09.00 น. เริ่มกระบวนการเวที ARE โดย อ่านอัลกุรอานสูเราะห์อัลฟาตีฮะห์พร้อมๆกัน -ผู้รับผิดชอบกล่างต้อนรับและแนะนำผู้เข้าร่วม
-พี่เลี้ยง นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต ชี้แจงวัตถุประสงค์และกระบวนการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) -พี่่เลี้ยงชวนชวนพื้นที่ให้จัดบทบาทหน้าทีทีมงานในการ ARE (ใครนำ ใครจดบันทึก ใครเขียนบนกระดาษ) อธิบายขั้นตอนและกระบวนการ ARE และทบทวนบันไดผลผลัพธ์/กำหนดประเด็นการติดตาม ผู้รับผิดชอบโครงการฯและทีมงานโครงการฯ นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯที่ผ่านมา ปัญหา/อุปศรรค โดยชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมครบทุกกิจกรรม เกิดผลลัพธ์... -ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ออกกำลังกายประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ในรูปแบบ เดินออกกำลังกายในยามเช้า ทุกวัน -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 ร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำ
-ผู้สูงอายุเกิดความสารมารถมีทักษะในการอ่านอันกุลอ่านที่ถูกต้อง เป็นทางนำในการใช้ชีวิตอิสลาม มีความภาคภูมิใจ และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดความสุขกาย สบายใจ
-ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากครอบครัวอย่างถูกต้อง มีสุขภาพกาย จิตใจ ที่ดี และเกิดทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง -เกิดการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ดังนี้ ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 และมีความสุขเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1.มีความรู้ ความเข้าใจในการดูและสุขภาพ 2.มีทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง 3.มีการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม 4.ได้รับการติดตาม การตรวจและดูแลสุขภาพต่อเนื่อง

ช่วงสุดท้าย พี่เลี้ยงนำกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนและร่วมกันสะท้อนผลลัพธ์ตัวชี้วัดการดำเนินงานโครงการฯ โดย ให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในแต่ละด้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ออกกำลังกายประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ในรูปแบบ เดินออกกำลังกายในยามเช้า ทุกวัน -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 ร่วมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำ
-ผู้สูงอายุเกิดความสารมารถมีทักษะในการอ่านอันกุลอ่านที่ถูกต้อง เป็นทางนำในการใช้ชีวิตอิสลาม มีความภาคภูมิใจ และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดความสุขกาย สบายใจ
-ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากครอบครัวอย่างถูกต้อง มีสุขภาพกาย จิตใจ ที่ดี และเกิดทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง -เกิดการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม -ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ดังนี้...ผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ร้อยละ 100 และมีความสุขเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1.มีความรู้ ความเข้าใจในการดูและสุขภาพ 2.มีทักษะสามารถอ่านอันกุลอ่านได้ถูกต้อง 3.มีการร่วมกิจกรรม เข้าร่วมประชุม รวมกลุ่ม เข้าสังคม 4.ได้รับการติดตาม การตรวจและดูแลสุขภาพต่อเนื่อง

 

0 0

28. ค่าทำไวนิล เพื่อประกอบการนำเสนอโครงการในกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567

วันที่ 4 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามบ้านโสร่ง หมู่ที่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ดำเนินการสั่งทำไวนิล เพื่อประกอบการนำเสนอโครงการในกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที 15 มกราคม 2567

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายไวนิว จำนวน 1 ป้าย เพื่อใช้ในการจัดบูธนิทรรศการของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานร่วมทุนฯ ในกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที 15 มกราคม 2567

 

0 0

29. ค่าเดินทางไปประชุมกับพี่เลี้ยง 2 คน

วันที่ 6 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน 2 คนได้เดินทางไปพบพี่เลี้ยงเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนรายงานในระบบและการเขียนรายงานการเงินทั้งในระบบและเอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมเพื่อที่จะทำการเบิกงวดที่2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนรายงานในระบบและการเขียนรายงานการเงินทั้งในระบบและเอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมเพื่อที่จะทำการเบิกงวดที่2

 

0 0

30. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567

วันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ได้กำหนดอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 08.30-16.30น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการโครงการ จำนวน 8 คนได้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากแผนงานร่วมทุนฯและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการในประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรค และเงื่อนไขข้อจำกัด เพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินในปีต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามบ้านโสร่ง หมู่ที่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีได้แสดงบนเวทีเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานสูเราะห์อัลฟาตีฮะห์พร้อมอ่านความหมายและได้นำเสนอคู่มือที่ใช้กับผู้สูงอายุในส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามบ้านโสร่ง หมู่ที่ 3 ตำบลเขาตูม  อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

 

0 0

31. ดอกเบี้ยคืนกองคลัง

วันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดอกเบี้ยคืนกองคลัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คืนดอกเบี้ยให้กองคลัง

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดคณะทำงาน ในการขับเคลื่อนงาน
ตัวชี้วัด : 1.1 เกิดคณะทำงาน จำนวน 17 คน ที่มีโรงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจนที่มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดโครงการและมาจากหลากหลายองค์กร สามารถขับเคลื่อนงาน และมีแผนการทำงานตลอดโครงการ 1.2 เกิดข้อมูลผู้สูงอายุและอาการพฤติกรรมที่เป็นข้อมูลรายบุคคล จำนวน 40 คน เช่น อาชีพ โรค การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการซื้อหรือปรุงเอง สภาพแวดล้อม การอ่านกุลอาน ทักษะ การดูแลผู้สูงอายุและอื่นๆ 1.3 เกิดภาคีความร่วมมือที่หลากหลายเข้าร่วม เช่น อสม. รพ.สต. นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ท้องที่ ท้องถิ่น

 

2 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม
ตัวชี้วัด : 1.1 เกิดบุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล ด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้องร้อยละ 100 1.2 เกิดบุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ ที่ความรู้ความเข้าใจในการใช้อันกลุอานเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ร้อยละ 100 1.3 เกิดบุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุ ความรู้ทักษะใน การปรุงอาหารสำหรับผู้สูงอายุและสามารถปฏิบัติได้ ร้อยละ 80

 

3 เพื่อให้เกิดกลไกดูแลสุขภาพกาย จิตใจตามหลักศาสนาอิสลามของผู้สูงอายุ - อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม
ตัวชี้วัด : 3.1 เกิดกลไกการดูแลสุขภาพ จิตใจ ตามแนวทางศาสนาอิสลาม จำนวน 10 คน ที่มาจากหลากหลายองค์กร 3.2 เกิดกติกาการทำงานร่วมกันของกลไกการดูแลสุขภาพ จิตใจ 3.3 เกิดแผนการทำงานการติดตามผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว ดูการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลด้วยวิถีอิสลามที่ถูกต้องร่วมกันของกลไกอย่างต่อเนื่อง

 

4 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพกาย จิตใจตามหลักศาสนาอิสลาม
ตัวชี้วัด : 4.1 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากครอบครัว มีสุขภาพกาย จิตใจที่ดี 4.2 ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายที่ลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย และการเกิดโรค 4.3 ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุมีสุขภาพใจที่ดีขึ้น เช่น ลดความกังวล นอนหลับดี 4.4 เกิดกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนที่มีสมาชิกอย่างน้อย 1 กลุ่ม

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 95
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 15
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 40
ผู้สูงอายุ 40

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดคณะทำงาน ในการขับเคลื่อนงาน (2) เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม (3) เพื่อให้เกิดกลไกดูแลสุขภาพกาย จิตใจตามหลักศาสนาอิสลามของผู้สูงอายุ        - อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม (4) ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพกาย จิตใจตามหลักศาสนาอิสลาม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม (2) กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน    (ผู้สู (3) สนับสนุนการบริหารจัดการ (4) ARE กับพี่เลี้ยง (5) ชื่อกิจกรรมที่ 1ประชุมคณะทำงาน (2 เดือน:1 ครั้ง) (6) ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน (7) เวทีคืนข้อมูล (8) เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ ตามหลักศาสนาอิสลาม (9) ชื่อกิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามการดูแลผู้สูงอายุ (10) ชื่อกิจกรรมที่ 6 เวทีสรุปบทเรียน (11) ถอนเงิน เปิดบัญชี (12) ดอกเบี้ยคืนกองคลัง (13) ARE 1 คลี่แผนงานโครงการ (14) เวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน (15) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 (16) 1. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง ไม่เกิน 1,000 บาท (17) ประชุมคณะทำงานกับพี่เลี้ยง (18) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 (19) ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ครั้งที่1 (20) เวทีคืนข้อมูล (21) อบรมด้านการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุจำนวน 40 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน  40 คน คณะทำงาน (22) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 (23) จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน (24) อบรมผู้ดูแลให้ความรู้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลในเรื่องอาหารโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุและเรื่องอาหารที่หะลาลลันตอยยีบันสำหรับผู้สูงอายุ และสาธิตการทำอาหาร (คณะทำงาน 15 คนและผู้ดูแล 40 คน รวม 55 คน) (25) ARE2 ติดตามผลลัพธ์ (26) อัลกุรอานเป็นฐานที่ทำให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีทำให้ไม่มีโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุมุสลิม (27) ติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1 (28) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 (29) เบิกค่าเดินทางเพื่อไปถอนเงินและค่าเบียเลี้ยงคณะทำงาน 3 คน (30) จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้สูงอายุ โดยการรับฟังวีธีการอ่านอัลกุรอานของผู้สูงอายุที่ใช้ในการอ่านเพื่อประกอบศาสนกิจให้ถูกต้องตามหลักการอ่านอัลกุรอาน(ตัจญวีด) เพื่อยกระดับคุณภาพจิตใจผู้สูงวัยมุสลิมให้มีชีวิตที่ดีมีสุขอย่างยังยืน (31) ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คนและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ครั้งที่ 2 (32) วงล้อมหะละเกาะฮฺประจำสัปดาห์ (33) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 (34) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามการดูแลผู้สูงอายุ (35) ARE 3 (36) เวทีสรุปบทเรียน (37) ARE 4 (38) ค่าทำไวนิล เพื่อประกอบการนำเสนอโครงการในกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 (39) ค่าจัดทำรายงาน (40) ค่าเดินทางไปประชุมกับพี่เลี้ยง 2 คน (41) อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของผู้สูงอายุด้วยวีถีอิสลามในหมู่บ้านโสร่ง ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 65-P1-0068-018

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวซัลมา แดเมาะเล็ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด